Morse Code in Wolfram Alpha

morse code in wolfram alpha

รหัสมอร์ส ถูกคิดค้นขึ้นมาประมาณ ค.ศ. 1830 โดย ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส(Samuel F. B. Morse) และ
อัลเฟรต เวล(Alfred Vail)  เพื่อใช้ในการส่งโทรเลข ปัจจุบันในยุคที่มีการสื่อสารที่ทันสมัย รหัสมอร์สก็ถูก
ลดบทบาทลงไปตามกาลเวลา แต่ล่าสุดที่ผมเห็น คือในหนังเรื่อง Infernal affairs ที่พระเอกส่งข่าวให้ตำรวจ
ตอนที่มีการส่งยาเสพติด ใน wiki มีการอธิบายเรื่องของ รหัสมอร์สไว้ค่อนข้างละเอียดและมีเสียงของรหัสมอร์ส
ที่ใช้แทนตัวอักษรแต่ละตัวไว้ด้วย วันนี้ผมจะนำเสนอความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ Wolfram Alpha
คือการแปลรหัสมอร์สเป็นตัวอักษร หรือแปลอักษรเป็นรหัสมอร์ส เครื่องหมายที่ใช้ในรหัสมอร์สจะมีสองเครื่องหมาย
คือ จุด(.) กับขีด(-)

วิธีใช้คือพิมพ์ morse code “ใส่รหัส หรือ ตัวอักษร”
ลอง copy ข้อความนี้ไปวางใน wolfram alpha ดูครับ

morse code “.- — .–. …. ..- .-.”
morse code “Wolfram alpha”

Color Wizard โปรแกรมเลือกสีออนไลน์

โปรแกรมเลือกสี สำหรับเว็บไซต์

คิดไม่ออกว่าจะใช้สีอะไรในการทำเว็บไซต์ โปรแกรมนี้ช่วยได้ครับ ใช้งานค่อนข้างง่าย และไม่ต้องติดตั้งด้วย ทำให้ผมทำงานค่อนข้างสะดวก และง่าย ที่จริงที่เว็บเขามีทั้งหมดสามโปรแกรมที่เป็น tools เกี่ยวกับ การจัดการสีในเว็บไซต์ Color Contrast, Color Wheel และ Color Wizard ทีผมใช้ประจำ มีโทนสีให้เลือกมากมายเข้าไปดูได้ที่ https://www.colorsontheweb.com

ลองใช้ดูเลยครับ

โอ้แม่เจ้าเน็ตจุฬาฯ Speed 70 Mb

speedtest

หลังจากที่ติดตั้งอินเตอร์เน็ตของ true ที่ห้องพักความเร็ว 3 Mb แล้วเล่นไปได้ 2-3 วัน รู้สึกว่า ทำไมมันไม่ทันใจ โหลดช้า เพราะปกติใช้เน็ตที่ จุฬาฯ คลิกปั๊บมาปุ๊บดาวน์โหลดไฟล์นี้เร็วมาก แต่ใช้มาตั้งนานก็ไม่ได้ทำ speedtest ของเน็ต จุฬาฯ ดูสักที แต่ของ true ทดสอบแล้วอยู่ที่ประมาณ 2.5-2.7 Mb/s ก็ใกล้เคียงกับโปรโมชั่นที่โฆษณาไว้ วันนี้เลยอยากทดสอบ Speedtest ของเน็ตจุฬาฯดูหน่อยว่าความเร็วมันเท่าไหร่กันแน่ ผมใช้การทดสอบของเว็บ speedtest.net

ผลการทดสอบ
แม่เจ้า ต้องอุทานออกมาแรงแรง มันเร็วขนาดนี้เลยหรอเนี้ย

speedtest internet CHULA
download speed internet CHULA
Upload Speed internet CHULA

เอาหลักฐานมาให้ดูกันผมทำหลายครั้งค่าเฉลี่ยดาวน์โหลดอยู่ที่ 65-75 Mb/s และอับโหลดอยู่ที่ประมาณ 40-60 Mb/s ตอนนี้เลยหายสงสัยเลยว่าทำไมความเร็ว 3 Mb ที่ห้องมันกลายเป็นเต่าไปเลยเมื่อเทียบกับความเร็วที่จุฬาฯ

