อยากรู้ว่า รูปสวยๆรูปนั้นถ่ายด้วยกล้องอะไร เลนส์อะไร เรามีตัวช่วย

หลายๆครั้งที่เราเห็นภาพสวยๆบนเว็บไซต์ต่างๆ ก็อยากจะรู้ขั้นตอนการได้มาซึ่งภาพสวยๆอันนั้น สิ่งหนึ่งที่พอจะทำให้เราเข้าใจการทำงานของช่างภาพได้บ้าง นั้นคือเขาใช้อุปกรณ์อะไรในการถ่ายภาพนั้น(Camera Model, Flash) เลนส์อะไร(Lens Model) ความยาวโฟกัสเท่าไหร่(Focal Length) ความเร็วชัตเตอร์เท่าไหร่(Exposure Time) เปิดรูรับแสงยังไง(F Number) ISO เท่าไหร่ ถ่ายที่ไหน(GPS) เมื่อไหร่(Date, Time) ทำให้เราเข้าใจภาพนั้นมากขึ้น

ค่าต่างๆเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่อยากเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางผลงานของช่างภาพที่เราชื่นชอบ ซึ่งค่าต่างๆเหล่านี้จะถูกฝังไว้ในไฟล์ภาพนั้นๆตั้งแต่ที่กดถ่ายภาพอยู่แล้ว รายละเอียดเหล่านี้เรียกกันว่า Exchangeable image file format หรือ EXIF รายละเอียดดูได้ตามลิงค์

โดยปกติในโปรแกรมจัดการกับรูปภาพสามารถแสดงรายละเอียดของ EXIF ได้อยู่แล้ว แม้แต่ในบริการฝากรูป Flickr, Google+Photo ก็แสดงรายละเอียดของ EXIF โดยละเอียดได้ หรือใน OS X เวลากด file info ก็แสดงรายละเอียดได้เช่นกัน

แต่ภาพที่เราจะดูเอามาเป็นแรงบันดาลใจ เอาไว้เรียนรู้ ส่วนใหญ่ก็จะอยู่บนเว็บไซต์ การใช้งานแบบ offline จึงดูไม่ค่อยสะดวกมากนักเป็นการทำงานหลายขั้นตอนกว่าจะได้เห็นข้อมูล การกดดูแบบออนไลน์ทันที จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า จึงเอา Extension สำหรับ Google Chrome ที่สามารถคลิกดูรายละเอียดของภาพได้โดยละเอียดมาแนะนำครับ ส่วนตัวก็ใช้โดยปกติอยู่แล้ว

Exif viewer extension for Google Chrome

Exif Viewer Extension สำหรับ Google Chrome

สามารถดาวน์โหลด EXIF Viewer สำหรับ Google Chrome มาใช้ได้ตามลิงค์ เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว เวลาจะใช้งานเพียงแค่คลิกขวาบนรูปภาพที่ต้องการดูรายละเอียดของ EXIF จะมีเมนู Show EXIF data อยูในรายการ ให้คลิกเมนูนี่เลย

ตัวอย่างภาพจาก https://pantip.com/topic/32715141 รูปสวยดีครับ เลยอยากรู้ว่าถ่ายด้วยกล้องอะไร

คลิกขวาที่ภาพ จะมีเมนู Show Exif Data

เมื่อคลิกเมนูดังกล่าว รายละเอียดต่างๆของ EXIF ก็จะแสดงที่ด้านขวาของจอ บอกรายละเอียดอย่างครบถ้วน

รายละเอียดของ EXIF data ก็จะปรากฏที่ด้านขวาของจอทันที

นับว่ามีประโยชน์สำหรับมือใหม่ มือสมัครเล่น ที่หัดเรียนรู้ว่ามืออาชีพอย่างมาก อย่างไรก็ตามบางทีรูปก็จะไม่มีรายละเอียด EXIF เหมือนกัน ถ้าหากคนถ่ายภาพจะลบข้อมูลตรงนี้ออกไปซึ่งก็ทำได้เหมือนกัน

EXIF Viewer ตัวนี้ช่วยให้ได้เรียนรู้วิธีถ่ายภาพผ่านทางผลงานของมืออาชีพได้เยอะมากครับ นำเอามาประยุกต์ใช้และฝึกฝนตัวเองได้ดีเลยทีเดียว ขอแนะนำให้เพื่อนๆที่อยากฝึกฝนตนเองได้ลองติดตั้งลงเครื่องไว้ใช้งานครับ

ปล. ถ้าไม่อยากกดคลิกเข้าไปในเมนู ขอแนะนำอีกตัว EXIF Reader ตัวนี้เป็น Extension เหมือนกัน แค่วางเมาส์ไว้บนภาพ รายละเอียดเบื้องต้นก็โชว์ออกมาให้เห็นแล้ว แต่รายละเอียดจะน้อยกว่า EXIF Viewer Extension

Gmail Attachments To Drive เซฟข้อมูลจาก Gmail ไปที่ Drive

Gmail Attachments To Drive

Gmail Attachments To Drive เป็น Chrome Extension เมื่อติดตั้งเข้าไปแล้ว จะเพิ่มเมนู Save To Drive เข้ามาอีกอันใต้ไฟล์ที่ถูกแนบมากับอีเมล (Gmail) จากปกติที่มีเพียง View และ Download

