ร่วมโหวต CMS AWARD ’09

CMS AWARD '09

CMS AWARD ’09 เปิดให้คนทั่วไปร่วมโหวดแล้ว รายนามผู้เข้ารอบมีดังนี้ครับ

Best Overall Open Source CMS

  • SilverStripe
  • MODx
  • DotNetNuke
  • XOOPS
  • WordPress

Most Promising Open Source CMS

  • Manhali
  • Pixie
  • Pligg
  • ImpressCMS
  • RedaxScript

Best Open Source PHP CMS

  • Joomla!
  • WordPress
  • MODx
  • Drupal
  • TYPOlight

Best Other Open Source Award

  • dotCMS
  • Plone
  • WebGUI
  • mojoPortal
  • DotNetNuke

เข้าไปโหวดได้แล้วที่ https://www.packtpub.com มีรางวัล ipod touch 2G ให้ได้ลุ้นด้วยครับ
หมดเขตโหวต วันที่ 30 ตุลาคม 2009 และจะประกาศผลวันที่ 9 พฤศจิกายน 2009

[via] softpedia.com

WordPress คอมเม้นต์ล็อกอินด้วย Facebook หรือ Twitter

คอมเม้นต์ล็อกอินด้วย Facebook หรือ Twitter

DISQUS Comment เป็นปลั๊กอินที่ผมทดลองใช้แล้วรู้สึกว่าชอบขึ้นมาทันที  ความสามารถของมันคือ ทำให้คนที่มี
account ของ facebook หรือ twitter สามารถล็อกอินเพื่อคอมเม้นต์ได้เลย เมื่อมีคนที่มาคอมเม้นต์ที่หลังก็สามารถ
ติดตาม หรือดูโปรไฟล์ของคนที่คอมเม้นต์ก่อนหน้าได้ง่าย แต่ถ้าหากใครไม่ต้องการล็อกอินด้วย facebook หรือ
twitter  ก็ยังคอมเม้นต์แบบธรรมดาได้ ยังคงดึง avatar มาได้ตามปกติ

เลือกคอมเม้นต์ล็อกอินด้วยอะไรบ้าง

สามารถติดตั้งโดยการโหลดปลั๊กอินจากเว็บหรือติดตั้งผ่านทาง Search ของ WordPress ก็ได้ หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว
ต้องทำการสมัครเพื่อใช้งาน DISQUS ด้วย  หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว เข้าไปที่เมนู Setting เพื่อเลือก Social ตัวไหน
อาจจะยุ่งยากนิดหนึ่งเรื่องการใช้ facebook connect เพราะต้องใส่ facebook connect API key เข้าไปด้วย
ดูรายละเอียดการใส่และหา key ส่วน twitter ไม่ยุ่งยากติ๊กเลือกก็เสร็จ

หลักจาก Setting เสร็จแล้วให้ทำการ Sync คอมเม้นต์เดิมที่อยู่ใน WordPress เข้าไปใน DISQUS โดยเข้าไปที่เมนู
Advanced Options >>Import comments into DISQUS คลิก import ถ้าหากการ import มีปัญหาให้ใช้วิธี
manual โดย export ไฟล์  XML ออกมาก่อนแล้วอับโหลดเข้าไปใน DISQUS ก็ได้เช่นกัน ดูราละเอียดที่ wiki

ส่วนหัวข้ออื่นต้องลองเล่นดูครับ wiki ของ DISQUS Comment ตามลิงค์นี้ https://wiki.disqus.net/

เพิ่มเติมอีกนิด คือถ้าคนที่คอมเม้นต์ล็อกอินด้วย twitter ถ้าเราจะตอบกับคอมเม้นนั้นก็มีติ๊กให้ tweet หา
คนนั้นได้ด้วยดีฮ่ะ

ทดสอบใช้งานได้ที่คอมเม้นต์ที่ผมใช้ข้างล่างครับ
สมัครสมาชิก และดาวน์โหลดปลั๊กอิน
https://disqus.com

