เว็บตรวจสอบการคัดลอกงานวิจัย Plagiarism detection Tool

Free Online Plagiarism Detection Tool

Plagiarism หรือ การคัดลอกผลงาน ในการเขียนบทความวิชาการถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าหากถูกตรวจพบว่างานเขียนนั้นมีการคัดลอกมาจากผลงานของผู้อื่น หรือมีการนำข้อมูลมาแสดงโดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง จะถือว่าผู้เขียนงานชิ้นนั้นมีความผิดทันที นักวิชาการหรือนักวิจัยที่ต้องเขียนบทความทางวิชาการจึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก แต่บางครั้งการเขียนบทความวิชาการ ผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจให้มี plagiarism ในงานเขียนของตัวเอง แต่อาจเกิดจากการเผลอเลอ อย่างไม่ได้ตั้งใจ การตรวจสอบ plagiarism ในงานเขียนจึงเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ และให้ความสำคัญอย่างมาก เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบมีหลายอย่าง ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่าย และนี้คืออีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยในการตรวจสอบ Plagiarism ซึ่งสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง และไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน นั้นคือ Dupli Checker Free Online Plagiarism Detection Tool

วิธีการใช้งานสะดวก และรวดเร็ว

  1. เข้าไปที่เว็บ https://www.duplichecker.com/
  2. Copy ข้อความที่เขียนขึ้นใส่ลงในช่องใส่ข้อความ หรืออับโหลดไฟล์เอกสารเข้าไปก็ได้
  3. คลิกเลือก search engine ในการค้นหา แนะนำ Google
  4. คลิก search
  5. ดูการแสดงผล สีแดงคือมี Plagiarism สีเขียวคือผ่าน
ตัวอย่างผลของการตรวจสอบ

ด้านบนเป็นผลของการค้นหา ที่ลองคัดลอกบทความจาก journal แห่งหนึ่งมา พบว่าระบบสามารถตรวจเจอและสามารถแสดงลิงค์ที่อยู่ของบทความนั้นได้

เครื่องมือนี้เหมาะกับอาจารย์ที่จะใช้ตรวจงานของนิสิตได้ หรือสำหรับนักวิจัยที่ต้องเขียนงานวิจัยส่งตีพิมพ์  journal ต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการตรวจสอบด้วยวิธีนี้ ตรวจไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างแน่นอน เครื่องมือนี้จะเป็นเพียงตัวช่วยตัวหนึ่งเท่านั้นในการตรวจสอบ จำเป็นต้องตรวจสอบด้วยตัวเองอีกครั้ง เพื่อความถูกต้อง

เข้าไปใช้งานได้ที่ : https://www.duplichecker.com/
ขอบคุณความรู้จาก @ac_nim

WebVPN Chula ใช้เน็ตภายนอกเหมือนอยู่ภายในจุฬาฯ

Chula-webVPN

การอยู่หอพักในจุฬาฯเลยได้เล่นเน็ตผ่านทาง wirelees ของจุฬาฯ การเข้าใช้งานเว็บไซต์ ต่างๆที่เกี่ยวกับงานทางด้านงานวิจัยต่างๆ เลยไม่มีปัญหา เช่น sciencedirect ,Pubmed ,scopud เพราะในเครือข่ายภายในทางมหาลัยได้มีการ register กับทางเว็บไซต์ผู้ให้บริการอยู่แล้ว เมื่อออกมาใช้อินเทอร์เน็ตภายนอก การใช้งานต่างๆเลย ทำอะไรไม่ได้เลย ดู หรือดาวน์โหลด journal ไม่ได้เลย ทำให้การทำงานที่บ้าน หรือหอพักภายนอกทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่ต่อเนื่อง แต่จุฬาฯ มีบริการ virtual private network ที่ทุกคนพูดติดปากว่า webVPN การใช้งานง่ายมากๆ มีขั้นตอนดังนี้

  1. คุณต้องเป็นนิสิตจุฬาฯ
  2. เข้าไปที่ url นี้ ที่ https://vpn.chula.ac.th (สังเกตจะมี s อยู่หลัง http ครับ)
  3. หน้าต่าง Security Alert จะปรากฎขึ้นมาก็ตอบ yes ไป

    security alert

  4. ให้ใส่ user : รหัสนิสิต 8 ตัว เช่น 50871670 ไม่มีรหัสคณะ 2 ตัวหลัง
    password : รหัสเดียวกับใช้ลงทะเบียนนั้นแหละ

    Login

  5. ตอนนี้เราก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมือนนั่งเล่นเน็ตที่คณะเลย ภาพหน้าหลัก และมีที่ใส่ url ด้านบน
หน้าแรกของ เว็บจุฬาฯ

ตัวอย่างการใช้งานเว็บ scopus เว็บที่ช่วยให้การทำ referance ง่ายยิ่งกว่าปลอกกล้วยเข้าปาก ว่างๆ จะมาเล่าให้ฟัง

Scopus ก่อน login ด้วย VPN

ก่อนใช้ webVPNก่อนใช้ webVPN

Scopus หลัง login ด้วย VPN

เมื่อใช้ webVPN ก็ใช้งานได้อย่างเต็มที่

ไอคอนแสดงว่าใช้งานอยู่

สังเกตที่มุมขวาบนจะมีปุ่มเครื่องมืออยู่
เรียงดังนี้ move (ย้ายชิดซ้าย-ขวา) , go to address (เปิดเว็บใหม่) ,Home page (กลับไปหน้าหลัก) ,Logout (ออกจากระบบ)

Exit mobile version