เพิ่มแรมให้ Macbook Pro จาก 4 GB เป็น 8 GB ด้วยตนเอง

ทำไมต้องอัพแรมให้ Macbook Pro

Macbook Pro ที่ใช้อยู่มีแรมมาให้ 4 GB ซึ่งการใช้งานทั่วไปถือว่าโอเคแล้ว แต่เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมาได้ใช้งานโปรแกรมที่ทำงานเกี่ยวกับการประมวลผลด้วยภาพ และพวกโปรแกรมวาดภาพ โดนโปรแกรมฟ้องว่าแรมไม่พอใช้งาน ทำงานต่อไม่ได้เลย ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะ Mac OSX Lion มันกินแรมเยอะด้วยส่วนหนึ่ง และตอนที่รัน Parallel Windows ด้วยแล้ว แรมไม่เหลือเลย ด้วยเหตุนี้เลยคิดจะเพิ่มแรมให้ Macbook Pro เจอราคาอัพแรมใน iStudio พบว่ามันแพงมาก แถมบางอันต้องเทิร์นแรมตัวเก่าด้วย

ราคาอัพแรมของ Macbook Pro วันที่ 18 ต.ค. 2554

ข้อมูลจาก https://www.maccafethai.com/portable_macbookpro.html

ผมไม่มีข้อมูลนะว่าทำไมการเพิ่มแรมที่  iStudio ถึงแพงต่างกันเยอะขนาดนั้น เป็นเหตุให้ต้องหาข้อมูลวิธีการเพิ่มแรม Macbook ด้วยตนเอง ได้ข้อมูลมาดังนี้ครับ

  1. การเพิ่มแรมเอง ไม่เป็นเหตุให้ประกันหมด อันนี้โอเคแสดงว่าเราทำเองได้
  2. แรมที่มีขายตามท้องตลาด สามารถใช้ร่วมกันได้ (ชนิด,บัส ให้ตรงกันนะ)
  3. ในคู่มือที่ให้มาพร้อมเครื่องมีวิธีการเพิ่มทั้งแรมและอาร์ดดิสอยู่ด้วย สามารถเปิดดูแล้วทำตามได้เลย ในเว็บก็มี https://support.apple.com

เมื่อรู้ดังนี้จึงตัดสินใจจะเพิ่มแรมให้น้อง Macbook Pro ครับ ส่วนท่านที่สนใจจะเพิ่มแรมให้ Mcbook Pro ของตัวเองก็อยากให้ดูข้อมูลหลายๆด้านข้อดีข้อเสียก่อนจะตัดสินใจนะครับ

ขั้นตอนการอัพแรมด้วยตัวเอง

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมเพื่อเพิ่มแรมให้ Macbook Pro จาก 4 GB (2×2 GB)เป็น 8 GB (2×4 GB)

Ram ยี่ห้อ Kington กับชุดไขควง

แรมที่ซื้อมาคือ แรมสำหรับโน๊ตบุ๊ค ขนาด 4 GB /DDR3 /1333 MHz ยี่ห้อ Kington 2 อัน ราคาตัวละ 790 บาท (790×2=1,580 บาท) กับชุดไขควรซื้อที่ชั้นล่างห้างพันทิพนั้นแหละ ราคา 150 บาท ใครมีอยู่แล้วก็ใช้ได้เลย Macbook ต้องใช้ไขควรหัวแฉกครับ
ก่อนเพิ่มแรมในเครื่องเป็นแบบนี้นะครับ

ก่อนอัพแรมเป็น 2GB 2 ตัว

ขั้นที่ 1

หาอะไรนุ่มๆรองน้อง Macbook ก่อน แล้วคว่ำหน้าลง

Macbook คว่ำหน้าลง

ขั้นที่ 2

ไขน๊อตที่อยู่ด้านหลังออกทีละอัน มีอยู่ทั้งหมด 10 ตัว โดยมันจะมี 3 ตัว ด้านบนชวาจะยาวกว่าตัวอื่นๆ ควรหาอะไรใส่แยกไว้ว่าตัวไหนอยู่ตำแหน่งไหนด้วย เวลาประกอบกับเข้าไปจะได้ใช้ตัวเดิม

