งานเปิดตัว Google Street View ประเทศไทย

เมื่อวาน (วันที่ 24 มีนาคม 2555)ไปงานเปิดตัว Google Street View ประเทศไทยมาครับ ในอีเมลเชิญไม่บอกว่าเป็นอะไรเขียนประมาณว่า “เปิดตัวนวัตกรรมล่าสุดของ Google สำหรับประเทศไทย” แต่คาดกันว่าคงจะเป็น การเปิดตัวการใช้งานแผนที่ Google Street View ในประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้าวันงานหนึ่งวันเราก็ได้ทดลองใช้งานแล้ว แต่ถือว่างานนี้เป็นการเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วกัน งานจัดที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร งานเริ่มตอนประมาณ 1 ทุ่ม

ขอเล่าผ่านรูปถ่ายนะครับ จะมีรายละเอียดแทรกตามไปด้วย

รถเก็บภาพ street view

กว่าจะเดินทางไปถึงที่หอศิลป์ฯก็เกือบจะ 1 ทุ่มครึ่งแล้ว อยู่ด้านหน้ามีรถที่ติดกล้องที่ใช้ในการเก็บภาพ Street view จอดโชว์อยู่ 2 คัน ได้รับความสนใจจากคนเดินผ่านไปมาพอสมควร มีการหยุดถ่ายรูปเป็นระยะ รถแบบนี้ในประเทศไทยทั้งหมด 15 คัน เปิดตัวตั้งแต่กลางปีของปีที่แล้ว

the Street View Trike

เมื่อเข้าไปในงานก็มีจักรยานที่ติดกล้องสำหรับเก็บภาพ street view สำหรับการเข้าไปเก็บภาพในที่ที่รถยนต์เข้าไม่ได้ หรือที่ที่ต้องการรายละเอียดเยอะๆเช่นโบราณสถาน ที่ท่องเที่ยว มันถูกเรียกว่า “the Street View Trike” ค้นไปเจอวีดีโอแนะนำ เลยเอามาแปะให้ดูด้วยครับ

ในห้องเปิดตัวเข้าไป กำลังอยู่ในช่วงพนักงานที่ขับรถ Street View ไปเก็บภาพทำแผนที่กำลังแชร์ประสบการณ์การทำงาน ที่ต้องเข้าทุกซอกซอยของกรุงเทพฯที่เรียกได้ว่าเป็นเมืองที่มีซอยเยอะมากๆ

พนักงานทำ Street View กำลังมาเล่าประสบการณ์ในการทำงาน

พนักงานที่ขับรถทำแผนที่ตอนที่ออกไปทำงานเก็บภาพจะทำแค่คนเดียว หนึ่งคนต่อหนึ่งคัน ดังนั้นจะต้องมีทักษะด้านรถยนต์บ้าง ซ้อมรถเล็กๆน้อยๆ เปลี่ยนยางเองได้ มีความรู้เรื่องฮาร์ดแวร์ของกล้องบนรถบ้าง เดินทางไปต่างจังหวัดได้ ใครคิดว่ามีคุณสมบัติดังกล่าว ติดต่อทีมงานทาง Google+ ประเทศไทย หรือคุณพรทิพย์ ได้เลยครับ ทีมงานกำลังจะเปิดรับเพิ่ม

เปลี่ยนยางรถยนต์เอง ตั้งกล้องถ่ายเองด้วย

ลักษณะการทำงานก็จะเป็นมาตรฐานเดียวกัน คือ ออกไปเก็บภาพ ส่งเข้าระบบแสกนเบลอข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ป้ายทะเบียนรถ หน้า บ้านเลขที่ เป็นต้น จะทำแผนที่ในถนนสาธารณะเท่านั้น มีวีดีโอเบื้องหลังการทำงานแบบการ์ตูนน่ารักๆให้ดูครับ

ทำการ์ตูนออกมาน่ารักจัง!

