ดารา นักร้อง นักการเมือง คนดังใน twitter ตอนที่ 1

คนดังใน twitter
คนดังใน twitter

กระแสของ #twitter มาแรงมาก ต้องบอกเลยว่าดังได้เพราะคนดังเล่น วันนี้เลยรวบรวมคนดังที่เล่น
#twitter บางคนเล่นเอง บางคนให้ทีมงานเป็นคนอับเดตให้  (ไม่ได้เรียงลำดับความดัง เรียงตามชื่อ)

adamy

@adamy : ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล : FukDuk CEO

andrewbigs

@andrewbiggs : แอนดิว บิ๊กส์ -พิธีกร ,ครูสอนภาษาอังกฤษ

aoodda

@Aoodda : จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ – นักการเมือง

apirak_news

@apirak_news : อภิรักษ์ โกษะโยธิน -นักการเมือง ,อดีตผู้ว่า กทม.

ceemeagain

@ceemeagain : ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาล -พิธีกร นักแสดง

chaturon

@chaturon : จาตุรนต์ ฉายแสง-นักการเมือง

joeybangkokboy

@joeybangkokboy : โจอี้ บอย – นักร้อง นักแสดง

kalamare

@kalamare : พัชรศรี เบญจมาศ-พิธีกร นักแสดง

KornDemocrat

@kornDemocrat : กรณ์ จาติกวณิช-นักการเมือง

nuishow

@nuishow : พงษ์สุข หิรัญพฤกษ์ -พิธีกร นักแสดง
ขอพ่วงด้วยพิธีกรรายการแบไต๋
@Ripmilla : อ.ศุภเดช
@Shark_Beartai : พี่หลาม
@peter2514 : ปีเตอร์กวง

panraphee

@panraphee : ปานระพี รพิพันธุ์ -พิธีกร นักข่าว

PM_Abhist

@PM_Abhisit : อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ -นายกรัฐมนตรี

SatitTrang

@SatitTrang :สาธิต วงศ์หนองเตย-นักการเมือง

sugree

@sugree : สุกรี พัฒนภิรมย์ -เจ้าพ่อทวิตเตอร์ประเทศไทย (ตอนนี้เป็นดาราแล้ว ออกทีวีทุกช่อง)

suthichai

@suthichai : สุทธิชัย หยุ่น -นักหนังสือพิมพ์ นักเขียน

thaksinlive

@Thaksinlive : ทักษิณ ชินวัตร -อดีตนายกฯ

woodytalk

@Woodytalk : วุฒิธร มิลินทจินดา-พิธีกร นักแสดง

เลือกติดตามคนที่คุณสนใจ Tineline จะได้ไม่รก ของผม @sarapuk

รวม twitter ดารา ตอนอื่นๆ

รวม twitter ดารา ตอนอื่นๆ

  1. ดารา นักร้อง นักการเมือง คนดังใน twitter ตอนที่ 1
  2. ดารา นักร้อง นักการเมือง คนดังใน twitter ตอนที่ 2
  3. ดารา นักร้อง นักการเมือง คนดังใน twitter ตอนที่ 3
  4. ดารา นักร้อง นักการเมือง คนดังใน twitter ตอนที่ 4

Vodafone อังกฤษแจก BlackBerry Curve 8520 ให้ฟรี

BlackBerry Curve 8520

Vodafone ที่อังกฤษ แจก BlackBerry Curve 8520 ให้ฟรีแลกกับการทำสัญญา 2 ปี ค่าบริการ
รายเดือนมีให้เลือกตั้งแต่ £25-£40 (ประมาณ 1,500-2400 บาท) ฟีเจอร์ของเครื่องพร้อมบริการ

Features

  • Email
  • Qwerty keyboard
  • 2 megapixels
  • GPRS
  • WiFi
  • Quadband
  • Bluetooth
  • PC synchronisation
  • Memory card slot
  • Vodafone Mobile Internet
  • Games
  • MP3 player
  • Poly ring tones
  • Camera / Video
  • Alarm clock
  • Calendar
  • Handsfree headset
  • Memory card

