Wallpapers โดย Google เปลี่ยนพื้นหลังใหม่ให้มือถือในทุกๆวัน

เมื่อสัปดาห์ก่อน Google เปิดให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่ชื่อ Wallpapers สำหรับ Android ซึ่งเป็นแอพที่จะเปลี่ยนพื้นหลังของมือถือให้เราอัตโนมัติในทุกๆวัน

Daily wallpapers by Google

ผมได้ลองติดตั้งและลองใช้งานดูเกือบจะครบสัปดาห์แล้ว ชอบมากเลยมาเขียนเก็บไว้ ในตอนเช้าที่ตื่นมา มีแอบลุ้นนิดๆว่าภาพพื้นหลังวันนี้จะเป็นยังไง ในแอพ Wallpapers นั้นมีหมวดหมู่ต่างๆให้เลือกหลายอัน เช่น Earth, Landscapes, Cityscapes, Life, etc. แล้วแต่ชอบใจ

Daily wallpapers by Google

หมวดหมู่ที่ผมชอบเป็นพิเศษคือ Landscapes เพราะภาพแต่อันที่ถูกคัดมานั้น สวยงามมากๆ

มีอยู่หลายครั้งเปิดไปดูภาพในแอพ แล้วอยากรู้ว่ารายละเอียดของภาพนั้น ว่าเป็นผลงานของใคร เมื่อคลิก Explore เข้าไป เราจะเห็นรายละเอียดของคนถ่ายภาพนั้น รวมทั้งผลงานอื่นๆของเขาอีกด้วย เรียกได้ว่าเพลินดีเลยทีเดียว

Daily wallpapers by Google

อยากลองเล่นบ้างเข้าไปโหลดได้ที่ Google Play

MR.ROBOT ซีรี่ย์สนุกที่ขอแนะนำครับ

Mr. Robot (TV series)

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้นั่งดูซีรี่ย์เรื่อง MR.ROBOT อีกครั้ง หลังจากเคยดูมาแล้ว 2 ตอนเมื่อนานมาแล้ว แต่หยุดไปด้วยที่ยุ่งมาก เลยต้องกลับมาดูใหม่ตั้งแต่ต้น

เนื้อเรื่องโดยย่อ “เกี่ยวกับวิศกรหนุ่ม ที่กลางวันทำงานที่บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ส่วนกลางคืนเป็นแฮคเกอร์ ด้วยความสามารถในการแฮคที่เก่งมากๆ ทำให้เขาเข้าไปพัวพันกับกลุ่มแฮคเกอร์ที่มีอิทธิพล โดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายระบบการเงินของโลก ด้วยการโจมตีศูนย์ข้อมูลของบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ดูแลข้อมูลทางด้านการเงินของคนเกือบทั้งโลก”

การเดินเรื่องใช้ตัวเอกบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เหมือนเราได้ยินความคิดของเขา (นึกถึงหนังไทยเรื่อง ฟรีแลนซ์ ก็ได้) บางเรื่องมันเสียดสีสังคมได้ดีมาก เช่น การใช้ชีวิตอยู่กับโลกโซเซียลเน็ตเวิร์ค ใครที่ไม่เล่นพวก FB, Instagram กลายเป็นคนประหลาด แต่ที่ประหลาดกว่า คือ นั้นเป็นช่องทางที่คุณเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณเองให้กับใครที่คุณก็ไม่รู้(แฮคเกอร์)โดยสมัครใจ

ที่น่าแปลกอีกอย่าง คือ ตัวพระเอกของเราเป็น โรคเกลียดการเข้าสังคม ไปไหนมาไหนต้องใส่ฮูดตลอด พูดน้อย ไม่ยอมแม้จะให้ใครแตะต้องตัวเขาด้วยซ้ำ ถึงขั้นต้องกินยาและรับการบำบัด แต่เขากลับรู้จักตัวตนของทุกคนที่อยู่รอบตัวเขาอย่างดีผ่านการแฮคข้อมูลของคนๆนั้น (ใช่แล้ว พระเอกมันแฮคทุกคน) ตอนที่พระเอกสารภาพว่าทำไมเขาต้องแฮค มันทำให้ตัวละครที่ดูเหมือนจะมีอำนาจมากๆในมือเป็นคนที่น่าสงสารมากๆในเวลาเดียวกัน

ช่วงตอนกลางๆของเรื่อง รู้สึกว่าหลายๆเรื่อง ตัวละครมันทำอะไรดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่เลย ทำให้รู้สึกเนื่อยๆ แต่…..พอเรื่องต่างๆเปิดเผยออกมาตอนช่วงท้ายๆ ทำให้เรื่องที่เคยคิดว่าไร้เหตุมันลงตัวมากๆ ซะงั้น…..

สรุปแนะนำให้ดูครับ สนุกมาก

ชอบ Quote นี้มากๆ ของก๊อบมาวางเลยนะ

What I’m about to tell you is top secret. A conspiracy bigger than all of us. There’s a powerful group of people out there that are secretly running the world. I’m talking about the guys no one knows about, the ones that are invisible. The top 1% of the top 1%, the guys that play God without permission. And now I think they’re following me.

