อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต ร่วมกับโรคเก๊าท์

ภาพประกอบ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

ยายไม่สบาย ตามอายุของคนแก่วัย 82 ปี มีหลายโรครุมเร้าที่เป็นมาได้สักพักแล้วคือ โรคความดันโลหิตสูงกับโรคเก๊าท์ ที่ต้องกินยามาตลอด ล่าสุดเริ่มมีอาการไตเสื่อมกรองของเสียได้น้อยลง ไม่รู้เพราะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมานานจึงส่งผลไปที่ไตหรือเพราะโรคไตที่ทำให้ความดันโลหิตสูง

เมื่อดูผลตรวจเลือดครั้งล่าสุดค่า BUN 25.0 mg/dl (normal 4-18 ) และ Creatinine 1.6 mg/dl (normal 0.6-1.3) ในเลือดสูงกว่าค่าปกติ โดยรวมถือว่าไตยังทำงานได้ ไม่ถึงขั้นต้องฟอกเลือด(ตามคำแนะนำของแพทย์) แต่ก็ต้องมีการควบคุมอาหารเพื่อไม่ให้ไตต้องรับภาระกรองของเสียมากจนเกินไป ส่วนค่า Uric acid = 5.8 mg/dl (normal 3.4-7)ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้นการควบคุมอาหารจึงต้องเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเสื่อม กับโรคเก๊าท์รวมกัน

อาหารของผู้ป่วยโรคไต จะเน้นงดรับประทานอาหารจำพวก รสเค็ม หวาน มีไขมันสูง โปรตีนสูง ฟอสฟอรัสสูง โปแตสเซียมสูง และอาหารของผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะต้องงดอาหารจำพวกที่มีพีวรีนสูงซึ่งเป็นสารตั้งต้นของกรดยูริค ดังนั้นรายการอาหารที่รวบรวมมาจะเป็นอาหารที่พบทั่วไป

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต และโรคเก๊าท์

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

เนื้อสัตว์ติดมันและติดหนัง เนื้อสัตว์ปีก (ไก่,เป็ด) เครื่องในสัตว์ หอย ตับหมู ปลาดุก ปลาขนาดเล็ก(ปลาซิ่ว) ถั่ว เห็ด ผักกระถิน ชะอม ปลาอินทรีย์ กะปิ กุ้ง หอย ปลากระป๋อง ไส้กรอก แฮม หมูยอ หมูหยอง หมูแผ่น ไข่ปลา มาม่า นมและเนย

ผักสีเขียวเข้ม สีเหลือง หน่อไม้ กระหล่ำดอก ผักโขม ใบคะน้า คึ่นฉ่าย มะเขือเทศ แครอท ชะอม ขี้เหล็ก บล็อกโคลี่ ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศ แครอต สะเดา เห็ด ผักตำลึง  ใบแค ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง

ผลไม้สีส้ม สีเหลือง ทุเรียน มะม่วงสุก ลูกพรุน ลูกพลับ ขนุน ผลไม้แห้ง มะขามหวาน กล้วย มะละกอสุก  กระท้อน น้อยหน่า ลำไย น้ำส้มคั้นและผลไม้รวม ซ้อมมือ ข้าวกล้อง

ขนมประเภท ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ไอศกรีม ขนมเปี๊ยะ กระยาสารท ชา กาแฟ ช็อกโกแลต โคล่า น้ำอัดลม

อาหารที่ควรรับประทาน

เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ลดปริมาณลงกว่าปกติ เนื้อปลา ข้าวเหนียว ข้าวโพด ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น สาคู ลอดช่องสิงคโปร์ ซ่าหริ่ม ต้มปลา นึ่งปลา ปลาย่าง

ผัก แตงกวา น้ำเต้า บวบ ฟักเขียว มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ผักกาด

ผลไม้ แอบเปิ้ล องุ่น เชอรี่ ลูกพลัม สตรอเบอรี่  น้ำองุ่น น้ำแอบเปิ้ล สับปะรด แตงโม  เงาะ  มังคุด ลองกอง พุทรา ชมพู่

