เว็บไซต์ประมวลเหตุการณ์ช่วงสงกรานต์ ใช้ Drupal

เว็บรายงานเหตุการณ์ จลาจลเมื่อสงกรานต์
เว็บรายงานเหตุการณ์ จลาจลเมื่อสงกรานต์

เว็บของรัฐบาลที่เราได้เห็นก่อนหน้านี้ใช้ WordPress ทำออกมาได้อย่างสวยงามนั้นก็คือ เว็บช่วยชาติ อีกเว็บหนึ่งที่ใช้ธีมเดียวกันในการจัดรูปแบบของเว็บ จากบล็อกของคุณพัชรบอกว่าอาจจะนำธีมนี้มาแจก ผมก็จะของรอลุ้นครับว่าแจกเมื่อไหร่ เว็บไซต์ของรัฐบาลตัวที่สองที่ออกมานี้ใช้ Drupal ในการทำซึ่งก็มี
หลายๆคนที่ชอบ cms ตัวนี้เยอะ blognone เว็บข่าวไอทีชื่อดังก็ใช้ตัวนี้ และคนที่ใช้ drupal คงไม่มีใครไม่รู้จัก @sugree ผู้เชี่ยวชาญ และได้ยินข่าวว่ากำลังทำคู่มือ drupal ร่วมกับ mk อยู่เราก็รอลุ้นอยู่ว่าเมื่อไหร่ จะคลอดสักที ในท้องตลาดคู่มือของ drupal มีแค่ไม่กี่เล่มยังไงก็คลอดออกมาไวไวนะครับ

กลับมาที่เว็บไซต์ที่เราสนใจอยู่คือ https://www.factreport.go.th ภายในเว็บมีภาพประมวลเหตุการณ์ ตั้งแต่เกิดเรื่องที่ พัทยาจนถึงสงกรานต์ มีทั้งคลิปวีดีโอให้ดูให้ดาวน์โหลด ผู้พัฒนาจากที่ได้อ่านจากบล็อกคุณพัชร ได้บอกว่าเป็นทีมงานของ Opendream ผมลอง search ใน Google ดูว่าน่าจะมีเว็บไซต์ของทีมงานนี้ก็เจอเว็บนี้ครับ Opendream ไม่ทราบว่าใช่หรือปล่าวถ้าผิดก็แจ้งด้วยนะครับมาอ่านคำชี้แจงของเว็บนี้ครับ

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นใน เขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัดจนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนได้รับบาดเจ็บ รวมถึงทรัพย์สินได้รับความเสียหาย ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องครบถ้วน และสร้างให้เกิดความเข้าใจต่อกรณีที่เกิดขึ้น

คณะรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรวบรวม และประมวลเหตุการณ์ ความไม่สงบจากการชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2552 และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องขึ้น (คบช.) โดยมีเป้าหมายเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์เพื่อ นำไปประกอบการพิจารณาดำเนินการอันเป็นแนวทางให้ความช่วยเหลือเยียวยา ผู้ได้รับความเสียหายต่อไป

ดีมากครับเป็นการทำงานในเชิงรุกให้ข้อมูลก่อนที่จะคนถามแต่ข้อมูลที่ให้ก็ต้องเป็นข้อมูลที่จริงและตรวจสอบได้
ถ้าหากข้อมูลนั้น เกิดตรวจสอบแล้วเป็นเท็จ รัฐบาลก็คงต้องยอมรับครับว่าตัวเองให้ข้อมูลแบบนี้มา และปฎิเสธ
ไม่ได้ด้วยว่าไม่ได้บอกเพราะข้อมูลอยู่บนเว็บหมดแล้ว

หลักสูตรการใช้เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางสายตา

โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT

ผมได้รับอีเมลล์จากพี่ร่วมงานในแล็บ เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาประชาสัมพันธ์ต่อครับ

เรียนท่านวิทยากร, ท่านผู้เชี่ยวชาญ และท่านที่สนใจ

จากการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่องของรูปแบบข้อกำหนดต่าง ๆ โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT วันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา แล้ว ได้ทำการประมวลผลหลักสูตร การใช้เทคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางสายตา

โดยได้กำหนด เปิดอบรม ในวันที่ 18,19,25 พฤษภาคม นี้ โดยจะมีพิธีเปิดโครงการฯ ในวันที่ 18 พฤษภาคม เพื่อให้สื่อมวลชนเข้าร่วมพิธีดังกล่าว จึงขอเรียนเชิญทุกท่านช่วยประชาสัมพันธ์โครงการให้กับท่านผู้สนใจอบรม และทางผมจะส่งหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการเรียนเชิญทุกท่านต่อไปครับ

==================================================

หลักสูตรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียม สำหรับคนพิการทางการมองเห็น
จำนวนชั่วโมง 18 ชั่วโมง

