ตัวช่วยสายเที่ยว แอพเดียวจบ จองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก

Traveloka ตัวช่วยสายเที่ยว แอพเดียวจบ จองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก

ก่อนออกเดินทางท่องเที่ยว เราต้องมีการวางแผนการเดินทางกันเสียก่อน เช่น เส้นทาง สถานที่ท่องเที่ยว ตั๋วเครื่องบิน โรงแรมที่พัก ฯลฯ วันนี้ขอแนะนำผู้ช่วย ทั้งจองตั๋วเครื่องบินและจองที่พัก

Traveloka ตัวช่วยจองเที่ยวบินและที่พักออนไลน์ มีให้ใช้ผ่านทั้งบนเว็บ และแอปพลิเคชั่นทั้งใน iOS และ แอนดรอยด์

สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Play Store และ  App Store

 

หลังจากดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะแนะนำวิธีการใช้งานแบบง่ายๆให้ครับ ผมใช้มือถือแอนดรอยด์เป็นหลัก ดังนั้นการแนะนำวิธีการใช้งานก็จะแนะนำผ่านการใช้แอพพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์ แต่ดูจาก UI แล้วก็ไม่น่าแตกต่างกันสำหรับคนใช้ iOS ก็ดูได้เหมือน

1. วิธีการใช้งานแอพ Traveloka ค้นหาและจองตั๋วเครื่องบิน

หน้าหลักของแอพ ค่อนข้างเรียบง่าย และมุงไปที่จุดประสงค์ของแอพเลยนั้นคือ การจองตั๋วเครื่องบินและจองโรงแรม

Traveloka หน้าหลัก

เมนูหลักอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ข่าวสารและโปรโมชั่น การแจ้งเตือนราคาของตั๋วเครื่องบินเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง เหมาะกับนักท่องเที่ยวสายประหยัด รอโปรโมชั่นและตั๋วราคาถูก รายละเอียดการจองของเรา(e-ticket)

ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาเที่ยวบินและเปรียบเทียบราคา

ค้นหาเที่ยวบินและเปรียบเทียบราคา

เมื่อกดเข้าไปในเมนู ค้นหาเที่ยวบิน ก็จะพบช่องใส่รายละเอียดของเที่ยวบินที่เราสนใจ ต้นทาง-ปลายทาง วันเดินทาง จำนวนผู้โดยสาร ชั้นโดยสาร เมื่อใส่รายละเอียดครบถ้วนแล้ว กด ค้นหา 

รอสักพัก แอพจะค้นหาเที่ยวบินจากสายการบินต่างๆมาให้เราได้เลือกและมีเปรียบเทียบราคาให้ โปรดสังเกตครับ จะมีคำว่า “ดีลสำหรับแอป” ซึ่งบอกว่าราคาถูกกว่า ผมตามไปแช็คแล้วว่ามันราคาถูกกว่าจองจากสายบินโดยตรงหรือไม่ คำตอบคือ ถูกกว่าจริงครับ ถึงจะถูกกว่าไม่กี่บาท แต่ก็ถูกกว่าครับ

จุดเด่นที่ขอแนะนำ เมื่อกดที่เมนู “จัดลำดับ” จะสามารถเรียงลำดับผลการค้นหาได้ตาม ราคาต่ำสุด เวลาออกเดินทาง เวลาถึงที่หมาย และระยะเวลาในการเดินทาง หรือถ้าต้องการ “จำกัดการค้นหา” ที่เฉพาะมากขึ้น เช่น บินตรง เฉพาะบางสายการบิน เป็นต้น

อีกฟังก์ชั่นพิเศษ ให้เราสังเกตคำว่า “Smart Combo” ที่จะช่วยจับคู่เที่ยวบินไป-กลับให้เราโดยอัตโนมัติ ทำให้ราคาตั๋วถูกลงอีก

ขั้นตอนที่ 2 จองและชำระเงิน

จองและชำระเงิน

หลังจากเลือกเที่ยวบินได้แล้ว กดใส่รายละเอียดการติดต่อและรายละเอียดผู้โดยสาร จากนั้นตรวจสอบรายละเอียดการจอง กดดำเนินการต่อ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการชำระเงิน

อีกหนึ่งข้อดีของ Traveloka คือการมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย เอาใจคนไทยสุดๆ ด้วย 4 ช่องทางการชำระเงิน ได้แก่ เคาน์เตอร์เพย์เมนต์ (7-11, Big-C, m-Pay, Pay@Post, TOT Just Pay, true money, FamilyMart และ Tesco Lotus), เอทีเอ็ม, บัตรเครดิต/บัตรเดบิต และ อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง น่าจะครอบคลุมทุกอย่างที่มีในไทยแล้ว

2. วิธีการใช้งานแอพ Traveloka ค้นหาและจองโรงแรม

การใช้งานแอพ Traveloka ในการค้นหาและจองโรงแรม มีลักษณะการใช้งานใกล้เคียงกับการค้นหาตั๋วเครื่องบิน ค่อนข้างง่ายและขั้นตอนมีไม่เยอะ

ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาโรงแรมและเปรียบเทียบราคา

ค้นหาและจองโรงแรม

เพียงเราใส่รายละเอียดปลายทาง วันเข้าพัก ระยะเวลา จำนวนผู้เข้าพัก และจำนวนห้อง แล้วกด ค้นหา

Traveloka จะค้นหาโรงแรมในพื้นที่ให้ พร้อมรายละเอียด ราคา คะแนน ฯลฯ เมื่อกดเลือกโรงแรมที่เราสนใจ แอพจะแสดงรายละเอียดของโรงแรมมากขึ้น สามารถดูภาพสถานที่ต่างๆของโรงแรม แผนที่สถานที่ตั้งของโรงแรม รวมถึงรีวิวและความคิดเห็นของผู้ที่เคยเข้าพัก (น่าจะเป็นส่วนของข้อมูลที่สำคัญ ที่ผู้ใช้อยากทราบรายละเอียดก่อนจองที่พัก)

เลือกห้องและจองห้อง

เมื่อดูรายละเอียดของโรงแรมโดยรวมเป็นที่พอใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือเข้าดูรายละเอียดของแต่ละห้อง ดูภาพตัวอย่างของพัก จากนั้นกด เลือกห้องพัก ใส่รายละเอียดผู้เข้าพัก ถ้าหากจองให้เพื่อนก็สามารถใส่รายละเอียดของคนเข้าพักได้ จากนั้นเลือก ดำเนินการต่อ เพื่อเข้าสู่ระบบชำระเงิน ซึ่งเราก็สามารถชำระเงินผ่าน 4 ช่องทาง ได้เช่นกัน ได้แก่ เคาน์เตอร์เพย์เมนต์, เอทีเอ็ม, บัตรเครดิต/บัตรเดบิต และ อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง

ข้อดีของการจองโรงแรม เรามักจะเจอค่าอื่นๆอีกตอนจะชำระเงิน แต่ Traveloka รับประกันให้เราว่า ราคาที่แสดงอยู่บนผลลัพธ์การค้นหา คือราคาสุดท้ายที่เราจะต้องจ่ายจริง ไม่มีค่าธรรมเนียมการจอง ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝงใดๆเพิ่มเติม ซึ่งก็รวมทั้งการจองตั๋วเครื่องบินด้วยเช่นกัน (อันนี้ดี)

สรุปโดยรวม

  • ราคาถูกกว่าจองโดยตรงจากสายการบินหรือโรงแรม
  • มีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย แทบจะครอบคลุมทุกระบบในไทย
  • ไม่มีค่าธรรมเนียม เพิ่มเติม ราคาจริงตามผลค้นหา
  • ระบบเปรียบเทียบราคา ระบบจัดเรียงข้อมูล ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจ
  • มีโปรโมชั่นและระบบแจ้งเตือนราคา สำหรับคนรอตั๋วราคาถูก
  • มีบ้างในบางครั้งระบบการจองตั๋วเครื่องบินไม่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายของสายการบินได้
  • ปัจจุบันยังให้บริการครอบคลุมในบางประเทศ(ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์)

อื่นๆ ที่ควรทราบ

Traveloka มีบริการ 24 ชั่วโมง ผ่านทางโทรศัพท์ 02-118-5400 และผ่าน Live Chat ที่หน้าเว็บไซต์ และบนเฟสบุ๊คเพจ (FB Traveloka)

นอกจากการใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่น ยังสามารถเข้าไปใช้งานผ่านทางเว็บไซต์ได้ที่ Traveloka.com