ขนมหวานต้องไม่หวานมากนัก เช่น ขนมน้ำดอกไม้ ขนมมัน ขนมถ้วยฟู สาคูเปียก

จะเห็นได้ว่าอาหารที่เคยแนะนำให้รับประทานเมื่อตอนสุขภาพดี จะกลายเป็นโทษสำหรับเราเมื่อวัยชรา บางทีอาจจะต้องเลือกกินให้มากขึ้น หรือตอนนี้อาหารที่มีเกลือมากๆ ส่งผลร้ายกับไต เราอาจจะต้องลดลงให้มากขึ้น

ข้อมูลจาก: https://www.yourhealthyguide.comhttps://www.yourhealthyguide.com

รวมข่าว กรณีสภาวิชาชีพไม่รับรองหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สภาวิชาชีพไม่รับรองหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ข่าวหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ไม่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพฯ ส่งผลให้ไม่สามารถเปิดสอนต่อได้ จนต้องมีการฟ้องศาลคุ้มครอง เหตุการณ์นี้ผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงเป็นนักศึกษาที่ยังไม่รู้ทางมหาลัยจะแก้ปัญหาออกไปทางไหน สำหรับใครที่ไม่ได้ติดตามข่าว ผมลองรวบรวม ข่าว เรียงตามลำดับจากต้นเรื่องไปเรื่อยๆ อาจจะไม่ทั้งหมด แต่ถ้าอ่านเรียงลำดับลงไปจะเข้าใจลำดับเหตุการณ์

เหตุการณ์ลักษณะนี้ ก่อนหน้านี้เคยเห็นมาแล้ว เมื่อครั้งหลักสูตรพยาบาล วิทยาลัยนครราชสีมาไม่ได้รับการรับรอง และจบลงโดย สกอ. ช่วยจัดให้นักศึกษากระจายไปเรียนตามสถาบันต่างๆ  ในเหตุการณ์นี้ยังไม่รู้จะจบยังไง(น่าจะเป็นเหมือนเหตุการณ์ด้านบน) แต่สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุด คงต้องเป็นนักศึกษาที่เสียเวลาเรียนมาแล้วหลายปี ขอให้เรื่องนี้ผ่านไปได้ด้วยดีและดีกับทุกฝ่าย

ข้อมูลเพิ่มเติม
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาเทคนิคการแพทย์ ต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาเทคนิคการแพทย์ก่อน นักศึกษาที่จบมาจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบใบประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ และสามารถทำงานเป็นนักเทคนิคการแพทย์ได้ รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนและรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองแล้ว และยังไม่ได้รับการรับรอง

คณะเทคนิคการแพทย์
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
คณะเทคนิคการแพทย์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คณะสหเวชศาสตร์
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา  ได้รับการรับรองแล้ว
สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ได้รับการรับรองแล้ว

คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อ้างอิงข้อมูล รายชื่อคณะเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย

BME Journal & News Subscription

เมื่อปลายปีที่แล้วได้จัดงาน BME CONCEPT ขึ้น แล้วก็ได้รับการตอบรับที่ดีมาก(เกินคาด) ผมก็ได้ร่วมนำเสนอด้วย ผมเสนอเรื่องใกล้ตัวที่ผมทำเป็นเรื่องปกติ แต่คิดว่าหลายคนยังไม่รู้ นั้นคือ การอ่านเว็บไซต์ที่เสนอข่าวสารเกี่ยวกับ วิศวกรรมชีวเวชฯ ที่มีอยู่มากมาย ก็เคยเขียนไว้แล้วใน Biomed.in.th ตอนที่ 1,  ตอนที่ 2 บังเอิญวันนี้เปิดไปเจอสไลด์ของตัวเอง เลยคิดว่าเอามาลงไว้ในบล็อกดีกว่าเผื่อมีคนสนใจ

