หนังสือแนะนำให้อ่าน โดย CEO ระดับโลก

ผมว่าบางครั้งหลายๆคนน่าจะเป็นเหมือนกันว่าอยากเดินไปร้านหนังสือ แล้วก็ค่อยๆเดินดูตามชั้นหนังสือหมวดต่างๆ เปิดดูเนื้อหาข้างในสักหน้าสองหน้า แล้วค่อยเลือกซื้อ นี่คือหนึ่งในวิธีการหาหนังสือสักเล่มของผม แต่สมัยนี้การซื้อออนไลน์มันสะดวกมาก และถึงแม้ว่าการออกไปเดินในร้านหนังสือมันจะเพลิดเพลินเพียงใด เราก็คงทำบ่อยๆไม่ได้

พวกคำนิยมที่อยู่หน้าแรกๆของหนังสือนั้น ผมแทบจะไม่สนใจเลย หรือบางทีก็ไม่ได้อ่านด้วยซ้ำ บางทีมันอดคิดไม่ได้ว่า คนที่เขียนคำนิยมเหล่านั้นได้อ่านหนังสือเล่มนั้นจริงๆไหม รีวิวจากคนทั่วไปที่ไม่ได้ส่วนได้ส่วนเสียจากหนังสือเล่มนั้นเลยน่าเชื่อถือมากกว่า

ผมมีวิธีเลือกอ่านหนังสือแบบนี้ครับ (บางทีก็แค่อยากซื้อมาเก็บเฉย) ซึ่งก็พอจะสรุปเป็นข้อๆได้ประมาณนี้ครับ

  • หนังสือที่ถูกกล่าวถึงหรือถูกอ้างอิงในหนังสืออีกเล่มที่เคยอ่าน ทำให้หนังสือแต่ละเล่มมักจะมีการเชื่อมโยงถึงกัน ยกตัวอย่างเช่น เราอ่านหนังสือประวัติของ Isaac Newton ในหนังสือบอกว่า The Principia คือ ผลงานปฎิวัติวงการของเขา หนังสือที่เราอยากอ่านเล่มต่อไปย่อมเป็น The Principia หรือไม่ก็หนังสือที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับ The Principia (แค่ยกตัวอย่างนะครับ มิอาจเอื้อม แต่ก็อยากซื้อมาประดับชั้นหนังสือนะ)
  • ผลงานของนักเขียนคนเดิม บ่อยครั้งที่จะดูว่านอกจากเล่มที่กำลังอ่านอยู่นั้น มีผลงานอื่นอะไรอีกที่น่าสนใจ เช่น เราอ่าน Surely You’re Joking, Mr. Feynman! เป็นไปได้หรือที่จะไม่ตามอ่าน What Do You Care What Other People Think?
  • ในเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Goodread, Time, Nature, Wired, etc. ก็มักจะมีลิสต์หนังสือแนะนำให้เลือกติดตาม ในช่วงหลังๆที่ไม่รู้ว่าจะหาหนังสืออะไรมาอ่าน ช่องทางนี้ถูกเลือกใช้บ่อยๆ

นอกจากนี้ คนดัง ผู้มีอิทธิพลของโลก มหาเศรษฐี CEO หรือคนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอัจฉริยะในด้านต่างๆ ก็มักจะมีหนังสือแนะนำกันทั้งนั้น ปีที่แล้ว Mark Zuckerberg ก็ลิสต์หนังสือที่เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 2 สัปดาห์ สุดท้ายได้ออกมา 23 เล่ม Ayearofbooks.net

แต่ถ้าอยากรู้ว่า CEO แต่ละคน เช่น Mark Zuckerberg, Sam Altman, Bill Gates, Larry Page, Elon Musk, etc. มีลิสต์หนังสือแนะนำอะไรบ้าง เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์นี้ Bookicious.com

