รักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดด้วย Electromegnetic

new-treament-electromagnetic
new-treament-electromagnetic

การติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงมาก และตายอย่างรวดเร็วถ้าหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที เพราะเลือดคือองค์ประกอบหลักของร่างกายไหลไปอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย การเกิดพยาธิสภาพต่างๆในร่างกายจึงเกิดขึ้นเร็วและรุนแรง เชื้อที่พบบ่อยในการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นพบได้ทั้ง เชื้อแกรมบวก เช่น S.aureus และแกรมลบ เช่น E.coli ,Acinetobactor spp.,K.pneumoniae เมื่อตรวจพบว่ามีการติดเชื้อต้องมีการรายงานผลเบื้องต้นให้แพทย์ทราบทันที เพื่อทำการรักษาเบื้องต้น และดูแลเป็นพิเศษ ก่อนที่การวินิจฉัยเชื้อ และการตรวจความไวต่อยาของเชื้อนั้นจะออกมา

ล่าสุด Ingber’s team ได้ทำการวิจัยการรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบใหม่ ที่จะช่วยให้การรักษาทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ในแล็บของเขาได้ทำการผสมเชื้อรา Canida albican เชื้อหนึ่งที่ก่อโรคได้ลงไปในเลือดแล้วจากนั้นเติม plastic-coated iron-oxide beads(เม็ดเหล็กที่เคลือบด้วยพลาสติก) เคลือบอีกชั้นด้วย antibody เมื่อเติมลงไปในเลือด antibody นี้จะเข้าจับกับตัวเชื้อเสมือนว่าเอาเหล็กไปติดที่เชื้อก่อโรค

จากนั้นนำเลือดเข้าเครื่อง dialysis(เหมือนเครื่องฟอกไต)ที่มีการเพิ่ม electromagnetic คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปด้วย ซึ่งแรงนี้จะดูดเม็ด beads ทำให้เชื้อที่ติดอยู่ด้วยถูกดูดออกมาไหลเข้าสู่น้ำเกลือที่อยู่อีกด้าน Ingber ให้ข้อมูลว่า ในเวลา 2-3 ชั่วโมง วิธีนี้สามารถกำจัด แบคทีเรียได้ถึง 80% ตอนนี้ได้เริ่มทดสอบกับสัตว์ทดลองแล้ว และในอนาคตนอกจากจะใช้ในการกำจัดแบคทีเรียในกระแสเลือดแล้ว ยังสามารถที่จะพัฒนาไปใช้กับการกำจัด เซลล์มะเร็งในเลือดหรือการเก็บ stem cell ได้อีกด้วย

ในงานวิจัยชิ้นนี้ไม่ถือว่าใหม่มากนัก การใช้หลักการติด beads เหล็ก กับอะไรสักอย่างแล้วใช้แม่เหล็กดูดออกมานั้น มีการพัฒนามานานแล้ว แต่ยังไม่มีการนำมาใช้กับมนุษย์อย่างจริงจัง ส่วนมากจะใช้ในห้องทดลองเท่านั้น การประยุกต์เอาวิธีนี้เข้ามาใช้ร่วมกับเครื่อง dialysis ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีมาก แม้ว่าจะไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียออกไปได้ 100% แต่ก็ลดอัตราการตายของคนไข้ได้อย่างมาก งานวิจัยนี้นับว่าเป็นประโยชน์ กับวงการแพทย์ไม่น้อยเลยทีเดียว

ข้อมูลจาก https://www.popsci.com/

EndNote X2 โปรแกรมทำเอกสารอ้างอิง ตอนที่ 1

endnote-x2

อัพเดตข้อมูล

ล่าสุดตอนนี้ มีให้โหลดเวอร์ชั่นล่าสุด EndNote X5 แล้วนะครับ คลิกดาวน์โหลดได้ที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/endnotex5.html และ ถ้าหากไม่แน่ใจว่าเวอร์ชั่นที่เราขอไปเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้วหรือยัง แนะนำให้เข้าไปดูที่ https://www.car.chula.ac.th/curef-db/ ครับ