สถิติเปรียบเทียบกัน WordPress ในเดือนมิถุนายน แซง Joomla แล้ว

Google trend แสดงกระแสนิยมของ CMS ทั้ง 3 ตัว

การทำเว็บไซต์ยุคใหม่ที่เน้นกันที่เนื้อหามากขึ้น การใช้ CMS(Content Manament System)ในการทำเว็บไซต์จึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากงาน BarCampBangkok 3 ที่ ม.ศรีปทุม ที่ผ่านมามีการแข่งขัน showdown CMS ขึ้นตัวที่ได้รับความนิยมในไทยก็ได้แก่ joomla ,WordPress ,drupal ในงานมีการให้ข้อดี-ข้อเสีย ของ CMS ที่ตัวเองใช้อยู่มากมาย เลยอยากรู้ว่าใน Trend ของ CMS ของสามตัวนี้มีมาการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

หัวข้อแรกที่ดูคือ Trend ของทุกปีที่ผ่านมา มีการเก็บสถิติตั้งแต่ 2004-2009 ดังภาพข้างบน พบว่ากราฟของทุกตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ความชันของ WordPress ค่อนข้างที่จะชันกว่าตัวอื่นๆอยู่เล็กน้อย แต่เมื่อเทียบ Rank ด้วย WordPress แล้วได้ค่าดังนี้ คือ WordPress = 1, drupal =0.34, joomla =1.18 จะเห็นได้ว่าค่าของ joomla จะมากสุด ตัวที่น้อยสุดคือ drupal

แต่เมื่อดูจากกราฟแล้วดูเหมือนเริ่มจะมีการตัดกันของเส้นกราฟของ WordPress และ joomla แล้ว จึงทำการดูย้อนกับไปดูช่วง 3 เดือนล่าสุด
เดือนเมษายน

Google Trend CMS ของเดือนเมษายน 2009

เดือนพฤษภาคม

Google Trend CMS ของเดือนพฤษภาคม 2009

เดือนมิถุนายน

Google Trend CMS ของเดือนมิถุนายน 2009

เดือนเมษายน 2009         WordPress = 1 ,drupal =0.32 ,joomla =1.04
เดือนพฤษภาคม 2009     WordPress = 1 ,drupal =0.30 ,joomla =1.01
เดือนมิถุนายน 2009     WordPress = 1 ,drupal =0.30 ,joomla =0.98

เดือนมิถุนายน 2009 แม้ว่าข้อมูลของเดือนนี้ยังไม่สมบูรณ์แต่มีความเป็นไปได้สูงมากที่สิ้นเดือนนี้ Rank ของ WordPress ต้องสูงกว่า joomla อย่างแน่นอน

แต่ทั้งหมดนั้นเป็น Trend ของผู้ใช้ทั่วโลก เมื่อมาดู Trend ในประเทศจะเป็นอย่างไรนั้นดูได้ตามตารางข้างล่าง

Google trend แสดงกระแสนิยมของ CMS ทั้ง 3 ตัว ในประเทศไทย

แต่ในไทย CMS ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดยังคงเป็น joomla อยู่ WordPress ยังคงต้องตามหลังต่อไปครับ

ข้อมูลจาก https://www.Google.com/trends

อัปเกรด WordPress 2.7 เป็น 2.8 พร้อมรีวิว Hightlight

WordPress-upgrade

เมื่อวาน(11 มิ.ย. 52)มีการอับเดต WordPress เวอร์ชั่น 2.7 เป็น 2.8 วันนี้เลยอับเกรดบล็อกของตัวเอง ที่ใช้ 2.7 มาเป็น 2.8 วิธีอัปเกรดมีหลายวิธีสามารถดูได้ที่ WordPress.org ที่จริงการอัปเกรดง่ายมากแต่ก็อยากจะเขียนบันทึกไว้ สำหรับใครที่ใช้ WordPress ทำบล็อกอยู่แล้วเรื่องอับเกรดต่างๆของบล็อกที่ทำจาก WordPress ทำได้ง่ายมากถือได้ว่าเป็นอีกจุดแข็งหนึ่งที่ทำได้ดีกว่า CMS เจ้าอื่นๆ

เริ่มขั้นตอนการอับเกรด

  1. ทำการ back up ข้อมูลของบล็อกไว้ก่อนป้องกันอาจเกิดความผิดพลาดได้ ซึ่งก็มีให้เลือกหลายวิธี
  2. ล็อกอินเข้า admin > เครื่องมือ > อัปเกรด

    tools-WordPress

  3. เลือก อัปเกรดอัตโนมัติ

    update-WordPress

  4. รอสักพัก บางทีอาจจะขึ้น eror ได้ อาจเกิดจากมีปัญหาในช่วงของการดาวน์โหลด ไม่ต้องตกใจ ให้ทำขั้นตอน 2-3 ซ้ำ

