50 ปี ของการเดินเครื่อง สทน. เปิดให้บุคคลทั่วไปเยี่ยมชมเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูของจริง!

เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูของไทย

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ สทน. ได้จัดกิจกรรมเปิดบ้าน(Open house) เชิญชวนผู้สนใจเยี่ยมชมเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ซึ่งเป็น “เครื่องแรกและเครื่องเดียวของไทย”  เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของการเดินเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2505

เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยในไทยนั้นมีกำลังน้อยมากครับ เมื่อเทียบกับเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในต่างประเทศ จึงมีความปลอดภัยสูงกว่ามาก เชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูตั้งอยู่ในกรุงเทพฯของเรานี้เอง

หน้าที่หลักของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูถูกใช้ในงานบริการประชาชน และงานวิจัยในหลายๆด้าน เช่น อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ยารักษาโรค อัญมณี การเกษตร ฯลฯ นับว่าตลอดเวลาที่เริ่มเดินเครื่องจนถึงปัจจุบันได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับงานวิจัยและช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่างๆได้มากมาย

ในโอกาสที่เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยมีอายุครบ 50 ปี สทน. จึงจัดกิจกรรมและนิทรรศการต่างๆมากมาย อาทิเช่น การจัดแสดงแกลอรี่ภาพสำคัญๆของ สทน. การจัดแสดงนิทรรศการเครื่องทางวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้ในปฏิบัติงานในอดีต ระบบการควบคุมความปลอดภัย ซุ้มกิจกรรมต่างๆ เกมการละเล่นพร้อมของรางวัล การแสดงบนเวที

พิเศษสุดของงานนี้! คือ การเปิดให้เยี่ยมชมเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยของจริงครับ ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสพิเศษอย่างมากที่บุคคลทั่วไปจะเข้าชมเครื่องได้ (รับประกันปลอดภัย แน่นอน!)

เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เครื่องแรกและเครื่องเดียวของไทย
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) ขอเชิญชวนท่านร่วมงาน ครบรอบ 50ปี การเดินเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย

รายละเอียดของงาน

50 ปี เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย กับความก้าวหน้า เทคโนโลยีนิวเคลียร์ไทย

จัดใน วันที่ 29-30 ตุลาคม 2555 ตั้งแต่เวลา 9.30-16.00น. ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชม

งานจัดขึ้นที่ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) ถ.วิภาวดีรังสิต ติดกับ ม.กษตรศาสตร์ คลิกดูแผนที่

สำหรับผู้ที่สนใจ เดินทางไปด้วยรถสาธารณะ ใช้ BTS หมอชิต แล้วต่อด้วยรถเมย์ที่่วิ่งบนถนนวิภาวดีมุ่งหน้าไปดอนเมือง พ้นแยกงามวงศ์วาม มาประมาณ 2 ป้าย ก็จะถึงที่จัดงาน ซึ่งอยู่ระหว่าง ม.เกษตร กับ โรงงานยาคูลท์ ครับ

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) เบอร์โทร 02-5967600 https://www.tint.or.th

แผนที่สถานที่จัดงาน

[googlemaps https://maps.google.co.th/maps/ms?msa=0&msid=213544067488530788156.0004ccf60f314bb9d6f4a&hl=en&ie=UTF8&t=m&ll=13.854226,100.56608&spn=0.004167,0.006427&z=17&output=embed&w=600&h=400]

วิธีแก้ไขเมื่อ Find My Mac ขึ้นสถานะ No Location

วิธีแก้ไขง่ายมาก ใครไม่อยากอ่านรายละเอียด เลื่อนลงไปดูด้านล่างเลยครับ

ได้ยินข่าวการจับโจรขโมย iPhone ได้ด้วยการใช้ Find My iPhone/Mac ส่วนใครอยากรู้วิธีการติดตั้ง Find My iPhone/Mac ดูรายละเอียดได้ที่โพสอันเก่า “เปิดการทำงาน Find My Mac และทดลองใช้งาน” จึงทดลองเข้าไปเช็คเครื่องของตัวเองใน iCloud.com ปรากฏว่าที่เครื่อง Macbook ของเราขึ้นเป็น No Location แต่สถานะบอกว่าออนไลน์ สามารถสั่งเตือน สั่งล็อกหรือลบข้อมูลได้ เพียงแต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งบนแผนที่ได้ แสดงผลประมาณดังรูปข้างล่าง (รูปของคนอื่น ลืมจับภาพไว้!)