การเก็บภาพและการรวมเป็นภาพเดียว

การบันทึกภาพของ Google Street View จะเป็นการเก็บภาพทีละภาพ แล้วนำมาต่อกันเป็น แบบ 360 องศา ให้อารมณ์เหมือนว่าเรายืนอยู่ตรงนั้นพอดี

กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก๊ต

Google Stress View ของประเทศไทย เป็นประเทศที่ 35 ของโลกที่มี Street View กล้องที่ใช้ทำแผนที่เป็นรุ่นใหม่ทำให้ได้ภาพที่คมชัด ได้ภาพที่เคลียร์และดีกว่าหลายๆประเทศที่ทำไปก่อนหน้านี้ และตอนนี้เปิดให้ใช้แล้ว 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการเก็บข้อมูล ทีมงานบอกว่าเนื่องเพราะน้ำท่วมช่วงปลายปีด้วยทำให้การทำงานล่าช้าไป ในจังหวัดอื่นๆต่อไปน่าจะเร็วขึ้น เป้าหมายของทีมงานคือเก็บให้ครบทุกจังหวัด

แคมเปญ My Miracle Thailand

Google ได้การท่องเที่ยวประเทศไทยเป็นพันธมิตร ทำให้ทำงานได้สะดวก และคิดว่าจังหวัดที่ถูกเก็บข้อมูลก่อนน่าจะเป็นกลุ่มจังหวัดท่องเที่ยวดังๆของไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยว ซึ่งก็มีแบบสำรวจก่อนหน้านี้ที่บอกว่าสถานที่ที่มี Google Street View มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นด้วย ข่าวที่น่าสนใจอีกอย่างคือ มีการเข้าไปเก็บ Street View ด้วยเรือในแม่อะเมซอนแล้ว อาจนำมาใช้ประเทศไทยที่มีการสัญจรทางน้ำเยอะอันดับต้นๆของโลก

ภาพตัวอย่าง การเก็บภาพ Street view ในต่างประเทศ ในสถานที่สำคัญๆ

นอกจากนี้ Google และการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ยังได้ออกแคมเปญร่วมกัน ชื่อ My Miracle Thailand โดยเปิดโอกาสให้คนไทยส่งสถานที่ที่อยากให้มี  Street View บนแผนที่และก็ช่วยกันโหวต สถานที่ที่ได้คะแนนสูงสุดจะถูกทำลง Street View ก่อน ด้วยเจ้าจัการยานปั่น Street View Trike คันนั้นนั่นเอง ในเว็บไวต์ตอนนี้ ปาย มีคะแนนนำนะครับ ใครอยากส่งบ้างเข้าไปดูรายละเอียดหรือร่วมโหวตได้ที่เว็บไซต์ My Miracle Thailand

Andrew McGlinchey

ถัดจากนั้น Andrew McGlinchey : Head Product Manager ของ Southest Asia ออกมาพูดเรื่องของ API การใช้งาน เชียร์ Android สุดๆ iOS ใช้ HTML5 เท่านั้น และเพิ่งรู้ว่ามีการนำ Street View ไปใช้ในเกมด้วยนะ และแนะนำการใช้งานทั่วๆไปเล็กน้อย (เขียนแยกอีกหัวข้อดีกว่าครับ)

มีถาม-ตอบ เยอะพอสมควร ที่น่าสนใจเช่น เน็ตบ้านเราผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่ค่อนข้างช้าการใช้งานอาจจะมีปัญหาได้ ยังไม่มีทางแก้ในทางเทคนิค ใช้ Wifi ไปก่อน! , นำ Street view ไปใช้ใน E-book ได้(HTML5), การใช้งานของ user ทั่วไปฟรี แต่ถ้าการดึงข้อมูลของ Google Street View ไปใช้เยอะเกินไปไม่ฟรีนะ!  เป็นต้น

