หนังสือที่ได้จาก งานสัปดาห์หนังสือ 29 มีนาคม – 8 เมษายน 2556

หนังสือที่ได้มาจากงานสัปดาห์หนังสือ

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 41 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 11
(41st National Book Fair and 11th Bangkok International Book Fair 2013)
ระยะเวลาแสดงงาน วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม – วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน 2556 
สถานที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ตามธรรมเนียมของเรา ไปงานสัปดาห์หนังสือแล้วก็เอามาอวดว่าเราได้หนังสืออะไรมาบ้าง ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีหนังสือที่ค้างอ่านอยู่แล้ว 3 เล่ม แต่มีความตั้งใจจะไปซื้อ “ไอน์สไตน์ โดย วอลเตอร์ ไอแซคสัน” แค่เล่มเดียว แต่สุดท้ายได้กลับมาหลายเล่มเลย มีหนังสือเก่าที่น่าอ่านปนอยู่ด้วย เห็นว่าราคาถูกและน่าสนใจเลยหยิบติดมือมาครับ

รายการหนังสือที่ได้มาจากงานสัปดาห์หนังสือครับ

  1. ไอน์สไตน์ โดย วอลเตอร์ ไอแซคสัน – ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ และคณะ แปล, สำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊ค
  2. โลกเครือข่าย – รอฮีม ปรามาท, สำนักพิมพ์โพสต์บุ๊ค
  3. ชีวิตคือปาฎิหาริย์! (หนังสือเสริมกำลังใจ ชุด 8) – วินทร์ เลียววาริณ, สำนักพิมพ์ 113
  4. คดีล่าคนเจ้าชู้ (นิยายนักสืบ พุ่มรัก พานสิงค์ ชุด 5) – วินทร์ เลียววาริณ, สำนักพิมพ์ 113
  5. เซนว่าง-ว่างเซน – วินทร์ เลียววาริณ, สำนักพิมพ์ 113 (หนังสือแถม ถ้าซื้อครบ 2 เล่ม)
  6. ปฎิบัติการหนังทุนข้ามชาติ-filmvirus – สนธยา ทรัพย์เย็น, ทีฆะเดช วัชรธานินท์, สำนักพิมพ์ openbooks
  7. 151CINEMA-filmvirus – อุทิศ เหมะมูล, ธเนศน์ นุ่นมัน, สำนักพิมพ์ openbooks
  8. The Chemistry of Movie: มหา’ลัย เหมืองแร่ – ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา บรรณาธิการ, สำนักพิมพ์ openbooks
  9. โมเลกุล เปลี่ยนประวัติศาสตร์ กระดุม นโปเลียน เปลี่ยนโลก – Penny Le Couteur, Jay Burreson เขียน, ดร.ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย แปล, สำนักพิมพ์มติชน
  10. ฟายน์ แมน อัจฉริยะโลกฟิสิกส์ – Ralph Leighton เขียน, นรา สุภัคโรจน์ แปล, สำนักพิมพ์มติชน
  11. ฟายน์ แมน อัจฉริยะอารมณ์ดี – Ralph Leighton เขียน, นรา สุภัคโรจน์ แปล, สำนักพิมพ์มติชน

แจกแอพ WBC Counter for Android ฟรีครับ (แอพเขียนเอง)

แอพพลิเคชั่น WBCCounter

WBCCounter เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับมือถือ Android ครับ ไอเดียง่ายๆครับ นักเทคนิคการแพทย์จะเป็นคนแยกชนิดของเม็ดเลือดขาวจากเลือดตัวอย่างหลังจากย้อมสีแล้วโดยใช้กล้องจุลทรรศน์มองด้วยตาเปล่า อาศัยความเชี่ยวชาญ และทักษะในการคัดแยกชนิด โดยจะรายงานแยกเป็นเปอร์เซนต์ ในโรงพยาบาลทั่วไปในปัจจุบันมือเครื่องอัตโนมัติวิเคราะห์ให้อยู่แล้ว แต่วิธีมาตรฐานที่ต้องย้อมสีและดูโดยผู้เชียวชาญนั้นยังต้องทำควบคู่กันไป

