เว็บไซต์แนะนำผู้น่าติดตามใน Google+

Who to follow on Google+

ก่อนหน้านี้ได้แนะนำคนที่น่าติดตามใน Google+ ที่เป็นพนักงานของ Google และ Facebook ดูได้ตามลิงค์

ใน Twitter จะมีฟีเจอร์หนึ่งแนะนำคนที่คุณอาจสนใจ Who to follow ผมถือว่ามันมีประโยชน์พอสมควรเลย ใน Google+ ยังไม่มีฟีเจอร์นี้แต่ก็มีคนทำเว็บไซต์แนะนำคนน่าติดตามใน Google+ มาให้เราแล้ว โดยแยกกลุ่มให้อย่างดีเยี่ยม เว็บไซต์นั้นคือ https://www.recommendedusers.com เป็นผลงานของ +Alireza Yavari อีกอย่างที่ผมชอบในเว็บไซต์นี้คือ Circle ที่ทำขึ้นมีภาพประกอบตรงกลางวงทำให้รู้ว่าวงที่จะเลือกเกี่ยวกับอะไร ถ้า Circle ใน Google+ ใส่ภาพได้บ้างหรือมีภาพหมวดหมู่ให้เลือกใช้แทนจำนวนคนกับชื่อวงน่าจะดีไม่น้อย

เมื่อเราคลิกไปใน Circle ที่แนะนำจะพบหน้าตาประมาณนี้ครับ

ตัวอย่างในหมวด Artists Designers

คลิก Add to circles ใต้ชื่อคนที่เราสนใจ จะเปิดหน้า Profile ของคนนั้นขึ้นมา เราก็สามารถเอาเข้า Circles ได้เลย ถ้าคลิกที่หน้านี้แล้วนำเข้า Circles ได้เลยคงดี(ในอนาคตอาจจะทำได้ก็ได้) นอกจากนี้เขายังเปิดโอกาสให้เราแนะนำคนที่น่าสนใจตามหมวดหมู่เข้าไปได้นะครับ Suggestions & Recommendations

ในเว็บไซต์มีหมวดหมู่แยกคนที่น่าติดตามดังนี้

 Suggested Categories

  • Authors & Writers
  • Artists & Designers
  • Bloggers
  • Featured Users
  • Foodies
  • Googlers
  • Graphic Designers
  • Journalists
  • LGBT
  • Most Followed People
  • Musicians
  • Photographers
    -Most Followed
    -Inspirational
    -Landscape & Wildlife
    -Street Photographers
    -Portrait & Wedding
    -Other Categories
    -Photographers
  • Podcasters
  • Scientists
  • Tech Entrepreneurs
  • VCs & Angel Investors
  • Wall of Fame
  • Web Celebrities
  • Web Developers
  • Web Designers
  • Women in Tech
ยังไม่หมดครับ ในส่วนของ blog ยังแนะนำ album ภาพสวยๆจาก Google+ user ที่สวยๆมาให้เลือกดูอีกด้วย เป็นอีกจุดเด่นของ Google+ ที่ใส่ภาพขนาดใหญ่ลงไปได้ ( Facebook ภาพถูกย่อลง)
Photo Albums on Google+

ถือว่าเป็นเว็บไซต์ครบเครื่องเรื่อง Suggestions & Recommendations เกี่ยวกับ Google+ ที่ยอดเยี่ยมมาก

รวมผลงานออกแบบหน้าตา Facebook แบบใหม่

มีศิลปินหลายคนคงไม่ค่อยพอใจกับหน้าตาของ Facebook หรือ อาจจะแค่อยากลองออกแบบเว็บไซต์ Social network ที่มีคนใช้งานเยอะที่สุดในโลก อยากแสดงความสามารถว่าทำออกมาได้ดีกว่าปัจจุบัน มีหลายๆครั้งที่คนโชว์ความสามารถแนวนี้แล้วได้งานทำจริงๆ มีตัวอย่างให้เห็นเยอะแล้ว

การออกแบบหน้าตา Facebook ของแต่ละคนดูดีแตกต่างกันไป หลายอันทำออกมาได้น่าดู น่าใช้ขึ้นไม่น้อย เว็บไซต์ Hongkiat รวบรวมไว้ ผมเห็นว่าน่าสนใจเลยเอาแชร์ นอกจาก Facebook แล้วยังมีเว็บไซต์อื่นๆด้วยที่ศิลปินได้ออกแบบหน้าตาใหม่ให้ เช่น Google, Myspace, Youtube, IMDb เป็นต้น เข้าไปดูได้ที่ลิงค์ที่มาด้านล่างครับ

Facebook Concept Design

1. Barton Smith

Facebook-Facelift
Facebook Facelift

ผลงานแรกเป็นของ Barton Smith ในชื่อ The Facebook Facelift ปรับแต่งใหม่ทั้งหมด ทั้ง Home, Feed, Event, Photo ทำออกมาดูดีมาก เน้นโทนขาว เทา ฟ้า ใช้พื้นที่ได้เต็มจอ มีวีดีโอสาธิตการใช้งานด้วย เข้าไปดูผลงานของเขาแบบเต็มๆได้ที่ Barton Smith

2. Information Architects

Facebook by information architect

ผลงานโดยบริษัททำงานออกแบบโดยตรง Facebook ในแบบของพวกเขาถูกออกแบบมาให้เหมือนกับอีเมลแอพลิเคชั่น แบ่งออกเป็น 3 คอลัมน์ คือ ส่วนของ filter แยกกลุ่มของเนื้อหาที่จะแสดงใน information-stream ที่อยู่ตรงกลาง และ reaction ที่จะใช้โต้ตอบคอมเม้นต์ในหัวข้อนั้นๆ ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.informationarchitects.jp