Find My Mac แสดงผลเป็น No Location

ผมพยามแก้ไขด้วยวิธีต่างๆที่เคยทำในโพสวิธีแก้ไขปัญหาจากโพสเก่าข้างบน แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ผล เริ่มโทษว่าตัวอัพเดต OSX 10.8.2 ว่ามีบั๊ก ถึงกับวางแผนจะ Reinstall OSX ใหม่อีกรอบแบบ Clean install เลยทีเดียว

แต่ก็พยายามค้นหาข้อมูลของคนอื่นๆที่พบปัญหาเหมือนเรา แล้วก็พบวิธีแก้ไขปัญหาจนได้ ง่ายกว่าที่คิด นั้นคือ

“เปลี่ยนการเชื่อมต่อจาก Ethernet (สายแลน) เป็น Wifi”

แล้วก็ระบุตำแหน่งของเครื่องได้

ปล. แสดงว่าถ้าคนขโมยเครื่องเราไปแล้ว ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสายแลนตลอดก็ระบุตำแหน่งไม่ได้นะสิ แย่จัง!

หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ 18-28 ตุลาคม 2555

เวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือของผมส่วนใหญ่จะอยู่บนรถระหว่างการเดินทางไปทำงาน ช่วงหลังๆที่ผ่านมาได้กำจัดกองหนังสือที่ต้องอ่านลงไปได้บ้าง แต่มันไม่เคยหมดเลย มีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างน้อยอัตราการซื้อใหม่กับอัตราการอ่านอยู่ในภาวะที่สมดุล แต่ทุกๆ 2 ครั้งต่อปี จะมีเหตุการที่ทำให้สมดุลเสียไปบ้าง คือ สัปดาห์หนังสือ ที่เราจะได้หนังสือในกองต้องอ่านเพิ่มขึ้นมา

งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 17
จัดในช่วงวันที่ 18-28 ตุลาคม 2555 เวลา 10.00-21.00 น.
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ 18-28 ตุลาคม 2555

รายการหนังสือที่ได้

ส่วนใหญ่เป็นหนังสือ World Science Series ของสำนักพิมพ์มติชน ซึ่งเราค่อนข้างประทับในหนังสือในซีรี่นี้ที่เคยอ่านมาก่อนหน้านี้คือ ควอนตัมจักรวาลใหม่ นาโนเทคโนโลยี เลยวางใจได้ว่าซื้อมาแล้วน่าจะอ่านสนุก ไปงานครั้งนี้จึงตั้งใจจะไปดูหนังสือพวกนี้อยู่แล้ว

  1. ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) – สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง, ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ, ดร.ปิยบุตร บุรีคำ แปล
  2. ประวัติย่อของเอกภพ (The grand design) – สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง/เลียวนาร์ด มลอดิโนว์, รศ.ดร.ภาณุ ด่านวานิชกุล แปล
  3. ไอแซค นิวตัน มหาบุรุษโลกวิทยาศาสตร์ (Isaac Newton)-เจมส์ เกล็ก, ดร.ปิยบุตร ฉัตรภูติ แปล
  4. E=mc2 ชีวประวัติสมการปฏิวัติโลก – David Bodanis,  รศ.ดร. ภาณุ ด่านวานิชกุล แปล
  5. ฉีกขนบแอนิเมชั่น: เอกลักษณ์ของ ฮายาโอะ มิยาซากิ นักฝันแห่งโลกตะวันออก – นับทอง ทองใบ
  6. เส้นสมมุติ (รวมเรื่องสั้นแนว สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน) – วินทร์ เลียววาริณ
  7. ร้อยคม (รวมเรื่องสั้นหักมุมจบ ชุดที่ 2)– วินทร์ เลียววาริณ
  8. เล่านิทานเซ็น – อ.อภิปัญโญ

รวมแล้วค่าเสียหายประมาณ 1,400 บาท ส่วนใหญ่ลดราคาประมาณ 15-20% ซึ่งเช็คดูกับราคาสั่งออนไลน์แล้วที่งานสัปดาห์หนังสือถูกกว่า จึงตัดสินใจซื้อที่งานสัปดาห์หนังสือครับ

ส่วนเพื่อนๆได้เล่มไหนไปบ้าง แชร์ให้ดูบ้างครับ

หนังสือ บองหลา อ่านแล้วครับ

หนังสือ บองหลา

ชื่อหนังสือ: บองหลา
เขียนโดย: พนม นันทพฤกษ์
173 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 4 : มีนาคม 2550 (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2525)
สำนักพิมพ์: แพรวสำนักพิมพ์
ราคา 139 บาท

