Twitter LiveBlog Plugin เขียนบล็อกง่ายๆด้วย Twitter

Twitter LiveBlog

การเขียนบล็อกโดยการใช้การอับเดตจาก Twitter มีปลั๊กอินอยู่หลายตัว ตัวนี้เป็นหนึ่งในนั้นที่ลองใช้แล้วมันสะดวกดีครับ การทำ Liveblog มักจะเห็นในการรายงานข่าวสด ในงานแถลงข่าวต่างๆ ความสะดวกของปลั๊กอินตัวนี้คือ เราจะเริ่มเขียนได้โดยไม่ต้องเข้าบล็อกเลย ทั้งการโพสหัวข้อขึ้นมาใหม่ หรือปิดการ live ได้โดยใช้ Twitter ทั้งสิ้น

  1. Twitter Liveblog Plugin ดาวน์โหลดตามลิงค์ หรือจะติดตั้งผ่านทางหน้า admin ของ WordPress ก็ได้ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ก็ตั้งให้ปลั๊กอิน activate ให้พร้อมใช้งาน
  2. จากนั้นเข้าไป เมนู settings >>Twitter LiveBlog เพื่อตั้งค่าต่างๆของ Twitter Liveblog
    หน้า setting Twitter Liveblog

    ใส่ User Passward ของ account Twitter  แล้วจะจัดหมวดหมู่ของบล็อกได้ที่ไหนก็ตั้งค่าให้เรียบร้อยเพียงแค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อย เพียงแค่นี้ก็พร้อมใช้งานแล้วครับ

  3. วิธีการใช้งาน ถ้าต้องการเริ่มเขียนบล็อก ให้ทวีต  //NLB//ตามด้วยชื่อของโพสนั้น เช่น “//NLB// ทดสอบ Twitter Liveblog” ปลั๊กอินจะสร้างโพสชื่อ “ทดสอบ Twitter Liveblog” ขึ้นที่บล็อกของเรา และทวีตต่อๆไปจะเข้าไปอยู่โพสนี้ครับ
  4. เมื่อต้องการหยุดการ Live ก็ให้ทวีต //ELB// บล็อกนั้นก็จะหยุดเอาทวีตจาก Twitter มาแสดง

จำง่ายๆ //NLB// ย่อมาจากคำว่า New Live Blog เวลาจะจบ //ELB//ย่อมาจาก End Live Blog

ลองดูตัวอย่างที่ผมทดลองใช้ตอนที่ไปดูงานบอล ที่บล็อก Live Blog CUTUBall66
ถ้าใครเจอปัญหาเวลาของทวีตไม่ตรง ซึ่งผมก็เจอวิธีแก้ไข เข้าไป Edit ปลั๊กอิน แล้วค้นหาคำว่า $gmttime ให้แก้โค้ดจาก

function blog_time_from_gmt($gmttime)
{
return $gmttime + (get_option('gmt_offset') * 3600);
}
function gmt_from_blog_time($blogtime)
{
return $blogtime - (get_option('gmt_offset') * 3600);
}

เปลี่ยนเป็น

function blog_time_from_gmt($gmttime)
{
return $gmttime + (7 * 3600);
}
function gmt_from_blog_time($blogtime)
{
return $blogtime - (7 * 3600);
}

ดาวน์โหลดปลั๊กอิน Twitter Liveblog Plugin

Google images search เปลี่ยนการแสดงผลแบบใหม่

Google images search

เมื่อสองสามวันก่อนเข้าไปใช้งาน Google images search ค้นหารูป พบว่าเวลาเราคลิกรูปที่ค้นได้เข้าไปพบว่ามันแสดงผลแบบใหม่ แต่ก่อนจะแสดงเป็นรูปเล็กด้านบนและมี fram ด้านล่างเป็นหน้าเว็บที่อยู่ของภาพ การแสดงผลแบบใหม่นี้ผมชอบกว่าแบบเก่านะ เพราะทำให้เลือกภาพได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น แต่ก็มีข้อเสียอยู่นิดหนึ่งคือตอนเลื่อนรูปอาจโหลดช้านิดๆคิดว่าเป็นเพราะเน็ตช้าบวกกับเครื่องประมวลช้าด้วย

หลอดเลือดหนูที่เป็นความดันโลหิตสูงประสิทธิภาพการทำงานลดลง

fig 1 : ที่มาของภาพ : https://phenome.jax.org/phenome/protodocs/Lake1/Lake1_Protocol.htm

