รายชื่อพนักงานของ Google ที่เล่น Google+

Google+ Circle

Google+ เปิดตัวในวงจำกัด(ณ ตอนนี้) คนดัง เซเลบที่เล่นก็ยังคงมีน้อย คาดว่าไม่นานคงจะเริ่มเล่นกันมากขึ้น แต่เหล่า Geek ทั้งหลายคงได้เล่นกันหมดแล้ว พนักงานของ Google (เขาเรียกกันว่า Googler) ก็คงได้เล่นโซเซียลเน็ตเวิร์คของบริษัทตัวเองก่อนคนอื่นแน่อยู่แล้ว ก็มีคน(Craig Kanalley ดูลิงค์ไปโปรไฟล์เขาที่ด้านล่าง)ทำลิสต์ของ Googlers ที่เล่น Google+ มาให้เราดู มีตั้งแต่ผู้ก่อตั้งบริษัทไปจนถึงโปรแกรมเมอร์เลยทีเดียว

เราก็มาเลือกคนที่น่าสนใจดึงลง Circle จะได้ติดตามเนื้อหาดีๆจากเขาเหล่านั้น คาดว่าน่าจะยังมีอีกเยอะ แต่เท่าที่เขาทำลิสต์มาให้ดู มันก็เยอะแล้วนะ ไปดูกันเลย!

รายชื่อพนักงานของ Google ที่เล่น Google+

Co-Founders
+Sergey Brin
+Larry Page

VPs/Senior VPs
+Vic Gundotra (Engineering)
+Bradley Horowitz (Product Management)
+Jeff Huber (Commerce & Local)
+Marissa Mayer (Local, Maps & Location Services)

Community Managers
+Melissa Daniels (Chrome OS)
+Brian Rose (Google+ Photos)
+Vanessa Schneider
+Toby Stein
+Natalie Villalobos

Product Managers
+Anish Acharya (Google+ Mobile)
+Shimrit Ben-Yair
+Amir Fish (Google+ Photos)
+Frances Haugen (Google+ Profiles)
+Caroline McCarthy (Marketing)
+Jonathan McPhie
+Christian Oestlien (Google+ Ads)
+Joe Rideout
+Punit Soni (Google+ Mobile)

Engineering Directors/Managers
+Chee Chew
+Dave Besbris
+Chris Millikin

Software Engineers
+Eric W. Barndollar (Google+)
+James Bogosian
+Andrew Bunner (Google+)
+David Byttow
+Eric Cattell (Social Graph Tech Lead)
+John Costigan (Google Profiles)
+Matt Cutts (Webspam)
+Pavan Desikan (Google+/Gmail)
+Kelly Ellis
+Trey Harris (Site Reliability)
+Griff Hazen
+Andy Hertzfeld
+Matt Keoshkerian
+Todd Knight
+Jean-Christophe Lilot
+Lan Liu
+Vincent Mo (Google+ Photos)
+Dobromir Montauk (Google+ Infrastructure)
+Stephen Ng (Gmail)
+Owen Prater
+Joseph Smarr (Technical)
+Martin Strauss
+Na Tang
+Yonatan Zunger (Social)

Consumer Operations Manager
+Michael Hermeston (Google+ Support)

Developer Advocates
+Chris Chabot (Developer Relations)
+Timothy Jordan

Designers
+Brett Lider (Product/User Experience)
+Jonathan Terleski (Google+)
+Charles Warren (User Experience Lead, Google Social)

Program Managers
+Julian Harris (Technical)
+Adam Lasnik (Google Map Maker)

Tech Lead Manager
+Natalie Glance (Google Shopping)

Test Engineer
+Erick Fejta (Tester for Google Storage)

Account Executive
+Dave Miller (Local & Education)

President, Enterprise
+Dave Girouard (Cloud Apps)

ที่มา: https://plus.Google.com/103399926392582289066/posts/LX4g7577DqD

รวมส่วนเสริม เล่น Google+ ให้สนุกขึ้น

Google+ โซเชียลเน็ตเวิร์คของ Google เปิดตัวให้ใช้ในวงจำกัดอยู่ในขณะนี้ ดูแนวโน้มแล้วถ้าจะรุ่ง คงเพราะเตรียมตัวมาอย่างดี เปิดตัวยังไม่ทันไรตอนนี้ส่วนเสริมต่างๆออกมาเยอะมาก มีหลายตัวน่าใช้ หลายตัวลงไปก็ลบออก ทาง Google plus blog ทำลิสต์ส่วนเสริมของ Google Chrome ไว้ได้น่าสนใจ เลยนำมาฝากครับ

