duocore : เมื่อคนชอบดู แต่ไม่ชอบเอา

เว็บไซต์ Duocore.tv
เว็บไซต์ Duocore.tv

duocore เป็นเว็บที่ดี คล้ายกับ Digg โดยทุกคนสามารถส่งเรื่องที่น่าสนใจ เข้ามาเผยแพร่ แชร์ให้คนอื่นได้อ่านบ้าง
และมีรายการ duocore ที่ออกทุกสัปดาห์ (หรือป่าว) สโลแกน “ผลักดันวงการไอทีในบ้านเรา” พบกับ เรื่องราวที่มี
คน”เอา”มากที่สุดในรอบสัปดาห์
ซึ่งตอนที่ผมเขียนอยู่นี้ ตอนที่ 115 แล้ว และมีตอนพิเศษประมาณ 20 กว่าตอน

หลังจากที่เขียนบล็อกของตัวเองได้สักประมาณครึ่งปีแล้ว และก็ได้อาศัย duocore ในการเผยแพร่เนื้อหาที่ตัวเองเขียน
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นได้ในสังคม duocore พอจะสรุป ได้ดังนี้ ซึ่งอาจจะมีทั้งดีและไม่ดีครับ
คนอ่านเยอะแต่มีน้อยคนที่จะ “เอา” ผมสังเกตได้จาก Reference ของ Analytics ของบล็อกที่มีการเข้าจากลิงค์
duocore ในเรื่องที่เป็นเรื่องเด่น ประมาณ 320 นับ 1 สัปดาห์หลังจากส่งเรื่อง แต่เรื่องถูกเอาแค่ 10 คิดเป็นเปอร์เซ็น
แล้วประมาณ 3.125 %  คือร้อยคนเอาประมาณ 3 คน

Referal จาก duocore
เรื่องที่มีคน เอา

ปัญหาเมื่อคน “เอา” น้อย
เรื่องที่น่าสนใจ หรือเรื่องใหม่ที่เข้ามา ไม่ได้ขึ้นเรื่องเด่นสักที ผ่านไปเกือบ สัปดาห์ค่อยขึ้นมา เรื่องนั้นเลยกลายเป็น
เรื่องที่ไม่น่าสนใจไป หรือเป็นข่าวเก่าไปแล้ว ส่งผลเป็นลูกโซ่ คนที่เข้ามาเห็นว่ามีแต่ข่าวเก่า เรื่องเก่าเลยไม่ค่อยเข้ามา
กลายเป็นว่าจะเข้ามา สัปดาห์ละครั้งสองครั้งแทน และส่งผลให้คนไม่อยากส่งเรื่องเข้ามา เพราะส่งมาไม่มีคนเอา
วิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไข
ปัญหานี้ไม่ใช้เพิ่งจะเป็นแต่เป็นเรื่องที่เป็นปัญหามานานแล้ว คุณออยก็บ่นไว้ ทั้งในรายการและบนเว็บ และก็มีแคมเปญ
ต่างๆออกมาเรื่อยๆ แต่ดูเหมือนปัญหายังยังอยู่ ปัญหานี้ต้องช่วยกันทุกๆฝ่าย ทั้งตัวระบบเอง และผู้ใช้ทุกคน
อันนี้เป็นแนวคิดของผมนะครับ

  1. สมาชิกเวลาเข้ามาใช้งานควรล็อกอิน หรือตั้งออโต้ล็อกอินไว้เลย เวลาอ่านเรื่องแล้วจะได้คลิก เอาได้ง่าย
  2. เรื่องไหนอ่านแล้ว ชอบหรืออยากให่กำลังใจ คลิก “เอา” ด้วย อันนี้ต้องรณรงค์กันบ่อย ถามเพื่อนด้วยว่า
    “วันนี้คุณ เอา แล้วหรือยัง”
  3. คลิกเข้าไปดูในหัวข้อ เรื่องใหม่เพิ่งมา ด้วย ไม่ใช่ดูเฉพาะเรื่องเด่น จะได้รู้ว่าเรื่องดีๆที่ไม่ขึ้นเรื่องเด่นมีอีกเยอะ