Journal & News Subscription

ผมบอกไปเรื่อยๆว่าเว็บนี้มีข้อดีอย่างไรบ้าง น่าสนใจตรงไหน รวมถึงเว็บฐานข้อมูลงานวิจัยที่ใช้บ่อยๆอย่าง Sciencedirect และ Pubmed เท่าที่บอกไปก็มีอยู่ราว 20 เว็บไซต์ ปัญหาที่ตามมาคือเราจะไปตามอ่านทุกวันได้ยังไง เสียเวลาทำงานอย่างอื่นหมด คำตอบของปัญหานี้คือใช้ RSS Reader ช่วย เป็นวิธีที่เหล่า Bloger หรือ Geek เขาทำกัน ให้มันดึงเนื้อหาเฉพาะอันที่อัพเดตมา เราก็จะได้ติดตามอ่านอย่างไม่พลาดเนื้อหาใหม่ๆ และไม่ต้องเสียเวลาไปตามอ่านทุกเว็บ วันหนึ่งหรือสองสามวันค่อยเข้ามาเช็คเหมือนเช็คอีเมล อีกอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์คือมันแชร์ให้เพื่อน ใส่คอมเม้นท์เพิ่มเติมส่งให้เพื่อนในกลุ่มได้ด้วย

แต่พิเศษกว่านั้น ปกติเราจะเลือก subscript แต่ blog เป็นส่วนใหญ่ แต่น้อยคนที่รู้ว่า เว็บอย่าง Sciencedirect หรือ Pubmed ก็มี RSS ของ Journal งานวิจัยต่างๆเหมือนกัน

Sciencedirect: สามารถเลือก Journal ที่เราสนใจได้เลย อาจไม่มีทุกอันแต่เล่มที่ใหญ่ Impact สูงๆ มี RSS อยู่แล้ว เนื้อหาที่ถูกดึงมาเป็น abstract  แต่แค่นั้นก็เพียงพอแล้วที่จะดูว่า บทความนั้นทำอะไร ถ้าสนใจค่อยคลิกเข้าไปดู เข้าไปโหลด

Pubmed: สามารถเลือก subscript เฉพาะคีย์เวิร์ดที่เราสนใจได้เลย เช่น ชื่อโรค ชื่อเชื้อไวรัว หรือการทดลอง ฯลฯ ใส่คีย์เวิร์ด คลิก search แล้วไอคอน RSS จะโผล่ขึ้นมาเอง

ผมว่ามันเป็นประโยชน์สำหรับผม และคิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่นด้วย ตอนท้ายงานมีคนมาของสไลด์หลายคนเลยทีเดียว (แสดงว่าเราคิดถูก ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่น)

ทำกราฟ QC แบบมี Standard Deviation (SD)

เพื่อนบี๋จากโคราช โทรมาถามผมเรื่องการทำกราฟที่แสดง SD ในกราฟด้วย จะใช้ทำกราฟสำหรับ Quality Control(QC) ของห้องแล็ป ตามหลักการแล้วการควบคุมคุณภาพของห้องแล็ปต้องทำการทดสอบเครื่องมือ น้ำยาต่างๆ ทำทุกวัน และเก็บค่าต่างๆเพื่อมาวิเคราะห์ ว่ายังมีความถูกต้อง และแม่นยำ อยู่มากน้อยเพียงไร ถ้ามีปัญหาจะต้องมีการปรับตั้งค่ากันใหม่

ผมก็ลองศึกษา ทบทวนความรู้นิดหน่อย และบันทึกเก็บไว้ คิดว่าอนาคตอาจจะได้ใช้เหมือนกัน

สิ่งที่เขาทำคือใน 1 วัน เก็บค่าการทดสอบ 20 ค่า นำมาหาค่า Mean และ SD แสดงเส้นของค่า Mean และ 2SD ทั้งบนและล่าง เก็บต่อเนื่องตลอดทั้งเดือน แสดงว่าเราจะต้องทำกราฟ อยู่สองอันคือ กราฟรายวัน และกราฟรายเดือน

