การ์ตูน ในวันที่ข้าพเจ้าเขียน Black Jack

Black Jack

หนังสือการ์ตูน ในวันที่ข้าพเจ้าเขียน Black Jack (เล่มเดียวจบ)
เรื่องและภาพ โดย มาซารุ มิยาซากิ  และ โคจิ โยชิโมโต้
สำนักพิมพ์ วิบูลย์กิจการพิมพ์
ราคา 55 บาท

เห็นจากบล็อกของ อ.ศุภเดช เกี่ยวกับการ์ตูน “ในวันที่ข้าพเจ้าเขียน Black Jack” เลยอยากอ่านบ้าง เมื่อเดินผ่านร้านการ์ตูนเลยไม่พลาดต้องหยิบติดมือมา เป็นเรื่องราวการทำงานของ อ.เท็ตสึกะ โอซามุ บุคคลสำคัญที่ได้รับฉายา “พระเจ้าแห่งวงการการ์ตูน” 

เรื่องราวในการ์ตูนเล่มนี้ เป็นการไปสัมภาษณ์บุคคลต่างๆที่เคยร่วมงานกับ อ.เท็ตสึกะ ในอดีต ซึ่งยังวนเวียนอยู่ในวงการการ์ตูน(ได้ดีกันทุกคนเลย) การทำงานของคนที่ถูกเรียกว่า “พระเจ้า” นั้นเป็นยังไง สิ่งที่ได้จากการ์ตูนเรื่องนี้คือ ได้รู้ว่าอาชีพนักเขียนการ์ตูนเขาทำงานกันยังไง การทำงานคือ อ.เท็ตสึกะ จะคิดเรื่อง วาดภาพตามเรื่องราวที่คิดไว้ จากนั้นผู้ช่วย(หลายคน)จะช่วยกันลงรายละเอียด เติมสี ใส่ฉากหลัง ฯลฯ แล้วส่งให้ผู้จัดการ เอาไปส่งให้ บ.ก.หนังสือรายสัปดาห์ ก่อนจะส่งพิมพ์ต่อไป มีเวลากำหนดที่แน่นอน เนื่องจาก อ.เท็ตสึกะ รับผิดชอบหลายเรื่อง จึงได้เห็นการทำงานแข่งกับเวลาในสถานการณ์ต่างๆ แม้เวลาจะบีบยังจะได้เห็นการทำงานอย่างเต็มสุดความสามารถจนถึงวินาทีสุดท้าย และไม่ยอมอ่อนข้อให้กับความไม่สมบูรณ์แบบ

นิสัยเฉพาะตัวหลายอย่างของ อ.เท็ตสึกะ ที่น่านับถืออย่างมาก คือ ถ่อมตัว ทำงานทุกวินาทีที่ทำได้อย่างเต็มที่ ช่างอยากรู้อยากเห็นทุกๆสิ่งทุกๆอย่างรอบตัวตลอดเวลา แต่จากเรื่องราวการทำงานของ อ.เท็ตสึกะ ก็มีข้อเสียอยู่มากเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดีทั้งข้อดีและข้อเสีย เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานของเราได้เช่นกัน!

อ.เทะซึกะ โอะซะมุ

ผลงานของ อ.เท็ตสึกะ โอซามุ (ข้อมูลจาก wiki)

  • Ma-chan’s DiaryNew
  • Treasure Island 1947
  • Lost WorldNext WorldJungle
  • Taitei (Jungle Emperor / Kimba the White Lion), 1950
  • เจ้าหนูปรมาณู 1952-1968
  • Princess Knight, 1953
  • Story of a Street Corner, 1962
  • Memory, 1964
  • Mermaid, 1964
  • Ambassador Magma, 1965
  • Drop, 1965
  • W3 (Amazing 3), 1965
  • Pictures at an Exhibition, 1966
  • Dororo, 1967
  • The Phoenix, 1967
  • The Genesis, 1968
  • One Thousand and One Nights, 1969
  • Cleopatra,1970
  • Ode to Kirihito, 1970
  • A History of Birdmen, 1971
  • A Hundred Tales, 1971
  • Ayako, 1972
  • แบล็กแจ็ก หมอปีศาจ , 1973
  • Buddha, 1973
  • MW, 1976
  • ฮิโนโทริ วิหคเพลิง , 1980
  • A Tree in the Sun, 1981
  • Tell Adolph, 1983
  • Jumping, 1984
  • Broken Down Film, 1985
  • Legend of the Forest, 1987
  • Ludwig B., 1987
  • Murasama, 1987
  • Push, 1987
  • Neo Faust, 1988
  • Self-portrait, 1988
  • Metropolis(2002 by Tezuka Osamu Production)

