หนังสือแนะนำให้อ่าน โดย CEO ระดับโลก

ผมว่าบางครั้งหลายๆคนน่าจะเป็นเหมือนกันว่าอยากเดินไปร้านหนังสือ แล้วก็ค่อยๆเดินดูตามชั้นหนังสือหมวดต่างๆ เปิดดูเนื้อหาข้างในสักหน้าสองหน้า แล้วค่อยเลือกซื้อ นี่คือหนึ่งในวิธีการหาหนังสือสักเล่มของผม แต่สมัยนี้การซื้อออนไลน์มันสะดวกมาก และถึงแม้ว่าการออกไปเดินในร้านหนังสือมันจะเพลิดเพลินเพียงใด เราก็คงทำบ่อยๆไม่ได้

พวกคำนิยมที่อยู่หน้าแรกๆของหนังสือนั้น ผมแทบจะไม่สนใจเลย หรือบางทีก็ไม่ได้อ่านด้วยซ้ำ บางทีมันอดคิดไม่ได้ว่า คนที่เขียนคำนิยมเหล่านั้นได้อ่านหนังสือเล่มนั้นจริงๆไหม รีวิวจากคนทั่วไปที่ไม่ได้ส่วนได้ส่วนเสียจากหนังสือเล่มนั้นเลยน่าเชื่อถือมากกว่า

ผมมีวิธีเลือกอ่านหนังสือแบบนี้ครับ (บางทีก็แค่อยากซื้อมาเก็บเฉย) ซึ่งก็พอจะสรุปเป็นข้อๆได้ประมาณนี้ครับ

  • หนังสือที่ถูกกล่าวถึงหรือถูกอ้างอิงในหนังสืออีกเล่มที่เคยอ่าน ทำให้หนังสือแต่ละเล่มมักจะมีการเชื่อมโยงถึงกัน ยกตัวอย่างเช่น เราอ่านหนังสือประวัติของ Isaac Newton ในหนังสือบอกว่า The Principia คือ ผลงานปฎิวัติวงการของเขา หนังสือที่เราอยากอ่านเล่มต่อไปย่อมเป็น The Principia หรือไม่ก็หนังสือที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับ The Principia (แค่ยกตัวอย่างนะครับ มิอาจเอื้อม แต่ก็อยากซื้อมาประดับชั้นหนังสือนะ)
  • ผลงานของนักเขียนคนเดิม บ่อยครั้งที่จะดูว่านอกจากเล่มที่กำลังอ่านอยู่นั้น มีผลงานอื่นอะไรอีกที่น่าสนใจ เช่น เราอ่าน Surely You’re Joking, Mr. Feynman! เป็นไปได้หรือที่จะไม่ตามอ่าน What Do You Care What Other People Think?
  • ในเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Goodread, Time, Nature, Wired, etc. ก็มักจะมีลิสต์หนังสือแนะนำให้เลือกติดตาม ในช่วงหลังๆที่ไม่รู้ว่าจะหาหนังสืออะไรมาอ่าน ช่องทางนี้ถูกเลือกใช้บ่อยๆ

นอกจากนี้ คนดัง ผู้มีอิทธิพลของโลก มหาเศรษฐี CEO หรือคนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอัจฉริยะในด้านต่างๆ ก็มักจะมีหนังสือแนะนำกันทั้งนั้น ปีที่แล้ว Mark Zuckerberg ก็ลิสต์หนังสือที่เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 2 สัปดาห์ สุดท้ายได้ออกมา 23 เล่ม Ayearofbooks.net

แต่ถ้าอยากรู้ว่า CEO แต่ละคน เช่น Mark Zuckerberg, Sam Altman, Bill Gates, Larry Page, Elon Musk, etc. มีลิสต์หนังสือแนะนำอะไรบ้าง เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์นี้ Bookicious.com

Book Collections Bookicious

ใน Bookicious จะเป็นการแนะนำหนังสือแบบรวบร่วมจากสื่อต่างๆ ที่ CEO แต่คนเคยบอกไว้ หรือเคยในสัมภาษณ์ไว้ ทำให้เราง่ายที่จะติดตามหนังสือตามบุคคลที่เราสนใจ หนังสือบางเล่มก็ได้รับการแนะนำจากหลายคน เช่น Sapiens by Yuval Noah Harari, The Innovator’s Dilemma by Clayton M. Christensen เป็นต้น ถ้าหลายคนแนะนำ แสดงว่าหนังสือเล่มนั้นก็น่าจะได้รับการการันตีในระดับหนึ่งว่าต้องดีแน่ๆ

แต่คนที่อยากพูดถึงเป็นพิเศษ นั้นคือ Bill Gates ดูจะเป็นคนที่จริงจังกับการอ่านมากที่สุด เขามีบล็อกที่เขียนรีวิวถึงหนังสือที่เขาอ่านอย่างสม่ำเสมอ บางครั้งก็ทำออกมาเป็นลิสต์ให้ได้ตามอ่านกันเลย และหนังสือก็มีหลากหลายแนว จึงขอแนะนำสำหรับคนที่คิดอะไรไม่ออก และกำลังตามหาลิสต์หนังสือน่าอ่านครับ