หากใครที่อยากลองเล่น Google+ แต่ยังเข้าไม่ได้ ส่งอีเมล gmail มาให้ผมครับ แล้วจะส่ง invite ไปให้ จะได้มีเพื่อนเล่นเยอะๆ (เขาว่าใช้อีเมลของอันอื่นก็ได้นะ แต่เอาชัวร์ใช้ gmail ดีกว่า)

Chrome Extensions สำหรับ Google Plus

  1. Replies and more for Google+
    Replies and more for Google+

    ตัวนี้เมื่อติดตั้งแล้วจะเพิ่มลิงค์ Reply to Author ถ้านึกไม่ออกว่ามันคืออะไร มันเหมือน Mention ใน Twitter ครับ และยังเพิ่มส่วน share ให้สามารถแชร์เนื้อหานั้นไปที่ Twitter, Facebook และ Email ได้ด้วย

  2. Surplus
    surplus

    ส่วนเสริมนี้เป็น Notification บน bar ของ Chrome เมื่อคลิกก็จะเหมือนเล่นที่หน้า Google+ คือตอบกลับได้เลย ที่จริงแล้วที่ favicon ของ Google+ ก็มีเตือนนะแต่เล็กไป

  3. Extended Share
    Extended Share for Google Plus

    ตัวนี้คล้ายกับตัว Replies and more for Google+ คือเพิ่ม share to  ไปที่ Twitter, Linked-In, Facebook

  4.  Notification Count
    Notification Count

    ตัวนี้จะช่วยเช็ค notification ให้คล้ายกับตัว Surplus ต่างตรงที่เมื่อคลิกที่ icon มันจะลิงค์ไปที่ Notifications all ที่เดียวกับตอนที่คลิกลิงค์ใต้เมนูลิสต์ของ Stream

  5. Photo Zoom
    Photo Zoom for Google+

    แต่ก่อนเล่น Facebook ก็มี Photo Zoom เหมือนกัน ของ Google+ จะขาดไปได้ยังไง ความสามารถของมันคือเมื่อเอาเมาส์ไปวางไว้ที่รูปใน Stream มันจะขยายใหญ่ขึ้น

  6. +Comment Toggle
    +Comment Toggle

    ตัวช่วยซ่อนคอมเม้นต์ ถ้าใครเจอ Post ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เยอะคงเลื่อนลงข้างล่างลำบาก ตัวนี้ช่วยซ่อนไว้ให้ แต่ก็คลิกเปิดออกมาดูได้นะ อันที่จริง Google+ มันก็ซ่อนให้อยู่แล้วส่วนหนึ่งนะ แต่ตัวนี้ซ่อนหมดเลย

  7. Color Bar Changer
    Color Plus for Google+

    ปกติบาร์ของ Google แบบใหม่จะเป็นสีดำ แต่เราใช้ส่วนเสริมตัวนี้เปลี่ยนสีใหม่ให้บาร์ด้านบนได้ มีให้เลือก 3 สี คือ ชมพู ฟ้า หรือ เขียว

  8. Google+Facebook
    Google+Facebook

    ตัวนี้จะเอา News feed ของ Facebook มาแสดงใน Google+ แล้วยังสามารถโพสในหน้านี้ได้เลย พูดง่ายๆคือเล่น Facebook ในหน้า Google+

  9. Google+Tweet
    Google+Tweet

    ตัวนี้จะดึง Time line ของ Twitter มาแสดงใน Google+ สรุปว่าเอามาแสดงได้ทั้ง Facebook และ Twitter ถ้างั้นเราเปิิดแค่ Google+ ก็พอ

  10. Gplus.to
    Gplus.to ย่อ url ให้ Google+

    ตัวนี้ไม่ใช่ Extension ครับ แต่เป็นบริการย่อลิงค์ที่อยู่ Google+ ของเรา ซึ่งตอนนี้ยังเป็นตัวเลขยาวๆ จำยาก ใช้งานง่ายๆกรอกชื่อที่ต้องการ เอาตัวเลขในหน้า Google+ Profile มาวาง แล้วกด add จากนั้น URL สั้นของเราจะเป็น https://gplus.to/ชื่อ เช่นของผมจะเป็น https://gplus.to/sarapuk

ตัวเสริม ลูกเล่นสำหรับ Google+ ก็ทยอยออกมาเรื่อยๆ เป็นแนวโน้มที่ดี บอกได้ว่ามันกำลังได้รับความนิยม หวังว่าตัว Extension เหล่านี้จะทำให้คุณเล่น Google+ ได้สนุกมากขึ้นนะครับ

ไอ้เจ้าโซเชียลเน็ตเวิร์คตัวใหม่ที่ชื่อ Google+ จะบอกให้ว่า ผมชอบและเชียร์มันมากเลยล่ะ!

