กฎหมายไทย บริจาคหนังสือเสรี มีดีมากกว่าเสีย

ภาพประกอบ โดย libraryman

ได้อ่าน “บริจาคหนังสือเสรี” ประเทศชาติจะฉิบหายจริงหรือ จากประชาไท กล่าวถึงกฎหมายใหม่ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และถูกประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว เป็นกฎหมายส่งเสริมให้คนบริจาคหนังสือให้สถานศึกษา ผ่านทางการขอยกเว้นภาษีจากมูลค่าของหนังสือที่บริจาคได้ถึง 200%

มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย อย่างเช่น มกุฎ อรดี ที่ออกมาให้ความเห็นว่า การบริจาคหนังสือเสรีจะนำมาสู่ความเสียหายของชาติอย่างใหญ่หลวง โดยเน้นไปที่ เป็นช่องทางในการคอรัปชั่น ประโยชน์จากการหักภาษี หนังสือบริจาคที่ด้อยคุณภาพ การครอบงำ-โฆษณาตัวเองของนักการเมืองผ่านหนังสือ มีข้อโต้งแย้งของความเห็นนี้ จากหลายส่วนดูจะฟังขึ้น และเห็นว่ากฎหมายนี้มีดีมากกว่าเสีย ยกตัวอย่าง

“คุณมกุฎบอกว่าการบริจาคหนังสือเป็นช่องทางหนึ่งของการคอรัปชั่น เช่น ไปซื้อหนังสือราคาถูกๆ แล้วเอามาหักภาษีเต็มๆ กับราคาปกหนังสือ มันก็เป็นธรรมดาของประเทศไทยอยู่แล้วที่จะมีการคอรัปชั่น”

-ธนาพล อิ๋วสกุล กองบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน (3)

อันนี้ฟังขี้นมาก ใช้แย้งกรณีคอรัปชั่น คนไม่ดี ยังไงก็หาช่องให้ตัวเองได้เสมอ อีกทั้งยังมองแง่ร้ายแต่ทางเดียว

“ปัญหาคือเราเอาอะไรไปวัดว่า ‘ข้อมูล’ หรือ ‘อุดมการณ์ใด’ เป็นอุดมการณ์ที่ ‘ดี’ ที่ ‘ถูก’ และอุดมการณ์หรือข้อมูลใด ‘ผิด’ หรือเป็น ‘อันตรายต่อความมั่นคงของชาติ’ ? ถ้าเราใช้เหตุผลเช่นนั้นในการ ‘เฝ้าระวัง’ หนังสือ เท่ากับเราก็ยอมรับในแนวคิด ‘พี่ใหญ่’ หรือ ‘คุณพ่อรู้ดี’ เราก็จะไม่มีเหตุผลใดที่จะไปเรียกร้องต่อสู้เวลาที่เขาบล็อกเว็บหรือเซนเซอร์หนัง เพราะนั่นเขาก็อ้างว่าทำเพื่อ ‘ความมั่นคง’ ของชาติ (ประกอบศีลธรรมอันดีด้วย) เช่นกัน”

และอีกประโยค “เราเคยเชื่อหนังสือบางเล่มอย่างหัวปักหัวปำ แต่พออ่านหนังสืออีกเล่ม มันล้างความคิดของหนังสือเล่มก่อนหน้านั้นไปเลย ไม่มีหนังสือเล่มใดหรอกที่จะครอบงำเราได้ตลอดไป และมันมีหนังสือใหม่ๆ รอมาครอบงำเราตลบหลังได้เรื่อยๆ”

-นักเขียนหนุ่มผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม (4)

กรณีที่เกรงว่าหนังสือนี้ควรเฝ้าระวัง กลัวเด็กถูกครอบงำ อธิบายได้เห็นภาพ นอกจากนั้น เขายังเสนอการพิมพ์หนังสือออกมาสองเวอร์ชั่นคือราคาถูก กับราคาแพง โดยใช้คุณภาพของกระดาษที่ต่างกัน เพราะหนังสือยังไงมันก็เป็นแค่ตัวหนังสือ มีคุณค่าที่ตัวหนังสือไม่ใช่กระดาษ นี้จะเป็นการเพิ่มเสรีให้ผู้อ่านมากขึ้น นักเขียนท่านนี้เขียนได้ถูกใจมาก อยากรู้จังว่าเป็นใคร