ตามไปดูหนังสือของ Bill Gates ได้ที่ Gatesnotes.com

Book reviews by Bill Gates

เคยอ่านคำแนะนำของคนที่อ่านหนังสือเก่งๆว่า ถ้าหนังสือเล่มไหนที่เราอ่านแล้วไม่สนุก ก็อย่าพยายามอ่านมันต่อ แค่ไปหาเล่มอื่นที่ใช่กว่ามาอ่านแทน ทำแบบนี้จะทำให้เราสนุกและไม่เบื่อการอ่านเลย ซึ่งผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

ขายภาพบน Shutterstock แล้วนะ

www-shutterstock-com

Portfolio: https://www.shutterstock.com/g/sarapuk?rid=3759287

ไม่ได้อัพเดตบล็อกมานานมาก นานจนเพื่อนบางคนคิดว่าเลิกเขียนไปแล้วแน่ๆ ช่วงเวลาที่หายไปมีหลายอย่างเปลี่ยนไปเยอะมาก มีทั้งดีและร้าย ดีใจมากและเสียใจมาก ปนๆกันไป ชีวิตมันก็คงเป็นแบบนี้แหละ

ขอเขียนตามหัวข้อด้านบนดีกว่าจะได้จะได้ไม่ออกนอกเรื่องมากเกินไป

เรื่องการขายภาพดิจิตอลผ่านทางเว็บไซต์นั้นพอจะรู้เรื่องนี้มานานแล้ว ดูจากที่ปีที่สมัครเป็นสมาชิกครั้งแรกใน iStockphoto.com ของตัวเองนั้นมันตั้งแต่ปี 2009 แล้ว ช่วงปีนั้น iStock น่าจะเป็นเจ้าตลาดอยู่ ตอนน้ันส่งรูปเข้าไปสอบแต่ไม่ผ่านเลยคิดว่าตัวเองน่าจะยังถ่ายรูปได้ห่วย เอากล้องของมหาลัยมาถ่ายด้วย เลยเลิกล้มความคิดไป เวลาผ่านไป 7 ปี (ใช้เวลาในการฝึกนานนะ) กว่าจะกลับมาสอบผ่านและขายได้

ส่วนของ Shutterstock.com ตัวเองเป็นสมาชิกเมื่อไม่นานมานี้ คือตอนปี 2015 คิดว่าตอนนี้เจ้านี้ น่าจะเป็นผู้นำในตลาดอยู่นะ อันนี้ดูมาจากสัดส่วนรายได้ของช่างภาพที่อัพโหลดขายหลายที่ แล้วเขาได้รับรายได้จาก Shutterstock เยอะที่สุด ยังมีอีกหลายเจ้าที่เขานิยม เช่น Fotolia, Depositphotos, Dreamstime, 123rf, 500px etc. แต่ก็เลือกอันที่น่าจะทำรายได้ได้เยอะสุดก่อน

แล้วทำไมกลับมาสนใจถ่ายภาพขายอีกครั้งหลังจากทิ้งความสนใจนี้ไปนานมากแล้ว ก็ต้องตอบว่าตอนนี้อยู่ยุโรป ได้มีโอกาสไปเที่ยวที่ต่างๆเยอะ เราก็ถ่ายรูปมานานแล้วทั้งถ่ายเล่น ถ่ายจริงจัง มันก็ควรจะมีประสบการณ์มากขึ้นบ้าง หลังจากไปเที่ยวกลับมานำรูปไปแชร์ในที่ต่างๆ เช่น Facebook หรือแม้แต่ใน 500px ก็มีติด Popular กับเขาอยู่บ้าง เพื่อนฝรั่งก็บอกว่ารูปที่คุณถ่ายคุณภาพใช้ได้เลยนะ ไม่ลองขายมันเลยล่ะ จึงได้กลับมาลองส่งภาพไปสอบอีกรอบ ปรากฏว่าผ่าน สามารถขายใน Shutterstock ได้ แล้วก็ทยอยอัพโหลดรูปที่มีในเครื่องให้เขาตรวจสอบ ก็มีทั้งผ่านและไม่ผ่าน เดี๋ยวเล่าต่อว่าหลังจากส่งไปแล้ว อันที่ผ่านก็โอเคไป ส่วนอันที่ไม่ผ่านมีอะไรบ้าง

หลังจาก 2 สัปดาห์ที่ผ่านมานั่งขุดรูปที่ยังเหลืออยู่ในคอมมาปรับและส่งไปตรวจ ได้ไปราวๆร้อยกว่ารูป สรุปว่าผ่านประมาณ  70% ของรูปทั้งหมดที่ส่ง ส่วนที่ไม่ผ่านมีปัญหา เรียงจากที่เจอบ่อยสุดไปน้อยสุดได้ดังนี้