ตามมาอับเดตต่อ speedtest ของ true

speedtest true

โปรแกรมแรกบน WebOS โดย Palm Mojo SDK

My first Program in WebOS

Palm Mojo SDK ชุดพัฒนาโปรแกรมสำหรับ WebOS ที่ใช้ในมือถือ Pam Pre หลังจากที่มีหลุดออกทางบิตได้สักพักก็ได้เวลาเปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว ด้วยคำเล่าลือ มันเจ๋งมากๆ ซึ่งในตลาดตอนนี้ OS สำหรับมือถือมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดมาก ไม่ว่าจะเป็น iPhone OS, Windows Mobile, Androind, Symbian และล่าสุดที่มาแรง คือ WebOS เป็น OS ที่ใช้ HTML ในการพัฒนา เอาเป็นว่าใครทำเว็บได้ก็สามารถที่จะศึกษา แล้วพัฒนาโปรแกรมได้ง่ายๆ ชุดพัฒนามีให้เลือกทั้งเวอร์ชั่น Windows,Mac,Linux เห็นคุณ @markpeak ทำใน Linux ดูที่ mk’s blog ผมเลยอยากลองทำดูบ้าง

เครื่องที่ผมใช้คือ Windows Vista อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในครั้งนี้

  1. Java เลือกติดตั้งเวอร์ชั่นล่าสุด
  2. Safari 4
  3. VirtualBox
  4. Palm® Mojo™ SDK

ในการพัฒนาสามารถใช้โปรแกรม Editor ทั่วไปได้ และใช้ Comman line ในการสั่งงาน แต่ผมได้ใช้ Eclipse ตามที่เขาแนะนำดูวิธีติดตั้ง Eclipse and Plugin for SDK เมื่อเราติดตั้ง SDK แล้วจะมีโปรแกรมตัวอย่าง มาให้ด้วย 8 โปรแกรม สามารถติดตั้งทดลองใช้ได้ อยู่ในโฟว์เดอร์ /Palm webOS SDK/Sample Code/samples สามารถติดตั้งได้โดยการใช้ ส่วน tutorial ของ code เริ่มต้น “Helloworld” ดูได้ที่ลิงค์นี้

HTML Editor
My Program Icon in Palm Pre Emulator

ผมลองเล่น Emulator และลองเขียนโปรแกรมที่ใช้ code html ธรรมดารู้สึกว่ามันง่ายดีนะ ยอมรับว่าคนคิด WebOS นี้สุดยอดมาก เข้าไปดูรายละเอียดตามเว็บอ้างอิงครับ

อ้างอิง : https://developer.palm.com/index.php

Google Reader ผมอ่านอะไร คุณอ่านอะไร

Google Reader

Google Reader เป็นอีกบริการของ Google ที่มีประโยชน์มาก การติดตามอ่านข่าวหรือบล็อกที่เราสนใจ
ที่มีจำนวนมากหากต้องนั่งเปิดทุกเว็บคงเป็นการยาก และคงจำชื่อได้ไม่หมด หรือแม้แต่มี bookmark เก็บไว้
ก็ตามก็ไม่สะดวก การอ่านผ่าน RSS คงเป็นคำตอบของปัญหานี้ ใครที่มี account ของ Gmail อยู่แล้วก็เปิดใช้บริการได้
แล้วที่ https://www.Google.com/reader ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Google reader มากยิ่งขึ้น ดูวีดีโอ

แต่ในวันนี้จะพูดถึงการปรับปรุงใหม่ของ Google reader ที่มีการพัฒนาขึ้นอีกขั้นสู่ความเป็น Social Network
มากยิ่งขึ้น ปกติเราสามารถ share เรื่องที่เราอ่านให้เพื่อนที่ follow เราอยู่ได้ แต่ Google ได้มีการปรับปรุงเพิ่ม
เติมขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น และค้นหาและติดตามคนอื่นได้ง่ายและเร็วขึ้น

เราสามารถที่จะค้นหาบุคคลอื่นได้ และ follow ได้ทันที สามารถค้นหาได้ในช่องค้นหานี้ Search
และผลการค้นหาจะแสดงรายละเอียดของบุคคลนั้นด้วย Google profile