นี้เป็นความเห็นส่วนตัว เมื่อครั้งเราอยู่ชนบทห่างใกล้ ตอนเรียนประถมยังจำได้เลยว่า โรงเรียนเรามีหนังสือในห้องสมุดเพียงไม่กี่เล่ม ตอนมัธยมต้นหนังสือในห้องสมุดถือว่าน้อยมาก ใครยืมไปคนอื่นก็คงไม่ได้อ่าน จนจำกัดการยืมให้แค่ 3 วัน

หนังสือนอกตำราเรียนเรียกว่าน้อยมาก เคยอ่านหนังสือของ ชัยคุปต์ ชื่อเรื่อง มนุษย์และอวกาศ ตอนนั้นบอกได้เลยว่ามันสร้างความตื่นตาตื่นใจให้มาก และเราตั้งคำถามว่าอยากอ่านชุดอื่นๆอีกทำไมไม่มี พอได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาในเมือง ที่มีหนังสือเยอะกว่ามากเรียกได้ว่าเทียบกันไม่ติด เราก็ตั้งคำถามอีกว่า ทำไมที่โรงเรียนเก่าเราไม่มีแบบนี้บ้าง นี้ต่างหากที่เรียกว่าเสรีในการอ่าน ไม่มีให้อ่านแล้วจะเรียกเสรีได้อย่างไร ถ้ากฎหมายนี้จะกระตุ้นให้ภาคเอกชนได้บริจาคหนังสือมากขึ้น เราก็เห็นแสงสว่างเล็กๆที่จะเกิดขึ้น จะได้เห็นหนังสือในห้องสมุดนอกเมืองมากขึ้น การบริจาคหนังสือเสรี คือบริจาคเสรีในการอ่านด้วย

ส่วนเรื่องของหนังสือที่บริจาคจากคนทั่วไปเห็น ถ้าคนที่ตั้งใจจะบริจาคจริงๆ มันคงเยอะกว่าคนที่ตั้งใจหาผลประโยชน์ ไม่อย่างนั้นสังคมมันคงอยู่ไม่ได้มาถึงขนาดนี้หรอก คนเหล่านี้ย่อมต้องคัดเลือกหนังสือที่ตัวเองเห็นว่ามีประโยชน์ให้ห้องสมุด หรือแม้ว่าจะเป็นหนังสือมือสองถูกๆ แต่หนังสือเล่มนั้นก็เคยเป็นหนังสือมือหนึ่งมาก่อน มีคุณค่าที่ตัวหนังสืออยู่แล้วไม่ใช่กระดาษหรือปก

จึงขอสนับสนุนกฎหมายนี้ ป่วยการที่เราจะมัวคำนึงแต่ผลเสียที่จะเกิดจากคนไม่ดีในสังคม

ข้อมูลเพิ่มเติม-voicetv.co.th

หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ มีนาคม 2554

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 39

งานสัปดาห์หนังสือ คงเป็นงานที่เดินได้สบายใจกว่า งานแสดงสินค้ามือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นไหนๆ คงเพราะมันง่ายกว่าที่จะเป็นเจ้าของในสิ่งที่ตนสนใจ อันที่จริงอยากจะอ่านหนังสือที่เคยซื้อเมื่อครั้งก่อนให้จบหมดก่อน ค่อยไปหยิบเล่มใหม่มา แต่มันก็อดใจไม่ได้ เมื่อไปเจอบล็อกของคนอื่นเขียนถึงหนังสือที่ได้มา หนังสือที่อ่านค้างอยู่คือ “ควอนตัมจักรวาลใหม่” อ่านไปประมาณ 1 ใน 3 ก็หยุดแล้วทิ้งยาวเลย คงต้องหาเวลาว่างๆ เงียบๆอ่านใหม่อีกรอบ

