หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ 29 มีนาคม – 8 เมษายน 2556

หนังสือที่ได้มาจากงานสัปดาห์หนังสือ

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 41 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 11
(41st National Book Fair and 11th Bangkok International Book Fair 2013)
ระยะเวลาแสดงงาน วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม – วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน 2556 
สถานที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ตามธรรมเนียมของเรา ไปงานสัปดาห์หนังสือแล้วก็เอามาอวดว่าเราได้หนังสืออะไรมาบ้าง ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีหนังสือที่ค้างอ่านอยู่แล้ว 3 เล่ม แต่มีความตั้งใจจะไปซื้อ “ไอน์สไตน์ โดย วอลเตอร์ ไอแซคสัน” แค่เล่มเดียว แต่สุดท้ายได้กลับมาหลายเล่มเลย มีหนังสือเก่าที่น่าอ่านปนอยู่ด้วย เห็นว่าราคาถูกและน่าสนใจเลยหยิบติดมือมาครับ

รายการหนังสือที่ได้มาจากงานสัปดาห์หนังสือครับ

  1. ไอน์สไตน์ โดย วอลเตอร์ ไอแซคสัน – ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ และคณะ แปล, สำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊ค
  2. โลกเครือข่าย – รอฮีม ปรามาท, สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊ค
  3. ชีวิตคือปาฎิหาริย์! (หนังสือเสริมกำลังใจ ชุด 8) – วินทร์ เลียววาริณ, สำนักพิมพ์ 113
  4. คดีล่าคนเจ้าชู้ (นิยายนักสืบ พุ่มรัก พานสิงค์ ชุด 5) – วินทร์ เลียววาริณ, สำนักพิมพ์ 113
  5. เซนว่าง-ว่างเซน – วินทร์ เลียววาริณ, สำนักพิมพ์ 113 (หนังสือแถม ถ้าซื้อครบ 2 เล่ม)
  6. ปฎิบัติการหนังทุนข้ามชาติ-filmvirus – สนธยา ทรัพย์เย็น, ทีฆะเดช วัชรธานินท์, สำนักพิมพ์ openbooks
  7. 151CINEMA-filmvirus – อุทิศ เหมะมูล, ธเนศน์ นุ่นมัน, สำนักพิมพ์ openbooks
  8. The Chemistry of Movie: มหา’ลัย เหมืองแร่ – ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา บรรณาธิการ, สำนักพิมพ์ openbooks
  9. โมเลกุล เปลี่ยนประวัติศาสตร์ กระดุม นโปเลียน เปลี่ยนโลก – Penny Le Couteur, Jay Burreson เขียน, ดร.ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย แปล, สำนักพิมพ์มติชน
  10. ฟายน์ แมน อัจฉริยะโลกฟิสิกส์ – Ralph Leighton เขียน, นรา สุภัคโรจน์ แปล, สำนักพิมพ์มติชน
  11. ฟายน์ แมน อัจฉริยะอารมณ์ดี – Ralph Leighton เขียน, นรา สุภัคโรจน์ แปล, สำนักพิมพ์มติชน

หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ 18-28 ตุลาคม 2555

เวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือของผมส่วนใหญ่จะอยู่บนรถระหว่างการเดินทางไปทำงาน ช่วงหลังๆที่ผ่านมาได้กำจัดกองหนังสือที่ต้องอ่านลงไปได้บ้าง แต่มันไม่เคยหมดเลย มีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างน้อยอัตราการซื้อใหม่กับอัตราการอ่านอยู่ในภาวะที่สมดุล แต่ทุกๆ 2 ครั้งต่อปี จะมีเหตุการที่ทำให้สมดุลเสียไปบ้าง คือ สัปดาห์หนังสือ ที่เราจะได้หนังสือในกองต้องอ่านเพิ่มขึ้นมา

งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 17
จัดในช่วงวันที่ 18-28 ตุลาคม 2555 เวลา 10.00-21.00 น.
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ 18-28 ตุลาคม 2555

รายการหนังสือที่ได้

ส่วนใหญ่เป็นหนังสือ World Science Series ของสำนักพิมพ์มติชน ซึ่งเราค่อนข้างประทับในหนังสือในซีรี่นี้ที่เคยอ่านมาก่อนหน้านี้คือ ควอนตัมจักรวาลใหม่ นาโนเทคโนโลยี เลยวางใจได้ว่าซื้อมาแล้วน่าจะอ่านสนุก ไปงานครั้งนี้จึงตั้งใจจะไปดูหนังสือพวกนี้อยู่แล้ว

