พาเที่ยวงาน มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2553

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2553 (National Science and Technology Fair 2010) “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์” วันที่ 7 – 22 สิงหาคม 2553 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ที่จริงไปเฝ้าบูธมาตั้งแต่วันพุธที่แล้ว แอบแวะไปเดินเล่นในงานมา มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ในงานเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ ครู นักเรียน ผู้ใหญ่ทั่วไปก็ควรไปเยี่ยมชมสักครั้งสร้างแรงบันดาลใจ และความรู้ได้มากมาย เอารูปมาให้ดู บรรยายสั้นๆใต้รูปให้พอเข้าใจนะครับ ยังมีเวลาอีก 4 วัน ใครยังไม่ไปควรแวะไปดูหน่อยนะครับ งานเยี่ยมมากๆ

บรรยากาศ งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์

ภาพแรกอยู่ในส่วนของ เทคโนโลยีสำหรับผู้พิการ

น้องเด็กในชั้นประถมกำลังทดลองเล่น กระดาษกราฟอิเล็กทรอนิคสำหรับผู้พิการตาบอด

กระดานกราฟที่ช่วยผู้ตาบอดเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ผ่านทางการฟังเสียงและการสัมผัสปุ่ม น้องๆน่ารักมากระหว่างทดลองเครื่องมือ หลับตาด้วยเพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกว่าถ้าตาบอดการเรียนรู้ทำได้ยากแค่ไหน จะได้เข้าใจและเห็นใจคนตาบอด

ทดลองเขียนอักษรเบล
สัญลักษณ์แทนตัวอักษร
อุปกรณ์ในการเขียนอักษรเบล

ส่วนนี้เป็นการทดลองเขียนอักษรเบล วิธีเขียนลำบากพอควร ที่โต๊ะจะมีบอกว่าอักษรแต่ละตัวเขียนแบบไหน เวลาเขียนจะใช้แท่งกดลงกระดาษบนแท่นพิมพ์ที่เป็นจุด 2×3 และต้องเขียนกลับด้าน เพราะเวลาอ่านจะพลิกกลับอีกด้าน เพื่อใช้นิ้วคล้ำจุดที่นูนขึ้นมา

มหัศจรรย์ดวงตา
มีภาพแปลกๆให้ดู

ภาพที่มองได้หลายมุมมอง มีให้ดูหลายรูป และบางอันเคยเห็นในเว็บบ้างแล้ว

สนามยิงปืนเลเซอร์

ตรงนี้เด็กเข้าคิวเล่นกันเยอะเลย เป็นสนามยิงปืนเลเซอร์ เมื่อยิงจะมีเสียง แล้วผลคะแนน ก็จะปรากฏบนจอทันที

ผลิตภํณฑ์จากฮาร์ดดิสพัง

ฮาร์ดดิสที่พังแล้วเก็บข้อมูลไม่ได้แต่มอเตอร์มันยังหมุนได้ เขาก็เอามาทำอะไรต่างๆได้มากมาย ทำหุ่นเล่นดนตรี เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ฯลฯ

เครื่องเล่นห่วงกล

เครื่องเล่นห่วงกล กว่าจะเอาออกได้นี้ต้องใช้เวลาพอดูเลย

แผนที่กรุงเทพจากดาวเทียม

ไปหาดูว่าตอนนี้ตัวเองอยู่ตรงไหน

ดาราศาสตร์

ส่วนของดาราศาสตร์ ทำความรู้จักดาวต่างๆ ส่วนต่างๆของจรวด ระบบสุริยะ ฯฯ

Augmented reality

ระบบ Augmented reality เชื่อมระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือน

พับกระดาษ

พับกระดาษ เพิ่มความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ จะได้รู้ว่ากระดาษ

เรียนรู้เรื่องแสง

เรียนรู้เรื่องแสง มีหลายอย่างให้เรียนรู้ด้านใน การหักเหของแสง การผสมสีของแสง ทางเดินวงกตที่ทำจากกระจกเงา การเดินของแสงใน fiber optic

