Evernote Food แอพช่วยบันทึกเมนูและร้านอาหารที่เคยไปกินมาแล้ว

Evernote Food

เวลาไปกินข้าวที่ร้านอาหารร้านใหม่ที่ไม่เคยไปกินมาก่อน ผมมักชอบจะบันทึกรายละเอียดเบื้องต้นของร้านนั้นไว้ มีประโยชน์สำหรับการเอามาอวดเพื่อนหรือเอาไว้แนะนำบอกต่อถ้ามันอร่อย แอพพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับบันทึกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ Evernote ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “Evernot Food” มีให้โหลดทั้ง Android และ iOS

เคยใช้ตั้งแต่ตอนเล่น iPod Touch ตอนนี้ในมือถือ Android ก็ต้องมีแอพนี้อยู่ การใช้งานค่อนข้างไม่ยุ่งยาก ถ่ายรูปอาหารที่เราสั่งมาทาน หรือสถานที่ร้าน บรรยากาศ ใส่รายละเอียดชื่อร้าน ระบุตำแหน่งลงในแผนที่ ซึ่งข้อมูลบางส่วนจะถูกดึงมาจาก Foursquare ทำให้สะดวกมาขึ้นถ้าต่ออินเทอร์เน็ตตอนบันทึก แต่ไม่มีเน็ตก็ยังบันทึกได้ แล้วเมื่อต่อเน็ตโปรแกรมจะ Sync เข้าไปเก็บใน Evernote ให้อัตโนมัติหรืออัตโนมือก็ได้เช่นกัน โดยใช้บัญชีเดียวกันกับ Evernote เลย

เราก็บันทึกเก็บไว้ตั้งแต่ร้านหรูในห้างไปจนถึงร้านตั้งขายข้างถนน หลังจากที่บันทึกมานานพบว่าเป็นคลังร้านอาหารที่เยอะพอสมควรส่วนใหญ่ก็อยู่ใกล้กับที่ทำงาน ที่พัก สะดวกมากขึ้นตอนหยิบขึ้นมาให้เพื่อนได้ดูว่าร้านนี้อยู่ตรงไหน เคยไปทานมาแล้ว รสชาดอาหารเป็นอย่างไรบ้าง บางครั้งเมื่อทานเสร็จอาจต้องเปิดแอพมาลงความเห็นไว้ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่อันนี้ไม่ค่อยได้ทำเท่าไหร่นัก ทำแค่ถ่ายรูปร้าน เมนูอาหาร อาหารที่สั่ง กินจนอิ่มแต่มักจะลืมให้ความคะแนนบ่อยๆ แต่เมื่อเปิดมาดูภายหลังก็ยังพอจำได้นะว่าอร่อยหรือไม่อย่างไร

Evernote Food for Android

นอกจากนี้ใน Evernote Food ยังมีฟีเจอร์อื่นอีก เช่น การค้นหาร้านอาหารที่ใกล้กับจุดที่เราอยู่(Restaurants) ข้อมูลการทำอาหารเมนูใหม่ๆ(Explore Recipes) ยอมรับว่าไม่ค่อยได้ใช้งานเลย หลักๆมีเพียงบันทึกเมนูอาหารและร้านอาหารที่ไปทานมา(My Meals) เท่านั้น ซึ่ง Evrnote Food ก็ทำหน้าที่ตรงนี้ได้อย่างดีเยี่ยม และแน่นอนว่าเมื่อใช้บัญชีของ Evernote เราก็สามารถเข้าถึงข้อมูลตรงนี้ได้จากหลายๆอุปกรณ์ทั้งมือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ นับว่าสะดวกมากๆเลยทีเดียว

สรุปว่าชอบแอพพลิเคชั่นตัวนี้มากครับ เลยเอามาแนะนำเพื่อนๆ ใครที่ชอบถ่ายรูปอาหาร แทนที่จะมีแค่รูปอาหาร ก็บันทึกรายละเอียดของร้านไว้ด้วยเลยด้วยก็ดีนะครับ