EndNote เป็นโปรแกรม Reference management software ช่วยให้การทำเอกสารอ้างอิง บรรณานุกรม ให้ง่ายขึ้นอย่างมาก สร้างโดย The Thomson Corporation มีทั้งรุ่น Windows และ Mac OS X การทำเอกสารอ้างอิงในงานวิจัยที่จะส่งตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการต่างๆนั้น แต่ละเล่มมีรูปแบบของเอกสารอ้างอิงที่ไม่เหมือนกัน คงเป็นการยากถ้าต้องมาแก้ไขรูปแบบของเอกสารอ้างอิงทุกๆครั้งที่จะเปลี่ยนวารสารในการตีพิมพ์ซึ่งโปรแกรม EndNote สามารถช่วยให้การเปลี่ยนรูปแบบเป็นไปอย่างง่าย สำหรับรูปแบบที่ จุฬาฯ ใช้อยู่คือ แบบ vancouver ครับ โปรแกรมที่ดีและมีประโยชน์อย่างนี้ทาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ จึงจัดซื้อมาเพื่อบริการนิสิตจุฬาฯ และอาจารย์ โดยเฉพาะ สามารถที่จะเข้าไปดาวน์โหลดและติดตั้งที่เครื่องตัวเองได้เลยดาวน์โหลดได้ที่

เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ก่อนติดตั้งคุณต้อง e-mail ไปขอ password จากภารกิจสนับสนุนการวิจัย ศูนย์วิททรัพยากรจุฬาฯ อีเมล rss@car.chula.ac.th ถ้าใช้อีเมลล์ของนิสิตจุฬาฯ จะตอบกลับมาเร็วครับ ถ้าเป็นอีเมลล์อย่างอื่นอาจจะนานหน่อยเพราะต้องรอการยืนยันจากคณะ เพียงเท่านี้เราก็สามารถได้ใช้โปรแกรม EndNote X5 อย่างถูกลิขสิทธิ์แล้วครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม

ตามไปดูตอนที่ 2 การใช้งานเบื้องต้น https://www.amphur.in.th/reference-manager-endnote/

หลักสูตรการใช้เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางสายตา

โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT

ผมได้รับอีเมลล์จากพี่ร่วมงานในแล็บ เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาประชาสัมพันธ์ต่อครับ

เรียนท่านวิทยากร, ท่านผู้เชี่ยวชาญ และท่านที่สนใจ

จากการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่องของรูปแบบข้อกำหนดต่าง ๆ โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT วันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา แล้ว ได้ทำการประมวลผลหลักสูตร การใช้เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางสายตา

โดยได้กำหนด เปิดอบรม ในวันที่ 18,19,25 พฤษภาคม นี้ โดยจะมีพิธีเปิดโครงการฯ ในวันที่ 18 พฤษภาคม เพื่อให้สื่อมวลชนเข้าร่วมพิธีดังกล่าว จึงขอเรียนเชิญทุกท่านช่วยประชาสัมพันธ์โครงการให้กับท่านผู้สนใจอบรม และทางผมจะส่งหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการเรียนเชิญทุกท่านต่อไปครับ

==================================================

หลักสูตรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียม สำหรับคนพิการทางการมองเห็น
จำนวนชั่วโมง 18 ชั่วโมง

สถานที่ฝึกอบรม: ศูนย์ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต ชั้น 8 (ลงสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี)

วัตถุประสงค์
1. ผู้อบรมสามารถบอกถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. ผู้อบรมมีทักษะเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้
3. ผู้อบรมสามารถค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ได้
4. ผู้อบรมสามารถสื่อสารข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. ผู้อบรมสามารถใช้หนังสือระบบเดซี่ได้

ความต้องการของระบบ
1. ระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือสูงกว่า
2. โปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) JAWS หรือ NVDA
3. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Thai Text to Speech) ตาทิพย์
4. อินเตอร์เน็ต