Season 2 กำลังจะมาในเร็วๆนี้

https://www.youtube.com/watch?v=YibylhkLwGo

Mark Zuckerberg is a good explainer

ไม่รู้ว่า Facebook Profile ของ Mark Zuckerberg นั้น เขาเป็นคนเขียนเองหรือมีทีมงานช่วยดูแลให้ พยายามจะค้นดูแล้วก็ไม่เจอรายละเอียดส่วนนี้ เลยเดาว่าน่าจะทั้งสองอย่างรวมๆกัน เท่าที่เฝ้าติดตามมาตลอดนั้น ก็พบอะไรหลายๆอย่างจากโพสของเขาเหล่านั้นและได้เรียนรู้พอสมควร แต่สิ่งที่ชอบที่สุด ขอยกให้กับ…

ตัวอย่าง Mark Zuckerberg on Facebook

การใช้ภาษาอังกฤษของเขาครับ มันเรียบง่ายและเข้าใจได้ง่ายมากครับ ไม่ค่อยมีศัพท์แสง(Jargon)ให้ได้เจอเลย ทั้งๆที่บางเรื่องเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีเฉพาะทางมากๆ มันทำให้คนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักที่มีกันอยู่ทั่วโลกนั้น เข้าใจในสิ่งที่เขาจะสื่อสารได้ง่ายและมากขึ้นเยอะเลยทีเดียวครับ

ทำให้คิดไปว่าก่อนที่จะกด Post หรือ Publish ลงไปนั้น น่าจะมีการ rewrite ไปหลายรอบก่อนแน่ๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่คิดว่ามีทีมงานช่วยดูแลแน่ๆ ไม่งั้น Mark ก็เป็นคนที่สื่อสารได้ดีมากๆ เพราะถ้าเกิดโพสอะไรผิดพลาดไป มันจะเกิดผลกระทบในวงกว้างแน่นอน

แต่ก็มีบางโพสมันก็ดูเป็นเรื่องส่วนตัวธรรมดามากที่ทำให้เรารู้สึกว่าเขาเป็นแค่เพื่อนเราคนหนึ่งบน Facebook และตัวเขาเองน่าจะเป็น CEO อันดับต้นๆที่สื่อสารกับผู้ใช้มากที่สุดในโลกด้วย CEO คนอื่นๆจะโผล่มาให้เห็นเฉพาะช่วงเวลาสำคัญๆของบริษัทเท่านั้น ไม่รายงานผลประกอบการ ก็เปิดตัวสินค้า

สรุปว่า Mark Zuckerberg (หรือทีมงาน) นั้นเป็น Explainer ที่เยี่ยมยอดมากๆ ตรงกับนิยามของหนังสือที่กำลังอ่านอยู่พอดีเลยนั้นคือ “Complicated Stuff in Simple Words” จะพยายามเรียนแบบก็แล้วกันครับ

(รีวิว) ชอบ ไม่ชอบ Fujifilm X70 ตามใจคนใช้งาน

จุดที่ชอบ ไม่ชอบ ในกล้อง Fujifilm X70

หลังจากใช้ Fujifilm X70 มาได้ราวๆสัปดาห์หนึ่ง มาอัพเดตว่าจุดไหนที่ชอบและจุดไหนที่ไม่ชอบ แต่โดยรวมชอบมากๆ มีจุดขัดใจนิดหน่อยที่คิดว่ามันน่าจะดีกว่านี้ได้อีกอยู่บ้าง กล้องนี้เป็นกล้องใหม่หลังจากใช้ Canon มานาน น่าจะ 4-5 ปีได้แล้ว การคอนโทรลกล้องแรกๆก็งง ต้องเอาคู่มือมาเปิดอ่าน ต้องทำความเข้าใจกับวิธีการตั้งค่าต่างๆที่ไม่มีในกล้องเดิม เช่น Dynamic range, Highlight tone, Shadow tone, Auto ISO และอื่นๆ ความจริงก็พอรู้ความหมายของมันอยู่บ้าง แต่การตั้งค่าและการใช้งานในกล้องยังไม่เคยใช้มาก่อน จะถ่ายเป็น RAW ไว้เลยก็ได้นะ แต่พอมันเป็น Compact camera ก็อยากจะจบหลังกล้องไปเลย ถ่ายเสร็จแชร์เลยไม่ต้อง Process อีกแล้ว อันไหนพิเศษก็ค่อยเปลี่ยนเป็น RAW ตามโอกาสแล้วกัน ไม่อยากเปลืองพื้นที่เก็บไฟล์ในคอมพิวเตอร์มากนัก (เพราะถ่ายเยอะอยู่แล้ว) อันที่สรุปข้างล่างนี้ คือว่าพอใช้ไปเจออะไรก็จดบันทึกมาเรื่อยๆ เอามารวมกันได้ราวๆนี้ ถ้าเจออีกจะเอามารวมไว้ที่บล็อกนี้แล้วกัน

