WordPress Developer Night ครั้งที่ 2 มาแล้ว

WordPress Developer Night ครั้งที่ 2

WordPress Developer Night ครั้งที่ 2 มาแล้วครับ จะจัดในวันเสาร์ที่ 14 พ.ค. 2554 นี้ เวลา 13:00 น. – 19:00 น. ที่ CS Loxinfo ตึก Cyber World (ตรงข้ามโรบินสันรัชดา) ลงทะเบียน 6 พ.ค. เวลา 12:00 น. จำนวน 50 คน ใครสนใจต้องเตรียมลงทะเบียนไว้ครับ

ถ้าอยากรู้ว่ามันคืองานอะไรลองดู บันทึก WordPress WordPress Developer Night ครั้งที่ 1 จากครั้งแรกที่ได้เข้าร่วมรู้สึกว่าสนุกมาก ครั้งที่สองเลยคิดว่าจะเข้าร่วมงานด้วยครับ (ถ้าไม่มีเหตุสุดวิสัย) ตอนนี้เลย ลงปฎิทินสำหรับวันลงทะเบียน กับวันงานไว้แล้ว

ช่วงนี้ตัวเองก็มีโครงการจะทำธีมของ WordPress ไว้ใช้เอง รวมทั้งเอาไว้แจกด้วย ดูแล้วไม่น่ายากมากแต่ต้องใช้เวลา คิดว่าตอนเริ่มอาจจะต้องใช้เวลาพอควร พอได้อันแรกแล้วอันต่อๆไปคงจะทำได้เร็วขึ้น เผื่อว่าอนาคตอาจสามารถทำขายได้บ้าง

บันทึก WordPress Developer Night

WordPress Developer Night

เมื่อวันเสาร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้ไปงาน WordPress Developer Night ครั้งที่ 1 (แสดงว่าจะมีครั้งต่อไป) งานออกแนวสบายๆ คุยกัน ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น งานออกมาสนุก ได้ความรู้เปิดกว้างมากขึ้นเยอะเลย สำหรับผมคนที่ถือว่าเป็น User ไม่ใช่ Developer นับว่าได้รู้อะไรเพิ่มขึ้นเยอะเลย โดยเฉพาะช่วงของการพัฒนาธีม และปลั๊กอิน ขอบันทึกเป็นข้อๆตามที่จดจำได้

หัวข้อที่ 1. Web Design Business with WordPress โดย @ipattt
ดูบันทึก https://smallpad.org/wpdevnight-1

