Google Similar Images และ Google News Timeline

Google images similar
Google images similar

ผมพึงได้ดู Duocore ตอนที่ 103 ที่บอกว่า Yahoo Image Search ตัวใหม่ ดีกว่า Google ผมก็ทดลองดูแล้วรู้สึกว่าการค้นหาค่อนข้างตรงกับสิ่งที่เราต้องการมากกว่าค้นที่ Google อาจจะเป็นเพราะข้อมูลที่ได้จากจาก Google มีมาในการค้นหาคำ keyword คำหนึ่ง แต่วันนี้ Google ได้เขียนลง Google blog บอกว่าพวกเขาใช้เวลา 20 % ของเวลาทำงาน มาทำงานชิ้นนี้ (Google จะให้เวลากับพนักงาน 20% ในการทำวิจัยอะไรก็ได้) พวกเขาได้สร้าง Google labs ขึ้นในปี 2002 หลายๆผลิตภัณเกิดขึ้นจากเวลาเหล่านั้น เช่น Google Maps, iGoogle,Google News
และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้นคือ  Similar Images และ Google News Timeline

Similar Images
เป็นการค้นหารูปภาพที่ สามารถระบุภาพที่เราสนใจ และต้องการรูปเฉพาะที่เราสนใจ และใกล้เคียงกับรูปนี้เท่านั้น Google ก็จะแสดงเฉพาะ
รูปเหล่านั้น อย่างเช่น เราต้องการค้นหาคำว่า  [jaguar] เราจะได้รูปที่เป็น เสือ กับรถยี่ห้อดัง

Google Image Similar

ใน similar images จะมีลิงค์ข้างล่างให้เราเลือกว่าต้องการรูปที่เหมือนเสืออย่างเดียว หรือต้องการรูปรถอย่างเดียว
เราก็จะคลิกเลือก similar images ใต้รูปนั้น

คลิกใต้รูปเสือ รูปที่ค้นก็จะแสดงเฉพาะรูปเสือ[cat]

คลิกใต้รูปรถ รูปที่ค้นก็จะแสดงเฉพาะรูปรถ[car]

ดูตัวอย่างการใช้งาน

ยอมรับเลยว่าความสามารถใหม่อันนี้เด็ดจริงๆ ใครสนใจก็ลองเข้าไปดูได้ที่ Google Labs หรือ Similar-images

Google News Timeline

ฟีเจอร์ใหม่อีกตัวคือ Google News Timeline เป็นค้นหาแสดงตามเวลา chronologically แสดงผลที่ค้นหาจาก Google News และฐานข้อมูลอื่น ที่สามารถจำกัดช่วงเวลาของข้อมูลได้ว่าต้องการช่วงเวลาไหน สามารถกำหนดเป็น วัน สัปดาห์ เดือน ปี หรือช่วงทศวรษที่เท่าไหร่ ของข่าวนั้นๆได้ เช่น summer of 2006
ผลของการค้นใน Google News Timeline มีทั้งข่าวสารทั่วไป, ข่าวแสกนจากหนังสือพิมพ์ , แมกกาซีน, blog posts, ตารางคะแนนกีฬาต่างๆ ,เพลง ,หนัง เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Google news ,Google News Timeline

pg.in.th ถ่ายแชร์รูปพร้อมบอกสถานที่

เว็บไซต์ Playground

ตอนแรกได้เห็น url ของเว็บ www.pg.in.th ผ่านทาง twitter ของหลายคนเลยคลิกไปดู พอคลิกเข้าไปดูก็จะเห็นรูปนั้นที่เขาอับโหลดขึ้นไป เมื่อเราคลิกกลับมาดูที่หน้าหลักของเว็บ ก็จะเห็น map ของ Google ที่วิ่งไปวิ่งมาตามตำแหน่งของภาพที่สมาชิกอับโหลดเข้ามา

playground2

ลูกเล่นของ playground ที่ติดใจใครหลายๆคนคือ

  1. ถ่ายรูปจากมือถืออัพขึ้นเว็บได้ทันที
  2. แสดงผลรูปที่คุณถ่ายบน Google Maps
  3. เชื่อมโยงข้อมูลกับเว็บไซต์ยอดนิยม เช่น Hi5, Facebook, Multiply,twitter ว้าววว สุดยอด อับโหลดขึ้น PG ทีเดียวที่เหลือก็อับเดตตามเลยอันนี้เจ๋ง
pg.in.th
Nokia Phone