ขอเสนอกราฟรายวันก่อน

  1. นำค่าทั้ง 20 ค่ามาคำนวณหาค่า Mean และ SD ใช้สูตรง่ายๆ
    -Mean สูตร =average(ชุดข้อมูล 20 ค่า)
    -SD สูตร =stdev(ชุดข้อมูล 20 ค่า)
    -คำนวณ Mean+SD, Mean-SD, Mean+2SD, Mean-2SD ไว้ด้วยเลย ดูตามรูป

    SD Chart

  2. สร้างกราฟ XY ให้ X เป็นครั้งที่ทำการทดลอง และค่า Y เป็นค่าที่วัดได้
  3. จากนั้นทำ Secondary chart อีกอันซ้อนอยู่ด้วยกัน แต่ไม่ต้องแสดง axis อีกข้าง
  4. เอาค่า Mean, Mean+2SD, Mean-2SD อันนี้แล้วแต่ว่าอยากได้เส้นไหนบ้าง แต่เพื่อนต้องการเส้น 2SD จึงทำแค่นั้น โดยเลือกพล็อตกราฟจากค่าที่เราคำนวณไว้ จับคู่กับค่าคงตัวค่าหนึ่ง
  5. จากนั้นเข้าไปใส่ค่า Error bar ให้กราฟ กำหนดค่าเป็นแบบ fix ใส่ค่าลงไป 20.1(ค่าคงตัว;ให้จุดเริ่มของเส้นเลยตำแหน่งของจำนวน 20 ไปนิดหนึ่ง ถ้ามี 30 ค่า ก็กำหนดเป็น 30.1) จะเลือก Direction เป็น Both หรือ Minus ก็ได้  เราจะได้เส้นทั้ง 3 เส้นลากยาว กำหนดค่าสีตามต้องการ และใส่ Label ให้เส้นที่ได้

    QC Chart with SD

  6. ตอนนี้กราฟรายวันเราเสร็จแล้ว ได้กราฟที่มี เส้นลากของ Mean, และ Mean+-2SD

การทำกราฟรายเดือนแสดงทีละวัน แบบจุดที่มี +-2SD

  1. รูปแบบการทำก็คล้ายกับการทำกราฟรายวัน นั้นคือเอาค่าที่คำนวณได้ของแต่ละวันมาทำเป็นกราฟเดียวกัน
  2. พล็อตกราฟ XY ให้ X เป็นวันที่ ค่า Y เป็นค่า Mean ของวันนั้นๆ
  3. กำหนดค่า Error bar ชี้ไปที่ค่า 2SD ที่คำนวณไว้ กำหนด Display Direction เป็น Both คือ มีทั้งบนและล่าง

    Control Test Chart

  4. แล้วเราก็ได้กราฟของ Control Test รายเดือน ผมลองใส่ค่าให้ดู 11 วันจะได้เห็นว่ามันมีหน้าตาประมาณนี้นะ

ถ้าใครขี้เกียจไม่อยากทำเอง ผมทำไฟล์ excel มาให้แล้ว ดาวน์โหลดไปใช้ได้เลย เพียงแค่เอาค่าจากทดลองของคุณ 20 ค่าเข้าไปแทนที่อันที่ตัวอย่าง แล้วมันจะสร้างกราฟให้เอง ส่วนกราฟรายวันทำเป็นตัวอย่างให้หนึ่งอัน วิธีการใช้ก็ก๊อปปี้กราฟนั้น แล้ว select data อันใหม่เข้าไปก็เสร็จแล้ว

Google Docs ดาวน์โหลด Quality Control Chart Excel 2003, Quality Control Chart Excel 2007

เพิ่มเติมบางคนไม่สะดวกโหลดผ่าน Google Docs เลยเอาลิงค์ที่โหลดไฟล์โดยตรงมาให้ด้วย

Quality Control Chart excel 2003Quality Control Chart excel 2007

 

