เรื่องฮา เกี่ยวกับ BB

เมื่อหลายวันก่อนไปประชุมเรื่องการลงทะเบียนงานคืนสู่เหย้าของชาวหอซีมะโด่ง จุฬาฯ
ระยะทางค่อนข้างไกล นั่งแท็กซี่ ไปกัน 4 คน มี @kaninnit ด้วย และพี่เป้เล่าเรื่องฮาให้ฟัง
ไม่แน่ใจว่าเรื่องจริงหรือแค่เรื่องโจ๊ก แต่เขาบอกว่าเรื่องจริง

นักข่าวสัมภาษณ์ดาราหญิงคนหนึ่ง

นักข่าว : “เล่น BB ไหมคะ”
ดาราหญิงคนนั้น : “ไม่กล้าเล่นค่ะ กลัวเจ็บ”

นักข่าวแอบยิ้มที่มุมปาก ไม่กล้าหัวเราะ แต่วันถัดมาเธอก็ถือ BB ในมือแล้ว

isanchula poster

โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ชมรมอีสาน จุฬาฯ
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ชมรมอีสาน จุฬาฯ

ไฟล์ขนาดใหญ่ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.mediafire.com/file/mzzeltydyyj/isanchula.jpg
หา free vector ได้ที่ smashingmagazine

โอ้แม่เจ้าเน็ตจุฬาฯ Speed 70 Mb

speedtest

หลังจากที่ติดตั้งอินเตอร์เน็ตของ true ที่ห้องพักความเร็ว 3 Mb แล้วเล่นไปได้ 2-3 วัน รู้สึกว่า ทำไมมันไม่ทันใจ โหลดช้า เพราะปกติใช้เน็ตที่ จุฬาฯ คลิกปั๊บมาปุ๊บดาวน์โหลดไฟล์นี้เร็วมาก แต่ใช้มาตั้งนานก็ไม่ได้ทำ speedtest ของเน็ต จุฬาฯ ดูสักที แต่ของ true ทดสอบแล้วอยู่ที่ประมาณ 2.5-2.7 Mb/s ก็ใกล้เคียงกับโปรโมชั่นที่โฆษณาไว้ วันนี้เลยอยากทดสอบ Speedtest ของเน็ตจุฬาฯดูหน่อยว่าความเร็วมันเท่าไหร่กันแน่ ผมใช้การทดสอบของเว็บ speedtest.net

ผลการทดสอบ
แม่เจ้า ต้องอุทานออกมาแรงแรง มันเร็วขนาดนี้เลยหรอเนี้ย

speedtest internet CHULA
download speed internet CHULA
Upload Speed internet CHULA

เอาหลักฐานมาให้ดูกันผมทำหลายครั้งค่าเฉลี่ยดาวน์โหลดอยู่ที่ 65-75 Mb/s และอับโหลดอยู่ที่ประมาณ 40-60 Mb/s ตอนนี้เลยหายสงสัยเลยว่าทำไมความเร็ว 3 Mb ที่ห้องมันกลายเป็นเต่าไปเลยเมื่อเทียบกับความเร็วที่จุฬาฯ

ตามมาอับเดตต่อ speedtest ของ true

speedtest true

The 6th World Congress on Biomechanics (WCB)2010

The 6th World Congress on Biomechaics 2010

การสัมมนาทางวิชาการทางด้าน Biomechanics จัดที่สิงค์โปร์ ในวันที่ 1-6 สิงหาคม 2010 ปีหน้าครับ
สำหรับใครที่มีแผนจะจบภายในปีหน้าก็เตรียมส่งหัวข้อพรีเซ็นต์ได้เลยครับ นิสิต BME ทุกคนโปรดให้
ความสนใจและวางแผนงานได้แล้วครับ ลงทะเบียนตอนนี้ฟรีครับ
ดูขั้นตอนการ submission ได้ที่ https://www.wcb2010.net/abstractsubmission/
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wcb2010.net

หัวข้อที่เกี่ยวข้อแยกเป็นหมวดต่างๆดังนี้ หัวข้อสุดท้ายน่าจะเกี่ยวกับ BME มากที่สุดครับ

Call for Abstracts
You are invited to submit abstracts in the following topics, but are not limited to:

Theme 1: Special Topics

  • 1. Animal Biomechanics
  • 2. Biomechanics in Nature
  • 3. Ergonomics and Human Factors
  • 4. Functional Tissue Engineering
  • 5. Plant Biomechanics
  • 6. Sports Biomechanics & Human Performance