ข้อมูล
https://shop.vodafone.co.uk
https://www.intomobile.com

ติด Google AJAX Search ให้บล็อก คลิกปุ๊บมาปั๊บ

Google AJAX Search แสดงผลโดยไม่ต้องรีเฟรสส่วนอื่น

การทำงานของ Google AJAX Search ค่อนข้างเป็นมิตรกับคนใช้โดยเมื่อคลิก search ผลการค้นหา
จะแสดงผลในหน้านั้นทันทีโดยไม่เปิดหน้าใหม่ หรือมีการรีโหลดหน้านั้นใหม่ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลา ผมก็เลย
เอามาติดไว้ที่บล็อกซึ่งสามารถทดลองใช้ได้ที่ ข้างล่างของบทความทุกหน้า

Google AJAX Search มีให้เลือกใช้หลายตัว ดังนี้

  • Web Search
  • News Search
  • Video Search
  • Blog Search
  • Local Search
  • Google Maps
  • Google Custom Search Engines

ดูรายละเอียด API ได้ที่ Google code
ดูรายละเอียดของตัวอย่าง หรือเข้าไปเลือก AJAX Search แบบต่างๆได้AJAX Search Wizards
ใครที่สนใจอยากเอาไปติดที่เว็บไซต์ บล็อกส่วนตัวก็ง่ายมากครับ ถ้าใครมี custom search อยู่แล้วก็ยิ่งง่าย
โดยเข้าไปที่ CSE Control Panel เลือก custom search element แล้ว copy โค้ดมาวางไว้ที่บล็อกก็เสร็จ

Windows Live Sync ,Skydrive,Live Mesh บริการไหนตรงใจคุณ

Synchronizing Life ชีวิตติดซิงค์

ผมได้แนะนำบริการซิงค์ข้อมูลที่เครื่องกับอินเตอร์เน็ตของ Dropbox ไปแล้ว ซึ่งมีพื้นที่ให้ 2 GB ในตอนเริ่ม
และเมื่อส่ง invite ให้เพื่อนเราจะได้พื้นที่เพิ่มขึ้น 250 MB ต่อคน ในตอนแรกนึกว่าจำกัด  สูงสุดอยู่แค่ 3 GB
แต่ตอนนี้ผมได้พื้นทีมาแล้ว 4.25 GB แล้ว แต่อย่างไรก็ตามผมพยายามหาบริการอื่นๆ อีกที่มีบริการในลักษณะ
เดียวกัน เพื่อเพิ่มพื้นที่ออนไลน์ พบว่า Microsoft ก็มีบริการในลักษณะนี้เช่นกัน

Windows Live มีบริการเกี่ยวกับ การเก็บข้อมูล และออนไลน์ซิงค์ แตกต่างกันอยู่ 3 ตัวได้แก่  Live Mesh,
Windows Live Sync และ Windows Live SkyDrive ซึ่งทั้งหมดเป็นบริการฟรี

Windows Live SkyDrive
SkyDrive เป็นบริการเก็บข้อมูลออนไลน์ ทำงานผ่านทางหน้าเว็บ ให้พื้นที่ 25 GB เยอะมาก สามารถ
อับโหลดไฟล์ต่างได้ ทั้งรูปภาพ เอกสาร ไฟล์ในรูปแบบ zip ก็ได้ แต่จำกัดขนาดต่อไฟล์ไม่เกิน 50 MB
สามารถแชร์ไฟล์ให้คนอื่น หรือบล็อกไม่ให้คนอื่นเข้าถึงได้

Windows Live skydrive

Windows Live Sync
Windows Live Sync เป็นบริการแชร์ไฟล์สำหรับคนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง หรือต้องการแชร์ไฟล์
ให้คนอื่นด้วยก็ได้ การใช้ Windows Sync ต้องติดตั้งโปรแกรม Windows Live Sync ซื่งสามารถซิงค์ได้
20 โฟว์เดอร์ 20,000 ไฟล์ ขนาดสูงสุดต่อไฟล์ 4 GB เอาเป็นว่าผมซิงค์ไดรว์ D ทั้งไดรว์ ได้เลย สามารถแยก
เป็น Personal folders หรือ Shared folders ได้ แต่รูปแบบของการ ให้บริการแบบนี้ไม่ได้มีการอับโหลดไฟล์
ขึ้นไปบนเว็บ ดังนั้นการซิงค์เครื่องมีการอับเดตไฟล์ต้องออนไลน์ ด้วยถึงจะเกิดการซิงค์ ประโยชน์ที่เห็นได้ชัด
คือเอาไว้แชร์งานกับเพื่อนที่ไม่ได้อยู่ในวงแลนเดียวกัน อยู่คนละจังหวัด หรือคนละประเทศได้ง่าย สะดวก และ
ยังสามารถ Remote access เครื่องปลายทางได้ด้วย ผมลองพยายามทำดูแล้วแต่ ยังไม่ได้ไม่รู้ว่าต้อง Set up
เครื่องปลายทางยังไง