บองหลา หนังสือเล่มนี้เป็นนวนิยายที่ถูกเขียนขึ้นและตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ตัวผมเองยังไม่เกิดเลยครับ แต่ไม่น่าเชื่อว่ายังอ่านสนุกอยู่เลยครับ และผมก็ค่อนข้างอินกับการใช้ชีวิตของบองหลา(ชื่อแปลว่างูจงอาง)เด็กกำพร้าที่อยู่กับยายและเพื่อนสนิทอีกคน ฉากหลังเป็นชีวิตของชาวชนบทภาคใต้ ที่มีอาชีพหลักคือทำนา นึกในใจว่าพี่น้องชาวภาคใต้ของเรายังมีใครปลูกข้าวกันอยู่หรือปล่าวนะ การใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด วิถีชีวิตที่พึ่งพาอาศัยกันของชุมชน การศึกษาที่จบกันแค่ป. 4 เทศการงานบุญ อาหารการกิน การรุกเข้ามาของวัฒนธรรมคนเมือง

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือชีวิตของพี่น้องชาวใต้กับชาวอีสานเมื่อครั้งอดีต ก็ไม่ได้ต่างกันเลยนะ ผมคนอีสานครับ! ในวัยเด็กของผมเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนไม่ได้ต่างจากบองหลาเท่าไหร่นัก หนังสือมีทับศัพท์ภาษาใต้อยู่บ้าง แต่ก็มีคำอธิบายแทรกอยู่เล็กน้อย

“บองหลา” เป็นผลงานของ พนม นันทพฤกษ์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ปี 2548 หนังสือได้รางวัลรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดี สำหรับเยาวชนก่อนวัยรุ่น ปี พ.ศ.2525 สำนักพิมพ์นำมาพิมพ์ใหม่อีกครั้ง จึงทำให้เราได้อ่านหนังสือเก่าที่น่าประทับใจเล่มนี้ ยังมีผลงานอื่นๆอีกหลายเล่มของ พนม นันทพฤกษ์ ที่เขียนมานานแล้วแต่ก็อยากหามาอ่านบ้าง เช่น เด็กชายชาวเล ทุ่งหญ้าข้าวป่าสูงและวันรุ้งทอแสง ดงคนดี เป็นต้น คงต้องไปหาค้นในห้องสมุดมากกว่าร้านหนังสือแล้วล่ะ

เป็นหนังสือใสๆ อ่านง่าย เพลินๆ ได้รำลึกถึงอดีตเมื่อครั้งเยาว์วัยในบ้านนอกอันเป็นที่รักของเรา

[WORDPRESS PLUGIN] Jetpack รวมปลั๊กอินหลายตัวเป็นหนึ่งเดียว

Jetpack for WordPress

กำลังมองหาปลั๊กอินเกี่ยวกับการทำแชร์ลิงค์ไปที่ social network พวก twitter, facebook, google+ อะไรประมาณนี้อยู่ครับ ซึ่งมันก็มีอยู่เยอะมาก เลือกกันจนตาลายก็ไม่ได้ดังใจสักทีสุดท้ายมาเจอ Sharedaddy ค่อนข้างถูกใจ ง่าย ขนาดเล็ก

แต่พอติดตั้ง Sharedaddy เสร็จมันขึ้นเตือนมาว่า ต้องลงปลั๊กอิน Jetpack เพิ่มถึงจะทำงานได้ ก็เลยติดตั้งลงบล็อกไป เมื่อเปิดดูรายละเอียดของ Jetpack แล้ว ต้องบอกว่ามันสุดยอดมาก เพราะมันเป็น All in one รวมปลั๊กอินหลายตัวมาอยู่ในตัวเดียว เลยสามารถลบปลั๊กอินออกได้หลายตัวแล้วมาใช้ Jetpack แค่ตัวเดียว

Plugin ต่างๆที่อยู่ใน Jetpack

Plugin ที่อยู่ Jetpack

เยอะมาก และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการติดตั้งต้องมี account ของ WordPress.com ด้วยนะครับ เพือเชื่อมระหว่างบล็อกของเรากับ WordPress

มาดูปลั๊กอินตัวเด่นๆที่น่าใช้ครับ

WordPress.com Stats

เก็บสถิติของบล็อก

ตัวเก็บสถิติใช้ตัวเดียวกันกับ WP.com มันเก็บข้อมูลได้ละเอียดกว่าตัว StatPress Reloaded ที่ใช้อยู่ ดังนั้นเลยถอนตัวปลั๊กอินตัวนี้ที่ใช้มานานแล้วทิ้งไปอย่างไม่ลังเล