ค้นหาคำศัพท์บัญญัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อังกฤษ-ไทย

ค้นหาคำศัพท์บัญญัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อังกฤษ-ไทย

ถ้าใครต้องเขียนเอกสารวิชาการอย่างเช่น วิทยานิพนธ์ สิทธิบัตร โครงการขอทุน หนังสือ รายงานโครงการวิจัย ฯลฯ อาจจะจำเป็นต้องใช้ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งทางราชบัณฑิตยสถานก็มีเครื่องมือที่จะช่วยเหลือเราในการค้นหาคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ถูกบัญญัติใหม่ในภาษาไทย โดยอำนวยความสะดวกให้ด้วยการค้นหาผ่านเว็บไซต์  ซึ่ง ณ ตอนนี้ มีคำศัพท์บัญญัติที่ให้บริการ 19 ฐานข้อมูล

  1. ศัพท์คอมพิวเตอร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๖,๔๘๒ ระเบียน
  2. ศัพท์แพทยศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓๑,๓๖๕ ระเบียน
  3. ศัพท์รัฐศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๘,๕๒๗ ระเบียน
  4. ศัพท์การเชื่อม อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๙๒๕ ระเบียน
  5. ศัพท์พลังงาน อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๓๕๐ ระเบียน
  6. ศัพท์ประชากรศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๔,๗๙๒ ระเบียน
  7. ศัพท์พฤกษศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๖,๗๓๘ ระเบียน
  8. ศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๒๗๑ ระเบียน
  9. ศัพท์ประกันภัย อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓,๐๑๑ ระเบียน
  10. ศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๘๕๙ ระเบียน
  11. ศัพท์ปรับอากาศ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๘๗๕ ระเบียน
  12. ศัพท์สัทศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๖๐๔ ระเบียน
  13. ศัพท์นิติศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑๕,๔๑๕ ระเบียน
  14. ศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๘๔๕ ระเบียน
  15. ศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓,๙๘๑ ระเบียน
  16. ศัพท์ยานยนต์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓,๓๐๖ ระเบียน
  17. ศัพท์ทันตแพทยศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓,๕๓๔ ระเบียน
  18. ศัพท์ธรณีวิทยา อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๕,๘๑๑ ระเบียน
  19. ศัพท์คณิตศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๕,๔๖๑ ระเบียน

ผมได้มีโอกาสได้ใช้งานบ้างในบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ศัพท์ที่ค่อนข้างเฉพาะทางก็ยังค้นไม่เจอ(เพราะยังไม่บัญญัติ) เราก็จำต้องใช้ทับศัพท์ไป แต่อย่างไรก็ตามบริการค้นหาคำศัพท์บัญญัตินี้ก็ช่วยได้เยอะทีเดียว ดังนั้นควร Bookmark เก็บไว้ครับ

ตัวอย่างการใช้งาน

ทดลองค้นหาคำว่า endothelium

เข้าใช้งานบริการค้นหาคำศัพท์บัญญัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อังกฤษ-ไทย ได้ที่  https://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php

* ถ้าเปิดเว็บไซต์เข้าไปแล้วไม่สามารถอ่านข้อความได้(เป็นภาษาประหลาด) ให้เปลี่ยน encoding เป็น Thai

วิเคราะห์การใช้งาน Facebook ของคุณด้วย Wolfram|Alpha

Wolfram|Alpha เป็นระบบค้นหาคำตอบอัจริยะ มันเก่งขึ้นเรื่อยๆ Siri ของ Apple ก็ดึงข้อมูลบางส่วนจาก Wolfram|Alpha ไปใช้งาน ถ้าอยากรู้จักมันให้ดีขึ้นลองอ่านบทความเก่าๆ ใน Tag  Wolframalpha ได้ครับ ผมเขียนถึงมันอยู่บ้างและก็ได้ใช้งานอยู่เป็นระยะ ความสามารถล่าสุดที่น่าสนใจของ Wolfram|Alpha ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปไม่นาน คือ “Facebook report” ครับ ลองมาดูว่ามันทำอะไรได้บ้าง

Facebook report by Wolfram|Alpha

Facebook report คือการวิเคราะห์การใช้งาน Faceook ของเรา โดยละเอียด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์