Theme 2: Organ Mechanics

  • 7. Arti. cial Organs
  • 8. Biomechanics of Auto-digestion
  • 9. Cardiovascular Biomechanics
  • 10. Lymphatics
  • 11. Occupational & Impact Injury Biomechanics
  • 12. Ocular Biomechanics
  • 13. Oral and Maxillofacial Biomechanics
  • 14. Orthopaedic Biomechanics
  • 15. Physiological System Modeling
  • 16. Rehabilitation, Prosthetics and Orthotics
  • 17. Reproductive Mechanics
  • 18. Respiratory Mechanics

Theme 3: Tissue Mechanics

  • 19. Bone
  • 20. Cartilage
  • 21. Dental Tissues
  • 22. Ligament and Tendon
  • 23. Muscle Mechanics and Motor Control
  • 24. Soft Tissues

Theme 4: Cell Mechanics

  • 25. Biorheology and Microcirculation
  • 26. Cell Mechanics
  • 27. Cell Migration
  • 28. Cell-matrix Interaction
  • 29. Cell Nucleus
  • 30. Membrane Mechanics

Theme 5: Molecular Mechanics

  • 31. Biomolecular Motors
  • 32. DNA, RNA and Proteins Mechanics
  • 33. Mechanobiology
  • 34. Molecular Mechanics
  • 35. Receptor-ligand/Protein-protein Interactions
  • 36. Sub-cellular Structures and Protein Assemblies

Theme 6: Materials, Tools, Devices & Techniques

  • 37. Biomaterials
  • 38. Biomedical Instrumentation
  • 39. Bionanotechnology
  • 40. Biosensors, Biochips & Devices
  • 41. Biosignal Processing
  • 42. Computational Methods
  • 43. Computer Assisted Surgery
  • 44. Experimental Techniques
  • 45. Imaging Techniques
  • 46. Medical Robotics
  • 47. Micro and Nanofluidics

อ้างอิง : https://www.wcb2010.net

รักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดด้วย Electromegnetic

new-treament-electromagnetic

การติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงมาก และตายอย่างรวดเร็วถ้าหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที เพราะเลือดคือองค์ประกอบหลักของร่างกายไหลไปอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย การเกิดพยาธิสภาพต่างๆในร่างกายจึงเกิดขึ้นเร็วและรุนแรง เชื้อที่พบบ่อยในการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นพบได้ทั้ง เชื้อแกรมบวก เช่น S.aureus และแกรมลบ เช่น E.coli ,Acinetobactor spp.,K.pneumoniae เมื่อตรวจพบว่ามีการติดเชื้อต้องมีการรายงานผลเบื้องต้นให้แพทย์ทราบทันที เพื่อทำการรักษาเบื้องต้น และดูแลเป็นพิเศษ ก่อนที่การวินิจฉัยเชื้อ และการตรวจความไวต่อยาของเชื้อนั้นจะออกมา

ล่าสุด Ingber’s team ได้ทำการวิจัยการรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบใหม่ ที่จะช่วยให้การรักษาทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ในแล็บของเขาได้ทำการผสมเชื้อรา Canida albican เชื้อหนึ่งที่ก่อโรคได้ลงไปในเลือดแล้วจากนั้นเติม plastic-coated iron-oxide beads(เม็ดเหล็กที่เคลือบด้วยพลาสติก) เคลือบอีกชั้นด้วย antibody เมื่อเติมลงไปในเลือด antibody นี้จะเข้าจับกับตัวเชื้อเสมือนว่าเอาเหล็กไปติดที่เชื้อก่อโรค

จากนั้นนำเลือดเข้าเครื่อง dialysis(เหมือนเครื่องฟอกไต)ที่มีการเพิ่ม electromagnetic คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปด้วย ซึ่งแรงนี้จะดูดเม็ด beads ทำให้เชื้อที่ติดอยู่ด้วยถูกดูดออกมาไหลเข้าสู่น้ำเกลือที่อยู่อีกด้าน Ingber ให้ข้อมูลว่า ในเวลา 2-3 ชั่วโมง วิธีนี้สามารถกำจัด แบคทีเรียได้ถึง 80% ตอนนี้ได้เริ่มทดสอบกับสัตว์ทดลองแล้ว และในอนาคตนอกจากจะใช้ในการกำจัดแบคทีเรียในกระแสเลือดแล้ว ยังสามารถที่จะพัฒนาไปใช้กับการกำจัด เซลล์มะเร็งในเลือดหรือการเก็บ stem cell ได้อีกด้วย

