แนะนำปลั๊กอิน WordPress สำหรับเว็บที่มีนักเขียนหลายคน

ทำเว็บ Biomed.in.th เริ่มจะมีนักเขียนหลายคน ผมถามเพื่อนๆทาง twitter ไปว่ามีปลั๊กอินสำหรับ WordPress ที่ช่วยในการจัดการเว็บที่นักเขียนหลายคนไหม ได้รับคำตอบกลับมาจากหลายคน ผมขอยกตัวที่ผมเอาไปใช้จริงสองตัวมาให้ดู ได้รับการแนะนำมากจาก @sourcode

  1. Role Manager: เป็นปลั๊กอินที่ช่วยในการกำหนดสิทธิ user ให้มีสิทธิในการเข้าถึง หรือปรับแก้ส่วนไหนได้บ้าง ผมใช้เพื่อเวลานักเขียนส่งเรื่องเข้ามา ต้องผ่านการตรวจสอบจาก admin อีกทีเพื่อช่วยกันดูว่าส่วนไหนผิดพลาด และส่วนไหนต้องเพิ่มเติม ก่อนส่งเรื่อยเผยแพร่ การกำหนดสิทธิแยกเป็นเฉพาะตัวบุคคลได้ด้วย เป็นปลั๊กอินที่สำคัญสุดที่ต้องมีในเว็บที่มีนักเขียนหลายคนเมื่อทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของ ผู้ใช้ (User) จะมีเมนูเพิ่มเข้ามาให้เราได้ใช้งาน
    User Manager

    เมนู Roles จะสามารถกำหนดสิทธิให้ user ในระดับต่างๆ ได้ทุกระดับขั้น จะลบ เปลี่ยนชื่อ กำหนดสิทธิ เพิ่มใหม่ก็ได้ในหน้านี้

    หน้ากำหนดสิทธิของลำดับขั้นของ นักเขียน

    เมื่อเราต้องการกำหนดสิทธิให้เฉพาะคน สามารถเข้าไปที่ Profile ของ User นั้นๆ แล้วด้านล่างจะมีช่องให้เลือกติ๊กสิทธิของ user คนนั้น

    เมนูกำหนดสิทธิเฉพาะคน

  2. Author Exposed :ปลั๊กอินตัวนี้ เมื่อเราคลิกที่ชื่อของคนเขียน จะมีบ๊อบอัพแสดงรายละเอียดของคนเขียนคนนั้น ขึ้นมาและบอกด้วยว่าเขียนมาแล้วกี่เรื่อง เมื่อคลิกเข้าไปจะแสดงเฉพาะเรื่องที่คนนั้นเขียนไว้ เป็นประโยชน์กับคนเขียนเองเพื่อตรวจสอบว่าตัวเองได้เขียน อะไรไปแล้วบ้าง และคนอ่านอยากติดตามเฉพาะเรื่องของคนนี้ก็สามารถแยกออกมาให้ด้วย วิธีใช้เมื่อลงปลั๊กอินแล้ว ให้ใส่โค้ดนี้แทนในตำแหน่งที่จะแสดงชื่อของคนเขียน
    
    

    ตัวอย่างการใช้งาน  เมื่อคลิกที่ชื่อ จะแสดงรายละเอียด

    คลิกที่ชื่อจะแสดงรายละเอียดของคนเขียน

    See Authors Posts (จำนวนโพสที่เขียนโดยคนนี้) เมื่อคลิกเข้าไปจะเปิดหน้าที่แสดงเฉพาะบทความที่คนนี้เขียน

    แสดงหน้าที่เขียนโดย นักเขียนคนเราสนใจ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังทำเว็บอยู่นะครับ ส่วนปลั๊กอินต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดการกรณีมีนักเขียนหลายคนลองเข้าไปดูที่เว็บที่มาครับ

ที่มา : https://www.hongkiat.com
Via : @sourcode

THE RISE OF NANOTECH : นวัตกรรมนาโน จากทฤษฎีสู่ชีวิตจริง

THE RISE OF NANOTECH

THE RISE OF NANOTECH : นวัตกรรมนาโน จากทฤษฎีสู่ชีวิตจริง
Scientific American : ดร.ยุทธนา  ตันติรุ่งโรจน์ชัย แปล
สำนักพิมพ์มติชน ,ตุลาคม 2552  ราคา 240 บาท

หนังสือเล่มนี้ เห็นผ่านตามานานแล้ว ได้เปิดดูสารบัญบ้าง แต่ยังไม่มีแรงจูงใจ ที่จะซื้อมาอ่าน หลังจากได้เขียนบทความใน Biomed.in.th เรื่องการใช้ nanopatch เป็นตัวให้วัคซีน เลยนึกอยากรู้จักเรื่องนาโนเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น และผมไม่อยากอ่านหนังสือที่ออกแนวเป็นหนังสือเรียนมากจนเกินไป หนังสือเล่มนี้น่าจะตอบโจทย์ เรื่องที่อยากรู้ ได้พอควร อาจจะไม่เท่าหนังสือเล่มโตในห้องสมุด

สารบัญ อาจเพิ่มแรงจูงใจ ให้อยากอ่านมากขึ้น

หน่วยย่อยนาโน

  • ยังมีที่ว่างอยู่อีกมาก
  • ศิลปะการผลิตโครงสร้างขนาดเล็ก
  • ตัวต่อเลโก้โมเลกุล

เครื่องจักรมีชีวิต

  • นาโนเทคโนโลยีของเกลียวคู่
  • กำเนิดคอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ

วงจรขนาดเล็กที่สุด

  • โครงข่ายนาโนคาร์บอนจุดประกายอิเล็กทรอนิกส์ชนิดใหม่
  • คำสัญญาของพลาสมอนิกส์
  • วงจรจิ๋วมหัศจรรย์