    หัวข้อ เรื่องใหม่เพิ่งมา

  4. คนที่ไม่มีเว็บไซต์ของตัวเอง แต่อ่านเรื่องต่างๆแล้วเป็นเรื่องที่ดี น่าสนใจอยากแบ่งปัน ก็สามารถส่งเข้ามาได้
    (ส่วนใหญ่ส่งแต่เว็บตัวเอง) ต้องทำให้เป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน
  5. ระบบส่งข่าว การจำกัดการส่งหัวข้อ เป็นเรื่องดีครับ เป็นกรองเนื้อหาในระดับหนึ่ง แต่รู้สึกว่ามันจำกัดเกินไป และ
    อับ level ยากมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากคนไม่ “เอา” นั้นแหละ ต้องช่วยๆกัน เว็บจะได้ขยายตัว

    การจำกัดเรื่องที่ส่งเข้ามา

  6. ระบบจัดการกับสแปม คนส่งลำบากมากได้แค่วันละหนึ่งลิงค์ แต่สแปมส่งได้เยอะ(แอบบ่น)ทำให้เรื่องที่
    ส่งมาถูกสแปมแย่งพื้นที่ไปหมด อันนี้เห็นใจทีมงาน อยากให้มีตัวกรองที่ดีกว่านี้

    แสปมใน duocore

  7. ทำ duocore 101 เหมือน twitter 101 ดีไหมจะได้เป็นการแนะนำวิธีใช้ให้สมาชิกใหม่
  8. การเขียนส่วนตัดทอน ต้องเขียนให้น่าสนใจ และไม่ควรให้ระบบดึงข้อมูลเอง ควรเขียนเองเพื่อเพิ่มความน่า
    สนใจมากขึ้น ตามประสบการณ์ส่วนตัดทอนที่เป็นภาพมักจะมีคนเอามากกว่าส่วนตัดทอนที่เป็นข้อความ
    เพราะ คนไทยขี้เกียจอ่านแต่ชอบดู

ผมพอจะเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขเล็กๆน้อยๆได้เท่าที่คิดออกตอนนี้ถ้าคิดออกเพิ่มเติมจะมาเสนอต่อ
ใครมีอะไรดีๆ ก็เอามาแบ่งปันกันครับ  สุดท้าย “อยากให้สมาชิกทุกคนช่วย เอา กันเยอะๆนะครับ”

ขอบคุณ duocore.tv

Youtube มีเมนูให้คลิกเลือกซีนด้วย

คลิปวีดีโอจาก Red Bull

ผม Subscripibe Youtube ของ Red Bull เอาไว้ดูคลิปกีฬามันส์ๆ การเต้น B-Boy สนุกๆ
วันนี้คลิกเข้ามาดูเจอคลิปการแข่งขันมอเตอร์ไซต์พาดโผน น่าสนุกดีก็เข้าไปดู ก็มี Intro
แป้บหนึ่ง เสร็จแล้วก็มีเมนูไฟวิ่งๆ เลยลองคลิกดู เป็นการเลือกวีดีโอซะงั้น อย่าหาว่าผมเชยเลย
นะครับ เพราะผมพึงเจอคลิปที่สามารถเลือกซีนได้ เลยตื่นเต้น ดูแล้วเหมือนเรากำลังเปิดดีวีดี
ดูหนังอย่างไงอย่างงั้น Red Bull ทำออกมาได้หน้าสนใจมากครับ ต่อไปคงมีให้เลือกซับบรรยาย
หรือเสียงไทย-ฝรั่งได้เป็นแน่