ในงานวิจัยชิ้นนี้ไม่ถือว่าใหม่มากนัก การใช้หลักการติด beads เหล็ก กับอะไรสักอย่างแล้วใช้แม่เหล็กดูดออกมานั้น มีการพัฒนามานานแล้ว แต่ยังไม่มีการนำมาใช้กับมนุษย์อย่างจริงจัง ส่วนมากจะใช้ในห้องทดลองเท่านั้น การประยุกต์เอาวิธีนี้เข้ามาใช้ร่วมกับเครื่อง dialysis ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีมาก แม้ว่าจะไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียออกไปได้ 100% แต่ก็ลดอัตราการตายของคนไข้ได้อย่างมาก งานวิจัยนี้นับว่าเป็นประโยชน์ กับวงการแพทย์ไม่น้อยเลยทีเดียว

ข้อมูลจาก https://www.popsci.com/

การสัมมนาแบบไม่เป็นทางการชมรมอีสาน ครั้งที่ 1

รูปชมรมอีสาน ตอนค่ายกลางปี จังหวัดบุรีรัมย์

การสัมมนาแบบไม่เป็นทางการชมรมอีสาน ครั้งที่ 1

การสัมมนาแบบไม่มีจำกัดหัวข้อ ใครอยากพูดอะไร ก็เอามาแบ่งปันกัน สิ่งที่ต้องเตรียมตัวคือ ไสลด์ประกอบการนำเสนอ หรือ อื่นๆ เช่น เครื่องดนตรี อุปกรณ์ เสื้อผ้า เป็นต้น (นำเสนอแบบไหนก็ได้) ตามเวลาที่กำหนด ไม่เกิน 10 นาที

Loading…

EndNote X2 โปรแกรมทำเอกสารอ้างอิง ตอนที่ 1

endnote-x2

อัพเดตข้อมูล

ล่าสุดตอนนี้ มีให้โหลดเวอร์ชั่นล่าสุด EndNote X5 แล้วนะครับ คลิกดาวน์โหลดได้ที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/endnotex5.html และ ถ้าหากไม่แน่ใจว่าเวอร์ชั่นที่เราขอไปเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้วหรือยัง แนะนำให้เข้าไปดูที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/ ครับ

EndNote เป็นโปรแกรม Reference management software ช่วยให้การทำเอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม ให้ง่ายขึ้นอย่างมาก สร้างโดย The Thomson Corporation มีทั้งรุ่น Windows และ Mac OS X การทำเอกสารอ้างอิงในงานวิจัยที่จะส่งตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการต่างๆนั้น แต่ละเล่มมีรูปแบบของเอกสารอ้างอิงที่ไม่เหมือนกัน คงเป็นการยากถ้าต้องมาแก้ไขรูปแบบของเอกสารอ้างอิงทุกๆครั้งที่จะเปลี่ยนวารสารในการตีพิมพ์ซึ่งโปรแกรม EndNote สามารถช่วยให้การเปลี่ยนรูปแบบเป็นไปอย่างง่าย สำหรับรูปแบบที่ จุฬาฯ ใช้อยู่คือ แบบ vancouver ครับ โปรแกรมที่ดีและมีประโยชน์อย่างนี้ทาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ จึงจัดซื้อมาเพื่อบริการนิสิตจุฬาฯ และอาจารย์ โดยเฉพาะ สามารถที่จะเข้าไปดาวน์โหลดและติดตั้งที่เครื่องตัวเองได้เลยดาวน์โหลดได้ที่

เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ก่อนติดตั้งคุณต้อง e-mail ไปขอ password จากภารกิจสนับสนุนการวิจัย ศูนย์วิททรัพยากรจุฬาฯ อีเมล rss@car.chula.ac.th ถ้าใช้อีเมลล์ของนิสิตจุฬาฯ จะตอบกลับมาเร็วครับ ถ้าเป็นอีเมลล์อย่างอื่นอาจจะนานหน่อยเพราะต้องรอการยืนยันจากคณะ เพียงเท่านี้เราก็สามารถได้ใช้โปรแกรม EndNote X5 อย่างถูกลิขสิทธิ์แล้วครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม

ตามไปดูตอนที่ 2 การใช้งานเบื้องต้น https://www.amphur.in.th/reference-manager-endnote/

Biomedical Engineering Center Labs on Google Maps


ดู Biomedical Engineering Center Labs ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

ลองเอา Google Maps มาใส่ในบล็อกดูไม่รู้จะเอาที่ไหนงั้นก็เลยเอาตรงที่ตัวเองอยู่ตอนนี้เลยแล้วกัน Biomedical Engineering Center Labs เป็นห้องรวมพบกันทำกิจกรรมเรียน ตลอดจนการทำ Labs ของนิสิตหลักสูตร Biomedical Engineering ทุกๆคนเหมือนเป็นห้องอเนกประสงค์ วิธีการนำ Maps มาใส่นั้นง่ายมากๆ แค่เราเข้าไปที่ Google Maps แล้วค้นหาที่อยู่ของเราว่าอยู่ไหนจากนั้นก็ปักหมุดเอาไว้ จากนั้นคลิกตรงตำแหน่ง Link ตามภาพ