Kyoto มองชัดแต่ขยาย 100% ระยะไกลจะหลุดโฟกัส

Focus, ถูก rejected ไปราว 10% เป็นภาพชุดของการถ่าย Cityscape ตอนถ่ายไม่ได้คำนึงถึงความชัดมากนัก ภาพที่ได้จากรูรับแสง f5.6 นี้คือหมดสิทธิเลย f8 ผ่านบ้าง ตอนถ่ายเราคิดว่ามันน่าจะชัดตลอดแนวแล้ว แต่ภาพเมื่อดูแบบ 100% กับมีเบลอเล็กน้อยที่ไกลๆ แต่มีคนแนะนำว่าให้เพิ่ม Sharpen ให้ภาพและลดขนาดของภาพลง แล้วลองส่งใหม่ ลองทำดูราว 10 ภาพเมื่อวาน ปรากฏว่าผ่านครับ คิดว่าภาพในชุดนี้น่าจะเอามาแก้ไขใหม่แล้วลองส่งใหม่อีกที อีกอย่างถ้าใช้ขาตั้งกล้องน่าจะช่วยได้เยอะให้ภาพไม่สั่นไหว แล้วเกิดอาการเบลอในระยะไกล หรือใช้ shutter speed สูงขึ้นหน่อย

ในพื้นที่บางแห่งต้องมีเอกสารประกอบ

-Propety Release, ถูก rejected ไปราว 5% เป็นชุดภาพที่ไปถ่ายในวัง Kyoto imperial palace โดนทั้งชุด อันนี้ไม่รู้จะแก้ไขยังไง ครั้งหน้าต้องดูให้ดีว่าถ้าเป็นพื้นที่เฉพาะ หรืออาจจะต้องเขียนคำอธิบายให้ดีกว่านี้ แต่บางคนแนะนำว่าให้เปลี่ยนเป็น Editorial อาจจะผ่านได้ เลยจะลองส่งใหม่ดูอีกที

ภาพที่โดน rejeted จากปัญหาเรื่องแสง

-Poor lighting, ถูก rejected ไปราว 5% เป็นภาพชุดของ Golden temple โดนทั้งชุดเหมือนกัน ต้องบอกว่าถ่ายมาไม่ดีเอง เพราะตอนนั้นวัดซึ่งเป็นสีทองอยู่แล้ว โดนแสงจากพระอาทิตย์ช่วงราวๆบ่าย 3-4 ยิงใส่ตรงๆเลย สะท้อนเข้ากล้องพอดีถ้าวัดแสงที่บรรยากาศรอบๆ พอถ่ายออกมาจะทำให้ตัวปราสาทแสงหลุดไปเลย แต่ถ้าวัดแสงที่ตัวปราสาทบรรยากาศรอบๆก็มืดจมดินเลย ห่างกันราว 3-4 stop เลย ตอนนั้นถ้าหยิบตัว CPL ขึ้นมาใส่อาจจะช่วยลดแสงสะท้อนได้บ้าง หรือไม่ก็เลี่ยงสถานการณ์อะไรแบบนี้

อันนี้ composition ไม่ผ่าน

-Composition, ถูก rejected ไปราว 5% เหมือนกับปัญหาที่แล้ว อันนี้บางทีเรามองว่าเราจัดดีแล้ว คิดถึงกฏต่างๆดีแล้ว แต่บางทีก็ไม่พอ ต้องจัดมุมมอง และซ้อมให้เยอะขึ้น

ภาพ Cityscape ต้องระวังเรื่องโลโก้ Trademark

-Trademark, ถูก rejected ไปราว 3% ตอนถ่าย City view ต้องเช็คให้ดีว่ามีโลโก้บริษัทอะไรโผล่มาหรือไม่ ถ้ามีควรรีทัชออกก่อน แต่เอาให้เนียนๆนะ

Noise เยอะถ้าดูที่ส่วนของเงามืด

-Noise, มีหลุดไปบ้าง ต้องพยายามเช็คให้ละเอียด และใช้ noise reduction นิดหน่อยได้ หรือไม่ก็ย่อรูปลงแล้วส่งใหม่ ตามคำแนะนำของคนที่มีประสบการณ์บอก หรือแนะนำให้ซื้อกล้องใหม่ระดับ Full fram หรือพวก High end จะจัดการสัญญาณรบกวนได้ดีมาก ถ้าอยากแก้เบื้องต้นใช้ iso ต่ำสุดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ภาพที่ถ่ายจาก Canon 600D iso เกิน 400 คือแย่มาก (อยากได้กล้องใหม่)

สรุปว่า หลังจากส่งภาพไป ทำให้เราได้ feedback กลับมา ทำให้รู้ว่าภาพแบบไหนที่จะผ่านหรือไม่ผ่านมากขึ้น และนำมาคิดก่อนตั้งแต่จะกดชัตเตอร์ สิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำมากขึ้น คิดว่าในการออกไปถ่ายรูปในครั้งต่อไปน่าจะทำให้ถ่ายอย่างมีเป้าหมายมากขึ้น และรู้ว่าควรถ่ายยังไงบ้าง เช่น ควรเลี่ยงคนที่เข้ามาในภาพ ตรวจสอบแสงให้ดี ตรวจดูความคมชัด ดูการจัดองค์ประกอบ ฯลฯ น่าจะถ่ายรูปแบบคำนึงภาพหลัง Process มากขึ้น