  1. ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) – สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง, ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ, ดร.ปิยบุตร บุรีคำ แปล
  2. ประวัติย่อของเอกภพ (The grand design) – สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง/เลียวนาร์ด มลอดิโนว์, รศ.ดร.ภาณุ ด่านวานิชกุล แปล
  3. ไอแซค นิวตัน มหาบุรุษโลกวิทยาศาสตร์ (Isaac Newton)-เจมส์ เกล็ก, ดร.ปิยบุตร ฉัตรภูติ แปล
  4. E=mc2 ชีวประวัติสมการปฏิวัติโลก – David Bodanis,  รศ.ดร. ภาณุ ด่านวานิชกุล แปล
  5. ฉีกขนบแอนิเมชั่น: เอกลักษณ์ของ ฮายาโอะ มิยาซากิ นักฝันแห่งโลกตะวันออก – นับทอง ทองใบ
  6. เส้นสมมุติ (รวมเรื่องสั้นแนว สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน) – วินทร์ เลียววาริณ
  7. ร้อยคม (รวมเรื่องสั้นหักมุมจบ ชุดที่ 2)– วินทร์ เลียววาริณ
  8. เล่านิทานเซ็น – อ.อภิปัญโญ

รวมแล้วค่าเสียหายประมาณ 1,400 บาท ส่วนใหญ่ลดราคาประมาณ 15-20% ซึ่งเช็คดูกับราคาสั่งออนไลน์แล้วที่งานสัปดาห์หนังสือถูกกว่า จึงตัดสินใจซื้อที่งานสัปดาห์หนังสือครับ

ส่วนเพื่อนๆได้เล่มไหนไปบ้าง แชร์ให้ดูบ้างครับ

หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ มีนาคม 2554

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 39

งานสัปดาห์หนังสือ คงเป็นงานที่เดินได้สบายใจกว่า งานแสดงสินค้ามือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นไหนๆ คงเพราะมันง่ายกว่าที่จะเป็นเจ้าของในสิ่งที่ตนสนใจ อันที่จริงอยากจะอ่านหนังสือที่เคยซื้อเมื่อครั้งก่อนให้จบหมดก่อน ค่อยไปหยิบเล่มใหม่มา แต่มันก็อดใจไม่ได้ เมื่อไปเจอบล็อกของคนอื่นเขียนถึงหนังสือที่ได้มา หนังสือที่อ่านค้างอยู่คือ “ควอนตัมจักรวาลใหม่” อ่านไปประมาณ 1 ใน 3 ก็หยุดแล้วทิ้งยาวเลย คงต้องหาเวลาว่างๆ เงียบๆอ่านใหม่อีกรอบ

ในช่วงหลังๆมานี้ สำนักพิมพ์ที่ประทับใจผมคือ มติชน ที่มีหนังสือในกลุ่มวิทยาศาสตร์ออกมาให้เลือกอ่านมากขึ้น ซึ่งหนังสือกลุ่มวิทยาศาสตร์ที่ไม่ใช่ตำราเรียน รู้สึกว่ามันน้อยกว่าหนังสือดูดวงซะอีก อยากอ่านหนังสือแนวเรียลวิทยาศาสตร์ที่เล่าเรื่องสนุกๆ อย่างเช่น ผลงานของ ชัยคุปต์, รอฮีม ปรามาท ถ้ามีแนวนี้เยอะกว่านี้ คงสนุกกับการอ่านมากกว่านี้เป็นแน่

จากการสังเกตุหนังสือที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านส่วนใหญ่จะเป็นนิยายแนวหนุ่มสาว ดูจากบูธของสำนักพิมพ์เหล่านี้คนมุงเยอะมาก ใช่ว่าไม่ดีนะ หนังสืออะไรก็มีคุณค่าในตัวทั้งนั้น โดยส่วนตัวก็ชอบเช่นกัน

มาถึงบันทึกรายการหนังสือที่ได้มาจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ มีนาคม 2554

  • “ประวัติศาสตร์ศิลปะ” -รศ.วุฒิ วัฒนสิน
  • “พยัคฆ์ซ่อนมังกรซุ่ม” -ดวงเดือน ประดับดาว
  • “เดียว” -งามพรรณ เวชชาชีวะ
  • “จักรวาลในหนึ่งอะตอม” -พระนิพนธ์ทะไลลามะ, เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข แปล
  • “ปลาที่ว่ายนอกสนามฟุตบอล” -วินทร์ เลียววาริณ
  • “บองหลา” -พนม นันทพฤกษ์