เวลานับแยกชนิดของเม็ดเลือดขวาเราจะเลื่อนสไลด์ไปเรื่อยๆเมื่อเจอเม็ดเลือดขาวเราจะจำแนกชนิด และเลื่อนเพื่อหาตัวถัดไป ทำไปเรื่อยๆจนครบหนึ่งร้อยตัว จึงจะสรุปออกมาว่าในหนึ่งร้อยตัวมีเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ ปัญหาคือ อยู่ในแลปจะมีเครื่องกดเหมือนเครื่องคิดเลขให้ครับ ครบร้อยมันก็จะร้องเตือน แต่ที่ทำงานไม่มีครับ จะเอามือขีดนับทีละตัวก็กะไรอยู่ มือถือก็มี แอพก็ไม่น่าจะยาก สรุปเลยเขียนมาเป็นแอพไว้ใช้เองเลยดีกว่า แต่เขียนแล้วก็อยากจะแชร์ด้วย

ขั้นตอนการเขียน

เนื่องจากเป็นแอพไม่ยากนัก ใช้ https://appinventor.mit.edu ช่วยเขียนก็เอาอยู่ เขียนไปเขียนมาเริ่มสนุก เลยเพิ่มฟีเจอร์เล็กๆน้อยๆเข้าไป เพื่อความสนุก เช่น กดแล้วมีเสียง ก็ใช้ iPod Touch อัดเสียงเพื่อนๆที่ทำงานมาใส่ ต้องขอบคุณ พี่ๆน้องๆทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ เป็นเสียงดีดนิ้ว ผิวปาก อะไรทำนองนี้ ต้องลองเดาดูว่าเป็นเสียงอะไร เพิ่มกดแล้วสั่น ตอนรายงานผล บอกด้วยว่าค่าที่ได้ปกติหรือผิดปกติหรือไม่ ใช้เวลาเขียนจริงๆไม่นานประมาณ 2-3 ชั่วโมง

วิธีใช้

มันเป็นแอพสำหรับนักเทคนิคการแพทย์ คิดว่าแค่เห็นก็น่าจะใช้เป็นอยู่แล้ว แต่ก็ได้ทำลำดับบังคับอยู่นิดๆว่าต้องทำยังไงก่อน ถ้าไม่กดปุ่มนี้ก่อนก็ทำงานต่อไม่ได้ อะไรประมาณนี้

  1. โหลดโปรแกรมมาติดตั้งก่อน WBCCounter.apk ดาวน์โหลด รับรองความปลอดภัยครับ ไม่มีไวรัส ไม่มีโฆษณา
  2. ติดตั้ง แล้วเปิดแอพขึ้นมา
    แอพพลิเคชั่น WBCCounter

    ใส่ชื่อ subject, reporter อันนี้ไม่ได้บังคับใส่

  3. กด Start ต้องกดก่อน ไม่งั้นปุ่มกดนับจะไม่สามารถกดได้ แล้วเราก็พร้อมนับแล้ว

    WBCCounter เริ่มกดนับได้แล้ว

  4. เมื่อเราดูสไลด์และนับจำแนกไปเรื่อยๆจนครบ 100 ตัว โปรแกรมจะเตือนว่า “ครบแล้วครับ” และไม่สามารถกดปุ่มชนิดของเม็ดเลือดขาวได้อีก จากนั้นกดปุ่ม Report ครับ

    ครบ 100 ตัวแล้ว

  5. หน้าตาของการรายงานผลเป็นแบบนี้ครับ
    รายงานผล

    มีบอกช่วงปกติ ถ้าแสดงสีตัวอักษรเป็นสีแดง แสดงว่ามีค่าที่ผิดปกติไป

  6. กด back กลับไปหน้าที่แล้ว ถ้าจะเริ่มนับใหม่ก็กดปุ่ม Reset และกด Start เพื่อเริ่มนับใหม่อีกครั้ง

พอลองเล่นไปสักพัก ต้องมีเขียนเพิ่มอีกนิดคือ ให้มันมีปุ่มปิดเสียง กับปุ่ม undo ไว้ใช้ตอนกดผิดปุ่ม และชนิดของเม็ดเลือดขาวทั้ง 5  ชนิด จะพบได้ในคนปกติทั่วไป ซึ่งยังมีเม็ดเลือดขาวและเซล์ชนิดอื่นๆที่อาจพบได้ แต่ไม่ได้เอาเข้ามาด้วย ในอนาคตอาจทำปุ่มแยกต่างหากเข้ามาด้วย

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจนะครับ

QRCode WBCCounter

Exit mobile version