หลังจาก Google เปิดตัว Google Drive ออกมาให้ใช้ได้ไม่นาน พวก extension ต่างๆที่จะคอยช่วยให้เราทำงานได้สะดวกมากขึ้นก็คงจะทยอยออกมาเรื่อยๆ ตัวแรกที่เห็นและได้ลองติดตั้งดูแล้ว ก็คือ Gmail Attachments To Drive ตัวนี้นี่เอง มีประโยชน์ไม่น้อยเลย เมื่อมีเมนูลัดเซฟข้อมูลจาก Gmail ไปที่ Drive ในคลิกเดียว บางคนอาจคิดว่าในอีเมลก็ถือว่าเซฟข้อมูลอยู่แล้ว แล้วจะเอาเซฟไปที่ Drive อีกทำไมให้เปลื้องที่ อยากตอบว่า การจัดการเอกสารและไฟล์ต่างๆของ Drive สะดวกและค้นหาง่ายกว่ามาก แถมยังแก้ไขไฟล์ได้อีกด้วย ถ้าใครมีอีเมลในแต่ละวันหลายฉบับ ยิ่งปวดหัวไปกันใหญ่ แยกเซฟบางตัวที่สำคัญไว้ที่ Drive สะดวกกว่าเยอะ แนะนำให้แยกเป็นโฟล์เดอร์ไว้ด้วยจะยิ่งดี นอกจากนั้นการเปิดด้วยอุปกรณ์อื่นๆ(Smart Device)ยังง่ายและสะดวกกว่าด้วย

เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะมีลิงค์เพิ่มขึ้นมาใต้ไฟล์ที่แนบมากับอีเมลแบบนี้

Save To Drive

ดาวน์โหลดได้ที่ https://chrome.google.com/webstore/detail/epoohehjbaenldfbahgcegdmlogakgin 

เมื่อ Extension บางตัวของ Chrome แอบเพิ่มโฆษณาลงในหน้าเว็บ

โฆษณานี้โผล่มาอยู่ด้านล่างของเว็บไซต์ได้ไง

แปลกใจมากที่อยู่ๆโฆษณาก็โผล่มาในเว็บได้ไง ทั้งๆที่ไม่ได้ติดอะไรลงไปเลย อันดับแรกเข้าไปดูในโค้ดเว็บไซต์ก่อน พบว่าไม่มี ลองเปิดด้วยบราวเซอร์ตัวอื่น (Safari, Firefox ใช้ Chrome เป็นตัวหลัก) พบว่าตัวอื่นไม่เจอ นอกจากนี้ลองเปิดเว็บไซต์อื่นๆก็มีขึ้นมาในลักษณะเดียวกันในบางเว็บไซต์ แสดงว่ามีปัญหาที่ Chrome แน่ๆ สิ่งต่อไปที่คิดถึงคือ น่าจะมี Extension บางตัวที่เป็นตัวใส่โฆษณานี้เข้ามา ดันลองไปปิด Extension ทีละตัวแล้วรีเฟรชดู ว่าหายไปหรือเปล่า ไม่ยอมอ่านข้างล่างโฆษณาที่เขียนบอกไว้แล้ว

“This ad is supporting your extension Enhancements for Gmail” ตัวการอยู่นี้เอง มันเป็น Extension ที่ทำให้ Gmail ไม่มีโฆษณา แต่ตัวเองดันเอาโฆษณามายัดให้คนดูซะงั้น แต่ทำได้เนียนมาก ถ้าไม่เขียนบอกไว้ข้างล่างโฆษณาคงหาลำบากมาก ว่ามันมาจากไหนเพราะติด Extension ไว้ประมาณสามสิบตัวกว่าๆ

ตัวการเพิ่มโฆษณาเข้ามาในหน้าเว็บไซต์ที่เราเปิดดู

วิธีแก้ไขก็ไม่ยาก ก็ลบ Enhancements for Gmail หรือใครไม่อยากลบก็เข้าไปตั้งค่า Extension ดูตามลิงค์ข้างล่างของโฆษณา แต่ผมลบไปแล้ว

เมื่อลบทิ้งไปตอนนี้รีเฟรชเว็บไซต์ก็ไม่ขึ้นมาแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าตอนติดตั้งมันได้เตือนเราหรือเปล่า ว่าจะมีโฆษณาแทรกไปในเว็บไซต์ที่เราเปิดดู แต่ถึงแจ้งก็ไม่ค่อยมีคนอ่านกัน คิดว่าน่าจะมี Extension แนวนี้อยู่อีกเพียบ  ใครเจอแจ้งเตือนด้วยนะครับ

ความจริงแล้วมันก็ไม่เป็นอันตรายอะไรกับเครื่องเราหรอกนะครับ แต่อาจสร้างความรำคาญในผู้ใช้บางคนเท่านั้นเอง เลยเอามาเล่าให้ฟัง

Google search by image ใช้ภาพแทนข้อความในการค้นหา

Search by image หรือ การค้นหาด้วยภาพ เป็นอีกหนึ่งบริการค้นหาข้อมูลของ Google ที่ใช้ภาพแทนข้อความในการค้นหา