ในช่วงหลังๆมานี้ สำนักพิมพ์ที่ประทับใจผมคือ มติชน ที่มีหนังสือในกลุ่มวิทยาศาสตร์ออกมาให้เลือกอ่านมากขึ้น ซึ่งหนังสือกลุ่มวิทยาศาสตร์ที่ไม่ใช่ตำราเรียน รู้สึกว่ามันน้อยกว่าหนังสือดูดวงซะอีก อยากอ่านหนังสือแนวเรียลวิทยาศาสตร์ที่เล่าเรื่องสนุกๆ อย่างเช่น ผลงานของ ชัยคุปต์, รอฮีม ปรามาท ถ้ามีแนวนี้เยอะกว่านี้ คงสนุกกับการอ่านมากกว่านี้เป็นแน่

จากการสังเกตุหนังสือที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านส่วนใหญ่จะเป็นนิยายแนวหนุ่มสาว ดูจากบูธของสำนักพิมพ์เหล่านี้คนมุงเยอะมาก ใช่ว่าไม่ดีนะ หนังสืออะไรก็มีคุณค่าในตัวทั้งนั้น โดยส่วนตัวก็ชอบเช่นกัน

มาถึงบันทึกรายการหนังสือที่ได้มาจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ มีนาคม 2554

  • “ประวัติศาสตร์ศิลปะ” -รศ.วุฒิ วัฒนสิน
  • “พยัคฆ์ซ่อนมังกรซุ่ม” -ดวงเดือน ประดับดาว
  • “เดียว” -งามพรรณ เวชชาชีวะ
  • “จักรวาลในหนึ่งอะตอม” -พระนิพนธ์ทะไลลามะ, เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข แปล
  • “ปลาที่ว่ายนอกสนามฟุตบอล” -วินทร์ เลียววาริณ
  • “บองหลา” -พนม นันทพฤกษ์

ปล.ที่บูธของ Provision ใครซื้อหนังสือแล้ว Check-in และแชร์ขึ้น Facebook จะได้ตุ๊กตาหมีน้อยมาหนึ่งตัวด้วย จัดมาหนึ่งตัว น่ารักมาก (ให้เพื่อนซื้อ เรา Check-in)

“ไม่มีหญิงสาวในบทกวี” รางวัลซีไรต์ ประจำปี 2553

ไม่มีหญิงสาวในบทกวี ผู้แต่ง : ซะการีย์ยา อมตยา

รางวัลซีไรต์ ประจำปี 2553 : ไม่มีหญิงสาวในบทกวี
ผู้แต่ง/ผู้แปล : ซะการีย์ยา อมตยา
สำนักพิมพ์หนึ่ง
Barcode : 9789742255244
ISBN : 9789742255244
ปีพิมพ์ : 1 / 2553
ขนาด (w x h) : 105 x 180 mm.
ปก / จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 92 หน้า
หมวดหนังสือ : กลอน-กวี
ราคาปกติ : 85.00 บาท
รายละเอียดจาก : www.chulabook.com

ยอมรับว่า รางวัลซีไรต์มีอิทธิพลกับการเลือกซื้อหนังสือมาอ่านพอสมควร ค่อนข้างเชื่อถือได้ในระดับหนึ่งว่าซื้อมาแล้วไม่ค่อยผิดหวัง ปีนี้รางวัลซีไรต์เป็นรอบของหนังสือประเภทบทกวี ที่จริงแล้วไม่ค่อยชอบอ่านบทกวี เพราะอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง มีปัญหากับภาษาไทยนิดหน่อยเรื่องของวรรณยุกต์สะกดผิดๆถูกๆ อ่านผิดๆถูกๆเช่นกัน เป็นคนแต่งกลอนไม่ได้ แต่ปีนี้ได้เห็นชื่อเรื่อง “ไม่มีหญิงสาวในบทกวี” แล้วน่าสนใจ ราคาไม่แพง ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ลดแล้วเหลือ 76 บาท ชื่อคนแต่ง ซะการีย์ยา อมตยา ไม่เคยได้ยินมาก่อน แถมดูในเว็บของศูนย์หนังสือมีผลงานแค่เล่มเดียวคือเล่มนี้ ยังไงซะว่างๆจะแวะไปอุดหนุนมาสักเล่ม