What do you love (WDYL) บริการใหม่จาก Google

What do you love (WDYL)

What Do You Love? เขียนย่อเป็น WDYL บริการใหม่ล่าสุดจาก Google ที่ขยันออกของใหม่อยู่เรื่อย แล้วก็ขยันปิดด้วยเช่นกัน ล่าสุดก็ Google Health กับ Google PowerMeter ก็ถูกปิดตัวลงไปแล้ว เป็นไปตามวัฎจักรอันไหนไม่ประสบความสำเร็จก็ปิดไป ทำใหม่ไปเรื่อยๆต้องมีซักอันที่มันจะต้องตูมตาม

WDYL คือบริการรวมผลการค้นหาจากบริการต่างๆของ Google อย่างเช่น Google Books, Google Images, Blogs, Google Maps, News, YouTube, Patents, Translate, Google Trend เป็นต้น และจะเพิ่มขึ้นมาอีกเรื่อยๆ เรียกได้ว่าค้นที่เดียวโผล่มาหมด! แต่มันก็แสดงเนื้อหาบางส่วนเท่านั้นนะ โดยรวมก็มีประโยชน์ทำให้เห็นรายละเอียดโดยรวมของสิ่งที่เราสนใจ ถ้าอยากจะดูเพิ่มเติมค่อยไปดูที่บริการต้นฉบับอีกที

ลองค้นหาคำว่า Apple iPhone ได้ผลแสดงดังรูปครับ ทดลองใช้ WDYL ได้ที่ https://www.WDYL.com

ตัวอย่างการค้นหาใน WDYL.com

Wolfram|Alpha เปิด Tumbr เอาไว้โชว์ตัวอย่างการใช้งาน

Wolfram|Alpha on Tumblr

Wolfram|Alpha คือรูปแบบการค้นหาคำตอบแทนการค้นหาในแบบธรรมดา อยากรู้จักมากกว่านี้เคยเขียนไว้แล้ว (รีวิว Wolfram alpha (Google killer)ไม่ใช่การค้นแต่เป็นการตอบ) ปกติจะติดตามวิธีการใช้งานรูปแบบใหม่ๆ หรือข่าวการพัฒนาผ่านทาง blog ทางการของทีม Wolfram|Alpha ล่าสุดเขาเปิดที่ Tumbr เพิ่มอีกที่ด้วย เอาไว้แชร์การใช้งาน ตัวอย่างการใช้งาน จับภาพผลลัพธ์ของการคำนวณมาให้ดู

โดยการใช้งาน Wolfram|Alpha ถือว่าต้องศึกษาพอสมควร เพราะต้องป้อนข้อมูลอย่างถูกต้องจึงจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ และนี้คืออีกหนึ่งปัญหาที่มันถูกใช้งานในวงจำกัดเพราะมันใช้ยากพอควร ถ้าใช้งานคล่องแล้วมันช่วยลดงานได้เยอะเลยทีเดียว ถ้าดูบ่อยๆให้คุ้นตาเดี๋ยวมันซึมเอง ดูชาวบ้านเขาใช้เดี๋ยวก็ใช้เป็น (บอกตัวเอง)

