Creative Writing Workshop โดยวินทร์ เลียววาริณ

วินทร์ เลียววาริณ

โครงการอบรมวรรณกรรม Bangkok Creative Writing Workshop เมื่อวันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม 2555 วิทยากรในวันนั้นคือ คุณวินทร์ เลียววาริณ ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปกรุงเทพฯ

ไปเจอวิดีโอที่สมาชิกท่านหนึ่งเอามาแชร์ไว้ใน facebook group เป็นวิดีดอบันทึก workshop ที่คุณวินทร์ เลียววาริณ เป็นวิทยากร พูดคุยกันหลายอย่างเกี่ยวกับการเป็นนักเขียนในประเทศไทย เป็นวิดีโอเก่าที่ถ่ายไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว (พ.ศ.2555) ถึงจะบันทึกไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เนื่อหาก็ไม่ได้เก่าล่าสมัยแต่อย่างใด ยังคงสะท้อนถึงวงการหนังสือ การเป็นนักเขียน(คนที่เลี้ยงชีพด้วยการเขียนหนังสือ) เป็นยังไง รวมถึงตลาดคนอ่านในประเทศไทย คนไทยอ่านหนังสือน้อยอยู่แล้ว ส่งผลให้นักเขียนหน้าใหม่เกิดค่อนข้างยาก แต่เกิดได้ ต้องใจเย็นและมีการวางแผนการทำงานที่ดี ทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่งั้นก็ไปไม่รอด

นับว่าเป็นวิดีโอที่ดีมากๆสำหรับใครที่คิดอยากเป็นนักเขียน การพูดคุย ตอบคำถามกับคนฟัง ผ่านทางประสบการณ์การเป็นนักเขียนเรื่องสั้น วรรณกรรม นิยาย นิยายวิทยาศาสตร์ หรือแนวอื่นๆที่คุณวินทร์ได้เขียน ถือว่ามีประโยชน์กับหลายๆคนไม่ใช่เฉพาะคนที่อยากเป็นนักเขียน ร่วมไปถึงการเขียนแบบเล่าเรื่องทุกอย่าง แม้แต่ในการเขียนบล็อก การเขียนบทความวิชาการ ก็นำมาประยุกต์ใช้ได้ วิธีการวางพล็อตเรื่อง การหาข้อมูล การใส่รายละเอียด การใช้ภาษา การทำอย่างไรให้คนอ่านสนุก เรื่องต่างๆเหล่านี้มีความจำเป็นกับการเขียนที่ดีทั้งนั้น

ใครที่คิดว่าตัวเองอยากเป็นนักเขียนถือว่าเป็นการแชร์ประสบการณ์จากนักเขียนมืออาชีพที่น่าศึกษามากครับ แต่ใครที่ชอบงานเขียนของคุณวินทร์นั้นก็น่าดูอย่างยิ่งเช่นกันครับ เราจะรู้ว่าเขามีวิธีทำงานอย่างไร และทำยังไงให้อยู่ได้ในสายอาชีพนักเขียนได้อย่างไม่เดือดร้อนมากนัก แต่มีความสุขและสนุกกับงาน เป็นชุดวิดีโอที่สามารถดูซ้ำได้ไม่เบื่อ และทุกครั้งที่ดูซ้ำก็ได้อะไรใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาทุกครั้งเลย ขอแนะนำครับ

คลิป bacc literature – Bangkok Creative Writing 12-05-2012 (1/2)

คลิป bacc literature – Bangkok Creative Writing 12-05-2012 (2/2)

