Tinkercad โปรแกรมออกแบบงาน 3D อย่างง่าย ใช้งานออนไลน์ผ่านหน้าเว็บ

Tinkercad

Tinkercad เป็นโปรแกรมออกแบบงานทางด้าน 3 มิติ ใช้งานผ่านทางเว็บบราวเซอร์ เป็นของบริษัท Autodesk บริษัทที่ทำโปรแกรม 3 มิติที่ดังๆอย่าง 3ds Max, Maya, AutoCAD นั้นแหละ

Tinkercad เป็นโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ได้ฟรี ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย รวดเร็ว โปรแกรมจะมีรูปทรง 3 มิติพื้นฐานบางส่วนมาให้ เราสามารถสร้างรูปร่างที่ซับซ้อนจากการประกอบรูปทรงพื้นฐานเหล่านี้ได้ จากรูปทรงพื้นฐานที่ธรรมดาๆ บวกกับความคิดสร้างสรรค์ก็สามารถประกอบรูปร่างให้มันเป็นรูปทรง 3 มิติที่น่าทึ่งได้เช่นกัน ลักษณะเหมือนต่อเลโก้ นอกจากนี้โปรแกรมยังมีความยืดหยุ่นสูง โดยอนุญาติให้ผู้ใช้สามารถสร้างรูปทรงจากโค้ด JavaScript ได้อีกด้วย(แนวคิดเดียวกับ Minecraft) ตัวอย่างเจ๋งๆที่มีคนทำไว้ เช่น Godzillaรถแข่ง, เรือ+ปราสาท ลองเข้าไปดูตัวอย่างอื่นๆได้ที่ Discover

นอกจากนี้ ตัวอัพเดตล่าสุดของ Tinkercad เราสามารถ Export โครงสร้าง 3 มิติเข้าไปในเกม Minecraft ได้อีกด้วย ต้องถูกใจขาเกมแน่นอน เท่าที่เข้าไปเปิดดูใน Discover ที่แชร์ในเว็บไซต์มีหลายคนสร้างปราสาทเพื่อนำเข้า Minecraft เยอะพอสมควรเลย เรียกได้ว่าเป็นส่วนเสริมเกม Minecraft อีกตัวหนึ่งก็คงได้

Download for Minecraft

ดูตัวอย่างการ Export ปราสาทที่สร้างใน Tinkercad แล้วนำเข้าไปในเกม Minecraft ได้ในคลิป

https://www.youtube.com/watch?v=LnT1ZGQ0Abo

เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมออนไลน์ที่ใช้ได้ฟรี คนที่อยากลองสร้างผลงาน 3 มิติไม่ควรพลาด จะทำแบบง่ายๆไปจนถึงสุดล้ำก็น่าลองทั้งนั้น

เข้าไปเล่น Tinkercad ได้ที่ https://tinkercad.com

via: Polygon

บันทึกรายการหนังในรอบปีที่ไปดูมาแล้ว

รายการความบันเทิงในชีวิตของผมเองมีการบันทึกไว้ค่อนข้างเป็นระบบ ตั้งแต่รายการเพลงที่ฟัง หนังที่ดู หนังสือที่อ่าน อาหารที่กิน ถูกบันทึกไว้ให้ตัวเองหยิบขึ้นมารำลึกในภายหลังได้อย่างสะดวกที่สุด อีกอย่างรายการเหล่านี้สะท้อนความเป็นตัวตนของเราได้เป็นอย่างดี ทำให้รู้ว่าแท้จริงแล้วเราชอบอะไรแบบไหนเป็นพิเศษ เคยเขียนบล็อกถึงการบันทึกเรื่องพวกนี้อยู่บ่อยๆ

สิ่งที่ช่วยบันทึกรายการความบันเทิงส่วนตัว มีดังนี้ครับ

  • Last.fm เก็บบันทึกเพลงที่ฟัง
  • Goodreads เก็บบันทึกหนังสือที่อ่าน
  • Food เก็บบันทึกอาหารและร้านอาหาร
  • Picasa เก็บบันทึกภาพถ่าย
  • และ imdb เก็บบันทึกหนังที่ไปดูมาแล้ว 

ถ้านอกเหนือจากรายการต่างๆเหล่านี้ก็จะบันทึกลงบล็อกไว้ให้ได้มากที่สุดครับ

ในวันนี้สิ่งที่อยากจะแชร์นั้นคือรูปแบบการบันทึกรายการหนังที่ดูมาแล้วของผมเอง ในที่นี้จะไม่ได้แยกว่าหนังที่ได้ดูนั้นดูที่ไหนอย่างไร จะเป็นหนังในโรง หนังแผ่น หรือแม้แต่หนังที่ดูผ่านทางเคเบิลทีวีก็ตาม ทุกเรื่องที่ได้ดูก็จะถูกบันทึกลงลิสต์ ณ เวลานี้ผ่านมาแล้ว 7 เดือน เลยครึ่งปีมาแล้วหนึ่งเดือน เราดูหนังไปแล้ว 49 เรื่อง เป็นหนังใหม่-เก่าที่ไม่เคยดู ในรายการนี้จะบันทึกเฉพาะหนังที่ไม่เคยดูเท่านั้น ซึ่งบางทีหนังที่เคยดูแล้วหยิบขึ้นมาดูอีกครั้งจะไม่ถูกบันทึกลงในรายการนี้เลย

