กลับมาเขียนบทความใน Biomed.in.th ในรอบเกือบ 8 ปี

หน้าเว็บ Biomed.in.th ล่าสุด

หลังจากทิ้งให้เว็บ Biomed.in.th ร้างมานานมากๆ โพสสุดท้ายคือเมื่อกันยายน 2014 มันคือเกือบจะ 8 ปีได้แล้ว ตอนนี้เข้าไปอัพเดตและปรับดีไซด์ใหม่นิดหน่อย และหวังว่าต่อไปจะมีเวลาเข้าไปแชร์ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น อยากให้มันเป็นแหล่งข่าวที่อ่านง่ายๆ คนทั่วไปอ่านได้ คนที่จริงจังคิดว่าเขาวารสารต่างประเทศกันได้ อยากให้มันเป็นแนว popsci อ่านเข้าใจได้ง่าย สั้น ๆ

พอมองย้อนไปเนื้อหาก่อนหน้านี้มีหลายครั้งที่คนเข้ามาขอให้ประชาสัมพันธ์ งานสัมมนาวิชาการ ร่วมทั้งหานักวิจัยมาช่วยงาน อันนี้ต้องเข้าใจเพราะงานทางด้านนี้ค่อนข้างเฉพาะทาง จึงเป็นไอเดียเปิดให้อีกหน้าให้โดยเฉพาะ ใครอยากประชาสัมพันธ์อะไรก็ส่งเข้ามาให้พิจารณา ถ้าทางทีมเห็นสมควรก็จะกระจายข่าวสารให้ แม้แต่การหางาน หานักวิจัย ก็ส่งเข้ามาประชาสัมพันธ์กันได้เช่นกัน การแยกหน้าออกไปโดยเฉพาะไม่ปนกับเนื้อหา ก็เพื่อให้ทุกอย่างในเว็บดูเป็นระเบียบ และเป็นสัดเป็นส่วนชัดเจนมากขึ้น

ประเดิม บทความแรกด้วย โควิดกับการตั้งครรภ์: ข้อมูลที่มีล่าสุดบอกอะไรบ้าง? อ้างอิงมาจาก Nature เรียบเรียงใหม่ให้สั้นและเหมาะสมขึ้น ตอนแรกว่าจะเขียนสั้นๆ ก็ยาวซะงั้น ตามไปคลิกอ่านได้ มีข้อเสนอแนะอะไรก็บอกกันได้

ส่วนเพื่อน ๆ คนที่เคยช่วย ๆ กันเขียนบทความก็ทยอยเรียนจบเอก ได้ดิบได้ดีกันไปหมดแล้ว งานคงจะล้นมือมากกว่าแต่ก่อนแน่ ๆ ถ้าจะกลับมาช่วยกันเขียนบ้างก็ยินดีมาก ๆ ครับ

ความฝันกับ Biomed.in.th เห็นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว

เว็บ Biomed.in.th

Biomed.in.th ผมเริ่มทำเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว(2009) บล็อกเกี่ยวกับเว็บนี้ไว้ที่นี้ ตอนหลังทิ้งช่วงของการอัพเดตไปนาน เนื่องด้วยการเขียนบทความประเภทนี้ เราจะให้ความสำคัญ ใส่ใจในความถูกต้องเป็นพิเศษ เพราะมันเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายโดยตรง อยากให้เป็นแหล่งความรู้จริงๆ ที่กล่าวอ้างได้ มีที่มาสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ประกอบกับเวลาไม่ค่อยมี(ข้ออ้าง) แต่เมื่อไม่นานได้พูดคุยกับ @cherrykids เธอบอกว่าเนื้อหาในเว็บน่าสนใจ แต่ทำไมไม่ค่อยอัพเดตเลย สุดท้ายก็ชวนมาเป็นคนร่วมเขียน คิดอยู่ในหัว “มีคนสนใจมันด้วยแฮะ” ไฟในตัวเลยลุกโชนขึ้นอีกครั้ง เลยลงมือปรับปรุงเว็บใหม่เพียบ

  • ปรับหน้าแรกให้อ่านง่ายขึ้น เรียงแบบธรรมดา จากคำแนะนำของเพื่อนคนหนึ่ง ที่บอกว่ามันดูงงๆ ตอนนี้น่าจะง่ายขึ้น
  • ทำหน้า Biomed.in.th on Facebook page มีคนมา Like เยอะแล้ว
  • ทำ Biomed.in.th on NetworkedBlogs ใครที่เล่น Facebook เข้าไป Follow ได้เลยครับ
  • ทำปุ่ม Like ใน single post เมื่อกด Like จะขึ้นไปที่ facebook ของเราทันที ลองดูที่ด้านล่างของโพสนั้นๆ
  • ทำ https://twitter/biomedinth เพื่อกระจายเนื้อหา ที่จริงสมัครมาตั้งนานแล้วแต่ยังไม่ได้โปรโมท
  • ทำ feedburner และ subscript ผ่านทางอีเมล ไปดูได้ที่หน้าหลัก
  • เปิดหน้ารับสมัครนักเขียน ใครสนใจเข้ามาสมัคร และลองเขียนบทความดูนะครับ มาช่วยกันเผยแพร่ความรู้สู่สังคมไทยกันนะครับ ตอนนี้เรามีนักเขียนแล้ว 8 คน เมื่อมีเวลาอันเหมาะสมผมจะนัดพบปะกันของกลุ่มคนเขียนบทความนะครับ
  • พยายามชวนพี่ๆเพื่อนที่รู้จักมาช่วยกันทำ ได้รับการตอบรับอย่างดี