Windows-Live-Sync

Live Mesh Beta
Live Mesh คล้าย Windows Live Sync แต่เพิ่มความสามารถการใช้งานโฟว์เดอร์แบบ  Cloud storage
เหมือนใช้บนเครื่องสามารถ copy & past ได้เลย  การใช้งาน Live Mesh ต้องติดตั้งโปรแกรม Live Mesh
ด้วย เมื่อติดตั้งโปรแกรมแล้ว คลิกขวาที่โฟว์เดอร์ที่ต้องการอับโหลดขึ้นไป แล้วเลือก “Add Folder to Live Mesh”
เพียงแค่นี้ก็เรียบร้อย เมื่อต้องการซิงค์ ไฟว์เดอร์นั้นลงที่เครื่องอื่น ก็เข้าไป add device คอมตัวนั้น,  Live Mesh
ให้พื้นที่ออนไลน์ 5 GB มาด้วยดังนั้นเครื่องที่อับโหลดขึ้นไปไม่ต้องออนไลน์ก็สามารถซิงค์ได้

Live-Mesh

สิ่งหนึ่งที่แตกต่างระหว่าง Windows Live Sync กับ Live Mesh คือความสามารถ Live Remote Desktop
เหมือนเปิดใช้งานเครื่องนั้นได้เลย สามารถเข้า เลือก copy โฟว์เดอร์ที่อยู่อีกเครื่องได้เลย อีกเครื่องต้อง ยอมรับ
การร้องขอก่อน ผมทดสอบดูแล้วค่อนข้างทำงานได้ช้า และทำเอาเครื่องที่ถูก Remote ช้าไปเลย แต่ให้ความรู้สึกว่า
เยี่ยมไปเลย ตอนนี้ Live Mesh ยังเป็น beta อยู่อาจจะไม่สมบูรณ์ก็เป็นได้

Live Mesh ผ่านทางหน้าเว็บไซต์

Windows Live Sevice ทั้งสามตัวผมเลือกใช้งานอย่างนี้ครับ เหมาะสำหรับคนที่ใช้งานหลายเครื่อง
ผมใช้ Windows Live Sync  สำหรับซิงค์ไดว์ D ของเครื่อง notebook กับ PC ทำให้เวลาใช้งานข้อมูล
ต่างๆไม่ต้องกังวลว่า ไฟว์นี้อยู่เครื่อง PC ไฟว์นี้อยู่ notebook  เพราะมันซิงค์ กันอยู่เหมือนใช้ฮาร์ดดิส
ลูกเดียวกัน (โดยเฉพาะเพลง หนัง) , Windows Skydrive ผมใช้เก็บข้อมูลพวกที่คิดว่ามัน  รกเครื่อง
และกลัวว่าถ้าเครื่องหาย หรือเครื่องพังยัง backup เก็บไว้บนเน็ตเช่นรูปเก่าๆ  e-book ต่างๆ ขนาดต่อ
ไฟล์ไม่ใหญ่มาก เพราะอับโหลดยาก, Live Mesh มีลักษณะคล้าย Dropbox ก็เลยเอามาทำเหมือน
Dropbox ลูกที่สองเพราะ Dropbox ตอนนี้  มีพื้นที่แค่ 4.25 GB ได้จาก Live Mesh มาอีก 5 GB
ก็เกือบ 10 GB แล้วถือว่าพอเพียง

ข้อควรระวังในการใช้งาน ไฟล์ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตยังไงก็ไม่ pivate แม้เราจะตั้งล็อกไม่ให้คนอื่น
เข้าถึง มันก็เสี่ยงอยู่ดี ดังนั้นไฟล์ที่สำคัญ เอกสารสำคัญ เอกสารลับ ไฟล์คลิปส่วนตัวต่างๆไม่ควรทำการ
อับโหลด และควรมีการอับเดตเปลี่ยน พาสเวิร์ด เป็นประจำป้องกันการเข้าถึงข้อมูล และที่สำคัญควรมี
backup ด้วยวิธีอื่นด้วย

ข้อมูล
https://en.wikipedia.org/wiki/Live_Mesh

https://skydrive.live.com/
https://sync.live.com/
https://www.mesh.com/
https://www.labnol.org/