ตัวอย่าง

Dropbox : Sync ไฟล์ในเครื่องกับอินเตอร์เน็ต

หน้าเว็บของ Dropbox

บริการฝากไฟล์ในโลกอินเตอร์เน็ตมีอยู่มากมาย อย่างเช่น Mediafire ,Rapidshare ,depositfiles ฯลฯแต่ไปเจอบริการอีกตัวที่แตกต่างกับตัวอื่นๆ อยู่นิดหน่อย Dropbox ค่อนข้างช่วยผมได้มาก ผมใช้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องทำให้เวลาไปทำงาน ไปเรียน หรืออยู่ห้อง เมื่อโหลดไฟล์บางอย่างมาก็ต้องเอาลง flash driveซึ่งมันไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ เมื่อผมสมัครบริการของ Dropbox จะได้พื้นที่ออนไลน์ฟรีมา 2 GB (แต่สามารถอับเกรดเป็น 3 GB ได้ถ้าแนะนำให้คนอื่นได้ใช้โดยให้เพิ่มอีก 250 MB/คน) Dropbox จะติดตั้งโปรแกรมเล็กๆตัวหนึ่งลงที่เครื่องของเราและสร้างโฟวเดอร์ ชื่อ My Dropbox ขึ้นมาบนเครื่องของเรา เมื่อเราเอาไฟล์ลงไปที่โฟว์เดอร์นี้มันจะ Sync ขึ้นไปบนเว็บ เมื่อผมไปใช้เครื่องอื่น ติดตั้งโปรแกรมแล้ว login มันก็จะ sync อัตโนมัติลงเครื่องเลย หรือเมื่อไปใช้เครื่องอื่น แต่ไม่ต้องการลงโปรแกรมก็สามารถดาวน์โหลดได้โดยตรงผ่านทางหน้าเว็บ หรือจะส่งแชร์ไฟล์ให้เพื่อนด้วยก็ได้ เป็นบริการดีมากๆ ตอนนี้เจ้า flash drive 2 GB ของผมเลยเก็บเข้ากล่องไปเรียบร้อยแล้ว แต่ข้อเสียก็มี คือเครื่องที่ใช้ต้องเล่นอินเตอร์เน็ตได้ พื้นที่ฟรีค่อนข้างน้อย รุ่นเสียตังค์ได้ถึง 50 GB  และ 100 GB

ข้อมูล : Dropbox

Morse Code in Wolfram Alpha

morse code in wolfram alpha

รหัสมอร์ส ถูกคิดค้นขึ้นมาประมาณ ค.ศ. 1830 โดย ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส(Samuel F. B. Morse) และ
อัลเฟรต เวล(Alfred Vail)  เพื่อใช้ในการส่งโทรเลข ปัจจุบันในยุคที่มีการสื่อสารที่ทันสมัย รหัสมอร์สก็ถูก
ลดบทบาทลงไปตามกาลเวลา แต่ล่าสุดที่ผมเห็น คือในหนังเรื่อง Infernal affairs ที่พระเอกส่งข่าวให้ตำรวจ
ตอนที่มีการส่งยาเสพติด ใน wiki มีการอธิบายเรื่องของ รหัสมอร์สไว้ค่อนข้างละเอียดและมีเสียงของรหัสมอร์ส
ที่ใช้แทนตัวอักษรแต่ละตัวไว้ด้วย วันนี้ผมจะนำเสนอความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ Wolfram Alpha
คือการแปลรหัสมอร์สเป็นตัวอักษร หรือแปลอักษรเป็นรหัสมอร์ส เครื่องหมายที่ใช้ในรหัสมอร์สจะมีสองเครื่องหมาย
คือ จุด(.) กับขีด(-)

วิธีใช้คือพิมพ์ morse code “ใส่รหัส หรือ ตัวอักษร”
ลอง copy ข้อความนี้ไปวางใน wolfram alpha ดูครับ

morse code “.- — .–. …. ..- .-.”
morse code “Wolfram alpha”

