วีธีตรวจสอบอายุของมือถือ Android แอนดรอยด์

ถ้าอยากรู้ว่ามือถือ Android แอนดรอยด์ที่ตัวเองใช้งานอยู่นั้นมีอายุเท่าไหร่แล้ว สามารถตรวจสอบวันที่เปิดใช้งานครั้งแรกได้ 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 เช็ควันที่ลงทะเบียนเข้าใช้งานผ่านทาง Google dashboard

  1. เข้าไปที่ Google dashboard เพื่อเข้าไปดูรายละเอียด ผ่านมือถือหรือเปิดผ่านเว็บก็ได้
  2. อาจจะต้องล็อกอินด้วยบัญชีของ Google
  3. เลื่อนลงไป จนเจอหัวข้อ Android (ไอคอนหุ่นกระป๋องสีเขียว)คลิกเข้าไปดู จะมีรายการอุปกรณ์ที่เปิดใช้งานอยู่ ณ ตอนนี้ รวมถึงพวกแทบเล็ตด้วยเช่นกัน (ดูที่ภาพประกอบ)
รายละเอียดของมือถือที่เปิดใช้งาน

ในตัวอย่างตรงรายละเอียดของ Registered: July 27, 2016 คือวันที่เปิดใช้งานครั้งแรก (ใกล้จะ 5 ปีแล้ว)

วิธีที่ 2 เข้าไปดูรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ลงทะเบียนไว้ที่ Google play store

เปิดลิงค์ Google play store เพื่อดูรายละเอียด จะเจอส่วนของรายละเอียดอุปกรณ์ แสดงเป็นรายการ และวันที่เปิดใช้งานครั้งแรกจะแสดงที่ช่องสุดท้ายสุด ดูภาพประกอบ

แสดงรายละเอียดอุปกรณ์ที่ใช้ Google play

ทั้งสองวิธีตรวจสอบผ่านการใช้งานครั้งแรกในระบบแอนดรอยด์เท่านั้น ซึ่งก็เพียงพอที่จะตรวจสอบได้ว่ามือถือที่ใช้อยู่อายุกี่ปีแล้ว ยังมีอีกหลายวิธี เช่น ตรวจสอบผ่านทางเลข IMEI ซึ่งมันดูยุงยากเกิน

ถ้าอยากรู้วันที่ซื้อมาจริงๆ คงต้องไปค้นหาบิลที่จ่ายตอนซื้อ หรือดูในออเดอร์ที่สั่งซื้อในเว็บไซต์ ถ้าซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ หรือไม่ถ้าใครถ่าย unbox มือถือไว้น่าจะได้รู้วันที่เปิดกล่องจริงๆ แต่ปกติได้มือถือใหม่มาส่วนใหญ่ก็ลงทะเบียนใช้งานเลย ซึ่งก็เพียงพอสำหรับตรวจสอบอายุการใช้งานของมือถือแอนดรอยด์ที่ใช้อยู่แล้วครับ

การตรวจดูว่ามือถือของเราว่าอายุเท่าไหร่แล้ว? ยังพอใช้งานได้ไหม? ถึงเวลาจะซื้อเครื่องใหม่แล้วหรือยัง? การที่มือถือยังคงใช้งานได้ดีก็คงไม่มีเหตุผลที่จะซื้อเครื่องใหม่ แต่ในยุคที่เราทำแทบทุกอย่างผ่านมือถือ เช่น ธุรกรรมทางการเงิน อีเมล์ ข้อความ โซเชียลมีเดีย และอื่น ๆ

มือถือที่เก่าจะขาดการอัพเดทระบบความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการพิจารณาว่าต้องซื้อมือถือเครื่องใหม่หรือยัง โดยเฉลี่ยแล้ว ระยะเวลาในการซัพพอร์ตของ iPhone อายุประมาณ 4-5 ปี ส่วนมือแอนดรอยด์จะเฉลี่ยอยู่ที่ราว 2-3 ปีเท่านั้นขึ้นกับแบนด์และรุ่นด้วย