ไขน็อตที่ด้านออก

ผมเก็บน็อตไว้แบบนี้ครับ เอากาวสองหน้าติดไว้บนแผ่นพาสติกแล้วเอาน้อตติดไว้ตามตำแหน่งที่มันอยู่ เวลาหมุนกลับจะได้ไม่สับสน

น๊อตเรียงตามตำแหน่งบนเครื่อง Macbook

 ขั้นที่ 3

ยกฝากด้านหลังออก ก็จะเผยให้เห็นอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าของเครื่อง Macbook ถูกวางไว้อย่างเป็นระเบียบ

ยกฝาหลังออก
เปิดฝาหลังออก ก็จะเห็นอุปกรณ์ต่างๆภายใน

เห็นแรมแล้ว ตัวเขียวๆนี้เอง

แรมของ Macbook มีตราของซัมซุงอยู่นะ ใครผลิตให้น่าจะรู้กัน

ขั้นที่ 4

ถ้าดูตามขั้นตอนของ Apple เขาจะให้เราเอามือแตะตรงโลหะก่อนเพื่อเคลียร์ประจุไฟฟ้าสถิตจากร่างกายก่อน แต่ผมก็ไม่ได้ทำนะ เริ่มถอดแรมตัวเก่าออกเลย ถอดง่ายๆครับ เอามือถ่างขาล็อกด้านข้างออกแรมจะเด้งออกมาเอง

ถ่างขาล็อกออก แรมจะเด้งออกมา
แรมยกขึ้นแล้วก็ดึงเบาๆก็หลุดออกมาแล้ว

เมื่อถอดตัวแรกออกแล้วจะเห็นตัวที่สองอยู่ด้านล่าง วิธีถอดออกก็ทำเหมือนกัน

ถอดแรมออกหมดแล้ว

แรมตัวเก่า 2x2GB ถอดออกมาหมดแล้ว พร้อมที่จะใส่ตัวใหม่ 2x4GB เข้าแทนได้แล้ว
วิธีใส่แรมเข้าไป ก็เสียบให้ตรงร่องของมันแล้วก็กดลง ตัวล็อกจะยึดมันให้แน่น ดูให้ดีว่าลงร่องพอดี ตัวด้านล่างอาจจะใส่ลำบากนิดหน่อยแต่ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร

แรมตัวใหม่ถูกใส่เข้าไปแทนตัวเก่าแล้ว

ขั้นสุดท้าย

ปิดฝา แล้วขันน๊อตตัวเดิมในตำแหน่งเดิมลงไป ตอนแรกผมจะยังหมุนแค่หลวมๆก่อน เผื่อว่ามีปัญหาจะได้ไม่ต้องมาไขใหม่ให้ลำบาก

พร้อมทดสอบแล้ว

เปิดเครื่องทดสอบดูว่าใช้งานได้หรือไม่  ถ้าไม่มีปัญหาค่อยกลับมาหมุนน๊อตให้แน่น(ปิดเครื่องก่อนด้วยก็ดี)

ใส่แรมเข้าไปแล้ว ตอนนี้มี 8 GB แล้ว 4 GB 2 ตัว

ดูการทำงาน ขณะที่เขียนบล็อกอยู่

การใช้งานแรม 8 GB

สรุปดังนี้ครับ ทำเองไม่ยากอย่างที่คิด ประหยัดกว่าตั้งเยอะ และอย่าลืมเก็บแรมตัวเก่าไว้ด้วยเผื่อว่าต้องเคลมเครื่องอาจจะต้องใส่กลับ กรณีที่ต้องเคลมทั้งเครื่องแบบเปลี่ยนเครื่องใหม่เลย ส่วนการซ่อมปกติไม่เป็นไร

การใช้งานหลังเพิ่มแรมเป็น 8 GB รู้สึกว่าทำงานได้เลื่อนขึ้นในโปรแกรมที่เคยมีปัญหา ถือว่าถูกใจที่ได้เพิ่มแรมให้น้อง Macbook Pro