หนังสามมิติ

มีการอธิบายถึงการทำงานของภาพ 3 มิติ และฉายหนังสั้น 3 มิติ เกี่ยวกับไดโนเสาร์ ดูแล้วสนุกดี เพลินเลยทีเดียว

รถโตโยต้า ผ่าครึ่ง
ภาพรถยนต์

รถยนต์ ที่ผ่าให้เห็นถึงองค์ประกอบภายใน เบาะนั่งแบบต่างๆ

นาโนเทคโนโลยี

อธิบาย และให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี

ส่วนของ TK Park มี iPad ให้เล่นด้วย

iPad ตรงอุทยานการเรียนรู้ TK Park มีหนังสือภาษาไทยให้ลองอ่านเล่น (พบว่า iPad มี Cydia ด้วย)

ยังมีอีกหลายจุดที่ผมไม่ได้ไป งานใหญ่มาก เดินทั้งวันก็ไม่หมด ถ้าจะให้ดีต้องมาหลายวัน เด็กๆมาแทบจะทั่วประเทศ โดนเด็กตั้งคำตามว่า “พี่ค่ะ อันนี้ตัวแปรต้น คืออะไร” ตอบไม่ถูกเลยทีเดียว

แผนที่ ไบเทค บางนา
ดู ไบเทค บางนา ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nst2010.com/index.php

ชอบปุ่มนี้จัง Save in Google Docs

Save in Google Docs

เวลาได้รับไฟล์เอกสารทางอีเมล ที่ไม่อยากโหลดลงเครื่อง ตรงไฟล์แนบ ผมจะใช้วิธีคลิก view อ่านเสร็จแล้ว ก็คลิก Save in Google Docs ไปเลย เวลาค้นไปค้นใน docs ก่อน สะดวกดี ที่ไม่ต้องเสียเวลาโหลด ไม่ต้องเปิด PDF Reader และไม่ต้องเปลื้องเนื้อที่คอม

เป็นกำลังใจให้ Biomed.in.th ใน Blog Awards ด้วยนะครับ

โหวตให้ Biomed.in.th ในหมวด Science

ที่จริงแล้วบล็อกผมก็ส่งไปเล่นๆเหมือนกัน [ลิงค์โหวตบล็อกนี้]ไม่รู้มีคนโหวตให้หรือเปล่า ใครใคร่อยากโหวตก็โหวตอันนี้ไม่ค่อยใส่ใจกับมันมากนัก แต่ที่อยากจะขอกำลังใจเป็น Biomed.in.th มากกว่าที่อยากให้เพื่อนๆช่วยโหวตให้ เผื่อว่าจะสร้างปรากฎการณ์ เพิ่มคนเข้าเว็บได้มากขึ้น ได้รับความสนใจจากทั้งคนอ่านและคนเขียนมากขึ้น ผมส่งเข้าในหมวด Education, Health, Science แต่คิดว่าหมวด Science น่าจะตรงกับเว็บ biomed มากที่สุด แถมบล็อกในหมวดนี้มีน้อยกว่าหมวดอื่นอีกด้วย(โอกาสสูงขึ้น) มาช่วยผลักดันให้เว็บเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มีมากขึ้นนะครับ

ว่างๆคลิกไปโหวตให้ด้วยนะครับ โหวตให้ Biomed.in.th

เข้าใจว่าโหวตได้วันละครั้ง พรุ่งนี้คลิกเข้าไปโหวตอีกทีนะ

ปล. ถ้าสมัครสมาชิกของ thaiblogaward โหวตได้ 3 เท่า

วิธีใส่เอกสารอ้างอิงด้วย EndNote X2 ตอนที่ 2

เขียนเกี่ยว EndNote ตอนที่ 1 ไว้นานมาก จนลืมไปแล้ว วันนี้ได้ฤกษ์ดีเปิดเข้ามาเขียน เอาให้ได้ประโยชน์กับคนทั่วไปที่ต้องใช้งานมัน โปรแกรม EndNote คือโปรแกรมที่ใช้ทำ เอกสารอ้างอิง(Reference) ในบทความวิจัย หรืออะไรก็ตามที่ต้องการระบุที่มาอย่างเป็นระบบ วิธีการใส่เอกสารอ้างอิงด้วย EndNote ทำได้หลายวิธี วิธีที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้เป็นวิธีที่ผมใช้ และคิดว่ามันง่ายเร็วและสะดวกที่สุดแล้ว นั้นคือไปดึงรายละเอียดจากเว็บที่มีรายละเอียดของเอกสารที่เราอ้างถึงมาแสดง ส่วนอันไหนไม่มีก็เขียนขึ้นเอง EndNote ทำได้อยู่แล้ว เริ่มเลยก็แล้วกัน