องค์บาก 2 ขึ้น Apple Trailers แล้ว

หนังเรื่ององค์บาก ภาค 2 บน Apple Trailers

หนังเรื่อง องค์บาก ในภาคแรกที่กำกับโดย ปรัชญา ปิ่นแก้ว ดังระเบิดทั่วโลกแจ้งเกิดให้พระเอกในเรื่อง
จา พนม ยีรัมย์ (Tony Jaa) ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ทัชชกร ยีรัมย์ เป็นซูปเปอร์สตาร์ของโลกด้วยความ
สามารถทางด้านการต่อสู้ที่น่าทึ่ง และใน องค์บาก ภาคสอง เขาขึ้นนั่งแท่นผู้กำกับและเขียนบทเอง โดยมี
พันนา ฤทธิไกร เป็นผู้ช่วย หนังมีปัญหายุ่งวุ่นวายมากกว่าจะได้ออกฉาย วันเริ่มฉายองค์บาก 2 ในไทยคือ
วันที่ 5 ธันวาคม 2551 ทำเงินในไทยไปประมาณ 117 ล้านบาท และตอนนี้มีแผนเริ่มทำภาคสามต่อแล้ว
คาดการณ์ว่าจะออกฉายได้ในเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2552 ตอนนี้ องค์บาก 2 เริ่มทำตลาดในต่างประเทศ
มีการเริ่มเผยแพร่ Trailers ที่ Apple เหมือนหนังเรื่องก่อนๆของ จา พนม ต้องรอลุ้นดูว่าหนังจะทำเงินเหมือน
ภาคแรกหรือปล่าว

ข้อมูล
เว็บไซต์ องค์บาก ภาคสอง
Apple trailers
imdb.com

TED Talks : Conference ระดับโลก

TED Talks

วีดีโอที่มีสัญลักษณ์ TED สีแดง ผมเห็นมาตั้งนานแล้ว ตอนแรกไม่รู้มันคืออะไร งานอะไร จัดอย่างไร จัดตอนไหน
แต่ทุกๆวีดีโอที่ได้ดูมันสุดยอดทั้งนั้นเลย เช่น Jonhny Lee เอา Wii Remote มาทำ 3D ซึ่งตอนนี้ก็ไปทำงานกับ
Microsoft ในโปรเจคนาธานแล้ว , Blaise Aguera y Arcas สาธิต Photosynth ,Brian Cox พูดถึง LHC
และอื่นๆอีกเยอะเมื่อดูแล้วจะรู้สึกว่ามันเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาก วันนี้เลยขอเจาะลึก TED สักหน่อยว่าคืออะไร
ทำไมถึงได้มีแต่บุคคลที่มีคุณภาพ และชั้นแนวหน้าของโลกมานำเสนอได้เยอะขนาดนี้

TED มาจากอักษรนำหน้าของสามคำรวมกันคือ Technology ,Entertainment ,Design เป็นองค์กรเกี่ยวกับ
การศึกษา งานวิชาการ การวิจัย (academic organization)เจ้าของคือ The Sapling Foundation เป็นองค์กรที่
ไม่หวังผลกำไร คนทั่วไปรู้จักดีในการจัดสัมมนาเชิงวิชาการประจำปี ที่ค่อนข้างจำกัดเฉพาะบุคคลที่ได้รับเชิญ
(invitation-only conference)ภายใต้คำว่า  “ideas worth spreading” จะเรียกว่าสโลแกนน่าจะได้

TED มีชื่อเสียงมากในเรื่องการบรรยายที่รู้จักในชื่อ TED Talks คนที่พูดจะได้เวลาในการนำเสนอประมาณ 18 นาที
ซึ่งมีหัวข้อหลักคือ technology, entertainment  และ design แต่ในปัจจุบันได้มีการขยายเนื้อหา รวมไปถึง science,
arts, politics, education, culture, business, global issues, technology and development
Speakers ในงานนี้เป็นบุคคลแถวหน้าของโลกทั้งนั้น เช่น Bill Clinton-อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ,Gordon Brown-
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ,James D. Watson-เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์การแพทย์,Al Gore-อดีตผู้ชิงตำแหน่ง
ประธานาธิบดีและพึ่งได้โนเบลสาขาสันติภาพไปด้วยผลงานผูัปลุกกระแสโลกร้อน , Sergey Brin และ Larry Page-
เจ้าของและผู้คิดค้น Google ,Bill Gates-อดีตซีอีโอไมโครซอร์ฟผู้ชายที่รวยที่สุดในโลก เข้าไปดู TED Speakers
ที่เว็บได้เลือกได้ตามปี