เราน่าจะคุ้นกับบริการของ Google gogles ที่ใช้กล้องมือถือถ่ายภาพแล้วค้นหาข้อมูลของภาพนั้นได้ทันที ถือว่าเพิ่มความสะดวกได้อย่างมาก เคยคิดว่าน่าจะใช้งานผ่านหน้าเว็บไซต์ได้บ้างนะ จนบังเอิญไปเจอ extension ของ Chrome ที่ใช้สำหรับค้นหาด้วยภาพ ก็ใช้งานมาเรื่อย แต่ช่วงเดือนที่แล้วได้ใช้งานเยอะและเห็นประโยชน์จากมันเยอะพอสมควร เลยอยากเขียนเก็บไว้

เหตุที่ได้ใช้งานการค้นหาด้วยภาพมากช่วงเดือนที่ผ่านมา คือ ได้ทั้งเขียนและรวมบทความจากหลายๆคน ซึ่งส่วนใหญ่ภาพที่ใช้ประกอบบทความจะต้องมีอ้างอิง แต่ตัวเองค้นมาเยอะรวมอยู่ที่เดียว แล้วเลือกเอาเฉพาะภาพที่เหมาะสมมาใช้ พอจะอ้างอิงก็หาไม่เจอว่าเอามาจากไหน ตัวค้นหาด้วยภาพเลยช่วยได้เยอะเลย ไม่งั้นคงงมอีกนาน

ค้นหาด้วยภาพ

โดยปกติการค้นหาภาพ ผมมักจะค้นจากหน้าหลักของ Google แล้วค่อยคลิกที่เมนู image จากผลการค้นหา คิดว่าหลายคนน่าจะเป็นเหมือนผม น้อยคนนักที่จะเข้าไปใช้งานที่หน้าหลักของการค้นหาภาพที่ images.Google.com ทำให้ไม่ค่อยรู้ว่าที่หน้านั้นมันทำอะไรได้บ้าง(ผมเป็นหนึ่งในนั้น) ความแตกต่างของการค้นที่หน้าหลัก Google กับที่หน้าค้นหาภาพ คือ นอกจากจะใช้คีย์เวิร์ดในการค้นหาได้เหมือนกัน แต่ที่หน้าค้นหาภาพ จะใช้ภาพแทนข้อความในการค้นหาได้

การใช้งานงานค้นหาด้วยภาพ

สามารถใช้งานได้ 4 ช่องทาง ผ่านทางเว็บไซต์ images.Google.com ดังนี้ครับ

  1. Drag and Drop
    Drag and Drop

    การใช้งานแบบนี้ คือ เปิดหน้าเว็บค้นหาภาพขึ้นมา แล้วลากภาพจากหน้าเว็บไซต์หรือจากเครื่องที่ต้องการค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับภาพนั้นมาวางที่ช่องค้นหาได้เลย

  2. Upload  an image
    อัพโหลดภาพเพื่อค้นหา

    การใช้งาน ให้คลิกที่ปุ่มรูปกล้องที่ช่องค้นหา จะมีช่องให้อัพโหลดโผล่ขึ้นมาเพื่อให้อัพโหลดภาพในเครื่องของเราขึ้นไปเพื่อทำการค้นหา

    อัพโหลดภาพเพื่อค้นหา

  3. Copy and paste the URL for an image
    ใส่ที่อยู่ของภาพเพื่อค้นหา

    เมื่อเจอภาพไหนที่หน้าเว็บต้องการค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับภาพนั้น ก็คลิกขวาที่ภาพนั้นแล้วก๊อปปี้ URL ของภาพนั้นมา จากนั้นคลิกที่ปุ่มกล้องที่ช่องค้นหา(เหมือนในข้อ 2)วางไว้ในช่องใส่ URL คลิก search ได้เลย

    ใส่ที่อยู่ของ URL เพื่อค้นหา

  4. Right-click an image on the web
    extesion

    ใช้งานผ่านทางส่วนเสริมของ Chrome หรือ Firefox เมื่อติดตั้งส่วนเสริมแล้ว เวลาคลิกขวาที่ภาพบนหน้าเว็บจะมีไอคอนค้นหาด้วยภาพมาให้คลิกใช้งานได้ทันที

    extension for Chrome

การใช้งานจริง

เกิดจากเหตุการณ์จริงครับ ผมไปอ่านเจอเว็บหนึ่งเขียนถึงเกมส์ DotA 2 ผมอยากอ่านที่ต้นฉบับของที่มาของข่าว แต่เขาไม่ได้ใส่ที่มาของเนื้อหาไว้ แต่มีภาพประกอบนั้นอยู่ เลยใช้การค้นหาด้วยภาพช่วย ถือว่าให้ผลน่าพอใจ และสะดวกดีมาก