รูปมาจาก : สำนักพิมพ์หนึ่ง

หนังสือบันทึก 380 วงจรไอซี

บันทึก 380 วงจรไอซี

“หนังสือบันทึก 380 วงจรไอซี” หนังสือเล่มนี้อยู่ในห้องแล็ปมานานแค่ไหนแล้วผมไม่รู้ ดูสภาพภายนอกว่าเยินแล้ว ด้านในยิ่งกว่า ผ่านการเปิด การซ่อมนับครั้งไม่ถ้วน ผมเชื่อว่าใครที่เคยทำเล็ปในห้อง BERL (Bioelectronics) ต้องเคยได้ใช้บริการมันแน่นอน เนื้อหาข้างในเพียงพอต่อการเรียนรู้วงจรไอซีสำหรับคนไม่ได้เรียนวิศวกรรมไฟฟ้ามาอย่างผม แม้แต่คนที่จบวิศวะมาก็ต้องเปิดทบทวนบ่อยๆเมื่อจะใช้งานเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า อีกอย่างที่ผมชอบมากคือมันถูกเขียนขึ้นด้วยลายมือ ให้อารมณ์เหมือนดูหนังสือออกแบบโครงสร้างตึกของสถาปนิก อ่านง่าย ราคาที่ปก 50 บาท(ไม่รู้ราคาขายในปีไหน)

เนื้อหาหนังสือบันทึก 380 วงจรไอซี

ผมพยายามเดินหาในร้านหนังสือว่ายังมีการตีพิมพ์อีกบ้างไหม แต่ไม่เจอ สุดท้ายก็เลยต้องเอาไปถ่ายเอกสารเก็บไว้ให้ตัวเองเล่มหนึ่ง ให้ห้องแล็ปอีกเล่ม เผื่อมันจะอยู่คงทนขึ้น จะได้มีตัวสำรองให้คนที่จะเข้ามาทำงานในเล็ปได้ใช้งานมันต่อไป ก่อนตัวจริงจะขาดหายไปเสียก่อน

หนังสือบันทึก 380 วงจรไอซี

หวังว่ากลับมาคราวหน้ามันจะยังอยู่ และยังถูกใช้งาน

รีวิว Kindle DX เครื่องอ่านอีบุ๊คจอใหญ่

kindle vs kindle dx

Kindle คือ เครื่องอ่าน e-book ของ Amazon ที่ออกมาขายได้สักพักหนึ่งแล้วตอนแรกดูจะไม่ค่อยมีอะไรน่าตื่นเต้น ไม่เหมือนการเปิดตัว iPhone ที่ทำให้วงการมือถือทั่วโลกสั่นสะเทือน แต่อย่างไรก็ตาม Kindle กับทำให้ทุกคนประหลาดใจที่มียอดขายสูงมาก ซึ่งมีผู้ประเมินว่าในสิ้นปีนี้ยอดขายอาจถึง 1 ล้านเครื่องอย่างแน่นอนโดยมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนสูงวัย Kindle ได้ออกสู่ตลาดแล้วสามรุ่นคือ “Kindle 1,2,DX” ความแตกต่างของ 1 , 2 กับรุ่น DX อย่างเห็นได้ชัดคือขนาดที่ใหญ่ขึ้นจาก 6 นิ้ว เป็น 9.7 นิ้ว  การอับเกรดเพิ่มเข้ามาคือสามารถอ่านไฟล์ PDF ได้มีความจุเพิ่มขึ้นเป็น 3.3 GB ทำให้เก็บ e-book ได้มากถึง 3,500 เล่มมากว่ารุ่นที่ 1,2 ที่เก็บได้ประมาณ 1,500 เล่ม Jeff Bezos ผู้เป็นคนเปิดตัวเจ้า Kindle DX ได้บอกว่าเจ้า DX รุ่นใหม่ นี้ยังเหมาะที่จะอ่านหนังสือพิมพ์ ราคา 489$ (17,115฿) รุ่นเก่าราคา 359$ (12,565฿)