3. Justin Dauer 

Facebook by Justin Dauer

Facebook หาตาแบบใหม่ของ Justin Dauer ดูเรียบมีสไตล์คล้ายบล็อกเหมือนกันนะ ดึงเอารายละเอียดของผู้ใช้มาอยู่ด้านขวา เมนูสำคัญพร้อมกับ notification แสดงดูด้านบน ดูดีมาก รายละเอียดดูที่ pseudoroom design

4. Peter Knoll

Facebook by Peter Knoll

ตัวนี้เมนูด้านบนยังคงคล้ายๆกับหน้าตาของ Facebook ในปัจจุบัน และเน้นส่วนของ post ให้ใหญ่และเด่นมากขึ้น แต่ส่วน New Feed จะเหมือนกับ Google+ เลย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Peter Knoll

5. AndasoloARTS

Facebook by AndasoloARTS

การออกแบบ Facebook ตัวนี้มีโทนสีคล้ายกับของ Peter Knoll ส่วนที่แตกต่างออกไปคือส่วนของ New Feed ที่ใหญ่ขึ้นและดูดีขึ้น รายละเอียดดูที่ AndasoloARTS

6. Jonaska

Facebook by Jonaska

อันนี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก AndasoloARTS โดยปรับปรุงส่วนของช่องโพส ช่องค้นหา และส่วนอื่นๆให้ดูดีขึ้น รายละเอียดที่ Jonaska

7. Czarny-Design

Facebook by Czarny Design

หน้าตาใหม่ของ Facebook ที่ออกแบบโดย Czarny Design จะเน้นไปที่การใช้เส้นโค้งในการออกแบบมากขึ้น เน้นช่องคอมเม้นต์ให้เด่นมากขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Czarny-Design

การออกแบบหน้าตาใหม่ให้ Facebook ของแต่ละคนก็มีรูปแบบที่แตกต่างกัน หลายๆอันอยากให้เอาไปใช้จริงๆเลยนะ อย่างเช่นของ Justin Dauer ผมว่าเข้าขั้นน่าใช้เลยล่ะ แต่ทุกครั้งที่ Facebook มีการอัพเดตหน้าตาใหม่ช่วงแรกๆจะมีคนบ่นอยู่ซักพักจากนั้นก็จะชินและเลิกบ่นไปเอง ประมาณว่าเขาให้ใช้อะไรก็ต้องใช้ไป แต่ผมว่าเว็บไซต์ที่มีคนใช้งานเยอะขนาดนั้นเข้าต้องวิจัยและทดลองใช้มาก่อนอยู่แล้วจึงจะปล่อยให้คนทั่วไปใช้ และมันต้องเป็นมิตรกับคนใช้งาน ไม่ยุ่งยากเกินไป ซึ่งผมว่าปัจจุบัน Facebook ก็ทำได้ดีมากอยู่แล้ว

เห็นคนอื่นออกแบบ Facebook ในฉบับของเขา คุณอยากลองทำเองบ้างไหมครับ ใครทำแล้วแชร์มาให้ดูด้วยนะครับ

ที่มา: https://www.hongkiat.com/blog/concept-design-facelift-notable-websites

รวมภาพการออกแบบหน้าตา Facebook ของแต่ละคนทั้งหมด

 

ถ่ายเอกสารอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

ถ่ายเอกสารแบบไหนไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

วันนี้แวะไปถ่ายเอกสารที่ห้องสมุดคณะแพทย์ จุฬาฯ เจอโปสเตอร์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่องการถ่ายเอกสารอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ เห็นว่าน่าสนใจและน่ามีประโยชน์เลยเอามาแบ่งปันครับ

ถ่ายเอกสารอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

เคารพสิทธิเจ้าของความคิดถ่ายเอกสารโดยไม่ละเมิดสิทธิ์ สร้างแรงใจให้คนสร้างสรรค์งาน

สำเนา

  • จำนวนที่พอเหมาะ
  • เฉพาะบางส่วนไม่ใช่ทั้งเล่ม(1 ใน 10)
  • เพื่อการศึกษาวิจัยที่ไม่มีผลประโยชน์เชิงพาณิชย์
  • เพื่อใช้ในห้องสมุด

อ้างอิง: กรมทรัพย์สินทางปัญญา www.ipthailand.com

ถุงใส่ที่ชาร์ตแบต Macbook

ถุงใส่ที่ชาร์ตแบต Macbook

ที่ชาร์ตแบตของ Macbook เป็นแบบทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาว เก็บสายไฟลำบากมาก แถมเป็นรอยง่าย คิดถึงที่ชาร์ตแบตของน้องเดลแบนๆสีดำเวลาเก็บม้วนสายไฟมีที่รัดล็อคอย่างดี ไม่ต้องกลัวรอยขีดขวน ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ที่ชาร์ตแบต Macbook ไม่มี ผมก็เลยลองหาพวกกระเป๋าเล็กๆมาเก็บมัน จะได้เก็บง่ายยัดลงเป้ได้ง่าย แล้วก็ใช้มาหลายอันตั้งแต่ราคายี่สิบจนถึงหลายร้อยบาท และก็ไม่อยากใช้ของแพง ใช้ไปไม่มีอันไหนถูกใจเลย

จนเมื่อต้นเดือนสิงหาคมได้ไปเที่ยวอัมพวากับเพื่อน ไปเจอถุงแบบมีหูรูด หนาพอใช้ได้ คิดว่าอันนี้น่าจจะใช้ได้ ตอนนั้นก็ลองกะๆดูว่ามันจะใส่ได้หรือเปล่า ราคาก็ถูกดีด้วย 4 ถุง 100 บาท ก็เลยซื้อมา 4 ถุง แล้วก็ให้เป็นของฝากไป 3 ถุง เลยเหลือแค่อันเดียว