ความฝันที่จะสร้างแหล่งให้ความรู้ และที่พบปะ พูดคุย ที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้สนใจในวิศวกรมมชีวเวช และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดูจะเห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ใครสนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา Biomed.in.th ขอเชิญเลยนะครับ ยินต้อนรับทุกท่านครับ

The 6th World Congress on Biomechanics (WCB)2010

The 6th World Congress on Biomechaics 2010

การสัมมนาทางวิชาการทางด้าน Biomechanics จัดที่สิงค์โปร์ ในวันที่ 1-6 สิงหาคม 2010 ปีหน้าครับ
สำหรับใครที่มีแผนจะจบภายในปีหน้าก็เตรียมส่งหัวข้อพรีเซ็นต์ได้เลยครับ นิสิต BME ทุกคนโปรดให้
ความสนใจและวางแผนงานได้แล้วครับ ลงทะเบียนตอนนี้ฟรีครับ
ดูขั้นตอนการ submission ได้ที่ https://www.wcb2010.net/abstractsubmission/
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wcb2010.net

หัวข้อที่เกี่ยวข้อแยกเป็นหมวดต่างๆดังนี้ หัวข้อสุดท้ายน่าจะเกี่ยวกับ BME มากที่สุดครับ

Call for Abstracts
You are invited to submit abstracts in the following topics, but are not limited to:

Theme 1: Special Topics

  • 1. Animal Biomechanics
  • 2. Biomechanics in Nature
  • 3. Ergonomics and Human Factors
  • 4. Functional Tissue Engineering
  • 5. Plant Biomechanics
  • 6. Sports Biomechanics & Human Performance

Theme 2: Organ Mechanics

  • 7. Arti. cial Organs
  • 8. Biomechanics of Auto-digestion
  • 9. Cardiovascular Biomechanics
  • 10. Lymphatics
  • 11. Occupational & Impact Injury Biomechanics
  • 12. Ocular Biomechanics
  • 13. Oral and Maxillofacial Biomechanics
  • 14. Orthopaedic Biomechanics
  • 15. Physiological System Modeling
  • 16. Rehabilitation, Prosthetics and Orthotics
  • 17. Reproductive Mechanics
  • 18. Respiratory Mechanics

Theme 3: Tissue Mechanics

  • 19. Bone
  • 20. Cartilage
  • 21. Dental Tissues
  • 22. Ligament and Tendon
  • 23. Muscle Mechanics and Motor Control
  • 24. Soft Tissues

Theme 4: Cell Mechanics

  • 25. Biorheology and Microcirculation
  • 26. Cell Mechanics
  • 27. Cell Migration
  • 28. Cell-matrix Interaction
  • 29. Cell Nucleus
  • 30. Membrane Mechanics

Theme 5: Molecular Mechanics

  • 31. Biomolecular Motors
  • 32. DNA, RNA and Proteins Mechanics
  • 33. Mechanobiology
  • 34. Molecular Mechanics
  • 35. Receptor-ligand/Protein-protein Interactions
  • 36. Sub-cellular Structures and Protein Assemblies

Theme 6: Materials, Tools, Devices & Techniques

  • 37. Biomaterials
  • 38. Biomedical Instrumentation
  • 39. Bionanotechnology
  • 40. Biosensors, Biochips & Devices
  • 41. Biosignal Processing
  • 42. Computational Methods
  • 43. Computer Assisted Surgery
  • 44. Experimental Techniques
  • 45. Imaging Techniques
  • 46. Medical Robotics
  • 47. Micro and Nanofluidics

อ้างอิง : https://www.wcb2010.net

Biomedical Engineering Center Labs on Google Maps


ดู Biomedical Engineering Center Labs ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

ลองเอา Google Maps มาใส่ในบล็อกดูไม่รู้จะเอาที่ไหนงั้นก็เลยเอาตรงที่ตัวเองอยู่ตอนนี้เลยแล้วกัน Biomedical Engineering Center Labs เป็นห้องรวมพบกันทำกิจกรรมเรียน ตลอดจนการทำ Labs ของนิสิตหลักสูตร Biomedical Engineering ทุกๆคนเหมือนเป็นห้องอเนกประสงค์ วิธีการนำ Maps มาใส่นั้นง่ายมากๆ แค่เราเข้าไปที่ Google Maps แล้วค้นหาที่อยู่ของเราว่าอยู่ไหนจากนั้นก็ปักหมุดเอาไว้ จากนั้นคลิกตรงตำแหน่ง Link ตามภาพ

Google-maps-code

copy เอาโค้ดภายในมาวางที่ html page ใน WordPress เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

Exit mobile version