Kindle DX สามารถอ่านหนังสือพิมพ์ได้

สมาชิกของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์และวอชิงตันโพสต์ สามารถที่จะซื้อ Kindle DX ได้ในราคาพิเศษอีกด้วยคงจะเริ่มหมดยุคของหนังสือที่กระดาษแล้วจริงๆ
นอกจากนั้นสามารถโหลด e-book ต่างๆใน Kindle store ที่มีกว่า 275,000 เล่มได้ผ่านทางเครือขาย 3G ในราคา 10฿(350฿)หรือน้อยกว่า พิเศษกว่านั้นยังสามารถที่จะอ่าน blog ผ่าน RSS ได้อีกด้วยดูการเทียบขนาดของ Kindle กับ kindle DX

ด้านหลัง

kindle กับ kindle DX ด้านหลัง

ด้านหน้า

kindle กับ kindle DX ด้านหน้า

ด้านข้าง

kindle กับ kindle DX ขอบด้านบน

ความสามารถอีกอย่างที่ถูกอับเกรดในรุ่น Kindle DX คือ ความสามารถ auto-rotation อ่านด้านตั้งหรือนอนก็ได้

อ่านในแนวตั้ง

kindle DX อ่านในแนวตั้ง

อ่านในแนวนอน

kindle DX อ่านในแนวนอน

ในรุ่นที่ถัดไปของ kindle อาจจะมีการพัฒนาให้สามารถอ่านไฟล์อื่นๆได้มากขึ้น ราคาควรที่จะถูกกว่านี้นะแพงไปและข้อจำกัดของ Kindle DX คือ “No panning, no zooming, no scrolling” ครับ แต่จะเข้ามาขายในไทยบ้างไหมนะ

ข้อมูลจาก https://gizmodo.com/tag/kindle/

“No panning, no zooming, no scrolling”

มาเปลี่ยน Notebook เป็น Kindle DX ไว้อ่าน E-book ดีกว่า

notebook-kindledx1

Kindle เป็นผลิตภัณฑ์ของ Amazon ที่ออกมาได้สักพักหนึ่งแล้ว มันเป็นเครื่องอ่าน e-book ที่สั่งซื่อผ่านบริการของ Amazon ที่ไทยคงต้องรออีกนานที่จะมีการวางขาย(หรืออาจจะไม่มาเลยก็ได้) เมื่อเร็วๆนี้เขาได้ออกรุ่นที่สอง คือ Kindle DX ที่ใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 9.7 นิ้ว (เดิม 6 นิ้ว) ผมเป็นคนหนึ่งที่อยากได้เจ้าเครื่องอ่าน e-book ตัวนี้ เพราะ ไม่ว่าจะเป็นวารสารทางวิชาการ หนังสือออนไลน์ ที่มีให้ดาวน์โหลดทั้งฟรี และไม่ฟรี ทั้งใหม่ ทันสมัย ล้วนอยู่ในรูป PDF ทั้งสิ้น และช่วงนี้ก็มีการรณรงค์อย่างหนักเรื่องการลดใช้กระดาษ การอ่านหนังสือในรูปของ e-book จึงเป็นทางเลือกที่ดี จากประสบการณ์จริงผมก็ใช้การอ่าน e-book จาก notebook ผมจะขอแนะนำการอ่านหนังสือ e-book โดยใช้ notebook ให้คนอื่นได้ลองทำดู ง่าย และหลายคนคงคิดว่ามีแค่นี้เองหรอ

  1. ติดตั้ง Adobe Reader ในเครื่องก่อนซึ่งคิดว่าทุกเครื่องน่าจะมีอยู่แล้ว
  2. เปิดไฟล์ e-book ที่จะอ่าน แล้วกด Ctrl + L เพื่อให้อยู่ในโหมด full screen
  3. กด Ctrl + 1 หรือ 2 หรือ 3 เพื่อปรับให้ขนาดของเอกสารใหญ่ขึ้นตามความเหมาะสม
  4. กด Fn + F7 แล้วแต่เครื่องครับ อันนี้เพื่อปรับแสงของหน้าจอลง เวลาอ่านจะได้สบายตา
  5. เริ่มอ่านได้เลยครับ ควบคุมเอกสาร โดยเลื่อนขึ้น-ลงใช้ลูกศรขึ้นลง เปลี่ยนหน้าใช้ลูกศร ซ้าย-ขวา