จุดที่ชอบ

  • ไฟล์คุณภาพเยี่ยม ภาพเก็บรายละเอียดได้ดี คม จัดการ Noise ได้ดีมาก ไม่เคยคิดในชีวิตจะถ่ายภาพ ISO เกิน 400 ได้
  • ขนาดภาพ 16MP พอดี อัพโหลดฟรีใน Google Photo (ที่เป็นตัวหลักของผมในการเก็บภาพ) แบบไม่ต้องกินพื้นที่และไม่ต้องย่อ คืออัพได้เลย แมทกับชีวิตประจำวัน
  • ขนาดเล็กเบา ห้อยคอได้ทั้งวันโดยไม่รู้สึกเมื่อย
  • เร็วทั้งการปิดและเปิดแล้วพร้อมถ่าย โฟกัสก็เร็ว เทียบกับกล้องตัวเก่าที่ใช้อยู่ ถ้าถ่ายแบบ live view เร็วคนละเรื่องเลย
  • ระบบการวัดแสง และการทำงานอัตโนมัติฉลาด ทำให้ภาพที่ถ่ายไม่เสีย ส่วนหนึ่งเพราะมันตั้งความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติต่ำสุดได้, ISO Auto ไม่เกินที่กำหนดได้ เลยทำให้ภาพออกมาดีที่สุดในสภาพแสงนั้นได้
  • เสียงชัตเตอร์เงียบ ไม่รบกวนแบบ ถ่ายในห้องสมุดได้เลย
  • เอารูปโหลดเข้ามือถือได้ง่าย พร้อมอัพขึ้นโซเซียลในทันที
  • การควบคุมการใช้งานง่ายดีปุ่ม Q สะดวกสุดๆ และมีปุ่มลัดเยอะดี (Fn) เข้าถึงการ setting ต่างๆได้ง่าย
  • ชอบ film simulation มาก เหมือนได้ย้อนกลับไปใช้ Film อีกครั้ง
  • มี Digital Tele-converter to 35, 50 mm หรือเรียกอีกอย่างว่าซูมดิจิตอลก็คงได้ แต่ไฟล์ออกมาดีกว่าซูมดิจิตอลทั่วไปนะ

จุดที่ไม่ชอบ

ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการ setting ต่างๆในกล้องที่ยังไม่ชินนัก

  • ปิดเสียงอยู่ใช้ flash ไม่ได้ งงมากว่าทำไม (ให้เดาคงคิดแทนเราว่า ไม่ต้องการรบกวนคนอื่น แล้วจะเปิด flash ทำไม มั้ง) ทำได้แล้วครับ มันมีเมนูตั้งแค่เสียงแยกต่างหาก เพื่อนที่ X series club แนะนำมา
  • เปิด face detector ใช้ AE-L/-AF-L ไม่ได้นะ ล็อกโฟกัสไม่ได้เพราะกล้องต้องวิ่งหาหน้าของแบบ อันนี้พอเข้าใจได้ แต่ทำไมล็อคแสงไม่ได้
  • ปุ่ม video record กดยากมากกกก นิ้วใหญ่ หมดสิทธิ์มันชิดกับตัวปรับชดเชยแสงมากเกินไปและปุ่มมันเล็กและตื้นมาก
  • ปุ่มรอบวงกลม OK ฝั่งซ้ายกดยากเหมือนกัน ติดกับจอที่นูนออกมา ถ้านิ้วใหญ่หมดสิทธิ์ หรือต้องวางนิ้วแบบยื่นมาจากด้านข้างแทน
  • ปิดหน้าจอ LCD ไม่ได้ แต่ 2 นาทีมันถึงจะปิดเอง(sleep) แต่ไม่อยากเปิดปิดเครื่องบ่อยๆ ปกติแล้ว DSLR ไม่เคยปิดกล้องระหว่างทริปเลยนะ อยากได้แบบนั้น ชินกับ 600D ที่มีปุ่มกดปิดจอ LCD
  • ใช้ Digital Tele-converter to 35 and 50 mm ในโหมด P S T M ไม่ได้ ถ้าตั้งบันทึกภาพเป็น RAW อันนี้พอเข้าใจได้เพราะกล้องต้อง Process ภาพออกมาเป็น JPEG แต่ไม่บอกในคู่มือ หาสาเหตุนานมากว่าทำไมใช้ไม่ได้ กว่าจะหาเจอว่าเพราะเราตั้งเป็น RAW ไว้เสียเวลาเป็นชั่วโมงเลย
  • กลัวที่ปิดเลนส์หาย ความจริงมันก็ปิดแน่นดีนะแต่ก็กลัวหาย เพราะต้องเปิดปิดตลอด
  • กลัวเลนส์เป็นรอย กำลังหาฟิวเตอร์มาใส่ แต่มันต้องมีตัวแปลงใส่เพิ่มก่อน
  • มันไม่มี view finder ต้องซื้อเพิ่มเอง

โดยรวมแล้ว Fujifilm X70 ตัวใหม่ของเรา ทำให้ถ่ายรูปสนุกขึ้น ช่วยให้ชีวิตถ่ายภาพได้ง่ายและได้ภาพ(ที่ดี)ง่ายขึ้น กล้องตัวเก่าทำงานในโหมดอัตโนมัติต่างๆได้แย่มาก ทำให้เราชินกับโหมด M มากกว่า ไม่ใช่ไม่อยากใช้โหมดอื่นๆแต่มันทำงานได้ไม่ดี ทำให้ภาพเสียเยอะและไม่ได้ดังใจนึกเลยไม่อยากใช้ แต่ถึงจะใช้โหมด M จนชินและคล่องแค่ไหนยังไงก็เร็วเท่าโหมดอัตโนมัติ P S T ในกล้องไม่ได้ มันเก่งขึ้นมาก คิดว่าในกล้องรุ่นใหม่อื่นๆก็น่าจะดีขึ้นมากๆ เหมือนกัน ไอ้เรามันใช้กล้องรุ่นเก่ามันเลยตามเทคโนโลยีเขาไม่ทัน เลยทำเป็นตื่นเต้นกับเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งจะได้ใช้กับเขาเท่านั้นเอง