วิธีการบันทึกของผมนั้นใช้ imdb.com เป็นตัวช่วยบันทึก โดยการล็อกอินเข้าระบบในเว็บไซต์ จากนั้นสร้างลิสต์ของตัวเองขึ้นมา เมื่อไปดูหนังกลับมาก็ไม่ลืมที่จะเข้าไปที่หน้ารายละเอียดของหนังเรื่องนั้นใน imdb.com แล้วกดบันทึกลงในลิสต์ที่เราสร้างไว้ ทำแบบนี้ทุกครั้งที่ไปดูหนังมา เริ่มทำแบบนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว พบว่าวิธีนี้สะดวกดีเลยทีเดียวครับ

วิธีการบันทึกหนังลงลิสต์ของ imdb

  1. ทำการสร้างลิสต์ใหม่ขึ้นมา (สมัครสมาชิกและล็อกอินเข้าระบบก่อน) คลิกสร้างลิสต์ใหม่ Create a new list

    Create a new list

  2. เลือก list เป็นรายการของรายชื่อหนัง ใส่ชื่อของลิสต์ตามที่ต้องการในที่นี้ผมต้องการบันทีกรายการหนังที่ได้ดูตลอดทั้งปี 2013 จึงตั้งชื่อว่า “Watchlist in 2013”

    New List

  3. เมื่อต้องการบันทึกหนังที่ไปดูมาแล้วลงในลิสต์ที่สร้างไว้ เข้าไปที่รายละเอียดของหนังเรื่องนั้น กด Watchlist เลือกลิตส์ที่ต้องการเพิ่มหนังเรื่องดังกล่าวลงไปในลิสต์ เป็นอันเสร็จสิ้น

    add to watchlist

เข้าไปดู Watchlist ของผมใน imdb ได้ที่ลิงค์นี้ครับ Watchlist in 2013Watchlist in 2012

ขอชวนทุกท่านมาสร้างลิสต์หนังของตัวคุณเองครับ แล้วเอาลิสต์หนังของคุณมาแชร์กันบ้างนะครับ ผมอยากรู้ว่าคุณชอบดูหนังแนวไหน เรื่องอะไรบ้าง

LastPass เพราะเราขี้เกียจจำ User และ Password

LastPass

อยู่ๆก็อยากพูดถึง LastPass ขึ้นมาครับ น่าจะเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ในคอมของเราจะขาดไม่ได้เอาเสียเลย

LastPass เป็นอีกหนึ่งบริการช่วยจำรหัสล็อกอินเว็บไซต์ต่างๆของเรา รวมถึงการช่วยสร้างรหัสที่มีความปลอดภัยสูง ใช้งานมาได้พักหนึ่งแล้วและตอนนี้ก็ยังใช้อยู่ ไปเจอบริการตัวนี้ครั้งแรกจาก TIME’s 50 Best Websites 2012 แล้วก็ทดลองใช้ตั้งแต่ตอนนั้น ลองค้นดูพบว่ามีบริการในลักษณะนี้อยู่สองสามเจ้าในตลาดที่แข่งขันกันอยู่ ได้แก่ LastPass, 1Password, mSecure แต่มีแค่ LastPass ที่มีเวอร์ชั่นฟรี

ความสามารถหลักๆของ LastPass ที่ใช้อยู่คือ ให้ช่วยจำรหัส จำข้อมูลส่วนตัว(ชื่อ,ที่อยู่) ตอนที่จะเราจะล็อกอินเข้าใช้งานเว็บไซต์ หรือต้องกรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆของเราเอง LastPass ช่วยอำนวยความสะดวกให้ได้อย่างดี

ตอนนี้มีเว็บไซต์ต่างๆประมาณ 200 กว่าเว็บไซต์ที่เราเป็นสมาชิก มีรหัสเข้าใช้งานอยู่ประมาณ 10 แบบที่แตกต่างกัน แต่ละชุดค่อนข้างยาว ตัวที่ยาวสุดคือมีอักขระเกือบ 30 ตัว แต่ก่อนเว็บไซต์ที่นานๆครั้งจะได้เข้าใช้งานจะซุ่มรหัสใน 10 แบบที่เรามีไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอ หรือแม้แต่จำได้ถ้าจะให้พิมพ์รหัสยาวๆเองทุกครั้งก็ไม่สะดวกเอามากๆเลยล่ะ ส่วนใน Google Chrome ก็มีระบบช่วยจำให้เหมือนกัน แต่การบริหารจัดการนั้นไม่สะดวกเอาซะเลย ใช้ LastPass ลงตัวกว่ามาก จะจัดหมวดหมู่ แก้ไข คัดลอก ทำได้ง่ายกว่ามาก ตอนนี้เลยจำแค่รหัสล็อกอินเข้า LastPass เพียงตัวเดียวที่เหลือก็ให้โปรแกรมช่วยจำ ช่วยจัดการให้

แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างเหมือนกัน นั้นคือตัวแอพ LastPass ที่ใช้งานในมือถือหรือแท็ปเล็ตต้องจ่ายตังค์แบบรายปีซึ่งถือว่าหลายตังค์เหมือนกัน(24$/Y) ทำให้อาจจะใช้งานได้ไม่เต็มที่ แต่เราใช้เฉพาะในคอมก็ยังสะดวกกว่าไม่ได้ใช้อยู่ดี อีกข้อหนึ่งที่น่าห่วงเหมือนกันคือความปลอดภัยถ้าเราทำรหัสของ LastPass แค่อันเดียวหลุดไป คนที่ได้ไปก็อาจจะได้รหัสอื่นๆไปด้วย อันนี้ต้องระวังมากๆด้วย ซึ่งเราเองก็ต้องชั่งใจอยู่นานเหมือนกันว่าระบบของเขาปลอดภัยแค่ไหน ซึ่งเท่าที่ศึกษาข้อมูลจากหลายๆที่ก่อนตัดสินใจใช้ ก็พอตอบได้ว่าไว้ใจได้ แต่ก็มีรหัสบางตัวที่สำคัญมากๆ เช่นเกี่ยวกับการเงิน ก็จะไม่เอาเข้าไปเก็บไว้ใน LastPass เลย

สรุปว่า LastPass ช่วยให้การท่องโลกอินเทอร์เน็ตของเราสะดวกขึ้นมากๆ ***แนะนำให้ใช้กับเครื่องคอมของตัวเองเท่านั้นนะครับ

LastPass: https://lastpass.com/

Goodreads ค้นหาและแชร์หนังสือที่คุณชอบ

Goodreads

มี Social network อยู่เว็บหนึ่ง ที่มีหนังสือเป็นศูนย์กลางหลักของเว็บไซต์ เท่าที่ใช้มาได้สักระยะพบว่ามันถูกจริตผมอย่างมาก และขอเชียร์อย่างออกหน้าออกตาเลยนะ ในความคิดถ้าคนไทยเล่นเยอะกว่านี้น่าจะมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นอีกเยอะเลยล่ะ

การเก็บ log ในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวกับสิ่งบันเทิงของผมในตอนนี้ ถือได้ว่าค่อนข้างเป็นระบบและราบเลื่อนดีมาก ดูหนังก็เก็บ Watchlist ไว้ที่ imdb, ถ้าฟังเพลงก็ใช้ Last.fm, อ่านหนังสือก็ต้อง Goodreads, ซึ่งทั้งสามอย่าง ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ แต่ก่อนจะเขียนลงบล็อกทั้งหมด เราพบว่าในแต่ละครั้งใช้พลังงานค่อนข้างเยอะในการเขียน ทำให้หลายๆอันเลยพลาดบันทึกเก็บไว้

ส่วนการใช้ Goodreads แต่ก่อนใช้งานบ้าง แต่พบว่าหนังสือที่เป็นภาษาไทยไม่ค่อยมีฐานข้อมูล ทำให้การเก็บ log ทำได้ไม่สะดวกนัก แต่ช่วงหลังๆเลยทำแบบนี้ครับ ไม่มีใช่ไหมเพิ่มเองเลย แล้วก็พบว่าการเพิ่มหนังสือเข้าไปใน Goodreads ทำได้ง่ายมาก เริ่มแรกค้นหาหนังสือในร้านขายหนังสือออนไลน์ครับ มีข้อมูลครบถ้วนทุกอย่างอยู่แล้ว ทั้งปก isbn ชื่อคนแต่ง ปีที่พิมพ์ จับวางได้เลย การเพิ่มหนังสือแต่ละเล่มทำเสร็จไม่ถึงหนึ่งนาที ครั้งหน้าถ้าเพื่อนเข้ามาค้นใน Goodreads ก็จะเจอหนังสือที่เราเพิ่มเข้าไปแล้ว ง่ายมาก อีกอย่างที่พบเมื่อเพิ่มหนังสือจำพวกแปลมาจากภาษาอื่น ในตอนท้ายจะมีช่องให้เราใส่เพิ่มเติมเข้าไปได้ว่าต้นฉบับคือหนังสือชื่ออะไร สุดท้ายแล้วมันจะรวมพวก rating, รีวิว ของต้นฉบับกับฉบับแปลภาษาต่างๆมาไว้ด้วยกันครับ เยี่ยมยอดมากๆ

อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่เรียกได้ว่าชอบมากๆคือ Progress เราสามารถที่จะอัพเดตสถานะการอ่านของเราว่าตอนนี้อยู่หน้าที่เท่าไหร่ คิดเป็นกี่เปอร์เซนต์จากหน้าที่เหลือ พร้อมกับเขียนบันทึกย่อสั้นๆไว้ได้ว่าที่อ่านผ่านมาแล้วนั้นมีประเด็นอะไรที่น่าสนใจและน่าบันทึกสั้นๆเก็บไว้ พร้อมทั้งช่วยบอกความก้าวหน้าได้ว่าหนังสือที่เราอ่านอยู่นั้นใช้เวลากับมันมากน้อยเพียงใดกว่าจะอ่านจบ สุดท้ายแล้วยังสามารถเอาบันทึกสั้นๆเหล่านั้นมารวมเขียนเป็นบล็อกสรุปเนื้อหาได้อีกทีหนึ่ง เจ๋งไหมล่ะ!

Goodreads App for iOS ก็ทำได้ดีมีประโยชน์ มีเมนูที่ใช้อยู่บ่อยๆก็คือ Progress และ Scan, ตัว Scan นั้น จะใช้กล้องอ่านบาร์โค้ดของหนังสือเล่มนั้น แล้วก็ค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลภายในเว็บ แล้วมันจะรายงานรายละเอียดของหนังสือ จำพวก rating, รีวิวจากคนที่อ่านแล้ว ช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะซื้อเลยดีไหม หรือจะบันทึกไว้ก่อนก็ได้ว่าฉันจะอ่านหนังสือเล่มนี้ทีหลัง แหล่มมาก!

