หนังสือ The Handmaid’s Tale ฉบับ Graphic novel

เมื่อวานได้แนะนำหนังสือ หนังสือ To kill a mockingbird ฉบับ Graphic novel ไปแล้ว วันนี้มีอีกเล่มที่อยากแนะนำต่อ นั้นคือ The Handmaid’s Tale ฉบับ Graphic novel เหมือนกัน ดัดแปลงและวาดภาพโดย Renee Nault ตีพิมพ์เมื่อปี 2019 ภาพสีทั้งเล่มและน่าสะสมมาก

หนังสือ The Handmaid’s Tale ฉบับ Graphic novel

ทำความรู้จักกับหนังสือเล่มนี้ในเบื้องต้น
The Handmaid’s Tale เป็นนวนิยายแนวดิสโทเปีย โดย Margaret Atwood นักเขียนชาวแคนาดา ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1985 แต่ถึงปัจจุบันก็ยังยอดเยี่ยมและเป็นที่นิยม ขอจัดอยู่ในกลุ่มหนังสือคลาสสิคแนวเดียวกับ 1984, Fahrenheit 451 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมยุคที่ถูกกดขี่จากระบอบเผด็จการ ในหลาย ๆ สำนักถ้าจัดหนังสือหมวดดิสโทเปียที่ต้องอ่านจะต้องมีเล่มนี้ติด 1 ใน 5 แน่นอน

มาที่เนื้อหาในหนังสือ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้หลังสงครามกลางเมืองของอเมริกา ผลคือเมืองถูกปกครองโดยระบอบเผด็จการทหารแบบเบ็ดเสร็จ และยังมีภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมและอัตราการเกิดที่ลดลงเข้ามาเสริมด้วย เผด็จการทหารได้บังคับใช้บทบาททางสังคมที่เข้มงวดและคลั่งศาสนาสุด ๆ ใช้ระบบที่มีผู้ชายเป็นใหญ่ ส่วนผู้หญิงถูกกดขึ่และถูกบังคับให้ทำงานในบทบาทที่จำกัด แต่ละกลุ่มมีหน้าที่แตกต่างกัน มีชุดที่สวมใส่ที่แตกต่างกันด้วย ผู้หญิงบางกลุ่มที่ถูกเรียกว่า “Handmaid; สาวใช้” จะถูกบังคับให้ทำหน้าที่ผลิตเด็ก เพื่อเพิ่มประชากรป้องกันการสูญพันธ์ุ(โดยเฉพาะเผ่าพันธุ์ของคนระดับสูง) สาวใช้จะไม่อนุญาติให้มีทรัพย์สินหรือแม้แต่ชื่อตัวเอง แต่จะถูกเรียกว่า เป็นของใคร (Of-) เช่น ออฟเฟรด (Of-fred หมายถึง เธอเป็นของผู้บัญชาการชื่อเฟรด) ตัวเอกของเรื่องก็เป็นหนึ่งในคนใช้ มีหน้าที่ต้องผลิตลูกให้กับผู้บัญชาการคนหนึ่งของกลุ่มเผด็จการทหาร

ชีวิตของกลุ่มสาวใช้จะต้องอยู่ในเขตกักกัน พวกเธอจะออกไปทำหน้าที่ตามบ้านของเจ้าหน้าที่ระดับสูงตามเวลาที่กำหนด มีหลาย ๆ ฉากของการทำหน้าที่ของเธอ ที่อ่านแล้วสะเทือนใจอย่างมาก เช่น ขั้นตอนการทำหน้าที่ผสมพันธุ์ที่ทำเหมือนเป็นหนึ่งในพิธีกรรม ต้องมีภรรยาของผู้ชายผู้กระทำอยู่ในขั้นตอนนั้นด้วย ถูกปฏิบัติเหมือนเครื่องจักรผลิตเด็ก ส่วนใครที่พยายามหลบหนีจะถูกทำโทษอย่างรุนแรงต่อหน้าคนใช้คนอื่น ๆ แต่หลายคนก็ไม่ยอมจำนนและพยายามที่จะหลบหนีให้ได้

ปัจจุบัน The Handmaid’s Tale มีฉบับซี่รี่ย์ให้ได้ชมแล้ว สร้างตั้งแต่ปี 2017 ตอนนี้มี 4 ซีซั่นแล้ว (ยังไม่ได้ดูเหมือนกัน)

ฉบับ Graphic novel ที่เห็นอยู่นี้ ดัดแปลงและวาดภาพโดย Renee Nault ทำออกมาได้ดีมาก อ่านง่าย ภาพสวยมีสไตล์เฉพาะตัว แต่ฉากความรุนแรงนั้นไม่ได้ลดลงเลย (เห็นเป็นภาพสีสวยก็จริง แต่ไม่เหมาะกับเด็กเล็กนะ)

ขอแนะนำสำหรับคนที่อยากซื้อเก็บสะสมในหมวดหนังสือที่ต้องอ่านครับ

รายละเอียดหนังสือ The Handmaid’s Tale ฉบับ Graphic novel
ราคา 16 ยูโร สั่งมาจาก Amazon.de
Publisher ‏ : ‎ Nan A. Talese; Illustrated edition (26 Mar. 2019)
Language ‏ : ‎ English
Hardcover ‏ : ‎ 240 pages
Dimensions ‏ : ‎ 16.69 x 2.26 x 24.18 cm