แสดงการค้นหา ตามชื่อที่ต้องการติดตาม

Google Reader Sharing settings จะเป็นการตั้งค่าต่างๆว่าคุณเป็น public(Anyone can view) หรือ protected(Share with Selected goroups)groups ที่เลือกก็เป็น groups เดียวกันใน Gmail Contact ถ้าต้องการ follow คนที่อยู่ในสถานะ protected ก็ต้องส่งคำร้องไปเพื่อให้เขายอมรับการ follow

sharing setting

ถ้าต้องการให้คนอื่นสามารถค้นหาชื่อของคุณได้ ให้คลิกเลือก Also add a link to my shared items on my Google Profile ในหน้า share setting

Also add a link to my shared items on my Google Profile (so people can search for you)

นอกจากนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการติดตาม เราสามารถสร้าง URL ของเราซึ่งปกติเป็น
https://www.Google.com/reader/shared/16976835415198312336
ให้อยู่ในชื่อที่ง่ายขึ้นแบบนี้ได้https://www.Google.com/reader/shared/sarapukdee
ด้วยการได้ ennable มันที่ Edit your profile ตรงหัวข้อ Profile URL
แล้วส่ง URL ดังกล่าวให้เพื่อนๆ เพื่อ follow เรา (เหมือนเปลี่ยน URL ใน Facebook เลย)

profile URL

อีกสิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือเมื่ออ่านแล้วคุณ “like” บทความนั้นหรือไม่ ถ้า “like” คลิก like ใต้บทความหรือกด L
ที่คีย์บอร์ดก็ได้
หรือต้องการ share ให้คนอื่นอ่านด้วยก็กด Share หรือ กด shift+S ที่คีย์บอร์ด
ดู Keyboard shortcuts เพิ่มเติม

item content อยู่ด้านล่างของเนื้อหานั้นๆ

เมื่อเราคลิก like ด้านบนของบทความนั้นก็จะมีจำนวนของคนที่อ่านแล้วคลิก like ไปทั้งหมดเราสามารถที่จะ
ดูรายละเอียดของคน like บทความนั้นได้ และตามไป follow ได้อีกด้วย

เมื่ออ่านคลิก like บทความนั้นก็จะมีชื่อเราในกลุ่มคนที่ชอบและสามารถดู profile ได้ด้วย

การปรับปรุง Google reader ครั้งนี้ทำได้ดีมาก และเพิ่มความเป็น social network ขึ้นอีกเยอะเลย
ใครสนใจอยาก follow ผมเข้าไปที่ลิงค์นี้ได้เลยครับ
https://www.Google.com/profiles/sarapukdee
RSS Blog ผม : https://feeds.feedburner.com/amphur

ที่มา : https://Googlereader.blogspot.com

แกะกล่อง Router Modem จาก true Hi-speed internet

โมเด็ม จาก true hi-speed internet

หลังจากไปสมัครขอใช้ Hi-speed internet จาก true รอเรื่องเกือบเดือนกว่า พึ่งได้รับการติดต่อ เมื่อวานได้รับโทรศัพท์จากพนักงานว่าจะเอาโมเด็มมาส่งให้ประมาณ 10 โมงของวันนี้ และมีข้อความส่งมาที่มือถือว่าจะมาติดตั้งตามเลขหมายที่ขอไว้ในวันเสาร์ ที่ 18 ก.ค. นี้ แล้วตอน 11 โมง ก็มีพนักงานโทรศัพท์ให้มารับโมเด็มหน้าปากซอยด้วยเพราะเข้าไปข้างในไม่ได้ เนื่องจากกำลังมีการก่อสร้างท่อน้ำ เลยออกมารับ ก็ได้กล่องโมเด็มพร้อมเอกสาร 1 ใบเขียนชื่อผู้รับเป็นเรา ก็เลยถือโอกาสแกะกล่องให้ดูเลยว่าข้างในมีอะไรบ้าง

  1. กล่องเป็นกล่องกระดาษ ด้านนอกมีการ์ด 1 ใบ ซึ่งการ์ดด้านหลังมีที่ขูดรหัส pin code ที่จะใช้ในการสมัคร
    แกะกล่องออกดู
  2. ภายในกล่องโมเด็มมีอะไรบ้าง
  3. โมเด็ม 1 port ยี่ห้อ “BILLION” ตามสัญญาแล้วเป็นสมบัติของ true ครับ เราเพียงแค่เช่าถ้าเลิกใช้ภายใน 1 ปี
    จะต้องส่งคืน

