เมื่อ Alexa งอลไม่ยอมคุยด้วย

แกล้ง Alexa จนเธองอลไม่ยอมคุยกับเราแล้ว

สรุปคือ ถ้าเราออกคำสั่งเดิมๆ ซ้ำๆ 4-5 ครั้ง แล้วไม่ให้ข้อมูลที่เธอต้องการ มีความตั้งใจจะแกล้งเธอ สุดท้าย Alexa จะรู้ตัว แล้วจะ skip คำสั่งนั้นไปเลย

“ฉันงอลไม่คุยกับแกแล้ว”

(แต่ถ้าเปลี่ยนประโยคนิดหน่อย Alexa ก็จะกลับมาคุยกับเราเหมือนเดิมครับ)

หลังจากป้อนคำสั่งแบบข้างบนซ้ำๆไปหลายๆรอบ สุดท้าย Alexa ก็ไม่ตอบกลับ

Amazon Echo ภาษาที่ใช้ผูกติดกับบัญชีประเทศด้วย

Amazon Echo มีข้อจำกัดหนึ่งที่น่ารำคาญมากๆ คือ ภาษาที่ใช้คุยกับ Alexa จะผูกติดกับ Amazon account ของประเทศด้วย เช่น English (US), English (UK), Deutch(DE)

Amazon Echo

หมายความว่า ถ้าอยู่เยอรมันแต่อยากคุยอังกฤษกับ Alexa จะลำบากมาก บริการต่างๆจะไม่เชื่อมกับ Amazon.de แต่จะเชื่อม Amazon.com ของอเมริกา

ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือการเลือกภาษาคือการเลือกใช้ บัญชี Amazon ประเทศนั้นไปด้วย ไม่ใช่แค่การเลือกภาษาที่จะสื่อสารกับ Alexa

Alexa language setting

แล้วมันส่งผลอย่างไรนะหรอ เราจะพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น จะใช้งานได้ไม่เต็มความสามารถ สั่งของไม่ได้ สั่งเล่นเพลงตรงๆไม่ได้ สั่งเปิดหนังไม่ได้ รวมทั้งหลายๆคำสั่งไม่ทำงาน

เป็นการบังคับว่า “แกอยู่เยอรมันแกก็ต้องคุยภาษาเยอรมันกับฉัน” หรือในทางกลับกันถ้าอยู่อเมริกาหรืออังกฤษจะมาพูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่อังกฤษกับฉันไม่ได้เช่นกัน

หรืออาจจะเป็นข้อดีให้ฝึกพูดเยอรมันก็ได้ แต่มันขัดใจ.

Google Trips แอพช่วยวางแผนก่อนเที่ยว

เมื่อสุดสัปดาห์ได้ไปเที่ยวที่เบลเยี่ยมแบบ one day trip เราไปกัน 2 เมือง คือ Bruges และ Brussels ทั้งสองเมืองเรียกได้ว่าไปเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆของโลกเลยทีเดียว สวยและมีที่ท่องเที่ยวเยอะมากสำหรับวันเดียว

Grand Place in Brussels

แต่สิ่งที่อยากจะเล่าไม่ใช่เมืองที่ไปเที่ยวนะครับ แต่จะเล่าว่าได้ใช้แอพพลิเคชั่นตัวหนึ่งที่เพิ่งจะเปิดตัวได้ไม่นานนักชื่อ Google Trips เป็นช่วยตัวนำทาง ซึ่งถือว่ามันโอเคมากๆ

เมื่อเราจะไปเที่ยวเมืองๆหนึ่ง ทุกเมืองก็มักจะมี สิ่งที่ต้องทำ ที่ที่ต้องไป ร้านอาหารเครื่องดื่ม ฯลฯ ถ้าเอาแบบดั้งเดิม เราคงค้นดูในรีวิวที่คนอื่นไปมาแล้ว เอามาเล่าต่อแล้วพยายามไปตามนั้น พันทิพคงเป็นทางออก แต่ยอมรับว่าต้องเสียเวลาและพลังงานในการวางแผนเยอะ

ส่วนตัวแอพ Google Trips จะแนะนำสิ่งต่างๆเหล่านั้นให้เรา แล้วแนะนำได้ดีมากๆด้วยนะ

Google Trips – Travel Planner

Google มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่มหาศาลอยู่แล้ว จึงสามารถแนะนำข้อมูลได้ดี(กว่าคนอื่น) นอกจากนี้ตัวฟีเจอร์ที่เยี่ยมที่สุด ที่ใช้กับทริปเบลเยี่ยมนี้ คือ โหมด offline ครับ เพราะในการเที่ยวเพียงวันเดียว ไม่อยากเปิด Data Roaming หรือซื้อซิมใหม่เพียงเพื่อจะใช้แค่วันเดียว แต่ส่วนจำเป็นที่สุดของการท่องเที่ยว คือ แผนที่ โหมด offline ที่โหลดข้อมูลต่างๆเก็บไว้ใช้ในวันเดินทาง ในตอนที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้นั้น มันดีและใช้ประโยชน์ได้จริง