ตามไปดู Portfolio: https://www.shutterstock.com/g/sarapuk

อยากขายเองบ้าง: https://submit.shutterstock.com

[WORDPRESS PLUGIN] Jetpack รวมปลั๊กอินหลายตัวเป็นหนึ่งเดียว

Jetpack for WordPress

กำลังมองหาปลั๊กอินเกี่ยวกับการทำแชร์ลิงค์ไปที่ social network พวก twitter, facebook, google+ อะไรประมาณนี้อยู่ครับ ซึ่งมันก็มีอยู่เยอะมาก เลือกกันจนตาลายก็ไม่ได้ดังใจสักทีสุดท้ายมาเจอ Sharedaddy ค่อนข้างถูกใจ ง่าย ขนาดเล็ก

แต่พอติดตั้ง Sharedaddy เสร็จมันขึ้นเตือนมาว่า ต้องลงปลั๊กอิน Jetpack เพิ่มถึงจะทำงานได้ ก็เลยติดตั้งลงบล็อกไป เมื่อเปิดดูรายละเอียดของ Jetpack แล้ว ต้องบอกว่ามันสุดยอดมาก เพราะมันเป็น All in one รวมปลั๊กอินหลายตัวมาอยู่ในตัวเดียว เลยสามารถลบปลั๊กอินออกได้หลายตัวแล้วมาใช้ Jetpack แค่ตัวเดียว

Plugin ต่างๆที่อยู่ใน Jetpack

Plugin ที่อยู่ Jetpack

เยอะมาก และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการติดตั้งต้องมี account ของ WordPress.com ด้วยนะครับ เพือเชื่อมระหว่างบล็อกของเรากับ WordPress

มาดูปลั๊กอินตัวเด่นๆที่น่าใช้ครับ

WordPress.com Stats

เก็บสถิติของบล็อก

ตัวเก็บสถิติใช้ตัวเดียวกันกับ WP.com มันเก็บข้อมูลได้ละเอียดกว่าตัว StatPress Reloaded ที่ใช้อยู่ ดังนั้นเลยถอนตัวปลั๊กอินตัวนี้ที่ใช้มานานแล้วทิ้งไปอย่างไม่ลังเล

Sharing Buttons

Sharing

ปุ่มสำหรับกดแชร์บล็อกไปที่ Social network ที่ต้องการ มีตัวหลักๆครบถ้วน หรือจะเพิ่มเองก็ได้ มีรูปแบบให้เลือกหลายอัน เรียบ ง่าย และสวย ควบคุมให้แสดงเฉพาะ Home, Page หรือ Post ได้ ตรงตามความต้องการพอดี จึงลบตัวที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้คือ Social Sharing Toolkit ทิ้งไป

Subscriptions widget

Subscriptions widget

ระบบแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลเมื่อมีโพสใหม่ เป็นระบบของ WordPress เอง และมีการเก็บสถิติได้ด้วย แต่ตอนนี้ใช้ของ Feedburner อยู่เลยไม่ได้เปลี่ยน หากใครสนใจใชระบบของ WordPress ก็น่าใช้ไม่น้อยเหมือนกัน

Gravatar Hovercards

Gravatar Hovercards

ระบบทำรายละเอียดของผู้เขียน โดยดึงของมูลมาจาก Gravatar เหมาะสำหรับบล็อกที่มี Author หลายคน บล็อกนี้มีคนเดียวเลยไม่ได้ใช้งาน

Spelling and Grammar demo

ระบบแนะนำคำถูกต้อง

ปลั๊กอินตัวนี้เหมาะสำหรับคนที่เขียนบล็อกเป็นภาษาอังกฤษ เพราะมันจะช่วยให้ดูคำผิดทั้งการสะกดผิดหรือแกรมมาผิดได้ง่ายขึ้น มันจะแนะนำคำที่ถูกต้องมาให้ เหมือนอยู่ใน MS Office เลย

Contact Form

Contact Form

ใครที่ใช้ Contract Form 7 ตัวนี้ก็ทำงานในแบบเดียวกัน ปรับแต่ง field ได้ และตั้งค่าอีเมลรับข้อความได้

Custom CSS

CSS editor

ตัวแก้ไข ปรับแต่ง CSS เพิ่มเติม แบบแสดงสีสัน ที่ไม่ได้มีแค่โค้ดเหมือน default ของ WordPress

Mobile Theme

Mobile Theme

ปรับแต่งให้บล็อกแสดงผลในอุปกรณ์มือถือ แท็ปเล็ต ได้สวยงามยิ่งขึ้น ดูดีมาก แต่ก่อนใช้ WPtouch เลยเปลี่ยนมาใช้ของ Jetpack แทน และสามารถปรับแต่การแสดงผลได้อีกนิดหน่อย

