ปรับธีมใหม่ให้ Biomed.in.th ดูดีขึ้นนิดหน่อย

ไปงาน WordPress Developer Night มาแล้ว อยากลงมือทำอะไรสักอย่าง ก็เลยปล่อยออกมา โดยเอาธีมของ Biomed.in.th เป็นที่รองรับ ปรับตรงนั้น เล่นตรงนี้หน่อย ทำให้เข้าใจเรื่อง CSS เพิ่มอีกนิด ได้ธีมใหม่ที่พอรับได้

รายการที่ทำมีดังนี้

  • เปลี่ยนโลโก้ใหม่ เปลี่ยนหัวเป็น url ของเว็บ พยายามคิดสโลแกนคิดไม่ออกสักที เอาอันนี้ไปก่อน
  • ใส่ Feature slide เข้ามา ใช้ปลั๊กอิน Featured Content Slider ปรับ css นิดหน่อยให้เข้ากับเว็บ ตอนแรกมีปัญหา “jquery is not defined” เข้าใจว่ามันชนกับอะไรสักอย่างในเว็บ ปวดหัวมาก ไล่ปิดปลั๊กอินแต่ละอันก็ไม่เจอ ลองเปลี่ยนธีมใหม่ลองดู กลับใช้ได้ เลยได้ความว่ามีปัญหากับธีมนี้ สุดท้ายแก้ปัญหาด้วยการโหลด jquery กับโค้ดของ Featured Content Slider ไปไว้โฟว์เดอร์ใหม่ แล้วเพิ่มโค้ดที่ header ให้มันโหลดมาจากที่ใหม่ แล้วมันก็ทำงานได้
  • เปลี่ยน background ใหม่, เปลี่ยน footer ใหม่
  • แยกกลุ่มของ div ใหม่ ใส่พื้นหลังให้ content-wrap
  • ทดสอบพบว่า IE7 มีบางอันที่ไม่รองรับ เช่น text-shadow
  • พบว่าตำแหน่งโฆษณาบน header right ข้างโลโก้มันเป็นตำหน่งที่ทำให้เว็บดูดีขึ้นได้เลย

ก่อน

Before (Biomed.in.th)

หลัง

After (Biomed.in.th)

บันทึก WordPress Developer Night

WordPress Developer Night

เมื่อวันเสาร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้ไปงาน WordPress Developer Night ครั้งที่ 1 (แสดงว่าจะมีครั้งต่อไป) งานออกแนวสบายๆ คุยกัน ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น งานออกมาสนุก ได้ความรู้เปิดกว้างมากขึ้นเยอะเลย สำหรับผมคนที่ถือว่าเป็น User ไม่ใช่ Developer นับว่าได้รู้อะไรเพิ่มขึ้นเยอะเลย โดยเฉพาะช่วงของการพัฒนาธีม และปลั๊กอิน ขอบันทึกเป็นข้อๆตามที่จดจำได้

หัวข้อที่ 1. Web Design Business with WordPress โดย @ipattt
ดูบันทึก https://smallpad.org/wpdevnight-1