  • คุณ @ipattt เล่าประสบการณ์การใช้ WordPress ในการทำเว็บให้องค์กร เล่าถึงเว็บแบบไหนที่ใช้ WordPress แล้วงานออกมาดี ข้อดีข้อเสียของ CMS แต่ละตัว การคิดเงิน
  • BuddyPress อีกสายหนึ่งของ WordPress เน้นไปที่ Social Network ที่หลายคนบอกว่ามันไม่เวิร์ค เป็นจุดด้อยอีกอันหนึ่งของ WordPress ที่ไม่เหมาะสำหรับทำเว็บเน้นไปที่ Social Network ผมก็เคยเล่นเหมือนกัน ลักษณะของมันจะคล้ายๆกับเราใช้ WordPress.com มีบาร์ควบคุมการทำงานของสมาชิก ตัวอ้วนและไม่ค่อยมีการอัพเดตเลย
  • ผมถามเรื่องการใช้ WordPress ในองค์กรที่มีอินเตอร์อยู่ในระบบปิดบางส่วนใช้ VPN ในการใช้งาน เป็นปัญหาที่เจอกับตัวคือ ส่วนไหนของ WordPress ที่ต้องเชื่อมกับภายนอกจะทำงานไม่ได้เลย เช่นหน้า Plugin, Themes คำตอบของเรื่องนี้ คือเราต้องคุยกับฝ่ายไอทีขององค์กร ขอให้เปิดให้เว็บเราออกข้างนอกได้ หรือโน้มน้าวให้เขาใช้โฮสของข้างนอก
  • อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ ที่คิดว่าหลายๆคนคงเจอบ้าง คือ ในเมื่อ WordPress เป็น CMS ที่ให้ใช้ฟรี ทำไมองค์กรเขาจะต้องจ่ายเงินแพงๆให้เราผู้ทำเว็บให้ คำตอบจาก @imenn บอกว่า ถ้าตอบแบบดื้อๆหน่อย คือ WordPress ก็เหมือน ปากกา ดินสอ กระดาษ มันเป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง คุณจะต้องมีจิตกร(นักพัฒนาเว็บฯ) จึงจะได้รูปภาพที่สวยงามออกมาได้(แบบนี้ตรงใจผมนะ) แต่ถ้าจะตอบแบบดีๆหน่อยหนึ่ง ก็คือ อธิบายว่า WordPress มันฟรีก็จริง แต่จะใช้งานได้จริงๆนั้นจะมีหลายๆส่วนที่ยังต้องการคนพัฒนาให้มันทำงานได้ จะทำให้มันเหมาะสมกับความต้องการขององค์กรนั้นๆต้องมีคนพัฒนา
  • ราคาของการทำเว็บ ที่ทำด้วย WordPress คุณ @ipattt บอกว่า สูงขึ้นตามจำนวนกรรมการตรวจงาน ฮา!
  • Marketing ของการทำเว็บด้วย WordPress กับลูกค้า นำตัวอย่างของเว็บต่างๆให้เขาดูก่อน แล้วเลือกรูปแบบของเว็บที่ชอบ จะช่วยให้เรา ทำงานได้ง่ายขึ้นมาก

หัวข้อที่ 2. WordPress Showcase & Plugin @iannnnn
ดูบันทึก https://smallpad.org/wpdevnight-2

  • คนใช้ WordPress เยอะมาก จึงมีปลั๊กอินต่างๆให้เลือกใช้เยอะมากมาย คุณ @iannnnn เจอแล้วจะเก็บไว้ใน Delicious ที่เป็น bookmark ออนไลน์ ใครสนใจติดตามได้ที่ https://www.delicious.com/iannnnn/WordPress
  • ตัวปลั๊กอินที่ได้รับความนิยม หรือเรียกได้ว่าควรต้องมี คือ WP Super Cache, Akismet, WP-SpamFree, Google XML Sitemaps Generator, All in One SEO Pack, WP-PageNavi
  • ตัวที่ทำ comment ที่ @iannnnn แนะนำคือ DISQUS (ผมก็ใช้) มันเก็บข้อมูลสองที่เลยคือ ในเว็บของเรา และเว็บ DISQUS ด้วย และท่านอื่นๆก็แนะนำตัว Facebook Comment ด้วย ซึ่งเป็นการผลักภาระไปให้ Facebook แต่ก็น่าเสียดายที่มันไม่มีแจ้งเตือนเมื่อมีคนตอบ และไม่มีข้อมูลเก็บไว้ในเว็บเราเอง
  • อีกตัวที่หลายคนเห็นพร้อมต้องกันว่าเยี่ยมจริงคือ Contact Form 7 เป็นระบบติดต่อกับผู้ใช้ที่ประยุกต์ได้หลายแบบ แนบไฟล์ได้ด้วย fail.in.th ก็ใช้ตัวนี้ในการรับภาพจากคนทั่วไป
หัวข้อที่ 3 สัมภาษณ์ คุณ@ipeerapong คนไทยทำธีมขาย
บันทึก https://smallpad.org/wpdevnight-4
  • เป็นหัวข้อที่สร้างแรงบันดาลใจได้เยอะมาก คุณ@ipeerapong ขายธีม WordPress ผ่านทางเว็บต่างประเทศ ดูที่ https://themeforest.net/user/peerapong และที่ mojo ขึ้น feature seller ด้วย https://www.mojo-themes.com/user/peerapong/
  • ออกมาทำงานที่บ้านขายธีมเลี้ยงชีพอย่างเดียวได้ 5 เดือนแล้ว มีธีมอยู่ 23 ธีม
  • ผมลองคำนวณรายได้ของคุณ @ipeerapong จากตัวเลขล่าสุดใน theme forest ที่เดียว ขายไป ณ ตอนนี้ 5,211 ครั้ง ราคาเฉลี่ยประมาณ $30 ได้ส่วนแบ่ง 50-70% งั้นคิดเฉลี่ยประมาณ 60% ดังนั้นคิดเป็นเงิน (5,211 x 30) x 0.60 = $93,7 98 หรือ 2,813,940 บาท เขาทำธีมขายมาแล้ว 7 เดือน สรุปเฉลี่ยเดือนละ 401,991 บาท สุดยอดจริงๆ ทำงานที่บ้าน ได้เดือนละ 4 แสน
  • วันหนึ่ง ช่วงเช้าและช่วงเย็น เขาตอบอีเมลลูกค้าวันละประมาณ 100 ฉบับ ตอนกลางวันทำธีมใหม่ เขาใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ในการทำธีม 1 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม business, portiflio
  • น่าจะจุดประกายให้ใครหลายคนลุกขึ้นมานั่งเขียนธีมขายจริงๆจังๆได้