เริ่มติดตั้ง

  1. สมัครสมาชิก PG ให้เรียบร้อย
  2. ทำการ setting PG กับเว็บไซต์อื่นๆ
  3. ดาวน์โหลดโปรแกรม Playground ไปติดตั้งกับมือถือ ง่ายมากๆแค่เข้าไปที่ download แล้วดูว่ามือถือยี่หอ และรุ่นอะไร เสร็จแล้วคลิก กรอกเบอร์โทรมือถือ ของผมมือถือเล่นเน็ตไม่ได้ เลยใช้ของพี่สาว ที่เป็น Nokia N76 แล้วก็รอรับ sms ลิงค์จากการดาวน์โหลดและติดตั้ง
  4. พอติดตั้งเสร็จแล้ว เราจะโปรแกรม Playground อยู่ไหนเครื่อง การใช้ครั้งแรกจะให้เราใส่ user และ password ก็ใส่ตามที่เราได้สมัครไว้แต่ต้น คราวนี้ก็พร้อมใช้งานแล้ว
  5. วิธีใช้งานง่ายมากๆ แค่เปิด โปรแกรม Playground ในมือถือขึ้นมาแล้วก็ถ่ายรูป จากนั้นโปรแกรมจะให้ใส่ ชื่อรูป แทกซ์ และสามารถกำหนดสถานะให้แสดงสถานที่ หรือไม่ก็ได้ จากนั้นก็ส่ง แค่นี้ง่ายไหมครับ
pg.in.th

ทดสอบใช้งาน
ช่วงสงกรานต์ได้เดินทางกลับบ้านครับ ใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางกลับดังนั้น ผมจึงทดสอบถ่ายรูปตามเส้นทางไปเรื่อย และไปถ่ายรูปงานสงกรานต์ที่บ้านด้วยจากนั้นได้เข้ามาที่เว็บไซต์ PG เพื่อดูว่ารูปที่ถ่ายเป็นยังไง พบว่าสถานที่ที่ถ่ายอาจจะไม่ตรงกับสถานที่จริงซะทีเดียว คิดว่าน่าจะเป็นการอ้างอิง กับเสาสัญญาณของโทรศัพท์ แต่ค่อนข้างใกล้เคียงกับสถานที่จริง และเราสามารถเข้าไปแก้ไขสถานที่ให้ตรงจุดมากยิ่งขึ้นได้ งั้นไปดูผลงานผมเลยแล้วกัน

คลิกดูที่รูปจะแสดงรูปและสถานที่อยู่ด้านล่าง

ดูรูปทั้งหมด
ดูรูปพร้อมแผนที่
แนะนำให้ดูแผนที่จากดาวเทียมครับ จะได้เห็นสถานที่ชัดเจน

สรุปสุดท้าย เป็นเว็บคนไทยที่ทำได้เจ๋งสุดๆเลยครับ คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

ผลสรุป แบบสำรวจความคิดเห็นกรณี การชุมนุมของคนเสื้อแดง

ผลการสำรวจ

เมื่อวานได้ทำแบบสำรวจเกี่ยวกับประท้วงของคนเสื้อแดง ปิดถนน ทำเอาเดือดร้อนกันไปตามๆกัน เลยเอาผลของการสำรวจของเมื่อวานมาให้ดู หลายคนไม่พอใจ คนที่ทำผลสำรวจไม่เยอะแต่บอกอะไรได้บ้าง