  • คุณ @ipattt เล่าประสบการณ์การใช้ WordPress ในการทำเว็บให้องค์กร เล่าถึงเว็บแบบไหนที่ใช้ WordPress แล้วงานออกมาดี ข้อดีข้อเสียของ CMS แต่ละตัว การคิดเงิน
  • BuddyPress อีกสายหนึ่งของ WordPress เน้นไปที่ Social Network ที่หลายคนบอกว่ามันไม่เวิร์ค เป็นจุดด้อยอีกอันหนึ่งของ WordPress ที่ไม่เหมาะสำหรับทำเว็บเน้นไปที่ Social Network ผมก็เคยเล่นเหมือนกัน ลักษณะของมันจะคล้ายๆกับเราใช้ WordPress.com มีบาร์ควบคุมการทำงานของสมาชิก ตัวอ้วนและไม่ค่อยมีการอัพเดตเลย
  • ผมถามเรื่องการใช้ WordPress ในองค์กรที่มีอินเตอร์อยู่ในระบบปิดบางส่วนใช้ VPN ในการใช้งาน เป็นปัญหาที่เจอกับตัวคือ ส่วนไหนของ WordPress ที่ต้องเชื่อมกับภายนอกจะทำงานไม่ได้เลย เช่นหน้า Plugin, Themes คำตอบของเรื่องนี้ คือเราต้องคุยกับฝ่ายไอทีขององค์กร ขอให้เปิดให้เว็บเราออกข้างนอกได้ หรือโน้มน้าวให้เขาใช้โฮสของข้างนอก
  • อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ ที่คิดว่าหลายๆคนคงเจอบ้าง คือ ในเมื่อ WordPress เป็น CMS ที่ให้ใช้ฟรี ทำไมองค์กรเขาจะต้องจ่ายเงินแพงๆให้เราผู้ทำเว็บให้ คำตอบจาก @imenn บอกว่า ถ้าตอบแบบดื้อๆหน่อย คือ WordPress ก็เหมือน ปากกา ดินสอ กระดาษ มันเป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง คุณจะต้องมีจิตกร(นักพัฒนาเว็บฯ) จึงจะได้รูปภาพที่สวยงามออกมาได้(แบบนี้ตรงใจผมนะ) แต่ถ้าจะตอบแบบดีๆหน่อยหนึ่ง ก็คือ อธิบายว่า WordPress มันฟรีก็จริง แต่จะใช้งานได้จริงๆนั้นจะมีหลายๆส่วนที่ยังต้องการคนพัฒนาให้มันทำงานได้ จะทำให้มันเหมาะสมกับความต้องการขององค์กรนั้นๆต้องมีคนพัฒนา
  • ราคาของการทำเว็บ ที่ทำด้วย WordPress คุณ @ipattt บอกว่า สูงขึ้นตามจำนวนกรรมการตรวจงาน ฮา!
  • Marketing ของการทำเว็บด้วย WordPress กับลูกค้า นำตัวอย่างของเว็บต่างๆให้เขาดูก่อน แล้วเลือกรูปแบบของเว็บที่ชอบ จะช่วยให้เรา ทำงานได้ง่ายขึ้นมาก

หัวข้อที่ 2. WordPress Showcase & Plugin @iannnnn
ดูบันทึก https://smallpad.org/wpdevnight-2

  • คนใช้ WordPress เยอะมาก จึงมีปลั๊กอินต่างๆให้เลือกใช้เยอะมากมาย คุณ @iannnnn เจอแล้วจะเก็บไว้ใน Delicious ที่เป็น bookmark ออนไลน์ ใครสนใจติดตามได้ที่ https://www.delicious.com/iannnnn/WordPress
  • ตัวปลั๊กอินที่ได้รับความนิยม หรือเรียกได้ว่าควรต้องมี คือ WP Super Cache, Akismet, WP-SpamFree, Google XML Sitemaps Generator, All in One SEO Pack, WP-PageNavi
  • ตัวที่ทำ comment ที่ @iannnnn แนะนำคือ DISQUS (ผมก็ใช้) มันเก็บข้อมูลสองที่เลยคือ ในเว็บของเรา และเว็บ DISQUS ด้วย และท่านอื่นๆก็แนะนำตัว Facebook Comment ด้วย ซึ่งเป็นการผลักภาระไปให้ Facebook แต่ก็น่าเสียดายที่มันไม่มีแจ้งเตือนเมื่อมีคนตอบ และไม่มีข้อมูลเก็บไว้ในเว็บเราเอง
  • อีกตัวที่หลายคนเห็นพร้อมต้องกันว่าเยี่ยมจริงคือ Contact Form 7 เป็นระบบติดต่อกับผู้ใช้ที่ประยุกต์ได้หลายแบบ แนบไฟล์ได้ด้วย fail.in.th ก็ใช้ตัวนี้ในการรับภาพจากคนทั่วไป
หัวข้อที่ 3 สัมภาษณ์ คุณ@ipeerapong คนไทยทำธีมขาย
บันทึก https://smallpad.org/wpdevnight-4
  • เป็นหัวข้อที่สร้างแรงบันดาลใจได้เยอะมาก คุณ@ipeerapong ขายธีม WordPress ผ่านทางเว็บต่างประเทศ ดูที่ https://themeforest.net/user/peerapong และที่ mojo ขึ้น feature seller ด้วย https://www.mojo-themes.com/user/peerapong/
  • ออกมาทำงานที่บ้านขายธีมเลี้ยงชีพอย่างเดียวได้ 5 เดือนแล้ว มีธีมอยู่ 23 ธีม
  • ผมลองคำนวณรายได้ของคุณ @ipeerapong จากตัวเลขล่าสุดใน theme forest ที่เดียว ขายไป ณ ตอนนี้ 5,211 ครั้ง ราคาเฉลี่ยประมาณ $30 ได้ส่วนแบ่ง 50-70% งั้นคิดเฉลี่ยประมาณ 60% ดังนั้นคิดเป็นเงิน (5,211 x 30) x 0.60 = $93,7 98 หรือ 2,813,940 บาท เขาทำธีมขายมาแล้ว 7 เดือน สรุปเฉลี่ยเดือนละ 401,991 บาท สุดยอดจริงๆ ทำงานที่บ้าน ได้เดือนละ 4 แสน
  • วันหนึ่ง ช่วงเช้าและช่วงเย็น เขาตอบอีเมลลูกค้าวันละประมาณ 100 ฉบับ ตอนกลางวันทำธีมใหม่ เขาใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ในการทำธีม 1 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม business, portiflio
  • น่าจะจุดประกายให้ใครหลายคนลุกขึ้นมานั่งเขียนธีมขายจริงๆจังๆได้