  • ข้อมูลส่วนตัว เกิดวันไหน ปีอะไร อีกกี่วันจะถึงวันเกิดอีกครั้ง
  • Activity ในแต่ละปีที่ใช้งานมา อัตราการโพส แชร์ลิงค์ อัพโหลดภาพ
  • ช่วงเวลาที่ใช้งานมากที่สุดในการโพส คำนวณคำที่ใช้โพส มีคีย์เวิร์ดอะไรเยอะที่สุดในโพส
  • เพื่อนคนไหนคอมเม้นต์ ใครแชร์ในโพสของคุณมากที่สุด
  • อัตราการใช้แอฟพิเคชั่น
  • ภาพไหนที่คุณโพสมีการคอมเมนต์และแชร์มากที่สุด
  • อัตราส่วนเพื่อนผู้หญิง-ผู้ชาย เฉลี่ยเพื่อนคุณมีสถานะอะไรบ้าง (โสด,แต่งงาน ฯลฯ)
  • ช่วงอายุของเพื่อน ใครแก่สุด ใครเเด็กสุด
  • เพื่อนอยู่ในประเทศอะไรบ้าง ใช้ภาษาอะไร ศาสนาอะไร
  • และอื่นๆ

วิธีการใช้งาน

เข้าไปที่เว็บไซต์ Wolfram|Alpha พิมพ์คำว่า facebook report ลงในช่องค้นหา enter

Facebook report

จากนั้นก็คลิกปุ่ม “Analyze My Facebook Data” ซึ่งระบบจะขออนุญาติเข้าถึงข้อมูล Facebook ของเราก็กดยอมรับไป สักพักระบบจะดึงข้อมูลของเราเข้ามา และรายงานผลการวิเคราะห์ให้ได้เห็น

Facebook report

ตัวอย่างการวิเคราะห์บัญชีของผมเอง คิดว่าถ้าเป็นบัญชี Wolfram|Alpha แบบ Professional คงจะได้ข้อมูลที่ละเอียดมากกว่า เพราะเทียบกับข้อมูลจากด้านบนของ Stephen Wolfram ของเขาเป็น account แบบ Pro ได้ข้อมูลการเชื่อมโยงของเพื่อน และอื่นๆที่ละเอียดกว่า

นอกจากนี้ยังสามารถกดแชร์ผลการวิเคราะห์ไปที่ social network อย่าง facebook, twitter, google+, linkedin ฯลฯ ได้ทันที

Share ผลการวิเคราะห์

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.wolframalpha.com/facebook

Google search by image ใช้ภาพแทนข้อความในการค้นหา

Search by image หรือ การค้นหาด้วยภาพ เป็นอีกหนึ่งบริการค้นหาข้อมูลของ Google ที่ใช้ภาพแทนข้อความในการค้นหา

เราน่าจะคุ้นกับบริการของ Google gogles ที่ใช้กล้องมือถือถ่ายภาพแล้วค้นหาข้อมูลของภาพนั้นได้ทันที ถือว่าเพิ่มความสะดวกได้อย่างมาก เคยคิดว่าน่าจะใช้งานผ่านหน้าเว็บไซต์ได้บ้างนะ จนบังเอิญไปเจอ extension ของ Chrome ที่ใช้สำหรับค้นหาด้วยภาพ ก็ใช้งานมาเรื่อย แต่ช่วงเดือนที่แล้วได้ใช้งานเยอะและเห็นประโยชน์จากมันเยอะพอสมควร เลยอยากเขียนเก็บไว้

เหตุที่ได้ใช้งานการค้นหาด้วยภาพมากช่วงเดือนที่ผ่านมา คือ ได้ทั้งเขียนและรวมบทความจากหลายๆคน ซึ่งส่วนใหญ่ภาพที่ใช้ประกอบบทความจะต้องมีอ้างอิง แต่ตัวเองค้นมาเยอะรวมอยู่ที่เดียว แล้วเลือกเอาเฉพาะภาพที่เหมาะสมมาใช้ พอจะอ้างอิงก็หาไม่เจอว่าเอามาจากไหน ตัวค้นหาด้วยภาพเลยช่วยได้เยอะเลย ไม่งั้นคงงมอีกนาน

ค้นหาด้วยภาพ

โดยปกติการค้นหาภาพ ผมมักจะค้นจากหน้าหลักของ Google แล้วค่อยคลิกที่เมนู image จากผลการค้นหา คิดว่าหลายคนน่าจะเป็นเหมือนผม น้อยคนนักที่จะเข้าไปใช้งานที่หน้าหลักของการค้นหาภาพที่ images.Google.com ทำให้ไม่ค่อยรู้ว่าที่หน้านั้นมันทำอะไรได้บ้าง(ผมเป็นหนึ่งในนั้น) ความแตกต่างของการค้นที่หน้าหลัก Google กับที่หน้าค้นหาภาพ คือ นอกจากจะใช้คีย์เวิร์ดในการค้นหาได้เหมือนกัน แต่ที่หน้าค้นหาภาพ จะใช้ภาพแทนข้อความในการค้นหาได้