ความเห็นอื่นที่เขียนเข้ามาครับ

1 .น่ารำคาญ
2.ประท้วงได้ตามขอบเขตกฏหมาย ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นต้องกล้ารับผิดชอบ รัฐบาลควรเป็นกลางและต้องรู้จักต่อรองเพื่อให้เกิดความเดือดร้อนน้อยที่สุด
3.ลองแสดงพลังด้วยการทำเรื่องดีๆ บ้างได้ไหม ชีวิตคุณและใครต่อใครอาจจะดีขึ้น มากกว่าการแค่ “รถติดมโหฬาร” “กลับบ้านไม่ได้” “เสื้อแดงในตู้ต้องอยู่ในตู้ต่อไป
4.ทำเพื่อไอ้เหลี่ยมคนเดียว
5.ขอให้ประท้วงต่อไปจนกว่าจะโดนระเบิด

ความเห็นบางอันก็น่าอ่าน น่าฟังนะครับแต่บางอันก็.. ขอให้ใช้วิจารณญาณ ในการอ่านครับ
ดูผลการสำรวจอย่างละเอียดครับ

มาสำรวจกันหน่อยว่าคิดอย่างไรกับการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง

การประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง

มาสำรวจกันหน่อยว่าคิดอย่างไรกับการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่มีการปิดถนนทั่วทั้งกรุงเทพฯ แบบสำรวจทำออกมาแป๊บเดียวก็มีคนทำเยอะเหมือนกันนะ ดุได้ที่ลิงค์ข้างล่างครับ เอาฟอร์มแบบง่ายๆแล้วกัน
Loading…

ดูผลสำรวจ

อยากจัดงานสัมมนา แบบ Unconferenced Pecha Kucha ของชมรมอีสาน

ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน

การจัดสัมมนาที่คนที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถส่งหัวข้อในงานได้
เป็นเหมือนชุมชนการแบ่งปัน ใครมีเรื่องอะไรที่สนุกๆก็เอามาเล่าให้คนอื่นฟัง เราก็มาฟังสิ่งดีๆที่เพื่อนเอามาแชร์ เนื่องจากปกติงานแบบนี้จะมีคนเข้าร่วมงานเยอะ ประมาณว่ามาปล่อยแสงกัน จีงมีการจำกัดไสลด์ในการนำเสนอ แ ละเวลา เข่น 10 สไลด์ 10 นาที
ข้อมูลเพิ่มเติม https://en.wikipedia.org/wiki/Pecha_Kucha และ https://en.wikipedia.org/wiki/Barcamp ผมได้ลองจัดที่คณะดูแล้ว รู้สึกว่างานออกมาสนุกมาก ดูสรุปงาน BME BarCamp

การจัดงานคร่าวๆก็คือ
– ตอนเช้าจะมีให้ลงทะเบียน หัวข้อที่จะพูด จากนั้นก็จะมีการโวตว่าเรื่องในน่าฟังที่สุด ใครได้คะแนนมากสุดก็พูดก่อน หรือสามารถ เปลี่ยนเป็นจับฉลากก็ได้น่าจะสนุก ตื่นเต้นดี จากนั้นก็เริ่มสัมมนา หัวข้อก็ไม่ปิดกั้นอยากพูดเรื่องอะไรก็ได้ เพียงจำกัดแค่เรื่องเวลาแค่ คนละ 10 นาที

ยกตัวอย่างเช่น

อาจารย์แจ่มใส – การทำงานแบบจิตอาสา
พี่ปอ – พูดเรื่อง การเรียนเบสอีสานใน 1 สัปดาห์
พี่บัติ – วิธีการแต่งเพลง
พี่ญัติ – การนำเสนอ อย่างไรให้น่าสนใจ และน่าติดตาม
พี่บูล – การสอนเด็กเล่นโปงลาง
พี่สาท – การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
น้องคำนาง – การออกกำลังกาย ด้วยการรำ
น้องบอย – การตัดต่อวีดีโอขึ้นเว็บ
น้องปุ้ย – การร้องคาราโอเกะ อย่างไรให้สนุก
น้องต้อม – วิธีจีบสาวชมรมฯ ทำอย่างไร
ฯลฯ
อะไรประมาณนี้ คือใครสนใจอยากพูดเรื่องอะไรก้เอาแชร์ๆ กัน งานนี้ไม่ต้องมีการเตรียมงานให้ยุ่งยาก เพราะคนที่พูดกับคนที่เข้าฟังคือกลุ่มเดียวกัน

งานนี้เสริมสร้างให้ชมรมของเราเป็นชมรมแห่งการแบ่งปัน มีการแลกเปลี่ยนความคิด และข้อคิดเห็น และสารความสำพันธ์ และเป็นการฝึกฝนการนำเสนอ ที่กระชับ และตรงประเด็นให้กับ น้องในชมรมฯ อีกด้วย

ข้อความคิดเห็นจากทุกท่านครับ ใครเห็นด้วย ผมยินดีเป็นคนประสานงานให้ครับ

และถ้าคุณเข้าร่วมงานอยากพูดหัวข้ออะไร

ฉันจะตายด้วยมะเร็ง?