หัวข้อที่ 4. WordPress Theme Design โดย @imenn
บันทึก
https://smallpad.org/wpdevnight-3 สไลด์ประกอบการอธิบาย https://www.slideshare.net/iMenn

  • คุณ @imenn มาอธิบายส่วนประกอบของธีม WordPress ปกติเราใช้และพอรู้บ้างเล็กน้อยว่ามันมีอะไรบ้าง เคยอ่านวิธีทำมาบ้าง แต่พอได้ฟังการอธิบายของคุณเม่นแล้ว มันกระจ่างขึ้นเยอะเลย
  • ตัวที่เพิ่งรู้คือ template hierarchy ทำให้เข้าใจว่าแต่ละธีมทำไมมันมีไฟล์ที่แตกต่างกันได้ มีลำดับขั้นของการเรียกใช้ไฟล์ในธีมมันมีกฎอยู่นะ
  • ด้วยเวลาที่จำกัด ทำให้มีอีกหลายส่วนที่ยังไม่ได้พูด อยากฟังต่ออีก
  • คุณ @imenn มีโปรเจค ทำธีมกลางตัวหนึ่งขึ้นมาให้คนอื่นสามารถนำไปพัฒนาต่อได้ง่าย รออีกสักพักจะปล่อยออกมาให้โหลดกัน
  • ในงานคุณ @imenn นำเสนอด้วย Slide จะปล่อยออกมาให้โหลดเช่นกัน

หัวข้อที่ 5. WordPress Plugin Development การพัฒนาปลั๊กอินในเวิร์ดเพรส โดย @warong
บันทึก https://smallpad.org/wpdevnight-5

  • เพิ่งจะเข้าใจว่าปลั๊กอินจริงๆแล้ว มันคืออะไรเมื่อได้ฟังหัวข้อนี้
  • อันที่จริงเราใส่ code ลงไปในธีมได้เลยมันทำงานได้เช่นกัน แต่ถ้าจะให้คนอื่นใช้ด้วย เอาไปพัฒนาต่อได้ มันคือ Plugin
  • สามารถเชื่อมกับ WordPress ด้วย Hook (API)แบบ Actions หรือ Filters ต้องศึกษาการเรียกใช้งาน
  • รูปแบบการเก็บข้อมูลในปลั๊กอินมีอยู่ 3 แบบ คือเก็บไว้กับ Post, Option และแยกสร้าง database ต่างหาก เลือกดูว่าปลั๊กอินของเราควรใช้แบบไหน
  • มีคนถามว่าแบบไหนคุ้มกว่าระหว่างทำเป็นปลั๊กอิน กับเขียน functions ขึ้นมาใช้เองในเว็บ คำตอบคือ ถ้าเราเขียนเป็นปลั๊กอินมันจะสามารถเอาไปใช้กับเว็บอื่นๆได้ด้วย ซึ่งโอกาสที่เราจะสร้างเว็บที่มี request ใกล้เคียงกันนั้นมีแน่นอน เสียแรงครั้งเดียวใช้ได้หลายครั้ง ย่อมคุ้มกว่า

สรุปว่าเป็นงานที่สนุกมากครับ เป็นกันเอง อันที่จริงมีคุยกันเรื่องสถานที่เล็กไป ผมว่ากำลังดีเลย แต่เพิ่มเรื่องเก้าอี้อีกนิดหน่อย มีนั่งพื้นร่วมด้วยก็สบายดี คนเยอะห้องใหญ่ไป อาจจะคุยกันแบบโต้ตอบแบบนี้ไม่ได้