การเดินทางอันน่าอัศจรรย์

  • สิ่งเล็กๆ มีค่ามากมายในทางการแพทย์
  • พ่อมดนาโน
  • เกี่ยวกับผู้แปล

เนื้อหาแต่ละบท เขียนโดยนักวิทยาศาตร์แต่ละคนแตกต่างกันไป อ่านได้แบบเรื่อย เชิงพรรณา ไม่มีสูตรฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ ให้ปวดหัว แต่ละบทจะมีแหล่งค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ในตอนท้ายของบท หากสนใจในบทนั้นๆเป็นพิเศษก็สามารถตามไปอ่านต่อได้

ความฝันกับ Biomed.in.th เห็นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว

เว็บ Biomed.in.th

Biomed.in.th ผมเริ่มทำเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว(2009) บล็อกเกี่ยวกับเว็บนี้ไว้ที่นี้ ตอนหลังทิ้งช่วงของการอัพเดตไปนาน เนื่องด้วยการเขียนบทความประเภทนี้ เราจะให้ความสำคัญ ใส่ใจในความถูกต้องเป็นพิเศษ เพราะมันเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายโดยตรง อยากให้เป็นแหล่งความรู้จริงๆ ที่กล่าวอ้างได้ มีที่มาสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ประกอบกับเวลาไม่ค่อยมี(ข้ออ้าง) แต่เมื่อไม่นานได้พูดคุยกับ @cherrykids เธอบอกว่าเนื้อหาในเว็บน่าสนใจ แต่ทำไมไม่ค่อยอัพเดตเลย สุดท้ายก็ชวนมาเป็นคนร่วมเขียน คิดอยู่ในหัว “มีคนสนใจมันด้วยแฮะ” ไฟในตัวเลยลุกโชนขึ้นอีกครั้ง เลยลงมือปรับปรุงเว็บใหม่เพียบ

  • ปรับหน้าแรกให้อ่านง่ายขึ้น เรียงแบบธรรมดา จากคำแนะนำของเพื่อนคนหนึ่ง ที่บอกว่ามันดูงงๆ ตอนนี้น่าจะง่ายขึ้น
  • ทำหน้า Biomed.in.th on Facebook page มีคนมา Like เยอะแล้ว
  • ทำ Biomed.in.th on NetworkedBlogs ใครที่เล่น Facebook เข้าไป Follow ได้เลยครับ
  • ทำปุ่ม Like ใน single post เมื่อกด Like จะขึ้นไปที่ facebook ของเราทันที ลองดูที่ด้านล่างของโพสนั้นๆ
  • ทำ https://twitter/biomedinth เพื่อกระจายเนื้อหา ที่จริงสมัครมาตั้งนานแล้วแต่ยังไม่ได้โปรโมท
  • ทำ feedburner และ subscript ผ่านทางอีเมล ไปดูได้ที่หน้าหลัก
  • เปิดหน้ารับสมัครนักเขียน ใครสนใจเข้ามาสมัคร และลองเขียนบทความดูนะครับ มาช่วยกันเผยแพร่ความรู้สู่สังคมไทยกันนะครับ ตอนนี้เรามีนักเขียนแล้ว 8 คน เมื่อมีเวลาอันเหมาะสมผมจะนัดพบปะกันของกลุ่มคนเขียนบทความนะครับ
  • พยายามชวนพี่ๆเพื่อนที่รู้จักมาช่วยกันทำ ได้รับการตอบรับอย่างดี

ความฝันที่จะสร้างแหล่งให้ความรู้ และที่พบปะ พูดคุย ที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้สนใจในวิศวกรมมชีวเวช และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดูจะเห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ใครสนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา Biomed.in.th ขอเชิญเลยนะครับ ยินต้อนรับทุกท่านครับ

เว็บตรวจสอบการคัดลอกงานวิจัย Plagiarism detection Tool

Free Online Plagiarism Detection Tool

Plagiarism หรือ การคัดลอกผลงาน ในการเขียนบทความวิชาการถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าหากถูกตรวจพบว่างานเขียนนั้นมีการคัดลอกมาจากผลงานของผู้อื่น หรือมีการนำข้อมูลมาแสดงโดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง จะถือว่าผู้เขียนงานชิ้นนั้นมีความผิดทันที นักวิชาการหรือนักวิจัยที่ต้องเขียนบทความทางวิชาการจึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก แต่บางครั้งการเขียนบทความวิชาการ ผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจให้มี plagiarism ในงานเขียนของตัวเอง แต่อาจเกิดจากการเผลอเลอ อย่างไม่ได้ตั้งใจ การตรวจสอบ plagiarism ในงานเขียนจึงเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ และให้ความสำคัญอย่างมาก เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบมีหลายอย่าง ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่าย และนี้คืออีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยในการตรวจสอบ Plagiarism ซึ่งสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง และไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน นั้นคือ Dupli Checker Free Online Plagiarism Detection Tool

วิธีการใช้งานสะดวก และรวดเร็ว

  1. เข้าไปที่เว็บ https://www.duplichecker.com/
  2. Copy ข้อความที่เขียนขึ้นใส่ลงในช่องใส่ข้อความ หรืออับโหลดไฟล์เอกสารเข้าไปก็ได้
  3. คลิกเลือก search engine ในการค้นหา แนะนำ Google
  4. คลิก search
  5. ดูการแสดงผล สีแดงคือมี Plagiarism สีเขียวคือผ่าน
ตัวอย่างผลของการตรวจสอบ

ด้านบนเป็นผลของการค้นหา ที่ลองคัดลอกบทความจาก journal แห่งหนึ่งมา พบว่าระบบสามารถตรวจเจอและสามารถแสดงลิงค์ที่อยู่ของบทความนั้นได้

เครื่องมือนี้เหมาะกับอาจารย์ที่จะใช้ตรวจงานของนิสิตได้ หรือสำหรับนักวิจัยที่ต้องเขียนงานวิจัยส่งตีพิมพ์  journal ต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการตรวจสอบด้วยวิธีนี้ ตรวจไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างแน่นอน เครื่องมือนี้จะเป็นเพียงตัวช่วยตัวหนึ่งเท่านั้นในการตรวจสอบ จำเป็นต้องตรวจสอบด้วยตัวเองอีกครั้ง เพื่อความถูกต้อง