ดาวน์โหลด Evernote Food ได้ที่ Google Play Store และ App Store 

วิธีปิด Inbox Tabs ใน Gmail

Inbox Tabs in Gmail

เมื่อหลายวันก่อน Gmail อัพเดต inbox แบบใหม่มาให้เราใช้ ความจริงแล้วเขาเปิดตัวมาตั้งนานแล้วนะดูรายละเอียดที่ “A new inbox that puts you back in control” เพิ่มส่วนของ Inbox Tabs ขึ้นมาแล้วช่วยแยกประเภทของอีเมลให้เรา เมื่อมีอีเมลเข้ามาก็จะจับแยกเข้าไปอยู่ตาม Tab ต่างๆ ซึ่งทั้งในมือถือและแท็บเล็ตก็เปลี่ยนให้ด้วยอัตโนมัติ default ของ Inbox Tabs ที่ระบบตั้งมาให้มี Primary, Social, Promotions, Updates, Forums ดูแล้วก็น่าจะดีนะ ที่แต่พอทดลองใช้รู้สึกว่าไม่ถูกจริตเอาเสียเลย

เหตุที่ไม่ชอบ Inbox Tabs

  • ปกติเราจะแยกประเภทของอีเมลด้วย Label อยู่แล้ว การมี Tab ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก
  • มันทำให้ต้องคลิกหลายครั้งเพื่อจะเข้าถึงอีเมลให้ครบทุกอัน ปกติจะจัดการอีเมลเป็นกลุ่มคลิกเลือกแล้วจะลบ หรือจะ Label ก็ทำได้สะดวกกว่า
  • ทำให้พลาดบางอีเมล เมื่อเผลอลืมคลิก Tab อื่นๆ

สรุปเลยว่าไม่ชอบเลย และคิดว่าหลายๆคนน่าจะไม่ชอบมันเหมือนเราแน่นอน จึงต้องหาวิธีปิดมันเสีย กลับไปใช้ในแบบที่เราใช้แล้วคล่องตัวมากกว่า

วิธีปิด Inbox Tabs ใน Gmail

  1. คลิก + ตรงมุมด้านขวาสุดของ Inbox Tabs

    Tab+

  2. เอาติ๊กหน้าอันอื่นออกเหลือไว้แค่ Primary

    เลือก Tab

  3. กด Save แล้ว Gmail ของเราก็จะกลับไปเป็นแบบที่เราคุ้นเคยครับ และการตั้งค่านี้ก็จะส่งผลไปที่ Gmail app ในมือถือและแท็บเล็ตของเราด้วยครับ

    กลับไปเป็นแบบเดิมที่เราคุ้นเคย

แต่ถ้าใครอยากได้ Inbox Tabs กลับมาก็เข้าไปตั้งค่าได้ที่ Settings>>Configure inbox ครับ

LastPass เพราะเราขี้เกียจจำ User และ Password

LastPass

อยู่ๆก็อยากพูดถึง LastPass ขึ้นมาครับ น่าจะเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ในคอมของเราจะขาดไม่ได้เอาเสียเลย

LastPass เป็นอีกหนึ่งบริการช่วยจำรหัสล็อกอินเว็บไซต์ต่างๆของเรา รวมถึงการช่วยสร้างรหัสที่มีความปลอดภัยสูง ใช้งานมาได้พักหนึ่งแล้วและตอนนี้ก็ยังใช้อยู่ ไปเจอบริการตัวนี้ครั้งแรกจาก TIME’s 50 Best Websites 2012 แล้วก็ทดลองใช้ตั้งแต่ตอนนั้น ลองค้นดูพบว่ามีบริการในลักษณะนี้อยู่สองสามเจ้าในตลาดที่แข่งขันกันอยู่ ได้แก่ LastPass, 1Password, mSecure แต่มีแค่ LastPass ที่มีเวอร์ชั่นฟรี

ความสามารถหลักๆของ LastPass ที่ใช้อยู่คือ ให้ช่วยจำรหัส จำข้อมูลส่วนตัว(ชื่อ,ที่อยู่) ตอนที่จะเราจะล็อกอินเข้าใช้งานเว็บไซต์ หรือต้องกรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆของเราเอง LastPass ช่วยอำนวยความสะดวกให้ได้อย่างดี