ปล.ที่บูธของ Provision ใครซื้อหนังสือแล้ว Check-in และแชร์ขึ้น Facebook จะได้ตุ๊กตาหมีน้อยมาหนึ่งตัวด้วย จัดมาหนึ่งตัว น่ารักมาก (ให้เพื่อนซื้อ เรา Check-in)

หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ ตุลาคม 2553

งานสัปดาห์หนังสือ 2553 วันที่ 21-31 ต.ค. นี้ ที่ศูนย์สิริกิติ์ ไปมาวันนี้ (พฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม ) ช่วง 5 โมงเย็น คนไม่เยอะมาก เดินสบายไม่ได้เบียดกันเหมือนทุกครั้งที่เคยไป จะมีเบียดๆบังๆกันบางบูธ ใครที่ไม่มีแนวทางในการเดิน มีหนังสือ Smart Guide แนะนำหนังสือของแต่ละสำนักพิมพ์ให้ เอาได้ที่หน้างาน พอนั่งพักก็หยิบขึ้นมาอ่าน น่าจะช่วยได้ไม่น้อย

หนังสือแนะนำหนังสือของแต่ละสำนักพิมพ์ มีแผนที่ภายในด้วย

อันที่จริง คนที่ไปบ่อย คงไม่ต้องใช้แผนที่แล้วล่ะมั้ง เพราะสำนักพิมพ์ต่างๆ ก็จับจองที่ตรงตำแหน่งเกือบจะเหมือนเดิมทุกครั้ง

รายการหนังสือที่ได้ มีดังนี้

Presentation Zen ฉบับแปลไทย

พรีเซนเทชั่นเซน: การ์ เรย์โนลด์ส เขียน
ดำเกิง ไรวาม, จุไรพร วิสุทธิกุลพาณิชย์ และธงชัย โรจน์กังสดาล แปล
สำนักพิมพ์ขวัญข้าว, 240 หน้า, ราคา 425 บาท (ราคาปก 500 บาท)

หนังสือสอนวิธีการนำเสนอ ตั้งแต่การออกแบบสไลด์ จนถึงวิธีการพูด เคยอ่านเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษมานิดหน่อย พิมพ์สีทั้งเล่ม ลองเช็คราคาเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษราคาอยู่ที่ $23.09 (691 บาท) เป็นหนังสือเล่มที่ตั้งใจจะไปซื้อมาอ่าน และเก็บเข้าคลัง เปิดดูคร่าวๆมีแปลสไลด์ตัวอย่างบางอันเป็นภาษาไทยด้วย

พุทธทาสภิกขุ กับเซ็น

พุทธทาสภิกขุกับเซ็น : พุทธทาสภิกขุ
สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 224 หน้า, ราคา 160 บาท(ราคาปก 200 บาท)

เคยอ่านนิทานเซ็น เล่าโดย ท่านพุทธทาส เมื่อนานมาแล้ว เล่มเล็กๆ อ่านสนุก (มี CD) เป็นนิทานที่เล่าให้เด็กฟังได้

พุทธทาสภิกขุกับเซ็น หนังสือเล่มนี้น่าสนใจมาก เป็นหนังสือที่รวบรวมภาพปริศนาธรรมเซ็น ภาพที่ในหนังสือถูกคัดมาจากภาพที่มีท่านพุทธทาสอธิบายภาพปริศนาธรรมนั้นๆ และถอดความจากเสียงพุทธทาสมาลงไว้ ที่ท้ายเล่มมี CD เสียงดั้งเดิมของท่านพุทธทาสแถมมาด้วย และตอนท้ายมีเสียงบทอ่านกวีเซ็นจาก อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เพิ่มเข้ามาอีกด้วย ในคำนำจากสำนักพิมพ์บอกไว้ว่านี้ เป็นหนังสือภาพเซ็นที่สมบูรณ์ที่สุดในตอนนี้เลยทีเดียว

ความสุขของกระทิ ตอน ในโลกใบเล็ก

ความสุขของกระทิ ตอน ในโลกใบเล็ก : งามพรรณ เวชชาชีวะ
แพรวสำนักพิมพ์, 142 หน้า, ราคา 109 บาท(ราคาปก 129 บาท)