อีกอย่างที่ชอบคือการออกแบบ Tumbr ดูเท่และสวยมาก จับภาพมาให้ดูแล้ว

ติดตาม Wolfram|Alpha บน Tumbr ได้ที่ลิงค์ https://wolframalpha.tumblr.com/

Google Dictionary สำหรับ Google Chrome มีปุ่มออกเสียงให้ด้วย

Google Dictionary Extension สำหรับ Google Chrome

เคยแนะนำตัว Dictionary Extension for Google Chrome ไว้แล้ว ไปดูอันเก่าได้ วันนี้เพิ่งสังเกตเห็นว่าตัว Google Dictionary มันเพิ่มปุ่มออกเสียงต่อท้ายคำศัพท์นั้นให้ด้วย กดฟังดูเสียงชัดเจนดีเลยทีเดียว ถือว่ามันมีประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย ส่วนการค้นหาในช่องเมื่อคลิกที่ icon ที่ extension bar นั้นยังใช้ได้ดี แต่ไม่มีปุ่มอ่านออกเสียงมาให้ด้วย ปุ่มอ่านออกเสียงใช้ได้แค่ในหน้าเว็บไซต์เมื่อดับเบิ้ลคลิกที่คำศัพท์ที่เราต้องการแปล วันนี้เลยมาบันทึกแนะนำคนอื่นได้ลองใช้บ้าง แต่ตอนนี้ได้ใช้แค่ อังกฤษ-อังกฤษ อยากให้เวอร์ชั่นต่อไปมี อังกฤษ<->ไทยบ้าง

ดาวน์โหลดตัว Google Dictionary extension สำหรับ Google Chrome

การใช้งาน Google dictionary extension

Read Later Fast บันทึกหน้าเว็บไว้อ่านทีหลัง

ช่วงที่เดินทางไปต่างจังหวัด ในจุดที่อินเทอร์เน็ตช้า หรือไม่มีให้ใช้เลย ทำให้เห็นประโยชน์ของ Web app สำหรับ Google Chrome ตัวหนึ่งที่ชื่อ Read Later Fast ขึ้นมาทันที แต่ก่อนก็ลงไปงั้นๆ ไม่ได้ใช้งานเลย แต่ช่วงที่เดินทางไปต่างจังหวัดมีบทความที่เราอ่านค้างไว้อยากอ่านต่อ จะก๊อปปี้หน้าเว็บไว้ Word หรือ Save webpage ก็เกะกะ วันก่อนเดินทางเลยลองใช้งาน Read Later Fast ตัวนี้ดู พบว่าตอนที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ สามารถเอาบทความที่อ่านค้างไว้มาอ่านในแบบออฟไลน์ได้เลย มันทำงานได้ดีเกินคาด ทั้งพวกภาพ รูปแบบเว็บไซต์มาครบ เลือกดูแบบเฉพาะข้อความก็ได้ ที่สำคัญมันเก็บข้อมูลให้เราด้วยว่าบันทึกอันไหนไว้ อันไหนอ่านแล้ว โดยใช้ Account ของ Google แถมยังใช้เพื่อ Sync ไปที่คอมตัวอื่นได้ด้วย

ลองดูการใช้งานกันครับ

ขั้นตอนการใช้งาน Read Later Fast

  1. ติดตั้ง web app ชื่อ Read Later Fast ก่อน ตามลิงค์
  2. เมื่อเปิดหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการบันทึกไว้อ่านที่หลัง ให้คลิกขวาที่ว่างในหน้านั้นแล้วเลือก Read later

    วิธีบันทึกหน้าเว็บ

  3. เปิด Read Later Fast ที่หน้า New Tab

    เปิด web app ขึ้นมาใช้งาน

  4. จะเจอรายการหน้าเว็บที่บันทึกไว้

    รายการที่บันทึกไว้อ่านทีหลัง

น่าจะมีประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้กับไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้นะครับ

10 อย่างที่ Android ชนะ iOS

ตอนที่แล้วเป็น 10 อย่างที่ iOS ชนะ Android มาคราวนี้ถึงเวลาที่ Android จะได้โต้กลับบ้าง ในรายละเอียดของ 10 อย่างต่อไปนี้เป็นฟีเจอร์ของ Android ที่ iOS สู้(ยัง)ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น jailbreak หรือไม่ jailbreak ก็ตาม ผมเขียนตามความเข้าใจ ส่วนใครอยากอ่านต้นฉบับตามไปดูได้ที่ลิงค์นี้ Top 10 Awesome Android Features that the iPhone Doesn’t Have

10 อย่างที่ Android ชนะ iOS

  1. Alternate Keyboards
    Alternate Keyboards

    คีย์บอร์ดแบบแปลกๆที่ทำให้พิมพ์ได้เร็วขึ้น ให้เราได้เลือกใช้งานมากมาย เช่น แบบลากนิ้วอย่างเช่น Swype หรือวิธีการเดาคำศัพท์แบบแปลกๆอย่าง 8pen และยังง่ายต่อการติดตั้ง แม้ว่า iPhone ก็มีคีย์บอร์ดอื่นๆให้เลือกเหมือนกัน แต่จะมีเฉพาะในรูปแบบของ app แยกต่างหาก ไม่ได้เป็นคีย์บอร์ดโดยตรงอย่างเช่นใน Android