Color Wizard โปรแกรมเลือกสีออนไลน์

โปรแกรมเลือกสี สำหรับเว็บไซต์

คิดไม่ออกว่าจะใช้สีอะไรในการทำเว็บไซต์ โปรแกรมนี้ช่วยได้ครับ ใช้งานค่อนข้างง่าย และไม่ต้องติดตั้งด้วย ทำให้ผมทำงานค่อนข้างสะดวก และง่าย ที่จริงที่เว็บเขามีทั้งหมดสามโปรแกรมที่เป็น tools เกี่ยวกับ การจัดการสีในเว็บไซต์ Color Contrast, Color Wheel และ Color Wizard ทีผมใช้ประจำ มีโทนสีให้เลือกมากมายเข้าไปดูได้ที่ https://www.colorsontheweb.com

ลองใช้ดูเลยครับ

โอ้แม่เจ้าเน็ตจุฬาฯ Speed 70 Mb

speedtest

หลังจากที่ติดตั้งอินเตอร์เน็ตของ true ที่ห้องพักความเร็ว 3 Mb แล้วเล่นไปได้ 2-3 วัน รู้สึกว่า ทำไมมันไม่ทันใจ โหลดช้า เพราะปกติใช้เน็ตที่ จุฬาฯ คลิกปั๊บมาปุ๊บดาวน์โหลดไฟล์นี้เร็วมาก แต่ใช้มาตั้งนานก็ไม่ได้ทำ speedtest ของเน็ต จุฬาฯ ดูสักที แต่ของ true ทดสอบแล้วอยู่ที่ประมาณ 2.5-2.7 Mb/s ก็ใกล้เคียงกับโปรโมชั่นที่โฆษณาไว้ วันนี้เลยอยากทดสอบ Speedtest ของเน็ตจุฬาฯดูหน่อยว่าความเร็วมันเท่าไหร่กันแน่ ผมใช้การทดสอบของเว็บ speedtest.net

ผลการทดสอบ
แม่เจ้า ต้องอุทานออกมาแรงแรง มันเร็วขนาดนี้เลยหรอเนี้ย

speedtest internet CHULA
download speed internet CHULA
Upload Speed internet CHULA

เอาหลักฐานมาให้ดูกันผมทำหลายครั้งค่าเฉลี่ยดาวน์โหลดอยู่ที่ 65-75 Mb/s และอับโหลดอยู่ที่ประมาณ 40-60 Mb/s ตอนนี้เลยหายสงสัยเลยว่าทำไมความเร็ว 3 Mb ที่ห้องมันกลายเป็นเต่าไปเลยเมื่อเทียบกับความเร็วที่จุฬาฯ

ตามมาอับเดตต่อ speedtest ของ true

speedtest true

โปรแกรมแรกบน WebOS โดย Palm Mojo SDK

My first Program in WebOS

Palm Mojo SDK ชุดพัฒนาโปรแกรมสำหรับ WebOS ที่ใช้ในมือถือ Pam Pre หลังจากที่มีหลุดออกทางบิตได้สักพักก็ได้เวลาเปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว ด้วยคำเล่าลือ มันเจ๋งมากๆ ซึ่งในตลาดตอนนี้ OS สำหรับมือถือมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดมาก ไม่ว่าจะเป็น iPhone OS, Windows Mobile, Androind, Symbian และล่าสุดที่มาแรง คือ WebOS เป็น OS ที่ใช้ HTML ในการพัฒนา เอาเป็นว่าใครทำเว็บได้ก็สามารถที่จะศึกษา แล้วพัฒนาโปรแกรมได้ง่ายๆ ชุดพัฒนามีให้เลือกทั้งเวอร์ชั่น Windows,Mac,Linux เห็นคุณ @markpeak ทำใน Linux ดูที่ mk’s blog ผมเลยอยากลองทำดูบ้าง

เครื่องที่ผมใช้คือ Windows Vista อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในครั้งนี้