ลองเล่น BLE Wireless Sensor Tag Demo V1.1

เมื่อวานก่อนไปงาน Embedded World 2016 ที่ Nürnberg มาครับ งานใหญ่มาก มีบริษัทใหญ่ๆทั่วโลกมาออกบูธแสดงสินค้าและบริการของตัวเองเพียบ มีของแจกเยอะมากๆด้วย ได้ของแจกฟรีมาเยอะเลยครับ หนึ่งในนั้นที่โชว์อยู่คือ BLE(Bluetooth Low Energy) Wireless Sensor Tag เป็นของโชว์ IoT ของบริษัท TE connectivity มีบอร์ดอื่นๆอีกหลายอย่างให้เลือก แต่เลือกเอาตังนี้มาน่าจะเล่นได้เลย ส่วนบอร์ดอื่นบางอันต้องการ module อื่นเชื่อมต่ออีกที

BLE Wireless Sensor Tag Demo V1.1

สิ่งที่ BLE Wireless Sensor Tag Demo V1.1 ทำได้คือ มีเซนเซอร์ตรวจวัด Humidity, Temperature, Pressure แล้วส่งข้อมูลผ่าน Bluetooth รองรับทั้ง Android และ Windows ลองเล่นดูแล้ว ถือว่าเจ๋งมากๆ เขาเครมว่าใช้ถ่าน CR2032 ก้อนกลมๆ นั้น อยู่ได้นาน 3 เดือนเลยครับ เจ๋งดีจริงๆ

รายละเอียดทั้วไปของบอร์ด BLE Wireless Sensor Tag Demo V1.1 download link

  • Bluetooth Low Energy Tag
  • Humidity (0-100%RH)
  • Temperature (-20°C + 85°C)
  • Pressure (300 to 1200mBar)
  • Android & Windows PC compatible แต่ใน App Store ก็มีแอพให้เล่นเหมือนกันนะแต่ไม่มีเครื่องลองเลยไม่รู้ว่าใช้ได้ไหม
  • อื่นๆ มี SDK ให้เอาไปพัฒนาต่อได้ด้วย

เอาพื้นที่จาก Google Photos กลับมาใช้งาน

Google Photos ให้พื้นที่ในการเก็บภาพฟรีแบบ Unlimited ถ้าภาพขนาดไม่เกิน 16 megapixels (MP) สำหรับภาพนิ่งและ 1080p สำหรับวิดีโอ แต่ถ้าอัพโหลดภาพเกินกว่าข้อกำหนดดังกล่าวก็จะใช้พื้นที่ Google storage ของเรา

ก่อนที่ Google จะเปิดให้ผู้ใช้เก็บภาพแบบ Unlimited ผมได้อัพโหลดภาพไว้เยอะพอสมควร เลยอยากจะได้พื้นที่ส่วนนั้นกลับมา เพราะ 16 MP ถือว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานแล้ว จะโหลดออกมาอัดเป็นอัลบั้มก็ยังคงคมชัดใช้ได้ แต่จะให้ตามไปเปลี่ยนภาพขนาด 21MP ให้เป็น 16MP ทุกภาพก็คงจะไม่ไหว เลยต้องปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้นเรื่อยมา วันนี้เลยเอาวิธีมาบอก

Google Photos ให้พื้นที่คืนกลับมาเยอะเลย

เมื่อวานค้นไปค้นมาไปเจอว่า Google photos มีเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถลดขนาดภาพในพื้นที่ของเราได้ โดยการเปลี่ยน(Converting) ภาพที่ขนาดใหญ่ของเราให้เป็นภาพ High quality ที่ 16 MP แล้วให้พื้นที่ส่วนนั้นกลับมาให้เราได้ใช้งาน แล้วทำง่ายมากแค่คลิกเดียว ขั้นตอนดังนี้ครับ

  1. เข้าไปที่ลิงค์ photos.google.com/settings
  2. คลิก RECOVER STORAGE

แล้วก็รอผล ใช้เวลาในการ converting ตามปริมาณภาพที่มีครับ

Reduce the size of your photos & videos

ขายภาพบน Shutterstock แล้วนะ

www-shutterstock-com

Portfolio: https://www.shutterstock.com/g/sarapuk?rid=3759287

ไม่ได้อัพเดตบล็อกมานานมาก นานจนเพื่อนบางคนคิดว่าเลิกเขียนไปแล้วแน่ๆ ช่วงเวลาที่หายไปมีหลายอย่างเปลี่ยนไปเยอะมาก มีทั้งดีและร้าย ดีใจมากและเสียใจมาก ปนๆกันไป ชีวิตมันก็คงเป็นแบบนี้แหละ