หนังสือ To kill a mockingbird ฉบับ Graphic novel

มีเรื่องราวข้อพิพาทที่รุนแรงเกิดขึ้นระหว่างคนผิวสีกับคนขาว มีทนายความคนหนึ่งได้เข้ามาว่าความให้คนผิวสี เนื้อเรื่องค่อนข้างซีเรียสแต่เรื่องราวถูกเล่าเรื่องผ่านกลุ่มเด็ก ๆ ลูกของเขาที่การมองโลกเป็นไปแบบซื่อ ๆ และตรงไปตรงมา ดังนั้นสิ่งที่เด็ก ๆ พบเห็นในเรื่อง มันแสดงให้พวกเขาเห็นถึงสิ่งที่พวกผู้ใหญ่ทำไม่มีความถูกต้องเป็นอย่างมาก และมันก็สะท้อนกลับไปที่ตัวของเด็กเองว่าเมื่อพวกเขาโตไปจะไม่ทำอะไรแบบผู้ใหญ่ทำกัน และส่วนสำคัญของหนังสือเล่มนี้ คือทนายความได้สอนวิธีการมองโลกและการใช้ชีวิตในสังคมให้กับลูก ๆ ของเขาได้ดีมาก ๆ

หนังสือเล่มถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1960 และถูกแนะนำให้เป็นหนึ่งในหนังสืออ่านนอกเวลาของเด็กอเมริกัน ซึ่งเป็นความพยายามสร้างค่านิยมการไม่เหยียดความเป็นมนุษย์ของคนอื่น และเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกันอย่างเห็นอกเห็นใจ
แม้ว่าการเหยียดกันในสังคมปัจจุบันยังคงมีอยู่ แต่ถ้าคนในยุคนั้นบอกว่าในอนาคตจะมีประธานาธิบดีของอเมริกาเป็นคนผิวสีคงไม่มีใครเชื่อแน่ ๆ เพราะคุณค่าของคนผิวสีในยุคนั้นมันถูกมองว่าต่ำมาก ๆ อย่างไรก็ตามไม่มากก็น้อยหนังสือเล่มนี้มีส่วนในการผลักดันค่านิยมการยอมรับผู้อื่นอย่างเป็นธรรมให้ดีขึ้นอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอน

หนังสือ To kill a mockingbird ฉบับ Graphic novel

ในปีที่แล้วได้อ่านหนังสือเล่มนี้และก็จัดให้เป็นหนึ่งในหนังสือที่ชอบในปี 2021 อีกด้วย ส่วนอันที่ได้มานี้คือฉบับ Graphic novel ดัดแปลงและวาดโดย Fred Fordham ทำออกมาตั้งแต่ปี 2018 รีวิวสั้น ๆ ว่าภาพสวยและเนื้อหาครบถ้วนดีมาก
ตอนที่อ่านฉบับหนังสือธรรมดาเราก็จะพยายามจินตนาการตามตัวอักษร ถึงสภาพแวดล้อม ผู้คน หรือการแต่งตัวของคนอเมริกันในยุคนั้น แต่ว่าเราไม่ใช่คนพื้นถิ่น บางครั้งจึงนึกภาพตามได้ลำบาก ฉบับสมุดภาพทำออกมาให้ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ทำให้เห็นภาพชัดเจนและง่ายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการมีอีกฉบับเก็บไว้และนำมาเปิดอ่านอีกครั้งน่าจะดีไม่น้อย

และสุดท้ายขอแนะนำสำหรับใครที่ไม่ชอบอ่านหนังสือที่มีแต่ตัวหนังสือ อ่านแบบเป็นภาพประกอบก็ได้ เพราะนี้เป็นหนังสืออีกเล่มที่ควรค่าที่จะได้อ่านจริง ๆ

รายละเอียดหนังสือ To kill a mockingbird ฉบับ Graphic novel
ราคา 15 ยูโร สั่งมาจาก Amazon.de
Publisher ‏ : ‎ William Heinemann; 1st edition (30 Oct. 2018)
Language ‏ : ‎ English
Hardcover ‏ : ‎ 288 pages
Dimensions ‏ : ‎ 17.1 x 3.1 x 24.2 cm

V for Vendetta introduce himself with amazing dialogue

V for Vendetta

Last weekend, I read the masterpiece of Alan Moore, “V for Vendetta” again, then watched the same name’s film adaptation. And I realized how cool it was that V introduced himself to Evey in the film, not even seen this dialogue in the graphic novel version in the epic scene. (however, in the graphic novel preset all chapter title with V words)

I would say this is one of the best presents of the character in the film I’ve seen. In that scene, V answered the question that Evey asked him who he is. He responded to the question with many of the V words. How’s fantastic it was. Let you see and count them by yourself.

“On this most auspicious of nights permit me then, in lieu of the more commonplace sobriquet to suggest the character of this dramatis persona.

Voilà!

In view, a humble vaudevillian veteran cast vicariously as both victim and villain by the vicissitudes of fate.

This visage, no mere veneer of vanity is a vestige of the vox populi, now vacant, vanished.

However, this valorous visitation of a bygone vexation stands vivified and has vowed to vanquish these venal and virulent vermin vanguarding vice and vouchsafing the violently vicious and voracious violation of volition.

The only verdict is vengeance, a vendetta held as a votive not in vain, for the value and veracity of such shall one day vindicate the vigilant and the virtuous.

Verily, this vichyssoise of verbiage veers most verbose. So let me simply add that it’s my very good honor to meet you and you may call me V.”

V for Vendetta film by Warner bros.
Exit mobile version