NetworkedBlogs มีปัญหาไม่อัพเดตในหน้า Facebook Fan Page

NetworkedBlogs Publishing Issue

เมื่อสองวันก่อน Biomed.in.th มีการอัพข้อมูล 3 อัน แต่ในหน้า Biomed.in.th on Facebook ไม่อัพเดตตาม ซึ่งปกติจะใช้บริการของ NetworkedBlogs เป็นตัวช่วยในการเผยแพร่ในหน้า Fan Page มันไม่อัพเดต ตอนแรกคิดว่ามันมี delay หรือปล่าว เพราะก่อนหน้านี้ก็มีบ้าง แต่ที่หน้า Facebook ของผมใช้ app นี้เหมือนกัน มันกลับทำงานตามปกติ สุดท้ายแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน ด้วยการโพสเองในหน้า Fan Page

วันนี้เลยแวะเข้ามาดูในหน้าจัดการ เห็นแถบแดงบอกชัดเจนไว้ว่า มีปัญหาการดึงข้อมูลในหน้า Fan Page ส่วนหน้าส่วนตัวยังใช้งานได้ ตอนนี้กำลังทำการแก้ไขอยู่ ติดตามความคืบหน้าของการแก้ปัญหา ได้ที่ https://support.networkedblogs.com ตอนนี้ก็ใช้วิธีอัพเดตด้วยตัวเองไปก่อน

หาตัวใหม่ใช้ดีไหมนะ

BME CONCEPT แลกเปลี่ยนแนวคิดวิศวกรรมชีวเวช

BME CONCEPT 2010

BME CONCEPT 2010
วันที่ 30 พฤษศจิกายน 2010 ห้อง 203 ตึก 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์
ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 16.00 น.

เป็นงานที่คิดอยากจะจัดมานานแล้ว ประกอบกับทางหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช จุฬาฯ มีทุนสนับสนุนให้ ผมจึงคิดจะจัดงานสัมมนากึ่งวิชาการ แนวคิดคือ Biomedical engineering ประกอบปด้วยสาขาย่อยภายในหลายสาขา ส่วนใหญ่แยกจากกันชัดเจน เช่น Rehabilitation engineering กับ Tissue engineering แทบจะแยกเป็นคนละคณะได้เลย แต่ถ้ามองลึกๆแล้วเราจะพบว่า ทุกสาขามันเชื่อมโยงกันได้ แนวคิดของสาขาหนึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับอีกสาขาได้ ถ้าเรามีเวลาพบปะพูดคุยกันมากพอ

รายละเอียดทั้งหมดดูที่ Biomed.in.th

ตอนนี้กำลังเตรียมงาน ไม่ว่าจะเป็นของที่ระลึก และโลโก้ ที่ได้เห็นนี้แหละ ที่ทำเสร็จแล้ว งานมีงบสนับสนุนจากหลักสูตรฯ จึงน่าจะมีอะไรพร้อมกว่าครั้งที่เคยลองจัดดูเมื่อนานมาแล้วดูที่นี้ มีอาหารเลี้ยง มีของว่าง มีของที่ระลึก อุปกรณ์ต่างๆที่พร้อมมากขึ้น คนพูดก็มากขึ้นด้วย (เพราะกึ่งบังคับ) งานนี้มีการจำกัดคนเข้าดังนั้นใครสนใจติดต่อมาที่ผมโดยตรง sarapukdee@gmail.com

Altium Designer Tutorial

PCB Layout

การออกแบบลายวงจร ทำ PCB แล้วไปกัดแผ่นปรินซ์เป็นลายวงจร ไม่ว่าจะกัดเองหรือสั่งกัด ยังไงเราต้องเป็นคนออกแบบ แต่เนื่องจากเราไม่ได้ใช้มันเป็นประจำ ไม่ได้ใช่บ่อยมากนัก จะใช้ทีไรต้องกลับมาเปิดดู Tutorial ทบทวนทุกทีไป ทำ Bookmark ไว้ใน Delicious แล้ว

วันนี้เลยเอาลงบล็อกดีกว่า เผื่อมีประโยชน์กับคนอื่นด้วย ที่จริงสำหรับใครที่ยังไม่เคยเขียน ดูแค่คลิปสองอันนี้ ก็ทำได้แล้ว ไม่ได้ยากเกินความสามารถ ส่วนการสั่งปรินซ์ให้เป็น negative ก็ไม่มีอะไรมาก แต่คนส่วนใหญ่ก็มักมีปัญหากับมัน ว่างๆค่อยมาบันทึกไว้แล้วกัน วันนี้เอาการออกแบบไปดูก่อน