ส่วนอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง

  • Jetpack Comments
  • Carousel Gallery
  • VaultPress
  • WP.me Shortlinks
  • Shortcode Embeds
  • Beautiful Math
  • Extra Sidebar Widgets
  • Enhanced Distribution

แต่ที่ชอบมากเพราะมันไม่ได้ทำให้บล็อกโหลดช้าเลย อาจจะเพราะปลั๊กอินส่วนใหญ่ที่มีใน Jetpack เราใช้อยู่แล้ว ก็เป็นได้

 ดูรายละเอียด และ ดาวน์โหลด Jetpack for WordPress 

[WordPress Plugin] SimpleReach Slide เพิ่มความสนใจให้คนอยู่ในบล็อกนานขึ้น

ไปเจอ plugin สำหรับ WordPress ตัวหนึ่ง ชื่อ SimpleReach Slide เมื่อติดตั้งมันจะสร้าง Slide แนะนำโพสที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ผู้ใช้กำลังเปิดอยู่ให้ เมื่อเราเลื่อนอ่านเนื้อหาจนสุดด้านล่าง หรือจะ scroll ลงไปเลยก็ได้นะ มันจึงจะโผล่ออกมา

ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ มันจะยังไม่โผล่มาจนกว่าคนใช้จะเลื่อนลงไปข้างล่างจนจบเนื้อหาที่เปิดอ่านอยู่ แต่เมื่อมันปรากฏขึ้นมาแล้วเวลาเราเลื่อนหน้าเว็บขึ้นมันก็จะหุบให้เล็กลง(แต่ไม่หายไปนะ) ถ้าใครยังนึกภาพไม่ออกว่ามันแสดงผลยังไงก็ดูตัวอย่างรูปด้านล่าง หรือไม่ก็เลื่อนหน้านี้ลงไปให้สุดด้านล่าง แล้วสังเกตุที่มุมขวาล่าง นั้นแหละความสามารถของมัน

เรียกได้ว่าถูกใจมากเลย จึงเอามาบอกต่อครับ

SimpleReach Slide ปลั๊กอินสำหรับ WordPress

ที่ดาวน์โหลดปลั๊กอิน SimpleReach Slide

Developer เขียนในคำอธิบายว่ามันจะเพิ่มจำนวน pageviews กับ time on site ให้เว็บไซต์ของคุณได้ พอดูแล้วก็อาจช่วยได้ส่วนหนึ่งเพราะตอนที่มันเด้งขึ้นมา ทำได้น่าสนใจทีเดียว เหมือนมีอะไรตอบสนองตอนเราเลือนจอ สรุปว่าชอบก็แล้วกันครับ

การออกแบบ หน้าแรกของ 7 เว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยี

ตอนที่จะเปลี่ยนธีมใหม่ให้บล็อก มีอย่างหนึ่งที่อยากรู้คือส่วนใหญ่แล้วเว็บไซต์ดังๆเขาออกแบบหน้าแรกยังไง เว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่เข้าไปดูเป็นประจำก็คงหนีไม่พ้น 7 เว็บไซต์นี้ คือ AllThingsD, Engadget, Gizmodo, Mashable, SlashGear, TechCrunch และ The Verge ซึ่งสิ่งที่สนใจคือ หน้าแรกที่เราเปิดเข้ามาเจอเลย โดยที่ยังไม่เลื่อนลงด้านล่าง

ก็ใช้เครื่องตัวเองเป็น reference คือ แสดงผลใน Google Chrome ขนาดจอ 1280 x 800  ดังนั้นเอาทั้ง 7 เว็บไซต์มาดูทีละอัน ซึ่งเว็บไซต์ที่ชอบหน้าแรกมากที่สุด ขอยกให้ AllThingsD ส่วนเว็บไซต์อันอื่นดูดีในแบบของตัวเอง แต่ที่ชอบน้อยที่สุดก็ขอยกให้ SlashGear ที่ไม่ค่อยมีเอกลักษณ์มากนัก

ลองมาดูหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์

AllThingsD

AllThingsD หน้าแรกเป็นแบบเรียบง่าย ไม่มีโฆษณามารบกวนสายตา มีโพสเด่นสุดอยู่อันหนึ่ง กับลิงค์บทความอื่นๆด้านข้างอีก 3 อัน มีลิงค์หมวดต่างๆด้านบน มีช่องค้นหา เป็นหน้าแรกที่มีทุกอย่างที่ควรจะมีโดยที่ไม่ต้องเลื่อนดูด้านล่างก็ได้พอที่จะรู้ว่าเว็บนี้มีอะไรอยู่บ้าง จึงทำให้ชอบมากที่สุดเมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่นๆ

TechCrunch

TechCrunch มีโพสที่เป็นเรื่อง Hot Topic ให้เลือกคลิกอยู่ 4 เรื่อง แล้วก็เหลือบเห็นหัวข้อของโพสด้านล่างโผล่มานิดหน่อย ด้านบนยังมีเมนู และหมวดหมู่ให้คลิกได้ ที่น่าสนใจอีกอย่างคือทำส่วนของโฆษณาได้ลงตัวกลมกลืนไปกับเนื้อหา ดูมีช่องว่าง ไม่แออัดจนเกินไป