สถานที่ฝึกอบรม: ศูนย์ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต ชั้น 8 (ลงสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี)

วัตถุประสงค์
1. ผู้อบรมสามารถบอกถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
2. ผู้อบรมมีทักษะเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศได้
3. ผู้อบรมสามารถค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ได้
4. ผู้อบรมสามารถสื่อสารข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. ผู้อบรมสามารถใช้หนังสือระบบเดซี่ได้

ความต้องการของระบบ
1. ระบบปฏิบัติการ Windows XP หรือสูงกว่า
2. โปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) JAWS หรือ NVDA
3. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Thai Text to Speech) ตาทิพย์
4. อินเตอร์เน็ต

หัวข้อการอบรม
1. ความสำคัญของ ICT ต่อคนพิการทางการมองเห็น
2. คนตาบอดใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
3. การประยุกต์ใช้ ICT ในชีวิตประจำวัน
4. การใช้แป้นพิมพ์, การใช้ Mouse และอุปกรณ์ต่างๆ
5. การใช้งานโปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reader) JAWS หรือ NVDA
5.1. การติดตั้งโปรแกรม
5.2. การตั้งค่าการทำงาน
6. โปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Text to Speech ) ตาทิพย์
7. การใช้งานอินเตอร์เน็ต
7.1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่าย
7.2. การใช้งานโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
7.3. การตั้งค่าระบบการรักษาความปลอดภัย (Security Setting)
7.4. การใช้งาน Search Engine เพื่อค้นหาข้อมูล
7.5. การนำข้อมูลจาก Internet เช่น รูปภาพไปใช้งาน
7.6. การรับส่ง Electronic Mail
7.7. เว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
7.8. ข้อพึงระมัดระวังในการใช้อินเตอร์เน็ต
8. แนะนำ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
9. แนะนำให้รู้จัก E-Commerce
10. แนะนำการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อสร้างโอกาสและอาชีพ

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.Equitable-Society.com

==============================================

ประชาสัมพันธ์ แบนเนอร์โครงการฯ

ท่านใดที่สามารถร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ สามารถทำได้โดย Copy โค้ด HTML ต่อไปนี้เพื่อติดตั้งยังเว็บไซต์ท่าน

<a href=”https://www.equitable-society.com” title=”โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT”>
<img src=”https://www.equitable-society.com/images/equitablesociety.gif” border=”0″ alt=”
โครงการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมด้วย ICT”>
</a>

ขอขอบพระคุณทุกความคิดเห็น ทุกคนร่วมมือ เป็นอย่างสูง

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.Equitable-Society.com

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 944 0009 ต่อ 102


Best Regards,

ชไลเวท พิพัฒพรรณวงศ์
Chalaivate Pipatpannawong

ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานงานกระทรวง ICT

www.Equitable-Society.com

Managing Director

หายไปนานเพราะอะไร?

น่าเบื่อ

1. เน็ตที่หอพักนิสิตจุฬาฯ ใช่ไม่ได้เลยทำอะไรไม่ได้
2. ทำงานช่วง เสาร์-อาทิตย์
3. ทำงานวิจัย ใกล้วันตายแล้ว
4. ติดตามสถานะการณ์บ้านเมืองอย่างใกล้ชิด (ดูการอภิปราย)

ทุกอย่างเป็นข้ออ้างทั้งสิ้น

เว็บไซต์ช่วยชาติ พัฒนาจาก WordPress

เว็บไซต์ช่วยชาติ

ช่วยชาติ.com หรือ chuaichart.com

ได้ดูข่าวจาก blognone เรื่องเว็บไซต์การชี้แจ้งการทำงานของรัฐบาล และรับข้อคิดเห็นของประชาชน ใช้ WordPress ทำซะด้วยและอีกอย่าง คือใช้สัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons แสดงที่มา 3.0 ใครจะนำข้อมูลไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาติแค่แสดงที่มาของข้อมูล และไม่ใช้ในทางพาณิชย์ ดูเทคนิคการทำงานการพัฒนาเว็บไซต์ได้ที่ เว็บไซต์ของคุณ พัชร และ กลุ่มไทเกอร์ไอเดีย ตามลิงค์

เนื้อหาภายในลองคลิกๆดูแล้ว เนื้อหาค่อนข้างละเอียดครับว่ารัฐบาลมีโครงการอะไรบ้าง แม้กระทั้งเอกสาร โครงการต่างๆก็จะสามารถดูได้ตัวอย่างโครงการ ต้นกล้าอาชีพ เป็นต้นเรื่องการดีไซด์สวยงามมากครับได้เต็มสิบไปเลยครับ รายละเอียดของ proposal ของเว็บไซต์นี้ก็มีการเปิดเผยว่ามีขั้นตอนการทำยังไงบ้าง
งบประมาณเท่าไหร่