เข้าไปใช้งานได้ที่ : https://www.duplichecker.com/
ขอบคุณความรู้จาก @ac_nim

หลอดเลือดหนูที่เป็นความดันโลหิตสูงประสิทธิภาพการทำงานลดลง

fig 1 : ที่มาของภาพ : https://phenome.jax.org/phenome/protodocs/Lake1/Lake1_Protocol.htm

เสียเวลาอ่านงานวิจัยของชาวบ้านที่น่าสนใจไปแล้วก็อยากเอามาบอกเล่าต่ออีกทั้งยังเก็บเป็นบันทึกของเราไว้ด้วย ผมจะดึงเอาเฉพาะข้อมูลที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์กับคนทั่วไป ถ้าหากใครอยากอ่านตัวเต็มตามไปอ่านตามแหล่งที่มาที่อ้างอิงไว้ด้านล่าง

fig 2 : Blood pressure measurement with the tail-cuff method in Wistar and SHR

ความรู้ที่น่าสนใจ

  1. หนูปกติมีความดันโลหิตเหมือนคนคือประมาณ 120/80 mmHg และหนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก็มีแรงดันด้านบนประมาณ 180-200 mmHg เหมือนคนอีกเช่นกัน
  2. ถ้ารัดอวัยวะอย่างเช่นหาง(ในหนู) แขน(ในคน) ด้วยแรงดันที่สูงกว่าค่าของความดันด้านบน เลือดจากหัวใจจะไหลผ่านจุดที่ถูกรัดไม่ได้ ในรูป fig 2 แถบสีดำด่านล่าง Arterial pulse หรือสัญญาณชีพจร มันต่ำลงเรื่อยๆเมื่อแรงดันที่รัดเข้าใกล้ ~120 mmHg และเป็นเส้นตรง (เลือดหยุดไหล)เมื่อแรงดันมากกว่า ~120 mmHg
  3. ถ้าค้างแรงดันที่มากกว่า ~120 mmHg ไว้สักระยะ (ค่าเริ่มต้นที่เขาใช้คือ 15 วินาที ) แล้วค่อยลดแรงดันลงมาจะพบว่าแรงดันที่ทำให้เกิดสัญญาณชีพจรกลับมาอีกครั้งจะต่ำกว่าค่าแรงดันที่ทำให้สัญญาณชีพจรหายไป ถ้าในสามัญสำนึกของเรามันน่าจะเท่ากัน เพราะมันคือจุดเดียวกัน
  4. ถ้าเพิ่มระยะเวลาของการรัดแขนให้เลือดหยุดไหลนานขึ้น แรงดันของการทำให้เลือดไหลอีกครั้งจะต่ำลงเรื่อยๆ น่าจะเกิดจากหลอดเลือดมันจะขยายตัวรอรับการไหลเลือดเพิ่มขึ้น เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนนั้นเพิ่มขึ้น ทำให้แรงดันที่ใช้ในการทำให้เลือดไหลลดลง เหมือนตอนที่กำข้อมือไว้แล้วปล่อยจะรู้สึกว่าเลือดมันไหลเร็วขึ้น ซึ่งมันก็เร็วขึ้นจริงๆ
  5. แต่จุดสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับ เขาเทียบกันระหว่างหนูปกติกับหนูตัวที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง พบว่าหนูปกติจะมีอัตราการขยายตัวของหลอดเลือดดีกว่าหนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นโมเดลของหลอดเลือดที่ฟังชั่นลดลง หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆคือประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือดลดลง
  6. หลอดเลือดทำงานได้ไม่เต็มที่เกิดอะไรขึ้น เมื่ออวัยวะส่วนต่างๆของคุณทำงานหนักขึ้น อวัยวะส่วนนั้นมันจะต้องการเลือดไปหล่อเลี้ยงเพิ่มขึ้น การเพิ่มให้เลือดไปเลี้ยงส่วนนั้นมากขึ้นก็คือการขยายตัวหลอดเลือดให้ได้ปริมาตรของเลือดที่เพิ่มขึ้น ถ้ามันขยายได้ไม่ดี อันนี้ล่ะจะเป็นปัญหา อวัยวะขาดเลือด กล้ามเนื้อตายจะตามมา โดยเฉพาะในอวัยวะส่วนสำคัญอย่างเช่น สมอง และหัวใจ
  7. สรุปสุดท้ายที่น่าจะนำเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต กลุ่มที่ประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือดลดลงได้แก่ พวกสูบบุหรี่  ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ  โปรดงดบุหรี่ ลดไขมัน ซึ่งเป็นตัวที่น่าจะทำได้ง่ายที่สุด

อ้างอิง : “Blood pressure measurement with the tail-cuff method in Wistar and spontaneouslyhypertensive rats: Influence of adrenergic- and nitric oxide-mediated vasomotion” : Journal of Pharmacological and Toxicological Methods 58 (2008) 215–221

เห็นคำพวกนี้แล้ว นึกถึงอะไร?