พอเอามาใส่ที่ชาร์ตแบตใส่ได้พอดีเลย เวลาเก็บง่ายมากม้วนๆยัด รูด ทิ้งลงเป้ คิดว่าเป็นถุงที่หาซื้อได้ทั่วไปนะ ใช้มา 2 สัปดาห์ สรุปว่าถูกใจใช่เลยครับ ใครไปอัมพวาหาซื้อมาฝากอีกถุงสองถุงด้วยนะ จะเอาไว้เป็นตัวสำรอง

ดูการ์ตูน X-Men Evolution ฟรีที่ Youtube

X-Men Evolution

X-Men Evolution ฉบับการ์ตูนอะนิเมะ มีให้ดูแบบฟรีๆ เต็มๆตั้งแต่ Season 1-4 รวม 52 ตอน เลยทีเดียว ถูกลิขสิทธิ์ด้วยนะเพราะ Marvel อัพโหลดเอง เป็นการ์ตูนที่ฉายทางทีวีตั้งแต่ปี 2000-2003 ยังดูสนุกอยู่นะครับ เป็นช่วงที่ X-Men มีตัวหลักๆอยู่แล้ว และก็มีสมาชิกเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ตอนนี้ยังดูได้นิดเดียว episode หนึ่งยาวประมาณ 20 นาทีกว่าๆ แอบไปดูตอนหลังๆตัวร้ายที่ต้องสู้ด้วยเก่งฉิบหาย!

ตอนดูมนุษย์กลายพันธุ์แต่ละตัวในการ์ตูนผมมักจะนึกถึงตัวละครในหนังที่คนจริงแสดงตั้งแต่ X-Men 1-3 และ first class ตอนเป็นคนจริงหน้าตาเป็นยังไง ต้องบอกว่าฉบับคนแสดงเท่กว่า แต่ฉบับการ์ตูนเนื้อเรื่องสนุก จินตนาการเหนือกว่า(การ์ตูนนิน่า)

เหตุที่ไปเจอ ก็เปิด youtube ไปเรื่อยๆ ก็บังเอิญไปเจอเข้า ยังแปลกใจว่าเอามาให้ดูฟรีเลยรึนี้ เห็นในมีลิงค์ไปที่ iTune store ให้โหลด แต่ที่นั้นไม่ฟรีครับ ใน channel มี Fantastic 4 ด้วยนะแต่มีนิดเดียว ส่วนการ์ตูนเรื่องอื่นๆอย่างเช่น Ben 10, Teen titan,The Grim Adventures of Billy and Mandy ที่ชอบๆใน Cartoon Network ลองค้นดูใน Youtube ก็มีบ้างนะ แต่ไม่เป็นแบบ official อย่างเช่น X-Men Evolution

เข้าไปดู X-Men Evolution แบบฟรีๆได้ที่ https://www.youtube.com/show?p=DmJMgpU45BE&s=1 

รีวิวสมุดหน้าเหลืองออนไลน์ TYPLive.com

ในโพสนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Yellowpages.co.th ในการรีวิวการใช้งานสมุดหน้าเหลืองออนไลน์ครับ ต้องขอขอบคุณทีมงานมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ ที่ให้โอกาสและไว้วางใจให้รีวิวครับ

ผมเชื่อว่าหลายคนน่าจะมีโอกาสได้เคยใช้สมุดหน้าเหลืองที่เป็นเล่มกระดาษ มันอยู่มานานมาก ถ้าพูดถึงสมุดหน้าเหลือง สิ่งแรกที่คิดถึง คือ หาเบอร์โทรศัพท์ของบริษัทหรือคนทั่วไป จำได้ว่าล่าสุดเคยใช้ตอนที่อยู่ในตู้โทรศัพท์สาธารณะเมื่อนานมาแล้ว ตอนนี้ที่ใต้ตึกอพาร์ตเม้นต์ก็ยังมีอยู่เล่มหนึ่ง น่าจะเป็นแนวทางการทำธุรกิจของสมุดหน้าเหลืองที่เอามาวางไว้ตามที่พักอาศัย ให้คนได้ใช้กันเยอะๆ อันนี้อยากรู้ที่มาของรายได้ของสมุดหน้าเหลืองเหมือนกันนะว่ามีช่องทางการทำธุรกิจอย่างไร? แต่ก่อนเราเคยใช้เฉพาะเป็นเล่ม ก็เพิ่งรู้เหมือนกันว่ามีเวอร์ชั่นออนไลน์ด้วย น่าจะมีมานานแล้วเช่นกัน (ตั้งแต่ปี 2000)

ในโพสนี้จะเป็นการแนะนำการใช้งาน สมุดหน้าเหลืองฉบับออนไลน์ ใช้งานผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยเรียกกันสั้นๆว่า เว็บหน้าเหลือง ใช้สำหรับค้นหาเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ของห้างร้านต่างๆ รวมถึงที่ตั้ง แผนที่ และช่องทางการติดต่อกับบริษัทที่เราสนใจ ในขั้นต้นจะทำความรู้จักก่อนว่าเว็บหน้าหลืองทำอะไรได้บ้าง ผมได้คู่มือการใช้งานมา ได้อ่านและได้ทดลองใช้จริงๆ อยู่พักหนึ่ง เพื่อดูว่ามันทำงานได้ดีมากน้อยแต่ไหน และน่าจะมีประโยชน์กับใครบ้าง ทีมงานจากเว็บหน้าเหลืองค่อนข้างให้อิสระในการรีวิวตามความเป็นจริง เราทดลองใช้แล้วรู้สึกยังไงกับผลิตภัณฑ์ก็ให้เขียนได้เต็มที่ ติดตามการรีวิวได้เลยครับ