ง่ายไหมละครับพี่น้อง คราวนี้ก็ได้ Kindle DX มาอยู่ในมือแล้วแถมจอใหญ่กว่าอีก ตั้ง 13 นิ้ว

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สั่งหนังสือจาก Amazon นะครับ

amazon-chula-book

วันนี้แวะเข้าไปดูหนังสือที่ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาศาลาพระเกี้ยว จุฬาฯ ขณะที่เดินไปเรื่อยอยู่นั้นที่หมวดหนังสือต่างประเทศเหลือบไปเห็นพี่พนักงานคนหนึ่งกำลังหนังค้นหาหนังสือจาก เว็บ Amazon.com คงไม่ต้องบรรยายให้มากความนะครับว่าเว็บนี้ทำอะไรบ้างเขาเป็นบริษัทธุรกิจออนไลน์ที่ใหญ่มากๆ มีบริการต่างๆมากมาย เช่น เพลง หนังสือ หนัง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิก และบริการออนไลน์อื่นๆอีกเพียบ ฯลฯ ผมเลยเข้าไปถามจากเจ้าหน้าที่ว่าที่ศูนย์หนังสือสั่งหนังสือผ่านทาง amazon หรือครับ ได้คำตอบว่า ปกติถ้าสั่งเยอะหนังสือชุดเดียวกัน ก็สั่งผ่านสำนักพิมพ์โดยตรง ถ้าสั่งน้อย และเป็นของสำนักพิมพ์ก็ จะสั่งผ่านทาง amazon และที่ศูนย์หนังสือก็มี บริการสั่งหนังสือให้ด้วย เยี่ยมเลยครับ จากกรณีนี้ก็ไม่มีอะไรมากหรอกครับแต่ผมรู้สึกว่าธุรกิจออนไลน์ทำเงินได้อยากมาก และยังขายของได้ทั่วโลกอีกด้วย อินเตอร์เน็ตนี้มันสุดยอดจริงๆครับ

หนังสือ “SEO ปรับเว็บให้แรง แต่งให้ติดอันดับ”

หนังสือ SEO ปรับเว็บให้แรง แต่งให้ติดอันดับ

เมื่อวานแวะไปร้านหนังสือเจอหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “SEO ปรับเว็บให้แรง แต่งให้ติดอันดับ” เขียนโดยคุณสุธี จันทร์แต่งพล เจ้าของเว็บ www.eblogbiz.com น่าสนใจมากครับเลย หยิบมาอ่านคร่าวๆ พบว่ามีความรู้เรื่องการทำ SEO ที่เราไม่รู้มากมาย จึงได้ซื้อติดมือมาใน ราคา 199 บาท เป็นหนังสือมีทั้งหมด 200 หน้า เนื้อหาภายในมีดังนี้

1. รู้จัก SEM และ SEO
2 รู้จักเสิร์ชเอ็นจิ้น
3. Google เสิร์ชเอ็นจิ้นที่คุณต้องรู้จัก
4. การวางแผนทำ SEO
5. เริ่มต้นปรับแต่งจากศูนย์
6. ลงมือปรับแต่งเว็บไซต์ (On-page Optimize)
7. ปรับแต่งระบบลิงก์ภายในเว็บ
8. ออกนอกเว็บ ทำให้โลกรู้จัก  (Off-page optimize)
9. ตรวจสอบผลการทำ SEO
10. Search Engine Guideline  และกรณีศึกษา
11. รู้จักเครื่องมือคู่ใจคนทำ SEO
12. เก็บตกการทำ SEO ให้รุ่ง
13. ส่งท้ายเพื่อเริ่มต้น SEO