เสียเวลาอ่านงานวิจัยของชาวบ้านที่น่าสนใจไปแล้วก็อยากเอามาบอกเล่าต่ออีกทั้งยังเก็บเป็นบันทึกของเราไว้ด้วย ผมจะดึงเอาเฉพาะข้อมูลที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์กับคนทั่วไป ถ้าหากใครอยากอ่านตัวเต็มตามไปอ่านตามแหล่งที่มาที่อ้างอิงไว้ด้านล่าง

fig 2 : Blood pressure measurement with the tail-cuff method in Wistar and SHR

ความรู้ที่น่าสนใจ

  1. หนูปกติมีความดันโลหิตเหมือนคนคือประมาณ 120/80 mmHg และหนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก็มีแรงดันด้านบนประมาณ 180-200 mmHg เหมือนคนอีกเช่นกัน
  2. ถ้ารัดอวัยวะอย่างเช่นหาง(ในหนู) แขน(ในคน) ด้วยแรงดันที่สูงกว่าค่าของความดันด้านบน เลือดจากหัวใจจะไหลผ่านจุดที่ถูกรัดไม่ได้ ในรูป fig 2 แถบสีดำด่านล่าง Arterial pulse หรือสัญญาณชีพจร มันต่ำลงเรื่อยๆเมื่อแรงดันที่รัดเข้าใกล้ ~120 mmHg และเป็นเส้นตรง (เลือดหยุดไหล)เมื่อแรงดันมากกว่า ~120 mmHg
  3. ถ้าค้างแรงดันที่มากกว่า ~120 mmHg ไว้สักระยะ (ค่าเริ่มต้นที่เขาใช้คือ 15 วินาที ) แล้วค่อยลดแรงดันลงมาจะพบว่าแรงดันที่ทำให้เกิดสัญญาณชีพจรกลับมาอีกครั้งจะต่ำกว่าค่าแรงดันที่ทำให้สัญญาณชีพจรหายไป ถ้าในสามัญสำนึกของเรามันน่าจะเท่ากัน เพราะมันคือจุดเดียวกัน
  4. ถ้าเพิ่มระยะเวลาของการรัดแขนให้เลือดหยุดไหลนานขึ้น แรงดันของการทำให้เลือดไหลอีกครั้งจะต่ำลงเรื่อยๆ น่าจะเกิดจากหลอดเลือดมันจะขยายตัวรอรับการไหลเลือดเพิ่มขึ้น เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนนั้นเพิ่มขึ้น ทำให้แรงดันที่ใช้ในการทำให้เลือดไหลลดลง เหมือนตอนที่กำข้อมือไว้แล้วปล่อยจะรู้สึกว่าเลือดมันไหลเร็วขึ้น ซึ่งมันก็เร็วขึ้นจริงๆ
  5. แต่จุดสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับ เขาเทียบกันระหว่างหนูปกติกับหนูตัวที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง พบว่าหนูปกติจะมีอัตราการขยายตัวของหลอดเลือดดีกว่าหนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หนูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเป็นโมเดลของหลอดเลือดที่ฟังชั่นลดลง หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆคือประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือดลดลง
  6. หลอดเลือดทำงานได้ไม่เต็มที่เกิดอะไรขึ้น เมื่ออวัยวะส่วนต่างๆของคุณทำงานหนักขึ้น อวัยวะส่วนนั้นมันจะต้องการเลือดไปหล่อเลี้ยงเพิ่มขึ้น การเพิ่มให้เลือดไปเลี้ยงส่วนนั้นมากขึ้นก็คือการขยายตัวหลอดเลือดให้ได้ปริมาตรของเลือดที่เพิ่มขึ้น ถ้ามันขยายได้ไม่ดี อันนี้ล่ะจะเป็นปัญหา อวัยวะขาดเลือด กล้ามเนื้อตายจะตามมา โดยเฉพาะในอวัยวะส่วนสำคัญอย่างเช่น สมอง และหัวใจ
  7. สรุปสุดท้ายที่น่าจะนำเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต กลุ่มที่ประสิทธิภาพการทำงานของหลอดเลือดลดลงได้แก่ พวกสูบบุหรี่  ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ  โปรดงดบุหรี่ ลดไขมัน ซึ่งเป็นตัวที่น่าจะทำได้ง่ายที่สุด

อ้างอิง : “Blood pressure measurement with the tail-cuff method in Wistar and spontaneouslyhypertensive rats: Influence of adrenergic- and nitric oxide-mediated vasomotion” : Journal of Pharmacological and Toxicological Methods 58 (2008) 215–221

ได้อีเมลตอบรับเข้าร่วมงาน TEDxBKK แล้ว

TEDxBKK

หลังจากสมัครเข้าร่วมงาน “TEDxBKK ครั้งแรกของไทย” วันนี้ได้อีเมลตอบกลับมาแล้วครับ ใครได้ลงทะเบียนไปมั้งเจอกันที่งานเลยครับ วันงานจะเก็บภาพและบรรยายกาศมาฝากครับ

Exit mobile version