หลอดเลือดหนูที่เป็นความดันโลหิตสูงประสิทธิภาพการทำงานลดลง

fig 1 : ที่มาของภาพ : https://phenome.jax.org/phenome/protodocs/Lake1/Lake1_Protocol.htm

เสียเวลาอ่านงานวิจัยของชาวบ้านที่น่าสนใจไปแล้วก็อยากเอามาบอกเล่าต่ออีกทั้งยังเก็บเป็นบันทึกของเราไว้ด้วย ผมจะดึงเอาเฉพาะข้อมูลที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์กับคนทั่วไป ถ้าหากใครอยากอ่านตัวเต็มตามไปอ่านตามแหล่งที่มาที่อ้างอิงไว้ด้านล่าง

fig 2 : Blood pressure measurement with the tail-cuff method in Wistar and SHR

ความรู้ที่น่าสนใจ

  1. หนูปกติมีความดันโลหิตเหมือนคนคือประมาณ 120/80 mmHg และหนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก็มีแรงดันด้านบนประมาณ 180-200 mmHg เหมือนคนอีกเช่นกัน
  2. ถ้ารัดอวัยวะอย่างเช่นหาง(ในหนู) แขน(ในคน) ด้วยแรงดันที่สูงกว่าค่าของความดันด้านบน เลือดจากหัวใจจะไหลผ่านจุดที่ถูกรัดไม่ได้ ในรูป fig 2 แถบสีดำด่านล่าง Arterial pulse หรือสัญญาณชีพจร มันต่ำลงเรื่อยๆเมื่อแรงดันที่รัดเข้าใกล้ ~120 mmHg และเป็นเส้นตรง (เลือดหยุดไหล)เมื่อแรงดันมากกว่า ~120 mmHg
  3. ถ้าค้างแรงดันที่มากกว่า ~120 mmHg ไว้สักระยะ (ค่าเริ่มต้นที่เขาใช้คือ 15 วินาที ) แล้วค่อยลดแรงดันลงมาจะพบว่าแรงดันที่ทำให้เกิดสัญญาณชีพจรกลับมาอีกครั้งจะต่ำกว่าค่าแรงดันที่ทำให้สัญญาณชีพจรหายไป ถ้าในสามัญสำนึกของเรามันน่าจะเท่ากัน เพราะมันคือจุดเดียวกัน
  4. ถ้าเพิ่มระยะเวลาของการรัดแขนให้เลือดหยุดไหลนานขึ้น แรงดันของการทำให้เลือดไหลอีกครั้งจะต่ำลงเรื่อยๆ น่าจะเกิดจากหลอดเลือดมันจะขยายตัวรอรับการไหลเลือดเพิ่มขึ้น เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนนั้นเพิ่มขึ้น ทำให้แรงดันที่ใช้ในการทำให้เลือดไหลลดลง เหมือนตอนที่กำข้อมือไว้แล้วปล่อยจะรู้สึกว่าเลือดมันไหลเร็วขึ้น ซึ่งมันก็เร็วขึ้นจริงๆ
  5. แต่จุดสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับ เขาเทียบกันระหว่างหนูปกติกับหนูตัวที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง พบว่าหนูปกติจะมีอัตราการขยายตัวของหลอดเลือดดีกว่าหนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นโมเดลของหลอดเลือดที่ฟังชั่นลดลง หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆคือประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือดลดลง
  6. หลอดเลือดทำงานได้ไม่เต็มที่เกิดอะไรขึ้น เมื่ออวัยวะส่วนต่างๆของคุณทำงานหนักขึ้น อวัยวะส่วนนั้นมันจะต้องการเลือดไปหล่อเลี้ยงเพิ่มขึ้น การเพิ่มให้เลือดไปเลี้ยงส่วนนั้นมากขึ้นก็คือการขยายตัวหลอดเลือดให้ได้ปริมาตรของเลือดที่เพิ่มขึ้น ถ้ามันขยายได้ไม่ดี อันนี้ล่ะจะเป็นปัญหา อวัยวะขาดเลือด กล้ามเนื้อตายจะตามมา โดยเฉพาะในอวัยวะส่วนสำคัญอย่างเช่น สมอง และหัวใจ
  7. สรุปสุดท้ายที่น่าจะนำเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต กลุ่มที่ประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือดลดลงได้แก่ พวกสูบบุหรี่  ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ  โปรดงดบุหรี่ ลดไขมัน ซึ่งเป็นตัวที่น่าจะทำได้ง่ายที่สุด

อ้างอิง : “Blood pressure measurement with the tail-cuff method in Wistar and spontaneouslyhypertensive rats: Influence of adrenergic- and nitric oxide-mediated vasomotion” : Journal of Pharmacological and Toxicological Methods 58 (2008) 215–221

เผยแพร่โดย

Amphur

Medical Technology, Biomedical Engineering, Research Assistant, Blogger : Biomed.in.th, Amphur.in.th

2 thoughts on “หลอดเลือดหนูที่เป็นความดันโลหิตสูงประสิทธิภาพการทำงานลดลง”

  1. แล้วอยากทราบว่า หนูที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ที่ใช้ในการทดลอง เป็นหนูชนิดที่ ผ่านการบล็อกสารบางอย่างในร่ายกาย เพื่อให้มันอยุ่ในภาวะความดันโลหิตสูง หรือว่า เป็นโดยธรรมชาติ ค่ะ.

    1. มันเป็น Spontaneously hypertensive rat (SHR) คือ หนูที่มีความดันโลหิตสูงโดยธรรมชาติของสายพันธ์ของมัน ถูกเพาะขึ้นมาและถูกใช้เป็นโมเดลศึกษาโรคความดันโลหิตอยู่เสมอครับ

      รายละเอียดเพิ่มเติมครับ http://en.wikipedia.org/wiki/Spontaneously_hypertensive_rat

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Exit mobile version