รายละเอียดเกี่ยวกับ Goodreads ที่น่าสนใจ

Goodreads เป็นเว็บไซต์ของผู้ที่รักการอ่าน มีสมาชิกผู้ใช้งานราว 13 ล้านคน, มีฐานข้อมูลหนังสืออยู่ราว 450 ล้านเล่ม เคลมตัวเองว่าเป็นเว็บไซต์ชุมชนนักอ่านและแชร์แนะนำหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก เปิดตัวตั้งแต่มกราคม 2007

สิ่งที่ Goodreads ทำได้ก็เป็นเหมือน social network ทั่วไป มีฟีเจอร์ทุกอย่างเกี่ยวกับการอ่านที่ควรจะมี

  • เพิ่มหนังสือที่ตัวเองอ่านเข้าไปได้ จะเทียบกับฐานข้อมูลเดิมด้วยหมายเลย isbn
  • แชร์ให้เพื่อนได้เห็นว่าตอนนี้เราอ่านหนังสือเล่มไหนอยู่ อ่านเล่มไหนจบไปแล้วบ้าง และกำลังสนใจเล่มไหนอยู่ ให้คะแนนหนังสือที่อ่านจบแล้ว
  • ค้นหาหนังสือในแนวที่ตัวเองสนใจ ติดตามดูหนังสือเล่มไหนที่กำลังได้รับความสนใจ
  • แนะนำหนังสือที่คุณน่าจะชอบ (อ้างอิงจากหนังสือที่คุณอ่าน)
  • ตั้งเป้าหมายในปีนี้จะอ่านหนังสือกี่เล่ม (Reading Challenge) จาก user ประมาณ 3 แสนกว่าๆที่ตั้ง challenge ไว้ของปีที่แล้ว(2012) คือ 58 เล่มต่อปีครับ แต่ทำสำเร็จกันไป หมื่นสองกว่าๆ ปีที่แล้วผมตั้งไว้ 10 เล่ม ทำสำเร็จ 200% อ่านได้ 20 เล่ม ปีนี้เลยจัดเต็มไป 50 เล่มเสียเลย ท้ายๆปีค่อยมาลุ้นว่าจะทำได้หรือไม่ สร้างแรงกระตุ้นได้ดีมากๆ
  • Tagging หนังสือที่อ่านอยู่ Progress ว่าต้องนี้อ่านถึงหน้าไหนแล้ว พร้อมเขียนโน๊ตสั้นๆกำกับไว้ได้
  • มีแอพพริเคชั่น Goodreads สำหรับ iOS ทำงานได้ดีมากเลยทีเดียว

แต่ส่วนใหญ่ในเว็บไม่ค่อยมีคนไทยเล่นเท่าไหร่ ฐานข้อมูลก็เป็นหนังสือภาษาอังกฤษซะส่วนใหญ่ ผมได้เห็นหนังสือหลายเล่มที่น่าสนใจมากๆจากเพื่อนๆที่แชร์ไว้ว่าตัวเองอ่านอะไรและก็ตั้งใจว่าจะหามาอ่านบ้างเช่นกัน ตอนนี้ผมอยากรู้ว่าพวกคุณๆอ่านอะไรกันอยู่ มันน่าสนใจไหม จึงขอเชิญชวนทุกๆท่านมาเล่น Goodreads ครับ  มาช่วยกันแชร์ มาช่วยกันเพิ่มข้อมูลหนังสือของไทยที่ดีๆให้กันและกันครับ มาสร้าง account ให้ลูกตัวเล็กของคุณแล้ว add หนังสือที่เขาอ่านไปแล้วลงไป น่าจะสร้างความภาคภูมิใจและแรงกระตุ้นให้เด็กรักการอ่านเพิ่มมากขึ้นก็ได้นะครับ

เข้าไปเลยที่ https://www.goodreads.com

50 สุดยอดเว็บไซต์ ประจำปี 2012 คัดเลือกโดยนิตยสาร TIME

50 Best Websites 2012

เว็บไซต์ของนิตยสาร TIME จะรายงาน 50 สุดยอดเว็บไซต์ (50 Best websites ) เป็นประจำทุกปี เพราะมีเว็บไซต์ใหม่ๆ บริการออนไลน์ใหม่เกิดขึ้นทุกปี หรือบางทีก็ปรับปรุงเว็บไซต์เดิมใหม่จนแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิมให้จดจำ แต่ทุกๆคนก็พยายามที่จะพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นตลอดเวลา เช่น เร็วขึ้น ประหยัดเงิน ประหยัดเวลามากขึ้น อำนวยความสะดวกมากขึ้น หรือบริการรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย นิตยสาร TIME นั้นค่อนข้างคัดเลือกเว็บไซต์ได้ดีมากๆ เป็นเรื่องน่าเสียดายถ้าเราไม่เอามาบันทึกเก็บไว้ ต้องยอมรับว่าหลายเว็บไซต์พึ่งจะเคยได้ยินชื่อเหมือนกัน แต่พอเข้าไปสำรวจพบว่าเป็นเว็บไซต์ที่ยอดเยี่ยมจริงๆ โดยเฉพาะในหมวด Web Tools ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานที่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ตแทบจะตลอดเวลาของยุคนี้เป็นอย่างดี ขอเชิญชวนให้ท่านลองเข้าไปสำรวจเว็บไซต์สุดยอดเหล่านี้ดูครับ จะได้รู้ว่าเว็บไซต์ดีๆ ไม่ได้มีแค่ Google, Facebook, Twitter …