แนะนำการใช้งานสมุดหน้าเหลืองออนไลน์

1. เข้าใช้งานเว็บหน้าเหลืองได้ที่ Yellowpages.co.th หรือ TYPLive.com
2. หน้าแรก ออกแบบเน้นโทนสีเหลืองตามคอนเซ็ปต์(ดูรูป) หลังบ้านใช้ระบบค้นหาข้อมูล Fast search & Transfer  ของบริษัทจากนอร์เวย์ ที่ตอนนี้เป็นของ Microsoft แล้ว ซื้อมาตอนปี 2008 ($1.2 billion)
หน้าหลักของเว็บสมุดหน้าเหลืองออนไลน์
จุดเด่นของหน้าหลักที่ชอบเป็นพิเศษคงเป็นช่องค้นหาที่ใหญ่ ตักษรตัวใหญ่ ใช้ฟอนต์ RSURegular อ่านง่ายดีครับ(ต้องลองเอาไปใช้บ้าง) เป็นเว็บไซต์ที่ได้รางวัล ผู้เข้าชมมากที่สุดในหมวดเว็บไซต์ธุรกิจในปี 2010

3. ฟังก์ชั่นหลักในเว็บหน้้าเหลือง คือการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจต่างๆในประเทศไทย สามารถเลือกค้นหาตามคีย์เวิร์ด สถานที่ หรือตามหมวดหมู่ก็ได้ เรื่องของข้อมูลบนเว็บไซต์ ทีมงานเว็บหน้าเหลืองเคลมว่าข้อมูลผ่านการตรวจสอบแล้วว่า มีความถูกต้องและมีอยู่จริง!!!
ช่องค้นหา
  • ค้นหาเยลโล่เพจเจส คือ การค้นหาข้อมูลธุรกิจตามคีย์เวิร์ด พร้อมกับระบุที่อยู่ได้ตามต้องการ (ช่องใหญ่ดี)
การค้นหาข้อมูลธุรกิจแบบแบ่งตามหมวดหมู่
  • ค้นหาตามหมวดหมู่ จะแยกหมวดหมู่ของธุรกิจตามตัวอักษรนำหน้า อันนี้คล้ายกับตอนเลือกเพลงร้องคาราโอเกะ
ค้นหาด้วยภาพ
  • ค้นหาด้วยภาพ ในฐานข้อมูลธุรกิจบ้างอันมีภาพประกอบ เช่น วัสดุก่อสร้าง การจัดดอกไม้ ค้นที่นี้จะเจอภาพประกอบเหล่านั้น จากนั้นเราก็เข้าไปดูรายละเอียดของบริษัทที่เราสนใจได้เลย การค้นหาด้วยภาพน่าจะนำคนเข้าถึงข้อมูลที่สนใจได้ง่ายขึ้น
ค้นหาจากเบอร์โทรศัพท์
  • แต่ถ้ามีเฉพาะเบอร์โทรแต่ไม่รู้ว่าเป็นเบอร์โทรของบริษัทอะไร อยู่ที่ไหนก็ให้ใช้ช่องค้นหาแบบ ค้นหาจากเบอร์โทร
ค้นหาชื่อ
  • ค้นหาบุคคล ส่วนนี้ใช้ค้นหาบุคคลตามชื่อ-นามสกุล เพื่อหาเบอร์โทรศัพท์ของเขา ซึ่งจะได้รายละเอียดเป็นเบอร์โทรบ้าน
4. ส่วนต่อไปที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ ค้นหาตามแผนที่ เมื่อคลิกที่ ค้นหาด้วยแผนที่ จะนำเข้าสู่ https://map.yellowpages.co.th ซึ่งจะเป็นส่วนของธุรกิจที่อยู่บนแผนที่ ทำให้เราสามารถเลือกกลุ่มธุรกิจที่สนใจตามแผนที่ได้สะดวกมากขึ้น
ค้นหาธุรกิจบนแผนที่
5. ส่วนค้นหา ร้านค้าออนไลน์ จะเป็นการค้นหาร้านค้าที่มีสินค้าขายออนไลน์ หรือ e-commerce โดยจะลิงค์ข้อมูลกับเว็บ https://www.marketthai.com  เพิ่มความสะดวกในการจะสั่งซื้อสิ้นค้าและบริการผ่านทางหน้าเว็บไซต์

6. เว็บไทย จะเป็นส่วนของการค้นหาเว็บไซต์ของบริษัทต่างๆที่มีข้อมูลอยู่ในเว็บหน้าเหลือง เมื่อกดลิงค์จะนำเข้าสู่เว็บไซต์ของบริษัทนั้นๆเลย

7. หมายเลขฉุกเฉิน-หมายเลขสำคัญ เป็นหน้ารวมหมายเลขแจ้งเหตุ เช่น เหตุด่วนเหตุร้าย ไฟไหม้ หน่วยกู้ชีพ ตำรวจทางหลวง ฯลฯ
หมายเลขฉุกเฉิน
8. หมวดหมู่ที่ค้นหามากที่สุด จะแสดงอยู่ในส่วนด้านล่างของ หมายเลขฉุกเฉิน ส่วนนี้ทำให้รู้ว่าส่วนใหญ่คนที่เข้ามาในเว็บหน้าเหลืองใช้งานส่วนไหนเยอะสุด ทำให้การเข้าถึงข้อมูลส่วนนั้นๆทำได้ง่ายขึ้น

9. ส่วนอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น สาระน่ารู้ และ ข้อมูลทางด้านธุรกิจ เช่น อัตราการแลกเปลี่ยนเงิน ราคาน้ำมัน ราคาทองคำ ฯลฯ จะอยู่ส่วนล่างของหน้าเว็บหน้าเหลือง