เห็นคำพวกนี้แล้ว ผมนึกถึงอะไร ไม่ได้เรียงหมวดเลย อะไรเข้ามาในหัวก็เขียนเลย

  1. ไทยประกันชีวิต => สุดยอดโฆษณาที่เล่นกับความรู้สึกของคนดู
  2. NASA => ดวงจันทร์คงไม่ปลื้มกับการกระทำของพวกเขาเท่าไหร่
  3. 3G => ผลประโยชน์ล้วนๆ และไทยจะเป็นประเทศที่ได้ใช้ช้าที่สุด
  4. เพลง =>คำค้นหาที่สูงที่สุดของไทยตลอดกาล
  5. Hi5 => คนใช้งานกำลังลดลง
  6. Facebook =>คนใช้เล่นเกมเป็นหลัก
  7. twitter =>Live สุดๆ เร็วสุดๆ
  8. iPhone => คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
  9. Android =>OS ฟรี เครื่องแพง
  10. Palm pre =>มันบอก iTunes ว่า “ฉันเป็น iPod”
  11. Vista => บาปติดตัว ของไมโครซอฟท์
  12. Windows 7 =>Vista เวอร์ชั่นสมบูรณ์
  13. ละครไทย =>เน่าบ้างดีบ้าง (ส่วนใหญ่เน่า)
  14. ICT => ผลงานหลักๆ คือปิดเว็บ
  15. CAT ,TOT =>ทำให้  “คำที่ 3” เดินหน้าไม่ได้
  16. WordPress =>ง่ายสุด
  17. Drupal => ปวดหัว
  18. Joomla => Extension เยอะมาก
  19. IE 6 =>เลิกเหอะ นะ ขอร้อง
  20. Firefox =>ดี ที่มี Addon
  21. Chrome =>ธีมสวย เร็ว
  22. Safari =>ลูกเล่นการแสดงผล สุดยอด
  23. Opera =>Opera mini (ใช้ในมือถือ)
  24. Apple =>เทห์ ต้องรวย
  25. Microsoft =>กำลังคลานเข้ามาในโลกอินเตอเน็ต
  26. Google => ขาดเธอ ขาดใจ เพราะชีวิตติดกับเธอ
  27. Yahoo! =>Bing ช่วยฉันด้วย!
  28. WinMo =>WinPhone
  29. BB =>ขอ pin
  30. ไข้หวัด 2009 =>เป็นการผสมพันธุ์ของ หวัดหมู นก และ คน
  31. Open Source => “ใช้ทำไม ที่พันทิพย์มีทุกโปรแกรม” คิดกันแบบนี้ไงเลยไม่เจริญ
  32. เสื้อแดง =>คนไทย
  33. เสื้อเหลือง => ก็คนไทย
  34. คนไทย => รักกันน้อยไปไหม?
  35. พรีเมียร์ลีก =>เชียร์ ลิเวอร์พูล ครับ
  36. ไทยลีก => กำลังพัฒนา ต้องช่วยๆกัน
  37. iPod =>เทห์ ขายได้เยอะ แต่ชอบกั๊กฟีเจอร์
  38. Zune =>ทำไมแยก App กับ WinMo?
  39. NetBook=> ข้อดีที่เห็นชัดคือ เบา แต่เล็กไปสำหรับผม
  40. True Hi-Speed internet => ok นะ แต่ใช้เน็ตอย่าเดียวไม่ได้ ต้องจ่ายค่าเบอร์ด้วย(ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้งาน)
  41. Computer Graphic+ (CG+)=>ไทยทำ เหมือนจะวนอยู่ที่เก่า
  42. Computer Arts Thailand =>เนื้อหาดี แต่แพง!
  43. Bioscope =>ออกแนวอินดี้นิดๆ
  44. Flimax =>ออกแนวตามกระแสนิดๆ
  45. GTH =>คิดละเอียด เป้าหมายวัยรุ่น
  46. สหมงคล =>ดีก็ดีสุดๆ แย่ก็แย่สุดๆ
  47. GMM Grammy =>ขายเสียง เพราะส่วนมากหน้าตาแย่
  48. RS =>ขายสวย ใส เกาหลี
  49. มูมู่ กะ บูริน =>น่า รัก ซนสุดๆ (ไม่ต้องเข้าใจ เพราะมันเป็นชื่อของอะไรบางอย่าง)
  50. TweetDeck =>ดำ option เยอะ
  51. Seesmic =>ใช้อันนี้ เพราะมันชินกับ twhirl มา
  52. BTS =>ไปคนเดียวคุ้ม ถ้าไปหลายคนแพง
  53. MRTA=>ขึ้นค่าโดยสารบ่อยมาก
  54. รถ ขสมก. =>ถนนโล่งเป็นไม่ได้ ต้องซิ่งสุดๆ (เก็บกด)
  55. มาบุญครอง =>มีมือถือทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น ทุกมือ(1,2,3,..)
  56. เพชรบุรี ซอย 5 => ที่พักเยอะ คนเยอะ ถนนแคบ มีอาหาร มีร้านเกม (มีบ่อนด้วย)
  57. 7-Eleven =>จำนวนของมัน บอกได้ว่ามีประชากรหนาแน่นแค่ในบริเวรนั้น
  58. Pantip.com =>เว็บบอร์ดที่หน้าตาเชยมาก แต่คนก็เยอะมากเช่นกัน
  59. โอบาม่า => ได้รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ (ได้ยังไง?)
  60. DotA => เล่นแล้วติด อย่าลองล่ะ

ว่างๆจะมาอับเดตเพิ่มอีกทีครับ ใครคิดยังก็เอามาแบ่งปันกันได้นะครับ

ทำเว็บใหม่ Biomed.in.th (ไบโอเมด อิน ไทย)

เว็บ ไบโอเมด อิน ไทย (Biomed.in.th)

Biomed.in.th อ่านว่า ไบโอเมด อิน ไทย ไหนๆก็เรียนมาเกี่ยวกับด้านนี้อยู่แล้ว ก็เลยคิดว่าเราน่าจะพอมีความรู้ที่แบ่งปันให้คนอื่นได้บ้าง มีความตั้งใจจะให้เป็นแหล่งความรู้และให้ข่าวสารเกี่ยวกับ วิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering) ให้กับคนทั่วไป และความหวังสูงสุดคือเป็นที่พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้สนใจทั่วไปกับนักวิศวกรรมชีวเวช หรือระหว่างนักวิศวกรรมชีวเวชด้วยกันเอง

ตอนนี้กำลังพยายามชวนเพื่อนๆที่เรียนที่เดียวกันมาแชร์ ความรู้กันอยู่ ใครคิดว่าอยากร่วมอุดมการกับผมก็ขอเชิญนะครับ ไบโอเมด อิน ไทย จะได้พัฒนา เหมือนต่างประเทศเขา

คลิปนายก

รายการ ที่นี่ ทีวีไทย วันที่ 3 กันยายน 2552 เวลา 22.20 น.
ดูทีวีย้อนหลังจาก https://www.thaifreetv.net/tv/replay_tv.php