ประทับใจกับ ความสุขของกระทิ ตอนแรกและตอนสอง อ่านสบายๆสนุก ตอนที่ชอบทีสุดคงเป็นตอนแรก ตอน ในโลกใบเล็ก เป็นตอนที่สาม เขียนว่า “ภาคสมบูรณ์” น่าจะหมายถึงภาคจบแล้ว เหมือนหนังไตรภาค มีสามตอน หนังสือก็ดี ทำเป็นหนังก็โอเค เสียดายไม่ทำเงิน เลยอดดูหนังภาคสอง และสาม

a day Legend

a day LEGEND : เรียบเรียงโดยนักเขียนรับเชิญมากมาย เช่น วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์, วินทร์ เลียววาริณ,ภัทระ คำพิทักษ์ (กระบี่ไม้ไผ่), วชิระ บัวสนธ์, บินหลา สันกาลาคีรี, ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย,โตมร ศุขปรีชา, วิภว์ บูรพาเดชะ, สืบสกุล แสงสุวรรณ และ จักรพันธุ์ ขวัญมงคล โดยมี วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ เป็นบรรณาธิการ

สำนักพิมพ์ a book, 240 หน้า , ราคา 260 บาท (ราคาปก 290 บาท) แถมเสื้อกระทิงแดงมาด้วย 1 ตัว

ทำปกแข็งเล่มหนากว่าที่คิดไว้ เป็น a day ฉบับพิเศษในโอกาสที่นิตยสาร a day ครบรอบ 10 ปี ขนาดเท่า a day ปกติ เนื้อหาเป็นเรื่องราวของ 25 คนไทย ที่น่ายกย่อง จนเรียกได้ว่าเป็น “ตำนาน” ของวงการนั้นๆ เช่น พุทธทาสภิกขุ, หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, จิตร ภูมิศักดิ์, ศิลป์ พีระศรี, เอื้อ สุนทรสนาน, สุวรรณี สุคนธา, แสงอรุณ รัตกสิกร, เทียม โชควัฒนา, ปรีดี พนมยงค์, ป๋วย อึ้งภากรณ์, ธงไชย แมคอินไตย์ เป็นต้น

น่าอ่าน น่าเก็บสะสมไว้ยิ่งนัก

และอันสุดท้ายที่ได้มา คือ แผนที่ดาว

แผนที่ดาว

แผนที่ดูดาว เป็นของที่อยากได้มานาน แต่ไม่ได้สักที ราคา 50 บาท วิธีใช้ก็ง่ายมากๆ วงด้านนอกเป็นวัน วงด้านในเป็นเวลา หมุนวันกับเวลาให้ตรงกัน แล้วดูได้เลย ยังไม่เคยใช้จริงๆ ไม่รู้ว่ามันจะใช้ได้ดีแค่ไหน กลับบ้านต่างจังหวัดครั้งหน้าจะเอาไปลองดู

สรุปว่า งานสัปดาห์หนังสือ เดือนตุลาคม 2553 หมดเงินไป 1,004 บาท ยังไม่รวมค่ารถอีกนะเนี้ย (อ่านให้คุ้มค่าเงินด้วยนะมึง)

งานสัปดาห์หนังสือ 2553 วันที่ 21-31 ต.ค. นี้ ที่ศูนย์สิริกิติ์

Book Expo 2010
งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 15 (BOOKEXPO THAILAND 2010)
รวมทั้งสิ้น 11 วัน คือ ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 21 – วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2553 เวลา 10.00-21.00 น.
พิธีเปิด: วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม 2553 เวลา 9.30 น.
สถานที่จัดงาน: ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

https://thailandbookfair.com/bookexpo2010/

ความจริงแล้ว งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติจะจัดช่วงเดือนเมษายน งานมหกรรมหนังสือระดับชาติจะจัดช่วงเดือนตุลาคม แต่ยังไงเราก็เรียกทั้งสองงานว่า งานสัปดาห์หนังสือ อยู่ดี ที่จริงก็ไม่จำเป็นต้องแยกหรอก เพราะงานมันเหมือนกัน มีหนังสือเยอะ คนเยอะด้วย เหมือนงานอุปกรณ์ไอทีที่มีหลายเจ้าจัด เราก็เรียกรวมว่า งาน Commart ทุกทีไป

ครั้งที่แล้วได้หนังสือมานิดเดียว เรื่องที่เคยตื่นเต้นกับการขอลายเซ็นต์นักเขียนที่ชื่นชอบ เริ่มจะเฉยๆแล้ว ถ้าเจอก็ขอ ไม่เจอก็ไม่เป็นไร ไม่เหมือนครั้งแรกๆที่ต้องไปวันนี้เพื่อจะเจอให้ได้ อะไรประมาณนั้นเลย แต่จริงๆแล้วการขอลายเซ็นต์ มันก็ให้อารมณ์เหมือนเราได้ซื้อหนังสือจากเจ้าของผลงานจริงๆนะ

หนังสือใหม่ของ @finger น่าสนใจมิใช่น้อย

Exit mobile version