หัวข้อการอบรม
1. ความสำคัญของ ICT ต่อคนพิการทางการมองเห็น
2. คนตาบอดใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
3. การประยุกต์ใช้ ICT ในชีวิตประจำวัน
4. การใช้แป้นพิมพ์, การใช้ Mouse และอุปกรณ์ต่างๆ
5. การใช้งานโปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) JAWS หรือ NVDA
5.1. การติดตั้งโปรแกรม
5.2. การตั้งค่าการทำงาน
6. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Text to Speech ) ตาทิพย์
7. การใช้งานอินเตอร์เน็ต
7.1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่าย
7.2. การใช้งานโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
7.3. การตั้งค่าระบบการรักษาความปลอดภัย (Security Setting)
7.4. การใช้งาน Search Engine เพื่อค้นหาข้อมูล
7.5. การนำข้อมูลจาก Internet เช่น รูปภาพไปใช้งาน
7.6. การรับส่ง Electronic Mail
7.7. เว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
7.8. ข้อพึงระมัดระวังในการใช้อินเตอร์เน็ต
8. แนะนำ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
9. แนะนำให้รู้จัก E-Commerce
10. แนะนำการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อสร้างโอกาสและอาชีพ

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.Equitable-Society.com

==============================================

ประชาสัมพันธ์ แบนเนอร์โครงการฯ

ท่านใดที่สามารถร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ สามารถทำได้โดย Copy โค้ด HTML ต่อไปนี้เพื่อติดตั้งยังเว็บไซต์ท่าน

<a href=”https://www.equitable-society.com” title=”โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT”>
<img src=”https://www.equitable-society.com/images/equitablesociety.gif” border=”0″ alt=”
โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT”>
</a>

ขอขอบพระคุณทุกความคิดเห็น ทุกคนร่วมมือ เป็นอย่างสูง

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.Equitable-Society.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 944 0009 ต่อ 102


Best Regards,

ชไลเวท พิพัฒพรรณวงศ์
Chalaivate Pipatpannawong

ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานงานกระทรวง ICT

www.Equitable-Society.com

Managing Director

WebVPN Chula ใช้เน็ตภายนอกเหมือนอยู่ภายในจุฬาฯ

Chula-webVPN

การอยู่หอพักในจุฬาฯเลยได้เล่นเน็ตผ่านทาง wirelees ของจุฬาฯ การเข้าใช้งานเว็บไซต์ ต่างๆที่เกี่ยวกับงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ เลยไม่มีปัญหา เช่น sciencedirect ,Pubmed ,scopud เพราะในเครือข่ายภายในทางมหาลัยได้มีการ register กับทางเว็บไซต์ผู้ให้บริการอยู่แล้ว เมื่อออกมาใช้อินเทอร์เน็ตภายนอก การใช้งานต่างๆเลย ทำอะไรไม่ได้เลย ดู หรือดาวน์โหลด journal ไม่ได้เลย ทำให้การทำงานที่บ้าน หรือหอพักภายนอกทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่ต่อเนื่อง แต่จุฬาฯ มีบริการ virtual private network ที่ทุกคนพูดติดปากว่า webVPN การใช้งานง่ายมากๆ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คุณต้องเป็นนิสิตจุฬาฯ
  2. เข้าไปที่ url นี้ ที่ https://vpn.chula.ac.th (สังเกตจะมี s อยู่หลัง http ครับ)
  3. หน้าต่าง Security Alert จะปรากฎขึ้นมาก็ตอบ yes ไป

    security alert

  4. ให้ใส่ user : รหัสนิสิต 8 ตัว เช่น 50871670 ไม่มีรหัสคณะ 2 ตัวหลัง
    password : รหัสเดียวกับใช้ลงทะเบียนนั้นแหละ

    Login

  5. ตอนนี้เราก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมือนนั่งเล่นเน็ตที่คณะเลย ภาพหน้าหลัก และมีที่ใส่ url ด้านบน
หน้าแรกของ เว็บจุฬาฯ

ตัวอย่างการใช้งานเว็บ scopus เว็บที่ช่วยให้การทำ referance ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปาก ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟัง

Scopus ก่อน login ด้วย VPN

ก่อนใช้ webVPNก่อนใช้ webVPN

Scopus หลัง login ด้วย VPN

เมื่อใช้ webVPN ก็ใช้งานได้อย่างเต็มที่

ไอคอนแสดงว่าใช้งานอยู่

สังเกตที่มุมขวาบนจะมีปุ่มเครื่องมืออยู่
เรียงดังนี้ move (ย้ายชิดซ้าย-ขวา) , go to address (เปิดเว็บใหม่) ,Home page (กลับไปหน้าหลัก) ,Logout (ออกจากระบบ)

ฉันจะตายด้วยมะเร็ง?