ขั้นตอนการค้นหาเอกสารอ้างอิงและ Import เข้า EndNote X2

  1. ติดตั้งโปรแกรม EndNote X2 ให้เรียบร้อย ดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์ใน ตอนที่ 1
  2. เข้าไปค้นหาเอกสารที่เราอ้างถึงที่เว็บ https://www.scopus.com ถ้าอยู่นอกมหาลัยต้องเข้าผ่าน VPN
  3. เมื่อค้นเจอแล้ว ให้ติ๊กเลือกหน้าชื่อเอกสารที่เราต้องการ สามารถเลือกได้หลายอันพร้อมกัน แล้วคลิก Output

    เลือกเอกสารที่ต้องการ

  4. เมื่อคลิก Output แล้ว จะเจอหน้าให้เลือกว่าต้องการ export ไฟล์แบบไหน ต้องการข้อมูลอะไรบ้าง
    – เลือก Select the desired output type ให้เป็น Export  เป็นค่าเริ่มต้นอยู่แล้ว
    – Export format เลือกเป็น RIS format (Reference Manager,ProCite,EndNote) <<เห็นไหม มี EndNote ด้วย
    – Output ต้องนี้จะเลือกเป็น Citations Only หรือ Complete format ก็ได้ แล้วแต่ความต้อง ลองคลิกดูก่อนก็ได้ ด้านล่างจะแสดงว่าข้อมูลแต่ละอันจะได้อะไรไปบ้าง ผมเลือก Citations Only

    วิธีเลือก output จากเว็บ scopus

  5. เปิดโปรแกรม EndNote ขึ้นมา เพื่อ Import ไฟล์ที่ได้จาก scopus เข้าไปใน EndNote
    – เลือก Import (icon ลูกศรชี้ลง)
    – เลือก Import Option เป็น Reference Manager(RIS)
    – แล้ว Choose File จากข้อ 4 เข้ามา

    Import File เข้า EndNote

  6. เอกสารที่ Import เข้ามาจะเข้ามาอยู่ใน EndNote แล้ว เมื่อลงคลิกที่เอกสารอ้างอิงที่ Import เข้ามาก็จะเห็นรายละเอียดด้านล่าง เมนู Groups ด้านซ้าย All References คือ เอกสารอ้างอิงทั้งหมดที่มี Imported Reference คือ เอกสารล่างสุดที่ Import เข้ามา Trash คือ ไฟล์ที่ลบไป เข้าไปดูและ restore กับมาได้

    หน้าต่าง EndNote ที่ Import ไฟล์ RIS เข้ามา

ขั้นตอนต่อไปคือการนำเอกสารอ้างไปใช้ใน เอกสารที่เราเขียนขึ้นในโปรแกรม Microsoft Word

ขั้นตอนการใส่เอกสารอ้างอิง

  1. เปิดเอกสารที่เขียนขึ้นมา จะเห็นว่ามีเมนูของ EndNote X2 เพิ่มขึ้นมา แสดงว่าที่เครื่องเราได้ติดตั้งโปรแกรม EndNote X2 ไว้แล้ว และสามารถใช้ร่วมกับ Microsoft Word ได้ หลายคนลงแล้วไม่มีเมนูนี้ขึ้นมาแนะนำให้ถอนออกแล้วติดตั้งใหม่

    เมนู EndNote ใน Microsoft Word

  2. ใช้เคอร์เซอร์ไปอยู่ในตำเหน่งที่จะใส่เอกสารอ้างอิง

    ข้อความตรงนี้ต้องการใส่เอกสารอ้างอิง

  3. ที่ Tab ของ EndNote  กดไปที่  Go to EndNote มันจะสลับไปที่โปรแกรม EndNote
  4. เลือกเอกสารอ้างอิงที่ต้องการ จะทีละอันหรือหลายอันก็ได้ แล้วคลิก Insert Citations (ลูกศรสีแดงชี้ลง) เรียบร้อย ง่ายไหม