ถ้าสนใจเรื่องเกี่ยวกับ Android คลิกลิงค์ดูเพิ่มเติมได้ครับ

Short book reviews: Lifespan

Lifespan: Why We Age—and Why We Don’t Have To
by David A. Sinclair

Lifespan: Why We Age—and Why We Don’t Have To

Short reviews:
This book reveals the theory about “Aging is a disease”, which means it is treatable. The main problem of aging is the loss of information. Dr. Sinclair believes that if DNA is a form of digital information, and aging is caused by the loss of analog information known as the epigenome that is decoded from digital information.

To understand that, you can imagine listening to music. CD represents digital information, and the sound is decoded by a CD player is physical or analog information which sometimes is imperfect. That is the loss of analog information.

For this book, you will get the knowledge of aging and Dr. Sinclair’s life at the same time. He takes us to his research to prove the concept and his passion to study this topic from the beginning. It is not a science textbook, but it is a science story. In the second part, the solutions to increase lifespan were also presented.

You can check others review in the goodreads website here and check my others short book reviews.

มาอ่านวรรณกรรมคลาสสิคกันเถอะ

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาหนังสือที่อ่านจะอยู่ในหมวด non-fiction เป็นส่วนใหญ่ ถ้าจะเจาะจงคงเป็นหนังสือ pop-sci เป็นหลัก อาจจะเพราะมันอ่านเข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา และเข้ากับคลังความรู้พื้นฐานที่มี ทำให้มันไปได้ง่ายและเร็ว หมวดอื่น ๆ มักจะได้รับความสนใจน้อยมาก

แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้อ่านเจอบทความที่บอกว่า เราควรอ่านหนังสือให้หลากหลายแนว หนังสือก็เหมือนอาหาร ที่ต้องทานให้หลากหลายและครบถ้วน

หมวดแรกที่ถูกเลือกหยิบมาก่อนคือ นิยายและวรรณกรรมคลาสสิก

ช่วงที่ผ่านมาจึงได้ตั้งใจว่าจะลองอ่านหนังสือหมวดวรรณกรรมคลาสสิคให้มากขึ้น ลองค้นดูตามลิสต์ที่เขาแนะนำตามเว็บไซต์ (100 must-read classic books) มีให้เลือกหลากหลายมาก แต่ก็จะมีซ้ำ ๆ กันอยู่บางส่วน จึงเลือกจากตรงนั้น รวมกับความสนใจส่วนตัวไปด้วย

Classic Literature Books

นี้คือหนังสือหมวดวรรณกรรมคลาสสิคที่ได้อ่านไปแล้วบางส่วนในช่วงที่ผ่านมา

-To Kill a Mockingbird
-The Handmaid’s Tale
-Fahrenheit 451
-Frankenstein
-Dune
-The Time Machine
-The War of the Worlds
-The Invisible Man
-The Island of Dr. Moreau
-The Alchemist
-The Giver
-Animal farm
-The Little Prince
-Alice’s Adventures in Wonderland

สิ่งที่ได้หลังจากอ่านหนังสือวรรณกรรมคลาสสิคเท่าที่ผ่านมาจากรายการด้านบน อันดับแรกเลยคือ มันสนุก น่าติดตาม เกินกว่าที่คิดไว้เยอะเลย เนื้อหาหนักบ้างเบาบ้างแล้วแต่เล่ม แต่แนวคิดและสิ่งที่จะสื่อค่อนข้างแข็งแรง ตามแนวทางของผู้เขียน ไร้กาลเวลาดูไม่เก่าเลย ทั้ง ๆ ที่บางเล่มตีพิมพ์ครั้งแรก 200 กว่าปีแล้ว (Frankenstein, 1818) แทบไม่มีเล่มไหนเลยที่ทำให้ผิดหวัง รู้สึกคุ้มค่าที่ได้อ่าน และได้อะไรกลับมาให้คิดต่อทุกเล่ม สมควรแล้วที่ถูกยกให้เป็นคลาสสิค