เรื่องที่ขอแชร์ Theme ที่ทำให้ WordPress สามารถเขียนเนื้อหาได้ตั้งแต่อยู่หน้าบ้าน ชื่อ P2 https://wordpress.org/extend/themes/p2 ลงแล้วหน้าตาประมาณนี้ครับ https://goo.gl/3fHns

เว็บที่ใช้เช็คว่าเว็บไซต์นั้นใช้ CMS อะไร และ Plugin อะไรบ้าง คือ เว็บ https://webmastercoffee.com แต่ลองดูพบว่ามันบอกได้แค่ว่าใช้ Plugin ที่เกี่ยวกับ SEO ตัวไหนบ้าง ตัวอื่นๆมันไม่เช็คให้ครับ มีอีกวิธีหนึ่งที่เขาทำกันตามที่มีการแนะนำในงาน คือ ดูว่าใน /wp-content/plugins/ มีโฟว์เดอร์อะไรอยู่บ้าง

พองานนี้จบลงไฟในใจลุกขึ้นมาอีกครั้ง อยากลองทำธีมเองบ้าง หลังจากคิดจะทำมาตั้งนานแล้วไม่เคยสำเร็จเลย

ขอขอบคุณ ทีมงานผู้จัดงานทุกท่านที่จัดงานดีๆขึ้นมาครับ

WordPress Developer Night

WordPress Developer Night

WordPress Developer Night ผมได้อ่านข่าวจาก https://thumbsup.in.th เมื่อวาน เห็นรูปแบบงานแล้ว น่าสนใจมาก เราก็ใช้ WordPress ทำเว็บเป็นหลัก เลยสนใจอยากเข้าร่วมงานเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดในการใช้งานและพัฒนากับท่านอื่นๆด้วย เขาเปิดลงทะเบียนวันนี้ (22 ม.ค.) เวลา 20.11 น. จำกัดคนแค่ 30 คน ส่วนวันงานจัดในวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 18:00 น. – 23:00 น. วันนั้นผมเลิกงานประมาณ 5 โมงเย็นคิดว่าไปทันแน่นอน เพราะที่ทำงานอยู่ใกล้แถวนั้นด้วย

จึงคิดจะไปร่วมงาน เลยตั้งให้ Google Calendar มันส่ง sms มาเตือนในเวลา 20.05 น. พอถึงเวลาจะได้ไม่ลืม เมื่อทางเว็บไซต์เปิดให้ลงทะเบียนตามเวลา 20.11 น. ตรงเป๊ะ ผมก็ลงทะเบียนไปทันที แต่เวลาผ่านไปก็ไม่มีคอมเม้นท์ของตัวเองขึ้นสักที ในขณะที่ของคนอื่นขึ้นมาเลยๆ จนเต็ม 30 ไปแล้ว ตอนนั้นก็คิดว่า คงไม่ได้ไปแล้ว แอบเสียดายนิดๆ คิดว่าคงเป็นการจัดงานของนักพัฒนาเฉพาะกลุ่มเท่านั้น จากนั้นไม่นานก็ได้รับอีเมลจากคุณ @imenn ว่าลงทะเบียนได้นะ เลยเข้ามาดูในหน้าลงทะเบียน ปรากฏว่าได้อันดับ 0 เพราะมันเต็ม 30 ไปแล้ว เห็นแล้วก็ฮาดี

กลับมาคิดว่าน่าจะเป็นเพราะตอนที่ผมลงทะเบียน เขียนคอมเม้นท์ซ้ำเดิมในเวลาใกล้กัน เพราะไม่เห็นคอมเม้นท์ตัวเองขึ้น pending เลยไม่แน่ใจว่ากด submit ไปหรือปล่าว ร่วมกับเน็ตมันห่วย ช้า ติดๆดับ จึงทำแบบนั้น แล้ว Akismet ตัวกรอง spam ของ WordPress มันก็ตรวจจับคอมเม้นท์จากผมเป็น spam เลยทำให้ ผู้ดูแลไม่เห็นคอมเม้นท์จากผม ในหน้าปกติของการจัดการคอมเม้นท์ทั่วไป อันนี้แสดงให้เห็นว่าระบบกรอง spam ของ WordPress มันสุดยอดมาก!