    fail-update-WordPress

  5. ถ้าไม่เกิดความผิดพลาดอะไรก็อัปเกรดสำเร็จแล้วจะมีรายงานการอัปเกรด

    update-finish

  6. จากนั้นคลิก รีเฟรสบราวเซอร์ครั้งหนึ่ง WordPress จะถามรหัสเข้า admin panel อีกครั้ง
  7. เมื่อคลิกเข้าดูการอัปเกรด WordPress ก็จะเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดแล้วครับ

    updated-WordPress

________________________________________________________________________

ยกตัวอย่างอันที่เป็น Highlights ของเวอร์ชั่น 2.8 มาบางตัวแล้วกันนะครับ

  1. drag-and-drop widgetsเคลื่อนย้าย admin interface ได้ตามใจ และมี widget API ใหม่

    drag-drop-WordPress

  2. มี Syntax highlighting (โค้ดมีสี)ใน plugin และ theme editors และมีให้ค้นหาว่าในนั้นมี function อะไรบ้าง
    การแก้ไขโค้ดต่างๆทำให้ง่ายขึ้นมากๆครับ เหมือนนั่งเขียนในโปรแกรม editor เลย
    editor-WordPress

  3. สามารถค้นหา theme พร้อมมีตัวกรอง และติดตั้งได้เลยในหน้า adminตัวกรองค้นหา themes
    theme-seacrh

    สามารถติดตั้ง หรือ ดูก่อนได้เลย

    fillter-theme

  4. การปรับปรุง widgets ใหม่ครั้งนี้ ถูกใจผมที่สุด ทำให้การจัดการ widgets ทำได้ง่ายมากครับ
    แยกชัดเจนอะไรใช้ไม่ใช้ และ slide ด้านขวาที่สามารถแสดงได้พร้อมกัน แต่ก่อนต้องมาคลิก
    ดูทีละอันจะย้ายทีลำบากมาก ตอนนี้สะดวกขึ้นมากครับ อันนี้ให้เต็ม
    news-wigets2

    แยกชัดเจนอันไหนใช้ไม่ใช้

    new-widgets

    slide bar แสดงได้พร้อมกันจัดการง่ายขึ้น

  5. สามารถโหลดหน้า admin ได้เร็วขึ้น

วีดีโอแนะนำ

Biomedical Engineering Center Labs on Google Maps


ดู Biomedical Engineering Center Labs ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

ลองเอา Google Maps มาใส่ในบล็อกดูไม่รู้จะเอาที่ไหนงั้นก็เลยเอาตรงที่ตัวเองอยู่ตอนนี้เลยแล้วกัน Biomedical Engineering Center Labs เป็นห้องรวมพบกันทำกิจกรรมเรียน ตลอดจนการทำ Labs ของนิสิตหลักสูตร Biomedical Engineering ทุกๆคนเหมือนเป็นห้องอเนกประสงค์ วิธีการนำ Maps มาใส่นั้นง่ายมากๆ แค่เราเข้าไปที่ Google Maps แล้วค้นหาที่อยู่ของเราว่าอยู่ไหนจากนั้นก็ปักหมุดเอาไว้ จากนั้นคลิกตรงตำแหน่ง Link ตามภาพ

Google-maps-code

copy เอาโค้ดภายในมาวางที่ html page ใน WordPress เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

WordPress backup and restore ไม่ต้องมี plugin

WordPress-backup

บล็อกผมในตอนแรกตัว WordPress จะอยู่ที่ folder ชื่อ 2009 ทำให้เวลาเข้าเว็บไซต์ www.amphur.in.th ผมต้องทำ redirect ไปที่ 2009 เว็บไซต์ก็จะเป็นแบบนี้ www.amphur.in.th/2009 ตอนแรกที่ทำแบบนี้ ก็คิดว่าถ้าเราทำ folder ไว้คงทำให้บริหารจัดการง่ายแต่พอใช้ไปรู้สึกว่าไม่สะดวกแล้ว และไม่เป็นผลดีกับการทำ seo ด้วย จึงต้องการเอา WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก ขั้นตอนในการทำง่ายมากครับ ไม่ต้องลง WordPress plugin แต่อย่างใดเพราะ WordPress มีเครื่องที่จะช่วยให้เราทำการ

backup และ restore ได้เลย เริ่มขั้นตอนการทำเลยแล้วกัน

  1. login เข้าไปใช้งานใน WordPress admin คลิกที่เมนูซ้ายมือในหัวข้อ “เครื่องมือ”
  2. เลือกหัวข้อ “นำออก” ดังรูป