ปากกาหมึกซึม Parker

ปากกาหมึกซึม Parker

ตอนไปเดินซื้อของที่ศึกษาภัณฑ์ ราชดำเนิน บังเอิญไปเจอปากกาหมึกซึมแบบสูบเติมเอง ก็เลยอยากลองใช้บ้าง ราคาไม่แพงแท่งละ 30-40 บาท เลยซื้อมาลองเขียนเล่นขนาดของเส้นมันประมาณ 0.5 mm แต่ที่อยากได้คือเส้นที่ใหญ่กว่านี้หน่อย พี่ที่ไปด้วยแนะนำให้ไปเดินหาที่ Se-ed เซ็นทรัลเวิร์ล มีหลายยี่ห้อให้ลอง ก็ได้ลองหลายๆอันสุดท้ายมาลงตัวที่ Parker ขนาดเส้น 0.75 mm ราคาป้าย 890 บาท (แต่ตอนซื้อลด 20%) ใจจริงอยากได้เส้นใหญ่กว่านี้นะ แต่หารุ่นที่พอจะซื้อไม่ได้เลย แพงเกินไป ปากกาหมึกซึมตัวนี้รูปร่างหน้าตาของมันสวยใช้ได้เลยทีเดียว ก่อนออกจากร้านก็ให้สลักชื่อไว้แสดงความเป็นเจ้าของเสียหน่อย

สลักชื่อ

ใช้มาได้ประมาณสองสัปดาห์กว่าๆ เหมาะกับสมุดบันทึกแบบไม่มีเส้นของเรามาก เสียอย่างเดียวคือ หมึกที่ร้านเติมมาให้เป็นสีน้ำเงิน ใจจริงอยากได้สีดำมากกว่า คงต้องยอมใช้ไปจนกว่าจะหมด ค่อยเติมหมึกสีดำเข้าไปแทน ลูกสูบของมันเป็นแบบกระบอกเข็มฉีดยา การใช้งานก็ทำเหมือนกัน จุ่มแล้วดูดขึ้น

ปลายปากกา

การเขียนด้วยปากกาแบบนี้คงลื่นสู้ปากกาลูกลื่นสมัยใหม่ไม่ได้ แต่ให้ความรู้สึกต่างกัน ชอบการเขียนที่ไม่ต้องยกมือทุกตัวอักษรลากได้ลากไปแต่ต้องอ่านออกด้วยนะ หลังจากที่ได้ปากกามาก็เห่อใช้ปากกา เขียนเยอะขึ้นมากกว่าพิมพ์ ต้องรอดูว่าจะได้นานเท่าไหร่

หนังสือ พุทธทาสกับเซ็น อ่านแล้วครับ

หนังสือ พุทธทาสกับเซ็น

ชื่อหนังสือ: พุทธทาสกับเซ็น
บรรณาธิการ: กัญญา ชะเอมเทศ 
224 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 1 : กรกฎาคม 2552
สำนักพิมพ์: สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด 
ราคา 200 บาท

หนังสือ พุทธทาสกับเซ็น เป็นหนังสือรวบรวมภาพเซ็นต่างๆในโรงมหรสพทางวิญญาณประกอบคำอธิบายอันนี้จะอยู่บทแรก “ปริศนาธรรมเซ็น” ส่วนคำบรรยายของท่านพุทธทาส ซึ่งถอดมาจากการบรรยายธรรมของท่าน จะอยู่ในชุด บรรยายภาพปริศนาธรรมชุดจับวัว, ธรรมจากเชอร์แมน, โทรเลขเซ็น ท้ายเล่มมีซีดีเสียงบรรยายธรรมของท่านพุทธทาสแถมมาให้ได้ฟังด้วย ไม่อยากอ่านก็ฟังเอาก็ได้(ต้องดูภาพประกอบด้วยนะ)

ในบทสุทท้าย “เซ็น” เป็นบทกวีของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูล เป็นเรื่องราวของนิทานเซ็นที่คุ้นเคยกัน ในซีดีก็มีเสียงท่านมาอ่านบทกวีให้ฟังด้วยเช่นกัน

เนื้อหาเป็นภาพเซ็น พร้อมคำบรรยาย

ถ้าหากใครได้อ่านหนังสือ มังกรเซ็น ของวินทร์ เลียววาริณ มาก่อนจะอ่านเล่มนี้สนุกขึ้นอีกครับ เพราะเราจะรู้จักพระเซ็นที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้มากยิ่งขึ้น ส่วนตัวเองนั้นก็ไม่ใช่คนธรรมะธรรมโมอะไรมากมาย แต่ชอบศิลปะ โดยเฉพาะศิลปะที่เราเข้าใจว่าคนสร้างมันขึ้นมามีวัตถุประสงค์อะไร ถ้าเข้าใจศิลปะนั้นแม้สักนิด ผมว่าคนสร้างต้องดีใจ มีความสุขเป็นแน่ ว่าสิ่งที่เขาพยายามจะสื่อถึงเรานั้นเราเข้าใจนะ แม้จะมีคนมาชี้นำให้ก็ตาม คิดว่าคนทำงานศิลปะน่าจะมีความรู้สึกแบบนี้กันนะ