การใช้งานงานค้นหาด้วยภาพ

สามารถใช้งานได้ 4 ช่องทาง ผ่านทางเว็บไซต์ images.Google.com ดังนี้ครับ

  1. Drag and Drop
    Drag and Drop

    การใช้งานแบบนี้ คือ เปิดหน้าเว็บค้นหาภาพขึ้นมา แล้วลากภาพจากหน้าเว็บไซต์หรือจากเครื่องที่ต้องการค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับภาพนั้นมาวางที่ช่องค้นหาได้เลย

  2. Upload  an image
    อัพโหลดภาพเพื่อค้นหา

    การใช้งาน ให้คลิกที่ปุ่มรูปกล้องที่ช่องค้นหา จะมีช่องให้อัพโหลดโผล่ขึ้นมาเพื่อให้อัพโหลดภาพในเครื่องของเราขึ้นไปเพื่อทำการค้นหา

    อัพโหลดภาพเพื่อค้นหา

  3. Copy and paste the URL for an image
    ใส่ที่อยู่ของภาพเพื่อค้นหา

    เมื่อเจอภาพไหนที่หน้าเว็บต้องการค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับภาพนั้น ก็คลิกขวาที่ภาพนั้นแล้วก๊อปปี้ URL ของภาพนั้นมา จากนั้นคลิกที่ปุ่มกล้องที่ช่องค้นหา(เหมือนในข้อ 2)วางไว้ในช่องใส่ URL คลิก search ได้เลย

    ใส่ที่อยู่ของ URL เพื่อค้นหา

  4. Right-click an image on the web
    extesion

    ใช้งานผ่านทางส่วนเสริมของ Chrome หรือ Firefox เมื่อติดตั้งส่วนเสริมแล้ว เวลาคลิกขวาที่ภาพบนหน้าเว็บจะมีไอคอนค้นหาด้วยภาพมาให้คลิกใช้งานได้ทันที

    extension for Chrome

การใช้งานจริง

เกิดจากเหตุการณ์จริงครับ ผมไปอ่านเจอเว็บหนึ่งเขียนถึงเกมส์ DotA 2 ผมอยากอ่านที่ต้นฉบับของที่มาของข่าว แต่เขาไม่ได้ใส่ที่มาของเนื้อหาไว้ แต่มีภาพประกอบนั้นอยู่ เลยใช้การค้นหาด้วยภาพช่วย ถือว่าให้ผลน่าพอใจ และสะดวกดีมาก

ภาพในเนื้อหาบทความที่ไม่ได้อ้างอิงที่มา

ได้ผลการค้นหาออกมาดังนี้ครับ

ผลการค้นหา

อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ผมประทับใจมากคือ มันค้นหาภาพที่ครั้งหนึ่งผมเคยเอามาใช้ทำภาพประกอบในปกหนังสือเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่ดันไม่ได้ใส่ที่มาไว้ แต่เมื่อเร็วๆนี้อยากรู้ว่าเราเอามาจากไหน ก็ค้นเจอด้วยตัวนี้ ถ้าให้ลองค้นด้วยตัวเองคงหาไม่เจอแน่นอน เพราะไม่รู้ว่าตอนนั้นใส่คีย์เวิร์ดว่าอะไรไป

Google search by image เป็นอีกช่องทางที่ใช้ค้นหาข้อมูลที่สะดวกมาก คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ทำครับ

ดูวีดีโอแนะนำ Search by image

What do you love (WDYL) บริการใหม่จาก Google

What do you love (WDYL)

What Do You Love? เขียนย่อเป็น WDYL บริการใหม่ล่าสุดจาก Google ที่ขยันออกของใหม่อยู่เรื่อย แล้วก็ขยันปิดด้วยเช่นกัน ล่าสุดก็ Google Health กับ Google PowerMeter ก็ถูกปิดตัวลงไปแล้ว เป็นไปตามวัฎจักรอันไหนไม่ประสบความสำเร็จก็ปิดไป ทำใหม่ไปเรื่อยๆต้องมีซักอันที่มันจะต้องตูมตาม