มีหลายเล่มที่มีบทวิเคราะห์ลึกระดับวิทยานิพนธ์ (To Kill a Mockingbird, The Handmaid’s Tale, Fahrenheit 451, etc.) ให้ได้ตามอ่านเพิ่มเติม มันดีถึงกับมั่นใจที่จะแนะนำต่อให้คนอื่น ๆ ได้อ่านด้วย แต่มีบ้างในบางเล่มที่ภาษาที่ใช้ไม่คุ้นเคยเลย (To Kill a Mockingbird) ต้องค้นหาความหมายบ่อยครั้งในช่วงแรกของเล่ม แต่ก็ถือว่าได้คลังคำศัพท์เพิ่มขึ้นมา

คิดว่าในช่วงของปีนี้ก็จะยังอ่านกลุ่มนี้ไปเรื่อย ๆ ก่อน
นอกจากนี้ ได้ลองอ่านแนว Poetry ไปบ้างนิดหน่อย พบว่าเปิดโลกดีทีเดียว หลังจากนี้ก็คิดว่าจะหยิบมาอ่านเพิ่มด้วยเช่นกัน

ใครมีหนังสือแนววรรณกรรมคลาสสิคเล่มไหนดีๆ อยากบอกต่อ แนะนำด้วยนะครับ เรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับหนังสือ

The quotes from “The White Tiger” Book and Movie

Servitude is so strong that you can put the key of his emancipation in a man’s hands, and he will throw it back at you with a curse.
― Aravind Adiga, The White Tiger

ตีความได้ว่า “ในสภาวะจำยอม (ระบบทาสในประเทศนี้) มันช่างแข็งแกร่งเหลือเกิน ถึงคุณจะเอากุญแจแห่งการปลดปล่อยใส่มือให้ทาส เขาก็จะโยนมันกลับมาพร้อมกับสาปส่งคนที่ยื่นมันให้กับเขา”

พวกทาสจินตนาการชีวิตที่ไร้นายไม่ออก เขาหวาดกลัวที่จะอยู่อย่างอิสระ แม้ว่าจะถูกกดขี่และเหยียบย่ำความเป็นมนุษย์มากน้อยเพียงใด ทาสก็อยากรับใช้นายของตัวเองตลอดไป บางครั้งเมื่อนายมีน้ำใจกับทาสเพียงเล็กน้อย แต่มันกลับดูยิ่งใหญ่เหลือเกินสำหรับพวกเขา

ทำไมเหมือนประเทศแถวนี้เหลือเกิน?

THE WHITE TIGER – Adarsh Gourav (Balram), ​Priyanka Chopra Jonas (Pinky), Rajkummar Rao ​ ​(Ashok) ​in ​THE WHITE TIGER​. Cr. ​SINGH TEJINDER / Netflix ​© ​2020

AMP ช่วยให้ผู้ใช้มาจากมือถือแซงเดสก์ท็อปแล้ว

อะไรคือ AMP? เกี่ยวข้องยังไงกับบล็อกนี้?

เรื่องเล่าวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับบล็อกของตัวเองที่เขียนๆ หยุด ๆ มานานพอสมควร ถ้านับเวลาน่าจะเกิน 10 ปีได้แล้ว โพสแรก ตัวบล็อกมันอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองโดยมีค่าโฆษณาจาก Google Ads ที่ติดไว้คอยเลี้ยงดู ไม่ได้เยอะ แต่เพียงพอที่จะจ่ายค่าโฮสและค่าโดเมนรายปีได้ ทั้ง ๆ ที่บางปีเขียนเรื่องใหม่ไปแค่ 1-2 เรื่องเท่านั้น ต้องขอบคุณคนคลิกเข้ามาดู ที่สำคัญตลอดเวลาที่ผ่านมารายได้มาจากผู้ใช้งานเดสก์ท็อปเป็นหลัก


ในยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ไปอยู่ในแพลตฟอร์มโซลเชียลกันหมดแล้ว แต่แนวบล็อกหรือเว็บไซต์ก็ยังให้ความรู้สึกว่าชอบมากกว่า นั่งกดอ่าน feed ผ่าน RSS ก็ยังเป็นกิจวัตรประจำวันเหมือนเดิม คิดว่ายังคงต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ

เข้าเรื่องหลักเลยแล้วกัน เมื่อราวสองเดือนก่อนตอนที่เข้าไปดูรายงานของ Google Adsense มีข้อความแนะนำจากระบบประมาณว่า
เฮ้ย…ไม่ปรับปรุงเว็บของแกให้แสดงผลให้เป็นมิตรกับคนใช้มือถือหน่อยหรอ คนใช้เยอะนะ
เอารายละเอียดของ AMP (Accelerated Mobile Pages )ไปอ่าน แล้วลองทำดูซ่ะนะ เลยลองทำตามคำแนะนำ

ซึ่งโดยปรกติแล้วอะไรที่เขานิยม ใน WordPress ก็จะมีปลั๊กอินรองรับอยู่แล้ว
จากนั้นแค่เข้าไปโหลด ปลั๊กอิน มาติดตั้ง คลิก 2-3 ที ก็เสร็จ
ง่ายเช่นกันในการเอา Google Ads ฝั่งลงไปในระบบ เข้าไปด้วย

สิ่งที่ได้หลังจากนั้นในช่วงที่ผ่านมา รายได้ใน Google Ads ผ่านมือถือแซงรายได้จากเดสก์ท็อปไปแล้ว ความจริงแล้วพอลองเข้าไปดูใน Google Analytic ดี ๆ จะพบว่าอุปกรณ์ที่เข้ามาในบล็อกนี้ก็เป็นโทรศัพท์มือถือระดับไฮเอนด์อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดสก์ท็อปมาได้สักพักใหญ่ ๆ แล้ว แต่เพิ่งจะมาแซงตอนปรับให้มีเพจสำหรับมือถือ

ดังนั้นในเดือนนี้ต้องขอบันทึกไว้ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา 10 กว่าปี ตอนนี้รายได้จากคนใช้มือถือได้แซงฝั่งเดสก์ท็อปไปแล้ว คนอื่นอาจปรับตัวไปนานแล้ว แต่พวกไม่สนใจอะไรเพิ่งจะปรับตัวตาม (หมายถึงตัวเอง) เลยเพิ่งจะเห็นผล

แหล่งรายได้ของบล็อกนี้ จากโทรศัพท์มือถือมากกว่าเดสก์ท็อปแล้วในช่วงที่ผ่านมา

แต่ถ้าไปดูรายงานของทั่วโลกมือถือแซงเดสก์ท็อปไปตั้งแต่ปี 2016 แล้ว ลิงค์ข่าว

ปล. ในปีที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่าในอุตสาหกรรมเกม มือถือก็กำลังจะแซงเกมบนเดสก์ท็อปแล้วเช่นกัน

“ย้ำอีกที มือถือคืออุปกรณ์หลักของคนใช้อินเทอร์เน็ตนานแล้ว” ปรับตัวซะ

Zombie Makers: เรื่องราวของ “หนอนควบคุมมนุษย์”

เรื่องราวของซอมบี้ในธรรมชาติจากหนังสือเรื่อง Zombie Makers อีกเรื่อง ที่หยิบมาเล่าให้ฟัง คือ “หนอนควบคุมมนุษย์” เรื่องก่อนหน้าเป็นเรื่องของ ซอมบี้หอยทาก

ตัวละครหลักมี 3 ตัว
ผู้ร้าย: หนอนพยาธิ guinea worm หรือ Dracunculus medinensis
ผู้เคราะห์ร้าย: มนุษย์ Homo Sapiens
ผู้สมรู้ร่วมคิด: โคพีพอด copepods (คล้ายตัวอ่อนกุ้ง, แพลงค์ตอน เป็นต้น)
สถานที่เกิดเหตุ: แอฟริกา