TED มีที่ตั้งอยู่ที่เมืองนิวยอร์ค และ แวนคูเวอร์ ในตอนเริ่มส่วนที่จัด conference อยู่เมืองมอนเทอเรย์ แคลิฟอร์เนีย
และในปัจจุบัน (2009) ย้ายไปอยู่ ลองบีซ แคลิฟอร์เนีย เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของผู้เข้าร่วมงาน

นอกจาก TED conference แล้วยังมีงานอื่นอีกที่เน้นการกระจายเครือข่ายให้กว้างมากขึ้น คือ TEDGlobal ซึ่งจะ
มีการย้ายไปจัดที่ประเทศต่างๆ ซึ่งในปีนี้ (2009) TEDGlobal 2009-The Substance of Things Not Seen ไปจัดที่
ออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ จัดไปเมื่อ 21-24 กรกฎาคม 2009  ที่ผ่านมา

TED Global 2009 ที่ออกฟอร์ด อังกฤษ

ส่วนงานถัดไปที่จะจัด คือ TEDIndia-The Future Beckons ที่เมืองมายซอร์(Mysore) ประเทศอินเดีย
ในวันที่ 4 – 7 พฤษจิกายน 2009

TED-INDIA-The-Future-Beckons

และในปี 2010 จะกลับมาจัดที่ ลองบีซ แคลิฟอร์เนีย ในชือ TED2010-What the World Needs Now ในวันที่
9-13 กุมภาพันธ์ 2010

TED-2010-What-the-World-Needs-Now

ประวัติความเป็นมาของ TED
TED ก่อตั้งโดย Richard Saul Wurman และ Harry Marks ในปี  1984 และเริ่มมีการจัด conference
ตั้งแต่ปี 1990  จากนั้นในปี 2002 Wurman  ก็ออก TED ไป แล้วให้  Chris Anderson Editor ของ WIRED

Chris Anderson ผู้ดูแล TED

จาก The Sapling Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิของเขาเป็นผู้ดูแล โดยมี Devoted ประจำงานว่า “leveraging the
power of ideas to change the world”  และในปี 2006 มีการจัดงานผู้ที่เข้าร่วมงานได้ คือผู้สนใจที่จ่ายเงิน 4,400$
(154,000฿) และคนที่ถูกเชิญ และในเดือนมกราคม ปี 2007 ก็มีการให้สมัครเป็นสมาชิกรายปีได้ ในราคา 6,000$
(210,00o฿)ซึ่งจะได้เข้าร่วมงานตลอดทั้งปี , club mailings, networking tools และ conference ในรูปแบบ DVDs
อ้างอิง

เมื่อเดือนมิถุนายน 2006 TED ได้จัดทำเว็บไซต์ เพื่อที่จะเผยแพร่ TED Talks และมี Youtube ไว้อับโหลด Video
เพิ่มด้วยอีกทาง สามารถเข้าไป Subscribe ได้ และใน iTunes Store ด้วย โดยเข้าไปเปลี่ยน Location เป็น USA
แล้ว Search TED จะมี วิดีโอของ TED ให้ดาวน์โหลดดูได้ฟรี และล่าสุดที่ผมเห็นใน Vuze ก็มี ซึ่งวีดีโอที่เผยแพร่นั้น
เป็นไฟล์ที่มีคุณภาพ และคมชัดสูง สามารถเผยแพร่ต่อได้ในรูปแบบ Creative Common

TED-Video

จนในปี 2009 ก็ได้รับรางวัล Best Use of Video or Moving Image ของการจัดอันดับเว็บไซต์
the 13th Annual Webby Awards

The TED Open-Translation Project
TED ได้ให้ความสำคัญของคนทั่วโลกที่ไม่ได้ ฟัง อ่านภาษาอังกฤษ จึงได้จัดทำโปรเจค Open-Translation
ขึ้นเพื่อเปิดให้อาสาสมัครทั่วโลกเข้ามาแปล TED Talks ตอนนี้เผยแพร่แล้ว 51 ภาษา และแปลแล้วประมาณ
1,300 ชิ้น โดยนักแปลกว่า 600 คน ซึ่งแน่นอนมีภาษาไทยด้วย แต่มีแค่ 6 ชิ้นที่แปล ส่วนใครสนใจอยากเข้า
ร่วมแปลสามารถเข้าไปสมัครได้