    เลือกเอกสารอ้างอิงแล้วคลิก Insert Citation

  5. ลองดูผลงาน ตรงตำแหน่งที่เรา insert citation จะมีตัวเลขขึ้น(แล้วแต่ style) ด้านล่างจะเป็นรายละเอียดของเอกสารอ้างอิง ตาม Style เช่นกัน

    EndNote จะใส่เอกสารอ้างอิงให้อัตโนมัติ

  6. เสร็จแล้ว อย่าลืม save ไฟล์ library ของ EndNote ไว้ใช้ในครั้งต่อไป

รายละเอียดของ EndNote ยังมีอีกเยอะมาก แต่เพียงแค่นี้ ก็สามารถช่วยให้เราทำงานได้ในระดับหนึ่งแล้ว

เพิ่มเติม

–  ถ้า Style ที่ต้องการไม่มีให้เลือก เข้าไปที่โปรแกรม EndNote คลิก Edit >>Output Styles>> Open Style Manager
–  ถ้า Scopus ไม่มี Reference ที่ต้องการ ให้เพิ่มเองได้ที่ เมนู Reference>>New Reference แล้วใส่รายละเอียดแต่ละช่องลงไปถ้าไม่มีข้อมูลอันไหนก็ว่างไว้

หนังสือบันทึก 380 วงจรไอซี

บันทึก 380 วงจรไอซี

“หนังสือบันทึก 380 วงจรไอซี” หนังสือเล่มนี้อยู่ในห้องแล็ปมานานแค่ไหนแล้วผมไม่รู้ ดูสภาพภายนอกว่าเยินแล้ว ด้านในยิ่งกว่า ผ่านการเปิด การซ่อมนับครั้งไม่ถ้วน ผมเชื่อว่าใครที่เคยทำเล็ปในห้อง BERL (Bioelectronics) ต้องเคยได้ใช้บริการมันแน่นอน เนื้อหาข้างในเพียงพอต่อการเรียนรู้วงจรไอซีสำหรับคนไม่ได้เรียนวิศวกรรมไฟฟ้ามาอย่างผม แม้แต่คนที่จบวิศวะมาก็ต้องเปิดทบทวนบ่อยๆเมื่อจะใช้งานเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า อีกอย่างที่ผมชอบมากคือมันถูกเขียนขึ้นด้วยลายมือ ให้อารมณ์เหมือนดูหนังสือออกแบบโครงสร้างตึกของสถาปนิก อ่านง่าย ราคาที่ปก 50 บาท(ไม่รู้ราคาขายในปีไหน)

เนื้อหาหนังสือบันทึก 380 วงจรไอซี

ผมพยายามเดินหาในร้านหนังสือว่ายังมีการตีพิมพ์อีกบ้างไหม แต่ไม่เจอ สุดท้ายก็เลยต้องเอาไปถ่ายเอกสารเก็บไว้ให้ตัวเองเล่มหนึ่ง ให้ห้องแล็ปอีกเล่ม เผื่อมันจะอยู่คงทนขึ้น จะได้มีตัวสำรองให้คนที่จะเข้ามาทำงานในเล็ปได้ใช้งานมันต่อไป ก่อนตัวจริงจะขาดหายไปเสียก่อน

หนังสือบันทึก 380 วงจรไอซี

หวังว่ากลับมาคราวหน้ามันจะยังอยู่ และยังถูกใช้งาน

(เฉพาะนิสิตจุฬาฯ)ฟรีหนังสือ E-book มากกว่า 7 พันรายการ

CRCnetBASE.com รวมหนังสือออนไลน์มากกว่า 7 พันรายการ

สำหรับนิสิตและบุคลากรในจุฬาฯเท่านั้นครับ รวมหนังสืออีบุ๊ค แบบ PDF ไฟล์ ให้โหลดมากกว่า 7 พันรายการฟรี เท่าที่เข้าไปเช็คดูมีเกือบทุกสาขา ลองก็อปปี้แต่ละหมวดมาให้ดู