ตัวโคพีพอดที่ติดเชื้อหนอนพยาธิ

เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ดื่มน้ำที่มีตัวโคพีพอดที่ติดเชื้อมีตัวอ่อนของหนอนพยาธิ D. medinensis เข้าไป หลังจากนั้นโคพีพอดจะตายและปล่อยตัวอ่อนของหนอนพยาธิออกมา ในท้องของคน หนอนพยาธิจะเจาะเข้าไปในกระเพาะอาหารและผนังลำไส้ของของคนและเข้าไปในช่องท้อง พอตัวหนอนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยจะผสมพันธุ์กัน แล้วหนอนตัวผู้จะตายไป ส่วนตัวเมียซึ่งอาจยาวได้ถึง 1.2 เมตร จะมุดตัวซอนไซไปอยู่ในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณขา

ตัวหนอนพยาธิที่ถูกดึงตัวออกมาจากแผล

สิ่งน่าสยดสยองคือตัวหนอนพยาธิสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนที่ติดเชื้อให้ช่วยทำให้วงจรการขยายพันธุ์ของมันสมบูรณ์ นั้นคือเมื่อหนอนพร้อมที่จะวางไข่มันจะปล่อยสารเคมีบางตัวออกมา ทำให้เกิดตุ่มขนาดใหญ่บนผิวหนัง ไม่นานแผลพุพองก็แตกออกทำให้เจ็บแสบอย่างมาก ปลายหัวของหนอนจะมองเห็นได้ตรงที่กลางแผล แต่ก่อนที่ตัวหนอนจะออกมามีอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเกิดขึ้นก่อน…

อาการเจ็บแสบที่ผิวหนังสามารถบรรเทาด้วยการเอาลงไปแช่น้ำ ผู้ติดเชื้อจึงพยายามหาแหล่งน้ำเพื่อนำขาลงไปแช่น้ำ (กลายเป็นซอมบี้เดินหาแหล่งน้ำ) เมื่อผู้ป่วยเอาขาแช่ลงน้ำหนอนตัวเมียก็จะรู้ว่าได้เวลาโผล่ออกมาแล้ว มันจะปล่อยตัวอ่อนลงแหล่งน้ำ ตัวอ่อนจะถูกตัวโคพีพอดกินอีกครั้ง หลังจากนั้นก็พัฒนาเป็นตัวอ่อน รอให้เหยื่อคนต่อไปกลืนกินมันเข้าไปอีกครั้ง เป็นอันครบวงจรชีวิตโดยสมบูรณ์ สยอง…

สิ่งที่น่าสยดสยองมากกว่านั้น คือไม่มีวัคซีนหรือยารักษา การรักษาทางการแพทย์เพียงอย่างเดียวที่ทำได้คือพยายามดึงหนอนออกอย่างช้า ๆ และระมัดระวัง โดยจับตัวหนอนพันรอบแท่งไม้เล็ก ๆ ค่อยดึงตัวมันออกมาทีละน้อย ๆ ทุก ๆ วัน (ดูภาพและวิดีโอประกอบ) การเอาตัวหนอนออกทั้งตัวอาจใช้เวลาหลายวันบางครั้งเป็นสัปดาห์ สิ่งที่ต้องระวังคือห้ามให้ตัวมันขาดโดยเด็ดขาด หากหนอนขาดเป็นชิ้นส่วนที่หลงเหลืออยู่ภายในอาจทำให้ติดเชื้อ ส่งผลให้พิการหรืออาจเสียชีวิตได้ สยอง…

แต่การป้องกันทำได้ง่ายมากๆ เพียงดื่มน้ำที่ผ่านการกรองด้วยผ้าบางธรรมดาก็ปลอดภัยแล้ว ในปัจจุบันเป็นที่น่ายินดีมาก หลังจาการต่อสู้และรณรงค์ให้ความรู้กันอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 80s ที่มีรายงานการติดเชื้อมากกว่า 3.5 ล้านรายในแอฟริกา แต่ในรายงานล่าสุดในปี 2018 มีรายงานการติดเชื้อเพียง 8-10 รายเท่านั้น เรียกได้ว่าตอนนี้เรากำลังนับถอยหลังโลกที่ปราศจากไอ้โรคหนอนซอมบี้นี้แล้ว (โล่งอกไปที)

จากหนังสือเรื่อง Zombie makers: true stories of nature’s undead / by Rebecca L. Johnson.