TED-Thai-Translations

TED Prize จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2005 มอบรางวัลให้ปีละ 3 คน คนที่ได้จะได้รับเงินรางวัล 100,000$(3,500,000฿)
และได้รับการรับยกย่องว่า เป็นคนที่ “มีแรงปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงโลก”  ซึ่งคนที่มีสิทธิรับรางวัลก็เป็นหนึ่งในคนที่
นำเสนอใน TED conference ดูรายชื่อคนที่ได้รับรางวัลในแต่ละปีได้ที่ TEDPreze.org

TED-Prize ผู้ได้รับรางวัลในปี 2009

TEDx โดย x มาจากคำว่า “independently organized TED event” เป็นการจัด conference แบบ TED แต่เน้น
ไปที่กลุ่มเล็กๆ นักเรียน กลุ่มธุรกิจเล็ก โดยมีแนวคิดร่วมกัน ที่จะเผยแพร่ความคิดออกไป TED ก็จะสนับสนุนในการ
เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ,Logo และเอกสารขั้นตอนการจัดงาน กฎระเบียบต่างๆ  TEDx จึงจัดค่อนข้างบ่อย กระจาย
ออกไปทั่วโลก และเปิดกว้างสำหรับคนทุกคน ในไทยมี List event ด้วย แต่ไม่มีรายละเอียด

TEDx

Upcoming TEDx eventsThailand

  • TEDxBKK – TBD
  • TEDxPositivePsychology – TBD
  • TEDxSchooloftheFuture – TBD

เข้าไปดูรายละเอียดกฎระเบียบต่างๆในการจัดงานได้ที่ได้ที่ TEDx

นอกจากนี้ TED ยังมีงานย่อยๆอีกได้แก่  TED Fellows ที่เป็นการรวมกลุ่มคนหนุ่มสาวที่มีใจอยากจะเปลี่ยน
แปลงโลกให้ดีขึ้น เน้นอยู่ที่ เอเชียแปซิฟิก, แอฟริกา,แคริบเบียน, ละตินอเมริกาและตะวันออกกลาง

TED-Fellows

TED Talks เป็นงาน conference ที่ดี มีคุณภาพมาก และกำลังได้รับความนิยมสูงในหมู่นักบริหาร นักธุรกิจ นักวิชาการ
ชั้นแนวหน้าของโลก ประโยชน์ของคนที่ได้เข้าร่วมคงเป็นประสบการณ์และแนวคิด ไอเดียใหม่ๆ และสำหรับ
คนที่ได้นำเสนอผลงาน หรือพูดในงานนี้คงเป็นเหมือนการยกระดับความน่าเชื่อถือในสังคมได้อย่างมาก
เพราะมันเป็นเวทีระดับโลกที่จะเผยแพร่สู่คนทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็นงาน conference ที่มีแต่คนอยากเข้าร่วม
ไม่ว่าค่าลงทะเบียนมันจะแพงสักขนาดไหนก็ตาม

อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/TED_%28conference%29
https://www.ted.com

isanchula poster

โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ชมรมอีสาน จุฬาฯ

ไฟล์ขนาดใหญ่ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.mediafire.com/file/mzzeltydyyj/isanchula.jpg
หา free vector ได้ที่ smashingmagazine

duocore : เมื่อคนชอบดู แต่ไม่ชอบเอา

เว็บไซต์ Duocore.tv

duocore เป็นเว็บที่ดี คล้ายกับ Digg โดยทุกคนสามารถส่งเรื่องที่น่าสนใจ เข้ามาเผยแพร่ แชร์ให้คนอื่นได้อ่านบ้าง
และมีรายการ duocore ที่ออกทุกสัปดาห์ (หรือป่าว) สโลแกน “ผลักดันวงการไอทีในบ้านเรา” พบกับ เรื่องราวที่มี
คน”เอา”มากที่สุดในรอบสัปดาห์
ซึ่งตอนที่ผมเขียนอยู่นี้ ตอนที่ 115 แล้ว และมีตอนพิเศษประมาณ 20 กว่าตอน