  2. Automation
    Automation

    มีอีกอย่างที่มีประสิทธิภาพมากของ Android คือโปรแกรมที่สามารถเข้าถึงการตั้งค่าต่างๆของเครื่องได้แทบทุกส่วน อย่างเช่นโปรแกรมชื่อ Tasker เวลาเปิดเครื่องใช้งานทุกจะอย่างจะทำงานอัตโนมัติทุกอย่างตามที่ตั้งค่าไว้ อย่างเช่น เมื่อไหร่จะเปิดหรือปิด GPS การตั้งเวลาปลุกแบบละเอียด ควบคุมเสียงโทรศัพท์เมื่อมีสายเข้าได้อย่างละเอียด เช่น ให้เสียงเงียบเมื่อคว่ำหน้าลง เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้หาไม่ได้ใน iOS

  3. Custom Home Launchers
    Custom Home Launchers

    ใน iOS ก็สามารถปรับแต่ง Home Launcher ได้เล็กน้อยในตัวที่ทำ jaibreak แต่คงปรับแต่งได้ไม่เท่ากับใน Android ทำได้แน่นอน มี launcher มากมายให้ได้ลองเลือกใช้ อย่างเช่น ปรับแต่งหน้าตาไอคอนของ app ใหม่ หรือปรับแต่งให้มือถือทำงานได้เร็วขึ้น  ตัวที่มีคนแนะนำเยอะก็เช่น LauncherPro, ADWLauncher เป็นต้น

  4. Widgets
    Widgets

    แม้ว่า widget จะกินเนื้อที่ไปบ้าง แต่มันทำให้ใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น มีหลายๆอันที่มีประโยชน์ อย่างเช่น ตัวรายงานสภาพอากาศ ตัวควบคุมการเล่นเพลง ตัวแจ้งเตือนสำหรับ twitter/facebook กลุ่มของปฎิทิน หรือ to-do list ใน iOS ทำได้เล็กน้อยในหน้า lock screen ซึ่งทำได้เฉพาะในตัวที่ jailbreak

  5. Removable Storage and Battery
    Removable Storage and Battery

    นี้อาจจะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของ OS ซะทีเดียว แต่ก็ถือว่าเป็นอีกส่วนดีที่มีใน Android devices คือการถอดแบตอเตอรี่เพื่อซ่อม เพื่ออัพเกรดให้ดีขึ้น หรือสำรองแบตเตอรี่อีกตัวยามที่ต้องการใช้งานยาวนานขึ้นในจุดที่ไม่ที่ชาร์ตไฟ และอีกความได้เปรียบคือการเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลให้ Android phone ด้วย SD card ที่ใน iOS ไม่รองรับ

  6. Wireless App Installation
    Wireless App Installation

    การเปิดดู apps ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ทำให้ดูรายละเอียด และการจัดการได้ง่ายมากกว่าดูผ่านทางหน้าจอมือถือ ใน iOS สามารถติดตั้ง apps ผ่านทางการโหลดในมือถือกับโหลดผ่านทาง iTunes แล้ว Sync ผ่านทางสายเชื่อมเท่านั้น แต่ใน Android market หรือ Store ของค่ายอื่นๆ เช่น AppBrain เราสามารถค้นหา apps ที่เราสนใจ แล้วคลิกติดตั้งที่หน้าเว็บไซต์ แล้ว apps จะโหลดลงมือถือและติดตั้งให้เอง เมื่อมือถือต่ออินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องมีขั้นตอนอื่นๆให้ยุ่งยากอีกเลย

  7. Custom ROMs
    Custom ROMs

    เนื่องจาก Android เป็น open source จะมีนักพัฒนานำไปปรับแต่งได้อย่างอิสระ เช่นปรับแต่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้เร็วขึ้น ใช้งานแบตเตอรี่ได้นานขึ้น และอื่นๆอีกมากมาย ตัว Custom ROMs พวกนี้มีให้เลือกใช้ฟรีมากมาย หรือถ้าคุณเป็น Geek อยากทำเวอร์ชั่นของตัวเองไว้ใช้เฉพาะของตัวเองก็ยังได้ ตัวที่ได้รับนิยมเช่น CyanogenMod, MIUI