WDYL คือบริการรวมผลการค้นหาจากบริการต่างๆของ Google อย่างเช่น Google Books, Google Images, Blogs, Google Maps, News, YouTube, Patents, Translate, Google Trend เป็นต้น และจะเพิ่มขึ้นมาอีกเรื่อยๆ เรียกได้ว่าค้นที่เดียวโผล่มาหมด! แต่มันก็แสดงเนื้อหาบางส่วนเท่านั้นนะ โดยรวมก็มีประโยชน์ทำให้เห็นรายละเอียดโดยรวมของสิ่งที่เราสนใจ ถ้าอยากจะดูเพิ่มเติมค่อยไปดูที่บริการต้นฉบับอีกที

ลองค้นหาคำว่า Apple iPhone ได้ผลแสดงดังรูปครับ ทดลองใช้ WDYL ได้ที่ https://www.WDYL.com

ตัวอย่างการค้นหาใน WDYL.com

Wolfram|Alpha เปิด Tumbr เอาไว้โชว์ตัวอย่างการใช้งาน

Wolfram|Alpha on Tumblr

Wolfram|Alpha คือรูปแบบการค้นหาคำตอบแทนการค้นหาในแบบธรรมดา อยากรู้จักมากกว่านี้เคยเขียนไว้แล้ว (รีวิว Wolfram alpha (Google killer)ไม่ใช่การค้นแต่เป็นการตอบ) ปกติจะติดตามวิธีการใช้งานรูปแบบใหม่ๆ หรือข่าวการพัฒนาผ่านทาง blog ทางการของทีม Wolfram|Alpha ล่าสุดเขาเปิดที่ Tumbr เพิ่มอีกที่ด้วย เอาไว้แชร์การใช้งาน ตัวอย่างการใช้งาน จับภาพผลลัพธ์ของการคำนวณมาให้ดู

โดยการใช้งาน Wolfram|Alpha ถือว่าต้องศึกษาพอสมควร เพราะต้องป้อนข้อมูลอย่างถูกต้องจึงจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ และนี้คืออีกหนึ่งปัญหาที่มันถูกใช้งานในวงจำกัดเพราะมันใช้ยากพอควร ถ้าใช้งานคล่องแล้วมันช่วยลดงานได้เยอะเลยทีเดียว ถ้าดูบ่อยๆให้คุ้นตาเดี๋ยวมันซึมเอง ดูชาวบ้านเขาใช้เดี๋ยวก็ใช้เป็น (บอกตัวเอง)

อีกอย่างที่ชอบคือการออกแบบ Tumbr ดูเท่และสวยมาก จับภาพมาให้ดูแล้ว

ติดตาม Wolfram|Alpha บน Tumbr ได้ที่ลิงค์ https://wolframalpha.tumblr.com/

รีวิว Wolfram alpha (Google killer)ไม่ใช่การค้นแต่เป็นการตอบ

wolfram-alpha

Wolfram alpha คือ Search engine แนวใหม่ที่รูปแบบค้นหาไม่เหมือนกับเจ้าอื่นๆ อย่างเช่น Google, yahoo หรือ bing ที่พึงเปิดตัวไป, search engine เหล่านี้จะพยายามหาสิ่งที่คิดว่าเหมือน ใกล้เคียงกับคำค้นของคุณให้มากที่สุด แล้วให้คุณเลือกเองว่าจะเข้าไปดูรายละเอียดตัวไหน search แบบนี้จะหาลิงค์จำนวนมากมาให้คุณเข้าไปหาข้อมูลที่ต้องการอีกที แต่สิ่งที่ wolfram alpha ทำจะแตกต่างออกไป คือ จะพยายามหาคำตอบของสิ่งที่คุณต้องการหาให้ ยกตัวอย่างเช่น ผมต้องการหาว่าจำนวนประชากรของไทยตอนนี้เท่าไหร่ search อื่นจะให้ลิงค์ อย่างเช่น wiki หรือเว็บไทยที่มีการเก็บสถิติมาให้ แต่ wolfram alpha จะให้คำตอบออกมาเลยว่าประชากรตอนนี้เท่าไหร่ อัตราการขยายตัวเท่าไหร่ แสดงผลเป็นกราฟด้วย แต่ wolfram alpha ตอนนี้ยังไม่รองรับภาษาไทยครับ