Family tree

ดูจากประวัติของครอบครัวผมแล้ว ญาติฝ่ายแม่ ตอนนี้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งแล้ว สองคน เป็นผู้ชายทั้งคู่ และแม่มีประวัติการเป็นเนื้องอกที่เต้านม ค่อนข้างมีความเป็นไปได้สูงว่า แม่จะมียีนของมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ยีนแสดงผลในกลุ่ม ที่เป็นชาย จากสถิติ ตากับยาย มีลูกชาย 3 คน เ ป็นมะเร็งซะ 2 คน โอกาสที่ชายจะเป้นมะเร็งเกือบ 70 % ญาติฝ่ายพ่อลุงเสียชีวิตด้วยมะเร็งเช่นกัน แต่อาๆ ไม่มีใครเป็น ก็อาจจะมะเร็งที่ ไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งก็อาจจะไม่แน่ซะทีเดียว จาก ข้อมูลเบื้องต้นโอกาสที่ ผมจะตายด้วยโรคมะเร็งนั้น ก็มีโอกาสค่อนข้างสูง เลยทีเดีย

Technology can help you อบรมการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

คอมพิวเตอร์ เครื่องมือช่วยในการทำงาน

ไสลด์แนะนำการใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานของคณะกรรมการหอพักนิสิตจุฬาฯ จะนำเสนอในวันจันทร์ ที่ 6 มีนาคม 2552 ทำร่วมกับ พี่ตู้ ซึ่งคิดว่าน่าจะใช้ได้กับทุกคน เทคโนโลยีมีทั้งฟรีและเสียเงิน ในนี้ที่นำมาเสนอเน้นไปที่การให้บริการฟรี คิดว่าน่าจะออกมาสนุกนะ

เพราะฉันมันโง่ หรือ ไม่มีคนสนับสนุน

“เพราะฉันมันโง่ หรือ ไม่มีคนสนับสนุน”

เด็กที่จังหวัดตาก

เราคงได้ยินข่าวมาเยอะเกี่ยวกับเด็กอัจริยะทั้งในและต่างประเทศ เช่น เด็กอินเดียเก้าขวบคว้า Microsoft Certified (อ้างอิงข่าว) เด็กมาเลเชียเขียนเก้าขวบเขียน app บน iphone (อ้างอิงข่าว) ฯลฯ ในข่าวที่เขียนไว้นั้น มักมีความคิดเห็นที่ว่าตอนนั้นเก้าขวบฉันทำอะไรอยู่ ??? (นั้นนะสิ)

ข่าวต่างๆเหล่านี้เมื่อมองอย่างลึกๆ ทำให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมอยู่บ้าง โดยเฉพาะตัวผมเองที่เป็นเด็กต่างจังหวัด สามารถเปรียบเทียบระหว่างเด็ก ที่อยู่ในเมืองใหญ่ๆ ที่มีเทคโนโลยีต่างสนับสนุนการศึกษา กับเด็กบ้านนอกได้อย่างชัดเจน

ในช่วงที่ผมยังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสได้ไปทำค่ายพัฒนาชนบทหลายจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งที่ได้ไปคือ อ.อุ้มผาง จ.ตาก เด็กที่นั้นได้รับการศึกษาขั้นถึงขั้นประถมแล้วใครที่มีโอกาสดีก็ได้ไปเรียนต่อในตัวอำเภอ ซึ่งเป็นส่วนน้อย เด็กๆรวมไปถึงผู้ใหญ่ ของที่นั้นดูจะตื่นเ ต้นมาก กับเทคโนโลยีเล็กๆน้อยๆ ที่เรามองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เช่น กล้องดิจิตอลตัวเล็กๆ มือถือ ที่เราเอาเข้าไปด้วย ไม่ต้องถามว่าในนั้นมี คอมพิวเตอร์หรือไม่ เพราะไฟฟ้าได้จากโซลาเซลล์ ทีวีทั้งหมู่บ้านมีอยู่มีอยู่เครื่องเดียว ดูได้แค่วีซีดี เพราะไม่มีคลื่นฟรีทีวีส่งถึง