Sharing Buttons

Sharing

ปุ่มสำหรับกดแชร์บล็อกไปที่ Social network ที่ต้องการ มีตัวหลักๆครบถ้วน หรือจะเพิ่มเองก็ได้ มีรูปแบบให้เลือกหลายอัน เรียบ ง่าย และสวย ควบคุมให้แสดงเฉพาะ Home, Page หรือ Post ได้ ตรงตามความต้องการพอดี จึงลบตัวที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้คือ Social Sharing Toolkit ทิ้งไป

Subscriptions widget

Subscriptions widget

ระบบแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลเมื่อมีโพสใหม่ เป็นระบบของ WordPress เอง และมีการเก็บสถิติได้ด้วย แต่ตอนนี้ใช้ของ Feedburner อยู่เลยไม่ได้เปลี่ยน หากใครสนใจใชระบบของ WordPress ก็น่าใช้ไม่น้อยเหมือนกัน

Gravatar Hovercards

Gravatar Hovercards

ระบบทำรายละเอียดของผู้เขียน โดยดึงของมูลมาจาก Gravatar เหมาะสำหรับบล็อกที่มี Author หลายคน บล็อกนี้มีคนเดียวเลยไม่ได้ใช้งาน

Spelling and Grammar demo

ระบบแนะนำคำถูกต้อง

ปลั๊กอินตัวนี้เหมาะสำหรับคนที่เขียนบล็อกเป็นภาษาอังกฤษ เพราะมันจะช่วยให้ดูคำผิดทั้งการสะกดผิดหรือแกรมมาผิดได้ง่ายขึ้น มันจะแนะนำคำที่ถูกต้องมาให้ เหมือนอยู่ใน MS Office เลย

Contact Form

Contact Form

ใครที่ใช้ Contract Form 7 ตัวนี้ก็ทำงานในแบบเดียวกัน ปรับแต่ง field ได้ และตั้งค่าอีเมลรับข้อความได้

Custom CSS

CSS editor

ตัวแก้ไข ปรับแต่ง CSS เพิ่มเติม แบบแสดงสีสัน ที่ไม่ได้มีแค่โค้ดเหมือน default ของ WordPress

Mobile Theme

Mobile Theme

ปรับแต่งให้บล็อกแสดงผลในอุปกรณ์มือถือ แท็ปเล็ต ได้สวยงามยิ่งขึ้น ดูดีมาก แต่ก่อนใช้ WPtouch เลยเปลี่ยนมาใช้ของ Jetpack แทน และสามารถปรับแต่การแสดงผลได้อีกนิดหน่อย

ส่วนอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง

  • Jetpack Comments
  • Carousel Gallery
  • VaultPress
  • WP.me Shortlinks
  • Shortcode Embeds
  • Beautiful Math
  • Extra Sidebar Widgets
  • Enhanced Distribution

แต่ที่ชอบมากเพราะมันไม่ได้ทำให้บล็อกโหลดช้าเลย อาจจะเพราะปลั๊กอินส่วนใหญ่ที่มีใน Jetpack เราใช้อยู่แล้ว ก็เป็นได้

 ดูรายละเอียด และ ดาวน์โหลด Jetpack for WordPress 

ไปดูมาแล้ว Paranormal Activity 4 (2012) เรียลลิตี้ ขนหัวลุก 4

Paranormal Activity 4 (2012) เรียลลิตี้ ขนหัวลุก 4

Paranormal Activity 4 (2012), เรียลลิตี้ ขนหัวลุก 4 

ก่อนอื่นขอขอบคุณ กิจกรรมพาบล็อกเกอร์ไปดูหนังของ Nuffnang ครับ

หนังชุด Paranormal Activity ได้ดูภาค 1 (2007) กับ ภาค 2 (2010) มาแล้ว แต่ภาคที่ 3 (2011) ยังไม่ได้ดูครับ เป็นหนังทุนต่ำแต่ดันฮอตในภาคแรก ส่งผลให้หนังออกมาต่อเนื่องจนตอนนี้ถึงภาคที่ 4 แล้ว หนังขายความเป็นเรียลลิตี้ จับภาพจากกล้องวงจรปิด กล้องเว็บแคม ฯลฯ ออกแนวแอบถ่าย(ผี)

ในภาค 4 นี้เป็นเนื้อเรื่องต่อจากภาคที่ 2 ซะงั้น! ผมยังไม่ได้ดูภาคที่ 3 เลยเหมือนโชคดีอยู่นิดๆ สิ่งแปลกใหม่ที่จะได้เห็นในหนังภาคนี้จะเป็นมุมกล้องของกล้องหน้าของโน๊ตบุ๊ค ทำให้มองเห็นหน้าคนอยู่หน้าคอมชัดเจนแต่ด้านหลังไม่ชัดให้อารมณ์น่าตื่นเต้น และยังบดบังอะไรบางอย่างที่อยู่ด้านหลังของคนที่อยู่หน้าคอมอีก บรือ!