ขอเขียนตามหัวข้อด้านบนดีกว่าจะได้จะได้ไม่ออกนอกเรื่องมากเกินไป

เรื่องการขายภาพดิจิตอลผ่านทางเว็บไซต์นั้นพอจะรู้เรื่องนี้มานานแล้ว ดูจากที่ปีที่สมัครเป็นสมาชิกครั้งแรกใน iStockphoto.com ของตัวเองนั้นมันตั้งแต่ปี 2009 แล้ว ช่วงปีนั้น iStock น่าจะเป็นเจ้าตลาดอยู่ ตอนน้ันส่งรูปเข้าไปสอบแต่ไม่ผ่านเลยคิดว่าตัวเองน่าจะยังถ่ายรูปได้ห่วย เอากล้องของมหาลัยมาถ่ายด้วย เลยเลิกล้มความคิดไป เวลาผ่านไป 7 ปี (ใช้เวลาในการฝึกนานนะ) กว่าจะกลับมาสอบผ่านและขายได้

ส่วนของ Shutterstock.com ตัวเองเป็นสมาชิกเมื่อไม่นานมานี้ คือตอนปี 2015 คิดว่าตอนนี้เจ้านี้ น่าจะเป็นผู้นำในตลาดอยู่นะ อันนี้ดูมาจากสัดส่วนรายได้ของช่างภาพที่อัพโหลดขายหลายที่ แล้วเขาได้รับรายได้จาก Shutterstock เยอะที่สุด ยังมีอีกหลายเจ้าที่เขานิยม เช่น Fotolia, Depositphotos, Dreamstime, 123rf, 500px etc. แต่ก็เลือกอันที่น่าจะทำรายได้ได้เยอะสุดก่อน

แล้วทำไมกลับมาสนใจถ่ายภาพขายอีกครั้งหลังจากทิ้งความสนใจนี้ไปนานมากแล้ว ก็ต้องตอบว่าตอนนี้อยู่ยุโรป ได้มีโอกาสไปเที่ยวที่ต่างๆเยอะ เราก็ถ่ายรูปมานานแล้วทั้งถ่ายเล่น ถ่ายจริงจัง มันก็ควรจะมีประสบการณ์มากขึ้นบ้าง หลังจากไปเที่ยวกลับมานำรูปไปแชร์ในที่ต่างๆ เช่น Facebook หรือแม้แต่ใน 500px ก็มีติด Popular กับเขาอยู่บ้าง เพื่อนฝรั่งก็บอกว่ารูปที่คุณถ่ายคุณภาพใช้ได้เลยนะ ไม่ลองขายมันเลยล่ะ จึงได้กลับมาลองส่งภาพไปสอบอีกรอบ ปรากฏว่าผ่าน สามารถขายใน Shutterstock ได้ แล้วก็ทยอยอัพโหลดรูปที่มีในเครื่องให้เขาตรวจสอบ ก็มีทั้งผ่านและไม่ผ่าน เดี๋ยวเล่าต่อว่าหลังจากส่งไปแล้ว อันที่ผ่านก็โอเคไป ส่วนอันที่ไม่ผ่านมีอะไรบ้าง

หลังจาก 2 สัปดาห์ที่ผ่านมานั่งขุดรูปที่ยังเหลืออยู่ในคอมมาปรับและส่งไปตรวจ ได้ไปราวๆร้อยกว่ารูป สรุปว่าผ่านประมาณ  70% ของรูปทั้งหมดที่ส่ง ส่วนที่ไม่ผ่านมีปัญหา เรียงจากที่เจอบ่อยสุดไปน้อยสุดได้ดังนี้

Kyoto มองชัดแต่ขยาย 100% ระยะไกลจะหลุดโฟกัส

Focus, ถูก rejected ไปราว 10% เป็นภาพชุดของการถ่าย Cityscape ตอนถ่ายไม่ได้คำนึงถึงความชัดมากนัก ภาพที่ได้จากรูรับแสง f5.6 นี้คือหมดสิทธิเลย f8 ผ่านบ้าง ตอนถ่ายเราคิดว่ามันน่าจะชัดตลอดแนวแล้ว แต่ภาพเมื่อดูแบบ 100% กับมีเบลอเล็กน้อยที่ไกลๆ แต่มีคนแนะนำว่าให้เพิ่ม Sharpen ให้ภาพและลดขนาดของภาพลง แล้วลองส่งใหม่ ลองทำดูราว 10 ภาพเมื่อวาน ปรากฏว่าผ่านครับ คิดว่าภาพในชุดนี้น่าจะเอามาแก้ไขใหม่แล้วลองส่งใหม่อีกที อีกอย่างถ้าใช้ขาตั้งกล้องน่าจะช่วยได้เยอะให้ภาพไม่สั่นไหว แล้วเกิดอาการเบลอในระยะไกล หรือใช้ shutter speed สูงขึ้นหน่อย

ในพื้นที่บางแห่งต้องมีเอกสารประกอบ

-Propety Release, ถูก rejected ไปราว 5% เป็นชุดภาพที่ไปถ่ายในวัง Kyoto imperial palace โดนทั้งชุด อันนี้ไม่รู้จะแก้ไขยังไง ครั้งหน้าต้องดูให้ดีว่าถ้าเป็นพื้นที่เฉพาะ หรืออาจจะต้องเขียนคำอธิบายให้ดีกว่านี้ แต่บางคนแนะนำว่าให้เปลี่ยนเป็น Editorial อาจจะผ่านได้ เลยจะลองส่งใหม่ดูอีกที