รายการ ที่นี่ ทีวีไทย

ผมถอดคำออกมาจากรายการ ซึ่งเป็นการตอบคำถามของ คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์  โรจนสุนันท์ กับผู้ดำเนิน
รายการ  ค่อนข้างละเอียด และยิ่งตอกย้ำนักการเมืองไทย ที่ไม่มีจริยธรรม

(สัมภาษณ์คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ผ่านทางโทรศัพท์)

พิธีกร : เดี๋ยวไปฟังคลิปเสียงคุณเฉลิมพร้อมกันค่ะ
คุณหญิงแพทย์หญิง : ค่ะ

รายการเปิดคลิป อภิปราย คุณเฉลิม : “.. ตามหลักการเนี้ยศาลเขาจะเชื่อหมอ เรื่องหลักฐานทาง
นิติวิทยาศาสตร์ เขาจะขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชียวชาญ มีหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ หมอทั้งหลายอย่า
ล้ำเส้น ท่านไม่มีสิทธิมาตรวจเท็จ ท่านตรวจศพ พิสูจน์ศพ ท่านตรวจนิติวิทยาศาสตร์ได้
โอ้ โห้ย…..
ออกมาพูดเลย คนระดับแพทย์หญิงพรทิพย์ พูดแล้ว ฝ้ายค้านยังไม่เชื่อ  คุณหมอพรทิพย์ คุณหญิงพรทิพย์
ท่านจบแพทย์ศาสตร์ ท่านเรียนนิติวิทยาศาสตร์ ผมเรียนกฎหมายเราเรียนนิดหน่อย  ท่านมีความน่าเชื่อถือ
เรื่องการชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฎหมายวิอาญา มาตรา 150 เมื่อตาย โดยผิดธรรมชาติ เขาให้ตำรวจ
พนักงานสอบสวน กับแพทย์ หมอพรทิพย์ มีหน้าที่ตรวจศพ แล้วมาตรวจเทปผมจะเชื่อหรอ..

พิธีกร : คุณหมอค่ะ ถ้าได้เจอ คุณเฉลิมตัวต่อตัวจะพูดอะไรคะ

คุณหญิงแพทย์หญิง : อ้อ ก็จะต้อง พอฟังแล้วยิ่งขำใหญ่เลยค่ะ เพราะว่า  นึกว่าเขาจะบอกว่าหมอเป็น
หมอนิติเวช ความจริง โดยสรุปเขาว่าอย่างงี้ค่ะ มีสองเรื่อง คำพูดสิ่งที่พยายามจะบอกเนี้ย คำพูดมันบอก
เลยว่า ตกลงเขามีความรู้หรือไม่  ความจริงเขาจบกฎหมาย เขาก็พูดอยู่ตลอดว่า นิติวิทยาศาสตร์พิสูจน์เสียง
มันก็นิติวิทยาศาสตร์ จริงๆแล้วหมอจบนิติพยาธิ แต่นิติพยาธิ เป็นสาขาหนึ่งของนิติวิทยาศาสตร์

วิทยาสาตร์สาขาอะไรมันก็มีหลักการไม่ยากที่จะเรียนรู้ อีกอย่างหมอเป็นหมอ ก็คงจะบอกได้ในเรื่องที่หนึ่ง
ส่วนในเรื่องที่สองก็คือ เสียดาย ที่คุณเฉลิมจบกฎหมาย แต่กลับไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้ แต่กลับพูดย้ำ ซ้ำๆ
กะจะประจานหรือจะทำอะไรก็ไม่รู้  แต่ว่านี้นะหรือ คือนักการเมือง ที่บอกว่าเป็นสภาอันทรงเกียรติ แต่กลับ
ใช้คำ คำพูดที่ไม่ด่าตรงๆ แต่เหมือนตำนิ และให้เอาออกสู่สาธารณะ ตรงเนี้ยที่อยากจะบอกว่า เวลาเจอกัน
ตัวต่อตัวทำไมถึงไม่มาคุยล่ะ มันเกี่ยวอะไรกันด้วย ก็กลัวจะทะเลาะกับท่านนายกอยู่

ไม่มีอะไรแล้วค่ะที่จริงมันเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ไม่น่าเชื่อว่าเขาจะไม่รู้

พิธีกร : คุณหมอยืนยัน เรื่องคลื่นเสียงเกี่ยวกับความเชียวชาญ  ในฐานะนักนิติวิทยาศาสตร์ ใช่ไหมค่ะ

คุณหญิงแพทย์หญิง : คืองี้ค่ะ  ไม่ต้องเชี่ยวชาญ ก็รู้ได้ คนจบเทคนิคก็รู้ ครั้งนี้เป็นแค่การพิสูจน์แค่การตัดต่อ
ไม่ได้พิสูจน์เสียง ถ้าพิสูจน์เสียงยากกว่า  แต่จุดใจความสำคัญสำคัญเนี้ย มันเป็นในลักษณะที่ คุณเฉลิมน่าจะ
ไม่ได้ฟังโดยตลอด คือวันนั้นที่แถลงข่าวบอกแล้ว  แถลงในนามผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ค่ะ เพราะ
ฉะนั้นผู้อำนวยการ คือผู้บริหาร และเราเองก็สรุปให้ฟังสั้นๆ เพื่อให้สื่อ เข้าใจ แล้วจากนั้นค่อยให้นักวิชาการ
เป็นคนอธิบาย เพราะเดี๋ยวลงไปในเชิงวิชาการลึกๆมากเนี้ย เขาก็อาจจะไม่เข้าใจ ซึ่งตรงนี้น่าเสียดายค่ะ
ไม่ฟังให้ครบ จับมาต่อเป็นต่อเป็นท่อนๆ แล้วเอาเฉพาะท่อนมาอภิปราย เลยเป็นเหมือนคลิปไปเลยค่ะ