ภาพในเนื้อหาบทความที่ไม่ได้อ้างอิงที่มา

ได้ผลการค้นหาออกมาดังนี้ครับ

ผลการค้นหา

อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ผมประทับใจมากคือ มันค้นหาภาพที่ครั้งหนึ่งผมเคยเอามาใช้ทำภาพประกอบในปกหนังสือเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่ดันไม่ได้ใส่ที่มาไว้ แต่เมื่อเร็วๆนี้อยากรู้ว่าเราเอามาจากไหน ก็ค้นเจอด้วยตัวนี้ ถ้าให้ลองค้นด้วยตัวเองคงหาไม่เจอแน่นอน เพราะไม่รู้ว่าตอนนั้นใส่คีย์เวิร์ดว่าอะไรไป

Google search by image เป็นอีกช่องทางที่ใช้ค้นหาข้อมูลที่สะดวกมาก คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ทำครับ

ดูวีดีโอแนะนำ Search by image

Safari อ่านโดเมนภาษาไทยได้ด้วย

เมื่อสัปดาห์ก่อนได้จดโดเมนที่ชื่อเป็นภาษาไทยแนวเดียวกับ ช่วยชาติ.com อะไรทำนองนี้ครับ การ config กับโฮสก็ทำเอามึนๆอยู่เล็กน้อย ดีที่มี support บริการดี ก็เนื่องจากว่ามาตรฐาน IDN (Internationalized Domain Name) จะเปลี่ยนชื่อเป็นอะไรที่ประหลาดๆอ่านไม่รู้เรื่องขึ้นต้นด้วย xn-- แทนที่จะจำง่ายกลับจำยากเมื่อคนที่เข้าเผลอเข้ามา ไม่พิมพ์เข้ามาเอง

ยกตัวอย่างเหตุการณ์หนึ่งที่เจอกับตัวเอง ผมเข้าที่เว็บของททท.มีแบนเนอร์อันหนึ่งสวยมาก พอคลิกเข้าไปก็เจอเว็บที่รวมรูปสถานที่ท่องเที่ยวสวยๆเยอะเลย แต่ว่าเว็บไซต์นี้ถูกจดด้วยชื่อโดเมนภาษาไทย แล้วในเว็บก็ไม่มีชื่อเว็บไว้ด้วย สรุปว่าเปิดไปเปิดมาตั้งนานยังไม่รู้ว่าเว็บไซต์นี้ชื่ออะไร! จะจำตัวอักขระ xn--… ก็คงจำไม่ได้ ทางเดียวคือต้อง bookmark บอกต่อคนอื่นได้ค่อนข้างยากเหมือนกัน ผมเลยมองว่าแทนที่จะเป็นจุดแข็งที่สามารถใช้ชื่อโดเมนเป็นภาษาท้องถิ่นได้ กลับเป็นจุดด้อยไปอย่างน่าเสียดาย

ปัญหานี้ผมมองข้ามมันไปแล้วว่าน่าจะเป็นที่ระบบคงแก้ไขอะไรมากไม่ได้ ทางที่ดีคือเพิ่มชื่อเว็บไซต์ลงไปในเว็บไซต์ให้เห็นด้วย แต่วันนี้ดันลองเปิดเว็บด้วย Safari 5 เฮ้ย! (สะดุ้ง ตกใจ) บน address bar ของ Safari แสดงชื่อเว็บไซต์เป็นภาษาไทยเลย!

มาดูภาพเปรียบเทียบการแสดงที่อยู่ของเว็บไซต์ใน Safari 5.0, Firefox 5.0 และ Chrome 12

Safari 5.0 อ่านชื่อโดเมนภาษาไทยได้
firefox 5.0 แสดงที่อยู่ของเว็บไซต์เป็นโค้ด
Chrome 12 แสดงที่อยู่เว็บไซต์เป็นโค้ด

ทั้งหมดในเครื่อง Mac ครับ ส่วนใน IE และ Windows ผมไม่ได้ลอง ถ้าใครลองแล้วเขียนคอมเม้นต์บอกด้วยนะครับ อยากรู้เหมือนกัน

แสดงว่ามันขึ้นอยู่กับ Web browser ต่างหากที่จะแสดงผลแบบไหน ในอนาคตคิดว่าตัวอื่นๆนอกจาก Safari ก็น่าจะอัพเดตให้แสดงผลเป็นชื่อของภาษาถิ่นได้เหมือนกัน ถึงตอนนั้นเราอาจจะลบจุดด้อยที่กล่าวไว้ข้างต้นได้

สรุป ถ้าอยากรู้ว่าชื่อเว็บไซต์ที่เป็นภาษาไทยชื่ออะไร อ่านใน Firefox, Chrome ไม่ได้ ต้องเปิด Safari มาอ่านดูครับ

ลองทดสอบเข้าไปที่เว็บ https://www.ปฏิบัติการสร้างหัวใจใหม่.com/ แล้วดูว่าที่เครื่องของคุณอ่านได้หรือปล่าว