หนังสือ 10 สุดยอดนักฟิสิกส์โลก อ่านแล้วครับ

10 สุดยอดนักฟิสิกส์โลก

ชื่อหนังสือ 10 สุดยอดนักฟิสิกส์โลก
เขียนโดย ชัยวัฒน์ คุประตกุล
140 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 1 : ตุลาคม 2549
สำนักพิมพ์ ประพันธ์สาส์น
ราคา 85 บาท

หนังสือเล่มเล็กๆ อ่านง่าย เป็นประวัติสั้นๆกับสิ่งที่เขาค้นพบ นักฟิสิกส์ส่วนใหญ่ที่เรารู้จักดีอยู่แล้วจะมีเนื้อหาแนะนำเพียงเล็กน้อย ส่วนคนที่ไม่คอยเป็นที่รู้จักในวงกว้างจะเพิ่มเนื้อหาเยอะเป็นพิเศษ ในตอนท้ายมีประวัติของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ไอแซค นิวตัน กับการค้นพบของเขา ที่มีเนื้อค่อนข้างเยอะและอ่านเพลิน เมื่ออ่านการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ผู้ที่เรียกได้ว่าการค้นพบของเขาเปลี่ยนโลกได้ เรามักจะอึ้ง ทึ่ง ตะลึง ว่าพวกเขาคิดได้ยังไง? ในบทสรุปของคำพูดของไอแซค นิวตัน ตอบคำถามนี้ได้อย่างดี คือ

ในสมองของเขาไม่เคยว่างเปล่า เขาจะมีปัญหาที่ต้องขบคิดอยู่ตลอดเวลา และเมื่อเขากำลังคิดแก้ปัญหาใดๆก็ตามอยู่ เขาก็จะพิจารณาคิดหาทางแก้ปัญหาอย่างไม่ยอมหยุดยั้ง เพราะเขามิได้แก้ปัญหาโดยรอให้เกิดความคิด มองเห็นลู่ทางขึ้นมาเอง หรือโดยบังเอิญ เขาจะโจมตีปัญหานั้นอย่างไม่ยอมหยุดยั้ง จนกระทั้งได้คำตอบ

มันคือ ความพยายาม สินะ!

อ้อ มีอีกอย่างหนึ่ง นักฟิกส์คนอื่นๆที่น่าสนใจดูที่ wiki รวบรวมไว้อย่างดีเลย https://en.wikipedia.org/wiki/Physicist

 

BEST OF APPS แนะนำโปรแกรมที่สุดยอดของทุกแพลตฟอร์ม

BEST OF APPS

ในเว็บไซต์ makeuseof จะมีอยู่หัวข้อหนึ่งชื่อ BEST OF APPS เป็นหน้ารวมโปรแกรมที่ยอดเยี่ยมในหมวดต่างๆของแต่ละแพลตฟอร์มที่ใช้ๆกันอยู่ปัจจุบัน รู้สึกว่าทำได้ดีจังเลย เขาจัดทำมานานแล้วล่ะ หลายโปรแกรม หลายเว็บไซต์เราก็เจอจากหัวข้อนี้ ลองดูว่าเขาจัด BEST OF APPS ของอะไรไว้บ้าง

  • BEST WEBSITE
  • BEST WINDOWS SOFTWARE
  • BEST LINUX SOFTWARE
  • BEST MAC APPS
  • BEST ANDROID APPS
  • BEST IPHONE APPS
  • BEST IPAD APPS
  • BEST CHROME EXTENSIONS
  • BEST FIREFOX ADDONS
  • BEST WORDPRESS PLUGINS
  • BEST PORTABLE APPS
  • BEST LINUX DISTROS

เรียกได้ครบทุกแพลตฟอร์มที่สามารถติดตั้งโปรแกรมหรือส่วนเสริมลงไปได้เลยทีเดียว เมื่อคลิกเข้าไปเราจะพบรายการของ Apps ที่แยกเป็นหมวด เช่น เกี่ยวกับ ภาพ เพลง หนัง เอกสาร ป้องกันไวรัส เป็นต้น ในแต่ละ Apps มีคำอธิบายสั้นๆไว้ให้พร้อมกับลิงค์ไปดูรีวิวแบบเต็มและลิงค์ดาวน์โหลดโปรแกรม ถ้าเพื่อน ได้คอมพิวเตอร์หรือมือถือเครื่องใหม่มา แล้วถามว่า “จะลงโปรแกรมอะไรบ้าง” สามารถแนะนำหน้านี้ให้ได้เลยครับ