TYP LIVE CONNECT

ส่วนนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่น่าจะมีประโยชน์กับการติดต่อกันระหว่างลูกค้ากับบริษัทที่มีข้อมูลอยู่บนเว็บหน้าเหลือง คือ การติดต่อกับบริษัทที่อยู่บนเว็บไซต์ได้โดยตรง ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ได้เลย ถ้าเราเป็นเจ้าของธุรกิจก็ต้องโหลดโปรแกรม TYP LIVE ไปติดตั้งที่เครื่องก่อน เมื่อออนไลน์เหมือนเล่น MSN ที่หน้าเว็บหน้าเหลืองส่วนที่แสดงรายละเอียดของบริษัทจะแสดงสถานะให้ลูกค้าเห็นว่า ตอนนี้เจ้าของธุรกิจออนไลน์อยู่ สามารถสนทนาผ่านทางข้อความหรือเสียงได้เลยทันที ส่วนนี้ถือว่าเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจของตัวเองอย่างมาก สำหรับการติดต่อกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ช่วงที่ลูกค้าเข้ามาค้นข้อมูล คือ ช่วงที่เขาต้องการรายละเอียดมากที่สุด บริษัทไหนเสนอข้อมูลมาก่อน ให้รายละเอียดได้ดีกว่า ลูกค้าย่อมให้ความสนใจมากกว่าเช่นกัน ผู้ใช้งานที่เป็นลูกค้าก็พอใจที่ได้ข้อมูลตามต้องการ อีกทั้งยังได้รายละเอียดครบถ้วนมากกว่าอยู่บนเว็บไซต์ อันนี้เป็นฟีเจอร์ที่มีแนวคิดดีมาก

ถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจเมื่อเริ่มทำงานก็ล็อกอินรอลูกค้าติดต่อมาได้เลย หรือจะออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อรอให้บริการ ถือเป็นผลดีต่อบริษัทแน่นอน

รายละเอียดโปรแกรม ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม TYP Live Connect ได้ที่ https://connect.typlive.com
 
YellowPages on mobile
Yellowpage on mobile
การใช้งานสมุดหน้าเหลือออนไลน์สามารถใช้งานได้ผ่านทางมือถือได้เช่นกัน ตอนนี้มี App ให้ดาวน์โหลดฟรีทั้งบน iPhone/iPad, Android, Blackberry เริ่มเห็นมีหลายบล็อกรีวิวเหมือนกันครับลองค้นดู รูปแบบการใช้งานครอบคลุมเหมือนอยู่บนเว็บไซต์ แต่เข้าถึงได้ง่ายกว่า ดูลิงค์ดาวน์โหลดได้ที่นี้ครับ https://www.yellowpages.co.th/mobile

การใช้งานจริง หน้าหลักค้นหาบริษัท

ส่วนที่เป็นการค้นหาหลักของเว็บหน้าเหลืองที่ได้ลองใช้งานจริง เอาตัวอย่างมาให้ดูครับ
ทดลองใช้งาน
เมื่อพิมพ์คำค้นหาเข้าไปก็จะมีคำแนะนำขึ้นมาให้เพื่อง่ายต่อการค้นหา ผมพิมพ์คำว่า ก่อสร้าง คำแนะนำที่เกี่ยวข้องก็จะแสดงขึ้นมาให้เลือก หลายอย่างเช่น ก่อสร้าง-นั่งร้าน ก่อสร้าง-วัสดุ ก่อสร้างรับเหมาทั่วไป เป็นต้น

เมื่อเลือกค้นหาตามที่ต้องการได้แล้ว ผลการค้นหาจะแสดงรายละเอียดดังนี้ครับ
การแสดงผลการค้นหา
ข้อมูลที่แสดง มีชื่อบริษัท ทำธุรกิจหรือบริการอะไร ตัวอย่างภาพที่เกี่ยวข้องกับงานของบริษัท และข้อมูลที่จะติดต่อกับบริษัทได้ทางใดได้บ้าง (มีอีเมล มีเว็บไซต์ มีเบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ) ถ้าบริษัทไหนมี TYP Live Connect ก็จะแสดงสถานะว่าออนไลน์บนหน้านี้ด้วย(ต้องลงโฆษณา) จากหน้านี้เราสามารถคลิกเลือกเพื่อเข้าไปดูรายละเอียดแบบสมบูรณ์ได้ หรือจะเลือกหลายๆบริษัทเพื่อเปรียบเทียบกันได้(เหมือนกำลังเลือกซื้อสิ้นค้า)
หมวดหมู่ย่อย
นอกจากนี้เรายังสามารถทำการเจาะผลการค้นหาเพิ่มเติมได้อีก โดยระบุจังหวัดที่ตั้งของบริษัทได้ หรือ เลือกหมวดหมู่ย่อยของคำค้นหานั้นได้อีก เช่น ถ้าค้นคำว่า ก่อสร้าง ก็จะมีหมวดหมู่ย่อยให้เลือกอีก เช่น หมวดหมู่ ไม้ เหล็ก ผู้รับเหมา วิศวกร ที่ปรึกษา เป็นต้น

ตัวอย่างหน้าแสดงรายละเอียดของบริษัท มีชื่อ เบอร์โทร โทรสาร อีเมล แผนที่ ฯลฯ
ตัวอย่างรายละเอียดของบริษัทในสมุดปกเหลืองออนไลน์
การค้นหาจากแผนที่

การทดลองค้นหาในเมนูค้นหาจากแผนที่ เราสามารถระบุคีย์เวิร์ดพร้อมกับสถานที่ลงไปในช่องค้นหาได้เลย  รูปแบบการใช้งานจะใกล้เคียงกับบนแผนที่กูเกิลครับ ทดลองค้นคำว่า ก่อสร้าง สถานที่ กรุงเทพ ผลการการค้นหาแสดงดังรูปด้านล่าง
ผลการค้นหาด้วยแผนที่
การค้นหาจะแสดงที่ตั้งของบริษัทบนแผนที่ประเทศไทย มีทุกจังหวัดนะครับ ไม่ใช้เฉพาะในกรุงเทพฯ ทำให้เราเลือกดูได้เฉพาะกลุ่มบริษัทที่อยู่ใกล้ที่อยู่ของเราได้ ส่วนแถบด้านซ้ายเป็นรายชื่อของบริษัทตามคำค้นหาที่เราใส่เข้าไป  (ถ้าเอาเมาส์ไปวางที่รายชื่อบริษัทตรงแถบซ้าย แล้วมีเอฟเฟ็กบอกตำแหน่งบนแผนที่เลย จะดีมาก)
แสดงรายละเอียดของบริษัท
เมื่อเราคลิกที่ตำแหน่งของที่ตั้งบริษัทจะแสดงรายละเอียดของบริษัทนั้นขึ้นมา มีชื่อ เบอร์โทร สามารถคลิกไปดูรายละเอียดแบบสมบูรณ์ได้ และสามารถขอเส้นทางไปยังที่ตั้งของบริษัทนั้นได้เลย
ของเส้นทางไปบริษัท
ลองคลิกขอเส้นทางไปที่บริษัทหนึ่ง ระบุตำแหน่งที่เราอยู่(A) ไปสถานที่ตั้งบริษัท(ฺB) ระบบจะแสดงเส้นทาง และรายละเอียดของการเดินทางให้