อีกเทคนิคอย่างหนึ่งที่ถูกนำเสนอใน Paranormal Activity ภาค 4 นั้นคือภาพถ่ายในที่มืดโดยจับแสง IR (อินฟราเรด) ที่ใช้ในการตรวจจับตำแหน่งของ Kinect อุปกรณ์เสริมสำหรับเล่นเกมของ Xbox มันจะยิง IR จุดเล็กกระจายออกมาเพื่อจับตำแหน่งของคนเล่น พอปิดไฟแล้วถ่ายด้วยโหมดกลางคืนก็จะเห็นอะไรบางอย่างที่อยู่ด้านหน้าเซนเซอร์เป็นโครงสร้างในแบบสามมิติ ไอเดียดีมาก

แสง IR (อินฟราเรด) ที่ใช้ในการตรวจจับตำแหน่งของ Kinect
ภาพแสงอินฟราเรดจาก Kinect

หนังเดินเรื่องคล้ายเดิม จากครอบครัวธรรมดาทั่วไป และเรื่องประหลาดต่างๆก็เกิดขึ้นเมื่อมีเด็กข้างบ้านเข้ามาอยู่ในบ้าน(มาพร้อมกับอะไรบางอย่าง) และมีจุดประสงค์บางอย่าง ช่วงต้นเรื่องภาพที่ถ่ายจะสั่นมากทำเอาเวียนหัวได้เหมือนกัน แต่ผ่านไปได้ช่วงหลังก็ดีขึ้น ความตื่นเต้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากที่น่าเบื่อในตอนต้นเรื่อง ช่วงท้ายๆต้องลุ้นตัวโก่งเหมือนกัน มีฉากตุ้งแช่ไม่เยอะนะ ส่วนใหญ่เน้นเรื่องบรรยากาศ ภาคนี้ดูจะมีเนื้อเรื่องอธิบายแทรกเข้ามาเยอะกว่าภาคอื่นๆ ที่สำคัญนางเอกสวยมาก (Kathryn Newton) ดึงความสนใจเราไปเยอะเลย

Kathryn Newton นางเอกตัวสำคัญในการเดินเรื่อง

แล้วใครควรไปดูหนังเรื่องนี้ คนที่ชอบดูคนอวดผีช่วงล่าท้าผี หรือแนวเรียลลีตี้

ให้คะแนน 6/10 ให้เพราะชอบนางเอกล้วนๆ ส่วนที่เหลือแล้วแต่ความชอบของแต่ละคนครับ

 

ตัวอย่าง Paranormal Activity 4 (2012)

หนังสือ พุทธทาสกับเซ็น อ่านแล้วครับ

หนังสือ พุทธทาสกับเซ็น

ชื่อหนังสือ: พุทธทาสกับเซ็น
บรรณาธิการ: กัญญา ชะเอมเทศ 
224 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 1 : กรกฎาคม 2552
สำนักพิมพ์: สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด 
ราคา 200 บาท

หนังสือ พุทธทาสกับเซ็น เป็นหนังสือรวบรวมภาพเซ็นต่างๆในโรงมหรสพทางวิญญาณประกอบคำอธิบายอันนี้จะอยู่บทแรก “ปริศนาธรรมเซ็น” ส่วนคำบรรยายของท่านพุทธทาส ซึ่งถอดมาจากการบรรยายธรรมของท่าน จะอยู่ในชุด บรรยายภาพปริศนาธรรมชุดจับวัว, ธรรมจากเชอร์แมน, โทรเลขเซ็น ท้ายเล่มมีซีดีเสียงบรรยายธรรมของท่านพุทธทาสแถมมาให้ได้ฟังด้วย ไม่อยากอ่านก็ฟังเอาก็ได้(ต้องดูภาพประกอบด้วยนะ)

ในบทสุทท้าย “เซ็น” เป็นบทกวีของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูล เป็นเรื่องราวของนิทานเซ็นที่คุ้นเคยกัน ในซีดีก็มีเสียงท่านมาอ่านบทกวีให้ฟังด้วยเช่นกัน