หัวข้อที่ 4. WordPress Theme Design โดย @imenn
บันทึก
https://smallpad.org/wpdevnight-3 สไลด์ประกอบการอธิบาย https://www.slideshare.net/iMenn

  • คุณ @imenn มาอธิบายส่วนประกอบของธีม WordPress ปกติเราใช้และพอรู้บ้างเล็กน้อยว่ามันมีอะไรบ้าง เคยอ่านวิธีทำมาบ้าง แต่พอได้ฟังการอธิบายของคุณเม่นแล้ว มันกระจ่างขึ้นเยอะเลย
  • ตัวที่เพิ่งรู้คือ template hierarchy ทำให้เข้าใจว่าแต่ละธีมทำไมมันมีไฟล์ที่แตกต่างกันได้ มีลำดับขั้นของการเรียกใช้ไฟล์ในธีมมันมีกฎอยู่นะ
  • ด้วยเวลาที่จำกัด ทำให้มีอีกหลายส่วนที่ยังไม่ได้พูด อยากฟังต่ออีก
  • คุณ @imenn มีโปรเจค ทำธีมกลางตัวหนึ่งขึ้นมาให้คนอื่นสามารถนำไปพัฒนาต่อได้ง่าย รออีกสักพักจะปล่อยออกมาให้โหลดกัน
  • ในงานคุณ @imenn นำเสนอด้วย Slide จะปล่อยออกมาให้โหลดเช่นกัน

หัวข้อที่ 5. WordPress Plugin Development การพัฒนาปลั๊กอินในเวิร์ดเพรส โดย @warong
บันทึก https://smallpad.org/wpdevnight-5

  • เพิ่งจะเข้าใจว่าปลั๊กอินจริงๆแล้ว มันคืออะไรเมื่อได้ฟังหัวข้อนี้
  • อันที่จริงเราใส่ code ลงไปในธีมได้เลยมันทำงานได้เช่นกัน แต่ถ้าจะให้คนอื่นใช้ด้วย เอาไปพัฒนาต่อได้ มันคือ Plugin
  • สามารถเชื่อมกับ WordPress ด้วย Hook (API)แบบ Actions หรือ Filters ต้องศึกษาการเรียกใช้งาน
  • รูปแบบการเก็บข้อมูลในปลั๊กอินมีอยู่ 3 แบบ คือเก็บไว้กับ Post, Option และแยกสร้าง database ต่างหาก เลือกดูว่าปลั๊กอินของเราควรใช้แบบไหน
  • มีคนถามว่าแบบไหนคุ้มกว่าระหว่างทำเป็นปลั๊กอิน กับเขียน functions ขึ้นมาใช้เองในเว็บ คำตอบคือ ถ้าเราเขียนเป็นปลั๊กอินมันจะสามารถเอาไปใช้กับเว็บอื่นๆได้ด้วย ซึ่งโอกาสที่เราจะสร้างเว็บที่มี request ใกล้เคียงกันนั้นมีแน่นอน เสียแรงครั้งเดียวใช้ได้หลายครั้ง ย่อมคุ้มกว่า