ความเห็นเพิ่มเติม

ในขั้นตอนการใช้งานจริงผมได้ทดลองเล่นอยู่หลายวัน และบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับการใช้งานไว้มีทั้งที่ชอบไม่ชอบ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับทีมพัฒนาให้มีการปรับปรุงแก้ไขต่อไปครับ

  • มี bug อยู่บ้าง เช่น ถ้าอยู่หน้าแสดงรายละเอียดของบริษัท(https://profile.yellowpages.co.th/xxxxxx) จะไม่สามารถใช้งานการค้นหาตามหมวดหมู่ได้
  • ถ้าคิดจะค้นหาหลายครั้งต่อเนื่องกัน จะรู้สึกว่าการซ่อนช่องค้นหาในหน้าแสดงผลจะไม่ค่อยสะดวก ที่ต้องมาเปิดกล่องใหม่ทุกครั้ง อยากให้ทำแบบเดียวกับกูเกิลคือทำให้ช่องค้นหาเล็กลง(เฉพาะหน้าแสดงผลการค้นหา)แต่ไม่ต้องซ่อน
  • หน้าเว็บโหลดช้าไปนิด น่าจะทำได้เร็วกว่านี้  page speed  ได้ 71/100
  • หน้าแสดงผลการค้นหาโชว์เนื้อหาได้น้อยไป ทำให้ต้องเลื่อนลงมาดูตั้งแต่ครั้งแรก เพราะมองไม่เห็นข้อมูลเลย โดยเฉพาะหน้าที่มีการค้นหาเยอะจะมีโฆษณาเข้ามาขั้นอีก
ค้นคำว่า ก่อสร้าง ต้องเลื่อนหาข้อมูลตั้งแต่แรกเพราะอยู่ล่างเกินไป
  • หน้าค้นหาในแผนที่ ช่องค้นหาใหญ่เกินไป หรือจะบอกว่าส่วน header มันใหญ่ไป ทำให้แผนที่ที่แสดงในหน้าเว็บถูกกินเนื้อที่เหลือช่องดูแผนที่น้อยลง ถ้าเอาขึ้นไปอยู่แถบเหลืองด้านบนได้จะดีมาก
หน้าค้นหาด้วยแผนที่
– ในหน้าของ category (ยกตัวอย่าง ) คิดว่าด้านบนควรมีให้เลือกจังหวัดได้ด้วย เพื่อความสะดวกในการค้นหา เหมือนการค้นหาในหน้าหลัก
ผลการค้นหาจากการเลือกหมวด(ด้านบน) ไม่มีการค้นหาแบบเจาะจงจังหวัดได้
  • ในหน้าแสดงข้อมูลแบบหมวดหมู่ จะเลือกเปรียบเทียบตัวเลือกไม่ได้
  • การค้นหาด้วยภาพ ค่อนข้างให้ผลไม่ตรงเท่าไหร่ ในกรณีที่คำค้นนั้นมีธุรกิจน้อย เช่น ค้นคำว่า จักรยาน จะเจอภาพไม่เกี่ยวข้องเยอะกว่าจักรยาน แต่ถ้าลองค้นคำว่า เสาปูน หรือดอกไม้ ค่อนข้างให้ผลการค้นหาที่ถูกต้อง
  • ในหน้าหลัก หมายเลขฉุกเฉิน-หมายเลขสำคัญ ผมว่าหาความแตกต่างได้น้อย รวมกันน่าจะดีกว่า ผมเองกดเข้าไปดูหลายครั้งยังจำไม่ได้เลยว่า เบอร์โทรแจ้งไฟไหม้ต้องคลิกปุ่มไหน?
  • ส่วนค้นหาบุคคล ส่วนนี้ลองค้นดูแล้ว มันจะแสดงผลการค้นหาเรียงตามตัวอักษรของชื่อ เช่น เมื่อค้นด้วยคำว่า “สมศักดิ์”  จะเจอชื่อ “กมล  อรุณโชคสมศักดิ์ ” มาก่อน “สมศักดิ์  กิ่งรัตน์”
สรุป
เว็บหน้าเหลืองถือว่าตอบโจทย์การค้นหาบริษัท ห้างร้าน ธุรกิจ ในประเทศไทยค่อนข้างครบถ้วน เราคงหาผลการค้นหาแบบเป็นเฉพาะบริษัทล้วนๆในกูเกิลไม่ได้แน่นอน ถือว่าสนับสนุนธุรกิจของประเทศไทยได้อย่างดี ทำให้ลูกค้ากับผู้ให้บริการเจอกันได้ง่ายขึ้น แต่คิดว่ายังมีหลายส่วนที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมตามที่ได้กล่าวถึงข้างบน โดยเฉพาะการค้นหาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และคิดว่าเอารูปแบบการแสดงผลการค้นหาของกูเกิล หรือ Bing มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบน่าจะดีนะครับ จะทำให้ประสบการณ์การใช้งานของคนใช้ทั่วไปไม่รู้สึกว่าแปลกแยกมากนัก(ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับกูเกิล)