ลิงค์ไปที่หน้า BEST OF APPS

พรีวิว The Dark Knight Rises ยาว 13 นาที เบื้องหลัง บทสัมภาษณ์ ผู้กำกับ ทีมงาน และนักแสดง

The Dark Knight Rises

The Dark Knight Risesน่าจะเป็นหนังอีกเรื่องที่หลายคนตั้งตารอในปีนี้ หนังฉายรอบสื่อไปบ้างแล้ว ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ไปอย่างท่วมท้น ในไทยจะเข้าฉายในวันที่ 19 ก.ค. 2555 ที่จะถึงนี้แล้ว ในหนังมีฉากที่ถ่ายทำด้วยฟิล์ม IMAX เกือบหนึ่งชั่วโมง น่าจะทำให้เราเข้าไปดูในโรง IMAX ได้คุ้มตังค์มากขึ้นอีกนะ

ก่อนที่หนังจะเปิดตัวในอีกไม่กี่วัน ทางต้นสังกัดก็ปล่อยคลิปความยาวประมาณ 13 นาที เปิดเผยเบื้องหลังการถ่ายทำฉากต่างๆอันสุดโหดของหนัง ตามสไตล์ของโนแลนที่ไม่ค่อยชอบการทำซีจีเท่าไหร่ และการเซ็ตฉากหลังที่สำคัญๆ และอลังการของเรื่องให้เราได้เห็น รวมทั้งสัมภาษณ์ คลิสโตเฟอร์ โนแลน(ผู้กำกับ) คริสเตียน เบล(แบทแมน) ทอม ฮาร์ดี้(ตัวร้าย”เบน” ในฉบับการ์ตูนเป็นตัวร้ายที่โหดมาก ในการต่อสู้กันทำให้แบทแมนหลังหักเลยทีเดียว) แอนนี้ ฮาทาเวย์ (แคทวูแมน) และทีมงานอื่นๆ ยิ่งกระตุ้นให้เราอยากไปดูมากยิ่งขึ้นไปอีก

อยากดูแล้วนะ!

ไปดูพรีวิว The Dark Knight Rises ความยาว 13 นาที กันเลยครับ

ภาพประกอบ The Dark Knight Rises

The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises
The Dark Knight Rises

 

ไปดูมาแล้ว The Amazing Spider-Man (2012)

The Amazing Spider Man

The Amazing Spider Man (2012) หนังไอ้แมงมุมฉบับรีบูต ตีความกันใหม่ตั้งแต่ต้น โดย มาร์ค เว็บบ์ ทำให้เหมือนฉบับการ์ตูนมากกว่าฉบับแรกโดย แซม ไรมี แต่ให้ตายสิเราชอบทั้งสองแบบ!