    โมเด็ม 1 port ยี่ห้อ BILLION

  4. สายโทรศัพท์ 2 เส้น สาย Lan อีก 1 เส้น

    สายโทรศัพท์ 2 เส้น กับ สาย Lan อีก 1 เส้น

  5. หม้อแปลงไฟฟ้า

    หม้อแปลงไฟฟ้า

  6. ตัว Splitter 1 ตัว ตัวแยกสัญญาณโทรศัพท์ กับ internet ทำให้เล่นเน็ตกับโทรพร้อมกันได้

    Splitter

  7. ซีดีโปรแกรมติดตั้ง ในซองที่เป็นแผ่นพับอย่างสวยงาม

    ซีดีติดตั้งโปรแกรม พร้อมซองที่มีขั้นตอนการลงทะเบียนใช้

  8. และอันสุดท้าย คู่มือการใช้งาน โมเด็ม

    คู่มือการใช้งานโมเด็ม

วันเสาร์เขาจะเข้ามาติดตั้งโทรศัพท์ แต่ไม่รู้ว่าถนนในซอยจะทำเสร็จหรือปล่าว แต่ก็น่าจะติดตั้งได้นะ เอาเป็นว่าวันเสาร์รอลุ้นเลยแล้วกัน

The 6th World Congress on Biomechanics (WCB)2010

The 6th World Congress on Biomechaics 2010

การสัมมนาทางวิชาการทางด้าน Biomechanics จัดที่สิงค์โปร์ ในวันที่ 1-6 สิงหาคม 2010 ปีหน้าครับ
สำหรับใครที่มีแผนจะจบภายในปีหน้าก็เตรียมส่งหัวข้อพรีเซ็นต์ได้เลยครับ นิสิต BME ทุกคนโปรดให้
ความสนใจและวางแผนงานได้แล้วครับ ลงทะเบียนตอนนี้ฟรีครับ
ดูขั้นตอนการ submission ได้ที่ https://www.wcb2010.net/abstractsubmission/
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wcb2010.net

หัวข้อที่เกี่ยวข้อแยกเป็นหมวดต่างๆดังนี้ หัวข้อสุดท้ายน่าจะเกี่ยวกับ BME มากที่สุดครับ

Call for Abstracts
You are invited to submit abstracts in the following topics, but are not limited to:

Theme 1: Special Topics

  • 1. Animal Biomechanics
  • 2. Biomechanics in Nature
  • 3. Ergonomics and Human Factors
  • 4. Functional Tissue Engineering
  • 5. Plant Biomechanics
  • 6. Sports Biomechanics & Human Performance

Theme 2: Organ Mechanics

  • 7. Arti. cial Organs
  • 8. Biomechanics of Auto-digestion
  • 9. Cardiovascular Biomechanics
  • 10. Lymphatics
  • 11. Occupational & Impact Injury Biomechanics
  • 12. Ocular Biomechanics
  • 13. Oral and Maxillofacial Biomechanics
  • 14. Orthopaedic Biomechanics
  • 15. Physiological System Modeling
  • 16. Rehabilitation, Prosthetics and Orthotics
  • 17. Reproductive Mechanics
  • 18. Respiratory Mechanics

Theme 3: Tissue Mechanics

  • 19. Bone
  • 20. Cartilage
  • 21. Dental Tissues
  • 22. Ligament and Tendon
  • 23. Muscle Mechanics and Motor Control
  • 24. Soft Tissues

Theme 4: Cell Mechanics

  • 25. Biorheology and Microcirculation
  • 26. Cell Mechanics
  • 27. Cell Migration
  • 28. Cell-matrix Interaction
  • 29. Cell Nucleus
  • 30. Membrane Mechanics

Theme 5: Molecular Mechanics

  • 31. Biomolecular Motors
  • 32. DNA, RNA and Proteins Mechanics
  • 33. Mechanobiology
  • 34. Molecular Mechanics
  • 35. Receptor-ligand/Protein-protein Interactions
  • 36. Sub-cellular Structures and Protein Assemblies