ภาพที่โดน rejeted จากปัญหาเรื่องแสง

-Poor lighting, ถูก rejected ไปราว 5% เป็นภาพชุดของ Golden temple โดนทั้งชุดเหมือนกัน ต้องบอกว่าถ่ายมาไม่ดีเอง เพราะตอนนั้นวัดซึ่งเป็นสีทองอยู่แล้ว โดนแสงจากพระอาทิตย์ช่วงราวๆบ่าย 3-4 ยิงใส่ตรงๆเลย สะท้อนเข้ากล้องพอดีถ้าวัดแสงที่บรรยากาศรอบๆ พอถ่ายออกมาจะทำให้ตัวปราสาทแสงหลุดไปเลย แต่ถ้าวัดแสงที่ตัวปราสาทบรรยากาศรอบๆก็มืดจมดินเลย ห่างกันราว 3-4 stop เลย ตอนนั้นถ้าหยิบตัว CPL ขึ้นมาใส่อาจจะช่วยลดแสงสะท้อนได้บ้าง หรือไม่ก็เลี่ยงสถานการณ์อะไรแบบนี้

อันนี้ composition ไม่ผ่าน

-Composition, ถูก rejected ไปราว 5% เหมือนกับปัญหาที่แล้ว อันนี้บางทีเรามองว่าเราจัดดีแล้ว คิดถึงกฏต่างๆดีแล้ว แต่บางทีก็ไม่พอ ต้องจัดมุมมอง และซ้อมให้เยอะขึ้น

ภาพ Cityscape ต้องระวังเรื่องโลโก้ Trademark

-Trademark, ถูก rejected ไปราว 3% ตอนถ่าย City view ต้องเช็คให้ดีว่ามีโลโก้บริษัทอะไรโผล่มาหรือไม่ ถ้ามีควรรีทัชออกก่อน แต่เอาให้เนียนๆนะ

Noise เยอะถ้าดูที่ส่วนของเงามืด

-Noise, มีหลุดไปบ้าง ต้องพยายามเช็คให้ละเอียด และใช้ noise reduction นิดหน่อยได้ หรือไม่ก็ย่อรูปลงแล้วส่งใหม่ ตามคำแนะนำของคนที่มีประสบการณ์บอก หรือแนะนำให้ซื้อกล้องใหม่ระดับ Full fram หรือพวก High end จะจัดการสัญญาณรบกวนได้ดีมาก ถ้าอยากแก้เบื้องต้นใช้ iso ต่ำสุดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ภาพที่ถ่ายจาก Canon 600D iso เกิน 400 คือแย่มาก (อยากได้กล้องใหม่)

สรุปว่า หลังจากส่งภาพไป ทำให้เราได้ feedback กลับมา ทำให้รู้ว่าภาพแบบไหนที่จะผ่านหรือไม่ผ่านมากขึ้น และนำมาคิดก่อนตั้งแต่จะกดชัตเตอร์ สิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำมากขึ้น คิดว่าในการออกไปถ่ายรูปในครั้งต่อไปน่าจะทำให้ถ่ายอย่างมีเป้าหมายมากขึ้น และรู้ว่าควรถ่ายยังไงบ้าง เช่น ควรเลี่ยงคนที่เข้ามาในภาพ ตรวจสอบแสงให้ดี ตรวจดูความคมชัด ดูการจัดองค์ประกอบ ฯลฯ น่าจะถ่ายรูปแบบคำนึงภาพหลัง Process มากขึ้น

ตามไปดู Portfolio: https://www.shutterstock.com/g/sarapuk

อยากขายเองบ้าง: https://submit.shutterstock.com

เขียนถึง (วิเคราะห์) Sony Pictures ถูกแฮคครั้งใหญ่

Sony Pictures hack

เรียกว่าวิเคราะห์ก็เขินเกินไปที่จะเขียนแบบนั้น ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องคอมพิวเตอร์ขนาดนั้น เลยใช้คำว่า “เขียนถึง” ก็พอแล้วกัน ข่าววงการไอทีที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงนี้คือ ข่าวบริษัท Sony Pictures ถูกแฮคคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เรียกได้ว่าถูกเจาะทะลุปรุโปร่ง อีเมล ระบบงาน ไฟล์หนังสมบูรณ์ที่ยังไม่ได้ฉาย บทภาพยนต์ เอกสารเจรจาธุรกิจ ข้อมูลพนักงาน เอกสารลับในบริษัท และอื่นๆอีกมากมาย เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่สำคัญและน่าติดตาม จึงอยากจะบันทึกเรื่องต่างๆในมุมมองของตัวเองเก็บไว้

มีข่าวหลายที่ตามเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

https://www.engadget.com/2014/12/10/sony-pictures-hack-the-whole-story/ 

https://www.bbc.com/news/technology-30530361

https://www.blognone.com/topics/sony-pictures (ภาษาไทย)