เปลี่ยนจาก Chrome Dev channel เป็น Stable channel

Google Chrome Dev to Stable Channel

Google Chrome มีรุ่นให้เราเลือกใช้ทั้งหมด 4 รุ่น(channel) คือ

  • รุ่นจริงให้ใช้ทั่วไป (Stable channel): https://www.Google.com/Chrome?platform=win
  • รุ่นก่อนปล่อยจริง (Beta channel): https://www.Google.com/Chrome/eula.html?extra=betachannel
  • รุ่นพัฒนา (Dev channel): https://www.Google.com/Chrome/eula.html?extra=devchannel
  • รุ่นทดสอบของใหม่ (Canary build): https://tools.Google.com/dlpage/Chromesxs
  • สายการพัฒนาจะเรียงไปจาก Canary ที่อยากใส่อะไรก็ใส่เข้าไป –>Dev ก็พัฒนาให้ดีขึ้น–>Beta ใช้งานก่อนปล่อยจริง–>Stable รุ่นจริง ปล่อยให้ใช้ทั่วไป

    ที่จริงแล้วใครอยากเลือกใช้ Channel ไหนก็เลือกได้เลย เวอร์ชั่นของรุ่นที่อยู่ด้านบนมันก็จะใหม่มากกว่า มีของใหม่ให้เล่นมากกว่า แต่ก็แลกมาซึ่งความไม่เสถียร และบั๊กต่างๆแถมมา ปกติใช้ Dev channel อยู่ เพราะติดตามตั้งแต่เวอร์ชั่นเก่าที่รุ่น Dev ค่อนข้างมีอะไรให้เล่นมากกว่าเยอะ เช่น พวก Extension, Web Apps, GPU,V8, Setting UI เป็นต้น แต่ตอนนี้สิ่งเหล่านั้นส่งไปถึงรุ่น Stable หมดแล้ว และรู้สึกว่ารุ่น Dev กับ Stable ไม่มีอะไรใหม่กว่ากันอย่างชัดเจน

    ดังนั้นคิดว่าการเลือกใช้รุ่น Dev channel ไม่ค่อยคุ้มกับบั๊ก หรือความเสถียรที่ต้องเสี่ยง วันนี้เลยเปลี่ยนจาก Dev channel มาเป็น Stable channel

    การเปลี่ยนนั้นจะพบปัญหานิดหน่อย เมื่อเราถอนการติดตั้ง Dev channel แล้วติดตั้ง Stable channel มันจะฟ้อง ว่า Profile ที่เราใช้มันเป็นของเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่า บางอันจะใช้ไม่ได้ แนะนำให้ลงเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่านี้ ความจริงเราจะปิดไป แล้วใช้เลยก็ได้ไม่มีปัญหา แต่มันขัดใจ เหมือนมี error ติดเครื่อง

    ดังนั้นเราจะทำตามคำแนะนำที่ถูกต้องนั้นคือ เราจะสร้าง User Profile ขึ้นมาใหม่สำหรับ Stable channel ส่วนอันเก่าที่เป็นของ Dev Channel เราก็จะเก็บไว้เผื่ออยากกลับไปใช้ก็ยังไม่ได้หายไปไหน วิธีทำมีดังนี้

    1. ปิด Google Chrome ก่อน
    2. Start menu > Run ถ้าเป็น Windows 7 ก็คลิกปุ่ม start แล้วพิมพ์ Run ลงช่อง Search แล้ว Enter เลย
    3. พิมพ์ข้อความเหล่านี้ลงในช่อง Open แล้วก็คลิก OK
      -Windows XP ใช้:  %USERPROFILE%\Local Settings\Application Data\Google\Chrome\User Data\
      -Windows Vista หรือ 7 ใช้:  %LOCALAPPDATA%\Google\Chrome\User Data\
      มันคือการเข้าไปที่โฟว์เดอร์ User Data จะเปิดหาเองตามที่อยู่ของมันก็ได้ แต่วิธีนี้สะดวกดี

      เปิดโฟว์เดอร์เก็บข้อมูลของ Google Chrome

    4. ให้เปลี่ยนชื่อโฟว์เดอร์ Default ซึ่งเป็นข้อมูล User Profile ของ Dev channel เป็นชื่ออะไรก็ได้อย่างเช่น Dev_Default
    5. เสร็จแล้ว ต่อไปเมื่อเราเปิด Google Chrome อีกครั้ง มันจะสร้างโฟว์เดอร์ Default ขึ้นมาใหม่ สำหรับเก็บข้อมูล User Profile อันใหม่ของเรา

    จากนั้นก็เข้าไปล็อกอินเพื่อ Sync ข้อมูลอันเก่าเข้ามา เพียงเท่านี้การเปลี่ยนจาก Google Chrome Dev channel มาเป็น Stable channel ก็สมบูรณ์แบบแล้วครับ ถ้าอยากจะกลับมาใช้ User Profile อันเก่าก็แก้กลับมาเป็นชื่อ Default (ส่วนอันที่ใช้อยู่ก็ต้องเปลี่ยนชื่อใหม่ด้วยเดี๋ยวซ้ำ)

    ข้อมูล: https://www.Google.com/support/Chrome

     