สรุปว่าเป็นงานที่สนุกมากครับ เป็นกันเอง อันที่จริงมีคุยกันเรื่องสถานที่เล็กไป ผมว่ากำลังดีเลย แต่เพิ่มเรื่องเก้าอี้อีกนิดหน่อย มีนั่งพื้นร่วมด้วยก็สบายดี คนเยอะห้องใหญ่ไป อาจจะคุยกันแบบโต้ตอบแบบนี้ไม่ได้

เรื่องที่ขอแชร์ Theme ที่ทำให้ WordPress สามารถเขียนเนื้อหาได้ตั้งแต่อยู่หน้าบ้าน ชื่อ P2 https://wordpress.org/extend/themes/p2 ลงแล้วหน้าตาประมาณนี้ครับ https://goo.gl/3fHns

เว็บที่ใช้เช็คว่าเว็บไซต์นั้นใช้ CMS อะไร และ Plugin อะไรบ้าง คือ เว็บ https://webmastercoffee.com แต่ลองดูพบว่ามันบอกได้แค่ว่าใช้ Plugin ที่เกี่ยวกับ SEO ตัวไหนบ้าง ตัวอื่นๆมันไม่เช็คให้ครับ มีอีกวิธีหนึ่งที่เขาทำกันตามที่มีการแนะนำในงาน คือ ดูว่าใน /wp-content/plugins/ มีโฟว์เดอร์อะไรอยู่บ้าง

พองานนี้จบลงไฟในใจลุกขึ้นมาอีกครั้ง อยากลองทำธีมเองบ้าง หลังจากคิดจะทำมาตั้งนานแล้วไม่เคยสำเร็จเลย

ขอขอบคุณ ทีมงานผู้จัดงานทุกท่านที่จัดงานดีๆขึ้นมาครับ

WordPress Developer Night

WordPress Developer Night

WordPress Developer Night ผมได้อ่านข่าวจาก https://thumbsup.in.th เมื่อวาน เห็นรูปแบบงานแล้ว น่าสนใจมาก เราก็ใช้ WordPress ทำเว็บเป็นหลัก เลยสนใจอยากเข้าร่วมงานเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดในการใช้งานและพัฒนากับท่านอื่นๆด้วย เขาเปิดลงทะเบียนวันนี้ (22 ม.ค.) เวลา 20.11 น. จำกัดคนแค่ 30 คน ส่วนวันงานจัดในวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 18:00 น. – 23:00 น. วันนั้นผมเลิกงานประมาณ 5 โมงเย็นคิดว่าไปทันแน่นอน เพราะที่ทำงานอยู่ใกล้แถวนั้นด้วย

จึงคิดจะไปร่วมงาน เลยตั้งให้ Google Calendar มันส่ง sms มาเตือนในเวลา 20.05 น. พอถึงเวลาจะได้ไม่ลืม เมื่อทางเว็บไซต์เปิดให้ลงทะเบียนตามเวลา 20.11 น. ตรงเป๊ะ ผมก็ลงทะเบียนไปทันที แต่เวลาผ่านไปก็ไม่มีคอมเม้นท์ของตัวเองขึ้นสักที ในขณะที่ของคนอื่นขึ้นมาเลยๆ จนเต็ม 30 ไปแล้ว ตอนนั้นก็คิดว่า คงไม่ได้ไปแล้ว แอบเสียดายนิดๆ คิดว่าคงเป็นการจัดงานของนักพัฒนาเฉพาะกลุ่มเท่านั้น จากนั้นไม่นานก็ได้รับอีเมลจากคุณ @imenn ว่าลงทะเบียนได้นะ เลยเข้ามาดูในหน้าลงทะเบียน ปรากฏว่าได้อันดับ 0 เพราะมันเต็ม 30 ไปแล้ว เห็นแล้วก็ฮาดี