  8. Controlling Your Phone From Your Computer
    Controlling Your Phone From Your Computer

    อีกหนึ่งคุณสมบัติของ Android คือสามารถควบคุมมือถือผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้ เช่นส่งข้อความจากคอมพิวเตอร์ไปที่มือถือ ควบคุมกล้อง, ส่ง SMS, ตรวจหา location ของมือถือ, เข้าถึงไฟล์ในเครื่อง นอกจากนั้นยังสามารถส่ง notifications จากมือถือไปแสดงที่คอมพิวเตอร์ได้ ใน iOS ก็มีความสามารถนี้เช่นกันแต่ทำงานได้เฉพาะฟังชั่นพื้นฐานบางอันเท่านั้น

  9. Flash
    Flash for Android

    Flash ยังมีความสามารถมากกว่า HTML5 อยู่เยอะ ทำให้ในเว็บไซต์ต่างๆยังคงมี Flash เป็นส่วนประกอบอยู่มาก เช่น วีดีโอ เกมส์ โปรแกรมออนไลน์ ซึ่งใน Android รองรับ Flash อย่างเต็มตัว ส่วนใน iOS แม้จะ app ที่ช่วยแปลง Flash แต่ก็ทำงานได้เพียงแค่แก้ขัดเท่านั้น!

  10. True App Integration
    True App Integration

    Google apps ต่างๆถูกออกแแบบมาให้ทำงานได้ดีใน Android แม้ว่าใน iOS ก็มีให้ใช้ แต่จะมาช้ากว่าและคงให้ประสบการร์ใช้งานได้ดีไม่เท่าใน Android เพราะมันถูก intergrate เข้าไปใน OS เลย ไม่ได้พัฒนาขึ้นในระดับบนอย่างใน iOS

10 อย่างที่ iOS ชนะ Android

ปัจจุบัน OS ของ smart device (smartphone, tablet, media player ) มีเยอะมาก แต่ละเจ้าก็อยากจะมี OS เป็นของตัวเอง แต่ถ้าจะบอกว่า 2 อันดับแรกเป็นอะไร? ปัจจุบันคงต้องบอกว่า iOS ของ Apple กับ Android ของ Google ที่สู้กันในระดับลมบนของตลาด มีบทความจาก lifehacker เขียนเปรียบเทียบกันของทั้งสอง OS ไว้ น่าจะเป็นสิ่งที่แฟนๆของแต่ละค่ายรู้ดีและเอามาโจมตีกันอยู่เรื่อย ผมสนใจเลยของแปลแบบบ้านๆเอาไว้อ่านเล่น โดยจะแบ่งเป็น 2 ตอน ให้เกียรติ iOS ก่อน Android เพราะเขาเกิดก่อน ใครอยากอ่านต้นฉบับไปอ่านที่ Top 10 Ways iOS Outdoes Android

10 อย่างที่ iOS ชนะ Android

ทั้ง iOS และ Andiod ในที่นี้ก็หมายความรวมทั้งอุปกรณ์พวก smart device ต่างๆ และสิ่งแวดล้อมโดยรวมของแต่ละ OS เลยนะ

  1. The iTunes Media Store
    The iTunes Media Store

    iTunes ที่เป็นศูนย์รวมสื่อบันเทิงต่างๆของ Apple ทั้งหมด ทั้ง application เพลง หนัง หนังสือ ฯลฯ เชื่อมต่อเข้ากับ smart device ของคุณได้ง่าย เข้าถึงได้ง่ายซื้อได้ในคลิกเดียว ในขณะที่ Andoid สื่อด้านบันเทิงแม้จะซื้อได้ใน Amazon แต่ความสะดวกสะบายยังห่างชั้นกันมาก

  2. AirPlay
    AirPlay

    เป็นคุณสมบัติที่ทำงานร่วมกันของ smart device ที่รัน iOS การสตีมมิ่งสื่อบันเทิงถึงกันทำได้ดีอย่างน่าประทับใจ เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่หาไม่ได้ใน Android

  3. Find My iPhone
    Find my iPhone

    การติดตามมือถือ iPhone (iPad, iPod touch)ที่หายไปของคุณทำได้โดยง่าย และฟรีด้วย เราได้เห็นตัวอย่างการตามล่าหา iPhone ของตัวเองจากหลายๆคนที่เจอและจับมือขโมยได้ด้วย ในขณะที่ใน Android ก็มีเหมือนกันแต่ต้องเสียตังค์ในการใช้บริการ