    Google ออก extension สำหรับผู้ใช้ Chrome ช่วยบล็อคเว็บไม่พึงประสงค์

    Personal Blocklist Extension for Google Chrome

    ช่วงนี้มี Content farms ระบาดในโลกอินเทอร์เน็ตยากหนัก มันคือกลุ่มเว็บที่มีเนื้อหาคุณภาพต่ำ แต่ปั๊มออกมาเป็นจำนวนมาก ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อทำอันดับในการค้นหา มีธุรกิจจ้างเขียนเนื้อหาในลักษณะนี้ออกมามากมาย มันจึงกระทบกับผู้ใช้ แทนที่จะเจอเว็บที่ดี มีเนื้อหาตามต้องการ กับเจอแต่เว็บขยะ Google ก็คิดวิธีใหม่ขึ้นมา(น่าจะมีวิธีอื่นอีกมากมาย) คือให้คนที่เจอช่วยแจ้ง ช่วยกันบล็อค ด้วยการสร้างส่วนเสริมสำหรับ Google Chrome เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้ใช้ได้แจ้งบล็อคเว็บไซต์เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น Google Chrome Extension ตัวที่ว่าคือ Personal Blocklist (by Google) ใครที่ใช้ Google Chrome อยู่เข้าไปติดตั้งได้เลย

    วิธีการใช้งานก็ง่ายๆ เมื่อติดตั้ง ส่วนเสริมนี้แล้ว เวลาค้นข้อมูลในเว็บ Google ในส่วนของผลลัพธ์ของการค้นหาจะมีลิงค์ให้คลิกบล็อคเพิ่มเข้ามาใต้รายการเว็บไซต์ ถ้าเห็นแล้วว่ามันเป็นพวก content farms ก็คลิกบล็อคมันซะ แล้วเว็บไซต์นั้นจะไม่โผล่มาในหน้าค้นหาของคุณอีกเลย และข้อมูลส่วนนี้ที่เราคลิกบล็อคไป Google เขาจะเอาไปจัดการปรับปรุงผลการค้นหาใหม่ให้ดีขึ้น (เว็บไซต์ที่โดนคลิกบล็อคเยอะๆ คงหายไปจากผลการค้นหาเป็นแน่แท้)

    เห็นว่าไม่เหมาะสมก็คลิกบล็อคมันซะ

    แล้วถ้าเผลอคลิกบล็อคเว็บไซต์ธรรมดา ที่ไม่ใช่พวกเว็บ Content farms มันหายไปแล้วจะทำไง? ง่ายๆครับ เลื่อนลงไปข้างล่างสุด จะมีปุ่ม Show เว็บที่เรากดบล็อค

    แสดงเว็บไซต์ที่ถูกบล้อค และยกเลิกการบล็อค

    เมื่อกดมันจะแสดงจะแสดงเว็บไซต์ที่เราคลิกบล็อคออกมาในกล่องสีแดงๆ จากนั้นคลิก Unblock แล้วมันก็จะกลับมาดังเดิม นอกจากนั้นยังเข้าไปจัดการกับรายชื่อเว็บไซต์ที่เราคลิกบล็อคเพิ่มเติมได้อีกเมื่อคลิกที่ icon ของ Extension ด้านบนขวาของ Google Chrome ได้ด้วยนะ

    ขอให้ค้นเจอในสิ่งที่ต้องการนะครับ

    ข้อมูลจาก: https://Googleblog.blogspot.com

    Quick Note จดบันทึกสำหรับ Google Chrome

    Quick Note for Google Chrome

    Quick Note เป็น Web App สำหรับ Google Chrome อาจเรียกได้ว่าเป็น Web App จริงๆก็ได้ เพราะมันไม่ได้เป็น Bookmark อย่างหลายๆตัวที่อยู่ใน Web Store แต่ก่อนผมเคยลองเล่นดูแล้ว ก็ชอบมันนะ ฟรี โล่งๆ และค้นหาโน๊ตที่เขียนได้ง่าย เป็น auto save เอารูปภาพลงไปได้ และใช้งานตอนที่ไม่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ แต่ข้อเสียของเวอร์ชั่นเก่าคือ เมื่อ Google Chrome อัพเดตเวอร์ชั่น Note ที่เราเขียนไว้ก็ถูกลบไปด้วยเพราะ Path ของมันเปลี่ยนไป อันนี้เป็นอะไรที่รับไม่ได้

    มาวันนี้นั่งฟังสัมมนาเลยลองหา Note มาจดสักตัว เลยลองติดตั้ง Quick Note อีกครั้ง พบว่าครั้งนี้มันสมบูรณ์มากขึ้น คุณสมบัติที่เราชอบอยู่ครบ และเพิ่ม Sync ข้อมูลเก็บบนเว็บไว้ได้เพิ่มเข้ามา มีถังขยะเก็บ Note ที่ลบทิ้งไป ข้อดีอีกอย่างใช้ Google account ในการล็อกอินเพื่อ Sync ได้ ทำให้เราใช้งานได้ง่ายขึ้น อยากให้ evernote ทำงานแบบนี้ได้บ้างจัง (แบบ offline) มีอย่างที่ Quick Note ทำได้คล้ายๆกับ evernote คือ คลิกคลุมข้อความบนเว็บแล้ว add to note ได้เลย อันนี้เยี่ยมมาก