มีหลายสำนักโยงเรื่องการแฮคครั้งใหญ่นี้กับเกาหลีเหนือ ต้นเรื่องมาจากการทำหนังเรื่อง The Interview หนังตลกเกี่ยวกับการลอบสังหารผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ Kim Jong-un และการถูกขู่ให้ระงับการฉายหนังเรื่องนี้ก่อนที่เหตุการณ์การถูกแฮคจะเกิดขึ้น ยิ่งทำให้คนเชื่อว่ามีความเชื่อมโยงกัน แม้ว่าเกาหลีเหนือจะออกมาปฎิเสธแบบกรายๆว่าไม่ใช่ แต่จากการสืบสวนมีหลายอย่างที่มุงไปที่เกาหลีเหนือเป็นส่วนใหญ่ เรื่องนี้ไม่มีทีท่าว่าจบลงได้โดยง่าย แฮคเกอร์ยังมีข้อมูลหลายอย่างที่จะนำมาเผยแพร่ต่ออยู่อีกเรื่อยๆ

นามแฝงของแฮคเกอร์ #GOP

สิ่งที่พอจะมีความคิดเห็นกับเรื่องนี้ มีดังนี้

  1. ถ้าหากเป็นเกาหลีเหนือที่ทำจริง แสดงว่าเขามีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ที่แข่งแกร่งมาก พร้อมจะทำสงครามไซเบอร์กับใครก็ได้ ที่บอกว่าพร้อมจะโจมตีใครก็ได้เพราะดูจากการเลือกเป้าหมายที่โจมตีก่อน ไม่ใช่การเจอช่องโหว่ของระบบได้ด้วยความบังเอิญ หากแต่เป็นการมุ่งโจมตีเป้าหมายที่ต้องการจะโจมตี “ถ้าคุณยังยืนยันจะทำหนังล้อเลียนผู้นำของเราคุณจะถูกโจมตี” ในยุคที่ทุกอย่างแทบจะอยู่ในคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตหมดแล้ว ทำให้การโจมตีมาจากที่ไหนก็ได้ กลายเป็นว่าเกาหลีเหนือมีกองทัพไซเบอร์ที่น่ากลัวมาก
  2. โรงหนังของดฉายหนังเรื่อง The Interviews เพราะไม่อยากเป็นเป้าโจมตี ทำให้รู้สึกว่าเราอยู่ในยุคที่การโจมตี ไม่ใช่มาจากการโจมตีทางการทหารอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว การโจมตีทางไซเบอร์ทำความเสียหายให้กับเป้าหมายอย่างสูงมาก ในขณะที่ใช้กำลังพล กำลังทรัพย์น้อยกว่ามาก และการโจมตีเป้าหมายในระยะไกลคนละซีกโลกได้โดยง่าย
  3. ประเทศเรามีการพัฒนาหรือพร้อมกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน เท่าที่รู้เราไม่น่าจะมีกองกำลังที่จะโจมตีใครได้หรือจะดูแลตัวเองได้เลยด้วยซ้ำ ประเทศเราก็พึ่งพาคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอยู่ไม่น้อย ทะเบียนราช ชื่อ-ที่อยู่ของทุกคนในประเทศ ระบบภาษี ธนาคาร งานบริการอื่นๆอีกมากมาย ระบบความปลอดภัยของเราพร้อมมากน้อยแค่ไหน เป็นอีกเรื่องที่น่าให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
  4. ถ้าหากการแฮคครั้งใหญ่นี้เกิดจากช่องโหว่ในระบบที่มีการแจ้งเตือนก่อนหน้านี้แล้ว แต่ถูกเพิกเฉย เมื่อแฮคเกอร์ใช้ช่องโหว่นั้นแฮคได้สำเร็จ ได้ข้อมูลต่างๆไปมากมาย จากนั้นแค่นำเรื่องของเกาหลีเหนือมาเป็นข้ออ้างในการกระทำครั้งนี้ “Some Men Just Want to Watch the World Burn” ก็เป็นคราวซวยของ Sony Pictures ที่ฝ่ายไอทีเพิกเฉยกับเรื่องที่สำคัญเช่นนั้น แต่อย่างไรก็ตามผู้กระทำให้ผู้อื่นเสียหายดังกล่าวก็ควรได้รับการลงโทษตามกฏหมาย

เรื่องที่พอจะคิดออกและอยากเขียนถึงก็มีเพียงเท่านี้ ตอนแรกแค่อยากจะเขียนลงทวิตเตอร์แต่เขียนไปเขียนมามันเริ่มยาวเกินไปจึงนำมาเขียนในบล็อกเก็บไว้เลยดีกว่า ถ้ามีประเด็นไหนที่คิดออกอีกจะนำมาเขียนต่ออีกทีครับ

Flickr for Android ดาวน์โหลดไปใช้งานกัน

Flickr for Android

แปลกมากที่จะโหลด Flickr ลงมือถือแต่ดันฟ้องขึ้นมาว่าที่ประเทศไทยใช้ไม่ได้ ทำเอางงมากๆ ทำไมยังไม่เปิด Worldwide ทำให้เข้าไปค้นใน Google play ก็ไม่เจอ ต้องเข้าผ่านลิงค์ตรง Flickr for Android เข้าไปก็จะรู้ว่าติดตั้งไม่ได้ ใน iOS ก็ดาวน์โหลดไม่ได้เช่นกันนะ