50 สุดยอดเว็บไซต์ ประจำปี 2012

แบ่งตามหมวดต่างๆ ได้ดังนี้ (อยากทราบรายละเอียดของแต่ละเว็บไซต์เข้าไปดูได้ที่ที่มาท้ายเรื่อง) Web Tools

Entertainment

Game

Education

News and Information

Family and Kids

Shopping

ค้นหาคำศัพท์บัญญัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อังกฤษ-ไทย

ค้นหาคำศัพท์บัญญัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อังกฤษ-ไทย

ถ้าใครต้องเขียนเอกสารวิชาการอย่างเช่น วิทยานิพนธ์ สิทธิบัตร โครงการขอทุน หนังสือ รายงานโครงการวิจัย ฯลฯ อาจจะจำเป็นต้องใช้ศัพท์บัญญัติที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งทางราชบัณฑิตยสถานก็มีเครื่องมือที่จะช่วยเหลือเราในการค้นหาคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ถูกบัญญัติใหม่ในภาษาไทย โดยอำนวยความสะดวกให้ด้วยการค้นหาผ่านเว็บไซต์  ซึ่ง ณ ตอนนี้ มีคำศัพท์บัญญัติที่ให้บริการ 19 ฐานข้อมูล

  1. ศัพท์คอมพิวเตอร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๖,๔๘๒ ระเบียน
  2. ศัพท์แพทยศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓๑,๓๖๕ ระเบียน
  3. ศัพท์รัฐศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๘,๕๒๗ ระเบียน
  4. ศัพท์การเชื่อม อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๙๒๕ ระเบียน
  5. ศัพท์พลังงาน อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๓๕๐ ระเบียน
  6. ศัพท์ประชากรศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๔,๗๙๒ ระเบียน
  7. ศัพท์พฤกษศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๖,๗๓๘ ระเบียน
  8. ศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๒๗๑ ระเบียน
  9. ศัพท์ประกันภัย อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓,๐๑๑ ระเบียน
  10. ศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๘๕๙ ระเบียน
  11. ศัพท์ปรับอากาศ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๘๗๕ ระเบียน
  12. ศัพท์สัทศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๖๐๔ ระเบียน
  13. ศัพท์นิติศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑๕,๔๑๕ ระเบียน
  14. ศัพท์ศิลปะ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๑,๘๔๕ ระเบียน
  15. ศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓,๙๘๑ ระเบียน
  16. ศัพท์ยานยนต์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓,๓๐๖ ระเบียน
  17. ศัพท์ทันตแพทยศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๓,๕๓๔ ระเบียน
  18. ศัพท์ธรณีวิทยา อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๕,๘๑๑ ระเบียน
  19. ศัพท์คณิตศาสตร์ อังกฤษ-ไทย และ ไทย-อังกฤษ จำนวน ๕,๔๖๑ ระเบียน

ผมได้มีโอกาสได้ใช้งานบ้างในบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ศัพท์ที่ค่อนข้างเฉพาะทางก็ยังค้นไม่เจอ(เพราะยังไม่บัญญัติ) เราก็จำต้องใช้ทับศัพท์ไป แต่อย่างไรก็ตามบริการค้นหาคำศัพท์บัญญัตินี้ก็ช่วยได้เยอะทีเดียว ดังนั้นควร Bookmark เก็บไว้ครับ

ตัวอย่างการใช้งาน

ทดลองค้นหาคำว่า endothelium

เข้าใช้งานบริการค้นหาคำศัพท์บัญญัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อังกฤษ-ไทย ได้ที่  https://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php

* ถ้าเปิดเว็บไซต์เข้าไปแล้วไม่สามารถอ่านข้อความได้(เป็นภาษาประหลาด) ให้เปลี่ยน encoding เป็น Thai

วิเคราะห์การใช้งาน Facebook ของคุณด้วย Wolfram|Alpha

Wolfram|Alpha เป็นระบบค้นหาคำตอบอัจริยะ มันเก่งขึ้นเรื่อยๆ Siri ของ Apple ก็ดึงข้อมูลบางส่วนจาก Wolfram|Alpha ไปใช้งาน ถ้าอยากรู้จักมันให้ดีขึ้นลองอ่านบทความเก่าๆ ใน Tag  Wolframalpha ได้ครับ ผมเขียนถึงมันอยู่บ้างและก็ได้ใช้งานอยู่เป็นระยะ ความสามารถล่าสุดที่น่าสนใจของ Wolfram|Alpha ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปไม่นาน คือ “Facebook report” ครับ ลองมาดูว่ามันทำอะไรได้บ้าง

Facebook report by Wolfram|Alpha

Facebook report คือการวิเคราะห์การใช้งาน Faceook ของเรา โดยละเอียด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์