แต่คำถามหนึ่งที่เป็นอีกมุมมองที่ควรให้ความสนใจเช่นกัน คือการนำข้อมูลของ Street View ไปใช้ในการก่อการร้าย วางแผนทำเรื่องไม่ดี คุณพรทิพย​์ ตอบคำถามได้ประทับใจผมครับ คือ การเปรียบเทียบกับมือถือที่มันมีประโยชน์อย่างที่ไม่มีใครปฎิเสธได้ แต่ก็มีคนร้ายนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการจุดระเบิด หรืออื่นๆในการก่อการร้าย ความผิดคงไม่ได้อยู่ที่มือถือ แต่อยู่ที่การใช้งาน เช่นเดียวกัน Google Street View มีประโยชน์มากมาย ทั้งการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ของท้องถิ่น การเดินทาง ฯลฯ ถ้าคนร้ายนำไปใช้ในอีกด้านก็เป็นไปได้ แต่เราชั่งน้ำหนักแล้วว่ามันมีประโยชน์กับคนส่วนใหญ่มากกว่า

สุดท้ายตามธรรมเนียมตอบคำถามแจกเบาะ

พี่ป้อม ภาวุธ ได้รางวัลไป

ขอจบบล็อกด้วยรถ Google Street View ครับ

รถ Google Street view
รถ Google Street view
รถ Google Street view

ใช้งาน Google Street View ได้ที่ https://maps.google.com/

NAC2012 นิทรรศการ รู้ สู้ พิบัติภัย ไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

NAC2012 ประชุมวิชาการประจำปี สวทช.

NAC 2012(NSTDA Annual Conference 2012) เป็นงานประชุมวิชาการประจำปีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในปีนี้ หัวข้อของการประชุมคือ “รู้ สู้ พิบัติภัย ไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” งานจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24-28 มีนาคม 2555 ณ ห้องจัดแสดงนิทรรศการ อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี แผนที่

กิจกรรมต่างๆที่ท่านจะพบในงานนี้

ประชุมวิชาการ

26-28 มีนาคม 2555 ตัวอย่างหัวข้อประชุม ที่น่าสนใจ

  • มองไปข้างหน้ากับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ
  • จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมอาหารและภาคเกษตรไทย: บทเรียนและโอกาสจากภัยพิบัติ
  • การเตรียมความพร้อมรับมือกับ emerging technology (NanoSafety Roadmap)
  • แผนพลังงานทดแทนความท้าทายของชาติ
  • การปรับตัวของเกษตรกรในภาวะน้ำท่วม
  • สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของหัวข้อประชุมวิชการทั้งหมดได้ที่  ประชุมวิชาการ NAC2012

นิทรรศการต่างๆมากมาย

  • นิทรรศการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
  • รู้ สู้ ภัยพิบัติ ไปกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • นิทรรศการการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการเจรจาธุรกิจ
  • นิทรรศการงานวิจัยและพัฒนา
  • ผลงานจากการประกวด นวัตกรรมไทยสู้ภัยน้ำท่วม ที่จะนำมาจัดแสดงที่นี้เป็นแห่งแรก

กิจกรรมครอบครัว “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย…รู้ สู้ภัยพิบัติ” 

กิจกรรมครอบครัวที่ให้ผู้ปกครองนำลูกน้อยวัย 3-10 ขวบ มาเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเสริมความรู้วิทยาศาสตร์และความสนุกไปพร้อมๆกัน ถือเป็นกิจกรรมสุดสัปดาห์ที่ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว

กิจกรรมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ

เยี่ยมชมศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัย ชมการปฎิบัติงานจริงของนักวิจัย เพื่อช่วยให้เช้าใจเทคโนโลยีชีวภาพมากขึ้น

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและลงทะเบียนออนไลน์ฟรีได้ที่  https://www.nstda.or.th/nac2012//index.php

ถ้าหากใครไม่สะดวกร่วมงานทางผู้จัดงานยังมีระบบชมการถ่ายทอดสดออนไลน์ที่หน้าเว็บไซต์ได้ตลอดงานอีกด้วย