หลังจากที่เขียนบล็อกของตัวเองได้สักประมาณครึ่งปีแล้ว และก็ได้อาศัย duocore ในการเผยแพร่เนื้อหาที่ตัวเองเขียน
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นได้ในสังคม duocore พอจะสรุป ได้ดังนี้ ซึ่งอาจจะมีทั้งดีและไม่ดีครับ
คนอ่านเยอะแต่มีน้อยคนที่จะ “เอา” ผมสังเกตได้จาก Reference ของ Analytics ของบล็อกที่มีการเข้าจากลิงค์
duocore ในเรื่องที่เป็นเรื่องเด่น ประมาณ 320 นับ 1 สัปดาห์หลังจากส่งเรื่อง แต่เรื่องถูกเอาแค่ 10 คิดเป็นเปอร์เซ็น
แล้วประมาณ 3.125 %  คือร้อยคนเอาประมาณ 3 คน

Referal จาก duocore
เรื่องที่มีคน เอา

ปัญหาเมื่อคน “เอา” น้อย
เรื่องที่น่าสนใจ หรือเรื่องใหม่ที่เข้ามา ไม่ได้ขึ้นเรื่องเด่นสักที ผ่านไปเกือบ สัปดาห์ค่อยขึ้นมา เรื่องนั้นเลยกลายเป็น
เรื่องที่ไม่น่าสนใจไป หรือเป็นข่าวเก่าไปแล้ว ส่งผลเป็นลูกโซ่ คนที่เข้ามาเห็นว่ามีแต่ข่าวเก่า เรื่องเก่าเลยไม่ค่อยเข้ามา
กลายเป็นว่าจะเข้ามา สัปดาห์ละครั้งสองครั้งแทน และส่งผลให้คนไม่อยากส่งเรื่องเข้ามา เพราะส่งมาไม่มีคนเอา
วิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไข
ปัญหานี้ไม่ใช้เพิ่งจะเป็นแต่เป็นเรื่องที่เป็นปัญหามานานแล้ว คุณออยก็บ่นไว้ ทั้งในรายการและบนเว็บ และก็มีแคมเปญ
ต่างๆออกมาเรื่อยๆ แต่ดูเหมือนปัญหายังยังอยู่ ปัญหานี้ต้องช่วยกันทุกๆฝ่าย ทั้งตัวระบบเอง และผู้ใช้ทุกคน
อันนี้เป็นแนวคิดของผมนะครับ

  1. สมาชิกเวลาเข้ามาใช้งานควรล็อกอิน หรือตั้งออโต้ล็อกอินไว้เลย เวลาอ่านเรื่องแล้วจะได้คลิก เอาได้ง่าย
  2. เรื่องไหนอ่านแล้ว ชอบหรืออยากให่กำลังใจ คลิก “เอา” ด้วย อันนี้ต้องรณรงค์กันบ่อย ถามเพื่อนด้วยว่า
    “วันนี้คุณ เอา แล้วหรือยัง”
  3. คลิกเข้าไปดูในหัวข้อ เรื่องใหม่เพิ่งมา ด้วย ไม่ใช่ดูเฉพาะเรื่องเด่น จะได้รู้ว่าเรื่องดีๆที่ไม่ขึ้นเรื่องเด่นมีอีกเยอะ

    หัวข้อ เรื่องใหม่เพิ่งมา

  4. คนที่ไม่มีเว็บไซต์ของตัวเอง แต่อ่านเรื่องต่างๆแล้วเป็นเรื่องที่ดี น่าสนใจอยากแบ่งปัน ก็สามารถส่งเข้ามาได้
    (ส่วนใหญ่ส่งแต่เว็บตัวเอง) ต้องทำให้เป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน
  5. ระบบส่งข่าว การจำกัดการส่งหัวข้อ เป็นเรื่องดีครับ เป็นกรองเนื้อหาในระดับหนึ่ง แต่รู้สึกว่ามันจำกัดเกินไป และ
    อับ level ยากมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากคนไม่ “เอา” นั้นแหละ ต้องช่วยๆกัน เว็บจะได้ขยายตัว

    การจำกัดเรื่องที่ส่งเข้ามา

  6. ระบบจัดการกับสแปม คนส่งลำบากมากได้แค่วันละหนึ่งลิงค์ แต่สแปมส่งได้เยอะ(แอบบ่น)ทำให้เรื่องที่
    ส่งมาถูกสแปมแย่งพื้นที่ไปหมด อันนี้เห็นใจทีมงาน อยากให้มีตัวกรองที่ดีกว่านี้