Stephen-Wolfram ผู้คิดค้น wolfram alpha

Wolfram alpha เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม 2009 มีนักพัฒนาหลายคนบอกว่าศักยภาพของมันเรียกได้ว่าเป็น “Google Killer” ได้เลย Stephen Wolfram ผู้คิดค้นและ CEO ของหน่วยวิจัย Wolfram เขาเป็นนักฟิสิกส์ นักพัฒนาซอฟแวร์ เกิดที่อังกฤษ เมื่อปี 1959 เรียนที่ Eton College และสอบเข้าเรียนต่อที่ Oxford University จากนั้นได้ Ph.D ที่ California Institute of Technology ตอนอายุ 20 ปี งานของเขาที่เป็นที่รู้จักได้แก่ Symbolic Manipulation Program ที่เป็นต้นกำเนิดของ Mathematica, Mathematica โปรแกรมคำนวณที่อัฉริยะ ,หนังสือ “A New Kind of Science” ,The simplest Universal Turing machine, และล่าสุดคือ Computational knowledge engine ในชื่อที่เรียกว่า Wolfram alpha

Stephen Wolfram บอกว่า ” Wolfram alpha ไม่ใช่เครื่องมือในการค้นหา ไม่มีการค้นหาที่นี้ “ แต่มันคือเครื่องมือหาความจริง หาคำตอบ (Fact Engine) การค้นหาจะไม่ซ้ำซ้อนกับการค้นหาที่ Google แต่มันจะตอบในสิ่งที่มันรอบรู้ให้ คือ หาคำตอบให้นั้นเอง

เริ่มทดสอบการใช้งาน Wolfram alpha อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าตอนนี้ยังไม่สนับสนุนการค้นหาในภาษาไทยครับ การค้นคำนั้นสามารถที่จะใส่เป็นประโยคได้(natural language) ระบบสามารถที่จะวิเคราะห์สิ่งที่คุณต้องการและแสดงข้อมูล ที่เป็นทั้งตัวเลข กราฟ ภาพ และสื่ออื่นในสิ่งที่คุณหาอยู่

ระบบยังมีความฉลาดสามารถคำนวณระยะทางของคุณกับสถานที่ๆต่างๆ โดยระบุตำแหน่งคุณด้วย IP address ของคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้งานได้อีกด้วย

ในการใช้งานครั้งแรกเขาแนะนำให้คุณดูตัวอย่างการค้นหา เพื่อให้คุณใส่ประโยคต่างให้เหมาะสมเพื่อการค้นหาที่มีประสิทธิภาพสูง และตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด เช่นการใส่ มาตราวัด วันที่ เวลา สูตรคำนวณต่างๆ ได้ถูกต้อง แทนการใส่ประโยคธรรมดา

การทดสอบเหล่านี้ต่างๆเหล่านี้ผมอ้างอิงมาจากเว็บต่างๆ ที่เขาได้รีวิวเอาไว้ โดยเป็นวิธีการค้นหาที่ search engine ตัวอื่นจะทำได้ยาก แต่ wolfram alpha ทำได้ง่าย

1. Historical event การค้นหาเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต
ผมค้นหาคำว่า “Earthquakes Dec 2004” แผ่นดินไหวปี 2004

แสดงข้อมูลของแผนดินไหว ของเดือนธันวาคม 2004

ข้อมูลที่ได้คือจุดต่างๆที่เกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก และความแรงของการสั่น จะเห็นได้ว่าในวันที่ 26 ธันวาคม 2004 ที่เกิดแผนดินไหวทะเลเขตอินโดนีเซียแรงสุด และที่ทำให้เกิดซึนามิในหลายประเทศ

2.Musical notation การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโน๊ตดนตรี
ผมค้นหาคำว่า “B seventh chord” คอร์ด B7 ผลการค้นหา

music-notation การค้นหาตัวโน๊ต

การค้นหาโน๊ตนี้ถือว่าสุดยอดครับ มีทั้งการแสดงรายละเอียด และที่สำคัญกดฟังเสียงได้เลยครับ

3.Drug information การค้นหารายละเอียดของยา หรือสารเคมี
ผมค้นหาคำว่า “Oseltamivir” คือยาที่ใช้รักษา ไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009

ผลการค้นหา drug-information

ให้ข้อมูลค่อนข้างครบ ทั้งชื่อสามัญ น้ำหนักโมเลกุล สูตรเคมี ด้านข้างจะมีลิงค์ที่เกี่ยวข้องไปที่ wiki ด้วย ข้อมูลที่ wiki ดูจะให้รายละเอียดเยอะกว่าที่ wolfram alpha