    WordPress-tools

  3. ในหน้าจะแสดงข้อความอธิบายการนำออกดังนี้

    เมื่อคุณกดปุ่มด้านล่าง เวิร์ดเพรสจะสร้าง ไฟล์ XML file สำหรับบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ รูปแบบนี้ เราเรียกว่า เวิร์ดเพรส eXtended RSS หรือ WXR ซึ่งในนั้นจะประกอบไปด้วย เรื่อง, หน้า, ความเห็น, custom fields, หมวดหมู่และป้ายกำกับ เมื่อคุณบันทึกไฟล์ดาวน์โหลดแล้ว คุณสามารถใช้คำสั่งนำเข้าในบล็อกเวิร์ดเพรสอื่นเพื่อนำเข้าบล็อกนี้

  4. ทางเลือกให้เลือก “ผู้เขียนทั้งหมด” เสร็จแล้วคลิก ดาวน์โหลด เราจะได้ไฟล์ backup ชื่อ WordPress.ปี-เดือน-วัน.xml
  5. จากนั้นผมก็ copy ไฟล์ของ WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก แล้วก็ลบไฟล์ในนั้นทิ้ง
  6. เข้าไปที่ phpmyadmin ของเราทำการ backup database ไว้ก่อนเผื่อเกิดอุบัติเหตุเมื่อ backup เสร็จแล้ว drop ตารางทิ้งเลยครับ
  7. เข้าไปที่ root directory ของเว็บเราลบไฟล์ wp-config.php อันเก่าทิ้งไป และอับไฟล์ wp-settings.php ไปแทนทำเหมือนจะติดตั้งใหม่ จากนั้นก็เข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา www.amphur.in.th รันติดตั้ง WordPress ตามปกติ
  8. เมื่อติดตั้งเสร็จเล้วเข้าไปที่การ “นำเข้า” ตามขั้นตอนที่ 2
  9. เลือกหัวข้อ WordPressดังรูป

    WordPress-restore

  10. คลิก browse ไปที่ไฟล์ที่เราทำไว้ในขั้นตอนที่ 4 ที่เราเรียกว่าไฟล์ WXR เสร็จแล้วคลิกอับโหลด
  11. เข้าไปตรวจสอบเนื้อหา ต้องแก้ที่อยู่ของไฟล์ภาพ และ plugin จะใช้ไม่ได้(ลบออกลงใหม่)

ข้อดี วิธีนี้อาจจะไม่ดีแต่เป็นวิธีที่ผมทดลองใช้รู้สึกว่าเร็วดี อาจจะมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้แต่ผมไม่รู้เลยต้องใช้วิธีนี้
ข้อเสีย plugin อันเก่าที่ติดตั้งไว้ใช้งานไม่ได้ และ widget ก็หายด้วย

เว็บไซต์ประมวลเหตุการณ์ช่วงสงกรานต์ ใช้ Drupal

เว็บรายงานเหตุการณ์ จลาจลเมื่อสงกรานต์

เว็บของรัฐบาลที่เราได้เห็นก่อนหน้านี้ใช้ WordPress ทำออกมาได้อย่างสวยงามนั้นก็คือ เว็บช่วยชาติ อีกเว็บหนึ่งที่ใช้ธีมเดียวกันในการจัดรูปแบบของเว็บ จากบล็อกของคุณพัชรบอกว่าอาจจะนำธีมนี้มาแจก ผมก็จะของรอลุ้นครับว่าแจกเมื่อไหร่ เว็บไซต์ของรัฐบาลตัวที่สองที่ออกมานี้ใช้ Drupal ในการทำซึ่งก็มี
หลายๆคนที่ชอบ cms ตัวนี้เยอะ blognone เว็บข่าวไอทีชื่อดังก็ใช้ตัวนี้ และคนที่ใช้ drupal คงไม่มีใครไม่รู้จัก @sugree ผู้เชี่ยวชาญ และได้ยินข่าวว่ากำลังทำคู่มือ drupal ร่วมกับ mk อยู่เราก็รอลุ้นอยู่ว่าเมื่อไหร่ จะคลอดสักที ในท้องตลาดคู่มือของ drupal มีแค่ไม่กี่เล่มยังไงก็คลอดออกมาไวไวนะครับ