กลับมาคิดว่าน่าจะเป็นเพราะตอนที่ผมลงทะเบียน เขียนคอมเม้นท์ซ้ำเดิมในเวลาใกล้กัน เพราะไม่เห็นคอมเม้นท์ตัวเองขึ้น pending เลยไม่แน่ใจว่ากด submit ไปหรือปล่าว ร่วมกับเน็ตมันห่วย ช้า ติดๆดับ จึงทำแบบนั้น แล้ว Akismet ตัวกรอง spam ของ WordPress มันก็ตรวจจับคอมเม้นท์จากผมเป็น spam เลยทำให้ ผู้ดูแลไม่เห็นคอมเม้นท์จากผม ในหน้าปกติของการจัดการคอมเม้นท์ทั่วไป อันนี้แสดงให้เห็นว่าระบบกรอง spam ของ WordPress มันสุดยอดมาก!

ต้องขอบคุณ คุณ @imenn ที่ช่วยตรวจสอบ และจัดอันดับการลงทะเบียนลำดับที่ 0 มาให้ คิดว่าน่าจะได้อะไรเยอะในงานนี้ครับ

Twitter LiveBlog Plugin เขียนบล็อกง่ายๆด้วย Twitter

Twitter LiveBlog

การเขียนบล็อกโดยการใช้การอับเดตจาก Twitter มีปลั๊กอินอยู่หลายตัว ตัวนี้เป็นหนึ่งในนั้นที่ลองใช้แล้วมันสะดวกดีครับ การทำ Liveblog มักจะเห็นในการรายงานข่าวสด ในงานแถลงข่าวต่างๆ ความสะดวกของปลั๊กอินตัวนี้คือ เราจะเริ่มเขียนได้โดยไม่ต้องเข้าบล็อกเลย ทั้งการโพสหัวข้อขึ้นมาใหม่ หรือปิดการ live ได้โดยใช้ Twitter ทั้งสิ้น

  1. Twitter Liveblog Plugin ดาวน์โหลดตามลิงค์ หรือจะติดตั้งผ่านทางหน้า admin ของ WordPress ก็ได้ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ก็ตั้งให้ปลั๊กอิน activate ให้พร้อมใช้งาน
  2. จากนั้นเข้าไป เมนู settings >>Twitter LiveBlog เพื่อตั้งค่าต่างๆของ Twitter Liveblog
    หน้า setting Twitter Liveblog

    ใส่ User Passward ของ account Twitter  แล้วจะจัดหมวดหมู่ของบล็อกได้ที่ไหนก็ตั้งค่าให้เรียบร้อยเพียงแค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อย เพียงแค่นี้ก็พร้อมใช้งานแล้วครับ

  3. วิธีการใช้งาน ถ้าต้องการเริ่มเขียนบล็อก ให้ทวีต  //NLB//ตามด้วยชื่อของโพสนั้น เช่น “//NLB// ทดสอบ Twitter Liveblog” ปลั๊กอินจะสร้างโพสชื่อ “ทดสอบ Twitter Liveblog” ขึ้นที่บล็อกของเรา และทวีตต่อๆไปจะเข้าไปอยู่โพสนี้ครับ
  4. เมื่อต้องการหยุดการ Live ก็ให้ทวีต //ELB// บล็อกนั้นก็จะหยุดเอาทวีตจาก Twitter มาแสดง

จำง่ายๆ //NLB// ย่อมาจากคำว่า New Live Blog เวลาจะจบ //ELB//ย่อมาจาก End Live Blog

ลองดูตัวอย่างที่ผมทดลองใช้ตอนที่ไปดูงานบอล ที่บล็อก Live Blog CUTUBall66
ถ้าใครเจอปัญหาเวลาของทวีตไม่ตรง ซึ่งผมก็เจอวิธีแก้ไข เข้าไป Edit ปลั๊กอิน แล้วค้นหาคำว่า $gmttime ให้แก้โค้ดจาก

function blog_time_from_gmt($gmttime)
{
return $gmttime + (get_option('gmt_offset') * 3600);
}
function gmt_from_blog_time($blogtime)
{
return $blogtime - (get_option('gmt_offset') * 3600);
}