The Verge

The Verge  เป็นอีกเว็บหนึ่งที่ชอบ ทำหน้าแรกออกมาได้ค่อนข้างน่าสนใจ มีหัวข้อที่เป็นฟีเจอร์อยู่ด้านหน้ามีภาพประกอบโพสและสีพื้นหลังจางๆ มีหัวข้อให้คลิก มีช่องค้นหา ไม่มีโฆษณาให้เห็น

Gizmodo ดูเรียบๆ มองเห็นโพสอันใหญ่โดดเด่นอันเดียว มีโฆษณาเด่นที่ด้านขวา มองเห็นโพสล่าสุดด้านขวาประมาณ 3 อัน เป็นหน้าแรกที่เรียบและดูดีทีเดียว

Mashable

Mashable เน้นเรื่องการแชร์มาก แทบทุกโพสจะมีลิงค์แชร์ บางครั้งทำให้ดูรกตาไปหน่อย แต่มีโพสจุดเด่นอันใหญ่อันหนึ่ง กับอีกสองอันด้านข้าง มีลิสต์ของ Most shared ให้เห็น มีโฆษณาชัดเจนเป็นแบนเนอร์ด้านบนแต่ค่อนข้างกลมกลืน

Engadget

Engadget มีส่วนของแบนเนอร์โฆษณาที่อยู่ด้านบนเหมือนเป็นส่วนเกินของเว็บไซต์ไปเลย แต่ค่อนข้างดึงดูดให้คนดูเป็นพิเศษ และยังกระตุ้นให้ต้องเลื่อนลงข้างล่างด้วยสิ แต่ส่วนตัวไม่ค่อยชอบเท่าไหร่นัก ความฉลาดในการออกแบบอีกอย่าง นั้นคือการเอาโพสมาเป็นส่วนเฮดเดอร์ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ มีเมนูหมวดหมู่ให้คลิก มี Top Stories ให้เลือก

SlashGear

SlashGear คล้ายกับ Engadget มีโฆษณาอยู่ด้านบนอย่างชัดเจน แต่ไม่น่าดึงดูดเท่า มีฟีเจอร์โพสเรียงกันให้เลื่อนซ้ายขวาได้ มีเมนูของหมวดหมู่ และมองเห็นหัวข้อใหญ่ของโพสล่าสุดโผล่มานิดหน่อย

สรุป 
แต่ละเว็บมีแนวทางของตัวเองชัดเจน มีสีเฉพาะตัว มีโพสที่น่าสนใจไว้เด่นที่สุด เป็นกรณีศึกษาที่ดีได้ทั้งสิ้น แล้วเอามาปรับใช้กับเว็บของตัวเองต่อไป

แนะนำบล็อกเกี่ยวกับ Medical Microbiology ของคนใกล้ตัว

Noobnim.in.th

ขอแนะนำบล็อกคนใกล้ตัวครับ Noobnim.in.th บล็อกของ @ac_nim แม้ว่าตอนแรกจะพยายามชักชวน ชักจูงยังไง ไม่เคยจะสนใจเขียนเลย(แรงดึงดูดไม่พอ!) สุดท้ายต้องขอบคุณบล็อกของ @khajochi https://www.khajochi.com ที่น่าจะเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เธอลุกขึ้นมาเขียนบล็อกของตัวเองบ้าง (ก็ทั้งหวานและโรแมนติกซะขนาดนั้น) ผมเลยได้เป็นหน่วย support ให้อย่างเต็มที่ ทั้ง Domain และ Hosting ก่อนหน้าที่จะมาเป็นบล็อกส่วนตัว ให้ลองไปเขียนบน WordPress.com ก่อน ซึ่งเคยเตรียมไว้ให้นานแล้วเหมือนกัน ตอนแรกคิดว่าคงจะเห่อแค่พักๆ แต่ผ่านมา 4 เดือนกว่าแล้ว ยังเขียนอยู่เป็นระยะๆ แสดงว่าคงจุดติดไปแล้ว ในฐานะผู้สนับสนุนเลยจะช่วยโปรโมทให้อีกทางครับ

Noobnim.in.th เรื่องที่เธอเขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเธอโดยเฉพาะ(ก็มันบล็อกส่วนตัวนิ) แต่ที่เน้นสุดคงจะเป็นเรื่อง จุลชีววิทยา ทางการแพทย์ (Medical Microbiology) ในระดับ Advanced สุดๆ เอาไว้อ่านเตรียมสอบกันเลยทีเดียว แต่คนที่สนใจทั่วไปรู้เรื่องชีววิทยาบ้างก็อ่านสนุกได้เหมือนกันครับ บางเรื่องที่น่าสนใจผมก็ขออนุญาติเอาไปลงไว้ที่ Biomed.in.th เหมือนกัน แต่เราๆท่านๆอาจจะต้องทำความเข้าใจเป็นพิเศษสำหรับบ้างเรื่อง แต่ผมว่านี้คือสิ่งสำคัญนะ เมื่อบล็อกมันก็เหมือไดอารี่ส่วนตัวของเรา เราเน้นเขียนเตือนความจำตัวเอง พูดง่ายๆคือ เขียนให้ตัวเองอ่าน ส่วนการเปิดให้คนอื่นเข้ามาอ่านได้ จนกระทั้งมีคนคอยติดตามอ่านตลอดนั้นเป็นผลพลอยได้ต่างหาก ยังไงซะจะต้องมีคนสนใจในเรื่องที่เราเขียน แม้มันจะเฉพาะทางมากๆก็ตาม