เนื้อหาเป็นภาพเซ็น พร้อมคำบรรยาย

ถ้าหากใครได้อ่านหนังสือ มังกรเซ็น ของวินทร์ เลียววาริณ มาก่อนจะอ่านเล่มนี้สนุกขึ้นอีกครับ เพราะเราจะรู้จักพระเซ็นที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้มากยิ่งขึ้น ส่วนตัวเองนั้นก็ไม่ใช่คนธรรมะธรรมโมอะไรมากมาย แต่ชอบศิลปะ โดยเฉพาะศิลปะที่เราเข้าใจว่าคนสร้างมันขึ้นมามีวัตถุประสงค์อะไร ถ้าเข้าใจศิลปะนั้นแม้สักนิด ผมว่าคนสร้างต้องดีใจ มีความสุขเป็นแน่ ว่าสิ่งที่เขาพยายามจะสื่อถึงเรานั้นเราเข้าใจนะ แม้จะมีคนมาชี้นำให้ก็ตาม คิดว่าคนทำงานศิลปะน่าจะมีความรู้สึกแบบนี้กันนะ

ท่านพุทธทาสและภาพเซ็น

บางทีการดูภาพแค่ไม่กี่ภาพอาจเข้าใจธรรมะได้มากกว่าอ่านพระไตรปิฎกทั้งเล่ม อย่างเช่น ท่านเหว่ยล่าง ท่านไม่รู้หนังสือ แต่รู้ธรรมะสูงสุดได้ น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าการบรรลุธรรมนั้น จะดู อ่าน ฟัง ปฎิบัติ คิด ใช้ทุกอย่างรวมกันหรือขาดบางอย่างไปก็บรรลุได้เช่นกัน

ซีดีบรรยายธรรมอยู่ท้ายเล่ม

หนังสือ ใช้ภาพเซ็น ประกอบกับคำบรรยายสั้นๆ มีกลอนของท่านพุทธทาสแทรกอยู่ในช่วงที่ท่านบรรยายเอง โดยท่านจะบรรยายภาพก่อนแล้วค่อยอ่านเป็นคำกลอนใต้ภาพ คำบรรยายนั้นยาวกว่าคำกลอน กลอนยาวกว่าประโยคไม่กี่คำที่ติดอยู่ภาพ และก็ภาพที่ไม่คำบรรยายเลย

หนังสืออ่านสนุกแป๊ปเดียวก็จบ นี้เป็นรอบที่สองที่หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านจนจบอีกครั้ง

แกะกล่อง External HDD 2.0 TB WESTERN ราคาถูก ความจุสูง

ความต้องการ External HDD ของคนที่จะซื้อ(พี่สาว) มีดังนี้ครับ

  • ความจุสูง
  • ราคาถูก
  • จะเป็น USB 3.0 หรือ 2.0 ก็ได้
  • ขนาดไม่เกี่ยง เล็กใหญ่ก็ได้

เมื่อดูข้อมูลแล้วจึงสรุปได้ว่า ควรจะเป็น รุ่นนี้เลย External HDD ขนาด 3.5″ ความจุ 2.0 TB ยี่ห้อ WESTERN ราคา 3,450 บาท ซื้อมาจากร้าน J.I.B. ที่พันธ์ทิพประตูน้ำ เลยนำมาแกะกล่องให้ดูครับ

External HDD 2TB Western

กล่องของ External HDD 2TB Western 3.5″

อุปกรณ์ภายในกล่อง

อุปกรณ์ภายในกล่อง

  • ตัว HDD 2.0TB
  • สาย USB 2.0 ยาวพอสมควร
  • Adapter ต้องใช้ไฟฟ้าภายนอกด้วย พร้อมตัวแปลงปลั๊ก 3 อัน
  • คู่มือ
External HDD Port

มี 2 พอร์ต เสียบไฟ กับ USB และไฟบอกสถานะ

มีปลั๊กเสียบให้เปลี่ยนถึง 3 แบบ

เวลาจะเปลี่ยนก็กดปุ่มที่ข้างล่างช่องเสียบ แล้วก็เสียบหัวปลั๊กเข้าไปได้เลย

ลองเสียบคอมพิวเตอร์ดูความจุภายในครับ

External HDD 2.0TB

สรุปเป็น External HDD ที่ได้ทั้งราคาที่ถูกและความจุที่สูง น่าซื้อเอามาเก็บวีดีโอหรือรูปในเครื่องอย่างมาก