All Subjects (7314)

  • Biomedical Science (553)
  • Business & Management (715)
  • Chemical Engineering (163)
  • Chemistry (809)
  • Clean Tech (159)
  • Computer Science & Engineering (302)
  • Economics (769)
  • Engineering – Civil (373)
  • Engineering – Electrical (782)
  • Engineering – General (134)
  • Engineering – Mechanical (380)
  • Engineering – Mining (28)
  • Environmental Science & Engineering (626)
  • Ergonomics & Human Factors (134)
  • Food & Nutrition (587)
  • Forensics & Criminal Justice (288)
  • Geoscience (29)
  • Healthcare (106)
  • Homeland Security (80)
  • Industrial Engineering & Manufacturing (256)
  • Information Technology (419)
  • Life Science (774)
  • Material Science (491)
  • Math (452)
  • Medicine (367)
  • Nanoscience & Technology (117)
  • Occupational Health & Safety (114)
  • Pharmaceutical Science & Regulation (271)
  • Physics (409)
  • Polymer Science (102)
  • Public Administration & Public Policy (71)
  • Social Sciences (543)
  • Statistics (287)
  • Water Science & Engineering (219)

เข้าไปโหลดได้เลยที่  https://www.crcnetbase.com ใครที่ไม่ได้ใช้เน็ตภายในจุฬาฯ ก็ใช้ VPN เข้ามาโหลดได้ครับ

Ignite Thailand ปลุกพลังบวก เปลี่ยนประเทศไทย

Ignite Thailand

IgniteBKK เปิดโลกทัศน์ผมได้อย่างมาก ด้วย Igniter ที่เก่ง และหลากหลาย  เป็นงานที่มีเสน่ห์มาก การกลั่นกรองความคิดที่อยู่ในตัวออกมาให้ผู้ฟังให้เข้าใจได้ภายในเวลา 5 นาที กับสไลด์ 20 หน้าได้ คนที่จะเป็น Igniter ที่ดีได้นั้น ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ สัปดาห์ของ Ignite กลับมาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ไม่ใช้เฉพาะในกรุงเทพฯ แต่กระจายตัวทั่วทุกภาคของประเทศ กลาง(กรุงเทพฯ) เหนือ(เชียงใหม่) ใต้(หาดใหญ่) อีสาน(ขอนแก่น) จึงขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมงาน ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ลงทะเบียนสมัครได้ในเว็บอ้างอิงด้านล่าง

Ignite Thailand++ เป็นงานเพื่อจุดประกายความคิด จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 16 มิถุนายน 2553 ต่อจากงานแถลงข่าวเปิดตัวเครือข่ายพลังบวก ที่ สมาคมนิสิตเก่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ลุมพินีสถาน (Lumpini Hall) ผู้ฟังสามารถลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่งได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

กำหนดการ

16.00 แถลงข่าวเปิดตัวเครือข่ายพลังบวก นำเสนอโรดแมพการทำงาน (for Press and Social Media)
18.00 Ignite Show ช่วงโชว์ผลงาน ที่ทุกท่านสามารถสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมานำเสนอกันได้ไม่ว่าจะเป็นงานศิลป์ งานประดิษฐ์ เพื่อจุดประกายความคิดเชิงบวก
ดำเนินรายการโดย พิธีกรอารมณ์ดี หนุ่ย พงษ์สุข หิรัญพฤกษ์ @nuishow และทีมงาน Show NoLimt
19.00 Ignite Talk ช่วงจุดประกายความคิด โดย Igniters ประมาณ 20 ท่าน บรรยายท่านละ 5 นาที ประกอบสไลด์ 20 แผ่น

รายชื่อ Igniters

  • พระศรญาณีโสภณ (ท่านปิยโสภณ วัดพระรามเก้า กาญจนาภิเษก)
  • คุณเดียร์ – ขัตติยา สวัสดิผล
  • ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ
  • คุณประภาส ชลศรานนท์
  • รศ.ดร. ปาริชาต สถาปิตานนท์
  • คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย
  • คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (หนูแก้ว)
  • คุณสราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (นิ้วกลม)
  • คุณนที สรวารีี
  • คุณโรส – วริศรา (ลี้ธีระกุล) มหากายี
  • คุณพิทยากร ลีลาภัทร์
  • คุณทรงกลด บางยี่ขัน
  • คุณปรัชญา สิงห์โต
  • คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ
  • คุณรวิทัต ภู่หลำ