  • หนังดูสนุก แต่มีอยู่แว่บหนึ่งเข้ามาให้หัวตอนเริ่มเรื่องที่รู้สึกว่าเดินเรื่องช้าจัง แล้วมันก็หายไป
  • นักแสดงที่รับบทเป็นสไปเดอร์แมนฉบับนี้คือ แอนดริว การ์ฟิลด์ (ยังจำเสียงของเขาตอนร้องเรียก มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ค ใน The social network ได้ติดหูอยู่เลย) ผมชอบ รูปร่าง ผอม สูง และบุคคลิกแบบนี้มากกว่าฉบับแรก ขี้เล่น มันดูเหมือนในการ์ตูนมากกว่า โทบี้ แม็คไกวร์ รูปร่างออกจะเตี้ยล่ำไปนิด
  • ในฉบับใหม่นี้ ลุงเบ็นผ่าน แต่ป้าเมย์ไม่ผ่าน เราชอบฉบับแรกมากกว่า ผมขาวและดูอบอุ่นมากกว่า
  • ชอบเครื่องยิงใยแมงมุม มากกว่าใยที่ออกมาจากตัว
  • บอกที่มาของชุดสไปเดอร์แมนชัดเจนกว่าฉบับแรก
  • มีฉากอลังการ ในตอนท้ายที่ทำให้ขนลุกได้กัน เหมือนฉากที่ผู้คนในรถไฟยกสไปเดอร์แมนลอยเนื้อหัวหลังจากเขาช่วยหยุดรถไฟไม่ให้ตกลางในสไปเดอร์แมน ภาค 2 ของเวอร์ชั่นแรก
  • ตัวร้ายลิซาร์ด(กิ้งก่ายักษ์) คือ ดร.เคิร์ท คอนเนอร์ เพื่อนของพ่อปีเตอร์ พาร์คเกอร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้อง มีสองบุคคลิก(ดี/ชั่ว)ภายในตัว คุยกับตัวเอง คล้ายๆกับตัวร้าย ด๊อกออค ในสไปเดอร์แมน ภาค 2 เวอร์ชั่นแรก
  • ทั้งสไปเดอร์แมน และลิซาร์ด ใช้เวลาในการกลายสภาพเร็วมาก ไม่กี่ชั่วโมง (จากคนปกติเป็นอะไรที่พิเศษ) หลังจากโดนแมงมุมกัดกับฉีดยาเข้าไป
  • หนังทำฉากต่อสู้ได้สนุก ตื่นเต้น โดยเฉพาะสู้กับลิซาร์ดในโรงเรียน ได้เห็นทักษะการต่อสู้ของสไปเดอร์แมนที่ทำตัวเหมือนแมงมุมจริงๆอย่างที่ไม่เคยเห็นในหนังทั้งสามภาคก่อนหน้านี้ (ห่อคู่ต่อสู้ด้วยใยแมงมุม)
  • มีฉากฮาๆปนอยู่นิดหน่อย
  • นางเอก เกว็น สเตซี่ (เอ็มม่า สโตน จำเธอในบทนักเขียนเรื่องคนใช้ผิวสีใน The Help ได้ไหม) สวยมาก ในฉบับการ์ตูนเป็นแฟนคนแรกของปีเตอร์และโดนคนร้ายฆ่า ก่อนที่ปีเตอร์จะมาพบเอ็มเจภายหลัง
  • มีฉากหลังเครดิต เกริ่นการนำเข้าภาคต่อไป คือ นอร์แมน ออสบอร์น กรีนกอบลินคู่ปรับตลอดการของสไปเดอร์แมน ทำให้นึกถึงหนังชุดของมาร์เวลสตูดิโอ ซึ่งตอนนี้ลิขสิทธิ์สไปเดอร์แมนยังอยู่ที่โซนี่พิคเจอร์ และยากที่จะหลุดมือไปได้ง่ายๆ แม้จะมีโอกาสอันน้อยนิดที่จะได้ไปรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ The Avengers แต่ก็อยากให้เกิดขึ้นจริงๆนะ
  • คะแนน 8/10 ตัดไม่ชอบป้าเมย์ เดินเรื่องช้านิดหนึ่งตอนต้น

ดูตัวอย่างหนัง The Amazing Spider Man (2012)