ท่านพุทธทาสและภาพเซ็น

บางทีการดูภาพแค่ไม่กี่ภาพอาจเข้าใจธรรมะได้มากกว่าอ่านพระไตรปิฎกทั้งเล่ม อย่างเช่น ท่านเหว่ยล่าง ท่านไม่รู้หนังสือ แต่รู้ธรรมะสูงสุดได้ น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าการบรรลุธรรมนั้น จะดู อ่าน ฟัง ปฎิบัติ คิด ใช้ทุกอย่างรวมกันหรือขาดบางอย่างไปก็บรรลุได้เช่นกัน

ซีดีบรรยายธรรมอยู่ท้ายเล่ม

หนังสือ ใช้ภาพเซ็น ประกอบกับคำบรรยายสั้นๆ มีกลอนของท่านพุทธทาสแทรกอยู่ในช่วงที่ท่านบรรยายเอง โดยท่านจะบรรยายภาพก่อนแล้วค่อยอ่านเป็นคำกลอนใต้ภาพ คำบรรยายนั้นยาวกว่าคำกลอน กลอนยาวกว่าประโยคไม่กี่คำที่ติดอยู่ภาพ และก็ภาพที่ไม่คำบรรยายเลย

หนังสืออ่านสนุกแป๊ปเดียวก็จบ นี้เป็นรอบที่สองที่หยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านจนจบอีกครั้ง

Sony เปิดตัวหูฟังใหม่ 3 ตัว ตระกูล Extra Bass (XB) สวยมาก

หูฟังรุ่นใหม่จาก Sony ในตระกูล Extra Bass (XB) เน้นเสียงเบส ความจริงก็ไม่ได้รู้เรื่องหูฟังนักหรอก แต่เปิดไปเจอข่าวการออกหูฟังตัวใหม่ของ Sony ซึ่งเราก็ใช้อยู่ มันดีไซด์ได้สวยถูกใจมาก ราคาถือว่าไม่แพงมากนัก ใน Store ของอเมริกาซื้อได้แล้วใน Store ของไทยยังไม่มีนะ ส่วนรายละเอียดเชิงเทคนิคเข้าไปดูตามลิงค์ของแต่ละตัวแล้วกันนนะครับ

  • รุ่น MDR-XB800 ราคา $159.99 (4,890 บาท)
  • รุ่น MDR-XB600 ราคา $99.99 (3,060 บาท)
  • รุ่น MDR-XB400 ราคา $59.99 (1,835 บาท)
สวยไม่สวยก็ดูภาพประกอบครับ อยากสักได้ตัวจังเลย
MDR-XB800
MDR-XB600
MDR-XB400
พับเก็บแบบนี้ได้ด้วย

via: https://www.cultofmac.com

Scrollbar ของ Mac ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Scroollbar ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ไปเจอรวม Scrollbar ของ Mac OS ตั้งแต่ปี 1981-2012 เรียกได้ว่าตั้งแต่อดีตเริ่มแรก(ต้นแบบ)จนถึงปัจจุบันเลยทีเดียว เห็นว่าน่าสนใจเลยเอามาฝากครับ แนวโน้มของมันจะเห็นได้ว่าดีไซด์จะไปแนวมีอะไรน้อยลงเรื่อยๆ อันล่าสุด OS X Lion กลายเป็นหายไปเลย จะโผล่มาเฉพาะตอนใช้งานเท่านั้น เรียบง่ายที่สุด ตามแนวของ สตีฟ จ๊อบส์ สไตล์

ที่มา: https://www.cultofmac.com

เรือของ Ponyo (เรือป๊อกแป๊ก)

มีใครยังจำหนังแอนนิเมชั่นของ Hayao Miyazaki แห่ง Ghibli Studio เรื่อง Ponyo (2008) ได้บ้าง ในเรื่องจะมีฉากหนึ่งที่ “ปอนโย๊ะ!” เสกเรือป๊อกแป๊กของโซสึเกะจากลำเล็กให้เป็นเรือลำใหญ่จนสามารถขึ้นไปนั่งได้เลย น่าประทับใจสุดๆ