ตอนนี้ Macbook Pro รุ่นใหม่สามารถเพิ่มแรมได้สูงถึง 16 GB แต่แรมตัว 8 GB ยังแพงอยู่มาก และคิดว่าตัวเองยังไม่มีความจำเป็นขนาดนั้น ถ้าราคาถูกลงและมีความจำเป็นค่อยว่ากันอีกที หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่อยากเพิ่มแรมให้ Macbook Pro ด้วยตนเองนะครับ

วิธีติดตั้ง iCloud ในเครื่อง Mac และ Windows

iCloud เปิดให้ใช้งานวันนี้แล้ว 12 ต.ค. 2011 นิยามง่ายๆของมันคือ “เก็บทุกอย่างไว้บนเมฆ เรียกใช้งานได้ทุกที่” เช่น ถ่ายรูปด้วย iPhone แล้วไปเปิดดูที่ iPad หรือ Mac ได้เลย มันอัพโหลดขึ้นเองอัตโนมัติ รวมทั้งปฎิทิน แอพพลิเคชั่น เพลง หนังสือ อีเมล เบอร์โทร Bookmark หน้าเว็บ จะเพิ่มลดข้อมูลที่ไหน ระบบจะทำให้ข้อมูลทุกที่ถูกอัพเดตให้เหมือนกัน การจะเริ่มใช้งานจะต้องตั้งค่านิดหน่อย ซึ่งรองรับอุปกรณ์หลัก 3 ตัว คือ กลุ่มของ iOS, OSX, Windows แบบฟรีมีพื้นที่ให้ 5 GB

วิธีติดตั้ง iCloud

วิธีติดตั้ง iCloud ใน Mac OSX Lion

  1. อัพเดต Mac OSX Lion ล่าสุดก่อน
  2. เข้าไปที่ System Preferences ในส่วนของ Internet & Wireless เลือก iCloud (ถ้ายังไม่อัพเดตจะไม่มีนะ)

    ติดตั้ง iCloud ใน Mac OSX

  3. ล็อกอินด้วย Apple ID

วิธีติดตั้ง iCloud ใน Windows

  1. ดาวน์โหลด iCloud Control Panel for Windows มาติดตั้ง

    การติดตั้ง iCloud ใน Windows

  2. ล็อกอินใช้งานด้วย Apple ID

วิธีติดตั้ง iCloud ใน iPhone & iPad & iPod touch

  1. อัพเดตให้เป็น iOS 5
  2. เปิดเครื่องครั้งแรก เครื่องจะให้ตั้งค่า หรือถ้าเข้าไปตั้งที่ setting ใน Tab iCloud

    การติดตั้ง iCloud ใน iOS devices

เมื่อเราติดตั้งผ่านทางอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งแล้ว เราจะสามารถเข้าใช้งานผ่านทางหน้าเว็บได้ที่ www.iCloud.com

iCloud.com

ข้อมูลจาก: https://www.apple.com/icloud/setup/

ควบคุมคอมพิวเตอร์ของคนอื่นด้วย Chrome Remote Desktop

Chrome Remote Desktop

แต่ก่อนผมจะใช้บริการของ LogMeIn ในการควบคุมคอมพิวเตอร์อีกเครื่องในระยะไกลผ่านทางอินเทอร์เน็ต มันทำงานได้ค่อนข้างช้า และภาพไม่ค่อยชัด การป้อนข้อมูลเข้ามีผิดพลาดบ้าง แต่พอแก้ขัดได้ ส่วนใหญ่เอาไว้ควบคุมเครื่องวินโดว์เวลาเครื่องเราทำงานไม่ได้ หรือแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์เล็กๆน้อยๆให้เพื่อน

เมื่อหลายวันก่อน Google เปิดตัวส่วนเสริมของ Google Chrome ชื่อ Chrome Remote Desktop ความสามารถของมัน คือเราสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ลง Google Chrome ไว้ในเครื่องรองรับทุกแฟลตฟอร์ม Windows, Linux, Mac รวมถึง Chromebooks ด้วยนะ ผมลงไว้ในเครื่องหลายวันแล้วแต่ยังไม่มีเวลาได้ลอง และยังหาเครื่องคอมอีกตัวมาลองไม่ได้ วันนี้ฤกษ์ดีเลยหยิบคอมที่เป็น Windows มาเอาควบคุม Mac OSX ดู