ตอนนี้มีเว็บไซต์ต่างๆประมาณ 200 กว่าเว็บไซต์ที่เราเป็นสมาชิก มีรหัสเข้าใช้งานอยู่ประมาณ 10 แบบที่แตกต่างกัน แต่ละชุดค่อนข้างยาว ตัวที่ยาวสุดคือมีอักขระเกือบ 30 ตัว แต่ก่อนเว็บไซต์ที่นานๆครั้งจะได้เข้าใช้งานจะซุ่มรหัสใน 10 แบบที่เรามีไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอ หรือแม้แต่จำได้ถ้าจะให้พิมพ์รหัสยาวๆเองทุกครั้งก็ไม่สะดวกเอามากๆเลยล่ะ ส่วนใน Google Chrome ก็มีระบบช่วยจำให้เหมือนกัน แต่การบริหารจัดการนั้นไม่สะดวกเอาซะเลย ใช้ LastPass ลงตัวกว่ามาก จะจัดหมวดหมู่ แก้ไข คัดลอก ทำได้ง่ายกว่ามาก ตอนนี้เลยจำแค่รหัสล็อกอินเข้า LastPass เพียงตัวเดียวที่เหลือก็ให้โปรแกรมช่วยจำ ช่วยจัดการให้

แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างเหมือนกัน นั้นคือตัวแอพ LastPass ที่ใช้งานในมือถือหรือแท็ปเล็ตต้องจ่ายตังค์แบบรายปีซึ่งถือว่าหลายตังค์เหมือนกัน(24$/Y) ทำให้อาจจะใช้งานได้ไม่เต็มที่ แต่เราใช้เฉพาะในคอมก็ยังสะดวกกว่าไม่ได้ใช้อยู่ดี อีกข้อหนึ่งที่น่าห่วงเหมือนกันคือความปลอดภัยถ้าเราทำรหัสของ LastPass แค่อันเดียวหลุดไป คนที่ได้ไปก็อาจจะได้รหัสอื่นๆไปด้วย อันนี้ต้องระวังมากๆด้วย ซึ่งเราเองก็ต้องชั่งใจอยู่นานเหมือนกันว่าระบบของเขาปลอดภัยแค่ไหน ซึ่งเท่าที่ศึกษาข้อมูลจากหลายๆที่ก่อนตัดสินใจใช้ ก็พอตอบได้ว่าไว้ใจได้ แต่ก็มีรหัสบางตัวที่สำคัญมากๆ เช่นเกี่ยวกับการเงิน ก็จะไม่เอาเข้าไปเก็บไว้ใน LastPass เลย

สรุปว่า LastPass ช่วยให้การท่องโลกอินเทอร์เน็ตของเราสะดวกขึ้นมากๆ ***แนะนำให้ใช้กับเครื่องคอมของตัวเองเท่านั้นนะครับ

LastPass: https://lastpass.com/

แอพ Notes ที่เข้าถึงได้ง่าย ได้เร็ว จากทุกอุปกรณ์พกพา

Notes and Google Keep

แต่ก่อน ผมมีสมุดบันทึกเล่มเล็กๆติดตัวเสมอ เอาไว้จดข้อมูลเล็กๆน้อยๆ รหัส ข้อความสั้นๆ พวกข้อมูลส่วนตัว หรืออะไรอื่นๆที่อยากจะจด ต้องมีข้อมูลที่เข้าถึงได้เร็วเมื่อจำเป็น ถ้าสมุดเล่มเล็กๆนั้นเต็มจะมีเล่มใหม่มาแทน แต่ข้อมูลบางอันก็จะถูกย้ายมาด้วยเสมอ

แม้จะเข้ามาถึงยุคที่เรามีอุปกรณ์พกพาที่ทำอะไรได้หลายอย่าง แต่สิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนไปเลยก็คือ การจดบันทึกสั้นๆ ตอนที่ใช้ iPod Touch ก็จะใช้ Notes จดบันทึก แต่เมื่อย้ายมาใช้ Android ก็เปลี่ยนมาใช้ Google Keep สิ่งหนึ่งที่จำเป็นและไม่เปลี่ยนเลยคือ การจดแบบสั้นๆ กับการเข้าถึงได้ง่ายจากทุกที่ที่ต้องการ ถ้าหากอยากได้ข้อมูลเหล่านั้นต้องสามารถ Copy&Pase ได้ หรือแม้แต่การส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง(มือถือ<–>คอมฯ) ตัวแอพนี้ต้องรองรับและทำได้อย่างรวดเร็วทันใจ จึงเป็นสิ่งคัญที่ขาดไม่ได้เสียเลย