“ฝนตกที่บ้านนอก” ตัดต่อใน YouTube Video Editor

YouTube Video Editor

ช่วงกลับบ้านที่ต่างจังหวัดได้ถ่ายวีดีโอตอนฝนตกไว้แบบสั้นๆ นึกอยากเอามาตัดต่อรวมกันครับ และก็รู้มาก่อนหน้านี้แล้วว่า YouTube มีตัวช่วยตัดต่อออนไลน์ให้ใช้ เลยทดลองใช้งานดูครับ ขั้นตอนการทำของผมมีดังนี้ครับ

  1. อัพโหลดวีดีโอทั้งหมดขึ้นไปใน YouTube ซึ่งผมมีอยู่ 4 คลิป แบบความคมชัด 720p ถ่ายด้วย Cannon 600D
  2. เข้าไปที่ https://www.youtube.com/editor ส่วนของ User Interface แสดงให้เห็นดังรูปด้านบนครับ
    เมนู

    ส่วนคำคัญตรงเมนูด้านบนครับ เรียงตามลำดับ ได้แก่ วีดีโอของเรา, วีดีโอของคนอื่นๆที่จะนำมาใช้ได้, ดนตรีประกอบ, Transition และตัวอักษร ต่อไปก็เริ่มตัดต่อได้แล้ว

  3. คลิกลากวีดีโอที่ต้องการตัดต่อลงมาอยู่ในช่อง Timeline ด้านล่าง
  4. คลิกที่วีดีโอตรง Timeline สามารถปรับแต่งได้อีกนิดหน่อย เช่น หมุนวีดีโอ, Contrast, Brightness, Stabilize

    Video Effect

  5. นำเสียงเพลงเข้ามาประกอบ โดยลากเพลงที่ต้องการลงมาด้านล่างของวีดีโอ Timeline ปรับเสียง Balance ระหว่างเสียงในวีดีโอ และเสียงเพลง
  6. ใส่ข้อความประกอบวีดีโอเพิ่มเติมได้
  7. จากนั้นตั้งชื่อ Project แล้วกด Public ได้เลย YouTube จะใช้เวลาสักพักในการ Process เมื่อเสร็จก็นำไปแชร์ได้แล้ว

ผลงานของผมที่ใช้ YouTube Video Editor ตัดต่อออกมา จากไฟล์เริ่มต้นที่เป็น 720p ตัดต่อเสร็จก็เป็น 720p ครับ ชมผลงานได้เลยด้านล่างนี้ครับ

“RAIN AT HOME ” 

รายการที่ทำไป

  • ตัดต่อจาก 4 คลิป
  • ปรับ Contrast, Brightness และ ปรับช่วยกันสั้น (Stabilize)
  • ใส่เพลงประกอบ
  • ใส่ Transition
  • ใส่ข้อความ

การตัดต่อวีดีโอใน YouTube Video Editor ถือว่าใช้งานได้ดีเลยครับ อาจจะมีช้านิดหน่อยช่วงหลังปรับเปลี่ยน Effect และตัวอักษรที่จะใส่เข้าไปในวีดีโอตัวที่เล็กสุดยังรู้สึกว่าใหญ่เกินไปครับ

รวม Artwork รำลึกถึง สตีฟ จ๊อบส์ จากแฟนๆ

รวม Artwork จากแฟนๆทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็น Advertising Agency ที่ทำขึ้นเพื่อรำลึกถึงการจากไปของสตีฟ จ๊อบส์ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2011 ด้วยโรคมะเร็งตับ ซึ่งก็ครบรอบ 1 ปีแล้วในวันนี้ ใครอยากรู้จัก สตีฟ จ๊อบส์ มากขึ้น ลองเข้าไปอ่านที่เขียนไว้ตอนอ่านหนังสือชีวประวัติของเขาได้ที่นี้ครับ หนังสืออัตชีวประวัติของ สตีฟ จ็อบส์ โดย วอลเตอร์ ไอแซคสัน

วันนี้จึงหยิบเอา Artwork สวยๆ เหล่านั้นมาให้ชมกันอีกครั้งครับ ส่วนใหญ่เน้น เรียบง่าย และใช้สัญลักษณ์แทนคำพูด ที่มาของภาพทั้งหมดมาจากที่นี้นะครับ https://adsoftheworld.com/blog/steve_jobs_homage_ads/

นอกจากนี้ เราก็ได้เห็นการร่วมมือกันทำคลิปโฆษณาชุด “Think Different” จากกลุ่มเซเล็บแฟนของ สตีฟ จ๊อบส์ ในไทย เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ Macthai ครับ ทำได้ซึ้งเลยทีเดียว