  • ข้อมูลส่วนตัว เกิดวันไหน ปีอะไร อีกกี่วันจะถึงวันเกิดอีกครั้ง
  • Activity ในแต่ละปีที่ใช้งานมา อัตราการโพส แชร์ลิงค์ อัพโหลดภาพ
  • ช่วงเวลาที่ใช้งานมากที่สุดในการโพส คำนวณคำที่ใช้โพส มีคีย์เวิร์ดอะไรเยอะที่สุดในโพส
  • เพื่อนคนไหนคอมเม้นต์ ใครแชร์ในโพสของคุณมากที่สุด
  • อัตราการใช้แอฟพิเคชั่น
  • ภาพไหนที่คุณโพสมีการคอมเมนต์และแชร์มากที่สุด
  • อัตราส่วนเพื่อนผู้หญิง-ผู้ชาย เฉลี่ยเพื่อนคุณมีสถานะอะไรบ้าง (โสด,แต่งงาน ฯลฯ)
  • ช่วงอายุของเพื่อน ใครแก่สุด ใครเเด็กสุด
  • เพื่อนอยู่ในประเทศอะไรบ้าง ใช้ภาษาอะไร ศาสนาอะไร
  • และอื่นๆ

วิธีการใช้งาน

เข้าไปที่เว็บไซต์ Wolfram|Alpha พิมพ์คำว่า facebook report ลงในช่องค้นหา enter

Facebook report

จากนั้นก็คลิกปุ่ม “Analyze My Facebook Data” ซึ่งระบบจะขออนุญาติเข้าถึงข้อมูล Facebook ของเราก็กดยอมรับไป สักพักระบบจะดึงข้อมูลของเราเข้ามา และรายงานผลการวิเคราะห์ให้ได้เห็น

Facebook report

ตัวอย่างการวิเคราะห์บัญชีของผมเอง คิดว่าถ้าเป็นบัญชี Wolfram|Alpha แบบ Professional คงจะได้ข้อมูลที่ละเอียดมากกว่า เพราะเทียบกับข้อมูลจากด้านบนของ Stephen Wolfram ของเขาเป็น account แบบ Pro ได้ข้อมูลการเชื่อมโยงของเพื่อน และอื่นๆที่ละเอียดกว่า

นอกจากนี้ยังสามารถกดแชร์ผลการวิเคราะห์ไปที่ social network อย่าง facebook, twitter, google+, linkedin ฯลฯ ได้ทันที

Share ผลการวิเคราะห์

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.wolframalpha.com/facebook

[WordPress Plugin] SimpleReach Slide เพิ่มความสนใจให้คนอยู่ในบล็อกนานขึ้น

ไปเจอ plugin สำหรับ WordPress ตัวหนึ่ง ชื่อ SimpleReach Slide เมื่อติดตั้งมันจะสร้าง Slide แนะนำโพสที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ผู้ใช้กำลังเปิดอยู่ให้ เมื่อเราเลื่อนอ่านเนื้อหาจนสุดด้านล่าง หรือจะ scroll ลงไปเลยก็ได้นะ มันจึงจะโผล่ออกมา

ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ มันจะยังไม่โผล่มาจนกว่าคนใช้จะเลื่อนลงไปข้างล่างจนจบเนื้อหาที่เปิดอ่านอยู่ แต่เมื่อมันปรากฏขึ้นมาแล้วเวลาเราเลื่อนหน้าเว็บขึ้นมันก็จะหุบให้เล็กลง(แต่ไม่หายไปนะ) ถ้าใครยังนึกภาพไม่ออกว่ามันแสดงผลยังไงก็ดูตัวอย่างรูปด้านล่าง หรือไม่ก็เลื่อนหน้านี้ลงไปให้สุดด้านล่าง แล้วสังเกตุที่มุมขวาล่าง นั้นแหละความสามารถของมัน

เรียกได้ว่าถูกใจมากเลย จึงเอามาบอกต่อครับ

SimpleReach Slide ปลั๊กอินสำหรับ WordPress

ที่ดาวน์โหลดปลั๊กอิน SimpleReach Slide

Developer เขียนในคำอธิบายว่ามันจะเพิ่มจำนวน pageviews กับ time on site ให้เว็บไซต์ของคุณได้ พอดูแล้วก็อาจช่วยได้ส่วนหนึ่งเพราะตอนที่มันเด้งขึ้นมา ทำได้น่าสนใจทีเดียว เหมือนมีอะไรตอบสนองตอนเราเลือนจอ สรุปว่าชอบก็แล้วกันครับ

บทความ “ทำเงินบนโลกไอที (84) : So.cl อีกทางเลือกที่ไม่ใช่เฟซบุ๊ก”

เป็นบทความที่ได้เขียนไว้กับทาง CyberBiz : ผู้จัดการ Online ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ยังไม่ได้เอามาบันทึกไว้ในนี้เลย ก็เลยมาเขียนถึงสั้นๆเก็บไว้

นั่งเล่น so.cl อยู่หลายวัน พยายามหาแง่มุมต่างๆของมัน เขียนส่งไปทั้งข้อความรวมกับภาพประกอบ 8 หน้ากระดาษ A4 เลยทีเดียว น่าจะยาวสุดเท่าที่เคยเขียนอะไรแนวนี้แล้วล่ะ กว่าจะเขียนออกมาได้ใช้พลังงานไปเยอะพอสมควรเลย ได้ค่าเรื่องมากินขนมนิดหน่อย แต่ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องนั้นเท่าไหร่ ตอนตอบตกลงไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีค่าเรื่องให้ด้วย แต่รู้สึกดีที่ได้ทำมากกว่า ขอบคุณ @goople ที่ให้โอกาสได้ทำครับ