วิดีโอการต่อสู้กับหนอนพยาธิในแอฟริกา

อ้างอิง
https://youtu.be/8nOuAUfXjzQ?t=116
https://www.who.int/dracunculiasis/disease/en/
https://www.cdc.gov/parasites/guineaworm/biology.html

Zombie makers: ซอมบี้หอยทาก ยอมฆ่าตัวตาย

เรื่องราวของซอมบี้หอยทาก (snail zombie) เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวของซอมบี้ในธรรมชาติจากหนังสือเรื่อง Zombie Maker มีหลายเรื่องที่น่าสยดสยองอยู่ในนั้น เช่น แมลงที่ติดพยาธิบางชนิดแล้วถูกควบคุมให้ฆ่าตัวตายด้วยการจมน้ำ หนูที่ติดเชื้อบางชนิดถูกตัดสัญชาติญาณในการกลัวแมวออกไป แล้วเดินไปให้แมวกินเฉยๆเสียอย่างงั้น เป็นต้น แต่เรื่องที่ดูน่าสนใจและอยากหยิบมาเล่าให้ฟังคือ “ซอมบี้หอยทาก”

ตัวละครหลักมี 3 ตัวละคร
ผู้ร้าย: หนอนพยาธิ ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucochloridium paradoxum
ผู้เคราะห์ร้าย: หอยทาก ชื่อวิทยาศาสตร์ Succinea putris
ผู้สมรู้ร่วมคิด: นก
สถานที่เกิดเหตุ: ยุโรป และเอเชียเหนือ

เรื่องราวเกิดขึ้น เมื่อทากเผลอกินไข่พยาธิเข้าไป ไข่จะฝักตัวและโตในร่างกายของหอยทาก เมื่อโตถึงระดับหนึ่ง หนอนพยาธิมันจะไต่เข้ามาอยู่บริเวณตาของตัวทาก (ดูรูป) มันไม่อยู่นิ่งขยับตัวเหมือนปั๊มน้ำ (ดูในวิดีโอสยองมากๆ) สิ่งที่มันทำนอกจากนั้นคือ มันควบคุมสมองของหอยทากให้มีพฤติกรรมที่แปลกประหลาดจากหอยทากตัวอื่นๆทั่วไป คือ ทำให้มันไต่ขึ้นที่สูงโล่ง เพื่อล่อให้นกเห็นได้ง่ายขึ้น ประหนึ่งว่าเรียกร้องให้นกมากิน (ฆ่าตัวตายชัดๆ) แล้วเมื่อนกกินหอยทากพร้อมหนอนเข้าไป สภาวะต่างๆในลำใส้ของนกเหมาะสำหรับวางไข่ของหนอนตัวนี้อย่างมาก หนอนวางไข่ จากนั้นนกจะขี้ที่ปนไข่ของหนอนพยาธิออกมา แล้วทากตัวอื่นที่ไต่ไปมาบริเวณนั้นกินขี้นกเข้าไป วงจรก็จะครบสมบูรณ์อีกครั้ง

เป็นธรรมชาติที่น่าขนลุกอย่างมาก มีเรื่องที่น่าสนใจอีกหลายเรื่องตามไปอ่านได้ที่หนังสือเรื่อง Zombie makers: true stories of nature’s undead / by Rebecca L. Johnson.

หนอนพยาธิที่อยู่ส่วนตาของหอยทาก
วิดีโอเล่าเรื่องซอมบี้หอยทากจาก National Geographic

Exit mobile version