Theme 6: Materials, Tools, Devices & Techniques

  • 37. Biomaterials
  • 38. Biomedical Instrumentation
  • 39. Bionanotechnology
  • 40. Biosensors, Biochips & Devices
  • 41. Biosignal Processing
  • 42. Computational Methods
  • 43. Computer Assisted Surgery
  • 44. Experimental Techniques
  • 45. Imaging Techniques
  • 46. Medical Robotics
  • 47. Micro and Nanofluidics

อ้างอิง : https://www.wcb2010.net

เผยออกมาแล้วราคา iPhone 3GS Unlock

iPhone 3GS

หลังจาก Apple ได้เปิดตัว iPhone 3GS มาตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน ยอดขายก็พุ่งทะลุล้านไปแล้ว แต่ราคาของ iPhone 3GS ที่ประกาศไปเป็นราคาที่ติดสัญญา 2 ปี ราคาอยู่ที่ 199 US(6950 B) ซึ่งเป็นราคาเดียวกับ iPhone 3G รุ่นที่แล้ว ด้วยความสามารถต่างๆที่เพิ่มขึ้นทุกคนก็คิดว่าาราคาเครื่องที่ไม่ผูกติดสัญญาจะราคาเท่าไหร่ ตอนนี้ทาง Apple autralia ได้โพสราคาของ iPhone 3GS ขึ้นเว็บของตัวเองแล้ว ราคาเป็นดังนี้

iPhone 3GS รุ่น 16 GB ขาว/ดำ  ราคา 879 A$ ประมาณ 24,036 B
iPhone 3GS รุ่น 32 GB ขาว/ดำ  ราคา 1,040 A$ ประมาณ 28,438 B

คิดว่าราคาในไทยที่จะเข้าประมาณเดือนสิงหาคม น่าจะอยู่ประมาณนี้นะ

ข้อมูล
https://www.cnet.com.au
https://store.Apple.com/au

อะไรใหม่ใน Firefox 3.5

Icon Firefox 3.5

icon ใหม่ของ Firefox 3.5 ที่มีการเปลี่ยนแปลง

ดาวน์โหลด Firefox 3.5 https://www.firefox.com

รีวิว Wolfram alpha (Google killer)ไม่ใช่การค้นแต่เป็นการตอบ

wolfram-alpha

Wolfram alpha คือ Search engine แนวใหม่ที่รูปแบบค้นหาไม่เหมือนกับเจ้าอื่นๆ อย่างเช่น Google, yahoo หรือ bing ที่พึงเปิดตัวไป, search engine เหล่านี้จะพยายามหาสิ่งที่คิดว่าเหมือน ใกล้เคียงกับคำค้นของคุณให้มากที่สุด แล้วให้คุณเลือกเองว่าจะเข้าไปดูรายละเอียดตัวไหน search แบบนี้จะหาลิงค์จำนวนมากมาให้คุณเข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการอีกที แต่สิ่งที่ wolfram alpha ทำจะแตกต่างออกไป คือ จะพยายามหาคำตอบของสิ่งที่คุณต้องการหาให้ ยกตัวอย่างเช่น ผมต้องการหาว่าจำนวนประชากรของไทยตอนนี้เท่าไหร่ search อื่นจะให้ลิงค์ อย่างเช่น wiki หรือเว็บไทยที่มีการเก็บสถิติมาให้ แต่ wolfram alpha จะให้คำตอบออกมาเลยว่าประชากรตอนนี้เท่าไหร่ อัตราการขยายตัวเท่าไหร่ แสดงผลเป็นกราฟด้วย แต่ wolfram alpha ตอนนี้ยังไม่รองรับภาษาไทยครับ

Stephen-Wolfram ผู้คิดค้น wolfram alpha

Wolfram alpha เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม 2009 มีนักพัฒนาหลายคนบอกว่าศักยภาพของมันเรียกได้ว่าเป็น “Google Killer” ได้เลย Stephen Wolfram ผู้คิดค้นและ CEO ของหน่วยวิจัย Wolfram เขาเป็นนักฟิสิกส์ นักพัฒนาซอฟแวร์ เกิดที่อังกฤษ เมื่อปี 1959 เรียนที่ Eton College และสอบเข้าเรียนต่อที่ Oxford University จากนั้นได้ Ph.D ที่ California Institute of Technology ตอนอายุ 20 ปี งานของเขาที่เป็นที่รู้จักได้แก่ Symbolic Manipulation Program ที่เป็นต้นกำเนิดของ Mathematica, Mathematica โปรแกรมคำนวณที่อัฉริยะ ,หนังสือ “A New Kind of Science” ,The simplest Universal Turing machine, และล่าสุดคือ Computational knowledge engine ในชื่อที่เรียกว่า Wolfram alpha