พิธีกร : เห็นว่าวันนี้มีการประชุมเพิ่มเติม กับท่านนายกรัฐมนตรีเรื่องคลิปเสียงด้วย มีความคลืบหน้ายังไงบ้างค่ะ

คุณหญิงแพทย์หญิง :ไม่ใช่ค่ะ คืออย่างงี้ค่ะ คือทางท่านนายก ทางรัฐบาล ได้ส่งคลิปไปหลายหน่วย หน่วย
ต่างๆของแต่ละกระทรวงแล้วเผอิญวันนี้ตอนบ่ายไปประชุมที่กระทรวงก็ได้ รับคำสั่งว่าท่านรัฐมนตรี ให้มาสภา
ตามธรรมดาทุกๆรัฐบาล เวลาถูกตั้งกระทู้ กระทรวงนั้นต้องมาแสตนด์บาย  พอมาถึงเนี้ย ก็ได้ทราบว่าท่านนายก
จะขอพบก็แค่อธิบายให้ดู ว่าคลิปเป็นยังไง กราฟมันเป็นยังไง วิธีพิสูจน์ง่ายมากค่ะ คือคำพูดของคนโอกาส
จะซ้ำกันเนี้ย ยาก หมายความว่าจังหวะ จะโคน นะค่ะ มันก็เลยเป็นเหมือน fingerprint มันเหมือนความ
เฉพาะตัว เราสามารถเอาคำ คำเนี้ยมาบอกได้ว่า เป็นคำพูดจากสถานะการครั้งไหน การบันทึกครั้งไหน
ที่ออกมาเป็นสองครั้งไงค่ะคือ วันที่ 9 และวันที่ 26 จากนั้นเราก็เอาท่อนเสียงอันเนี้ยค่ะ เอามาเปรียบเทียบกับ
คำพูดของทั้งหมดหรือทั้งบรรทัด ในคำพูดวันที่ต่างๆ มันเห็นชัดเลยค่ะว่า มีการตัดออกไป มันเป็นเรื่องง่ายๆ
ท่านนายกก็คงอยากฟังว่า หลักการเป็นยังไงค่ะ หมอพรทิพย์ไม่ได้ไปคนเดียวนะค่ะ เราก็พาคนที่ตรวจเข้าไป
เพื่ออธิบายให้ท่านเข้าใจ

พิธีกร : จุดไหนค่ะที่พอจะเป็นจุดสังเกตุว่ามีการตัดต่อชัดเจน

คุณหญิงแพทย์หญิง : อันแรกก่อนง่ายๆ คือการใช้โปรแกรม ที่ง่ายสุดเลยคือ  audacity
audacity พอเอาเข้าไปวิเคราะห์เนี้ย ก็จะเห็นคะว่า จุดที่เป็นไซเลนซ์ผิดปกติ โดยปกติเสียงคนพูดที่เป็น
ต่อเนื่องยาวๆมันจะไม่มีไซเลนซ์  ไซเลนซ์เนี้ย ในหลักการมันก็คือการตัดต่อ คือมีการ cut แล้ว Delete หรือ
cut paste อะไรก็ได้ค่ะ อันที่สองที่เรารู้ว่ามีการตัดต่อ หลังจากที่เราหาคำเป็นประโยค แล้วเอาไปเทียบกับคำ
ต้นฉบับของวันที่ 19 หรือวันที่ 26 มันเห็นเลยค่ะว่า ข้างหน้าและข้างท้ายมันเป็นคนละท่อน อันนี้มันเป็น
การเปรียบเทียบด้วยกราฟ  วิทยาศาตร์มันน่ามหัศจรรย์ตรงนี้ค่ะ เหมือน fingerprint ค่ะมันจะออกมาชัดเจน

พิธีกร : ขอบพระคุณมากค่ะ

อีกคำแถลงของท่านนายกในสภาในการตอบคำถาม กระทู้สด  ค่อนข้างสรุปได้ดี

นายก: …ถ้อยคำทั้งหลายตรวจสอบคลื่นเสียงแล้ว หลักมาจากสองรายการนี้ ผมยอมรับครับว่าไม่ใช่ทุกคำพูด
ที่ผมจะกล้าพูดว่าเสียงของผมมีที่มาจากสองรายการนี้  แต่ตัวหลักๆที่เป็นปัญหาเนี้ย เช่น ทำความรุนแรง
ปิดสถานีวิทยุ สร้างสถานการ  ตรวจสอบคลื่นเสียงหมดแล้ว ถอดออกมาจากตรงนั้น
ผมว่า จบได้แล้วครับ อย่าให้ไร้สาระมากกว่านี้เลยครับ เดี๋ยวจะผิดข้อบังคับจริงๆครับ

TED Talks : Conference ระดับโลก

TED Talks

วีดีโอที่มีสัญลักษณ์ TED สีแดง ผมเห็นมาตั้งนานแล้ว ตอนแรกไม่รู้มันคืออะไร งานอะไร จัดอย่างไร จัดตอนไหน
แต่ทุกๆวีดีโอที่ได้ดูมันสุดยอดทั้งนั้นเลย เช่น Jonhny Lee เอา Wii Remote มาทำ 3D ซึ่งตอนนี้ก็ไปทำงานกับ
Microsoft ในโปรเจคนาธานแล้ว , Blaise Aguera y Arcas สาธิต Photosynth ,Brian Cox พูดถึง LHC
และอื่นๆอีกเยอะเมื่อดูแล้วจะรู้สึกว่ามันเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาก วันนี้เลยขอเจาะลึก TED สักหน่อยว่าคืออะไร
ทำไมถึงได้มีแต่บุคคลที่มีคุณภาพ และชั้นแนวหน้าของโลกมานำเสนอได้เยอะขนาดนี้

TED มาจากอักษรนำหน้าของสามคำรวมกันคือ Technology ,Entertainment ,Design เป็นองค์กรเกี่ยวกับ
การศึกษา งานวิชาการ การวิจัย (academic organization)เจ้าของคือ The Sapling Foundation เป็นองค์กรที่
ไม่หวังผลกำไร คนทั่วไปรู้จักดีในการจัดสัมมนาเชิงวิชาการประจำปี ที่ค่อนข้างจำกัดเฉพาะบุคคลที่ได้รับเชิญ
(invitation-only conference)ภายใต้คำว่า  “ideas worth spreading” จะเรียกว่าสโลแกนน่าจะได้