  4. A Better Support System
    Genius Bar

    เมื่อเกิดปัญหากับ Android ของคุณ เมื่อถามคำถามไปที่โอเปอเรเตอร์ที่คุณซื้อเครื่องมาจะได้คำตอบอันน้อยนิด อีกทั้งยังแก้ปัญหาของเครื่องไม่ได้อีก ต่างจาก iDevices เมื่อเกิดปัญหาขึ้น คุณนำเครื่องไปที่ Apple Store ปัญหาต่างๆจะได้รับบริการแก้ไขอย่างดีเยี่ยม

  5. Better Battery Life and Management
    Better Battery Life and Management

    ระบบจัดการแบตเตอรีที่ดีกว่า จะเห็นได้ว่า Apple จะให้ความสำคัญกับระยะเวลาในการใช้งานแบตเตอรีมากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้จาก iPad ที่มีระยะเวลาในการใช้งานที่นานขึ้น เราจะวางใจใช้อุปกรณ์ iOS ได้ตลอดวัน ในขณะที่เราจะไม่ค่อยวางใจได้กับ Andriod  (น่าจะหมายถึงพวก tablet เพราะมือถือ android หลายตัวอยู่ได้นานกว่า iPhone เยอะ)

  6. iTunes and Tethered Syncing
    iTunes and Tethered Syncing

    iTunes เป็นโปรแกรมจัดการกับข้อมูลใน iDevices ได้ดีมาก คุณจะสามารถ backup หรือ restore ข้อมูลได้อย่างง่ายดาย ซึ่งใน Android แม้จะมีโปรแกรมจัดเหมือนกันแต่ทำได้ไม่ดีเท่าใน iOS
    note: แต่มีหลายๆคนที่ไม่ชอบ iTunes เหมือนกัน เพราะมีข้อจำกัดในการใช้งานหลายอย่างเช่น ข้อมูลทุกอย่างต้อง sync ผ่าน iTunes และไม่สามารถ sync แบบไร้สายได้

  7. No Crapware
    Crapware

    crapware หรือซอฟต์แวร์ที่ผู้ผลิตแถมมากับเครื่อง พบว่าใน Android จากหลายๆโอเปอเรเตอร์แถม crapware มาด้วย อาจจะมีทั้งที่เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์กับเรา แต่บางตัวไม่สามารถถอนการติดตั้งออกได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะไม่เจอใน iOS

  8. A Bigger and Better Variety of Apps
    A Bigger and Better Variety of Apps

    iOS มี App มากกว่าและมีจำนวนของ app คุณภาพมากกว่า Android แนวโน้มในปัจจุบันจะพบว่าเกมที่เคยอยู่ในเครื่อง console emulator จะเพิ่มมากขึ้นใน iOS เป็นอีกทางเลือกที่สำคัญที่ทำให้ iOS น่าสนใจมากกว่า อีกทั้ง App store ยังเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้นักพัฒนา ทำให้จำนวน app ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  9. A Well-Designed, Intuitive User Interface
    A Well-Designed, Intuitive User Interface

    การออกแบบที่ดี มี UI ที่สวยงามใช้งานง่าย ให้ประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีกว่า ความหมายนี้พูดรวมทั้ง iOS และ app ต่างๆด้วย เราจะพบว่า app ต่างๆบน iOS จะถูกออกแบบมาดีกว่าบน Android

  10. Consistency
    Fragmented android

    iOS จะไม่มีปัญหาเรื่อง fragmentation อย่างเช่น Android แน่นอน เมื่อ iOS มีการปรับปรุง อัพเดตเวอร์ชั่นใหม่ มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ของคุณจะได้รับการอัพเดตเช่นกัน ต่างจาก Android ที่มีความแตกต่างทั้งอาร์ดแวร์ และ OS ใช้ระยะเวลานานจนกว่าเครื่องของคุณจะได้รับการอัพเดตแม้ทาง Google จะออกอัพเดตมานานแล้วก็ตาม หรือบางทีเครื่องของคุณก็ไม่รับความสนใจจากผู้ผลิตที่จะการอัพเดตให้

ตอนต่อไป จะถึงคราวที่ Android อัด iOS กลับบ้าง โปรดติดตาม 10 อย่างที่ Android ชนะ iOS