CG+ vs Computer Atrs Thailand นิตยสารกราฟิกพันธุ์ไทย

Computer Graphics Plus Versus Computer Arts Thailand

นิตยสารเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกของไทยนับว่ามีน้อยมากในแผงหนังสือ ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบหนังสือประเภท ออกแบบ ศิลปะ คอมพิวเตอร์ หนังสือที่ต้องซื้อทุกเดือนคือ ต้นเดือนคือ Bioscope นิตยสารเกี่ยวกับหนัง และกลางเดือนจะมีอีกเล่มคือ CG+(Computer Graphic Plus) ซึ่งเป็นนิตยาสารที่ผมได้ติดตามอ่านมาได้กว่าสองปีแล้วครับ เริ่มอ่านครั้งแรกตอนตีพิมพ์เล่ม 3 และจนถึงปัจจุบันเล่ม ที่ 23 ครับ สองเล่มแรกซื้อทุกเดือนและ iDesign บางฉบับ แต่วันนี้แวะไปที่ร้านหนังสือประจำ ก็เดินไปที่วางหนังสือ CG+ ตามปกติ พบว่ามีนิตยสารใหม่ ออกเล่มแรก ฉบับที่ 01 ชื่อ Computer arts thailand ด้านบนเขียนว่า “การรวมตัวครั้งแรกของนิตยสาร Computer Arts และ 3D World” ผมเลยหยิบมาสองเล่มและทำการเปรียบเทียบกันดูเลยจะใครสนใจจะได้ตัดสินใจเลือกได้ถูก แต่สำหรับผมคงจะสนับสนุนทั้งสองเล่มครับ

หัวข้อ CG+ Computer Arts Thailand
ราคา 100 บาท 150 บาท
จำนวนหน้า
(ดูตามหมายเลขหน้าสุดท้าย)
114 หน้า 138 หน้า
เนื้อหา 1. News และแนะนำเว็บไซต์

2. Hot Stuff การรีวิว Gedget ใหม่ๆ

3.Mactivity มุมสำหรับคนชอบ mac

4.เนื้อแล้วแต่ละเดือน เกี่ยวกับ cg

5.สัมภาษณ์คนในวงการ computer graphic ทั้งคนไทย คนต่างประเทศ

6. มีริวิวโปรแกรมเกี่ยวกับ computer graphic บ้าง เกี่ยวไอทีทั้วไปบ้าง

7. student portfolio ผลงานของน้องใหม่

8.web ,book, hardware รีวิว

9.Tutorial

– ขั้นตอนการทำปก จะเป็นคนที่ถูกสัมภาษณ์นั้นเองที่ต้องทำภาพขึ้นปก

– 3Ds Max

– Photoshop

– Flash

– Illustrator

-Maya

แล้วแต่ละเดือน เดือนละ 4 tutorial

เนื่องจากเป็นนิตยสาร import จากต่างประเทศมาเนื้อหาค่อนข้างที่จะเป็นสากล

1. ผลงานของนัก computer graphic พร้อมสัมภาษณ์

2. Studio of the Month ทำความรู้จัก
ดูผลงาน สัมภาษณ์ studio นั้นๆ

3.In depth

เนื้อหาเกี่ยวกับ โปรแกรม การออกแบบ

เทคนิคใหม่ ฯลฯ

4.Technique

Tutorial โปรแกรม เช่น photoshop Flash , maya ,zbrush , blend มีทั้งหมด 8 Tutorial ในเล่ม

5.Pre-viz

ข่าวงานศิลปะ แอนนิเมชั่น

6.special Feature

งานแอนิเมชั่นของหนังเรื่อง Monsters vs Aliens

7.Need to Know

มี plug in Photoshop ,คำถาม คำตอบ

8.โชว์ผลงาน ,ฉบับหน้ามีอะไร

ของแถม

มีบ้าง ,ไม่มีบ้าง

DVD Resources & Tutorial

ถ้าดูแล้วเนื้อหาภายในของ Computer Arts Thailand ค่อนข้างจะดีกว่าหน่อย แต่ CG+ ก็ดีไม่น้อย และก็ติดตามมานานเข้าปีที่ 3 แล้ว ยังไงก็คงติดตามผลงานของ CG+ ต่อไป แต่ในแต่ละเดือนคงต้องเสียตังค์เพิ่มอีก 150 บาท เพื่อติดตามผลงานของ Computer Arts Thailands

อ้างอิง :  CG+ ฉบับที่ 23  ,Computer Arts Thailand ฉบับที่ 1

Exit mobile version