ต้องขอบคุณ คุณ @imenn ที่ช่วยตรวจสอบ และจัดอันดับการลงทะเบียนลำดับที่ 0 มาให้ คิดว่าน่าจะได้อะไรเยอะในงานนี้ครับ

แก้ปัญหา WordPress แสดงเนื้อหาได้ไม่เกิน 6,000 ตัวอักษร

ปัญหา WordPress แสดงเนื้อหาได้ไม่เกิน 6,000 ตัวอักษร เกิดกับบล็อกผมมานานแล้ว แต่พยายามเลี่ยงปัญหามากกว่าแก้ปัญหามานานเช่นกัน เพราะเข้าใจว่ามันเป็นข้อจำกัดของ WordPress เอง

ปัญหาที่ว่าคือ เมื่อเราเขียนบล็อกที่มีความยาวมากๆ(>6,000 ตัว) เนื้อหาจะไม่โชว์เลย แต่ข้อมูลไม่หายนะ แค่ไม่แสดงเนื้อหาหน้าเว็บ ผมเลี่ยงปัญหาด้วยการ ตัดเนื้อหาออกบ้าง หรือแยกเป็นตอนย่อย วันนี้เลยลองแก้ปัญหาดูว่ามันเกิดจากอะไรกันแน่ มาดู log file ของการแก้ปัญหานี้กัน บันทึกไว้เผื่อมีประโยชน์กับคนอื่น ได้เรียนรู้ระหว่างทางเยอะเหมือนกันนะ

ใครขี้เกียจอ่าน อยากรู้ว่าต้นเหตุเป็นเพราะอะไร เลือนไปอ่านข้อสุดท้ายได้เลย

  1. อันดับแรกลองตรวจดูว่า โพสที่มันไม่แสดงนั้นมีตัวอักษรอยู่เท่าไหร่ เครื่องมือตรวสอบที่ง่ายมากๆ และใกล้ตัวสุด คือ twitter นี้เอง เข้าไปก็อบปี้ code จาก หน้า html แล้วว่างใน ช่อง tweet แล้ว +140 ก็ได้จำนวนตัวอักษรที่แท้จริงแล้ว
    ใช้ twitter นับตัวอักษร

    ตอนนี้ก็พอรู้จำนวนตัวอักษรคร่าวๆแล้ว ว่าจำนวนเท่าไหร่ที่มันไม่แสดงผลหน้าเว็บ

  2. สันนิษฐานแรก database ไม่รองรับหรือปล่าว จึงเข้าไปดู data type ว่าเลือกใช้แบบไหน เมื่อเข้าไปดูพบว่า เป็นแบบ longtext ซึ่งเก็บข้อมูลได้ 4,294,967,295 ตัว Ref ดังนั้นตัดปัญหา database ไม่รองรับไปได้เลย มันเก็บได้อยู่แล้ว
  3. ข้อต่อมา ลองเอาโพสที่มีปัญหาดังกล่าว(เกิน 6,000 characters) ไปโพสบล็อกอื่นที่ใช้ WordPress เหมือนกัน ข้อนี้จะบอกเราได้ว่า มันเป็นปัญหาเฉพาะบล็อกเรา หรือที่อื่นๆก็เป็น จะบอกได้ว่าเป็นปัญหาที่ WordPress Core หรือ ส่วนเสริมอื่นๆ  ซึ่งได้ผลว่า ที่อื่น ไม่มีปัญหาดังกล่าว แสดงผลได้เป็นปกติ แสดงว่าบล็อกเราเองที่มีปัญหา
  4. ข้อสันนิษฐานต่อมา เป็นปัญหาที่ธีมที่เราเลือกใช้หรือปล่าว ทดลองเอาธีมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไปใช้ที่บล็อกอื่นแล้วดูโพสจากข้อ 3 ว่าแสดงผลได้ไหม พบว่าแสดงได้ปกติ แสดงว่าปัญหาไม่ใช่ธีม
  5. ข้อสันนิษฐานต่อมา ปัญหาอยู่ที่ ปลั๊กอินตัวไหนซักตัว เริ่มไล่ปิดดูทีละตัว และแล้วก็เจอมัน ตัวปัญหาคือ TweetMeme ปิดปุ๊บ content โผล่มาปั๊บเลย ส่วนเรื่องของเทคนิค ว่าทำไม? อันนี้ไม่รู้เหมือนกัน แต่ปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว
  6. แก้ปัญหาด้วยการ เลิกใช้ TweetMeme แล้วไปใช้ Tweet button ตัว Official ใช้ง่ายๆ แค่เอา code มาวางใน Single.php ในตำแหน่งที่ต้องการ