เปลี่ยนเป็น

function blog_time_from_gmt($gmttime)
{
return $gmttime + (7 * 3600);
}
function gmt_from_blog_time($blogtime)
{
return $blogtime - (7 * 3600);
}

ดาวน์โหลดปลั๊กอิน Twitter Liveblog Plugin

ร่วมโหวต CMS AWARD ’09

CMS AWARD '09

CMS AWARD ’09 เปิดให้คนทั่วไปร่วมโหวดแล้ว รายนามผู้เข้ารอบมีดังนี้ครับ

Best Overall Open Source CMS

  • SilverStripe
  • MODx
  • DotNetNuke
  • XOOPS
  • WordPress

Most Promising Open Source CMS

  • Manhali
  • Pixie
  • Pligg
  • ImpressCMS
  • RedaxScript

Best Open Source PHP CMS

  • Joomla!
  • WordPress
  • MODx
  • Drupal
  • TYPOlight

Best Other Open Source Award

  • dotCMS
  • Plone
  • WebGUI
  • mojoPortal
  • DotNetNuke

เข้าไปโหวดได้แล้วที่ https://www.packtpub.com มีรางวัล ipod touch 2G ให้ได้ลุ้นด้วยครับ
หมดเขตโหวต วันที่ 30 ตุลาคม 2009 และจะประกาศผลวันที่ 9 พฤศจิกายน 2009

[via] softpedia.com

สถิติเปรียบเทียบกัน WordPress ในเดือนมิถุนายน แซง Joomla แล้ว

Google trend แสดงกระแสนิยมของ CMS ทั้ง 3 ตัว

การทำเว็บไซต์ยุคใหม่ที่เน้นกันที่เนื้อหามากขึ้น การใช้ CMS(Content Manament System)ในการทำเว็บไซต์จึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากงาน BarCampBangkok 3 ที่ ม.ศรีปทุม ที่ผ่านมามีการแข่งขัน showdown CMS ขึ้นตัวที่ได้รับความนิยมในไทยก็ได้แก่ joomla ,WordPress ,drupal ในงานมีการให้ข้อดี-ข้อเสีย ของ CMS ที่ตัวเองใช้อยู่มากมาย เลยอยากรู้ว่าใน Trend ของ CMS ของสามตัวนี้มีมาการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

หัวข้อแรกที่ดูคือ Trend ของทุกปีที่ผ่านมา มีการเก็บสถิติตั้งแต่ 2004-2009 ดังภาพข้างบน พบว่ากราฟของทุกตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ความชันของ WordPress ค่อนข้างที่จะชันกว่าตัวอื่นๆอยู่เล็กน้อย แต่เมื่อเทียบ Rank ด้วย WordPress แล้วได้ค่าดังนี้ คือ WordPress = 1, drupal =0.34, joomla =1.18 จะเห็นได้ว่าค่าของ joomla จะมากสุด ตัวที่น้อยสุดคือ drupal

แต่เมื่อดูจากกราฟแล้วดูเหมือนเริ่มจะมีการตัดกันของเส้นกราฟของ WordPress และ joomla แล้ว จึงทำการดูย้อนกับไปดูช่วง 3 เดือนล่าสุด
เดือนเมษายน

Google Trend CMS ของเดือนเมษายน 2009

เดือนพฤษภาคม

Google Trend CMS ของเดือนพฤษภาคม 2009

เดือนมิถุนายน

Google Trend CMS ของเดือนมิถุนายน 2009

เดือนเมษายน 2009         WordPress = 1 ,drupal =0.32 ,joomla =1.04
เดือนพฤษภาคม 2009     WordPress = 1 ,drupal =0.30 ,joomla =1.01
เดือนมิถุนายน 2009     WordPress = 1 ,drupal =0.30 ,joomla =0.98

เดือนมิถุนายน 2009 แม้ว่าข้อมูลของเดือนนี้ยังไม่สมบูรณ์แต่มีความเป็นไปได้สูงมากที่สิ้นเดือนนี้ Rank ของ WordPress ต้องสูงกว่า joomla อย่างแน่นอน