ตัวอย่าง The Amazing Spider Man (2012 ) ฉากแกล้งเพื่อนนักบาสเก็ตบอล

ตัวอย่าง The Amazing Spider Man (2012) ฉากหนีการล้อมจับของตำรวจ

ตัวอย่าง The Amazing Spider Man (2012) ฉากช่วยเด็กบนสะพาน

ฉากยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองได้พลังแมงมุมมา
เกวน สเตซี่ แฟนสาวสุดสวยของปีเตอร์ พาร์คเกอร์
ปีเตอร์ พาร์คเกอร์ ในชุดสไปเดอร์แมน เท่ และเกรียนมาก
ลุงเบ็น กับป้าเมย์
พ่อของปีเตอร์ พาร์คเกอร์ นำเขามาทิ้งไว้กับลุงและป้า แล้วจากไปพร้อมกับแม่ แล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย
ปีเตอร์ พาร์คเกอร์ ในหนังไม่ใส่แว่นนะ ใส่คอนแทคเลนส์
ต่อสู้กับวายร้ายมาอย่างหนักหน่วง สไปเดอร์แมนสะพายเป้ เท่มาก
ดร.เคิร์ท คอนเนอร์ พิการมีแขนข้างเดียว เขาพยายามสร้างแขนใหม่ให้ตัวเองด้วยการนำความสามารถของอีกสปีซี่หนึ่งมาให้อีกสปีซี่ เขาเอาความสามารถในการงอกหางใหม่ของสัตว์เลื่อยคลานมาเพิ่มความสามารถให้กับตัวเอง ผลค้างเขียงทำให้กลายเป็นลิซาร์ด
ปีเตอร์ พาร์คเกอร์ กับลุงและป้าในบ้าน ตอนค้นพบกระเป๋าลับของพ่อ
บาดเจ็บจากการต่อสู้ แวะมาให้แฟนสาวช่วยดูแล
เกวน สเตซี่ ในฉากหลังงานศพ(ของใครไปดูเอง)
ปีเตอร์ พาร์คเกอร์ ในชุดออกไล่ล่าคนที่ฆ่าลุงเบ็น
พ่อของเกวน นายตำรวจคนดี ที่ต้องการจับสไปเดอร์แมน และก็บอกเหตุผลที่แทงใจดำปีเตอร์มากว่า การจับผู้ร้ายขโมยรถของเขาไม่ได้ช่วยเหลืออะไรตำรวจเลย!
แฟนสาวนเกวน สเตซี่ เรียนในห้องเรียนเดียวกัน
แอบมาฝึกทักษะ แต่พ่นใยแมงมุมเองไม่ได้นะ แต่รู้วิธีโหนแล้วเหวี่ยงตัวเองโดยบังเอิญ จึงคิดเครื่องพ่นใยขึ้นมา
ไอ้แมงมุมฉบับบนี้เกรียน และชอบแกล้งเพื่อนที่เคยทำร้ายเขากลับ
ชุดนี้เท่ไปเลย ในหนังมีเฉลยด้วยนะว่าไอ้หน้ากากที่มีตาเป็นแบบนั้นมันทำมาจากอะไร และได้แรงบันดาลใจมาจากไหน

ภาพประกอบจาก : https://www.theamazingspiderman.com

หนังสือ คนกล้าฝัน (8 นักฝัน) อ่านแล้วครับ

หนังสือ คนกล้าฝัน (8 นักฝัน)

ชื่อ คนกล้าฝัน (8 นักฝัน)
เขียนและเรียบเรียงโดย ทศ คณนาพร
223 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 3 ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 2549
สำนักพิมพ์ RICH PUBLISHING
ราคา 120 บาท

หนังสือเล่มนี้ซื้อมือสองมาครับ หนังสือเก่าแต่ตัวอักษรคงไม่เก่าไปด้วยหรอกจริงไหม? หนังสือ คนกล้าฝัน (8 นักฝัน) เป็นการถ่ายทอดชีวิตของบุคคลที่ได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จในชีวิต มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปผ่านทางงานต่างๆที่เขาเหล่านั้นได้ทำ ได้สร้างสรรค์ออกมาสู่สาธารณะ ซึ่งก็เป็นกลุ่มของงานสร้างสรรค์ทั้งสิ้น (ศิลปะ เพลง รายการทีวี หนัง หนังสือ ฯลฯ) เป็นตัวอย่างของการหาเลี้ยงชีพตัวเองได้ด้วยงานที่ตัวเองรัก นักฝันทั้ง 8 คน เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วผ่านทางสื่อต่าง ได้แก่

  1. อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
  2. ประภาส ชลศรานนท์
  3. วินทร์ เลียววาริณ
  4. วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์
  5. จิระ มะลิกุล
  6. สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ
  7. บอย โกสิยพงษ์
  8. สังคม ทองมี

สิ่งหนึ่งที่พอจะสรุปได้จากหนังสือเล่มนี้ก็คือ คนที่ทำงานในสิ่งที่ตัวเองรัก จะทำได้นาน มีความสุขในสิ่งที่ตัวเองทำ และจะไม่รู้สึกว่าตัวเองทำงานไม่หนัก(ในขณะที่คนอื่นมองว่าหนักมาก) ส่วนผลของ เงินทอง ชื่อเสียง ที่ได้มาเป็นเพียงส่วนเสริมที่ทำให้ใช้ชีวิตอยู่ได้(แบบมั่งมี) ในขณะที่ยังทำในสิ่งที่ตัวเองรักต่อไปได้ตลอดไปเรื่อยๆ

ส่วนตัวผมเป็นแฟนหนังสือของคุณวินทร์ เลียววาริณ ซื้อหนังสือเล่มนี้มาเพราะมีชื่อของเขาอยู่ปก แต่เนื้อเกี่ยวกับเขาส่วนใหญ่ก็พอๆรู้กันอยู่แล้ว แต่ก็ทำให้เราได้รู้จักนักฝันท่านอื่นๆเพิ่มมากขึ้นด้วย