Flickr ใน Google Play ติดตั้งไม่ได้

Flickr เป็นที่เก็บภาพถ่ายที่ให้พื้นที่ฟรีเยอะมาก 2TB บางครั้งภาพที่ต้องการเก็บแบบเต็มขนาดไฟล์ ใหญ่ๆ ก็จะเข้ามาใช้งาน Flickr บางครั้งก็อยากเข้าใช้งานผ่านมือถือ แต่ติดที่มันไม่ให้บ้านเราดาวน์โหลดผ่านทาง Google play ดังนั้นจึงได้ไปค้นหาไฟล์ APK มาติดตั้งเสียเลย

ค้นจาก Google ได้จากเว็บไซต์นี้ https://www.apk4fun.com ก็ดาวน์โหลดแล้วติดตั้งได้เลย ติดตั้งจากตัว APK ก็ใช้งานได้ดีเลยทีเดียว

ตัว Flickr for Android ก็มีฟีเจอร์ Auto Sync อยู่ด้วยซึ่งต้องระวังเรื่องการใช้ดาต้ากันให้ด้วย สามารถปิดได้ หรือเลือกให้ Sync เฉพาะตอนต่อ Wi-Fi ก็ได้ แต่ที่สำคัญกว่าคือ ค่า Privacy รูปที่ถ่ายจะเป็น Public เป็นค่าเริ่มต้น ควรเข้าไปตั้งค่าให้เหมาะสม เดี๋ยวใครที่ชอบถ่ายภาพแบบลับๆจะโชว์ให้ชาวบ้านเห็นในทันที ระบบ Auto Sync ทำงานได้ดีมาก เร็วทันใจ

Flickr for Android เมนูต่างๆ

ส่วนการใช้งานอื่นๆการถ่ายภาพ แล้วใส่ฟิวเตอร์ทำได้ง่ายและเร็ว แชร์ไปที่ Facebook, Tumblr, Twitter ได้พร้อมกันทันที ตัวแก้ไขภาพก็มีให้ใช้งานอย่างครบครันทั้งปรับสี ตัดภาพ ความสว่าง หมุนภาพ ฯลฯ

ตัวปรับแก้ไขภาพ และตัวเลือกฟิวเตอร์

ส่วนที่ใช้ปรับแต่ง แก้ไขภาพ และส่วนฟิวเตอร์ในแบบต่างๆ และการแชร์ภาพ

การถ่ายภาพ เมนูด้านขวาใส่ฟิวเตอร์ เมนูฝั่งขวาปรับแต่งภาพ และจบด้วยการแชร์ภาพ

Flickr for Android ทำให้เราสามารถเข้าถึงบัญชี Flickr ของเราได้ง่ายชึ้น และยังเป็นแอพที่ใช้ถ่ายภาพ ตกแต่งภาพ ที่ใช้ง่าย สมควรมีติดไว้ในสมาร์ทโฟนของท่านอย่างยิ่ง

ถ้าลิงค์จากด้านบนโหลดไม่ได้ คลิกโหลดจากนี้ได้ครับ Flickr for Android V3.1.3

วิธีดาวน์โหลดทวีตของตัวเองทั้งหมดมาเก็บไว้

ถ้าใครอยากจะ backup ทวีตของตัวเองทั้งหมดจาก Twitter มาเก็บไว้ มีขั้นตอนง่ายๆมาแนะนำครับ

ขั้นตอนการดาวน์โหลดทวีตของตัวเองทั้งหมดมาเก็บไว้

1. ล็อกอินเข้าไปที่เว็บไซต์ twitter.com
2. เข้าไปที่เมนู setting คลิกที่รูป Avatar ของเรา

เมนู setting

3. เลื่อนลงไปที่ส่วนของ Content กดคลิกที่ปุ่ม Request your archive

Request your archive

4.ระบบจะส่งลิงค์สำหรับดาวน์โหลดทวีตไปที่อีเมลอันเดียวกับที่เราใช้สมัคร twitter

แจ้งรายละเอียดการส่งลิงค์ไปที่อีเมล

5. สักครู่เราจะได้รับอีเมลจาก Twitter จะมีลิงค์สำหรับดาวน์โหลด คลิกเลย!

ลิงค์ในอีเมล

6. เมื่อกดลิงค์จะเปิดเข้ามาที่หน้าดาวน์โหลด คลิกปุ่ม Download เลือกตำแหน่งที่จะบันทึกลงในเครื่องตามต้องการ

ลิงค์ดาวน์โหลด

7. ไฟล์ที่โหลดมาจากชื่อ Tweets.zip เมื่อแตกไฟล์ออกมาจะหลายไฟล์อยู่ในนั้น

ไฟล์ที่โหลดลงเครื่องไว้

8. เมื่อคลิกเปิดดูไฟล์ที่ชื่อ index.html ก็จะเห็นทวีตของเราทั้งหมดตั้งแต่ทวีตครั้งแรกจนถึงทวีตล่าสุด เมนูด้านขวาจะแบ่งตามปี เรียงตามเดือน เมื่อคลิกที่แถบก็จะแสดงข้อความที่เราทวีตไว้เมื่อเดือนและปีนั้นๆขึ้น

ทวีตทั้งหมด

ขั้นตอนการดาวน์โหลดทวีตของเราทั้งหมดมาเก็บไว้ก็มีขั้นตอนง่ายเท่านี้ ทดลองโหลดมาเก็บไว้ได้นะครับ เผื่อว่าอยากนำทวีตของตัวเองมาทำอะไรต่อไป เช่น ทำสมุดรวมทวีต เป็นต้น

Exit mobile version