ส่วนเรื่องเบาๆที่น่าติดตาม เช่น ฟุตบอล หนัง นิยาย หนังสือ ก็มีให้อ่านเหมือนกันครับ

ตัวอย่างโพสที่น่าสนใจ

ขอเชิญชวนให้ติดตาม Noobnim.in.th ได้ที่

  1. URL:  www.nobnim.in.th
  2. Feed: https://feeds.feedburner.com/noobnim
  3. Twitter: @ac_nim

ปล. ใครอยากลุกขึ้นมาเขียนบล็อกของตัวเองบ้าง ผมยินดีให้คำปรึกษาเต็มที่เลยนะครับ สนับสนุนเต็มที่

เปิด Facebook Page ให้บล็อก

ลิงค์ของ Facebook ที่อยู่ในช่องติดตาม Amphur Blog จะเป็นลิงค์ไปที่หน้า Profile ของผมโดยตรง ซึ่งตอนนี้มีเพื่อนอยู่หลายคนพันแล้ว เข้าใจว่ามีเพื่อนหลายคนที่เข้าไปผ่านทางบล็อกนี้ แต่ก่อนก็รับ friend request เกือบทุกคน แต่หลังๆไม่ไหวแล้ว มันจะเยอะแล้ว และยังมีคนส่ง request ไปประมาณวันละ 2-3 คน(ไม่รู้ว่าจากไหนแน่) เลยคิดว่าตัวเองจะรองรับปัญหานี้ยังไง รู้สึกว่ามันปนกันมั่วไปหมด ความจริงแล้ว facebook ทำไว้รองรับอยู่แล้ว แต่เราดันใช้ผิดประเภท เอา Profile ไปรวมกับ Page ตอนแรกคิดจะเปลี่ยนตัว Profile ให้เป็น Page ซะเลย! แต่ขี้เกียจจะต้องมา add friend ใหม่ เอาแบบนี้น่าจะดีสุด คือสร้าง Page ของบล็อกขึ้นมาดีกว่า แต่ส่วน facebook ส่วนตัวเพื่อนคนไหนอยากเป็นเพื่อนยังเข้าไปดูได้ที่ about me ครับ

Amphur Blog on Facebook

Amphur Blog Page : https://www.facebook.com/amphur.in.th

มีอีกอย่างที่เปลี่ยนแปลง ปกติจะดึง feed จากบล็อกไปแสดงที่ facebook ด้วย Networkblog แม้จะมีข้อดีหลายอย่าง เช่น คนอื่นสามารถ follow ได้ มี widget ให้ แต่มันก็มีข้อเสียที่ไม่ชอบคือมันย่อ URL เวลาคลิกเข้าไปแล้ว URL ที่เห็นยังเป็นของ Networkblog อยู่ อีกทั้งมันยังมีอาการส่ง feed ช้าบ้าง เร็วบ้าง ใน Page นี้เลยลองเปลี่ยนมาใช้อีกตัวคือ RSS Graffiti ซึ่งได้รับความนิยมไม่น้อยเช่นกัน ไม่รู้ว่าจะดีแค่ไหน? ต้องลองใช้ดูซักพักก่อน

คลิก Like ได้ที่ด้านข้างเลยครับ สุดท้ายฝากแชร์ Amphur Blog Page ด้วยนะครับ

แอบไปบล็อกที่ exteen มาครับ

อำเภอบล็อกที่ exteen

เมื่อวานแอบไปเปิดบล็อกที่ exteen มาครับ ทำไปเพราะอยากรู้จัก exteen ว่าทำงานยังไง มีสังคมยังไง ฯลฯ บอกเหตุผลไปในบล็อกนั้นหมดแล้ว เข้าไปอ่านได้ที่ https://amphur.exteen.com บล็อกแรกที่ exteen มีคนเปิดเข้ามาดู 14 วิว ผมจำได้ว่าครั้งแรกที่เขียนที่บล็อกนี้คนเข้ามาอ่าน 1 คน คือตัวเอง ใครที่คิดจะเริ่มเขียนบล็อกเริ่มต้นจากที่ที่มีชุมชนอยู่แล้ว(ที่ดีด้วย)อาจจะง่ายกว่า แต่ก็ต้องบอกอีกครั้งว่า แล้วแต่การตัดสินใจว่าชอบแบบไหน

เขียนครั้งแรกใน exteen blog ผมหา Preview ไม่เจอแบบที่มีใน WordPress เป็นเหตุให้ต้องมีการ edit ภายหลัง ทุกครั้งที่แก้ไข มันจะขึ้นบอกด้วยว่าแก้ไขเมื่อไร หลายครั้งก็ขึ้นหลายอัน อันนี้ถ้ามี Preview ก่อน Public น่าจะดี (หรือมันมีอยู่แล้วว่ะ แต่หาไม่เจอเอง?)