Stephen Wolfram บอกว่า ” Wolfram alpha ไม่ใช่เครื่องมือในการค้นหา ไม่มีการค้นหาที่นี้ “ แต่มันคือเครื่องมือหาความจริง หาคำตอบ (Fact Engine) การค้นหาจะไม่ซ้ำซ้อนกับการค้นหาที่ Google แต่มันจะตอบในสิ่งที่มันรอบรู้ให้ คือ หาคำตอบให้นั้นเอง

เริ่มทดสอบการใช้งาน Wolfram alpha อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าตอนนี้ยังไม่สนับสนุนการค้นหาในภาษาไทยครับ การค้นคำนั้นสามารถที่จะใส่เป็นประโยคได้(natural language) ระบบสามารถที่จะวิเคราะห์สิ่งที่คุณต้องการและแสดงข้อมูล ที่เป็นทั้งตัวเลข กราฟ ภาพ และสื่ออื่นในสิ่งที่คุณหาอยู่

ระบบยังมีความฉลาดสามารถคำนวณระยะทางของคุณกับสถานที่ๆต่างๆ โดยระบุตำแหน่งคุณด้วย IP address ของคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้งานได้อีกด้วย

ในการใช้งานครั้งแรกเขาแนะนำให้คุณดูตัวอย่างการค้นหา เพื่อให้คุณใส่ประโยคต่างให้เหมาะสมเพื่อการค้นหาที่มีประสิทธิภาพสูง และตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด เช่นการใส่ มาตราวัด วันที่ เวลา สูตรคำนวณต่างๆ ได้ถูกต้อง แทนการใส่ประโยคธรรมดา

การทดสอบเหล่านี้ต่างๆเหล่านี้ผมอ้างอิงมาจากเว็บต่างๆ ที่เขาได้รีวิวเอาไว้ โดยเป็นวิธีการค้นหาที่ search engine ตัวอื่นจะทำได้ยาก แต่ wolfram alpha ทำได้ง่าย

1. Historical event การค้นหาเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต
ผมค้นหาคำว่า “Earthquakes Dec 2004” แผ่นดินไหวปี 2004

แสดงข้อมูลของแผนดินไหว ของเดือนธันวาคม 2004

ข้อมูลที่ได้คือจุดต่างๆที่เกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก และความแรงของการสั่น จะเห็นได้ว่าในวันที่ 26 ธันวาคม 2004 ที่เกิดแผนดินไหวทะเลเขตอินโดนีเซียแรงสุด และที่ทำให้เกิดซึนามิในหลายประเทศ

2.Musical notation การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโน๊ตดนตรี
ผมค้นหาคำว่า “B seventh chord” คอร์ด B7 ผลการค้นหา

music-notation การค้นหาตัวโน๊ต

การค้นหาโน๊ตนี้ถือว่าสุดยอดครับ มีทั้งการแสดงรายละเอียด และที่สำคัญกดฟังเสียงได้เลยครับ

3.Drug information การค้นหารายละเอียดของยา หรือสารเคมี
ผมค้นหาคำว่า “Oseltamivir” คือยาที่ใช้รักษา ไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009

ผลการค้นหา drug-information

ให้ข้อมูลค่อนข้างครบ ทั้งชื่อสามัญ น้ำหนักโมเลกุล สูตรเคมี ด้านข้างจะมีลิงค์ที่เกี่ยวข้องไปที่ wiki ด้วย ข้อมูลที่ wiki ดูจะให้รายละเอียดเยอะกว่าที่ wolfram alpha