ผมพอจะรู้แล้วว่าเยลโล่เพจเจส หาเงินจากไหน มันคือธุรกิจที่เป็นเหมือนช่องทางเชื่อมระหว่างลูกค้ากับผู้ให้บริการ ห้างร้าน ฯลฯ คนที่ยอมจ่ายตังค์ให้ คือ ผู้ให้บริการที่อยากให้บริษัทตัวเองเป็นที่รู้จักมากขึ้นนั้นเอง

เพิ่มปุ่มเล่นซ้ำอัตโนมัติให้ Youtube

Youtube auto play extension

เคยไหมดูมิวสิควีดีโอเพลงเพราะๆ หรือคลิปฮาๆ แล้วอยากดูซ้ำ แต่เบื่อการต้องมากดปุ่มเล่นซ้ำอีกครั้ง โดยเฉพาะคลิปที่เราอยากฟังเสียงมากกว่าดูภาพ ตัว playlist ของ youtube ถือว่าเป็นตัวที่ทำให้เราฟังเพลงได้ต่อเนื่องโดยไม่ต้องกลับมาเปิดหน้า youtube อีกครั้ง แต่บางครั้งอยากฟังที่เราชอบเพลงเดียวสัก 100 รอบ คุณเคยเป็นไหม? อาการนี้ผมเป็นบ่อยเลยล่ะ! ความต้องการอยากได้ปุ่ม replay ใน youtube ค้างคาในใจมานาน วันนี้เลยลองค้นดูในกูเกิล ปัญหาง่ายๆแบบนี้น่าจะมีคนที่คิดเหมือนเราสิ และต้องมีวิธีแก้ไขด้วยสิ ก็ไปเจอ extension สำหรับ Firefox และ Chrome จึงเอามาแชร์ให้คนที่อยากฟังเพลงซ้ำอย่างเช่นผม

Auto Replay for YouTube ดาวน์โหลดได้ที่ Chrome Extension และ Firefox Add-on

YouTube Auto Replay

เมื่อติดตั้ง extension แล้ว เมื่อเราเปิดไปที่ youtube ในหน้าวิดีโอที่เราอยากเล่น ที่ด้านล่างซ้ายของวีดีโอจะมี Auto Replay ปรากฏขึ้นมา เมื่อเราติ๊กในช่องข้างหน้า วีดีโอนั้นจะเล่นซ้ำทันทีเมื่อเล่นจบ

นอกจากนั้นเราสามารถกำหนดช่วงเวลาที่อยากให้เล่นซ้ำได้ กด + ที่อยู่หน้า Auto Replay จะมีช่องเวลาให้ใส่ว่าจะกำหนดให้เล่นตั้งแต่เวลาไหน ถึงเวลาไหน ใช้ปุ่มขึ้น-ลงเพื่อเลื่อนเวลา(1 sec) หรือกด Shift ด้วยขณะกดขึ้น-ลง (5 sec) ได้

หรือง่ายกว่านั้น ให้คลิกในช่อง Replay From ก่อน เมื่อเล่นวีดีโอถึงจุดที่จะให้เริ่มเล่นซ้ำ ให้กด Shift+Enter เวลานั้นจะเข้าไปในช่องนั้น จากนั้นคลิกในช่อง Play Till และกด Shift+Enter อีกครั้งเมื่อวีดีโอเล่นถึงจุดสุดท้ายที่อยากให้เล่นซ่ำ แล้วคลิปนี้จะวนซ้ำเฉพาะจุดที่กด Shift+Enter ครั้ง 1 กับครั้งที่ 2 เท่านั้น เหมาะสำหรับวีดีโอที่มีหัวท้ายที่ไม่อยากฟังหรืออยากดู

ขอให้สนุกกับการดูซ้ำครับ

รวมเครื่องมือทดสอบการแสดงผลเว็บไซต์

Browser test

Smashing Magazine รวมเครื่องมือทดสอบการแสดงผลเว็บไซต์ของแต่ละ browser ไว้อย่างครบถ้วน ละเอียดมาก เห็นว่าน่าสนใจและเคยเขียนถึงตัวหนึ่งไว้เหมือนกันลองดูได้ที่ Adobe BrowserLab เครื่องมือทดสอบการแสดงผลเว็บไซต์ ในลิสต์ที่เขารวบรวมไว้จะมีทั้งตัวที่สามารถใช้ได้เลยผ่านทางเว็บไซต์ และตัวที่ต้องติดตั้งลงเครื่อง ตัวไหนที่ดีมี suport รองรับก็ต้องจ่ายตังค์ บริษัททำเว็บใหญ่ๆอาจจะต้องใช้ สำหรับใช้ในงานไม่ใหญ่มากแบบฟรีก็คงเป็นอะไรที่เหมาะสมแล้ว

ผมดึงมาเฉพาะตัวที่มีเวอร์ชั่นฟรีให้ใช้ หากใครสนใจอยากดูรายละเอียดแบบเต็มตามไปดูบทความของ Cameron Chapman ได้ที่ Review Of Cross-Browser Testing Tools คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนทำเว็บ

Tool Number of browser versions supported IE? Interactive testing? Side-by-side testing? Pricing
Adobe BrowserLab 13 IE6+ No Yes Free
Browsershots 60+ IE6+ No No Free
SuperPreview Varies IE6+ Yes Yes Free
Lunascape 3 IE6+ Yes Yes Free
IETester 6 versions of IE IE5.5+ Yes Yes Free
IE NetRenderer 5 versions of IE IE5.5+ No No Free
Spoon 16+ no IE Yes No Free
Browsera 9 IE6+ No Yes Free – $99/month
Browserling 9 IE5.5+ No No Free – $20/month