เรือป๊อกแป๊ก ฝรั่งเรียก PopPop เป็นของเล่นโบราณ ชื่อของมันน่าจะมาจากเสียงของมันตอนวิ่งชิวไปบนน้ำพร้อมกับเสียง ป๊อกๆๆๆ นั้นแหละ  น่าจะเป็นของเล่นของเด็กในเมืองแหละ เพราะผมอยู่บ้านนอกยังไม่เคยได้เล่นอะไรแบบนี้เลย ขอรำลึกวิธีการเล่นดังนี้ครับ

วิธีการเล่นเรือป๊อกแป๊ก

เรือป๊อกแป๊ก ลำเล็ก

ตอนแรกต้องให้ปอนโย๊ะ! เสกเรือจากลำเล็กๆให้ใหญ่เสียก่อน

ขยายเรือ

พอเรือลำใหญ่แล้ว ก็เอาเรือลงน้ำได้แล้ว

ช่วยกันยกเรือลงน้ำ

ต่อไปดูให้ดี ที่ท้ายเรือจะมีท่อน้ำอยู่นะ

รูท่อน้ำ

ท่อนี้จะนำน้ำไปถึงด้านบนกระเป๊าะตรงโน้นเลยล่ะ

กระเป๊าะน้ำ

เอาล่ะต่อไปก็ต้องเป่าน้ำเข้าไปให้เต็ม

โซซึเกะ เป่าน้ำเข้าไปในท่อ

พอน้ำเข้าไปเต็มแล้ว ก็จุดเทียนเลย

จุดไฟทำเป็นเชื้อเพลิง

ไฟติดแล้ว ก็เอาเทียนไปลนบนกระเป๊าะน้ำ

ขยับเทียนให้ตรงกับกระเป๊าะน้ำ

รอสักครู่ ให้น้ำเดือดก่อนนะ

รอให้น้ำเดือดก่อนนะ

น้ำเริ่มจะเดือดแล้ว!

น้ำร้อนจนเดือดแล้ว

ไอความร้อนมีความดันสูงขึ้น มันก็ต้องหาทางออก ซึ่งทางออกก็อยู่ที่ท้ายเรือไง

แรงดันจากไอความร้อน เริ่มจะผลักออกมาตามท่อแล้ว

ดังนั้นเรือก็เลยถูกดันไปข้างหน้ายังไงล่ะ วิ่งไปเลย

วิ่งไปเลย

ถ้าอยากจะหยุดแล้วล่ะก็ ดับเทียนเลยนะ

เป่าเทียนให้ดับ

ดูเรือในการ์ตูนแล้ว มาดูเรือของจริงบ้างดีกว่า ผมซื้อมาจากคลองถม ราคาประมาณ 100 กว่าบาทมั้ง จำไม่ได้แล้ว ในกล่องมีตัวเรือกับเทียนสองเล่ม ซื้อมาตั้งแต่ช่วงน้ำท่วมปีที่แล้ว(พ.ย. 2554) เพิ่งจะเอามาเล่นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวเรือไม่ค่อยเหมือนในหนัง แต่ก็หลักการเดียวกัน

เรือป๊อกแป๊ก ของจริง

ปล่อยลงกะละมัง จุดเทียน น้องๆหนูๆจะเล่นควรให้ผู้ใหญ่ช่วยจุดไฟนะครับ แล้วเรือก็ร้องเสียงดัง พร้อมวิ่งวนรอบอ่างน้ำ อย่าลืมปรับหางเสือด้ายนะ

เอ่าดูคลิปสั้นๆ ถ่ายมามืดมาก แต่ฟังเสียงเอาแล้วกัน

ผ่าตุ๊กตาบาร์บี้ดูอวัยวะภายใน

ตุ๊กตาบาร์บี้ที่น่ารักของเด็กๆ ทั้งสวยสง่า แต่งองค์ทรงเครื่องได้หลากหลายแบบ เมื่อ Jason Freeny จับตัวเธอมาผ่าดูอวัยวะภายในจะเป็นยังไง ทั้งน่ารักและน่ากลัวปนกันไป หรือถ้าคุณอยากให้ลูกหลานตัวน้อยๆของคุณเป็นหมอก็ซื้อไปให้เล่นตั้งแต่เด็กๆได้เลย โตขึ้นจะได้ชินกับอวัยวะภายใน(ฮา)

