เปิดการทำงาน Find My Mac และทดลองใช้งาน

ฟีเจอร์ตัวหนึ่งที่มาพร้อมกับ OSX Lion 10.7.2 คือ iCloud ซึ่งเป็นบริการเก็บข้อมูลไว้บนคอมพิวเตอร์กลุ่มเมฆ ลองดูวิธีการเปิดการใช้งานที่บล็อกอันเก่าที่ วิธีติดตั้ง iCloud ในเครื่อง Mac และ Windows หนึ่งในนั้นจะมี Find My Mac ที่จะช่วยให้เราติดตามตัวเครื่อง Mac ของเราได้ เมื่อโดนขโมย เหมือนกับ Find My iPhone นั้นเอง และสามารถควบคุมเครื่องในระยะไกลผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เล็กน้อย ได้แก่ ส่งข้อความไปที่เครือง สั่งล็อกเครื่อง หรือลบข้อมูลในเครื่อง Mac ของเรา ในกรณีที่คุณอาจมีข้อมูลลับที่ไม่ต้องการให้ใครเห็นก็ทำได้

เครื่องของผมหลังจากได้อัพเดตเครื่องให้เป็น 10.7.2 จะมีฟีเจอร์ iCloud เพิ่มเข้ามาแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดการทำงาน Find My Mac ได้ ทิ้งปัญหานี้ไว้นานแล้ว เมื่อวานเลยนั่งดูว่าจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง จึงเกิดโพสนี้ขึ้นมา

เปิดการทำงานของ Find My Mac ไม่ได้

มันฟ้องให้อัพเดต Recovery system ตลอดเรา แม้ว่าเราจะสั่งอัพเดตไปแล้วก็เป็นเหมือนเดิม จึงลองค้นดูว่ามีคนเจอปัญหาในลักษณะนี้บ้างหรือไม่ พบว่ามีคนเจอปัญหาแบบนี้เยอะพอสมควร เลยลองเลือกทำตามขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาของหลายๆเว็บพบว่า ที่นีให้รายละเอียดค่อนข้างดี https://www.macosliontips.com ทำตามแล้วมันสามารถแก้ไขปัญหาของเราได้เลยเอามาเล่าต่อ

วิธีแก้ไขปัญหาเปิดการทำงาน Find My Mac ไม่ได้

จะมีวิธีการแก้ไขปัญหาหลายวิธี บางคนแก้ไขได้ตั้งแต่วิธีแรก ลองทำตามไปเรื่อยๆ ซึ่งถ้าทั้งหมดนี้แก้ไขไม่ได้ ต้อง install OSX Lion ใหม่เลยแบบ Clean install ซึ่งเป็นอะไรที่ขี้เกียจมาก โชคดีของผมแก้ไขได้ในวิธีที่ 3

วิธีที่ 1 Enable Location Services

ให้เปิดใช้งาน Location Services ซึ่ง Find My Mac ต้องการใช้งานเพื่อระบุตำแหน่งของเครื่อง วิธีเปิดใช้งาน เข้าไปที่ System Preferences เลือก Security & Privacy ดูว่าที่ Enable Location Services ถูกติ๊กหรือไม่ ถ้ายังให้ติ๊กเลือกเพื่อเปิดการทำงาน แล้วลองกลับไป iCloud setting อีกครั้งเพื่อดูว่าสามารถเปิดการทำงานของ Find My Mac ได้หรือยัง ถ้ายังไม่ได้ต้องดูวิธีแก้ไขตัวต่อไป

Enable Location Services

วิธีที่ 2 Reinstall Lion Recovery Update

บางทีการเชื่อมต่อกับ server ตัวอัพเดตอาจจะมีปัญหา ดังนั้นลองดาวน์โหลด ตัว Recovery System มาติดตั้งเอง  https://support.apple.com/kb/DL1464 เมื่อติดตั้งเสร็จ restart รอบหนึ่งแล้ว เข้าไปดูว่าเปิดการทำงานของ Find My Mac ได้หรือยัง ถ้ายังดูขั้นตอนต่อไป

วิธีที่ 3 Repair Disk and Reinstall Client Combo Update

วิธีสุดท้ายนี้ค่อนข้างยากขึ้นนิดหนึ่ง นั้นคือสั่ง repair disk และลงตัวอัพเดต OSX Lion 10.7.2 ใหม่ แบบ Client Combo

  1. สั่ง Verify Disk โดยเข้าไปที่ Disk Utility (/Applications/Utilities) คลิกที่ฮาร์ตดิสที่ติดตั้ง OSX อยู่ แล้วคลิก Verify Disk อาจเจอข้อความ error ขึ้นมา

    สั่งให้ทำการ verify disk

  2. restart เครื่อง แล้วกดปุ่ม alt/option ค้างไว้ เลือกบูธใน recovery disk
    บูธเข้า Recovery HD