แต่ในความคิดของผมแล้ว เด็กที่นี้ เป็นเด็กที่เหลียว ฉลาด และมีพัมนาการที่ดีเพียงแต่ขาด การสนับสนุนที่ดี จากทุกๆคน
เด็กไทยเจ๋ง คว้ารางวัลจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก (อ้างอิงข่าว) เราคงได้เห็นคนที่ออกข่าวแบบนี้ เป็นเด็กต่างจังหวัด

ไม่ใช่แค่เด็กเตรียมอุดมฯ หรือเด็กมหิดลฯ

BME BarCamp สรุปงานสัมมนา

การจัดสัมมนาครั้งแรกที่ BME

จากที่ได้รับมอบหมายงานอย่างเร่งด่วนให้ จัดงานนำเสนอสาขาต่างๆในหลักสูตร แค่วันเดียวก่อนถึงวันงาน ทำเอาหัวหมุนเลยทีเดียวผมก็เลย ไอเดียจากงาน ThinkCamp มาใช้ และได้เพื่อนๆพี่ๆ น้องๆ ในหลักสูตรเลยทำให้งานเราออกมาดีกว่าที่คิด แม้จะเตรียมงานแค่วันเดียวก็มีคนส่งหัวข้อมานำเสนอถึง 14 หัวข้อ
ดูรายละเอียดงานเพิ่มเติม

โดยมีหัวข้อหลัก อยู่ 7 หัวข้อ คือ

1. Intro BME แนะนำงานในวันนี้มีอะไรบ้าง โดยผมเอง @sarapuk
2. Cell & Tissue Engineering and Drug Delivery System โดย คุณฐากูร
3. Medical Imaging โดย คุณทิพวิมล  slideshare
4.  Medical Instrumentation โดยคุณขนิษฐา
5. Biosensor โดย คุณยศมงคล
6. Biomechanics โดย คุณยศมงคล โดนพ่วงสองหัวข้อเพราะพี่หมอไม่มา
7. Rehabilitation โดยคุณเอ็กกะเอ็ม

ดูสไลด์ของหัวข้อหลักได้ที่นี้ slideshare

ส่วนหัวข้ออื่นจากหัวข้อหลักมีดังนี้
1.  Health Future Vision 2019 by Microsoft office labs โดยผมเอง
2. Scaffold  โดยคุณน๊อต
3. DDS (Drug Delivery System) โดยคุณคิว
4. FES  in Rehabilitation Engineering โดยคุณกัส
5. Cause work in BME โดยคุณทิพ
6. Manage Problem โดยคุณกานต์
7. Research Topic for survivor โดยคุณโย
8. BME member โดยคุณแชมป์

ดูสไลด์ของหัวข้อรองได้ที่ slideshare

คุณขณิษฐากำลัง เสนอเรื่อง Medical Instrucmentation

คุณยศมงคลกำลังนำเสนอ หัวข้อ Biosensors

ถ่ายรูปร่วมกัน หนีกลับไปหลายคนแล้วลืม บอกว่าจะถ่ายรูปก่อน

อ้างอิง ThinkCamp , BME-CHULA

BME BarCamp สัมมนาไร้รูปแบบ

BME-Barcamp

ในวันพรุ่งนี้ 18 มีนาคม 2552 เวลา 8.30 – 12.00 น. มีกิจกรรมการเลือกสาขาของนิสิตใหม่
นิสิตที่สัมครใหม่ทั้งหมด 22 คน (ป.เอก 11 ป.โท 11)