    แสปมใน duocore

  7. ทำ duocore 101 เหมือน twitter 101 ดีไหมจะได้เป็นการแนะนำวิธีใช้ให้สมาชิกใหม่
  8. การเขียนส่วนตัดทอน ต้องเขียนให้น่าสนใจ และไม่ควรให้ระบบดึงข้อมูลเอง ควรเขียนเองเพื่อเพิ่มความน่า
    สนใจมากขึ้น ตามประสบการณ์ส่วนตัดทอนที่เป็นภาพมักจะมีคนเอามากกว่าส่วนตัดทอนที่เป็นข้อความ
    เพราะ คนไทยขี้เกียจอ่านแต่ชอบดู

ผมพอจะเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขเล็กๆน้อยๆได้เท่าที่คิดออกตอนนี้ถ้าคิดออกเพิ่มเติมจะมาเสนอต่อ
ใครมีอะไรดีๆ ก็เอามาแบ่งปันกันครับ  สุดท้าย “อยากให้สมาชิกทุกคนช่วย เอา กันเยอะๆนะครับ”

ขอบคุณ duocore.tv

Youtube มีเมนูให้คลิกเลือกซีนด้วย

คลิปวีดีโอจาก Red Bull

ผม Subscripibe Youtube ของ Red Bull เอาไว้ดูคลิปกีฬามันส์ๆ การเต้น B-Boy สนุกๆ
วันนี้คลิกเข้ามาดูเจอคลิปการแข่งขันมอเตอร์ไซต์พาดโผน น่าสนุกดีก็เข้าไปดู ก็มี Intro
แป้บหนึ่ง เสร็จแล้วก็มีเมนูไฟวิ่งๆ เลยลองคลิกดู เป็นการเลือกวีดีโอซะงั้น อย่าหาว่าผมเชยเลย
นะครับ เพราะผมพึงเจอคลิปที่สามารถเลือกซีนได้ เลยตื่นเต้น ดูแล้วเหมือนเรากำลังเปิดดีวีดี
ดูหนังอย่างไงอย่างงั้น Red Bull ทำออกมาได้หน้าสนใจมากครับ ต่อไปคงมีให้เลือกซับบรรยาย
หรือเสียงไทย-ฝรั่งได้เป็นแน่

ตัวอย่าง

Dropbox : Sync ไฟล์ในเครื่องกับอินเตอร์เน็ต

หน้าเว็บของ Dropbox

บริการฝากไฟล์ในโลกอินเตอร์เน็ตมีอยู่มากมาย อย่างเช่น Mediafire ,Rapidshare ,depositfiles ฯลฯแต่ไปเจอบริการอีกตัวที่แตกต่างกับตัวอื่นๆ อยู่นิดหน่อย Dropbox ค่อนข้างช่วยผมได้มาก ผมใช้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องทำให้เวลาไปทำงาน ไปเรียน หรืออยู่ห้อง เมื่อโหลดไฟล์บางอย่างมาก็ต้องเอาลง flash driveซึ่งมันไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ เมื่อผมสมัครบริการของ Dropbox จะได้พื้นที่ออนไลน์ฟรีมา 2 GB (แต่สามารถอับเกรดเป็น 3 GB ได้ถ้าแนะนำให้คนอื่นได้ใช้โดยให้เพิ่มอีก 250 MB/คน) Dropbox จะติดตั้งโปรแกรมเล็กๆตัวหนึ่งลงที่เครื่องของเราและสร้างโฟวเดอร์ ชื่อ My Dropbox ขึ้นมาบนเครื่องของเรา เมื่อเราเอาไฟล์ลงไปที่โฟว์เดอร์นี้มันจะ Sync ขึ้นไปบนเว็บ เมื่อผมไปใช้เครื่องอื่น ติดตั้งโปรแกรมแล้ว login มันก็จะ sync อัตโนมัติลงเครื่องเลย หรือเมื่อไปใช้เครื่องอื่น แต่ไม่ต้องการลงโปรแกรมก็สามารถดาวน์โหลดได้โดยตรงผ่านทางหน้าเว็บ หรือจะส่งแชร์ไฟล์ให้เพื่อนด้วยก็ได้ เป็นบริการดีมากๆ ตอนนี้เจ้า flash drive 2 GB ของผมเลยเก็บเข้ากล่องไปเรียบร้อยแล้ว แต่ข้อเสียก็มี คือเครื่องที่ใช้ต้องเล่นอินเตอร์เน็ตได้ พื้นที่ฟรีค่อนข้างน้อย รุ่นเสียตังค์ได้ถึง 50 GB  และ 100 GB

ข้อมูล : Dropbox

Exit mobile version