Advertising Agency: DDB, Dubai, UAE
Executive Creative Director: Shehzad Yunus
Art Director: Dinesh Gore
Copywriter: Shehzad Yunus


Advertising Agency: Raineri Design, Italy
Art Director: Gigi Pasquinelli


Advertising Agency: Agency4e7, Vienna, Austria
Creative Director: Alex Schönburg
Art Director: André Huber


Advertising Agency: Avrett Free Ginsberg


Advertising Agency: Federico Mauro, Rome, Italy
Creative: Federico Mauro


Creative: Daniel Rehpani


Advertising Agency: Periscope, Minneapolis, Minnesota, USA
Art Director: Brian Boord
Copywriters: Scott Dahl, Rob Peichel
Illustrator: Brian Boord


Creative: Enrique Espinoza


Advertising Agency: Maksim Fulltime, Guayaquil Ecuador
Chief Creative Officers: Jimmy Landaburu, Chuck Vallarino
Art Director: Jimmy Landaburu
Copywriter: Freddy Ordoñez


Advertising Agency: Redlime, Sri Lanka


Advertising Agency: Bang In The Middle, Gurgaon, India
Chief Creative Officer: Prathap Suthan
Art Director / Copywriter: Viral Pandya


Advertising Agency: agenta agenturgruppe, Münster, Hamburg, Berlin
Managing Directors: Oliver Grage, Andre Schmechta, Michael Hartung
Creative Directors: Dominik Heinrich, Christian Broll, Stefan Stumpe
Art Directors: Ulrich Hock, Manfred Teschlade, Bettina Schnake




Advertising Agency: DDB Cairo, Egypt
Creative / Illustrator: Ahmed El Habashy


Advertising Agency: Erwin Penland, USA
Executive Creative Director: Andy Mendelsohn
Associate Creative Directors: Stephen Childress, Rick Bryson


Advertising Agency: The Lab Ideas
Creative Director: Mariano Kalmus


Creative: Odysseas Galinos- Paparounis


Advertising Agency: Euro RSCG 360, Lyon, France
Executive Creative Director: Hugues Pinguet, Stéphane Morel
Art Director: Quentin Delachaux
Copywriter: Stéphane Le Frapper


Creative: Craig Fitzgerald


Eduardo Rodriguez
Copy and Art Director


Advertising Agency: Aayan Communication
Executive Creative Director: Fayyaz
Creative Director: Ali Saeed
Copy Writer: Faiz Ahmed



Advertising Agency: Extra Credit Projects, Grand Rapids, MI USA
Creative Director: Rob Jackson
Art Director: Josh Best
Copywriter: Scott Schermer


Advertising Agency: Mangomedia, Ciudad de Guatemala, Guatemala
Creative Director: Martin Cheren
Art Director: Martin Cheren
Copywriters: Martin Cheren, Massimiliano Ricci


Advertising Agency: San José, Costa Rica
Creative Director: David Carvajal
Art Director / Copywriter: David Carvajal


Advertising Agency: ACTIF Advertising Agency, Costa Rica


Advertising Agency: Publicis, Montreal, Canada
Creative Directors: Nicolas Massey, Carl Robichaud
Art Director: Carl Robichard
Copywriters: Nicolas Massey, Luc Mérineau


Advertising Agency: AUFBRUCH, Düsseldorf, Germany
Art Director: Alexander Gerlings
Junior Art Director: Magnus Siemens
Copywriter: Robert Meißner


Advertising Agency: Evolution Alexandria, Egypt
Art Director: Khaled Soliman


Advertising Agency: vollblutwerber
Creative: Malte C. Bayer


Advertising Agency: Leo Burnett, Sri Lanka


Advertising Agency: dlk estudio, Caracas, Venezuela
Creative: Joel Pallotta


Advertising Agency: Paradigmplus, India, Pune
Creative Director: Nitin Adake
Art Directors: Nitin Adake, Dinesh Sapkale
Copywriter: Nitin Adake
Typography: Nitin Adake, Dinesh Sapkale
Published: Octover 2011


Advertising Agency: Friday Creative
Creative: Milan Vuckovic


Creative: Elmalah Ahmed


Advertising Agency: Leo Burnett Colombia
Copywriter: Marvin Leiva
Art Director: Jorge Valencia


Advertising Agency: DDB, Cairo, Egypt
Creative / Art work : Muhammad Salah


Creative: Ahmed@TheYellowDesigns


Advertising Agency: Bader Rutter, USA
Creative Director: Mike Fredrick
Art Director / Copywriter: James Madsen

 

Exit mobile version