Book Collections Bookicious

ใน Bookicious จะเป็นการแนะนำหนังสือแบบรวบร่วมจากสื่อต่างๆ ที่ CEO แต่คนเคยบอกไว้ หรือเคยในสัมภาษณ์ไว้ ทำให้เราง่ายที่จะติดตามหนังสือตามบุคคลที่เราสนใจ หนังสือบางเล่มก็ได้รับการแนะนำจากหลายคน เช่น Sapiens by Yuval Noah Harari, The Innovator’s Dilemma by Clayton M. Christensen เป็นต้น ถ้าหลายคนแนะนำ แสดงว่าหนังสือเล่มนั้นก็น่าจะได้รับการการันตีในระดับหนึ่งว่าต้องดีแน่ๆ

แต่คนที่อยากพูดถึงเป็นพิเศษ นั้นคือ Bill Gates ดูจะเป็นคนที่จริงจังกับการอ่านมากที่สุด เขามีบล็อกที่เขียนรีวิวถึงหนังสือที่เขาอ่านอย่างสม่ำเสมอ บางครั้งก็ทำออกมาเป็นลิสต์ให้ได้ตามอ่านกันเลย และหนังสือก็มีหลากหลายแนว จึงขอแนะนำสำหรับคนที่คิดอะไรไม่ออก และกำลังตามหาลิสต์หนังสือน่าอ่านครับ

ตามไปดูหนังสือของ Bill Gates ได้ที่ Gatesnotes.com

Book reviews by Bill Gates

เคยอ่านคำแนะนำของคนที่อ่านหนังสือเก่งๆว่า ถ้าหนังสือเล่มไหนที่เราอ่านแล้วไม่สนุก ก็อย่าพยายามอ่านมันต่อ แค่ไปหาเล่มอื่นที่ใช่กว่ามาอ่านแทน ทำแบบนี้จะทำให้เราสนุกและไม่เบื่อการอ่านเลย ซึ่งผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

สัญญาณบอกเวลาที่เยอรมัน

เหตุเกิดจากเพื่อนในเล็บเดินถือนาฬิกาไปมา เหมือนดังเราเดินหาคลื่นโทรศัพท์ประหนึ่งยุคมือถือ 2G จึงเกิดความสงสัยเลยถามกึ่งหยอกไปว่า

“เดินหาคลื่นหรือ?”
เพื่อนตอบ “ใช่ กำลังเดินหาสัญญาณ”
ตอนแรกนึกว่าเพื่อนอำเล่น “ตลกแล้ว หาคลื่นให้นาฬิกาเนี้ยนะ”
เพื่อนตอบ “ใช่ ไม่แน่ใจว่า สัญญาณไม่ดีหรือมันพัง” สีหน้าจริงจัง

จึงได้คุยถึงรายละเอียดต่างๆกัน มันเป็นคลื่นจริงๆครับ ที่เยอรมันมีการส่งคลื่นของสัญญาณนาฬิกาบอกเวลาจากหอส่งสัญญาณกระจายไปทั่วประเทศประหนึ่งเดียวกับคลื่นมือถือ หรือคลื่นโทรทัศน์นั้นแหละครับ

(ก็ตรูมาจากประเทศกำลังพัฒนาไม่มีอะไรแบบนี้หรอก)

German longwave time signal

รู้จักในชื่อสัญญาณ DCF77 ครับ อ่านใน wiki ได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/DCF77 เป็นสัญญาณนาฬิกาที่อ้างอิงกับนาฬิกาอะตอมอีกทีครับ แม่นยำในระดับ 10^-19 วินาที กันเลยทีเดียว แล้วส่วนใหญ่ในนาฬิกาของที่นี้จะมีตัวรับสัญญาณติดมาด้วยครับ เพื่อรับเอาสัญญาณเวลามาใช้งาน เรียกได้ว่านาฬิกาตรงกันทั่วทั้งประเทศกันเลยทีเดียว คงไม่มีช่วงเวลาเพลงชาติแข่งกันจบก่อนหลังเหมือนของไทยเป็นแน่แท้(ถ้ามีเปิดเพลงชาติเช้าเย็นเหมือนเรานะ) แล้วประโยชน์ของมันนอกจากจะให้เวลาที่ตรงกันทั้งประเทศแล้ว