ห้ามพลาดงานดีๆแบบนี้ครับ

ที่มา : https://www.ignite.in.th

เสวนาทางวิชาการ “ทางออกสังคมไทยหลังวิกฤต 19 พฤษภาคม”

แจ้งข่าวสารที่น่าสนใจครับ

เสวนาวิชาการ "ทางออกสังคมไทยหลังวิกฤต 19 พฤษภาคม"

เสวนาทางวิชาการ ประจำปี 2553
เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของการสถาปนาสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ทางออกสังคมไทยหลังวิกฤต 19 พฤษภาคม”

จัดโดย
กลุ่มจับกระแสเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันพุธที่ 9 มิถุนายน 2553 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุมจุมภฏ – พันธุ์ทิพย์ ตึกประชาธิปก – รำไพพรรณี ชั้น 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักการและเหตุผล
จากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 และในอีกหลายๆ
ครั้งตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้สังคมไทยต้องเผชิญกับความขัดแย้งและความแตกแยกของคนใน
สังคมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังมีจุดแข็งในหลายเรื่อง อาทิ ความเป็นคนไทยที่มี
จิตใจเอื้อเฟื้อและรักสงบ ความเจริญทางด้านสังคมและเศรษฐกิจซึ่งยังมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรอยู่
มากเมื่อเปรียบเทียบกับนานาประเทศ ดังนั้น ความหวังของสังคมไทยที่จะก้าวพ้นวิกฤตสังคมในครั้งนี้ จึงอยู่ที่
การหันหน้ามาทำความเข้าใจและร่วมกันทั้งคนในเมืองและชนบท กลุ่มจับกระแสเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จึง
ได้จัดการเสวนาทางวิชาการครั้งนี้ เพื่อเป็นอีกเวทีหนึ่ง ที่จะหาทางออกร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ของหลาย
ภาคส่วนจากวิกฤตที่เกิดขึ้น
กำหนดการ
12.30 — 13.00 น. ลงทะเบียน
13.00 — 13.05 น. กล่าวเปิดงาน โดย รศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13.05 — 15.05 น. เสวนา เรื่อง “ทางออกสังคมไทย หลังวิกฤต 19 พฤษภาคม” โดย

  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต (วัดเอราวัณ) ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ
  • นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและอดีตรองนายกรัฐมนตรี
  • รศ. ดร. มารค ตามไท ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ
  • พลเอก ไวพจน์ ศรีนวล อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

15.05 – 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.30 — 16.00 น. เปิดเวทีแสดงความคิดเห็น ดำเนินรายการ โดย รศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์

ที่มา : https://www.chula.ac.th/cuth/cic/oldnews/CU_P007411.html
ดาวน์โหลด : กำหนดการ

Photosynth : พระบรมรูป 2 รัชกาล จุฬาฯ

ช่วงนี้กำลังคลั่ง Photosynth ไปไหนต้องถ่ายเก็บเป็นชุด เอามารวมกัน วันนี้เกือบจะมืดแล้วเลยแวะไปถ่ายพระบรมรูป 2 รัชกาล ที่เราชาวจุฬาฯให้การเคารพบูชา ถ่ายทุกมุมเอามาเข้า Photosynth ได้รูปออกมาไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่ เป็นเพราะถ่ายเยอะเกิน มุมมองไม่ดี แต่ทำให้เข้าใจโปรแกรมเพิ่มขึ้นอีกนิด

  • ถ้าเรากด play ให้มันเล่นอัตโนมัติมันจะแสดงภาพในมุมเดียวกัน ที่ใกล้-ไกลก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนมุมไป
  • การดูแบบ Point Cloud ได้อารมณืไปอีกแบบ เห็นชัดเจนว่าโปรแกรมมันมองเป็น 3D