    จากนั้นเมื่อมี Mac OS X Utilities ปรากฏขึ้นมาให้เลือก Disk Utility

    เลือก Disk Utilites

    เลือก Disk ที่ลง OSX แล้วกด Repair Disk

    กด Repair Disk

    เมื่อ repair เสร็จแล้ว ให้รีบูตอีกครั้ง

  3. โหลดตัว OS X Lion Update 10.7.2 Client Combo มา https://support.apple.com/kb/DL1459 แล้วกดติดตั้ง เสร็จแล้ว restart อีกครั้ง
  4. เข้าไปดูที่ iCloud setting พบว่าตอนนี้สามารถ เปิดการทำงานของ Find My Mac ได้แล้ว(เย้ เย้)
    เปิดการทำงาน Find My Mac

    ขั้นตอนการแก้ไขในกรณีที่เปิดการทำงาน Find My Mac ไม่ได้ จบลงด้วยดี ถ้าใครที่ทำแล้วยังไม่สามารถเปิดการทำงานได้ อยากให้ลองรีสตาร์ทเครื่องอีกสักรอบสองรอบ ถ้ายังไม่ได้ทางสุดท้ายคือลง OSX Lion ใหม่แบบ clean install

ทดสอบการใช้งาน Find My Mac

หลังจากเปิดใช้งานแล้ว มาทดสอบดูสักเล็กน้อยในการใช้งาน Find My Mac

  1. เข้าไปที่ iCloud.com ล็อกอินด้วย Apple ID
  2. เข้าไปที่ Find My iPhone (ไม่ต้องงงครับมันอยู่ที่หน้าเดียวกัน)

    iCloud.com

  3. จะเห็นว่าเครื่องของเราตอนนี้อยู่ที่ไหน

    ตำแหน่งของเครื่องปัจจุบัน

  4. นอกจากนั้นเรายังสามารถทำการควบคุมเครื่องจากระยะไกลได้ดังนี้ครับ
    คำสั่งต่างๆที่ทำได้

    ส่งข้อความไปที่เครื่องพร้อมเสียงเตือน ล็อกเครื่อง ลบข้อมูล(ต้องสั่งล็อกเครื่องก่อน) เตือนให้ส่งอีเมลหาเราเมื่อตรวจพบเครื่อง

    หน้าสั่งล็อกเครื่อง

  5.  ทดลองส่ง ข้อความดูครับ
    ลองเขียนข้อความ แล้วกดส่งดู

    เมื่อมันเข้ามาที่เครื่องจะมีข้อความที่เราเขียนและมีเสียงเตือนขึ้นดังขึ้น(เสียงน่ารำคาญมาก) ทดลองใช้ภาษาไทยแล้ว ทำงานได้ปกติดีครับ

    ข้อความที่ส่งเข้าเครื่อง

พอเปิดใช้งาน Find My Mac ได้แล้ว หวังอย่างยิ่งว่าจะไม่ได้ใช้งานมันจริงๆนะ(ไม่อยากทำเครื่องหาย) แต่อย่างไรก็ตามมีไว้ก็เป็นเรื่องดี ถ้าหายจริงๆก็ยังพอมีเครื่องมือช่วยติดตาม หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านเช่นกันครับ

มาใช้ facebook, twitter แบบปลอดภัยกันดีกว่า

มาทำให้บัญชี facebook, twitter แบบปลอดภัยกันครับ อันนี้ผมใช้ตั้งแต่เว็บไซต์รองรับเลยทีเดียว

ใน privacy setting ทำให้บัญชี facebook ของเราปลอดภัยได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังป้องกันการดักขโมยพาสเวิร์ดจาก sniffer ไม่ได้ เว็บไซต์ใหญ่ๆ อย่างเช่น Google, facebook, twitter จึงรองรับการใช้งานแบบเข้ารหัสไว้ให้ด้วย สังเกตง่ายๆเว็บไซต์ไหนที่รองรับการใช้งานแบบเข้ารหัส ด้านหน้าจะเป็น https มี s เพิ่มต่อท้ายแทน http แบบธรรมดา ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในเว็บไซต์ที่ต้องการความปลอดภัยสูงเช่น เว็บไซต์ซื้อ-ขายของออนไลน์เพราะมีการกรอกรหัสบัตรเครดิตจึงต้องป้องกันการดักขโมยข้อมูลของลูกค้า ตามที่อ่านมาเขาว่าการใช้งานแบบเข้ารหัส SSL การจะทำดักจับขโมย sniffer เพื่อแกะรหัสพาสเวิร์ดนั้นแทบจะทำไม่ได้เลย แต่ข้อเสียของมันก็มีบ้างคือ ทำให้ใช้งานได้ช้าไปบ้าง แต่ไม่มากหรอกเมื่อเทียบกับความปลอดภัยที่ได้มา อยากรู้รายละเอียดของเข้ารหัส SSL ดูได้ที่ https://thaicert.nectec.or.th

ใน facebook ตั้งให้ใช้งานแบบเข้ารหัสได้โดยเข้าไปตั้งค่าที่

Account > Account Settings > Account Security > Secure Browsing (HTTPS) เลือกติ๊กตรงช่อง Browse Facebook on a secure connection (https) whenever