วิธีทำให้ RSS ใน Google Reader เรียงตามตัวอักษร

Google Reader ของผมมี RSS ของเว็บต่างๆเยอะพอควร ผมแยกเป็นโฟล์เดอร์ตามหมวดไว้อย่างชัดเจน เมื่อมีเว็บใหม่ๆที่อยากจะ Subscription ไว้ ก็จะโยนเข้าไปในโฟว์เดอร์ที่ทำไว้ พอนานเข้ามันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งนึกได้ว่าบทความนี้อยู่เว็บนี้ แต่จะหา RSS ของเว็บดังกล่าวไม่เจอ เพราะมันมีเยอะ และวางอยู่มั่วไปหมด ถ้าเรียงตามตัวอักษรก็คงจะหาได้ง่ายมากขึ้น

RSS ที่ไม่เรียงตามตัวอักษร

วิธีนี้ค้นพบโดยบังเอิญ ตอนลบและเปลี่ยนโฟว์เดอร์ พบว่าเมื่อเปลี่ยนเสร็จมันจะเรียง RSS ให้ใหม่ตามอักษร เลยใช้วิธีนี้เรื่อยมา พอวันนี้จะจัดใหม่อีกครั้งจึงเขียนบันทึกให้คนอื่นได้อ่านด้วย

วิธีทำให้ RSS ใน Google Reader เรียงตามตัวอักษร

  1. เข้าไปที่ Reader settings

    Reader Settings

  2. เลือกที่เมนู Folders and Tags

    Folder and Tags

  3. เลื่อนไปที่โฟว์เดอร์ที่ต้องการเรียง RSS ใหม่ กดตรงคำว่า Rename เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอะไรก็ได้ ผมเปลี่ยนชื่อ “Tech_TH” เป็น ” Tech_TH2″ แล้วกด Save

    Rename

  4. เสร็จแล้ว เมื่อกลับมาดูอีกครั้งในโฟว์เดอร์ Tech_TH2 พบว่า RSS จะเรียงใหม่ตามตัวอักษรดังนี้ 1-9, A-Z, ก-ฮ,เรียงสระไทย

    RSS เรียงตามตัวอักษรแล้ว

หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ

เปิดใช้ Google Instant Search ใน Chrome

Google Instant Search คือการค้นแบบแสดงข้อมูลทันทีตั้งพิมพ์อักษรตัวแรก และจะเดาคำศัพท์ให้ด้วย เคยเขียนถึงเหมือนกัน “Google instant ค้นหาเร็วขึ้น ถูกใจมากขึ้น” ใน Google ต่างประเทศเปิดใช้มานานแล้ว คิดว่าหลายคนคงได้ลองใช้กันบ้างแล้ว ถ้าใครยังไม่ได้ลองใช้ก็เข้าไปใช้ที่ https://www.Google.com (.com ไม่ใช่ .co.th) ซึ่งใน Google Chrome ก็ถูกยัดฟีเจอร์นี้เข้ามาด้วยใน Omnibox เรียกภาษาชาวบ้านมันก็คือช่อง URL+Search ของ Google Chrome นั้นเอง แต่ Google Instant Search ใน Google Chrome จะยังตั้งเป็น Disable ไว้ แต่เราก็เปิดให้มันทำงานได้

แม้จะเปิดให้ทำงานได้แต่ก็ยังใช้ได้ไม่สมบูรณ์นัก ทำงานได้แค่ส่วนที่เป็น URL ของเว็บ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราจะพิมพ์ www.facebook.com หน้าเว็บจะแสดงตั้งแต่คำว่า www.fa แล้ว ทำให้เปิดเว็บต่างๆได้เร็วขึ้นเยอะเลย ส่วนการพิมพ์คีย์เวิร์ดยังแสดงเป็นแค่หน้าขาว คงต้องรอให้บ้านเราใช้ Instant Search ได้ก่อนมันจึงจะทำงานได้

การที่มันเดาเว็บที่เราจะเข้าแล้วเปิดให้ดูเลย แค่นี้ก็เพียงพอที่จะเปิดใช้งานมันแล้ว

ขั้นตอนการเปิด Google Instant Search ใน Google Chrome

  1. เปิดใช้ Google Chrome เข้าไปที่ Options

    Google Chrome Options

  2. เลือก Basics >>ติ๊กเลือก Enable Instant for faster searching and browsing

    Enable instant search

  3. เรียบร้อยทดลองใช้งานได้เลย ลองเปิดบล็อกตัวเอง www.amphur.in.th มันก็แสดงผลตั้งแต่คำว่า amp แล้ว

    Amphur.in.th with Chrome instant search

ใครที่อยากรู้จัก Google Instant มากกว่านี้เข้าไปดูได้ที่ https://www.Google.com/instant/

Exit mobile version