TED มีชื่อเสียงมากในเรื่องการบรรยายที่รู้จักในชื่อ TED Talks คนที่พูดจะได้เวลาในการนำเสนอประมาณ 18 นาที
ซึ่งมีหัวข้อหลักคือ technology, entertainment  และ design แต่ในปัจจุบันได้มีการขยายเนื้อหา รวมไปถึง science,
arts, politics, education, culture, business, global issues, technology and development
Speakers ในงานนี้เป็นบุคคลแถวหน้าของโลกทั้งนั้น เช่น Bill Clinton-อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ,Gordon Brown-
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ,James D. Watson-เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์การแพทย์,Al Gore-อดีตผู้ชิงตำแหน่ง
ประธานาธิบดีและพึ่งได้โนเบลสาขาสันติภาพไปด้วยผลงานผูัปลุกกระแสโลกร้อน , Sergey Brin และ Larry Page-
เจ้าของและผู้คิดค้น Google ,Bill Gates-อดีตซีอีโอไมโครซอร์ฟผู้ชายที่รวยที่สุดในโลก เข้าไปดู TED Speakers
ที่เว็บได้เลือกได้ตามปี

TED มีที่ตั้งอยู่ที่เมืองนิวยอร์ค และ แวนคูเวอร์ ในตอนเริ่มส่วนที่จัด conference อยู่เมืองมอนเทอเรย์ แคลิฟอร์เนีย
และในปัจจุบัน (2009) ย้ายไปอยู่ ลองบีซ แคลิฟอร์เนีย เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของผู้เข้าร่วมงาน

นอกจาก TED conference แล้วยังมีงานอื่นอีกที่เน้นการกระจายเครือข่ายให้กว้างมากขึ้น คือ TEDGlobal ซึ่งจะ
มีการย้ายไปจัดที่ประเทศต่างๆ ซึ่งในปีนี้ (2009) TEDGlobal 2009-The Substance of Things Not Seen ไปจัดที่
ออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ จัดไปเมื่อ 21-24 กรกฎาคม 2009  ที่ผ่านมา

TED Global 2009 ที่ออกฟอร์ด อังกฤษ

ส่วนงานถัดไปที่จะจัด คือ TEDIndia-The Future Beckons ที่เมืองมายซอร์(Mysore) ประเทศอินเดีย
ในวันที่ 4 – 7 พฤษจิกายน 2009

TED-INDIA-The-Future-Beckons

และในปี 2010 จะกลับมาจัดที่ ลองบีซ แคลิฟอร์เนีย ในชือ TED2010-What the World Needs Now ในวันที่
9-13 กุมภาพันธ์ 2010

TED-2010-What-the-World-Needs-Now

ประวัติความเป็นมาของ TED
TED ก่อตั้งโดย Richard Saul Wurman และ Harry Marks ในปี  1984 และเริ่มมีการจัด conference
ตั้งแต่ปี 1990  จากนั้นในปี 2002 Wurman  ก็ออก TED ไป แล้วให้  Chris Anderson Editor ของ WIRED

Chris Anderson ผู้ดูแล TED

จาก The Sapling Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิของเขาเป็นผู้ดูแล โดยมี Devoted ประจำงานว่า “leveraging the
power of ideas to change the world”  และในปี 2006 มีการจัดงานผู้ที่เข้าร่วมงานได้ คือผู้สนใจที่จ่ายเงิน 4,400$
(154,000฿) และคนที่ถูกเชิญ และในเดือนมกราคม ปี 2007 ก็มีการให้สมัครเป็นสมาชิกรายปีได้ ในราคา 6,000$
(210,00o฿)ซึ่งจะได้เข้าร่วมงานตลอดทั้งปี , club mailings, networking tools และ conference ในรูปแบบ DVDs
อ้างอิง

เมื่อเดือนมิถุนายน 2006 TED ได้จัดทำเว็บไซต์ เพื่อที่จะเผยแพร่ TED Talks และมี Youtube ไว้อับโหลด Video
เพิ่มด้วยอีกทาง สามารถเข้าไป Subscribe ได้ และใน iTunes Store ด้วย โดยเข้าไปเปลี่ยน Location เป็น USA
แล้ว Search TED จะมี วิดีโอของ TED ให้ดาวน์โหลดดูได้ฟรี และล่าสุดที่ผมเห็นใน Vuze ก็มี ซึ่งวีดีโอที่เผยแพร่นั้น
เป็นไฟล์ที่มีคุณภาพ และคมชัดสูง สามารถเผยแพร่ต่อได้ในรูปแบบ Creative Common

TED-Video

จนในปี 2009 ก็ได้รับรางวัล Best Use of Video or Moving Image ของการจัดอันดับเว็บไซต์
the 13th Annual Webby Awards

The TED Open-Translation Project
TED ได้ให้ความสำคัญของคนทั่วโลกที่ไม่ได้ ฟัง อ่านภาษาอังกฤษ จึงได้จัดทำโปรเจค Open-Translation
ขึ้นเพื่อเปิดให้อาสาสมัครทั่วโลกเข้ามาแปล TED Talks ตอนนี้เผยแพร่แล้ว 51 ภาษา และแปลแล้วประมาณ
1,300 ชิ้น โดยนักแปลกว่า 600 คน ซึ่งแน่นอนมีภาษาไทยด้วย แต่มีแค่ 6 ชิ้นที่แปล ส่วนใครสนใจอยากเข้า
ร่วมแปลสามารถเข้าไปสมัครได้