WordPress Cheat Sheet

WordPress cheat

เหมาะสำหรับคนที่คิดอยากเขียนธีม และอ่านโค้ดในธีม ของ WordPress สรุปไว้แค่แผ่นเดียว ที่ต้นฉบับของเว็บไซต์ ทำไว้ทั้ง JPG และ PDF แต่แบบ PDF ไฟล์เล็กว่าเลยเอามาให้โหลด อยากได้ท้้งสองเข้าไปเอาที่ลิงค์ที่มา

ดาวน์โหลด WordPress Cheat Sheet (PDF)

ที่มา: https://www.onextrapixel.com

WordPress Manual Update

WordPress

เรื่องนี้กะจะบันทึกไว้ตั้งนานแล้ว ลืมทุกทีไป

Server ที่รัน Auto update ของ WordPress ไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องทำมือ ขั้นตอนการทำไม่ยาก แต่มักลืม เป็นเหตุผลที่ต้องบันทึก

ขั้นตอนการอับเดต WordPress ด้วยตัวเอง
ผมทดลองทำแล้วไม่มีปัญหาอะไร แต่ใครกลัวมีปัญหา backup เว็บก่อนทำก็จะดียิ่ง ปลอดภัยไว้ก่อน

  1. ดาวน์โหลด latest WordPress เวอร์ชั่นล่าสุด แบบไฟล์ zip หรือ tar.gz มาไว้ที่เครื่องก่อน
  2. แตกไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาออก
  3. เข้าไปลบ 2 โฟว์เดอร์ wp-includes และ wp-admin ใน directory ของเว็บตัวเก่าทิ้ง ใครไม่อยากลบใช้การ rename เอาก็ได้ ส่วน WP-content อย่าลบ ไฟล์เนื้อหาต่างๆอยู่ไหนนี้ (backup ไว้ก่อนก็ได้)
  4. อับโหลดไฟล์ตัวใหม่ในโฟว์เดอร์ WordPress ทั้งหมดที่โหลดมาเข้าไปทับตัวเก่า ไม่ต้องห่วงว่า wp-config.php จะถูกทับ เพราะของใหม่มันไม่มีไฟล์ตัวนี้อยู่แล้ว
  5. เปิดดูไฟล์ wp-config-sample.php ว่ามี code ใหม่หรือปล่าว ถ้าไม่มีก็ใช้ของเก่าได้เลย ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงให้ไปใช้ตัวใหม่ แล้วใส่พารามิเตอร์ให้ถูก(host, user, pass )
  6. เปิดเข้า ../wp-admin มันจะมีลิงค์ เพื่อรัน update มาให้ก็กดซะ ถ้าไม่มีก็ใส่ url รันเองเลย  https://www.amphur.in.th(ที่อยู่ของเว็บ)/wp-admin/upgrade.php
  7. เสร็จเรียบร้อย

เอามาจากข้อแนะนำของ WordPress ลิงค์นี้ https://codex.wordpress.org/updating_wordPress

วิธีแก้ปัญหา server สำหรับ WordPress

ทำ server สำหรับ WordPress

วิธีแก้ปัญหา server  สำหรับ WordPress  ณ แห่งหนึ่ง เขียนบันทึกเตือนความจำไว้ หลายครั้งมักกลับมาเปิดอ่านทบทวนเมื่อจำเป็นต้องใช้ บอกไว้ก่อนว่าตัวเองไม่ใช่คนรู้เรื่อง Network อะไรเลยทำไปถาม Google ไป แก้ได้ก็ดีไป ไม่ได้ก็ค้นไปเรื่อยๆ ลองผิดถูกหลายอย่างกว่าปัญหาจะถูกแก้ไข

เครื่องต่ออินเทอร์เน็ตออกข้างนอกไม่ได้ FTP ไม่ได้ มีหลายเว็บอยู่ไหนนั้น ผมทำไปและจดสิ่งที่เกิดขึ้นและวิธีแก้ปัญหาไป แบบเจอปัญหาแล้วค้น แก้มาเรื่อยๆ