แต่ทั้งหมดนั้นเป็น Trend ของผู้ใช้ทั่วโลก เมื่อมาดู Trend ในประเทศจะเป็นอย่างไรนั้นดูได้ตามตารางข้างล่าง

Google trend แสดงกระแสนิยมของ CMS ทั้ง 3 ตัว ในประเทศไทย

แต่ในไทย CMS ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดยังคงเป็น joomla อยู่ WordPress ยังคงต้องตามหลังต่อไปครับ

ข้อมูลจาก https://www.Google.com/trends

อัปเกรด WordPress 2.7 เป็น 2.8 พร้อมรีวิว Hightlight

WordPress-upgrade

เมื่อวาน(11 มิ.ย. 52)มีการอับเดต WordPress เวอร์ชั่น 2.7 เป็น 2.8 วันนี้เลยอับเกรดบล็อกของตัวเอง ที่ใช้ 2.7 มาเป็น 2.8 วิธีอัปเกรดมีหลายวิธีสามารถดูได้ที่ WordPress.org ที่จริงการอัปเกรดง่ายมากแต่ก็อยากจะเขียนบันทึกไว้ สำหรับใครที่ใช้ WordPress ทำบล็อกอยู่แล้วเรื่องอับเกรดต่างๆของบล็อกที่ทำจาก WordPress ทำได้ง่ายมากถือได้ว่าเป็นอีกจุดแข็งหนึ่งที่ทำได้ดีกว่า CMS เจ้าอื่นๆ

เริ่มขั้นตอนการอับเกรด

  1. ทำการ back up ข้อมูลของบล็อกไว้ก่อนป้องกันอาจเกิดความผิดพลาดได้ ซึ่งก็มีให้เลือกหลายวิธี
  2. ล็อกอินเข้า admin > เครื่องมือ > อัปเกรด

    tools-WordPress

  3. เลือก อัปเกรดอัตโนมัติ

    update-WordPress

  4. รอสักพัก บางทีอาจจะขึ้น eror ได้ อาจเกิดจากมีปัญหาในช่วงของการดาวน์โหลด ไม่ต้องตกใจ ให้ทำขั้นตอน 2-3 ซ้ำ

    fail-update-WordPress

  5. ถ้าไม่เกิดความผิดพลาดอะไรก็อัปเกรดสำเร็จแล้วจะมีรายงานการอัปเกรด

    update-finish

  6. จากนั้นคลิก รีเฟรสบราวเซอร์ครั้งหนึ่ง WordPress จะถามรหัสเข้า admin panel อีกครั้ง
  7. เมื่อคลิกเข้าดูการอัปเกรด WordPress ก็จะเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้วครับ

    updated-WordPress

________________________________________________________________________

ยกตัวอย่างอันที่เป็น Highlights ของเวอร์ชั่น 2.8 มาบางตัวแล้วกันนะครับ

  1. drag-and-drop widgetsเคลื่อนย้าย admin interface ได้ตามใจ และมี widget API ใหม่

    drag-drop-WordPress

  2. มี Syntax highlighting (โค้ดมีสี)ใน plugin และ theme editors และมีให้ค้นหาว่าในนั้นมี function อะไรบ้าง
    การแก้ไขโค้ดต่างๆทำให้ง่ายขึ้นมากๆครับ เหมือนนั่งเขียนในโปรแกรม editor เลย
    editor-WordPress

  3. สามารถค้นหา theme พร้อมมีตัวกรอง และติดตั้งได้เลยในหน้า adminตัวกรองค้นหา themes
    theme-seacrh

    สามารถติดตั้ง หรือ ดูก่อนได้เลย

    fillter-theme

  4. การปรับปรุง widgets ใหม่ครั้งนี้ ถูกใจผมที่สุด ทำให้การจัดการ widgets ทำได้ง่ายมากครับ
    แยกชัดเจนอะไรใช้ไม่ใช้ และ slide ด้านขวาที่สามารถแสดงได้พร้อมกัน แต่ก่อนต้องมาคลิก
    ดูทีละอันจะย้ายทีลำบากมาก ตอนนี้สะดวกขึ้นมากครับ อันนี้ให้เต็ม
    news-wigets2

