รักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดด้วย Electromegnetic

new-treament-electromagnetic
new-treament-electromagnetic

การติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงมาก และตายอย่างรวดเร็วถ้าหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที เพราะเลือดคือองค์ประกอบหลักของร่างกายไหลไปอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย การเกิดพยาธิสภาพต่างๆในร่างกายจึงเกิดขึ้นเร็วและรุนแรง เชื้อที่พบบ่อยในการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นพบได้ทั้ง เชื้อแกรมบวก เช่น S.aureus และแกรมลบ เช่น E.coli ,Acinetobactor spp.,K.pneumoniae เมื่อตรวจพบว่ามีการติดเชื้อต้องมีการรายงานผลเบื้องต้นให้แพทย์ทราบทันที เพื่อทำการรักษาเบื้องต้น และดูแลเป็นพิเศษ ก่อนที่การวินิจฉัยเชื้อ และการตรวจความไวต่อยาของเชื้อนั้นจะออกมา

ล่าสุด Ingber’s team ได้ทำการวิจัยการรักษาการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบใหม่ ที่จะช่วยให้การรักษาทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ในแล็บของเขาได้ทำการผสมเชื้อรา Canida albican เชื้อหนึ่งที่ก่อโรคได้ลงไปในเลือดแล้วจากนั้นเติม plastic-coated iron-oxide beads(เม็ดเหล็กที่เคลือบด้วยพลาสติก) เคลือบอีกชั้นด้วย antibody เมื่อเติมลงไปในเลือด antibody นี้จะเข้าจับกับตัวเชื้อเสมือนว่าเอาเหล็กไปติดที่เชื้อก่อโรค

จากนั้นนำเลือดเข้าเครื่อง dialysis(เหมือนเครื่องฟอกไต)ที่มีการเพิ่ม electromagnetic คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปด้วย ซึ่งแรงนี้จะดูดเม็ด beads ทำให้เชื้อที่ติดอยู่ด้วยถูกดูดออกมาไหลเข้าสู่น้ำเกลือที่อยู่อีกด้าน Ingber ให้ข้อมูลว่า ในเวลา 2-3 ชั่วโมง วิธีนี้สามารถกำจัด แบคทีเรียได้ถึง 80% ตอนนี้ได้เริ่มทดสอบกับสัตว์ทดลองแล้ว และในอนาคตนอกจากจะใช้ในการกำจัดแบคทีเรียในกระแสเลือดแล้ว ยังสามารถที่จะพัฒนาไปใช้กับการกำจัด เซลล์มะเร็งในเลือดหรือการเก็บ stem cell ได้อีกด้วย

ในงานวิจัยชิ้นนี้ไม่ถือว่าใหม่มากนัก การใช้หลักการติด beads เหล็ก กับอะไรสักอย่างแล้วใช้แม่เหล็กดูดออกมานั้น มีการพัฒนามานานแล้ว แต่ยังไม่มีการนำมาใช้กับมนุษย์อย่างจริงจัง ส่วนมากจะใช้ในห้องทดลองเท่านั้น การประยุกต์เอาวิธีนี้เข้ามาใช้ร่วมกับเครื่อง dialysis ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีมาก แม้ว่าจะไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียออกไปได้ 100% แต่ก็ลดอัตราการตายของคนไข้ได้อย่างมาก งานวิจัยนี้นับว่าเป็นประโยชน์ กับวงการแพทย์ไม่น้อยเลยทีเดียว

ข้อมูลจาก https://www.popsci.com/

WebVPN Chula ใช้เน็ตภายนอกเหมือนอยู่ภายในจุฬาฯ

Chula-webVPN

การอยู่หอพักในจุฬาฯเลยได้เล่นเน็ตผ่านทาง wirelees ของจุฬาฯ การเข้าใช้งานเว็บไซต์ ต่างๆที่เกี่ยวกับงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ เลยไม่มีปัญหา เช่น sciencedirect ,Pubmed ,scopud เพราะในเครือข่ายภายในทางมหาลัยได้มีการ register กับทางเว็บไซต์ผู้ให้บริการอยู่แล้ว เมื่อออกมาใช้อินเทอร์เน็ตภายนอก การใช้งานต่างๆเลย ทำอะไรไม่ได้เลย ดู หรือดาวน์โหลด journal ไม่ได้เลย ทำให้การทำงานที่บ้าน หรือหอพักภายนอกทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่ต่อเนื่อง แต่จุฬาฯ มีบริการ virtual private network ที่ทุกคนพูดติดปากว่า webVPN การใช้งานง่ายมากๆ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คุณต้องเป็นนิสิตจุฬาฯ
  2. เข้าไปที่ url นี้ ที่ https://vpn.chula.ac.th (สังเกตจะมี s อยู่หลัง http ครับ)
  3. หน้าต่าง Security Alert จะปรากฎขึ้นมาก็ตอบ yes ไป

    security alert

  4. ให้ใส่ user : รหัสนิสิต 8 ตัว เช่น 50871670 ไม่มีรหัสคณะ 2 ตัวหลัง
    password : รหัสเดียวกับใช้ลงทะเบียนนั้นแหละ

    Login

  5. ตอนนี้เราก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมือนนั่งเล่นเน็ตที่คณะเลย ภาพหน้าหลัก และมีที่ใส่ url ด้านบน
หน้าแรกของ เว็บจุฬาฯ

ตัวอย่างการใช้งานเว็บ scopus เว็บที่ช่วยให้การทำ referance ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปาก ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟัง

Scopus ก่อน login ด้วย VPN

ก่อนใช้ webVPNก่อนใช้ webVPN

Scopus หลัง login ด้วย VPN

เมื่อใช้ webVPN ก็ใช้งานได้อย่างเต็มที่

ไอคอนแสดงว่าใช้งานอยู่

สังเกตที่มุมขวาบนจะมีปุ่มเครื่องมืออยู่
เรียงดังนี้ move (ย้ายชิดซ้าย-ขวา) , go to address (เปิดเว็บใหม่) ,Home page (กลับไปหน้าหลัก) ,Logout (ออกจากระบบ)

Exit mobile version