  1. เครื่องเป็น Windows Server 2003 รัน PHP4 และ MySQL 4 จึงต้องอัพเกรดใหม่
  2. เครื่องมันเล่นเน็ตไม่ได้ เมื่อเปิดเว็บของตัวเองมันจะไม่แสดงผล ทำให้งมอยู่ตั้งนาน วิธีแก้คือ สร้าง Visual ขึ้นมาใหม่ตั้งชื่อ server เป็น localhost แล้วชี้ไปที่เดียวกันกับ default website
  3. หลังลบ PHP4 ลง PHP5 ใหม่ เกิด error บอกตำแหน่ง code ไม่ถูก ให้แก้ doc_root= ใน php.ini เป็นไม่ต้องเติมอะไร แล้วเครื่องก็รันได้ปกติ
  4. ใช้ PHP แบบ isapi ไม่รู้พอทำแบบ cgi แล้วไม่ได้
  5. โค้ด phpinfo รันได้ แต่เกิด error ในหน้าเว็บ ให้ copy ไฟล์ libmysql.dll ตัวใหม่จากโฟว์เดอร์ PHP ไปวางไว้ที่ C:/WINDOWS/System32
  6. ทำ backup  database เป็นไฟล์ .sql เวลาเอาเข้า ก็สร้างชื่อให้ตรงตามเดิมแล้ว Query เข้าไปได้เลย เลือก Charset ให้ถูก(เว็บเก่ามักใช้ tis620)
  7. เว็บเก่าใช้ taq php แบบ short code อย่างลืมไปเปิด short_open_tag= On
  8. เครื่องที่เล่นเน็ตไม่ได้ หรือใช้ VPN เมื่อใช้ WordPress แทบจะทำอะไรไม่ได้เลย ลง plugin, themes, update core, backup, restore ไม่ได้สักอย่าง ทุกอย่างต้องทำมือหมด แย่จริงๆ
  9. วิธีย้าย ผมทำโดยการลง WordPress ที่เครื่องใหม่ เอา folder เว็บที่ทำเสร็จแล้วเข้าไปทับ(ไม่ทับ config.inc.php) drop database เอาอันที่ทำเสร็จเข้าไปแทนในชื่อเดิม เข้าไปแก้รายละเอียดในตาราง WP_Option แก้ URL ใน guide ให้เป็นอันใหม่

สรุปว่าตอนนี้รันได้แล้ว ทั้งเว็บเก่าเว็บใหม่ แต่เหมือนยังไม่สมบูรณ์ เพราะตัวไหนที่ใช้งาน API จากเว็บอื่น ทำงานไม่ได้เลย

เว็ปค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ รุ่นที่ 1

เว็ปค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ รุ่นที่ 1

เว็ปค่ายเยาวชนรู้งาน สืบสานพระราชดำริ รุ่นที่ 1 ของสำนักงาน กปร.

ไปช่วยเขาทำเว็บที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ วิธีการสมัคร มีการประกวด และให้รางวัลด้วย ใครสนใจก็เข้าไปดูได้

เว็บใช้เวลาทำไม่นานมากนัก ส่วนเนื่อหาให้เขาไปปรับแก้ไข และใส่เพิ่มเติมเอง ยังย้ายไปอยู่บน server ของ กปร. ไม่ได้เพราะ server ไม่รองรับ (เขาใช้ aspx) ต้องไป set up เองยังทำไม่สำเร็จ ตอนนี้มันเลยต้องรันอยู่บน subdomain ของบล็อกนี้ คือ https://camp.amphur.in.th หรือถ้าเข้าไปที่หน้าหลักของ https://www.rdpb.go.th/rdpb ยังแก้ปัญหาด้วยการลิงค์มาที่นี้