ใช้ facebook แบบเข้ารหัส

ส่วนใน twitter เข้าไปที่ Accounts>>HTTPS only (อยู่ล่างสุด) ติ๊กเลือก Always use HTTPS

ใช้ twitter แบบเข้ารหัส

ตอนนี้ facebook และ twitter ของเราก็มีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นแล้วครับ

อบรม ความปลอดภัยระบบเครือข่ายส่วนบุคคล

เปิดโลกลานเกียร์

เดินไปเจอป้ายประชาสัมพันธ์งานอบรมที่น่าสนใจ เลยค้นดูรายละเอียด และเอามาลงไว้ในบล็อกเผื่อมีคนสนใจ

ความปลอดภัยระบบเครือข่ายส่วนบุคคล
30 ตุลาคม 2553 เวลา 09:00 – 12:00

อ.ดร.เกริก ภิรมย์โสภา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความปลอดภัยของระบบเครือข่ายส่วนบุคคลในโลกไซเบอร์ที่ทุกคนควรรู้ เพื่อป้องกันข้อมูลและความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ของท่าน ไม่ว่าท่านจะอยู่ในสังคมออนไลน์ใดๆ ทั้ง Facebook, Twitter, Hi5 และอื่นๆ อีกมากมาย ร่วมเรียนรู้การจัดการและป้องกันภัยต่างๆ ในโลกไซเบอร์

หัวข้อการอบรม มีดังนี้
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความปลอดภัยและข้อมูลส่วนบุคคล
– Cyber Crime เบื้องต้น
– พื้นฐาน Computer Viruses, Worms, Trojan Horse และ Spyware
– Social Engineeering, Phishing, Phaming
– รู้ทันผู้ร้ายในโลก Cyber
– แนวทางการป้องกันตัวเองจากภัยร้ายในโลก Cyber
– Shopping Online อย่างปลอดภัย
– เปิดเผย แบ่งปัน หรือ ภัยซ่อนเร้น

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-218-6404 ติดต่อ น.ส.พรมม์ปภัส ภัครพรพรรณ์
สถานที่: ห้อง 209 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จำนวนรับ: 80
กลุ่มเป้าหมาย: ประชาชนทั่วไปที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์

สมัครเข้าร่วมงาน ฟรี

WebVPN Chula ใช้เน็ตภายนอกเหมือนอยู่ภายในจุฬาฯ

Chula-webVPN

การอยู่หอพักในจุฬาฯเลยได้เล่นเน็ตผ่านทาง wirelees ของจุฬาฯ การเข้าใช้งานเว็บไซต์ ต่างๆที่เกี่ยวกับงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ เลยไม่มีปัญหา เช่น sciencedirect ,Pubmed ,scopud เพราะในเครือข่ายภายในทางมหาลัยได้มีการ register กับทางเว็บไซต์ผู้ให้บริการอยู่แล้ว เมื่อออกมาใช้อินเทอร์เน็ตภายนอก การใช้งานต่างๆเลย ทำอะไรไม่ได้เลย ดู หรือดาวน์โหลด journal ไม่ได้เลย ทำให้การทำงานที่บ้าน หรือหอพักภายนอกทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่ต่อเนื่อง แต่จุฬาฯ มีบริการ virtual private network ที่ทุกคนพูดติดปากว่า webVPN การใช้งานง่ายมากๆ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คุณต้องเป็นนิสิตจุฬาฯ
  2. เข้าไปที่ url นี้ ที่ https://vpn.chula.ac.th (สังเกตจะมี s อยู่หลัง http ครับ)
  3. หน้าต่าง Security Alert จะปรากฎขึ้นมาก็ตอบ yes ไป

    security alert

  4. ให้ใส่ user : รหัสนิสิต 8 ตัว เช่น 50871670 ไม่มีรหัสคณะ 2 ตัวหลัง
    password : รหัสเดียวกับใช้ลงทะเบียนนั้นแหละ

    Login

  5. ตอนนี้เราก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมือนนั่งเล่นเน็ตที่คณะเลย ภาพหน้าหลัก และมีที่ใส่ url ด้านบน
หน้าแรกของ เว็บจุฬาฯ

ตัวอย่างการใช้งานเว็บ scopus เว็บที่ช่วยให้การทำ referance ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปาก ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟัง

Scopus ก่อน login ด้วย VPN

ก่อนใช้ webVPNก่อนใช้ webVPN

Scopus หลัง login ด้วย VPN

เมื่อใช้ webVPN ก็ใช้งานได้อย่างเต็มที่

ไอคอนแสดงว่าใช้งานอยู่

สังเกตที่มุมขวาบนจะมีปุ่มเครื่องมืออยู่
เรียงดังนี้ move (ย้ายชิดซ้าย-ขวา) , go to address (เปิดเว็บใหม่) ,Home page (กลับไปหน้าหลัก) ,Logout (ออกจากระบบ)

Exit mobile version