Google Trips – Travel Planner

ในความจริงแล้ว Google Maps มีโหมด offline เหมือนกันครับ เราสามารถโหลดแผนที่ของเมืองที่เราจะไปมาเก็บได้ แต่ Google Trips จะต่างกันตรงที่ มีการจัดทริปให้ มีการเรียงลำดับสถานที่ท่องเที่ยวในที่ต่างๆให้ พร้อมดาวน์โหลดแผนที่แบบ offline ให้ ซึ่งมันมีประโยชน์มากสำหรับการเดินเที่ยวแล้วเปิด GPS ไปด้วย ทำให้ไม่หลงทาง หรือการเลือกสถานีรถไฟที่ใกล้กับจุดต่างๆที่อยากไปก็ง่ายขึ้น และยังบอกเวลาเปิด-ปิดของสถานที่ต่างๆ รวมทั้งประมาณระยะเวลาในการเดินทางระหว่างจุดท่องเที่ยวให้

Google Trips – Travel Planner แนะนำสถานที่และร้านอาหารนิยม

ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถทำ Get direction สร้าง Route การเดินทางได้ แต่แผนที่แบบ offline พร้อมกับมีตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวให้ นั้นใช้ได้จริง และมีประโยชน์มาก ใครที่ท่องเที่ยวบ่อยๆลองทดลองใช้ดูเลยครับ ใช้ดีจึงแนะนำ

ดาวน์โหลด Google Trips สำหรับ Android หรือ iOS

เว็บตรวจสอบการคัดลอกงานวิจัย Plagiarism detection Tool

Free Online Plagiarism Detection Tool

Plagiarism หรือ การคัดลอกผลงาน ในการเขียนบทความวิชาการถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าหากถูกตรวจพบว่างานเขียนนั้นมีการคัดลอกมาจากผลงานของผู้อื่น หรือมีการนำข้อมูลมาแสดงโดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง จะถือว่าผู้เขียนงานชิ้นนั้นมีความผิดทันที นักวิชาการหรือนักวิจัยที่ต้องเขียนบทความทางวิชาการจึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก แต่บางครั้งการเขียนบทความวิชาการ ผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจให้มี plagiarism ในงานเขียนของตัวเอง แต่อาจเกิดจากการเผลอเลอ อย่างไม่ได้ตั้งใจ การตรวจสอบ plagiarism ในงานเขียนจึงเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ และให้ความสำคัญอย่างมาก เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบมีหลายอย่าง ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่าย และนี้คืออีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยในการตรวจสอบ Plagiarism ซึ่งสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง และไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน นั้นคือ Dupli Checker Free Online Plagiarism Detection Tool

วิธีการใช้งานสะดวก และรวดเร็ว

  1. เข้าไปที่เว็บ https://www.duplichecker.com/
  2. Copy ข้อความที่เขียนขึ้นใส่ลงในช่องใส่ข้อความ หรืออับโหลดไฟล์เอกสารเข้าไปก็ได้
  3. คลิกเลือก search engine ในการค้นหา แนะนำ Google
  4. คลิก search
  5. ดูการแสดงผล สีแดงคือมี Plagiarism สีเขียวคือผ่าน
ตัวอย่างผลของการตรวจสอบ

ด้านบนเป็นผลของการค้นหา ที่ลองคัดลอกบทความจาก journal แห่งหนึ่งมา พบว่าระบบสามารถตรวจเจอและสามารถแสดงลิงค์ที่อยู่ของบทความนั้นได้

เครื่องมือนี้เหมาะกับอาจารย์ที่จะใช้ตรวจงานของนิสิตได้ หรือสำหรับนักวิจัยที่ต้องเขียนงานวิจัยส่งตีพิมพ์  journal ต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการตรวจสอบด้วยวิธีนี้ ตรวจไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างแน่นอน เครื่องมือนี้จะเป็นเพียงตัวช่วยตัวหนึ่งเท่านั้นในการตรวจสอบ จำเป็นต้องตรวจสอบด้วยตัวเองอีกครั้ง เพื่อความถูกต้อง

เข้าไปใช้งานได้ที่ : https://www.duplichecker.com/
ขอบคุณความรู้จาก @ac_nim

Exit mobile version