แต่ที่ติดใจนิดหนึ่งน่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของเว็บไซต์ ที่ใช้ WordPress ที่เป็น open source ที่ใครๆก็รู้ code โอกาสที่จะถูกโจมตีอาจทำได้ง่าย แต่ถ้ามองอีกทางคือเว็บไซต์ไม่ได้เป็นเว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาที่สำคัญถึงขั้นเป็นอันตรายต่อความมั่นคง หรือกระทบต่อความปลอดภัยมากหนัก หากถูกโจมตีก็คงแค่แบคอับกลับมาแต่แนวคิดการทำงานแบบโปร่งใสของรัฐบาลที่จะให้ประชาชนสามารถติดตามการทำงานของรัฐบาลได้อย่างต่อเนื่องและเขาถึงได้ง่าย ถือว่าแนวคิดนี้ ดีเยี่ยมเลยครับ ขอสนับสนุนโครงการนี้ครับ


ผลสรุป แบบสำรวจความคิดเห็นกรณี การชุมนุมของคนเสื้อแดง

ผลการสำรวจ

เมื่อวานได้ทำแบบสำรวจเกี่ยวกับประท้วงของคนเสื้อแดง ปิดถนน ทำเอาเดือดร้อนกันไปตามๆกัน เลยเอาผลของการสำรวจของเมื่อวานมาให้ดู หลายคนไม่พอใจ คนที่ทำผลสำรวจไม่เยอะแต่บอกอะไรได้บ้าง

ความเห็นอื่นที่เขียนเข้ามาครับ

1 .น่ารำคาญ
2.ประท้วงได้ตามขอบเขตกฏหมาย ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นต้องกล้ารับผิดชอบ รัฐบาลควรเป็นกลางและต้องรู้จักต่อรองเพื่อให้เกิดความเดือดร้อนน้อยที่สุด
3.ลองแสดงพลังด้วยการทำเรื่องดีๆ บ้างได้ไหม ชีวิตคุณและใครต่อใครอาจจะดีขึ้น มากกว่าการแค่ “รถติดมโหฬาร” “กลับบ้านไม่ได้” “เสื้อแดงในตู้ต้องอยู่ในตู้ต่อไป
4.ทำเพื่อไอ้เหลี่ยมคนเดียว
5.ขอให้ประท้วงต่อไปจนกว่าจะโดนระเบิด

ความเห็นบางอันก็น่าอ่าน น่าฟังนะครับแต่บางอันก็.. ขอให้ใช้วิจารณญาณ ในการอ่านครับ
ดูผลการสำรวจอย่างละเอียดครับ

มาสำรวจกันหน่อยว่าคิดอย่างไรกับการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง

การประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง

มาสำรวจกันหน่อยว่าคิดอย่างไรกับการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่มีการปิดถนนทั่วทั้งกรุงเทพฯ แบบสำรวจทำออกมาแป๊บเดียวก็มีคนทำเยอะเหมือนกันนะ ดุได้ที่ลิงค์ข้างล่างครับ เอาฟอร์มแบบง่ายๆแล้วกัน
Loading…

ดูผลสำรวจ

อยากจัดงานสัมมนา แบบ Unconferenced Pecha Kucha ของชมรมอีสาน

ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน

การจัดสัมมนาที่คนที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถส่งหัวข้อในงานได้
เป็นเหมือนชุมชนการแบ่งปัน ใครมีเรื่องอะไรที่สนุกๆก็เอามาเล่าให้คนอื่นฟัง เราก็มาฟังสิ่งดีๆที่เพื่อนเอามาแชร์ เนื่องจากปกติงานแบบนี้จะมีคนเข้าร่วมงานเยอะ ประมาณว่ามาปล่อยแสงกัน จีงมีการจำกัดไสลด์ในการนำเสนอ แ ละเวลา เข่น 10 สไลด์ 10 นาที
ข้อมูลเพิ่มเติม https://en.wikipedia.org/wiki/Pecha_Kucha และ https://en.wikipedia.org/wiki/Barcamp ผมได้ลองจัดที่คณะดูแล้ว รู้สึกว่างานออกมาสนุกมาก ดูสรุปงาน BME BarCamp

การจัดงานคร่าวๆก็คือ
– ตอนเช้าจะมีให้ลงทะเบียน หัวข้อที่จะพูด จากนั้นก็จะมีการโวตว่าเรื่องในน่าฟังที่สุด ใครได้คะแนนมากสุดก็พูดก่อน หรือสามารถ เปลี่ยนเป็นจับฉลากก็ได้น่าจะสนุก ตื่นเต้นดี จากนั้นก็เริ่มสัมมนา หัวข้อก็ไม่ปิดกั้นอยากพูดเรื่องอะไรก็ได้ เพียงจำกัดแค่เรื่องเวลาแค่ คนละ 10 นาที