ตัดมาแปะไว้บางส่วน ตามไปอ่านต้นฉบับได้ที่ ลิงค์นี้ ครับ

ทำความรู้จัก So.cl สังคมออนไลน์เพื่อการศึกษาของไมโครซอฟท์

       ***ทำความรู้จัก So.cl สังคมออนไลน์เพื่อการศึกษาของไมโครซอฟท์
(บทความโดย พงษ์ศักดิ์ สาระภักดี)

ก่อนที่เราจะหาช่องทางทำเงินจากเว็บไซต์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นให้ได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดคงต้องรู้ก่อนว่ามันสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่ละส่วนนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร ถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์อะไร ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ง่ายต่อการนำไปต่อยอด หรือนำไปใช้ประโยชน์กับธุรกิจของเราให้แข็งแกร่งขึ้นได้ยังไง ดังนั้นการแนะนำสิ่งต่างเหล่านี้ก่อน น่าจะเป็นการชี้นำสู่ช่องทางทำเงินที่ดีที่สุด ดังนั้นเรามาทำความรู้จัก So.cl กันก่อนดีกว่าครับ

 So.cl (อ่านว่า “social”) เป็นสังคมออนไลน์จากไมโครซอฟท์ที่เปิดให้คนทั่วไปได้ใช้งานเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา หลังจากที่ปล่อยให้ใช้ในวงจำกัดมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 ไมโครซอฟท์ออกตัวชัดเจนว่าไม่ได้ออกแบบมาเพื่อแข่งกับ Facebook หรือ Twitter ที่ถือว่าเป็นสองเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่มีคนใช้งานมากที่สุดในโลกในตอนนี้

Facebook/Twitter ถูกเรียกว่าเป็น ”เครือข่ายทางสังคม”(social networking) ซึ่งเราค่อนข้างคุ้นเคยดีอยู่แล้ว เราสร้างสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วย ข้อความ คอมเม้นท์ ภาพถ่าย เกม ฯลฯ แต่ไมโครซอฟท์วางตัวให้ So.cl เป็น “สังคมแห่งการค้นหา” (social searching) กล่าวคือ สังคมออนไลน์ที่ผู้ใช้งานจะปฏิส้มพันธ์กันด้วยการแชร์ผลการค้นหาในสิ่งที่ตัวเองสนใจให้กันและกัน จะเห็นได้ว่าทั้งสองอย่างนี้มีจุดเหมือนและจุดต่างกันอยู่ในตัว

So.cl เกิดขึ้นจาก FUSE Labs ของไมโครซอฟท์ (ตัวอย่างผลงานของแล็บนี้ เช่น Docs.com, CompanyCrowd, Bing Social, Montage, Spindex เป็นต้น) เราจะเห็นว่าในปัจจุบันนั้นเว็บไซต์สังคมออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นในวัยเรียน ทางทีมงานของ Fuse Labs มองเห็นถึงศักยภาพของสังคมออนไลน์เป็นอย่างดี จึงพยายามที่จะเปลี่ยนเว็บไซต์ในลักษณะนี้ให้เข้าไปอยู่ในห้องเรียนให้ได้

So.cl จึงถูกออกแบบมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์สำหรับนักเรียน/นักศึกษาโดยเฉพาะ เป็นสังคมออนไลน์ที่จะแชร์ประสบการณ์ทางด้านการศึกษา ว่าในขณะนั้นพวกเขากำลังเรียนรู้อะไร อย่างไรบ้างโดยสามารถที่จะโพสเนื้อหาที่มีองค์ประกอบได้หลายอย่างพร้อมกัน เช่น ผลการค้นหา รูปภาพ วิดีโอ ข้อความ ลิงค์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากที่สุดให้เพื่อนๆในกลุ่ม หรือในชั้นเรียนของตัวเอง เพื่อให้เกิดเป็นศูนย์รวมของการเรียนรู้ร่วมกัน โดยที่นักเรียน/นักศึกษาสามารถที่จะสร้างและปรับแต่งชุมชนออนไลน์ใน So.cl ให้เหมาะสมกับความสนใจของตัวเองและเพื่อนๆได้เอง

เปลี่ยนธีมอันใหม่ให้บล็อก

ธีมตัวเก่า Wide Blog Happens Theme โดย @imenn

ธีมตัวเก่าใช้มาเกือบจะ 4 ปี แล้ว ใช่ว่าไม่อยากเปลี่ยนธีมใหม่ให้ทันสมัยนะ แต่เหตุผลหลักๆที่ทำให้ไม่ได้เปลี่ยนสักที พอสรุปได้ดังนี้ครับ

  • Hard code ลงในธีมเยอะมาก ทั้งใน header.php , page.php, post.php จะเปลี่ยนทีต้องใช้เวลานานพอสมควรเลย
  • ภาพที่ใช้ประกอบในบล็อก ค่อนข้างทำ size ให้เหมาะกับธีมเดิม ต้องหาธีมที่กระทบกับโพสอันเก่าให้น้อยที่สุด คงไม่มีทางมานั่งแก้โพสเกือบ 500 โพสให้เข้ากับธีมใหม่แน่ๆ ตัวเลือกเลยน้อยลงไปอีก
  • โพสอันเก่าไม่ได้ทำ feature image ไว้เลย แต่ใช้ plugin เป็นตัวช่วยดึงมา ธีมสมัยใหม่จะใช้ข้อมูลอันนี้เกือบหมดแล้ว เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่จะทำให้โพสอันเก่ามีปัญหา
  • คิดว่าธีมอันเก่านั้นค่อนข้างโอเคในระดับที่ยังยอมรับได้อยู่