    ดูแบบ Point Cloud

  • บางทีการถ่ายหลายรูป ไม่ได้ทำให้ออกมาดีอย่างที่คาดไว้
  • การนั่งดูของชาวบ้านจะได้มุมมองการถ่ายที่ดีได้ ครั้งหน้าจะแก้มือ
  • Photosynth จะออกมาโอเคมาก ถ้ายืนถ่ายจุดเดียว เอามุมกว้างหนึ่งมุม แล้วซูมแต่ละจุดเข้าไป
  • หรือ เอาจุดสนใจไว้ที่ตรงกลาง แล้วเดินวนรอบถ่ายไปเรื่อย มุมละภาพ
  • ก่อนเอาเข้า Photosynth ควรย่อรูปลงหน่อยใหญ่ไปใช้เวลานาน และพื้นที่มีให้น้อย 20 GB
  • ต่อไปคงเอาขึ้นบ่อยๆ ใครสนใจเข้าไปดูได้ที่ https://photosynth.net/userprofilepage.aspx?user=sarapuk

ความฝันกับ Biomed.in.th เห็นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว

เว็บ Biomed.in.th

Biomed.in.th ผมเริ่มทำเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว(2009) บล็อกเกี่ยวกับเว็บนี้ไว้ที่นี้ ตอนหลังทิ้งช่วงของการอัพเดตไปนาน เนื่องด้วยการเขียนบทความประเภทนี้ เราจะให้ความสำคัญ ใส่ใจในความถูกต้องเป็นพิเศษ เพราะมันเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายโดยตรง อยากให้เป็นแหล่งความรู้จริงๆ ที่กล่าวอ้างได้ มีที่มาสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ประกอบกับเวลาไม่ค่อยมี(ข้ออ้าง) แต่เมื่อไม่นานได้พูดคุยกับ @cherrykids เธอบอกว่าเนื้อหาในเว็บน่าสนใจ แต่ทำไมไม่ค่อยอัพเดตเลย สุดท้ายก็ชวนมาเป็นคนร่วมเขียน คิดอยู่ในหัว “มีคนสนใจมันด้วยแฮะ” ไฟในตัวเลยลุกโชนขึ้นอีกครั้ง เลยลงมือปรับปรุงเว็บใหม่เพียบ

  • ปรับหน้าแรกให้อ่านง่ายขึ้น เรียงแบบธรรมดา จากคำแนะนำของเพื่อนคนหนึ่ง ที่บอกว่ามันดูงงๆ ตอนนี้น่าจะง่ายขึ้น
  • ทำหน้า Biomed.in.th on Facebook page มีคนมา Like เยอะแล้ว
  • ทำ Biomed.in.th on NetworkedBlogs ใครที่เล่น Facebook เข้าไป Follow ได้เลยครับ
  • ทำปุ่ม Like ใน single post เมื่อกด Like จะขึ้นไปที่ facebook ของเราทันที ลองดูที่ด้านล่างของโพสนั้นๆ
  • ทำ https://twitter/biomedinth เพื่อกระจายเนื้อหา ที่จริงสมัครมาตั้งนานแล้วแต่ยังไม่ได้โปรโมท
  • ทำ feedburner และ subscript ผ่านทางอีเมล ไปดูได้ที่หน้าหลัก
  • เปิดหน้ารับสมัครนักเขียน ใครสนใจเข้ามาสมัคร และลองเขียนบทความดูนะครับ มาช่วยกันเผยแพร่ความรู้สู่สังคมไทยกันนะครับ ตอนนี้เรามีนักเขียนแล้ว 8 คน เมื่อมีเวลาอันเหมาะสมผมจะนัดพบปะกันของกลุ่มคนเขียนบทความนะครับ
  • พยายามชวนพี่ๆเพื่อนที่รู้จักมาช่วยกันทำ ได้รับการตอบรับอย่างดี

ความฝันที่จะสร้างแหล่งให้ความรู้ และที่พบปะ พูดคุย ที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้สนใจในวิศวกรมมชีวเวช และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดูจะเห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ใครสนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา Biomed.in.th ขอเชิญเลยนะครับ ยินต้อนรับทุกท่านครับ

Exit mobile version