ตอนที่เริ่มอ่านหนังสือเล่มนี้ไปสักพัก ก็ทำให้นึกถึงหนังสืออีกเล่มก่อนหน้าที่เพิ่งอ่านจบไป “หนังสือวิวาทะ” ที่ท่านพุทธทาสภิกขุ บรรยายธรรมเรื่อง การทำงานด้วยจิตว่าง พอจะเชื่อมโยงกันได้ดีทีเดียวเลย หรือจะเรียกว่าเป็น กรณีศึกษาของกลุ่มผู้ทำงานด้วยจิตว่าง ก็คงจะพอเรียกได้อยู่บ้าง

ท้ายเล่มมีเกร็ดเล็กๆ จากนักฝันต่างๆทั่วโลกเพิ่มเข้ามาด้วยนิดหน่อย

สุดท้ายฝันอย่างเดียวคงไม่เกิดผล ต้องปฎิบัติด้วย จึงจะเกิดผล

 

หนังสือวิวาทะ (ความเห็นไม่ตรงกัน) ระหว่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กับ ท่านพุทธทาสภิกขุ อ่านแล้วครับ

หนังสือวิวาทะ (ความเห็นไม่ตรงกัน) ระหว่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กับ ท่านพุทธทาสภิกขุ

ชื่อ หนังสือวิวาทะ (ความเห็นไม่ตรงกัน) ระหว่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กับ ท่านพุทธทาสภิกขุ
รวบรวมโดย อรุณ เวชสุวรรณ
232 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2554) ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 2520
สำนักพิมพ์ อรุณวิทยา
ราคา 120 บาท

หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมการถามตอบกันระหว่างผู้บรรยายธรรมกับผู้สนทนา ซักไซร้ สอบถามเพื่อเพิ่มความกระจ่างมากขึ้น หรือที่เรียกกันว่า ธรรมาสากัจฉา สถานที่จัดบรรยายอยู่ที่ หอ ประชุม ครุสภา โดยผู้บรรยาธรรมคือ ท่านพุทธทาสภิกขุ มีหัวข้อบรรยายคือ ธรรมในฐานะเครื่องมือ สร้างคน สร้างชาติ และสร้างโลก แบ่งเป็น 3 ครั้ง

  • ครั้งที่ 1 หัวข้อ งานคือการปฏิิบัติธรรม (6 ก.ค. 2506)ผู้ซักถามปัญหาธรรม คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, นายปุ๋ย โรจนะบุรานนท์ และนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์
  • ครั้งที่ 2 หัวข้อ การทำงานด้วยจิตว่าง (23 ก.พ. 2507) ผู้ซักถามปัญหาธรรม คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
  • ครั้งที่ 3 หัวข้อ หมวดธรรมที่พึ่งใช้ในการทำงานด้วยจิตว่าง (19 ม.ค. 2508) ไม่มีผู้ซักถามปัญหาธรรม

ในการบรรยายครั้งแรกที่เน้นไปที่การให้ความหมายของการธรรมและงาน (มีพูดถึงการเมืองและสภาบ้างเล็กน้อย) ซึ่งท่านพุทธทาสฯได้บรรยายถึงธรรมคือหน้าที่ (Duty) และหน้าที่ก็คือธรรม ดังนั้นไม่ว่า ชาวนา ชาวสวน ราชการ พ่อค้า ฯลฯ ที่ทำหน้าที่ของตนนั้นก็เหมือนการปฎิบัติธรรมแล้ว และเจาะจงลงไปที่ การปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะที่ถูกต้อง ซึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง และกล่าวสนับสนุนโดยตลอด