สิ่งที่ต้องการจากแอพพลิเคชั่นแบบนี้มีแค่ 2 ข้อ

  1. เน้นเข้าถึงง่าย จดเร็ว จดง่าย Sync ข้อมูลได้เร็ว
  2. เข้าถึงได้จากหลากหลายอุปกรณ์ มือถือ แท็ปเล็ต คอมพิวเตอร์

ถ้าเป็น iOS ก็ต้องแอพ “Notes” ที่ติดมาพร้อมกับเครื่องอยู่แล้ว ส่วน Android ก็ต้องเป็น “Google Keep

แอพพลิเคชั่นลักษณะที่กล่าวถึงนี้จะต่างจากแอพพลิเคชั่นจดบันทึกแบบจริงจังอย่าง Evernote ที่เราก็ใช้อยู่เป็นประจำเหมือนกัน ซึ่งแยกกันอย่างชัดเจน หากบันทึกที่มีรายละเอียดเยอะ มีองค์ประกอบหลายอย่าง มีภาพ มีลิงค์ มีวิดีโอ จะใช้ Evernote เป็นหลัก

ก่อนที่ Google Keep จะเปิดตัว ยอมรับว่าการหาแอพพลิเคชั่นแบบนี้ใน Android แบบตามความต้องการแค่ 2 ข้อนั้นยากมาก แต่หลังจากที่ Google Keep เปิดให้ใช้งานจึงค่อนข้างตอบโจทย์ที่เราต้องการมาก ตอนนี้ถ้าคิดจะซื้ออุปกรณ์พกพาอะไรใหม่ รองรับ Notes ที่เข้าถึงได้จากทุกที่ได้หรือไม่ เป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาร่วมด้วยเสมอไป

ใช้งาน Google Keep ได้ที่ https://drive.google.com/keep

Google Keep (Android)

THShowtime แอพเช็ครอบหนัง ทุกเครือ ทุกโรง

THShowtime เป็นแอพเช็ครอบฉายหนังของโรงหนังทุกเครือ ทุกโรง ที่สำคัญมีของลิโด้กับสกาล่าด้วย โรงหนังในเครือของ SF และ Major ต่างก็มีแอพของตัวเอง แต่บางครั้งอยากจะเช็คจากทั้งสองเครือก็ต้องเปิดสองแอพไม่ค่อยสะดวกนัก อีกอย่างแอพของโรงหนังไม่รู้ใส่อะไรเข้ามาบ้าง เยอะไปหมด จะเช็ครอบหนังแต่ละทีทำได้ยากมาก ใช้แล้วงงสุดๆ แถมโหลดช้าอีกเพราะเนื้อหาเยอะ แต่แอพ THShowtime นั้นมีรายละเอียดของแต่ละโรงค่อนข้างครบถ้วน มีให้เลือกทุกโรง(ในกรุงเทพฯนะ ต่างจังหวัดไม่แน่ใจ) เราสามารถ Bookmark โรงหนังที่เราไปดูเป็นประจำไว้ได้ ง่ายและเร็ว เพิ่มความสะดวกได้อย่างมาก สำหรับใครที่ชอบดูหนังแอพนี้น่าจะมีประโยชน์แน่นอน

เป็นแอพหนึ่งที่ใช้เป็นประจำ ช่วยให้การวางแผนก่อนไปดูหนังสะดวกขึ้นมาก โดยเฉพาะโรงหนังลิโด้และสกาล่าที่ช่วงหลังๆจะชอบไปดูที่นี้ แอพนี้ช่วยได้มากเลย เพราะจะเช็ครอบทีต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ Apex ไม่มีแอพของตัวเอง

สรุปว่าเป็นแอพที่ตัวเองใช้เป็นประจำเลยเอามาแนะนำครับ

ดาวน์โหลด THShowtime (Android)

THShowtime
THShowtime ทำ Bookmark โรงที่ไปดูเป็นประจำไว้
THShowtime ตัวอย่างการดูรอบหนังในเครือ APEX

Creative Writing Workshop โดยวินทร์ เลียววาริณ

วินทร์ เลียววาริณ

โครงการอบรมวรรณกรรม Bangkok Creative Writing Workshop เมื่อวันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม 2555 วิทยากรในวันนั้นคือ คุณวินทร์ เลียววาริณ ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปกรุงเทพฯ

ไปเจอวิดีโอที่สมาชิกท่านหนึ่งเอามาแชร์ไว้ใน facebook group เป็นวิดีดอบันทึก workshop ที่คุณวินทร์ เลียววาริณ เป็นวิทยากร พูดคุยกันหลายอย่างเกี่ยวกับการเป็นนักเขียนในประเทศไทย เป็นวิดีโอเก่าที่ถ่ายไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว (พ.ศ.2555) ถึงจะบันทึกไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เนื่อหาก็ไม่ได้เก่าล่าสมัยแต่อย่างใด ยังคงสะท้อนถึงวงการหนังสือ การเป็นนักเขียน(คนที่เลี้ยงชีพด้วยการเขียนหนังสือ) เป็นยังไง รวมถึงตลาดคนอ่านในประเทศไทย คนไทยอ่านหนังสือน้อยอยู่แล้ว ส่งผลให้นักเขียนหน้าใหม่เกิดค่อนข้างยาก แต่เกิดได้ ต้องใจเย็นและมีการวางแผนการทำงานที่ดี ทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่งั้นก็ไปไม่รอด

นับว่าเป็นวิดีโอที่ดีมากๆสำหรับใครที่คิดอยากเป็นนักเขียน การพูดคุย ตอบคำถามกับคนฟัง ผ่านทางประสบการณ์การเป็นนักเขียนเรื่องสั้น วรรณกรรม นิยาย นิยายวิทยาศาสตร์ หรือแนวอื่นๆที่คุณวินทร์ได้เขียน ถือว่ามีประโยชน์กับหลายๆคนไม่ใช่เฉพาะคนที่อยากเป็นนักเขียน ร่วมไปถึงการเขียนแบบเล่าเรื่องทุกอย่าง แม้แต่ในการเขียนบล็อก การเขียนบทความวิชาการ ก็นำมาประยุกต์ใช้ได้ วิธีการวางพล็อตเรื่อง การหาข้อมูล การใส่รายละเอียด การใช้ภาษา การทำอย่างไรให้คนอ่านสนุก เรื่องต่างๆเหล่านี้มีความจำเป็นกับการเขียนที่ดีทั้งนั้น

ใครที่คิดว่าตัวเองอยากเป็นนักเขียนถือว่าเป็นการแชร์ประสบการณ์จากนักเขียนมืออาชีพที่น่าศึกษามากครับ แต่ใครที่ชอบงานเขียนของคุณวินทร์นั้นก็น่าดูอย่างยิ่งเช่นกันครับ เราจะรู้ว่าเขามีวิธีทำงานอย่างไร และทำยังไงให้อยู่ได้ในสายอาชีพนักเขียนได้อย่างไม่เดือดร้อนมากนัก แต่มีความสุขและสนุกกับงาน เป็นชุดวิดีโอที่สามารถดูซ้ำได้ไม่เบื่อ และทุกครั้งที่ดูซ้ำก็ได้อะไรใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาทุกครั้งเลย ขอแนะนำครับ

คลิป bacc literature – Bangkok Creative Writing 12-05-2012 (1/2)

คลิป bacc literature – Bangkok Creative Writing 12-05-2012 (2/2)

Starpics Special – Everything About Superman

Starpics Special – Everything About Superman

ก่อนหน้านี้ Starpics ได้ทำฉบับพิเศษออกมาในชื่อ Ghibli Story : Everything About Studio Ghibli ตอนนั้นก็ได้ซื้อเก็บไว้เหมือนกันแต่ไม่ได้เขียนลงบล็อก เอาไปลงไว้ใน Goodreads แทนเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ลิงค์ด้านบนครับ

มาครั้งนี้ Starpics ทำออกมาอีกเล่มในชื่อ Starpics Special – Everything About Superman เราก็แฟนคนหนึ่งของพี่ใหญ่ซุปเปอร์แมนเหมือนกันครับ เลยไม่พลาดที่จะซื้อเก็บไว้ ซื้อมาได้สักพักแล้วและอ่านจนจบเพิ่งจะมีเวลาเขียนถึง ในเล่มมีรายละเอียดครบครัน ทั้งที่มา คนให้กำเนิด การ์ตูน ตัวร้ายคู่ปรับของซุปเปอร์แมนแต่ละตัว หนัง นักแสดงที่เล่นเป็นพี่ซุปในแต่ละยุค และอื่นๆอีกเพียบ อ่านแล้วฟินสุดๆครับ ต้องยอมรับว่าเขารวบรวมมาได้ค่อนข้างละเอียดถูกใจแฟนๆของพี่ซุปฯแน่นอน

เอาตัวอย่างบางส่วนจาก Facebook page ของ Starpics มาให้ชมครับ

Starpics Special – Everything About Superman

Superman เขาคือใคร มาจากไหน ปรากฏกายครั้งแรกเมื่อไหร่?