Google-maps-code

copy เอาโค้ดภายในมาวางที่ html page ใน WordPress เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สั่งหนังสือจาก Amazon นะครับ

amazon-chula-book

วันนี้แวะเข้าไปดูหนังสือที่ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาศาลาพระเกี้ยว จุฬาฯ ขณะที่เดินไปเรื่อยอยู่นั้นที่หมวดหนังสือต่างประเทศเหลือบไปเห็นพี่พนักงานคนหนึ่งกำลังหนังค้นหาหนังสือจาก เว็บ Amazon.com คงไม่ต้องบรรยายให้มากความนะครับว่าเว็บนี้ทำอะไรบ้างเขาเป็นบริษัทธุรกิจออนไลน์ที่ใหญ่มากๆ มีบริการต่างๆมากมาย เช่น เพลง หนังสือ หนัง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิก และบริการออนไลน์อื่นๆอีกเพียบ ฯลฯ ผมเลยเข้าไปถามจากเจ้าหน้าที่ว่าที่ศูนย์หนังสือสั่งหนังสือผ่านทาง amazon หรือครับ ได้คำตอบว่า ปกติถ้าสั่งเยอะหนังสือชุดเดียวกัน ก็สั่งผ่านสำนักพิมพ์โดยตรง ถ้าสั่งน้อย และเป็นของสำนักพิมพ์ก็ จะสั่งผ่านทาง amazon และที่ศูนย์หนังสือก็มี บริการสั่งหนังสือให้ด้วย เยี่ยมเลยครับ จากกรณีนี้ก็ไม่มีอะไรมากหรอกครับแต่ผมรู้สึกว่าธุรกิจออนไลน์ทำเงินได้อยากมาก และยังขายของได้ทั่วโลกอีกด้วย อินเตอร์เน็ตนี้มันสุดยอดจริงๆครับ

WebVPN Chula ใช้เน็ตภายนอกเหมือนอยู่ภายในจุฬาฯ

Chula-webVPN

การอยู่หอพักในจุฬาฯเลยได้เล่นเน็ตผ่านทาง wirelees ของจุฬาฯ การเข้าใช้งานเว็บไซต์ ต่างๆที่เกี่ยวกับงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ เลยไม่มีปัญหา เช่น sciencedirect ,Pubmed ,scopud เพราะในเครือข่ายภายในทางมหาลัยได้มีการ register กับทางเว็บไซต์ผู้ให้บริการอยู่แล้ว เมื่อออกมาใช้อินเทอร์เน็ตภายนอก การใช้งานต่างๆเลย ทำอะไรไม่ได้เลย ดู หรือดาวน์โหลด journal ไม่ได้เลย ทำให้การทำงานที่บ้าน หรือหอพักภายนอกทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่ต่อเนื่อง แต่จุฬาฯ มีบริการ virtual private network ที่ทุกคนพูดติดปากว่า webVPN การใช้งานง่ายมากๆ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คุณต้องเป็นนิสิตจุฬาฯ
  2. เข้าไปที่ url นี้ ที่ https://vpn.chula.ac.th (สังเกตจะมี s อยู่หลัง http ครับ)
  3. หน้าต่าง Security Alert จะปรากฎขึ้นมาก็ตอบ yes ไป

    security alert

  4. ให้ใส่ user : รหัสนิสิต 8 ตัว เช่น 50871670 ไม่มีรหัสคณะ 2 ตัวหลัง
    password : รหัสเดียวกับใช้ลงทะเบียนนั้นแหละ

    Login

  5. ตอนนี้เราก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมือนนั่งเล่นเน็ตที่คณะเลย ภาพหน้าหลัก และมีที่ใส่ url ด้านบน
หน้าแรกของ เว็บจุฬาฯ

ตัวอย่างการใช้งานเว็บ scopus เว็บที่ช่วยให้การทำ referance ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปาก ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟัง

Scopus ก่อน login ด้วย VPN

ก่อนใช้ webVPNก่อนใช้ webVPN

Scopus หลัง login ด้วย VPN

เมื่อใช้ webVPN ก็ใช้งานได้อย่างเต็มที่

ไอคอนแสดงว่าใช้งานอยู่

สังเกตที่มุมขวาบนจะมีปุ่มเครื่องมืออยู่
เรียงดังนี้ move (ย้ายชิดซ้าย-ขวา) , go to address (เปิดเว็บใหม่) ,Home page (กลับไปหน้าหลัก) ,Logout (ออกจากระบบ)

Exit mobile version