แต่ช้าก่อน นี้เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างการผ่าดู Anatomy ผลงานของ Jason Freeny เขายังผ่าตุ๊กตาตัวอื่นๆที่คุณรู้จักดี เช่น มาริโอ้ คิตตี้(ยังโดนเลย) มิกกี้เมาส์ ตุ๊กตาจาก troy story, Star wars ฯลฯ ตามไปดูผลงานของเขาได้ที่ Facebook page แสดงขั้นตอนการทำให้ดูอย่างละเอียดเลยทีเดียว หรืออยากสั่งซื้อเอามาเก็บไว้ดูเล่นก็เข้าไปที่เว็บ Moist Production (น้องบาร์บี้ยังมีแค่เวอร์ชั่น Print อยู่นะครับ)

มาดูตุ๊กตาบาร์บี้โดนผ่า อย่างน้อยผมก็รู้แล้วว่าเธอเป็นผู้หญิงแน่นอน(ฮา)

The Real Anatomy of Barbie
The Real Anatomy of Barbie
The Real Anatomy of Barbie
The Real Anatomy of Barbie
The Real Anatomy of Barbie
The Real Anatomy of Barbie
The Real Anatomy of Barbie

ที่มา: https://www.bitrebels.com  via: https://scienceroll.com

[WordPress Plugin] SimpleReach Slide เพิ่มความสนใจให้คนอยู่ในบล็อกนานขึ้น

ไปเจอ plugin สำหรับ WordPress ตัวหนึ่ง ชื่อ SimpleReach Slide เมื่อติดตั้งมันจะสร้าง Slide แนะนำโพสที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ผู้ใช้กำลังเปิดอยู่ให้ เมื่อเราเลื่อนอ่านเนื้อหาจนสุดด้านล่าง หรือจะ scroll ลงไปเลยก็ได้นะ มันจึงจะโผล่ออกมา

ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ มันจะยังไม่โผล่มาจนกว่าคนใช้จะเลื่อนลงไปข้างล่างจนจบเนื้อหาที่เปิดอ่านอยู่ แต่เมื่อมันปรากฏขึ้นมาแล้วเวลาเราเลื่อนหน้าเว็บขึ้นมันก็จะหุบให้เล็กลง(แต่ไม่หายไปนะ) ถ้าใครยังนึกภาพไม่ออกว่ามันแสดงผลยังไงก็ดูตัวอย่างรูปด้านล่าง หรือไม่ก็เลื่อนหน้านี้ลงไปให้สุดด้านล่าง แล้วสังเกตุที่มุมขวาล่าง นั้นแหละความสามารถของมัน

เรียกได้ว่าถูกใจมากเลย จึงเอามาบอกต่อครับ

SimpleReach Slide ปลั๊กอินสำหรับ WordPress

ที่ดาวน์โหลดปลั๊กอิน SimpleReach Slide

Developer เขียนในคำอธิบายว่ามันจะเพิ่มจำนวน pageviews กับ time on site ให้เว็บไซต์ของคุณได้ พอดูแล้วก็อาจช่วยได้ส่วนหนึ่งเพราะตอนที่มันเด้งขึ้นมา ทำได้น่าสนใจทีเดียว เหมือนมีอะไรตอบสนองตอนเราเลือนจอ สรุปว่าชอบก็แล้วกันครับ

Graphic Design Principle 2nd edition หนังสือ หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์

Graphic Design Principle second edition

ชื่อหนังสือ Graphic Design Principle 2nd edition: หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์
ผู้แต่ง ปาพจน์ หนุนภักดี
บรรณาธิการ ปิยะบุตร สุทธิดารา
352 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 1 : มีนาคม 2555
สำนักพิมพ์ DIGI ART
ราคา 295 บาท