Google search by image ใช้ภาพแทนข้อความในการค้นหา

Search by image หรือ การค้นหาด้วยภาพ เป็นอีกหนึ่งบริการค้นหาข้อมูลของ Google ที่ใช้ภาพแทนข้อความในการค้นหา

เราน่าจะคุ้นกับบริการของ Google gogles ที่ใช้กล้องมือถือถ่ายภาพแล้วค้นหาข้อมูลของภาพนั้นได้ทันที ถือว่าเพิ่มความสะดวกได้อย่างมาก เคยคิดว่าน่าจะใช้งานผ่านหน้าเว็บไซต์ได้บ้างนะ จนบังเอิญไปเจอ extension ของ Chrome ที่ใช้สำหรับค้นหาด้วยภาพ ก็ใช้งานมาเรื่อย แต่ช่วงเดือนที่แล้วได้ใช้งานเยอะและเห็นประโยชน์จากมันเยอะพอสมควร เลยอยากเขียนเก็บไว้

เหตุที่ได้ใช้งานการค้นหาด้วยภาพมากช่วงเดือนที่ผ่านมา คือ ได้ทั้งเขียนและรวมบทความจากหลายๆคน ซึ่งส่วนใหญ่ภาพที่ใช้ประกอบบทความจะต้องมีอ้างอิง แต่ตัวเองค้นมาเยอะรวมอยู่ที่เดียว แล้วเลือกเอาเฉพาะภาพที่เหมาะสมมาใช้ พอจะอ้างอิงก็หาไม่เจอว่าเอามาจากไหน ตัวค้นหาด้วยภาพเลยช่วยได้เยอะเลย ไม่งั้นคงงมอีกนาน

ค้นหาด้วยภาพ

โดยปกติการค้นหาภาพ ผมมักจะค้นจากหน้าหลักของ Google แล้วค่อยคลิกที่เมนู image จากผลการค้นหา คิดว่าหลายคนน่าจะเป็นเหมือนผม น้อยคนนักที่จะเข้าไปใช้งานที่หน้าหลักของการค้นหาภาพที่ images.Google.com ทำให้ไม่ค่อยรู้ว่าที่หน้านั้นมันทำอะไรได้บ้าง(ผมเป็นหนึ่งในนั้น) ความแตกต่างของการค้นที่หน้าหลัก Google กับที่หน้าค้นหาภาพ คือ นอกจากจะใช้คีย์เวิร์ดในการค้นหาได้เหมือนกัน แต่ที่หน้าค้นหาภาพ จะใช้ภาพแทนข้อความในการค้นหาได้

การใช้งานงานค้นหาด้วยภาพ

สามารถใช้งานได้ 4 ช่องทาง ผ่านทางเว็บไซต์ images.Google.com ดังนี้ครับ

  1. Drag and Drop
    Drag and Drop

    การใช้งานแบบนี้ คือ เปิดหน้าเว็บค้นหาภาพขึ้นมา แล้วลากภาพจากหน้าเว็บไซต์หรือจากเครื่องที่ต้องการค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับภาพนั้นมาวางที่ช่องค้นหาได้เลย

  2. Upload  an image
    อัพโหลดภาพเพื่อค้นหา

    การใช้งาน ให้คลิกที่ปุ่มรูปกล้องที่ช่องค้นหา จะมีช่องให้อัพโหลดโผล่ขึ้นมาเพื่อให้อัพโหลดภาพในเครื่องของเราขึ้นไปเพื่อทำการค้นหา

    อัพโหลดภาพเพื่อค้นหา

  3. Copy and paste the URL for an image
    ใส่ที่อยู่ของภาพเพื่อค้นหา

    เมื่อเจอภาพไหนที่หน้าเว็บต้องการค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับภาพนั้น ก็คลิกขวาที่ภาพนั้นแล้วก๊อปปี้ URL ของภาพนั้นมา จากนั้นคลิกที่ปุ่มกล้องที่ช่องค้นหา(เหมือนในข้อ 2)วางไว้ในช่องใส่ URL คลิก search ได้เลย

    ใส่ที่อยู่ของ URL เพื่อค้นหา

  4. Right-click an image on the web
    extesion

    ใช้งานผ่านทางส่วนเสริมของ Chrome หรือ Firefox เมื่อติดตั้งส่วนเสริมแล้ว เวลาคลิกขวาที่ภาพบนหน้าเว็บจะมีไอคอนค้นหาด้วยภาพมาให้คลิกใช้งานได้ทันที

    extension for Chrome

การใช้งานจริง

เกิดจากเหตุการณ์จริงครับ ผมไปอ่านเจอเว็บหนึ่งเขียนถึงเกมส์ DotA 2 ผมอยากอ่านที่ต้นฉบับของที่มาของข่าว แต่เขาไม่ได้ใส่ที่มาของเนื้อหาไว้ แต่มีภาพประกอบนั้นอยู่ เลยใช้การค้นหาด้วยภาพช่วย ถือว่าให้ผลน่าพอใจ และสะดวกดีมาก

ภาพในเนื้อหาบทความที่ไม่ได้อ้างอิงที่มา

ได้ผลการค้นหาออกมาดังนี้ครับ

ผลการค้นหา

อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ผมประทับใจมากคือ มันค้นหาภาพที่ครั้งหนึ่งผมเคยเอามาใช้ทำภาพประกอบในปกหนังสือเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่ดันไม่ได้ใส่ที่มาไว้ แต่เมื่อเร็วๆนี้อยากรู้ว่าเราเอามาจากไหน ก็ค้นเจอด้วยตัวนี้ ถ้าให้ลองค้นด้วยตัวเองคงหาไม่เจอแน่นอน เพราะไม่รู้ว่าตอนนั้นใส่คีย์เวิร์ดว่าอะไรไป

Google search by image เป็นอีกช่องทางที่ใช้ค้นหาข้อมูลที่สะดวกมาก คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ทำครับ

ดูวีดีโอแนะนำ Search by image

Exit mobile version