Family tree

ดูจากประวัติของครอบครัวผมแล้ว ญาติฝ่ายแม่ ตอนนี้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งแล้ว สองคน เป็นผู้ชายทั้งคู่ และแม่มีประวัติการเป็นเนื้องอกที่เต้านม ค่อนข้างมีความเป็นไปได้สูงว่า แม่จะมียีนของมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ยีนแสดงผลในกลุ่ม ที่เป็นชาย จากสถิติ ตากับยาย มีลูกชาย 3 คน เ ป็นมะเร็งซะ 2 คน โอกาสที่ชายจะเป้นมะเร็งเกือบ 70 % ญาติฝ่ายพ่อลุงเสียชีวิตด้วยมะเร็งเช่นกัน แต่อาๆ ไม่มีใครเป็น ก็อาจจะมะเร็งที่ ไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งก็อาจจะไม่แน่ซะทีเดียว จาก ข้อมูลเบื้องต้นโอกาสที่ ผมจะตายด้วยโรคมะเร็งนั้น ก็มีโอกาสค่อนข้างสูง เลยทีเดีย

BME BarCamp สรุปงานสัมมนา

การจัดสัมมนาครั้งแรกที่ BME

จากที่ได้รับมอบหมายงานอย่างเร่งด่วนให้ จัดงานนำเสนอสาขาต่างๆในหลักสูตร แค่วันเดียวก่อนถึงวันงาน ทำเอาหัวหมุนเลยทีเดียวผมก็เลย ไอเดียจากงาน ThinkCamp มาใช้ และได้เพื่อนๆพี่ๆ น้องๆ ในหลักสูตรเลยทำให้งานเราออกมาดีกว่าที่คิด แม้จะเตรียมงานแค่วันเดียวก็มีคนส่งหัวข้อมานำเสนอถึง 14 หัวข้อ
ดูรายละเอียดงานเพิ่มเติม

โดยมีหัวข้อหลัก อยู่ 7 หัวข้อ คือ

1. Intro BME แนะนำงานในวันนี้มีอะไรบ้าง โดยผมเอง @sarapuk
2. Cell & Tissue Engineering and Drug Delivery System โดย คุณฐากูร
3. Medical Imaging โดย คุณทิพวิมล  slideshare
4.  Medical Instrumentation โดยคุณขนิษฐา
5. Biosensor โดย คุณยศมงคล
6. Biomechanics โดย คุณยศมงคล โดนพ่วงสองหัวข้อเพราะพี่หมอไม่มา
7. Rehabilitation โดยคุณเอ็กกะเอ็ม

ดูสไลด์ของหัวข้อหลักได้ที่นี้ slideshare

ส่วนหัวข้ออื่นจากหัวข้อหลักมีดังนี้
1.  Health Future Vision 2019 by Microsoft office labs โดยผมเอง
2. Scaffold  โดยคุณน๊อต
3. DDS (Drug Delivery System) โดยคุณคิว
4. FES  in Rehabilitation Engineering โดยคุณกัส
5. Cause work in BME โดยคุณทิพ
6. Manage Problem โดยคุณกานต์
7. Research Topic for survivor โดยคุณโย
8. BME member โดยคุณแชมป์

ดูสไลด์ของหัวข้อรองได้ที่ slideshare

คุณขณิษฐากำลัง เสนอเรื่อง Medical Instrucmentation

คุณยศมงคลกำลังนำเสนอ หัวข้อ Biosensors

ถ่ายรูปร่วมกัน หนีกลับไปหลายคนแล้วลืม บอกว่าจะถ่ายรูปก่อน

อ้างอิง ThinkCamp , BME-CHULA

BME BarCamp สัมมนาไร้รูปแบบ

BME-Barcamp

ในวันพรุ่งนี้ 18 มีนาคม 2552 เวลา 8.30 – 12.00 น. มีกิจกรรมการเลือกสาขาของนิสิตใหม่
นิสิตที่สัมครใหม่ทั้งหมด 22 คน (ป.เอก 11 ป.โท 11)