ขั้นตอนการใช้งาน  Chrome Remote Desktop

  1. เครื่องต้องมี Google Chrome ก่อน ดาวน์โหลด
  2. ติดตั้งส่วนเสริม Chrome Remote Desktop ขนาดประมาณ 19 MB (ใหญ่กว่าส่วนเสริมทั่วไปที่เคยลงมาเลย)

    Chrome Remote Desktop App

  3. เปิดเข้าไปใช้งาน จะมีสองหมวดให้ใช้งาน นั้นคือ จะควบคุมเครื่องของคนอื่น ซึ่งเครื่องปลายทางต้องแชร์เครื่องของเขาแล้วส่ง Access code มาให้เรา หรือ จะให้คนอื่นควบคุมเครื่องของเรา(Share this computer)

    Share This Computer

  4. ในการทดลองนี้ ผมจะให้เครื่องที่เป็น Windows เข้าควบคุมเครื่อง Mac ดังนั้นผมก็เลือก share this computer แล้วระบบจะสร้างโค้ดมาให้ 12 ตัว แล้วเราก็ส่งโค้ดให้เครื่องที่จะควบคุมเครื่องเรา
    Code ที่จะใช้ในการควบคุมเครื่องที่เรากดแชร์

    **ข้อดีของ Chrome Remote Desktop คือ มันจะนับเวลาถอยหลัง ถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ Access เข้ามาในเวลาที่กำหนด โค้ดชุดนี้จะหมดอายุแล้วก็ใช้ไม่ได้ ต้องกดแชร์ใหม่

  5. นำตัวโค้ดที่ได้จากเครื่องที่จะให้เราควบคุม ใส่เข้าไปในช่อง Access code แล้วกด connect เพียงเท่านี้เราก็ควบคุมเครื่องปลายทางได้แล้ว
    -ผมใช้คอมพิวเตอร์อีกตัว(Windows) เพื่อทดลองควบคุมคอมพิวเตอร์เครื่องที่แชร์(Mac)
    ใส่โค้ดเข้าไป ตอนนี้เครื่อง Windows ก็ใช้เครื่อง Mac ได้แล้ว
    ที่เครื่องที่ถูกควบคุมจะบอกว่าตอนนี้เครื่องถูกควบคุมอยู่

    ยังมีข้อดีอีกอย่างคือ เครื่องที่ถูกควบคุมอยู่ จะตัดการเชื่อมต่อเมื่อไหร่ก็ได้ และส่วนแจ้งเตือนที่เป็นบ๊อบอัพจะอยู่ด้านหน้าตลอด ทำให้รู้ว่าเครื่องถูกนี้ถูกควบคุมอยู่

  6. หน้าต่างส่วนควบคุมจะอยู่ใน Tab  ถ้าเปิด Chrome เป็นแบบ Full screen จะเหมือนเราใช้คอมเครื่องปลายทางเลย

    เครื่องที่เป็น Windows ควบคุมเครื่องที่เป็น Mac

สิ่งที่ประทับใจ

-ภาพละเอียด เหมือนเราใช้งานเครื่องปลายทางอยู่จริงๆ

Compaq ควบคุมเครื่อง Macbook

-เร็วมาก ลองเปิดวีดีโอดูพบว่ามันวิ่งพร้อมกันเลย เสียดายที่เสียงไม่มาด้วยไม่งั้นแหล่มมาก (เน็ต 4 Mb)

ลองเปิดวีดีโอที่เครื่อง Macbook ที่เครื่อง compaq ก็ชัดและสตรีมแทบจะพร้อมกัน แยกไม่ออกว่าเลยว่า delay

-และมันให้งานฟรี ชอบ google ก็ตรงนี้แหละ

ลองเอาไปประยุกต์ใช้กับงานของคุณดูนะครับ น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อยเลย

Exit mobile version