แต่ในการบรรยายครั้งที่สองที่บรรยายถึงการทำงานด้วยจิตว่าง(ว่างจากกิเลส ว่างจากความเห็นแก่ตัวทุกชนิด ว่างการยึดติดว่าเป็นของเอง) “ทำงานให้ความว่าง” ในครั้งนี้ ทั้งสองท่านค่อนข้างมีความเห็นที่แตกต่างกัน ซักไซ้กันไปมา คิดว่าคนในสมัยนั้นอาจมองว่าเป็นการสนทนาที่ค่อนข้างขัดแย้งรุนแรง อย่างเช่น “กระผมขอสอนพระสักวันเถิดครับ!” แต่เท่าที่อ่านดูก็ไม่ได้แตกต่างมากกันมายนัก โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ท่านมองว่าการทำงานด้วยจิตว่างนั้นเป็นธรรมที่ดีอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ไม่เหมาะเลยที่จะนำมาใช้กับฆราวาส ซึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เชื่อว่าต้องอาศัยอุปทาน หรือความอยาก(รวย เงิน สุขสบาย) ช่วยผลักดันให้ทำงานออกมาได้ดี ส่วนการทำงานด้วยจิตว่างนั้นใช้ได้เฉพาะผู้อยู่ในสถานะสมณะเท่านั้น ประเทศจะพัฒนาได้อย่างไรถ้าทำงานให้ความว่าง แต่ท่านพุทธทาสฯนั้นยังคงยืนยันว่าเหมาะสมและจำเป็นต้องทำด้วย ซึ่งท่านพุทธทาสฯมองว่าทั้งสองเห็นต่างกันเพียงเล็กน้อย

ภายหลัง การบรรยายครั้งต่อไป ดูเหมือนว่าท่านพุทธทาสฯพบว่า ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ นั้นเห็นต่างและเข้าใจผิดอยู่มาก ซึ่งน่าจะรับรู้ผ่านทางการเขียนลงหนังสือพิมพ์ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ หลายครั้งหลังจากการสนทนาธรรมในครั้งนั้น

ตอนท้ายเล่มยังมีบทความที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ พูดถึงพระพุทธศาสนาในแง่มุมต่างๆ ซึ่งถือว่าแนวคิดค่อนข้างแหวกแนวกับขนบธรรมเนียมในยุคนั้นมากพอสมควรเลยทีเดียว เช่น การกล่าวว่าพระเวสสันดร ผิดทั้งศีลกษัตริย์ ศีลสามี ศีลมารดา ไม่น่านับถือ และในหนังสือก็มีบทความโต้แย้งแนวคิดต่างๆของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ประกอบอยู่ด้วย

ในหนังสือเล่มนี้ถ้าเราอ่านแบบใจเป็นกลางจะพบว่าผู้เขียนค่อนข้างเอียงไปทางท่านพุทธทาสฯค่อนข้างชัดเจน ดูจากบทความท้ายเล่ม และการกล่าวถึง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในเนื้อหาบางครั้งออกแนวโจมตีนิดๆ (แต่ไม่มากมายอะไรนะ) แต่อ่านก็รู้ว่าสนับสนุนท่านพุทธทาสฯเต็มที่ (ซึ่งส่วนตัวก็สนับสนุนท่านเช่นกันนะ) แต่การวิจารณ์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ และบทความท้ายเล่มออกจะไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่ สิ่งที่อยากเห็นมากกว่าคือ ในบทนำได้กล่าวว่าหลังจากวิวาทะครั้งนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ และลูกศิษย์ ได้เขียนบทความกระแนะกระแหนท่านพุทธทาสฯออกมาเป็นระยะๆ อยากอ่านบทความเหล่านั้นมากกว่า (ถ้าจะรวบรวมใหม่อีกครั้งครอบคลุมถึงส่วนนี้ด้วย คงเป็นอะไรที่สุดยอดมากๆ)

สรุปว่า หนังสือเล่มนี้อ่านสนุกครับ (หนังสือที่อ่านจบมักจะสนุก เพราะไม่สนุกจะวางแล้วเปลี่ยนเล่มใหม่) อีกอย่างที่ชอบมากคือ สำนวนการพูดคุยของคนยุคนั้นต่างจากปัจจุบันเยอะพอสมควร แต่ผมชอบลักษณะการใช้คำของคนยุคนั้นนะ สำนวนฟังไพเพราะ ลื่นหูดีแท้

ใครที่ชอบเรื่องดราม่า ลองอ่านนักปราชญ์ถกเถียงในเรื่องที่มีความเห็นต่างกันดูครับ สนุกและได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกด้วยครับ

ปล. เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มถัดไป คนกล้าฝัน(8 นักฝัน) ยิ่งเป็นการตอกย้ำ และเป็นข้อพิสูจน์อย่างดีว่า แนวทางของท่านพุทธทาสภิกขุ ว่าด้วยการทำงานด้วยจิตว่างนั้นได้ผลอย่างดีเยี่ยม และสร้างสรรค์ให้โลกเราน่าอยู่ยิ่งขึ้นอีก

Exit mobile version