Starpics Special – Everything About Superman

ตัวร้ายอันดับหนึ่ง เล็ก ลูธอร์ และยังมีตัวอื่นๆอีกเพียบ General Zod, Doomsday, Bizarro, Brainiac, Mongul, Matallo, Dark Side ฯลฯ

ไม่รู้ว่าตอนนี้ตามแผงหนังสือจะยังมีขายอยู่หรือปล่าวนะครับ ต้องลองไปเดินดู แต่น่าสะสมมากๆ

ติดตั้งแอพกล้องของ Android 4.2.2 ลงมือถือของคุณ ไม่ต้อง Root

Google เปิดตัวมือถือที่ใช้ Android รุ่นดั้งเดิมโดยไม่มีการปรับแต่ง หรือที่เรียกกันว่า Stock Android, Google Edition แล้วก็ปล่อยขายผ่านทาง Google Play จะเรียกว่าอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ Nexus ก็พอได้เพราะจะเป็นรุ่นแรกๆที่จะได้อัพเกรด โดยมือถือที่เป็นเหล่านั้นเช่น  Galaxy S4 Google Play Edtion, HTC One  Google Play Edtion พอเหล่า Geek ทั้งหลายได้มือถือไปก็ไม่นิ่งเฉย ปรับโน้น แก้โน้น แก้นี่ แล้วก็เอามาแบ่งปันคนอื่นๆได้ใช้กัน ตัวที่กล่าวถึงคือแอพพลิเคชั่น Camera & Gallery

หน้าตาของมันแตกต่างจากของเดิมนิดหน่อย อาจจะใช้สะดวกมากขึ้น

เปรียบเทียบ 4.1.1 กับ 4.2.2 Camera

มือถือที่จะติดตั้งนั้นไม่ต้อง Root แต่อย่างใด และเมื่อติดตั้งแล้วมันไม่ได้ทับตัวเก่าสามารถเลือกใช้งานได้ แต่ไม่มี Photosheres ให้ใช้นะ แต่ตั้งถ่ายรูปมาก็ไม่เคยใช้เลยเหมือนกัน ใช้แค่ภาพธรรมดา กับ Paranoma ลองโหลดไปติดตั้งดู

ดาวน์โหลด Stock 4.2.2 Camera 

ที่มา: https://hackerspace.lifehacker.com

วิธีติดตั้ง Folcon Pro

Folcon Pro เป็น Twitter Client อีกตัวหนึ่งสำหรับ Android ที่นักพัฒนาทำออกมาได้ดีและได้รับความนิยมอย่างมาก แต่กลับเกิดปัญหาคนใช้เยอะเกินไป(ทั้งที่ยอมจ่ายเงินและโหลดเถื่อน) ทำให้ token ที่ Twitter ตั้งไว้ให้นักพัฒนา 100,000 token ต่อหนึ่ง application เลยเต็ม ทำให้เกิดปัญหาเข้าใช้งานไม่ได้ ทางผู้พัฒนาก็มีการแก้ปัญหาหลายครั้ง ทั้งการให้ลงทะเบียนใหม่ แต่จนแล้วจนรอดก็เต็มทุกครั้ง อีกส่วนหนึ่งต้องเรียกว่าเป็นการกันท่าของ Twitter เองที่ไม่อยากให้มีการพัฒนา Client มาแข่งกับของตัวเอง ล่าสุดผู้พัฒนา Folcon Pro เลยปล่อยให้โหลดฟรีเสียเลย แล้วให้คนใช้ทั่วไปเข้าไปขอ API key เอง หรือ อธิบายง่ายๆคือใครอยากใช้ก็เข้าไปลงทะเบียน application อะไรก็ได้สักตัว แล้วเอา API key ที่เชื่อมต่อกับ Twitter มาใส่ให้ Folcon Pro ปัญหาเรื่อง API token จำกัดจึงหมดไป เรียกได้ว่าของใครของมัน ไม่ใช่มาจากผู้พัฒนาคนเดียวอีกแล้ว เป็นการดัดหลัง Twitter อีกทางหนึ่งเหมือนกัน อาจต้องรอดูว่า Twitter จะแก้ไขปัญหานี้ต่อยังไง หรือจะปล่อยเลยตามเลย