ยกตัวอย่างเช่น

อาจารย์แจ่มใส – การทำงานแบบจิตอาสา
พี่ปอ – พูดเรื่อง การเรียนเบสอีสานใน 1 สัปดาห์
พี่บัติ – วิธีการแต่งเพลง
พี่ญัติ – การนำเสนอ อย่างไรให้น่าสนใจ และน่าติดตาม
พี่บูล – การสอนเด็กเล่นโปงลาง
พี่สาท – การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
น้องคำนาง – การออกกำลังกาย ด้วยการรำ
น้องบอย – การตัดต่อวีดีโอขึ้นเว็บ
น้องปุ้ย – การร้องคาราโอเกะ อย่างไรให้สนุก
น้องต้อม – วิธีจีบสาวชมรมฯ ทำอย่างไร
ฯลฯ
อะไรประมาณนี้ คือใครสนใจอยากพูดเรื่องอะไรก้เอาแชร์ๆ กัน งานนี้ไม่ต้องมีการเตรียมงานให้ยุ่งยาก เพราะคนที่พูดกับคนที่เข้าฟังคือกลุ่มเดียวกัน

งานนี้เสริมสร้างให้ชมรมของเราเป็นชมรมแห่งการแบ่งปัน มีการแลกเปลี่ยนความคิด และข้อคิดเห็น และสารความสำพันธ์ และเป็นการฝึกฝนการนำเสนอ ที่กระชับ และตรงประเด็นให้กับ น้องในชมรมฯ อีกด้วย

ข้อความคิดเห็นจากทุกท่านครับ ใครเห็นด้วย ผมยินดีเป็นคนประสานงานให้ครับ

และถ้าคุณเข้าร่วมงานอยากพูดหัวข้ออะไร

เพราะฉันมันโง่ หรือ ไม่มีคนสนับสนุน

“เพราะฉันมันโง่ หรือ ไม่มีคนสนับสนุน”

เด็กที่จังหวัดตาก

เราคงได้ยินข่าวมาเยอะเกี่ยวกับเด็กอัจริยะทั้งในและต่างประเทศ เช่น เด็กอินเดียเก้าขวบคว้า Microsoft Certified (อ้างอิงข่าว) เด็กมาเลเชียเขียนเก้าขวบเขียน app บน iphone (อ้างอิงข่าว) ฯลฯ ในข่าวที่เขียนไว้นั้น มักมีความคิดเห็นที่ว่าตอนนั้นเก้าขวบฉันทำอะไรอยู่ ??? (นั้นนะสิ)

ข่าวต่างๆเหล่านี้เมื่อมองอย่างลึกๆ ทำให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมอยู่บ้าง โดยเฉพาะตัวผมเองที่เป็นเด็กต่างจังหวัด สามารถเปรียบเทียบระหว่างเด็ก ที่อยู่ในเมืองใหญ่ๆ ที่มีเทคโนโลยีต่างสนับสนุนการศึกษา กับเด็กบ้านนอกได้อย่างชัดเจน

ในช่วงที่ผมยังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสได้ไปทำค่ายพัฒนาชนบทหลายจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งที่ได้ไปคือ อ.อุ้มผาง จ.ตาก เด็กที่นั้นได้รับการศึกษาขั้นถึงขั้นประถมแล้วใครที่มีโอกาสดีก็ได้ไปเรียนต่อในตัวอำเภอ ซึ่งเป็นส่วนน้อย เด็กๆรวมไปถึงผู้ใหญ่ ของที่นั้นดูจะตื่นเ ต้นมาก กับเทคโนโลยีเล็กๆน้อยๆ ที่เรามองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เช่น กล้องดิจิตอลตัวเล็กๆ มือถือ ที่เราเอาเข้าไปด้วย ไม่ต้องถามว่าในนั้นมี คอมพิวเตอร์หรือไม่ เพราะไฟฟ้าได้จากโซลาเซลล์ ทีวีทั้งหมู่บ้านมีอยู่มีอยู่เครื่องเดียว ดูได้แค่วีซีดี เพราะไม่มีคลื่นฟรีทีวีส่งถึง


แต่ในความคิดของผมแล้ว เด็กที่นี้ เป็นเด็กที่เหลียว ฉลาด และมีพัมนาการที่ดีเพียงแต่ขาด การสนับสนุนที่ดี จากทุกๆคน
เด็กไทยเจ๋ง คว้ารางวัลจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก (อ้างอิงข่าว) เราคงได้เห็นคนที่ออกข่าวแบบนี้ เป็นเด็กต่างจังหวัด

ไม่ใช่แค่เด็กเตรียมอุดมฯ หรือเด็กมหิดลฯ

Exit mobile version