    แยกชัดเจนอันไหนใช้ไม่ใช้

    new-widgets

    slide bar แสดงได้พร้อมกันจัดการง่ายขึ้น

  5. สามารถโหลดหน้า admin ได้เร็วขึ้น

วีดีโอแนะนำ

เว็บไซต์ประมวลเหตุการณ์ช่วงสงกรานต์ ใช้ Drupal

เว็บรายงานเหตุการณ์ จลาจลเมื่อสงกรานต์

เว็บของรัฐบาลที่เราได้เห็นก่อนหน้านี้ใช้ WordPress ทำออกมาได้อย่างสวยงามนั้นก็คือ เว็บช่วยชาติ อีกเว็บหนึ่งที่ใช้ธีมเดียวกันในการจัดรูปแบบของเว็บ จากบล็อกของคุณพัชรบอกว่าอาจจะนำธีมนี้มาแจก ผมก็จะของรอลุ้นครับว่าแจกเมื่อไหร่ เว็บไซต์ของรัฐบาลตัวที่สองที่ออกมานี้ใช้ Drupal ในการทำซึ่งก็มี
หลายๆคนที่ชอบ cms ตัวนี้เยอะ blognone เว็บข่าวไอทีชื่อดังก็ใช้ตัวนี้ และคนที่ใช้ drupal คงไม่มีใครไม่รู้จัก @sugree ผู้เชี่ยวชาญ และได้ยินข่าวว่ากำลังทำคู่มือ drupal ร่วมกับ mk อยู่เราก็รอลุ้นอยู่ว่าเมื่อไหร่ จะคลอดสักที ในท้องตลาดคู่มือของ drupal มีแค่ไม่กี่เล่มยังไงก็คลอดออกมาไวไวนะครับ

กลับมาที่เว็บไซต์ที่เราสนใจอยู่คือ https://www.factreport.go.th ภายในเว็บมีภาพประมวลเหตุการณ์ ตั้งแต่เกิดเรื่องที่ พัทยาจนถึงสงกรานต์ มีทั้งคลิปวีดีโอให้ดูให้ดาวน์โหลด ผู้พัฒนาจากที่ได้อ่านจากบล็อกคุณพัชร ได้บอกว่าเป็นทีมงานของ Opendream ผมลอง search ใน Google ดูว่าน่าจะมีเว็บไซต์ของทีมงานนี้ก็เจอเว็บนี้ครับ Opendream ไม่ทราบว่าใช่หรือปล่าวถ้าผิดก็แจ้งด้วยนะครับมาอ่านคำชี้แจงของเว็บนี้ครับ

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นใน เขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัดจนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนได้รับบาดเจ็บ รวมถึงทรัพย์สินได้รับความเสียหาย ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องครบถ้วน และสร้างให้เกิดความเข้าใจต่อกรณีที่เกิดขึ้น

คณะรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรวบรวม และประมวลเหตุการณ์ ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2552 และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องขึ้น (คบช.) โดยมีเป้าหมายเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์เพื่อ นำไปประกอบการพิจารณาดำเนินการอันเป็นแนวทางให้ความช่วยเหลือเยียวยา ผู้ได้รับความเสียหายต่อไป

ดีมากครับเป็นการทำงานในเชิงรุกให้ข้อมูลก่อนที่จะคนถามแต่ข้อมูลที่ให้ก็ต้องเป็นข้อมูลที่จริงและตรวจสอบได้
ถ้าหากข้อมูลนั้น เกิดตรวจสอบแล้วเป็นเท็จ รัฐบาลก็คงต้องยอมรับครับว่าตัวเองให้ข้อมูลแบบนี้มา และปฎิเสธ
ไม่ได้ด้วยว่าไม่ได้บอกเพราะข้อมูลอยู่บนเว็บหมดแล้ว

Exit mobile version