  1. Java เลือกติดตั้งเวอร์ชั่นล่าสุด
  2. Safari 4
  3. VirtualBox
  4. Palm® Mojo™ SDK

ในการพัฒนาสามารถใช้โปรแกรม Editor ทั่วไปได้ และใช้ Comman line ในการสั่งงาน แต่ผมได้ใช้ Eclipse ตามที่เขาแนะนำดูวิธีติดตั้ง Eclipse and Plugin for SDK เมื่อเราติดตั้ง SDK แล้วจะมีโปรแกรมตัวอย่าง มาให้ด้วย 8 โปรแกรม สามารถติดตั้งทดลองใช้ได้ อยู่ในโฟว์เดอร์ /Palm webOS SDK/Sample Code/samples สามารถติดตั้งได้โดยการใช้ ส่วน tutorial ของ code เริ่มต้น “Helloworld” ดูได้ที่ลิงค์นี้

HTML Editor
My Program Icon in Palm Pre Emulator

ผมลองเล่น Emulator และลองเขียนโปรแกรมที่ใช้ code html ธรรมดารู้สึกว่ามันง่ายดีนะ ยอมรับว่าคนคิด WebOS นี้สุดยอดมาก เข้าไปดูรายละเอียดตามเว็บอ้างอิงครับ

อ้างอิง : https://developer.palm.com/index.php

Google Reader ผมอ่านอะไร คุณอ่านอะไร

Google Reader

Google Reader เป็นอีกบริการของ Google ที่มีประโยชน์มาก การติดตามอ่านข่าวหรือบล็อกที่เราสนใจ
ที่มีจำนวนมากหากต้องนั่งเปิดทุกเว็บคงเป็นการยาก และคงจำชื่อได้ไม่หมด หรือแม้แต่มี bookmark เก็บไว้
ก็ตามก็ไม่สะดวก การอ่านผ่าน RSS คงเป็นคำตอบของปัญหานี้ ใครที่มี account ของ Gmail อยู่แล้วก็เปิดใช้บริการได้
แล้วที่ https://www.Google.com/reader ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Google reader มากยิ่งขึ้น ดูวีดีโอ

แต่ในวันนี้จะพูดถึงการปรับปรุงใหม่ของ Google reader ที่มีการพัฒนาขึ้นอีกขั้นสู่ความเป็น Social Network
มากยิ่งขึ้น ปกติเราสามารถ share เรื่องที่เราอ่านให้เพื่อนที่ follow เราอยู่ได้ แต่ Google ได้มีการปรับปรุงเพิ่ม
เติมขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น และค้นหาและติดตามคนอื่นได้ง่ายและเร็วขึ้น

เราสามารถที่จะค้นหาบุคคลอื่นได้ และ follow ได้ทันที สามารถค้นหาได้ในช่องค้นหานี้ Search
และผลการค้นหาจะแสดงรายละเอียดของบุคคลนั้นด้วย Google profile

แสดงการค้นหา ตามชื่อที่ต้องการติดตาม

Google Reader Sharing settings จะเป็นการตั้งค่าต่างๆว่าคุณเป็น public(Anyone can view) หรือ protected(Share with Selected goroups)groups ที่เลือกก็เป็น groups เดียวกันใน Gmail Contact ถ้าต้องการ follow คนที่อยู่ในสถานะ protected ก็ต้องส่งคำร้องไปเพื่อให้เขายอมรับการ follow

sharing setting

ถ้าต้องการให้คนอื่นสามารถค้นหาชื่อของคุณได้ ให้คลิกเลือก Also add a link to my shared items on my Google Profile ในหน้า share setting

Also add a link to my shared items on my Google Profile (so people can search for you)

นอกจากนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการติดตาม เราสามารถสร้าง URL ของเราซึ่งปกติเป็น
https://www.Google.com/reader/shared/16976835415198312336
ให้อยู่ในชื่อที่ง่ายขึ้นแบบนี้ได้https://www.Google.com/reader/shared/sarapukdee
ด้วยการได้ ennable มันที่ Edit your profile ตรงหัวข้อ Profile URL
แล้วส่ง URL ดังกล่าวให้เพื่อนๆ เพื่อ follow เรา (เหมือนเปลี่ยน URL ใน Facebook เลย)

profile URL

อีกสิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือเมื่ออ่านแล้วคุณ “like” บทความนั้นหรือไม่ ถ้า “like” คลิก like ใต้บทความหรือกด L
ที่คีย์บอร์ดก็ได้
หรือต้องการ share ให้คนอื่นอ่านด้วยก็กด Share หรือ กด shift+S ที่คีย์บอร์ด
ดู Keyboard shortcuts เพิ่มเติม

item content อยู่ด้านล่างของเนื้อหานั้นๆ

เมื่อเราคลิก like ด้านบนของบทความนั้นก็จะมีจำนวนของคนที่อ่านแล้วคลิก like ไปทั้งหมดเราสามารถที่จะ
ดูรายละเอียดของคน like บทความนั้นได้ และตามไป follow ได้อีกด้วย

เมื่ออ่านคลิก like บทความนั้นก็จะมีชื่อเราในกลุ่มคนที่ชอบและสามารถดู profile ได้ด้วย

การปรับปรุง Google reader ครั้งนี้ทำได้ดีมาก และเพิ่มความเป็น social network ขึ้นอีกเยอะเลย
ใครสนใจอยาก follow ผมเข้าไปที่ลิงค์นี้ได้เลยครับ
https://www.Google.com/profiles/sarapukdee
RSS Blog ผม : https://feeds.feedburner.com/amphur

ที่มา : https://Googlereader.blogspot.com

แกะกล่อง Router Modem จาก true Hi-speed internet

โมเด็ม จาก true hi-speed internet

หลังจากไปสมัครขอใช้ Hi-speed internet จาก true รอเรื่องเกือบเดือนกว่า พึ่งได้รับการติดต่อ เมื่อวานได้รับโทรศัพท์จากพนักงานว่าจะเอาโมเด็มมาส่งให้ประมาณ 10 โมงของวันนี้ และมีข้อความส่งมาที่มือถือว่าจะมาติดตั้งตามเลขหมายที่ขอไว้ในวันเสาร์ ที่ 18 ก.ค. นี้ แล้วตอน 11 โมง ก็มีพนักงานโทรศัพท์ให้มารับโมเด็มหน้าปากซอยด้วยเพราะเข้าไปข้างในไม่ได้ เนื่องจากกำลังมีการก่อสร้างท่อน้ำ เลยออกมารับ ก็ได้กล่องโมเด็มพร้อมเอกสาร 1 ใบเขียนชื่อผู้รับเป็นเรา ก็เลยถือโอกาสแกะกล่องให้ดูเลยว่าข้างในมีอะไรบ้าง

  1. กล่องเป็นกล่องกระดาษ ด้านนอกมีการ์ด 1 ใบ ซึ่งการ์ดด้านหลังมีที่ขูดรหัส pin code ที่จะใช้ในการสมัคร
    แกะกล่องออกดู
  2. ภายในกล่องโมเด็มมีอะไรบ้าง
  3. โมเด็ม 1 port ยี่ห้อ “BILLION” ตามสัญญาแล้วเป็นสมบัติของ true ครับ เราเพียงแค่เช่าถ้าเลิกใช้ภายใน 1 ปี
    จะต้องส่งคืน

    โมเด็ม 1 port ยี่ห้อ BILLION

  4. สายโทรศัพท์ 2 เส้น สาย Lan อีก 1 เส้น

    สายโทรศัพท์ 2 เส้น กับ สาย Lan อีก 1 เส้น

  5. หม้อแปลงไฟฟ้า

    หม้อแปลงไฟฟ้า

  6. ตัว Splitter 1 ตัว ตัวแยกสัญญาณโทรศัพท์ กับ internet ทำให้เล่นเน็ตกับโทรพร้อมกันได้