รูปแบบของกิจกรรมจะเป็นการสัมมนาแบบ Unconferenced Pecha Kucha (ペチャクチャ) รวมกับ BarCamp คือ การสัมมนาแบบมีการจำกัดไสด์และเวลา เราประยุกต์นิดหน่อย คือให้พูด 5 นาที 5 สไลด์ โดยหัว ข้อที่เกี่ยวกับ BME และมีประโยชน์กับการเลือกสาขา หรืออะไรก็ได้ที่คุณ อยากนำเสนอให้น้องๆ และเพื่อน พี่ๆ ก็เอามาแชร์กัน ไม่จำกัดหัวข้อ

ได้ แนวคิดมาจาก ThinkCamp

กิจกรรม มีดังนี้
8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน และส่งหัวข้อพร้อมสไลด์
9.00 – 11.00 น. เริ่มการพรีเซนต์ โดยให้เวลาพูด 5 นาที 5 สไลด์ และตอบปัญหาอีก 5 นาที

keynote ในงานนี้มีอยู่ 6 คนดังนี้
1. Tissue Engineering โดย นายฐากูร ฐิติเศรษฐ์
2. Biosensor โดย นายยศมงคล สวัสดิ์ศถุงฆาร
3. Medical Image โดย นางสาวทิพวิมล มีไชย
4. Rehabilitaion โดย นายทศพล ทองเติม
5. Medical Instrument โดย นางสาวขนิษฐา วาเสนัง
6. Biomechanics โดย กลุ่มหมอ

และหัวข้ออื่นที่คุณส่งมา

11.00 – 12.00 น. ตั้งเป็นจุดแบ่งตามสาขา และเวียนกันเข้าฐาน ให้รุ่นพี่ตอบปัญหาข้อสงสัย
และพบปะพูดคุยทั่วไป

12.00-13.00 น. พักเที่ยง

13.00 -14.00 น. ถ้ามีหัวข้อเพิ่มเติมก็จะนำเสนอต่อ

Faq

ทำไมทำแบบนี้
ตอบ : เพิ่มความแปลกใหม่และการมีส่วนร่วมของทุกๆคน

ใครเสนอหัวข้อได้
ตอบ : ได้ทุกคน แต่ตามเงื่อนไข คือ 5 นาที 5 สไลด์

หัวข้อคืออะไร
ตอบ : เกี่ยวกับ BME และมีประโยชน์เกี่ยวกับการเลือกสาขา

ส่งหัวข้อนอกเหนือจากนี้ได้ไหม
ตอบ ได้นะ แต่อาจจะถูกจัดให้ไปตอนบ่าย หรือตอนท้าย

แล้วใครจะสนใจส่ง
ตอบ อยากให้ทุกๆคนช่วยๆกันนะครับ นำเสนอสาขาต่างๆในหลักสูตรให้น้องใหม่ ได้รู้จักและเป็นประโยชน์สำหรับการเลือกสาขาของเขา
และอีกอย่างคนที่ส่งหัวข้ออื่นๆ คือว่าอยากให้นำเอาความรู้ต่างๆที่เรามีมาแชร์ให้คนอื่นรู้ เช่น พี่แชมป์ มึแนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรแบบนี้อยากให้น้องๆรู้ก็เอามานำเสนอ หรือพี่ชัย เอาเรื่องการเรียน biosensor มาเล่าให้ฟังเป็นยังไง, กานต์ มีเรื่องเกี่ยวกับเทคโนดลยีแบบใหม่มานำเสนอ , กลุ่มที่เรียน cognitive มีผลงานที่ทำเสร็จแล้วมานำเสนอก็ได้ , หรือย่างผม รู้ว่าอาจารย์แต่ละท่านอยู่ไหน ตึกไหน ก็ปักหมุดในกูเกิลมาให้ดูเลย, หรือหัวข้อของกลุ่มที่จบไปแล้วมีอะไรบ้าง กลุ่มที่จะสอบหรือสอบหัวข้อไปแล้วมีอะไร อะไรประมาณนี้คือ เรามีอะไรก็มาแชร์กัน คืออยากให้ได้ทั้งน้องใหม่และพี่ที่เรียนอยู่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

อ้างอิง : ThinkCamp , BarCampBangkok

Exit mobile version