Altium Designer Tutorial: Schematic capture and PCB layout (1of2)

Altium Designer Tutorial: Schematic capture and PCB layout (2of2)

สรุปโดยรวมคือ “ความรู้หาได้ในอินเทอร์เน็ต”

HyperTerminal Private Edition for Windows 7 and Windows Vista

HyperTerminal Private Edition สำหรับ Windows 7

เคยเขียนเรื่อง ใส่ hyperterminal ให้กับ Windows 7 หรือ Vista ไว้ ถือว่ามีประโยชน์ มีหลายคนได้นำไปใช้ และมีอีกหลายคนที่ค้นหาเจอผ่านทางกูเกิล ที่จริงแล้วขั้นตอนดังกล่าวถือว่าง่ายในการติดตั้งอยู่แล้ว แต่อีกวิธีที่จะนำเสนอนี้ง่ายกว่า คือ ติดตั้งโปรแกรมชื่อ HyperTerminal Private Edition

ในเว็บไซต์ออกมาเป็น v. 7 แล้ว แต่เป็นแบบ Shareware ให้ทดลองใช้ 20 หรือ 30 วัน ประมาณนี้ จำไม่ได้แล้ว เลยเลือกตัว v. 5 เป็นแบบ Unlicensed แต่ใช้งานได้ตลอด ถึงจะเก่า แต่ก็ยังทำงานได้ดี ในระดับเพียงแค่รับค่าจาก Com Port มาแสดงผลถือว่าโอเคมาก ข้อมูลที่ผมลองเก็บแบบต่อเนื่อง สูงสุดเก็บได้ 525 ค่า เป็นข้อจำกัดนิดหน่อยสำหรับใครที่ทำการ sampling เร็วๆ แต่โดยรวมต้องบอกว่า เยี่ยม

ดาวน์โหลด HyperTerminal Private Edition V.5

วิธีแก้ปัญหา CCS Compile แล้วติด Error

ผ่านแล้ว

บันทึกส่วนตัว เขียนโค้ดเผา PIC18F4550 แล้วติด #include <header.h> ตลอด ประมาณว่าเปิดโปรเจคไม่เป็น ทำอยู่เกือบอาทิตย์สุดท้าย โหลดของชาวบ้านมา เปิด file.c แล้ววางโค้ดที่มีทับไป F9 ผ่านซะงั้น ตอนนี้กลับมาวิ่งได้ตามเดิม เลยต้องบันทึกไว้กันลืม

file : PicUSB_CCS

โค้ดที่ปรับแก้แล้ว ลิงค์นี้ใน Google Docs

พาเที่ยวงาน มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2553

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2553 (National Science and Technology Fair 2010) “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์” วันที่ 7 – 22 สิงหาคม 2553 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ที่จริงไปเฝ้าบูธมาตั้งแต่วันพุธที่แล้ว แอบแวะไปเดินเล่นในงานมา มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ในงานเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ ครู นักเรียน ผู้ใหญ่ทั่วไปก็ควรไปเยี่ยมชมสักครั้งสร้างแรงบันดาลใจ และความรู้ได้มากมาย เอารูปมาให้ดู บรรยายสั้นๆใต้รูปให้พอเข้าใจนะครับ ยังมีเวลาอีก 4 วัน ใครยังไม่ไปควรแวะไปดูหน่อยนะครับ งานเยี่ยมมากๆ

บรรยากาศ งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์

ภาพแรกอยู่ในส่วนของ เทคโนโลยีสำหรับผู้พิการ

น้องเด็กในชั้นประถมกำลังทดลองเล่น กระดาษกราฟอิเล็กทรอนิคสำหรับผู้พิการตาบอด

กระดานกราฟที่ช่วยผู้ตาบอดเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ผ่านทางการฟังเสียงและการสัมผัสปุ่ม น้องๆน่ารักมากระหว่างทดลองเครื่องมือ หลับตาด้วยเพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกว่าถ้าตาบอดการเรียนรู้ทำได้ยากแค่ไหน จะได้เข้าใจและเห็นใจคนตาบอด

