มาอ่านวรรณกรรมคลาสสิคกันเถอะ

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาหนังสือที่อ่านจะอยู่ในหมวด non-fiction เป็นส่วนใหญ่ ถ้าจะเจาะจงคงเป็นหนังสือ pop-sci เป็นหลัก อาจจะเพราะมันอ่านเข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา และเข้ากับคลังความรู้พื้นฐานที่มี ทำให้มันไปได้ง่ายและเร็ว หมวดอื่น ๆ มักจะได้รับความสนใจน้อยมาก

แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้อ่านเจอบทความที่บอกว่า เราควรอ่านหนังสือให้หลากหลายแนว หนังสือก็เหมือนอาหาร ที่ต้องทานให้หลากหลายและครบถ้วน

หมวดแรกที่ถูกเลือกหยิบมาก่อนคือ นิยายและวรรณกรรมคลาสสิก

ช่วงที่ผ่านมาจึงได้ตั้งใจว่าจะลองอ่านหนังสือหมวดวรรณกรรมคลาสสิคให้มากขึ้น ลองค้นดูตามลิสต์ที่เขาแนะนำตามเว็บไซต์ (100 must-read classic books) มีให้เลือกหลากหลายมาก แต่ก็จะมีซ้ำ ๆ กันอยู่บางส่วน จึงเลือกจากตรงนั้น รวมกับความสนใจส่วนตัวไปด้วย

Classic Literature Books

นี้คือหนังสือหมวดวรรณกรรมคลาสสิคที่ได้อ่านไปแล้วบางส่วนในช่วงที่ผ่านมา

-To Kill a Mockingbird
-The Handmaid’s Tale
-Fahrenheit 451
-Frankenstein
-Dune
-The Time Machine
-The War of the Worlds
-The Invisible Man
-The Island of Dr. Moreau
-The Alchemist
-The Giver
-Animal farm
-The Little Prince
-Alice’s Adventures in Wonderland

สิ่งที่ได้หลังจากอ่านหนังสือวรรณกรรมคลาสสิคเท่าที่ผ่านมาจากรายการด้านบน อันดับแรกเลยคือ มันสนุก น่าติดตาม เกินกว่าที่คิดไว้เยอะเลย เนื้อหาหนักบ้างเบาบ้างแล้วแต่เล่ม แต่แนวคิดและสิ่งที่จะสื่อค่อนข้างแข็งแรง ตามแนวทางของผู้เขียน ไร้กาลเวลาดูไม่เก่าเลย ทั้ง ๆ ที่บางเล่มตีพิมพ์ครั้งแรก 200 กว่าปีแล้ว (Frankenstein, 1818) แทบไม่มีเล่มไหนเลยที่ทำให้ผิดหวัง รู้สึกคุ้มค่าที่ได้อ่าน และได้อะไรกลับมาให้คิดต่อทุกเล่ม สมควรแล้วที่ถูกยกให้เป็นคลาสสิค

มีหลายเล่มที่มีบทวิเคราะห์ลึกระดับวิทยานิพนธ์ (To Kill a Mockingbird, The Handmaid’s Tale, Fahrenheit 451, etc.) ให้ได้ตามอ่านเพิ่มเติม มันดีถึงกับมั่นใจที่จะแนะนำต่อให้คนอื่น ๆ ได้อ่านด้วย แต่มีบ้างในบางเล่มที่ภาษาที่ใช้ไม่คุ้นเคยเลย (To Kill a Mockingbird) ต้องค้นหาความหมายบ่อยครั้งในช่วงแรกของเล่ม แต่ก็ถือว่าได้คลังคำศัพท์เพิ่มขึ้นมา

คิดว่าในช่วงของปีนี้ก็จะยังอ่านกลุ่มนี้ไปเรื่อย ๆ ก่อน
นอกจากนี้ ได้ลองอ่านแนว Poetry ไปบ้างนิดหน่อย พบว่าเปิดโลกดีทีเดียว หลังจากนี้ก็คิดว่าจะหยิบมาอ่านเพิ่มด้วยเช่นกัน

ใครมีหนังสือแนววรรณกรรมคลาสสิคเล่มไหนดีๆ อยากบอกต่อ แนะนำด้วยนะครับ เรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับหนังสือ

หนังสือแนะนำให้อ่าน โดย CEO ระดับโลก

ผมว่าบางครั้งหลายๆคนน่าจะเป็นเหมือนกันว่าอยากเดินไปร้านหนังสือ แล้วก็ค่อยๆเดินดูตามชั้นหนังสือหมวดต่างๆ เปิดดูเนื้อหาข้างในสักหน้าสองหน้า แล้วค่อยเลือกซื้อ นี่คือหนึ่งในวิธีการหาหนังสือสักเล่มของผม แต่สมัยนี้การซื้อออนไลน์มันสะดวกมาก และถึงแม้ว่าการออกไปเดินในร้านหนังสือมันจะเพลิดเพลินเพียงใด เราก็คงทำบ่อยๆไม่ได้

พวกคำนิยมที่อยู่หน้าแรกๆของหนังสือนั้น ผมแทบจะไม่สนใจเลย หรือบางทีก็ไม่ได้อ่านด้วยซ้ำ บางทีมันอดคิดไม่ได้ว่า คนที่เขียนคำนิยมเหล่านั้นได้อ่านหนังสือเล่มนั้นจริงๆไหม รีวิวจากคนทั่วไปที่ไม่ได้ส่วนได้ส่วนเสียจากหนังสือเล่มนั้นเลยน่าเชื่อถือมากกว่า