กลับมาที่เว็บไซต์ที่เราสนใจอยู่คือ https://www.factreport.go.th ภายในเว็บมีภาพประมวลเหตุการณ์ ตั้งแต่เกิดเรื่องที่ พัทยาจนถึงสงกรานต์ มีทั้งคลิปวีดีโอให้ดูให้ดาวน์โหลด ผู้พัฒนาจากที่ได้อ่านจากบล็อกคุณพัชร ได้บอกว่าเป็นทีมงานของ Opendream ผมลอง search ใน Google ดูว่าน่าจะมีเว็บไซต์ของทีมงานนี้ก็เจอเว็บนี้ครับ Opendream ไม่ทราบว่าใช่หรือปล่าวถ้าผิดก็แจ้งด้วยนะครับมาอ่านคำชี้แจงของเว็บนี้ครับ

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นใน เขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัดจนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนได้รับบาดเจ็บ รวมถึงทรัพย์สินได้รับความเสียหาย ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องครบถ้วน และสร้างให้เกิดความเข้าใจต่อกรณีที่เกิดขึ้น

คณะรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรวบรวม และประมวลเหตุการณ์ ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2552 และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องขึ้น (คบช.) โดยมีเป้าหมายเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์เพื่อ นำไปประกอบการพิจารณาดำเนินการอันเป็นแนวทางให้ความช่วยเหลือเยียวยา ผู้ได้รับความเสียหายต่อไป

ดีมากครับเป็นการทำงานในเชิงรุกให้ข้อมูลก่อนที่จะคนถามแต่ข้อมูลที่ให้ก็ต้องเป็นข้อมูลที่จริงและตรวจสอบได้
ถ้าหากข้อมูลนั้น เกิดตรวจสอบแล้วเป็นเท็จ รัฐบาลก็คงต้องยอมรับครับว่าตัวเองให้ข้อมูลแบบนี้มา และปฎิเสธ
ไม่ได้ด้วยว่าไม่ได้บอกเพราะข้อมูลอยู่บนเว็บหมดแล้ว

เว็บไซต์ช่วยชาติ พัฒนาจาก WordPress

เว็บไซต์ช่วยชาติ

ช่วยชาติ.com หรือ chuaichart.com

ได้ดูข่าวจาก blognone เรื่องเว็บไซต์การชี้แจ้งการทำงานของรัฐบาล และรับข้อคิดเห็นของประชาชน ใช้ WordPress ทำซะด้วยและอีกอย่าง คือใช้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons แสดงที่มา 3.0 ใครจะนำข้อมูลไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาติแค่แสดงที่มาของข้อมูล และไม่ใช้ในทางพาณิชย์ ดูเทคนิคการทำงานการพัฒนาเว็บไซต์ได้ที่ เว็บไซต์ของคุณ พัชร และ กลุ่มไทเกอร์ไอเดีย ตามลิงค์

เนื้อหาภายในลองคลิกๆดูแล้ว เนื้อหาค่อนข้างละเอียดครับว่ารัฐบาลมีโครงการอะไรบ้าง แม้กระทั้งเอกสาร โครงการต่างๆก็จะสามารถดูได้ตัวอย่างโครงการ ต้นกล้าอาชีพ เป็นต้นเรื่องการดีไซด์สวยงามมากครับได้เต็มสิบไปเลยครับ รายละเอียดของ proposal ของเว็บไซต์นี้ก็มีการเปิดเผยว่ามีขั้นตอนการทำยังไงบ้าง
งบประมาณเท่าไหร่

แต่ที่ติดใจนิดหนึ่งน่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของเว็บไซต์ ที่ใช้ WordPress ที่เป็น open source ที่ใครๆก็รู้ code โอกาสที่จะถูกโจมตีอาจทำได้ง่าย แต่ถ้ามองอีกทางคือเว็บไซต์ไม่ได้เป็นเว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาที่สำคัญถึงขั้นเป็นอันตรายต่อความมั่นคง หรือกระทบต่อความปลอดภัยมากหนัก หากถูกโจมตีก็คงแค่แบคอับกลับมาแต่แนวคิดการทำงานแบบโปร่งใสของรัฐบาลที่จะให้ประชาชนสามารถติดตามการทำงานของรัฐบาลได้อย่างต่อเนื่องและเขาถึงได้ง่าย ถือว่าแนวคิดนี้ ดีเยี่ยมเลยครับ ขอสนับสนุนโครงการนี้ครับ


Exit mobile version