    Splitter

  7. ซีดีโปรแกรมติดตั้ง ในซองที่เป็นแผ่นพับอย่างสวยงาม

    ซีดีติดตั้งโปรแกรม พร้อมซองที่มีขั้นตอนการลงทะเบียนใช้

  8. และอันสุดท้าย คู่มือการใช้งาน โมเด็ม

    คู่มือการใช้งานโมเด็ม

วันเสาร์เขาจะเข้ามาติดตั้งโทรศัพท์ แต่ไม่รู้ว่าถนนในซอยจะทำเสร็จหรือปล่าว แต่ก็น่าจะติดตั้งได้นะ เอาเป็นว่าวันเสาร์รอลุ้นเลยแล้วกัน

The 6th World Congress on Biomechanics (WCB)2010

The 6th World Congress on Biomechaics 2010

การสัมมนาทางวิชาการทางด้าน Biomechanics จัดที่สิงค์โปร์ ในวันที่ 1-6 สิงหาคม 2010 ปีหน้าครับ
สำหรับใครที่มีแผนจะจบภายในปีหน้าก็เตรียมส่งหัวข้อพรีเซ็นต์ได้เลยครับ นิสิต BME ทุกคนโปรดให้
ความสนใจและวางแผนงานได้แล้วครับ ลงทะเบียนตอนนี้ฟรีครับ
ดูขั้นตอนการ submission ได้ที่ https://www.wcb2010.net/abstractsubmission/
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wcb2010.net

หัวข้อที่เกี่ยวข้อแยกเป็นหมวดต่างๆดังนี้ หัวข้อสุดท้ายน่าจะเกี่ยวกับ BME มากที่สุดครับ

Call for Abstracts
You are invited to submit abstracts in the following topics, but are not limited to:

Theme 1: Special Topics

  • 1. Animal Biomechanics
  • 2. Biomechanics in Nature
  • 3. Ergonomics and Human Factors
  • 4. Functional Tissue Engineering
  • 5. Plant Biomechanics
  • 6. Sports Biomechanics & Human Performance

Theme 2: Organ Mechanics

  • 7. Arti. cial Organs
  • 8. Biomechanics of Auto-digestion
  • 9. Cardiovascular Biomechanics
  • 10. Lymphatics
  • 11. Occupational & Impact Injury Biomechanics
  • 12. Ocular Biomechanics
  • 13. Oral and Maxillofacial Biomechanics
  • 14. Orthopaedic Biomechanics
  • 15. Physiological System Modeling
  • 16. Rehabilitation, Prosthetics and Orthotics
  • 17. Reproductive Mechanics
  • 18. Respiratory Mechanics

Theme 3: Tissue Mechanics

  • 19. Bone
  • 20. Cartilage
  • 21. Dental Tissues
  • 22. Ligament and Tendon
  • 23. Muscle Mechanics and Motor Control
  • 24. Soft Tissues

Theme 4: Cell Mechanics

  • 25. Biorheology and Microcirculation
  • 26. Cell Mechanics
  • 27. Cell Migration
  • 28. Cell-matrix Interaction
  • 29. Cell Nucleus
  • 30. Membrane Mechanics

Theme 5: Molecular Mechanics

  • 31. Biomolecular Motors
  • 32. DNA, RNA and Proteins Mechanics
  • 33. Mechanobiology
  • 34. Molecular Mechanics
  • 35. Receptor-ligand/Protein-protein Interactions
  • 36. Sub-cellular Structures and Protein Assemblies

Theme 6: Materials, Tools, Devices & Techniques

  • 37. Biomaterials
  • 38. Biomedical Instrumentation
  • 39. Bionanotechnology
  • 40. Biosensors, Biochips & Devices
  • 41. Biosignal Processing
  • 42. Computational Methods
  • 43. Computer Assisted Surgery
  • 44. Experimental Techniques
  • 45. Imaging Techniques
  • 46. Medical Robotics
  • 47. Micro and Nanofluidics

อ้างอิง : https://www.wcb2010.net

Exit mobile version