TED-Thai-Translations

TED Prize จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2005 มอบรางวัลให้ปีละ 3 คน คนที่ได้จะได้รับเงินรางวัล 100,000$(3,500,000฿)
และได้รับการรับยกย่องว่า เป็นคนที่ “มีแรงปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงโลก”  ซึ่งคนที่มีสิทธิรับรางวัลก็เป็นหนึ่งในคนที่
นำเสนอใน TED conference ดูรายชื่อคนที่ได้รับรางวัลในแต่ละปีได้ที่ TEDPreze.org

TED-Prize ผู้ได้รับรางวัลในปี 2009

TEDx โดย x มาจากคำว่า “independently organized TED event” เป็นการจัด conference แบบ TED แต่เน้น
ไปที่กลุ่มเล็กๆ นักเรียน กลุ่มธุรกิจเล็ก โดยมีแนวคิดร่วมกัน ที่จะเผยแพร่ความคิดออกไป TED ก็จะสนับสนุนในการ
เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ,Logo และเอกสารขั้นตอนการจัดงาน กฎระเบียบต่างๆ  TEDx จึงจัดค่อนข้างบ่อย กระจาย
ออกไปทั่วโลก และเปิดกว้างสำหรับคนทุกคน ในไทยมี List event ด้วย แต่ไม่มีรายละเอียด

TEDx

Upcoming TEDx eventsThailand

  • TEDxBKK – TBD
  • TEDxPositivePsychology – TBD
  • TEDxSchooloftheFuture – TBD

เข้าไปดูรายละเอียดกฎระเบียบต่างๆในการจัดงานได้ที่ได้ที่ TEDx

นอกจากนี้ TED ยังมีงานย่อยๆอีกได้แก่  TED Fellows ที่เป็นการรวมกลุ่มคนหนุ่มสาวที่มีใจอยากจะเปลี่ยน
แปลงโลกให้ดีขึ้น เน้นอยู่ที่ เอเชียแปซิฟิก, แอฟริกา,แคริบเบียน, ละตินอเมริกาและตะวันออกกลาง

TED-Fellows

TED Talks เป็นงาน conference ที่ดี มีคุณภาพมาก และกำลังได้รับความนิยมสูงในหมู่นักบริหาร นักธุรกิจ นักวิชาการ
ชั้นแนวหน้าของโลก ประโยชน์ของคนที่ได้เข้าร่วมคงเป็นประสบการณ์และแนวคิด ไอเดียใหม่ๆ และสำหรับ
คนที่ได้นำเสนอผลงาน หรือพูดในงานนี้คงเป็นเหมือนการยกระดับความน่าเชื่อถือในสังคมได้อย่างมาก
เพราะมันเป็นเวทีระดับโลกที่จะเผยแพร่สู่คนทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็นงาน conference ที่มีแต่คนอยากเข้าร่วม
ไม่ว่าค่าลงทะเบียนมันจะแพงสักขนาดไหนก็ตาม

อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/TED_%28conference%29
https://www.ted.com

The 6th World Congress on Biomechanics (WCB)2010

The 6th World Congress on Biomechaics 2010

การสัมมนาทางวิชาการทางด้าน Biomechanics จัดที่สิงค์โปร์ ในวันที่ 1-6 สิงหาคม 2010 ปีหน้าครับ
สำหรับใครที่มีแผนจะจบภายในปีหน้าก็เตรียมส่งหัวข้อพรีเซ็นต์ได้เลยครับ นิสิต BME ทุกคนโปรดให้
ความสนใจและวางแผนงานได้แล้วครับ ลงทะเบียนตอนนี้ฟรีครับ
ดูขั้นตอนการ submission ได้ที่ https://www.wcb2010.net/abstractsubmission/
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wcb2010.net

หัวข้อที่เกี่ยวข้อแยกเป็นหมวดต่างๆดังนี้ หัวข้อสุดท้ายน่าจะเกี่ยวกับ BME มากที่สุดครับ

Call for Abstracts
You are invited to submit abstracts in the following topics, but are not limited to:

Theme 1: Special Topics

  • 1. Animal Biomechanics
  • 2. Biomechanics in Nature
  • 3. Ergonomics and Human Factors
  • 4. Functional Tissue Engineering
  • 5. Plant Biomechanics
  • 6. Sports Biomechanics & Human Performance

Theme 2: Organ Mechanics

  • 7. Arti. cial Organs
  • 8. Biomechanics of Auto-digestion
  • 9. Cardiovascular Biomechanics
  • 10. Lymphatics
  • 11. Occupational & Impact Injury Biomechanics
  • 12. Ocular Biomechanics
  • 13. Oral and Maxillofacial Biomechanics
  • 14. Orthopaedic Biomechanics
  • 15. Physiological System Modeling
  • 16. Rehabilitation, Prosthetics and Orthotics
  • 17. Reproductive Mechanics
  • 18. Respiratory Mechanics

Theme 3: Tissue Mechanics

  • 19. Bone
  • 20. Cartilage
  • 21. Dental Tissues
  • 22. Ligament and Tendon
  • 23. Muscle Mechanics and Motor Control
  • 24. Soft Tissues

Theme 4: Cell Mechanics

  • 25. Biorheology and Microcirculation
  • 26. Cell Mechanics
  • 27. Cell Migration
  • 28. Cell-matrix Interaction
  • 29. Cell Nucleus
  • 30. Membrane Mechanics

Theme 5: Molecular Mechanics

  • 31. Biomolecular Motors
  • 32. DNA, RNA and Proteins Mechanics
  • 33. Mechanobiology
  • 34. Molecular Mechanics
  • 35. Receptor-ligand/Protein-protein Interactions
  • 36. Sub-cellular Structures and Protein Assemblies

Theme 6: Materials, Tools, Devices & Techniques

  • 37. Biomaterials
  • 38. Biomedical Instrumentation
  • 39. Bionanotechnology
  • 40. Biosensors, Biochips & Devices
  • 41. Biosignal Processing
  • 42. Computational Methods
  • 43. Computer Assisted Surgery
  • 44. Experimental Techniques
  • 45. Imaging Techniques
  • 46. Medical Robotics
  • 47. Micro and Nanofluidics

อ้างอิง : https://www.wcb2010.net

Exit mobile version