4.Geography ภูมิศาสตร์ ซึ่งให้ผลการค้นค่อนข้างดีเลยทีเดียว
ผมค้นหาคำว่า “Himalaya” หรือ เทือกเขาหิมาลัย

himalaya-biographic เทือกเขาหิมาลัย

5.Nutrition & Food เกี่ยวกับโภชนาการและอาหาร เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนต้องการลดน้ำหนัก

pork-2-kg เนื้อหมู 2 กิโลกรัม

มีรายละเอียดการคำนวณแครอรี่ ไขมัน พลังงานต่างๆ ละเอียดมาก และสามารถเลือกชนิดของเนื้อหมูได้อีกด้วยว่าเป็นส่วนไหนของหมู เยี่ยมมากครับ

6.Colors การค้นหาสี เหมาะสำหรับนักออกแบบ หรือนักพัฒนาเว็บไซต์

สามารถที่จะค้นหาได้โดยใส่ชื่อระบบสี โค้ด ลงไปเพื่อหาว่าสีที่นั้นมีหน้าตาอย่างไรได้ เช่น RGB 30, 255, 10
ครอบคุมทุกระบบ เท่าที่รู้จักนะ

clolor-systems ระบบสีต่างๆที่ค้นได้

ทดลองค้นคำว่า “green + blue” หรือ สีเขียว บวกสี น้ำเงิน
ผลการค้นหาที่ได้เป็นบอกว่าสีที่ผสมออกมาจะได้สีอะไร และมีรหัสอะไรด้วย

color-green-blue ค้นหาการผสมสี

7. Physics & Mathematics การคำนวณทางฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์
ที่ดูจะเป็นปัญหา จากข่าวเรื่องการนำ wolfram alpha มาช่วยในการคำนวณ หรือทำการบ้าน อาจจะมีทั้งข้อดีและเสีย ถ้าใช้เป็นก็จะเกิดประโยชน์อย่างมาก แต่เอาแต่ลอกอย่างเดียวสุดท้ายก็คงคิดเองไม่เป็น ดูตัวอย่างการใส่ค่าต่างๆ

physic-wolfram-sample
physic-wolfram-sample-2
Mathematics-wolfram-sample
Mathematics-wolfram-sample-2

ยกตัวอย่างการคำนวณ d/dx sin(x)^2 ได้ผลดังนี้

calculus-wolfram-sample

Wofram alpha สามารถคำนวณค่าต่างๆออกมาให้อย่างรวดเร็ว ข้อดีเราสามารถใช้อ้างอิงในการทำแบบฝึกหัดอย่างวิชา calculus หรือ โจทย์คณิตศาสตร์ ได้อย่างสบาย แต่อย่างเช่น ฟิสิกส์ที่ต้องมีการตีโจทย์ออกมาเป็นตัวแปลอยู่นั้นก็ต้องมีคิดก่อนนำมาคำนวณ ส่วนวิชาเคมี ก็สามารถช่วยได้ทั้งคำนวณ และหาคำตอบ
ดูตัวอย่างวิธีการใส่ค่าเพื่อหาคำตอบได้ที่ https://www85.wolframalpha.com/examples/ ดูวิดีโอสาธิตการใช้งาน introducing wolfram alpha

ส่วนตัวผมคิดว่าเป็น search engine ที่ดีมากๆตัวหนึ่ง และทำให้นึกถึงตัวละครตัวหนึ่งในหนังเรื่อง AI (Artificial Intelligent,2001) ของ Steven Spielberg ในตอนที่หุ่นเด็กออกไปถามคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ ดร.โนว์ ที่มีหน้าตาเป็นไอสไตร์ พอถามอะไร คอมพิวเตอร์ตัวนี้ก็จะตอบทันทีหุ่นยนต์เด็กถามถึง นางฟ้า ดร.โนว์ ก็ยกหมวดนวนิยายขึ้นมาแล้วอธิบายทันที ทำให้รู้สึกว่า ภาพยนต์ที่มีจินตนาการสูง โลกของความจริง ก็พยายามวิ่งตามจินตนาการนั้นไปเรื่อยๆ

ข้อมูลจาก
https://www.wolframalpha.com/
https://searchengineland.com/wolframalpha-the-un-Google-19296
https://www.readwriteweb.com/archives/hands-on_with_wolfram_alpha.php
https://en.wikipedia.org/wiki/Stephen_Wolfram
https://www.stephenwolfram.com/
https://www.wolfram.com/

Exit mobile version