4.Geography ภูมิศาสตร์ ซึ่งให้ผลการค้นค่อนข้างดีเลยทีเดียว
ผมค้นหาคำว่า “Himalaya” หรือ เทือกเขาหิมาลัย

himalaya-biographic เทือกเขาหิมาลัย

5.Nutrition & Food เกี่ยวกับโภชนาการและอาหาร เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนต้องการลดน้ำหนัก

pork-2-kg เนื้อหมู 2 กิโลกรัม

มีรายละเอียดการคำนวณแครอรี่ ไขมัน พลังงานต่างๆ ละเอียดมาก และสามารถเลือกชนิดของเนื้อหมูได้อีกด้วยว่าเป็นส่วนไหนของหมู เยี่ยมมากครับ

6.Colors การค้นหาสี เหมาะสำหรับนักออกแบบ หรือนักพัฒนาเว็บไซต์

สามารถที่จะค้นหาได้โดยใส่ชื่อระบบสี โค้ด ลงไปเพื่อหาว่าสีที่นั้นมีหน้าตาอย่างไรได้ เช่น RGB 30, 255, 10
ครอบคุมทุกระบบ เท่าที่รู้จักนะ

clolor-systems ระบบสีต่างๆที่ค้นได้

ทดลองค้นคำว่า “green + blue” หรือ สีเขียว บวกสี น้ำเงิน
ผลการค้นหาที่ได้เป็นบอกว่าสีที่ผสมออกมาจะได้สีอะไร และมีรหัสอะไรด้วย

color-green-blue ค้นหาการผสมสี

7. Physics & Mathematics การคำนวณทางฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์
ที่ดูจะเป็นปัญหา จากข่าวเรื่องการนำ wolfram alpha มาช่วยในการคำนวณ หรือทำการบ้าน อาจจะมีทั้งข้อดีและเสีย ถ้าใช้เป็นก็จะเกิดประโยชน์อย่างมาก แต่เอาแต่ลอกอย่างเดียวสุดท้ายก็คงคิดเองไม่เป็น ดูตัวอย่างการใส่ค่าต่างๆ

physic-wolfram-sample
physic-wolfram-sample-2
Mathematics-wolfram-sample
Mathematics-wolfram-sample-2

ยกตัวอย่างการคำนวณ d/dx sin(x)^2 ได้ผลดังนี้

calculus-wolfram-sample

Wofram alpha สามารถคำนวณค่าต่างๆออกมาให้อย่างรวดเร็ว ข้อดีเราสามารถใช้อ้างอิงในการทำแบบฝึกหัดอย่างวิชา calculus หรือ โจทย์คณิตศาสตร์ ได้อย่างสบาย แต่อย่างเช่น ฟิสิกส์ที่ต้องมีการตีโจทย์ออกมาเป็นตัวแปลอยู่นั้นก็ต้องมีคิดก่อนนำมาคำนวณ ส่วนวิชาเคมี ก็สามารถช่วยได้ทั้งคำนวณ และหาคำตอบ
ดูตัวอย่างวิธีการใส่ค่าเพื่อหาคำตอบได้ที่ https://www85.wolframalpha.com/examples/ ดูวิดีโอสาธิตการใช้งาน introducing wolfram alpha

ส่วนตัวผมคิดว่าเป็น search engine ที่ดีมากๆตัวหนึ่ง และทำให้นึกถึงตัวละครตัวหนึ่งในหนังเรื่อง AI (Artificial Intelligent,2001) ของ Steven Spielberg ในตอนที่หุ่นเด็กออกไปถามคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ ดร.โนว์ ที่มีหน้าตาเป็นไอสไตร์ พอถามอะไร คอมพิวเตอร์ตัวนี้ก็จะตอบทันทีหุ่นยนต์เด็กถามถึง นางฟ้า ดร.โนว์ ก็ยกหมวดนวนิยายขึ้นมาแล้วอธิบายทันที ทำให้รู้สึกว่า ภาพยนต์ที่มีจินตนาการสูง โลกของความจริง ก็พยายามวิ่งตามจินตนาการนั้นไปเรื่อยๆ

ข้อมูลจาก
https://www.wolframalpha.com/
https://searchengineland.com/wolframalpha-the-un-Google-19296
https://www.readwriteweb.com/archives/hands-on_with_wolfram_alpha.php
https://en.wikipedia.org/wiki/Stephen_Wolfram
https://www.stephenwolfram.com/
https://www.wolfram.com/

Exit mobile version