รายละเอียดของเว็ป

  • แน่นอนมันเป็น WordPress
  • ใช้ธีมของ Academica เป็นธีมฟรีที่เยี่ยมมาก เป็นธีมที่มี slide show มาในตัว และทำระบบเมนูมาดี จนทำให้เข้าใจระบบของ custom menu มากขึ้นว่ามันทำให้การจัดการเรื่องของเมนูง่ายขึ้นมาก และธีมรองรับ image background (WP3.0) มีปรับ CSS นิดหน่อย
  • เพิ่ม Social Plugin ของ Facebook เข้ามาด้วย
  • ใช้ Plugin ที่ชื่อ Mingle Forum ทำเว็บบอร์ด ง่ายและถูกใจ ปรับแต่งได้สะดวก
  • Fancybox ทำให้เวลาคลิกอัลบั้มรูปมันดูดีไฮโซขึ้นอีกเยอะเลย
  • Login-box เวลาคลิกล็อกอินจะแสดงกล่องขึ้นมากรอกเพื่อล็อกอิน ไม่ต้องโหลดหน้าใหม่
  • รูปที่อยู่ข้างในตัดต่อด้วย Pixlr เคยแนะนำไว้แล้วที่ Online Image Editor แต่งภาพออนไลน์ ไม่ต้องลงโปรแกรม ถือว่าใช้ในการทำงานจริงได้สบาย ไม่ต้องง้อ Photoshop

มาบันทึกเก็บไว้เผื่อครั้งหน้าอาจได้ย้อนมาดูว่าทำยังไงบ้าง

ได้เวลาเปลี่ยน Related Post with thumbnail

ผมเลือกใช้ LinkWithin ในการแสดงผลเรื่องที่เกี่ยวข้องท้ายบล็อก(Related Post) มาได้สักพักใหญ่ๆแล้ว ด้วยเหตุผลที่มันแสดงผลได้สวย ลงตัวกับบล็อกของเราพอดี แต่มันมีข้อเสียหลายอย่างที่ทำให้วันนี้ผมต้องเปลี่ยนไปใช้อีกตัวที่คิดว่าดีกว่า

หน้าตาของ Related Post ของ Linkwihtin

สิ่งที่ผมไม่ชอบใน LinkWithin คือ

  • แสดงเนื้อหาไม่เป็น related เอาซะเลย (ใครรู้วิธีตั้งให้มัน relates บอกด้วยนะครับ)
  • แก้ไขอะไรไม่ได้เลย โค้ดมันอยู่ที่เว็บหลักของมัน
  • เวลากดลิงค์จะไปที่เว็บมันก่อนแล้วค่อย redirect มาที่เว็บเรา (อาจจะดีที่เรารู้ว่ามีคนคลิกเท่าไหร่)

แต่ด้วยที่หาตัวอื่นที่ถูกใจมาแทนยังไม่ได้ จึงทนใช้มันเลยมา วันนี้สุดจะทนแล้ว เบื่อมันเต็มทนแล้ว(ช่วงนี้เป็นอะไรไม่รู้ทนอะไรไม่ค่อยได้) จึงลองค้นหาอีกที หาดีๆต้องมี Plugin ที่เราต้องการ หลังจากทดลองลงไป 3-4 ตัว รู้สึกว่า WP-Thumbie คือคำตอบของเรา มันทดแทนข้อเสียของ LinkWithin ได้หมด

Related Post โดย WP-Thumbie

สิ่งที่ผมชอบใน WP-Thumbie คือ

  • แสดงผลแบบ vertical หรือ horizontal ได้
  • มี thumbnail ให้เลือกขนาดได้อิสระ ใส่ตัวเลขได้เลยตามใจชอบ
  • ใส่เนื้อหาบางส่วนลงไปได้ (excerpt)
  • ปรับแต่งได้อิสระ style ถ้าไม่ชอบก็เข้าไปปรับเองได้
  • เลือก  related post แบบไหนก็ได้

LinkWithin หลายคนอาจจะถูกใจมันและยังใช้อยู่อันนี้แล้วแต่ความชอบครับ ส่วนตัวผมบอกลามาพึ่ง WP-Thumbie แล้วครับ

ติดตั้ง Fancybox ให้บล็อก

Fancybox Plugin for WordPress

Fancybox เป็นปลั๊กอินสำหรับ WordPress เมื่อติดตั้งแล้ว เวลาคลิกที่รูปจะแสดงเป็น Lightbox ของภาพใหญ่ขึ้นมา ถ้ามีหลายรูปจะคลิกเลื่อนได้เลย ลองคลิกที่ภาพดูจะรู้ว่ามันแสดงผลยังไง Plugin ประเภทนี้มีเยอะ แต่ที่ผมคิดว่าโอเคคือตัวนี้แหละ จะติดตั้งผ่าน search ในหน้าติดตั้ง Plugin หรือจะโหลดมาติดตั้งเองก็แล้วแต่จะชอบใจ หวังว่าจะชอบมันเหมือนผมนะครับ

Exit mobile version