สัญญาณนี้ยังมีประโยชน์เอาไว้ใช้สำหรับการปรับเวลา Daylight saving time (DST) ของยุโรปอีกด้วย โดยจะปรับให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมงในช่วงหน้าร้อน และปรับกลับมาปกติในช่วงหน้าหนาวอีกที จุดประสงค์เพื่อต้องการให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ที่ขึ้นเร็วในช่วงหน้าร้อนให้ได้มากที่สุด ปีนี้เพิ่งปรับไปเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2016 ที่ผ่านมานี้ นาฬิกาที่อยู่ตามสถานีรถไฟต่างๆก็ปรับตามโดยอัตโนมัติ ถ้าต้องมาปรับกันเองคงลำบากกันน่าดู

พูดแล้วก็อยากให้บ้านเรามีแบบนี้กับเขาบ้างจัง

50 สุดยอดเว็บไซต์ ประจำปี 2012 คัดเลือกโดยนิตยสาร TIME

50 Best Websites 2012

เว็บไซต์ของนิตยสาร TIME จะรายงาน 50 สุดยอดเว็บไซต์ (50 Best websites ) เป็นประจำทุกปี เพราะมีเว็บไซต์ใหม่ๆ บริการออนไลน์ใหม่เกิดขึ้นทุกปี หรือบางทีก็ปรับปรุงเว็บไซต์เดิมใหม่จนแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิมให้จดจำ แต่ทุกๆคนก็พยายามที่จะพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นตลอดเวลา เช่น เร็วขึ้น ประหยัดเงิน ประหยัดเวลามากขึ้น อำนวยความสะดวกมากขึ้น หรือบริการรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย นิตยสาร TIME นั้นค่อนข้างคัดเลือกเว็บไซต์ได้ดีมากๆ เป็นเรื่องน่าเสียดายถ้าเราไม่เอามาบันทึกเก็บไว้ ต้องยอมรับว่าหลายเว็บไซต์พึ่งจะเคยได้ยินชื่อเหมือนกัน แต่พอเข้าไปสำรวจพบว่าเป็นเว็บไซต์ที่ยอดเยี่ยมจริงๆ โดยเฉพาะในหมวด Web Tools ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานที่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ตแทบจะตลอดเวลาของยุคนี้เป็นอย่างดี ขอเชิญชวนให้ท่านลองเข้าไปสำรวจเว็บไซต์สุดยอดเหล่านี้ดูครับ จะได้รู้ว่าเว็บไซต์ดีๆ ไม่ได้มีแค่ Google, Facebook, Twitter …

50 สุดยอดเว็บไซต์ ประจำปี 2012

แบ่งตามหมวดต่างๆ ได้ดังนี้ (อยากทราบรายละเอียดของแต่ละเว็บไซต์เข้าไปดูได้ที่ที่มาท้ายเรื่อง) Web Tools

Entertainment

Game

Education

News and Information

Family and Kids

Shopping

TIME’s Best Blogs of 2010

Best Blogs of 2010

TIME จัดอันดับบล็อกยอดเยี่ยมปี 2010 สนใจอ่านรายละเอียดแต่ละบล็อกได้ที่ลิงค์ Best Blogs of 2010 หรือสนใจดู All Best and Worst Lists แบ่งเป็นหมวดให้เลือกติดตาม มีอันดับย้อนหลังไปถึงปี 2007