Convert Units แอฟฟรีแปลงหน่วยวัด

Convert Unit App

เจอปัญหาต้องแปลงหน่วยของปริมาตรสารเคมีอยู่บ่อยครั้ง อย่างเช่น ลิตร(L) ลูกบาตรเซ็นติเมตร(cu cm) เป็น ลูกบาตรเมตร(cu m) หรือ ลูกบาตรนิ้ว(cu in) นั่งคิดนานมาก คงโง่โดยแหละ! กลัวคำนวณผิดด้วย เลยลองหาเครื่องมือช่วย ค้นไปเจอแอฟฟรีตัวหนึ่ง ชื่อ Convert Units for Free พบว่านอกจากจะมีตัวแปลงหน่วยปริมาตรที่เราต้องการแล้ว ยังมีหน่วยวัดอื่นๆด้วย เช่น มุม พื้นที่ พลังงาน อุณหภูมิ เวลา น้ำหนัก ความยาว เป็นต้น ถือว่าเป็นแอฟฟรีตัวเล็กๆที่มีประโยชน์มาก ตอบโจทย์ตามที่ต้องการเลยล่ะ เลยเอามาบันทึกและแชร์ให้คนที่สนใจโหลดติดเครื่องไว้ไม่เสียหลายขนาด 5.7 MB รองรับทั้ง iPhone, iPod, iPad iOS 4.0 ขึ้นไป

ดาวน์โหลด Convert Unit for Free (iOS)

Wolfam Alpha and Unit Circle

ค่า tan3 แบบ radian และ tan3 แบบองศา

เมื่อสองสามวันก่อนได้ใช้งาน wolfram alpha ช่วยคำนวณหาค่าของ tan(3) ซึ่ง 3 ในที่นี้ของเราคือ มุม 3 องศา ก็พิมพ์เข้าไป พบว่าได้ค่าหนึ่งออกมา tan3 = -0.1425 ซึ่งเราก็เอาไปใช้งานต่ออย่างไม่ได้คิดอะไร เพราะคิดว่าน่าจะถูกต้องแล้ว พอนำข้อมูลที่ได้ไปโปรเกรสงาน กลับพบว่าค่าของ tan(3) ใน wolfram alpha กับเครื่องคิดเลขได้ค่าออกมาไม่เท่ากัน ซึ่งในเครื่องคิดเลขคำนวณ tan(3) = 0.0524 จึงได้รู้ว่าการหาค่า sin, cos, tan มันมีวิธีการใส่ค่าสองแบบ คือ แบบ radian(0-2π หรือ 0-6.283) กับ degree(องศา 0-360°) ซึ่งทั้งสองค่าก็สามารถเปลี่ยนกลับไปมาได้ด้วยการเทียบแบบธรรมดาคือ 2π =360° เขียนเป็นสมการในการแปลงค่าได้ว่า

degree = radian × π/180

radian = degree × 180/π

แบบที่เข้าใจได้ง่ายๆ คือ 1 radian = 57.295 องศา หรือ 1 องศา = 0.0174 radian

ดูรูปนี้แล้วน่าจะเข้าใจมากขึ้น

Unit circle ที่มา: https://www.flickr.com/photos/26661581@N07/

สรุปได้ว่า อะไรแบบนี้เราเรียนมาตั้งแต่มัธยมแล้วพอไม่ได้ใช้นานๆก็ลืม เลยต้องมาเตือนความจำไว้ว่า ตอนใส่ค่าลงไปคิดก่อนว่าเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณมันมีค่า default เป็นอะไร ใน wolfram เป็น radian ในเครื่องคิดเลขเป็น องศา (คงแล้วแต่รุ่นและการตั้งค่าด้วย) ทางที่ดีเช็คด้วยการคำนวณด้วยมืออีกทีเพื่อความมั่นใจ

ต่อไปถ้าจะคำนวณพวก sin, cos, tan ใน wolfram alpha ต้องคูณ π/180 เข้าไปด้วย อย่างเช่น tan 3° ให้พิมพ์แบบนี้ครับ tan(3*pi/180)

ข้อมูลเพิ่มเติ่ม radian to degree , Unit circle

Exit mobile version