รูปแบบของกิจกรรมจะเป็นการสัมมนาแบบ Unconferenced Pecha Kucha (ペチャクチャ) รวมกับ BarCamp คือ การสัมมนาแบบมีการจำกัดไสด์และเวลา เราประยุกต์นิดหน่อย คือให้พูด 5 นาที 5 สไลด์ โดยหัว ข้อที่เกี่ยวกับ BME และมีประโยชน์กับการเลือกสาขา หรืออะไรก็ได้ที่คุณ อยากนำเสนอให้น้องๆ และเพื่อน พี่ๆ ก็เอามาแชร์กัน ไม่จำกัดหัวข้อ

ได้ แนวคิดมาจาก ThinkCamp

กิจกรรม มีดังนี้
8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน และส่งหัวข้อพร้อมสไลด์
9.00 – 11.00 น. เริ่มการพรีเซนต์ โดยให้เวลาพูด 5 นาที 5 สไลด์ และตอบปัญหาอีก 5 นาที

keynote ในงานนี้มีอยู่ 6 คนดังนี้
1. Tissue Engineering โดย นายฐากูร ฐิติเศรษฐ์
2. Biosensor โดย นายยศมงคล สวัสดิ์ศถุงฆาร
3. Medical Image โดย นางสาวทิพวิมล มีไชย
4. Rehabilitaion โดย นายทศพล ทองเติม
5. Medical Instrument โดย นางสาวขนิษฐา วาเสนัง
6. Biomechanics โดย กลุ่มหมอ

และหัวข้ออื่นที่คุณส่งมา

11.00 – 12.00 น. ตั้งเป็นจุดแบ่งตามสาขา และเวียนกันเข้าฐาน ให้รุ่นพี่ตอบปัญหาข้อสงสัย
และพบปะพูดคุยทั่วไป

12.00-13.00 น. พักเที่ยง

13.00 -14.00 น. ถ้ามีหัวข้อเพิ่มเติมก็จะนำเสนอต่อ

Faq

ทำไมทำแบบนี้
ตอบ : เพิ่มความแปลกใหม่และการมีส่วนร่วมของทุกๆคน

ใครเสนอหัวข้อได้
ตอบ : ได้ทุกคน แต่ตามเงื่อนไข คือ 5 นาที 5 สไลด์

หัวข้อคืออะไร
ตอบ : เกี่ยวกับ BME และมีประโยชน์เกี่ยวกับการเลือกสาขา

ส่งหัวข้อนอกเหนือจากนี้ได้ไหม
ตอบ ได้นะ แต่อาจจะถูกจัดให้ไปตอนบ่าย หรือตอนท้าย

แล้วใครจะสนใจส่ง
ตอบ อยากให้ทุกๆคนช่วยๆกันนะครับ นำเสนอสาขาต่างๆในหลักสูตรให้น้องใหม่ ได้รู้จักและเป็นประโยชน์สำหรับการเลือกสาขาของเขา
และอีกอย่างคนที่ส่งหัวข้ออื่นๆ คือว่าอยากให้นำเอาความรู้ต่างๆที่เรามีมาแชร์ให้คนอื่นรู้ เช่น พี่แชมป์ มึแนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรแบบนี้อยากให้น้องๆรู้ก็เอามานำเสนอ หรือพี่ชัย เอาเรื่องการเรียน biosensor มาเล่าให้ฟังเป็นยังไง, กานต์ มีเรื่องเกี่ยวกับเทคโนดลยีแบบใหม่มานำเสนอ , กลุ่มที่เรียน cognitive มีผลงานที่ทำเสร็จแล้วมานำเสนอก็ได้ , หรือย่างผม รู้ว่าอาจารย์แต่ละท่านอยู่ไหน ตึกไหน ก็ปักหมุดในกูเกิลมาให้ดูเลย, หรือหัวข้อของกลุ่มที่จบไปแล้วมีอะไรบ้าง กลุ่มที่จะสอบหรือสอบหัวข้อไปแล้วมีอะไร อะไรประมาณนี้คือ เรามีอะไรก็มาแชร์กัน คืออยากให้ได้ทั้งน้องใหม่และพี่ที่เรียนอยู่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

อ้างอิง : ThinkCamp , BarCampBangkok

Exit mobile version