หนังสือเกี่ยวกับการออกแบบกราฟิกดีไซน์ มีหัวข้อที่หลากหลาย อ่านเพลิน ข้างในมีกรณีศึกษาแยกตามหัวข้อเยอะ หัวข้อเด่นที่ตัวเองชอบมากที่สุดก็คือ ตัวอักษรในงานกราฟิกดีไซน์ ทำให้รู้เรื่องเกี่ยวกับตัวอักษรเยอะขึ้น ทั้งประวัติ และแนวคิดของผู้ออกแบบ แม้จะไม่ละเอียดยิบแต่พอจับทางเรื่องของอักษรได้บ้าง และการออกแบบสัญลักษณ์ เป็นการยกตัวอย่างโลโก้ของบริษัทชื่อดังทั่วโลกที่เราคุ้นตาดี นำมาอธิบายแนวคิด บางอันมีพัฒนาการของโลโก้ของบริษัทที่มีการรีแบรนด์อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใหญ่เอาข้อมูลมาจาก Goodlogo.com ซึ่งเราก็รู้จักเว็บไซต์นี้จากหนังสือเล่มนี้เอง นอกจากนี้ยังมีส่วนอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น ความหมายประวัติความเป็นมาของกราฟิกดีไซน์ แนวความคิดในการออกแบบ การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น

ตัวอย่างเนื้อหา

ตัวอย่างการออกแบบโปสเตอร์หนัง

จัดกลุ่มตามรูปแบบการนำเสนอที่คล้ายกัน (เหมือนจะเคยเห็นที่ไหน?)

ตัวอักษรในงานกราฟิกดีไซน์

ได้ความรู้เกี่ยวกับตัวอักษรมากขึ้น เพิ่งจะรู้ว่า Serif คือตัวอักษรที่มีติ่งเล็กๆ ส่วน Sans-serif คือตัวอักษรที่ไม่มีติ่งยื่นออกมา Time New Roman ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ในหนังสือพิมพ์ The Times ตั้งแต่ปี คศ. 1931 ออกแบบโดย Victor Lardent เป็นฟอนต์อีกอันที่ใช้กันทั่วโลก และใช้งานต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน (คนออกแบบเนี้ย สุดยอดจริงๆ)

การออกแบบโลโก้

ตัวอย่างการออกแบบโลโก้รถยนต์ชื่อดังจากอิตาลี พร้อมประวัติความเป็นมาเป็นสั้นๆ น่าเสียดายหลายโลโก้กับระบุคนออกแบบเป็น นิรนาม ซึ่งในความคิดผมถ้าสืบค้นมากพอน่าจะหาเจอนะว่าใครเป็นคนออกแบบ หรือถ้าไม่รู้ ผมจะไม่ยกโลโก้นั้นมานำเสนอแม้จะเป็นกรณีศึกษาที่ดีก็ตาม

หัวข้อการออกแบบโลโก้ ทำให้รู้ว่าลุง Paul Rand มีงานออกแบบโลโก้ที่สุดยอดจริงๆ เช่น โลโก้ของ IBM, NeXT, Ford, YALE เป็นต้น

สรุปว่า เป็นหนังสืออีกเล่มที่อ่านสนุก เพลิดเพลิน ถ้าใครที่ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นหนังสือที่รวม case study ไว้เยอะพอสมควรเลยครับ สามารถเข้ามาหาแนวคิด แรงบันดาลใจข้างในหนังสือเล่มนี้ได้ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน ส่วนคนที่ชอบศิลปะทั่วไปก็อ่านสนุก และได้ความรู้เช่นกันครับ

การออกแบบ หน้าแรกของ 7 เว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยี

ตอนที่จะเปลี่ยนธีมใหม่ให้บล็อก มีอย่างหนึ่งที่อยากรู้คือส่วนใหญ่แล้วเว็บไซต์ดังๆเขาออกแบบหน้าแรกยังไง เว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่เข้าไปดูเป็นประจำก็คงหนีไม่พ้น 7 เว็บไซต์นี้ คือ AllThingsD, Engadget, Gizmodo, Mashable, SlashGear, TechCrunch และ The Verge ซึ่งสิ่งที่สนใจคือ หน้าแรกที่เราเปิดเข้ามาเจอเลย โดยที่ยังไม่เลื่อนลงด้านล่าง