ทดลองเขียนอักษรเบล
สัญลักษณ์แทนตัวอักษร
อุปกรณ์ในการเขียนอักษรเบล

ส่วนนี้เป็นการทดลองเขียนอักษรเบล วิธีเขียนลำบากพอควร ที่โต๊ะจะมีบอกว่าอักษรแต่ละตัวเขียนแบบไหน เวลาเขียนจะใช้แท่งกดลงกระดาษบนแท่นพิมพ์ที่เป็นจุด 2×3 และต้องเขียนกลับด้าน เพราะเวลาอ่านจะพลิกกลับอีกด้าน เพื่อใช้นิ้วคล้ำจุดที่นูนขึ้นมา

มหัศจรรย์ดวงตา
มีภาพแปลกๆให้ดู

ภาพที่มองได้หลายมุมมอง มีให้ดูหลายรูป และบางอันเคยเห็นในเว็บบ้างแล้ว

สนามยิงปืนเลเซอร์

ตรงนี้เด็กเข้าคิวเล่นกันเยอะเลย เป็นสนามยิงปืนเลเซอร์ เมื่อยิงจะมีเสียง แล้วผลคะแนน ก็จะปรากฏบนจอทันที

ผลิตภํณฑ์จากฮาร์ดดิสพัง

ฮาร์ดดิสที่พังแล้วเก็บข้อมูลไม่ได้แต่มอเตอร์มันยังหมุนได้ เขาก็เอามาทำอะไรต่างๆได้มากมาย ทำหุ่นเล่นดนตรี เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ฯลฯ

เครื่องเล่นห่วงกล

เครื่องเล่นห่วงกล กว่าจะเอาออกได้นี้ต้องใช้เวลาพอดูเลย

แผนที่กรุงเทพจากดาวเทียม

ไปหาดูว่าตอนนี้ตัวเองอยู่ตรงไหน

ดาราศาสตร์

ส่วนของดาราศาสตร์ ทำความรู้จักดาวต่างๆ ส่วนต่างๆของจรวด ระบบสุริยะ ฯฯ

Augmented reality

ระบบ Augmented reality เชื่อมระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือน

พับกระดาษ

พับกระดาษ เพิ่มความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ จะได้รู้ว่ากระดาษ

เรียนรู้เรื่องแสง

เรียนรู้เรื่องแสง มีหลายอย่างให้เรียนรู้ด้านใน การหักเหของแสง การผสมสีของแสง ทางเดินวงกตที่ทำจากกระจกเงา การเดินของแสงใน fiber optic

หนังสามมิติ

มีการอธิบายถึงการทำงานของภาพ 3 มิติ และฉายหนังสั้น 3 มิติ เกี่ยวกับไดโนเสาร์ ดูแล้วสนุกดี เพลินเลยทีเดียว

รถโตโยต้า ผ่าครึ่ง
ภาพรถยนต์

รถยนต์ ที่ผ่าให้เห็นถึงองค์ประกอบภายใน เบาะนั่งแบบต่างๆ

นาโนเทคโนโลยี

อธิบาย และให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี

ส่วนของ TK Park มี iPad ให้เล่นด้วย

iPad ตรงอุทยานการเรียนรู้ TK Park มีหนังสือภาษาไทยให้ลองอ่านเล่น (พบว่า iPad มี Cydia ด้วย)

ยังมีอีกหลายจุดที่ผมไม่ได้ไป งานใหญ่มาก เดินทั้งวันก็ไม่หมด ถ้าจะให้ดีต้องมาหลายวัน เด็กๆมาแทบจะทั่วประเทศ โดนเด็กตั้งคำตามว่า “พี่ค่ะ อันนี้ตัวแปรต้น คืออะไร” ตอบไม่ถูกเลยทีเดียว

แผนที่ ไบเทค บางนา
ดู ไบเทค บางนา ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nst2010.com/index.php

Exit mobile version