ผมมีวิธีเลือกอ่านหนังสือแบบนี้ครับ (บางทีก็แค่อยากซื้อมาเก็บเฉย) ซึ่งก็พอจะสรุปเป็นข้อๆได้ประมาณนี้ครับ

  • หนังสือที่ถูกกล่าวถึงหรือถูกอ้างอิงในหนังสืออีกเล่มที่เคยอ่าน ทำให้หนังสือแต่ละเล่มมักจะมีการเชื่อมโยงถึงกัน ยกตัวอย่างเช่น เราอ่านหนังสือประวัติของ Isaac Newton ในหนังสือบอกว่า The Principia คือ ผลงานปฎิวัติวงการของเขา หนังสือที่เราอยากอ่านเล่มต่อไปย่อมเป็น The Principia หรือไม่ก็หนังสือที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับ The Principia (แค่ยกตัวอย่างนะครับ มิอาจเอื้อม แต่ก็อยากซื้อมาประดับชั้นหนังสือนะ)
  • ผลงานของนักเขียนคนเดิม บ่อยครั้งที่จะดูว่านอกจากเล่มที่กำลังอ่านอยู่นั้น มีผลงานอื่นอะไรอีกที่น่าสนใจ เช่น เราอ่าน Surely You’re Joking, Mr. Feynman! เป็นไปได้หรือที่จะไม่ตามอ่าน What Do You Care What Other People Think?
  • ในเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Goodread, Time, Nature, Wired, etc. ก็มักจะมีลิสต์หนังสือแนะนำให้เลือกติดตาม ในช่วงหลังๆที่ไม่รู้ว่าจะหาหนังสืออะไรมาอ่าน ช่องทางนี้ถูกเลือกใช้บ่อยๆ

นอกจากนี้ คนดัง ผู้มีอิทธิพลของโลก มหาเศรษฐี CEO หรือคนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอัจฉริยะในด้านต่างๆ ก็มักจะมีหนังสือแนะนำกันทั้งนั้น ปีที่แล้ว Mark Zuckerberg ก็ลิสต์หนังสือที่เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 2 สัปดาห์ สุดท้ายได้ออกมา 23 เล่ม Ayearofbooks.net

แต่ถ้าอยากรู้ว่า CEO แต่ละคน เช่น Mark Zuckerberg, Sam Altman, Bill Gates, Larry Page, Elon Musk, etc. มีลิสต์หนังสือแนะนำอะไรบ้าง เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์นี้ Bookicious.com

Book Collections Bookicious

ใน Bookicious จะเป็นการแนะนำหนังสือแบบรวบร่วมจากสื่อต่างๆ ที่ CEO แต่คนเคยบอกไว้ หรือเคยในสัมภาษณ์ไว้ ทำให้เราง่ายที่จะติดตามหนังสือตามบุคคลที่เราสนใจ หนังสือบางเล่มก็ได้รับการแนะนำจากหลายคน เช่น Sapiens by Yuval Noah Harari, The Innovator’s Dilemma by Clayton M. Christensen เป็นต้น ถ้าหลายคนแนะนำ แสดงว่าหนังสือเล่มนั้นก็น่าจะได้รับการการันตีในระดับหนึ่งว่าต้องดีแน่ๆ

แต่คนที่อยากพูดถึงเป็นพิเศษ นั้นคือ Bill Gates ดูจะเป็นคนที่จริงจังกับการอ่านมากที่สุด เขามีบล็อกที่เขียนรีวิวถึงหนังสือที่เขาอ่านอย่างสม่ำเสมอ บางครั้งก็ทำออกมาเป็นลิสต์ให้ได้ตามอ่านกันเลย และหนังสือก็มีหลากหลายแนว จึงขอแนะนำสำหรับคนที่คิดอะไรไม่ออก และกำลังตามหาลิสต์หนังสือน่าอ่านครับ

ตามไปดูหนังสือของ Bill Gates ได้ที่ Gatesnotes.com

Book reviews by Bill Gates

เคยอ่านคำแนะนำของคนที่อ่านหนังสือเก่งๆว่า ถ้าหนังสือเล่มไหนที่เราอ่านแล้วไม่สนุก ก็อย่าพยายามอ่านมันต่อ แค่ไปหาเล่มอื่นที่ใช่กว่ามาอ่านแทน ทำแบบนี้จะทำให้เราสนุกและไม่เบื่อการอ่านเลย ซึ่งผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

GooReader อ่านหนังสือจาก Google Books

GooReader

GooReader เป็นโปรแกรมที่ต้องติดตั้งลงเครื่อง ความสามารถของมันคือค้นหาหนังสือจาก Google Books แล้วเปิดอ่านได้เลย ถ้าใครต้องการบันทึกเป็นไฟล์ PDF ก็ทำได้ แต่ต้องเป็นเวอร์ชั่นจ่ายเงิน($19.95)

สิ่งที่ชอบคือมันคัดแยกหนังสืออกให้ด้วย โดยติดป้ายสีไว้ว่าหนังสือเป็นแบบ อ่านได้หมด(เขียว) เปิดอ่านได้บางส่วน(เหลือง)  หรือเปิดไม่ได้(สีแดง) ถ้าต้องการหาเฉพาะหนังสือที่อ่านได้หมด ก็เลือกได้ โดยติ๊กตรง Only Books with Full Views

Only Books full views

ตัวอย่าง ลองเปิดดูหนังสือ มันสามารถหมุนได้อิสระเลย ย่อ ขยายได้

เปิดดูหนังสือ

วีดีโอแนะนำ

ดาวน์โหลดโปรแกรม https://gooreader.com
via : https://www.downloadsquad.com

Exit mobile version