    ฟีเจอร์ต่อไปที่อย่างได้คือ export note ออกมาได้

    ติดตั้ง Quick Note

    เปลี่ยนภาษาใน Google Chrome Dev Channel v.10

    Google Chrome Sittings

    ผมใช้ Google Chrome เวอร์ชั่น Dev Channel มันจะมีอะไรแปลกๆ ใหม่ๆมาให้เล่นก่อนตัวอื่น(ยังช้ากว่า Canary) ซึ่งแน่นอนว่ามันจะมี bug พ่วงมาด้วยเยอะเช่นกัน วันนี้นึกอยากลองกลับไปใช้ Stable ดูเพราะ Dev V.10 เกิดอาการหน้างอบ่อย แต่พอติดตั้ง Stable ซึ่งเป็น  V.8 มีบ้างอันที่เคยใช้ใน V.10 ใช้ไม่ได้ สุดท้ายก็เลยตัดใจใช้ Dev Channel อย่างเก่าดีกว่า

    วิธีติดตั้งก็เข้าไปที่ https://www.Google.com/Chrome/eula.html?extra=devchannel เหมือนทุกครั้ง ตอนติดตั้งมันเป็นภาษาไทย ก็คิดว่าติดตั้งเสร็จค่อยไปเปลี่ยน interface ของมันเป็นภาษาอังกฤษภายหลังก็ได้ เมื่อติดตั้งเสร็จเข้าไปที่ ตัวเลือก(options) หน้าตาของตัวเลือกเป็นแบบรูปด้านบน เป็น page ไม่ได้เป็น pop up เหมือนรุ่นก่อน แต่เจ้ากรรม! หาที่เปลี่ยนภาษาของ UI ไม่เจอ เปิดดูอย่าละเอียดก็ไม่เจอ ไม่คุ้นเคยกับเมนูภาษาไทย เลยลองค้นดูพบว่า มันเป็น bug หรือตั้งใจเอาออกก็ไม่รู้ มีคนเจอปัญหานี้เยอะเหมือนกัน

    วิธีแก้ไขง่ายมาก แต่อาจจะไม่ค่อยถูกต้องเท่าไหร่ คือ ลบภาษาไทยทิ้งไปเลย เข้าไปที่ C:\Users\Name\AppData\Local\Google\Chrome\Application\10.0.634.0\Locales

    แล้วหา th.dll ลบทิ้งไปเลย มันจะกลับมาใช้ภาษาอังกฤษเอง

    Chrome Notebook, Chrome OS, Chrome browser ในความคิดของผม

    Google Chrome

    บล็อกตอนนี้เขียนค้างไว้นานแล้ว วันนี้เลยกัดฟันเขียนต่อให้จบ ขาดๆ เกินๆ ขออภัยด้วยครับ

    Chrome OS เปิดตัวมานานแล้ว แต่เพิ่งจะมีโน๊ตบุ๊คออกมา ให้ชื่อแปลกๆว่า Cr-48 ไม่รู้เหมือนกันว่ามันเป็นรหัสอะไร ในบล็อกตอนนี้ อยากจะเขียนถึง Chrome Notebook ก่อน แล้วก็จะพูดถึง Chrome OS พูดในฐานะคนใช้ ไม่ใช่ expert ทางด้านเทคโนโลยี จึงขอพูดในแบบบ้านๆ เหมือนนั่งคุยกัน มันมีผลิตภัณฑ์ที่รวมกันอยู่ที่อยากจะแยกส่วนของมัน คือ 1.ตัวเครื่องโน๊คบุคและ Chrome OS 2.ตัวโปรแกรม Chrome browser  ขอพูดถึงเป็นส่วนๆไป

    Google Chrome Notebook

    Chrome Notebook หรือ Cr-48 กับ Chrome OS มีสโลแกนแบบเท่ๆว่า “Nothing but the web”  ผมแปลแบบที่เข้าใจว่า “ไม่อะไรนอกจากเว็บ” อธิบายให้เข้าใจคือมันเป็น Cloud Computer ของจริง ทุกอย่างทำงานบนเว็บ ต้องขอพูดรวมกันเพราะทั้งสองต้องทำงานร่วมกัน มันเป็นเครื่องที่ต้องรัน Chrome OS เครื่องเดียว ณ ขณะนี้ มี spec ดังนี้

    • Intel Pine Trail processor
    • 12.1 inch display
    • Flash storage
    • full size keyboard without function key and cap lock key
    • oversized touchpad
    • Build-in 3G chip
    • 802.11n dual-band WiFi
    • 8 hours battery life of active use
    • Webcam
    • Weight 3.8 pounds (1.72KG)

    มันรันด้วย Google Chrome OS สามารถ boot พร้อมใช้งานได้ภายในเวลาประมาณ 10 วินาที ข้างในไม่มีอะไรของจาก Chrome browser ให้เปิดโปรแกรมต่างๆทางอินเทอร์เน็ต ใช้งานกับเครื่องข่าย 3G หรือ Wifi เครื่องสามารถทำงานแบบ Offline ได้ในบางโปรแกรมที่รองรับ จุดเด่นที่เขาโฆษณาของตัวนี้คือ มันเป็น Cloud computing อย่างแท้จริง โปรแกรม พื้นที่เก็บข้อมูลอยู่บนเว็บหมด จึงไม่ต้องกลัวว่าเมื่อโน๊ตบุคพังจะทำให้ข้อมูลหาย เราจึงได้เห็นวีดีโอโฆษณาที่โชว์จุดเด่นนี้คือ พังโน๊ตบุคโชว์กันเลย ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหาย

    คนอื่นที่จะใช้เครื่องเราสามารถใช้ในหมวด incognito ได้ เมื่อปิดทุกอย่างก็จะถูกลบไป เครื่องตอนนี้ไม่มีขาย แต่ Google แจกให้ทดลองใช้ เฉพาะในอเมริกาที่สามารถลงทะเบียนของทดลองใช้ มีคนแอบเอามาขายใน ebay ด้วย ซึ่ง Google ก็บอกว่าผิดกฏหมายนะ ห้ามซื้อ-ขาย ไม่รู้เหมือนกันว่าเคสนี้จบยังไง

    มีหลายคนออกมาวิเคราะห์เรื่องนี้มากมายว่า Chrome OS จะอยู่รอดหรือไม่ โดยเฉพาะ Paul Buchheit คนที่เคยอยู่เบื้องหลัง Gmail บอกว่ามันจะล่ม ผมเห็นด้วยกับเขานะ ผมว่ามันอยู่สายเดียวกับ Netbook หรือ Tablet อะไรแนวนั้น คือเป็นเครื่องเสริมมากกว่าเครื่องหลัก โดยไอเดียของมันแล้วจะใช้เป็นเครื่องหลักก็คงไม่สะดวกมากหนัก (ตอนนี้พนักงานบางกลุ่มของ Google ใช้เป็นเครื่องหลักในการทำงานแล้ว) ณ ตอนนี้ยังใส่ข้อมูลผ่านทาง USB ไม่ได้ด้วย แต่เขาบอกว่าเครื่องที่จะมีการผลิตจากบริษัทผลิตเครื่องรายอื่นจะใช้ได้นะ ถ้าให้ซื้อโน๊คบุ๊คที่เปิดได้แค่ Chrome browser ตัวเดียวโปรแกรมอื่นๆใช้บนเน็ตหมด คิดกลุ่มคนที่สามารถทำแบบนี้ได้น่าจะมีอยู่น้อย ยังไงก็ต้องมีอีกเครื่อง ใช้ tablet ไปเลยดีไหม เล่นโปรแกรมอย่างอื่นได้ด้วย

    ยิ่งตอนนี้ Android 3.0 ที่ออกแบบมาสำหรับ Tablet โดยตรงได้เปิดตัวแล้ว ยิ่งเห็นชัดว่ามันทับกันอยู่ ถ้า Android รัน Chrome browser ได้แล้ว ทุกอย่างก็ครบสมบูรณ์ คือ Android ทำงานฝั่งของ Chrome OS ได้แต่ Chrome OS ทำงานในฝั่งของ Android OS ไม่ได้ เป็นคุณจะเลือกอะไร ผมก็ตอบแทนได้เลยว่า เลือก Android OS ดีกว่า

    Chrome OS and Android OS

    อันที่จริงปัญหาเรื่องทับกันของผลิตภัณฑ์เคยถูกถามตั้งแต่ตอนเปิดตัว Google Chrome OS แล้ว ในตอนนั้น Google บอกว่าสุดท้ายแล้วมันจะเชื่อมกัน (หรืออันหนึ่งถูกยุบไปเลย?) แม้จะบอกว่า Netbook กับ Tablet มันคนละตลาดกัน แต่ผมว่ามันไม่ใช่ ถ้า Tablet เกิด Netbook ก็ถูกแย่งตลาดแน่นอน อาจรวมไปถึงโน๊ตบุคด้วยซ้ำไป

    ขอพูดถึง Chrome browser บ้าง และยอดคนใช้ก็โตวันโตคืน แม้จะเปิดตัวไม่นานเมื่อเทียบกับเจ้าอื่น พบว่ามันพัฒนาเร็วมาก อีกทั้งการพัฒนาของ Google ดูเหมือนจะเร็วกว่าเจ้าอื่นๆ ตอนนี้มัน V.10 แล้วนะ (Dev channel) ออกอัพเดตแทบจะทุกสัปดาห์ อันแหละที่ผมว่ามันเป็นจุดแข็ง จะเรียกว่า Chrome มันมาปฎิวัติการวงการ web browser เลยนะ(พูดตามจริง ไม่ได้อวย) อย่างน้อยก็หน้าตา tab อยู่ด้านบน มีช่อง address bar รวมกับช่อง search มีตัว web store มาเสริมอีก ทำให้มันน่าใช้มากยิ่งขึ้น

    เขียนมายาวแล้ว สรุปเลยแล้วกันในความคิดผม ผมว่า Chrome OS อาจจะตอบโจทย์ของผู้บริโภคในขณะนี้ได้น้อย มันเป็นคอมพิวเตอร์ยุคใหม่ เหมือนจะมาเร็วไปนิด คิดว่ามันจะเกิดได้แต่ต้องใช้เวลาไม่เปรี้ยงตอนนี้ ใจจริงอยากให้มันเป็นที่นิยม เพราะผมคิดว่ามันคืออนาคตของโลกคอมพิวเอตร์ที่จะมาอันใกล้นี้ ส่วนตัว Chrome browser มันจะยังคงรุ่งต่อไป และเพิ่มส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    Exit mobile version