Full List
BEST BLOGS 2010

  • Zenhabits
  • PostSecret
  • Climate Progress
  • HiLobrow
  • Hipster Runoff
  • Kottke.org
  • Cake Wrecks
  • The Oatmeal
  • S___ My Kids Ruined
  • Deadline Hollywood
  • Everything Everywhere
  • The Sartorialist
  • Information Is Beautiful
  • The Daily Kitten
  • Shorpy
  • Apartment Therapy
  • Double X
  • Strobist
  • Roger Ebert’s Journal
  • The Awl
  • GeekDad
  • Engadget
  • The Washington Note
  • The Consumerist
  • Pitchfork

ESSENTIAL BLOGS

  • The Daily Wh.at
  • TechCrunch
  • Gawker
  • Politico’s Ben Smith
  • Boing Boing

OVERRATED BLOGS

  • FAIL Blog
  • The Big Lead
  • Perez Hilton
  • Mashable
  • Daily Kos

Google Similar Images และ Google News Timeline

Google images similar

ผมพึงได้ดู Duocore ตอนที่ 103 ที่บอกว่า Yahoo Image Search ตัวใหม่ ดีกว่า Google ผมก็ทดลองดูแล้วรู้สึกว่าการค้นหาค่อนข้างตรงกับสิ่งที่เราต้องการมากกว่าค้นที่ Google อาจจะเป็นเพราะข้อมูลที่ได้จากจาก Google มีมาในการค้นหาคำ keyword คำหนึ่ง แต่วันนี้ Google ได้เขียนลง Google blog บอกว่าพวกเขาใช้เวลา 20 % ของเวลาทำงาน มาทำงานชิ้นนี้ (Google จะให้เวลากับพนักงาน 20% ในการทำวิจัยอะไรก็ได้) พวกเขาได้สร้าง Google labs ขึ้นในปี 2002 หลายๆผลิตภัณเกิดขึ้นจากเวลาเหล่านั้น เช่น Google Maps, iGoogle,Google News
และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้นคือ  Similar Images และ Google News Timeline

Similar Images
เป็นการค้นหารูปภาพที่ สามารถระบุภาพที่เราสนใจ และต้องการรูปเฉพาะที่เราสนใจ และใกล้เคียงกับรูปนี้เท่านั้น Google ก็จะแสดงเฉพาะ
รูปเหล่านั้น อย่างเช่น เราต้องการค้นหาคำว่า  [jaguar] เราจะได้รูปที่เป็น เสือ กับรถยี่ห้อดัง

Google Image Similar

ใน similar images จะมีลิงค์ข้างล่างให้เราเลือกว่าต้องการรูปที่เหมือนเสืออย่างเดียว หรือต้องการรูปรถอย่างเดียว
เราก็จะคลิกเลือก similar images ใต้รูปนั้น

คลิกใต้รูปเสือ รูปที่ค้นก็จะแสดงเฉพาะรูปเสือ[cat]

คลิกใต้รูปรถ รูปที่ค้นก็จะแสดงเฉพาะรูปรถ[car]

ดูตัวอย่างการใช้งาน

ยอมรับเลยว่าความสามารถใหม่อันนี้เด็ดจริงๆ ใครสนใจก็ลองเข้าไปดูได้ที่ Google Labs หรือ Similar-images

Google News Timeline

ฟีเจอร์ใหม่อีกตัวคือ Google News Timeline เป็นค้นหาแสดงตามเวลา chronologically แสดงผลที่ค้นหาจาก Google News และฐานข้อมูลอื่น ที่สามารถจำกัดช่วงเวลาของข้อมูลได้ว่าต้องการช่วงเวลาไหน สามารถกำหนดเป็น วัน สัปดาห์ เดือน ปี หรือช่วงทศวรษที่เท่าไหร่ ของข่าวนั้นๆได้ เช่น summer of 2006
ผลของการค้นใน Google News Timeline มีทั้งข่าวสารทั่วไป, ข่าวแสกนจากหนังสือพิมพ์ , แมกกาซีน, blog posts, ตารางคะแนนกีฬาต่างๆ ,เพลง ,หนัง เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Google news ,Google News Timeline

Exit mobile version