แล้วเหตุใดจึงต้องเปลี่ยนธีมใหม่

  • อยากได้ Responsive theme ซึ่งจะทำให้บล็อกเปลี่ยนเลเอาท์ให้เหมาะสมกับขนาดหน้าจอของอุปกรณ์ที่เปิดใช้งาน คิดว่าตอนนี้คนเข้าดูเว็บไม่ได้ดูผ่านทางคอมพิวเตอร์อย่างเดียวแล้ว แม้จะมี plugin ช่วยอยู่ก็ตาม แต่คิดว่าสู้ Responsive theme ไม่ได้หรอก เท่กว่าเยอะ
  • คิดว่าถ้าทิ้งปัญหาต่างๆของด้านบนไว้นานๆจะยิ่งทำให้การเปลี่ยนธีมในอนาคตทำได้ยากขึ้นอีก
  • บล็อกเก่ามีติด Google Adsense ไว้ใต้หัวข้อโพสก่อนจะเริ่มเนื้อหา เป็นตำแหน่งที่ตัวเองก็ไม่ชอบนัก แต่เป็นตำแหน่งที่ทำให้คลิกเยอะสุดแล้วเมื่อเทียบกับตำแหน่งอื่นๆ อยากจะเปลี่ยนแปลงตรงนี้ แต่ไม่กระทบรายได้ของบล็อกมากนัก (แต่เพราะมันเป็นตัวหล่อเลี้ยงเว็บไซต์อื่นๆที่ทำตามใจอีกกว่า 5 เว็บไซต์) ซึ่งธีมใหม่ถือว่าช่วยได้ในระดับที่น่าพอใจเลย
  • ธีมเก่าไ่ม่มี feature post เลย เคยพยายามทำแล้ว แต่ทำยังไงก็ออกมาดูไม่ดีเลย เปลี่ยนธีมใหม่ไปเลยน่าจะเป็นคำตอบ

เกณฑ์ในการเลือกธีมใหม่

  • ต้องเป็น Responsive theme
  • เลือกแบบฟรีก่อน แต่ถ้าถูกใจจริงๆจะซื้อก็ได้ แต่จะไม่เอาธีมอันที่คนอื่นทำขายมาใช้ฟรี
  • มีตำแหน่งของการติดแบนเนอร์ที่เหมาะสมไม่รบกวนตรงเนื้อหามากเกินไป
  • ต้องมีตำแหน่ง feature post ที่ดี
  • ดูดี เข้าถึงโพสล่าสุดได้ง่าย เน้นให้คล้ายแมกกาซีน หรือเว็บข่าว

พอตั้งเกณฑ์ได้ประมาณนี้เลยช่วยให้ค้นหาและเลือกธีมที่มีอยู่มากมายได้ง่ายมากขึ้น พอค้นเจอก็ลองเปิดดู demo theme นั้นก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เว็บแจกธีมมักจะมีตัวอย่างให้ดูอยู่แล้ว พอเข้าข่ายก็ดาวน์โหลดเก็บไว้ จากนั้นติดตั้งเข้าไปเลย ตอนแรกเลือกมาประมาณ 15 ธีม แล้วก็ลองเปิดพรีวิวดูในบล็อกของตัวเอง แล้วค่อยตัดตัวเลือกออกทีละตัวจนเหลือ 3 ตัวสุดท้าย แล้วลอง activate ธีมนั้นดู ลองปรับแต่งสักเล็กน้อยดูว่าเหมาะแค่ไหน แล้วจึงเลือกเอาอันที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด

สุดท้ายก็เลือกธีม Oxygen 

ธีมใหม่ของบล็อก

เกี่ยวกับ Oxygen theme

เป็นธีมที่ใช้ Hybrid Core framework รองรับการทำ child themes ออกแบบมาสำหรับเว็บไซต์แนวแมกกาซีน ซึ่งตัวเองดูแล้วค่อนข้างชอบ เป็นธีมฟรี แต่ฟรีไม่สมบูรณ์แบบนัก เพราะถ้าอยากได้รายละเอียดในการติดตั้ง การปรับแต่งต่างๆ จะต้องสมัครเป็นสมาชิกแบบจ่ายตังค์ของเว็บไซต์ที่เป็นคนแจก หลังๆเห็นธีมใช้โมเดลนี้เยอะเลย แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้ยากเกินไปนักที่จะปรับแต่งตามใจต้องการ ดูโค้ดธีมประกอบพอช่วยได้

รายละเอียดของการติดตั้งธีมใหม่ 

  • ลดการใช้ hard code ให้ได้มากที่สุด เน้นใช้ plugin ช่วย
  • ไม่เอา Feature post อันใหญ่ของธีม เพราะขาดใหญ่มาก คิดว่าอาจเสียเวลาโหลดนานเกินไป
  • Feature post ด้านบนใช้ Plugin WP Featured Content Slider แล้วแก้ไข css เองอีกนิดหน่อย
  • Ralated Post ใช้ Plugin Related Posts Thumbnails
  • ปรับแต่ง css อีกนิดหน่อย

ใช้เวลานานพอสมควรเลยกว่าจะออกมาได้ประมาณนี้ ตอนนี้อาจจะยังไม่สมบูรณ์เต็มที แต่ส่วนตัวคิดว่าโอเคแล้ว อาจจะต้องปรับอีกนิดหน่อย

ว่าแล้วก็ เชิญติชมธีมใหม่ได้เลยครับ

Exit mobile version