โดยรวมแล้ว exteen ใช้งานง่าย ดูสะอาดตา น่าใช้ ผมคงแวะเวียนไปเขียน ไปบ่นที่นั้นบ้างเป็นครั้งครับ

Happy Birthday to Me!!!

วันเกิดปีนี้พิเศษนิดหนึ่ง เพราะได้อยู่ที่บ้าน ปกติก็ไม่มีการจัดงานวันเกิดแต่อย่างใด มันก็เหมือนทุกวันที่ผ่านไป เราก็แก่ขึ้นทุกวัน ไม่ได้กระโดดแก่ขึ้นในวันเกิดสักหน่อย เพียงครั้งต่อไป ในการกรอกเอกสารที่มีให้ระบุอายุ ต้องบวกเพิ่มอีก 1

วันเกิดสมัยนี้ไม่มี sms แล้ว เพื่อนๆต่างอวยพรกันผ่าน Facebook ตกใจนิดหน่อยที่มีเพื่อนๆพี่ๆ เข้ามาอวยพรวันเกิดกันเยอะเหลือเกิน ทำเอาซาบซึ่งสุดๆ แต่จะให้ไปขอบคุณทุกๆอันคงจะไม่ไหว เลยขอบคุณผ่านบล็อกนี้แล้วกันนะครับ ขอขอบคุณทุกๆท่าน ที่เข้าอวยพรวันเกิดให้ครับ ขอให้ทุกท่านมีความสุขกาย สุขใจ ตลอดไปครับ

เก็บคำอวยพรเหล่านี้ไว้ด้วยครับ

รวม Happy Birthday จาก Facebook

เริ่มต้นทำบล็อก และหารายได้จากบล็อก-The Smashing Cartoons

How To Start a Blog and Make Money by Fleaty

ภาพด้านบนเป็นผลงานของ Fleaty จาก The Smashing Cartoons อ่านแล้วมันทั้งโดน ทั้งฮา เรียกได้ว่า เสนอความจริงปนฮาได้น่ารักยิ่งนัก อันที่จริงดูที่การ์ตูนก็จะเข้าใจแล้ว แต่จะขออธิบายเสริมนิดหน่อย

ขั้นตอนการเริ่มต้นทำบล็อก และหารายได้จากบล็อก

Step 1: ออกแบบรูปร่างหน้าตาของบล็อกให้มันเจ๋งๆไปเลย

Step 2: อย่าลืมดึงมาตรฐานของเว็บอย่าง HTML5 และ CSS3 มาใช้

Step 3: เติมเอฟเฟ็ค วิ้งๆ ให้บล็อก ด้วย JQuery

Step 4: ชวนคนเจ๋งๆ มาช่วยเขียนเนื้อหาให้บล็อก

Step 5: ทำงานให้หนักเพื่อผลิตเนื้อหาที่ดี มีคุณภาพ

Step 6: (ขายโฆษณาบนบล็อก) ทำเงินไม่ได้ กลับไปหารายได้จากงานประจำอันเดิมของคุณซะ (ฮา)

ถ้าเราจะเอาฮาในการ์ตูนนี้มันก็ฮาดี แต่ขั้นตอนต่างๆที่เขาเขียนขึ้นนั้น คิดว่ามันใช้ได้จริง ขั้นตอนทำบล็อกมันก็มีเท่านี้เอง ขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ 4, 5 นั้นคือ เนื้อหา เรื่องอื่นๆเป็นเรื่องรอง และตัวที่อยากเพิ่มเข้ามาคือ เวลา อาจจะต้องเริ่มจากทำงานประจำก่อน แล้วให้เวลากับการทำบล็อกบ้าง ผลิตเนื้อหาที่ดีมีคุณภาพ เมื่อถึงเวลามันจะตอบแทนกลับมาเอง ยิ่งถ้าคุณคิดจะทำให้เป็นรายได้หลัก อาจจะต้องลงแรงกาย แรงใจ แรงความคิด ให้มากยิ่งขึ้นอีก แม้บล็อกนี้เอง คนจะเข้าไม่ได้มากมายอะไร ส่วนตัวคิดว่ามัน ประสบความสำเร็จ ในตัวของมันแล้วล่ะ เพราะว่า มีคนอ่านสาส์นที่เราเขียน

The Smashing Cartoons เพิ่งจะเปิดตัวมาไม่นาน ประมาณปลายเดือนมกราคม ปีนี้เอง ล่าสุดก็ตอนที่ 42 ลองไปอ่านดู ถ้าคุณเป็นคนสนใจเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต งานออกแบบ จะฮาท้องแข็งกันเลยทีเดียว

Exit mobile version