ก็ใช้เครื่องตัวเองเป็น reference คือ แสดงผลใน Google Chrome ขนาดจอ 1280 x 800  ดังนั้นเอาทั้ง 7 เว็บไซต์มาดูทีละอัน ซึ่งเว็บไซต์ที่ชอบหน้าแรกมากที่สุด ขอยกให้ AllThingsD ส่วนเว็บไซต์อันอื่นดูดีในแบบของตัวเอง แต่ที่ชอบน้อยที่สุดก็ขอยกให้ SlashGear ที่ไม่ค่อยมีเอกลักษณ์มากนัก

ลองมาดูหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์

AllThingsD

AllThingsD หน้าแรกเป็นแบบเรียบง่าย ไม่มีโฆษณามารบกวนสายตา มีโพสเด่นสุดอยู่อันหนึ่ง กับลิงค์บทความอื่นๆด้านข้างอีก 3 อัน มีลิงค์หมวดต่างๆด้านบน มีช่องค้นหา เป็นหน้าแรกที่มีทุกอย่างที่ควรจะมีโดยที่ไม่ต้องเลื่อนดูด้านล่างก็ได้พอที่จะรู้ว่าเว็บนี้มีอะไรอยู่บ้าง จึงทำให้ชอบมากที่สุดเมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่นๆ

TechCrunch

TechCrunch มีโพสที่เป็นเรื่อง Hot Topic ให้เลือกคลิกอยู่ 4 เรื่อง แล้วก็เหลือบเห็นหัวข้อของโพสด้านล่างโผล่มานิดหน่อย ด้านบนยังมีเมนู และหมวดหมู่ให้คลิกได้ ที่น่าสนใจอีกอย่างคือทำส่วนของโฆษณาได้ลงตัวกลมกลืนไปกับเนื้อหา ดูมีช่องว่าง ไม่แออัดจนเกินไป

The Verge

The Verge  เป็นอีกเว็บหนึ่งที่ชอบ ทำหน้าแรกออกมาได้ค่อนข้างน่าสนใจ มีหัวข้อที่เป็นฟีเจอร์อยู่ด้านหน้ามีภาพประกอบโพสและสีพื้นหลังจางๆ มีหัวข้อให้คลิก มีช่องค้นหา ไม่มีโฆษณาให้เห็น

Gizmodo ดูเรียบๆ มองเห็นโพสอันใหญ่โดดเด่นอันเดียว มีโฆษณาเด่นที่ด้านขวา มองเห็นโพสล่าสุดด้านขวาประมาณ 3 อัน เป็นหน้าแรกที่เรียบและดูดีทีเดียว

Mashable

Mashable เน้นเรื่องการแชร์มาก แทบทุกโพสจะมีลิงค์แชร์ บางครั้งทำให้ดูรกตาไปหน่อย แต่มีโพสจุดเด่นอันใหญ่อันหนึ่ง กับอีกสองอันด้านข้าง มีลิสต์ของ Most shared ให้เห็น มีโฆษณาชัดเจนเป็นแบนเนอร์ด้านบนแต่ค่อนข้างกลมกลืน

Engadget

Engadget มีส่วนของแบนเนอร์โฆษณาที่อยู่ด้านบนเหมือนเป็นส่วนเกินของเว็บไซต์ไปเลย แต่ค่อนข้างดึงดูดให้คนดูเป็นพิเศษ และยังกระตุ้นให้ต้องเลื่อนลงข้างล่างด้วยสิ แต่ส่วนตัวไม่ค่อยชอบเท่าไหร่นัก ความฉลาดในการออกแบบอีกอย่าง นั้นคือการเอาโพสมาเป็นส่วนเฮดเดอร์ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ มีเมนูหมวดหมู่ให้คลิก มี Top Stories ให้เลือก

SlashGear

SlashGear คล้ายกับ Engadget มีโฆษณาอยู่ด้านบนอย่างชัดเจน แต่ไม่น่าดึงดูดเท่า มีฟีเจอร์โพสเรียงกันให้เลื่อนซ้ายขวาได้ มีเมนูของหมวดหมู่ และมองเห็นหัวข้อใหญ่ของโพสล่าสุดโผล่มานิดหน่อย

สรุป 
แต่ละเว็บมีแนวทางของตัวเองชัดเจน มีสีเฉพาะตัว มีโพสที่น่าสนใจไว้เด่นที่สุด เป็นกรณีศึกษาที่ดีได้ทั้งสิ้น แล้วเอามาปรับใช้กับเว็บของตัวเองต่อไป

Exit mobile version