มาถึงวิธีติดตั้งกันครับ เรียกได้ว่าทำได้เท่ และ Geek ดีทีเดียว มีสูตรลับด้วยนะ ขั้นแรกเราต้องเตรียม API Key ก่อน แล้วค่อยเอาไปลงใน Folcon Pro

ขั้นตอนลงทะเบียนรับ API Key

  1. เข้าไปที่ https://dev.twitter.com เพื่อจะขอ API key ล็อกอิน user twitter เข้าไป
  2. กดตรงรูปของเราที่มุมขวา เข้าไปที่ “My applications”

    My application

  3. คลิกเลือก “Create a new application”
  4. ใส่รายละเอียดเข้าไปให้ครบ ที่น่าสนุกคือช่องใส่ชื่อ(Name) ตอนเราทวีตมันแสดง via: ชื่อนี้ครับ เช่น เราทวีตจะมีบอกว่า via: twitter for Mac, twitter for Android, Echofon แล้วแต่เราเลยครับ อยากได้ชื่ออะไรก็ใส่เข้าไปได้เลย ส่วนเว็บไชต์ที่บังคับให้ใส่ ใส่อะไรไปก็ได้ ต้องมี https:// นำหน้าด้วยนะ
  5. คลิกเลือก Yes,I agree ในส่วนของ “Developer Rules Of The Road” ใครอยากอ่านรายละเอียดข้อกำหนดก่อนก็ได้นะครับ
  6. เราสร้าง Application ตัวหนึ่งขึ้นมาแล้ว เข้าไปที่แท็บเมนู “Settings” ด้านบน เปลี่ยน Application Type ให้เป็น “Read, Write and Access direct messages” จากนั้นเลือนลงไปคลิก Update

    Application type

  7. กลับไปที่เท็บเมนู “Details” บันทึก “Consumer key” กับ “Consumer secret” ไว้ ผมเอาลงไว้ที่ Google Keep ตอน copy ไปลงแอฟจะได้ทำได้ง่ายขึ้น

    Consumer key

เราได้ API key มาแล้ว ต่อไปก็วิธีติดตั้ง Folcon Pro ลงมือถือหรือแท็บแล็ต

ขั้นตอนการติดตั้ง Folcon Pro

  1. เข้าไปดาวน์โหลด Falcon Pro ได้ที่ getfalcon.pro ติดตั้งลงเครื่องให้เรียบร้อย (ต้องปรับ setting ของเครื่องให้อนุญาติติดตั้ง apk นอก store ได้ด้วยนะ)
  2. เปิดเข้าไปที่หน้า login
  3. กดที่มุมทั้ง 4 ของหน้าจอให้มี 4 สีโผล่ขึ้นมา (ตามรูป)

    Folcon Pro code

  4. กดตรงมุมสีส้มอีกครั้งให้มันหายไป (ดูตามรูป)

    Folcon Pro code 2

  5. จับเครื่องเขย่าครับ เขย่าครับๆ ไม่ได้เขียนผิด สักพักจะมีข้อความขึ้นมาว่า “Custom login unlocked!” และมีปุ่ม Custom login โผล่ขึ้นมา

    Folcon Pro code 2

  6. กดเข้าไป “Custom login” แล้วใส่ API Key ที่ได้จากขั้นตอนลงทะเบียนเพื่อรับ API Key ลงไป เพื่อความสะดวกผม Sync Google Keep เข้ามือถือให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยเข้าไป copy มาวาง ถ้ากดเองโอกาสผิดสูง

    AKI Key

  7. กด save แล้วก็เรียบร้อยแล้วครับ 

หน้าตาของ Folcon Pro ตามรูปครับ ในแต่ละทวีตถ้ามีรูปหรือวิดีโอที่แนบมาด้วยจะแสดงผลให้ดูด้วยเลย

Folcon Pro

ข้อมูลจาก: https://www.androidpolice.com

Exit mobile version