หนังสือ เจาะ CERN-เซิร์น อ่านแล้ว

หนังสือ เจาะ CERN-เซิร์น

หนังสือ เจาะ CERN – เซิร์น 
ผู้เขียน ดร. บุรินทร์ อัศวพิภพ, นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ
192 หน้า, พิมพ์ครั้งที่ 2, ราคา 199 บาท
สำนักพิมพ์ สารคดี 

เมื่อวานตอนกลับจากที่ทำงานเดินผ่านแผงขายหนังสือเก่าวางกองบนพื้นที่อนุเสาวรีย์ชัยฯ ตาแอบแว้บไปเห็นหนังสือ เจาะ CERN-เซิร์น เป็นหนังสือที่ออกมานานแล้วตั้งแต่ปี 2552 ช่วงที่ LHC กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วโลกรวมทั้งคนไทยด้วย เคยเห็นตามร้านหนังสือเหมือนกัน แต่ไม่ยักกะอยากซื้อราคาที่ปก 199 บาท แต่เราซื้อมาราคา 40 บาท (หนังสือเก่า) ตอนที่หนังสือออกมาใหม่ๆทำไมไม่สนใจซื้อ? จะบอกว่าตอนนั้นก็เปิดดูบ้าง และติดตามข่าวการเดินเครื่อง LHC มาตลอด เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้น ส่วนตัวชอบเรื่องฟิสิกส์ จักรวาล อวกาศ อยู่มิน้อย แต่ตอนนั้นดูตามเว็บไซต์ต่างๆก็รู้ว่าเพียงพอแล้ว มันคือความคิดใน ณ ตอนนั้น

แต่เหตุที่สนใจซื้อหนังสือเล่มนี้(นอกจากมันถูกแล้ว)เพราะว่า เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ สวทช. มีบรรยายพิเศษโดย ศ.ดร. อัลเบิร์ต ดี รอคก์ นักวิทยาศาสตร์อาวุโส จากสถาบัน CERN และ ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ แล้วเราเองก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการบรรยายในครั้งนั้นด้วย มีหลายอย่างที่ทำให้เรางง และสงสัยจึงเป็นตัวกระตุ้นให้อยากอ่านหนังสือเล่มนี้มากขึ้น

หนังสือพิมพ์ครั้งแรก เมื่อมีนาคม 2552 ผ่านมาแล้ว 3 ปี เนื้อหา 192 หน้า เนื้อหาก็ไม่ถือว่าเก่ามาก LHC เดินเครื่องไม่กี่ครั้งนับจากหนังสือเล่มนี้ออก

เนื้อหาเป็นแบบ Popular Science อ่านไม่ยาก เป็นการเขียนแบบตั้งคำถามแล้วตอบเป็นข้อๆ สั้นๆ เป็นหนังสือเชิงตอบคำถามสังคมว่า สร้าง LHC ทำไม? เราจะได้อะไรจากมัน? อธิบายเรื่องฟิสิกส์ยากๆโดยเปรียบเทียบกับเรื่องใกล้ตัว อ่านเพลินแป็บเดียวจบ หลังอ่านจบมีความรู้เกี่ยวกับอนุภาคพื้นฐานเพิ่มขึ้น เข้าใจสิ่งที่นักฟิสิกส์กำลังสนใจและพยายามหาตอบให้คำถามนั้น เสียดายนิดหนึ่งถ้าได้อ่านก่อนคงฟังบรรยายสนุกขึ้น อ่านหนังสือจบถึงรู้ว่า ดร.บุรินทร์ บรรยายเหมือนเนื้อหาในหนังสือเลย(ก็คนเขียนนิน่า) รวมทั้งภาพประกอบบนสไลด์ก็เหมือนที่อยู่ในหนังสือเลย

สิ่งที่อ่านแล้วน่าทึ่งในหนังสือ เจาะ CERN

  • เป็นความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่มาก หลายประเทศร่วมมือกันอย่างแข็งขัน ผมประทับใจกับผู้โน้มน้าวให้นักวิทยาศาสตร์คนอื่นยอมลงทุนด้วยมากๆ
  • 30% ของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เป็นกลุ่มนักฟิสิกส์อนุภาค
  • นอกจาก LHC ขนาดเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร CERN มีท่อส่งอนุภาคนิวติโนข้ามไปอิตาลียาว 732 กิโลเมตร ลึกลงไปใต้ดิน 11.4 กิโลเมตร
  • WWW เกิดขึ้นที่ CERN จากแนวคิดแชร์ข้อมูลจากเครื่องเร่งอนุภาคให้นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆให้ช่วยกันวิเคราะห์
  • เครื่องสแกนสมอง PET เป็นหนึ่งในวิทยาการที่ประยุกต์มาจากเครื่องเร่งอนุภาค
  • ครั้งแรกที่ปล่อยลำอนุภาคโปรตอนเข้า LHC นักวิทยาศาสตร์ยืนลุ้นกันเป็นร้อยๆคน

    นั่งดูครั้งแรก พวกคุณดีใจอะไรกันนักหนา? ตบมือกันเกรียวกาว ต้องวนดูหลายรอบ สิ่งที่เขาลุ้นคือลำแสงที่ปล่อยเข้าไปใน LHC แบบสวนทางกัน ถ้าทำสำเร็จมันจะเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นในจอทั้งสองด้านซ้ายในคลิปครับ ต้องตั้งใจดูนิดหนึ่ง เป็นการยิงลำแสงเข้าไปครั้งแรกหลังจากใช้เวลาสร้างนานกว่า 20 ปี ไม่ให้ดีใจหรือตื่นเต้นได้อย่างไร!
  • มีเครื่องตรวจวัดอนุภาคทั้งหมด 6 สถานี ที่ทำงานได้อย่างแม่นยำมากๆ แต่ละสถานีมีเป้าหมายและหน้าที่แตกต่างกัน ต้องนับถือคนรุ่นก่อนที่ปูทางวิธีวัดอนุภาคไว้ให้
  • อนุภาคที่ใช้คืออนุภาคโปรตอนจากไฮโดรเจน ถูกเร่งจากวงเล็กๆแล้วขยายเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ ซึ่งพลังงานก็เพิ่มขึ้นตามลำดับเช่นกัน หน่วยเป็นอิเล็กตรอนโวลต์(eV) เริ่มจาก LINAC2(50 MeV)>>Booter(1.4 GeV)>>PS(25 GeV)>>SPS(450 GeV)>>LHC(7 TeV) ที่พลังงาน 7 TeV โปรตอนวิ่งด้วยความเร็ว 99.9999991% ของความเร็วแสงในสูญญากาศ!
  • ในประเทศไทยมีเครื่องเร่งอนุภาคที่ใช้ในงานวิจัยขนาดเล็กอยู่ 2 แห่ง คือ ที่ศูนย์ปฎิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ จ.นครราชสีมา และอีกเครื่องอยู่ที่ ม.เชียงใหม่
  • แต่ละลำโปรตอนที่ถูกเร่งไม่ได้มีตัวเดียวนะ ไปเป็นขบวนประมาณ 3,000 ขบวน ยิงออกไปเรื่อยๆ ห่างกันประมาณ 7 เมตร ขบวนหนึ่งมีประมาณ 1 แสนล้านตัว เมื่อสองขบวนมาชนกันจะเกิดการชนกันจริงๆแค่ประมาณ 20 คู่เท่านั้นเอง! จากทั้งหมด 1 แสนล้านคู่ รวบรัดเลยแล้วกัน สุดท้ายแล้วในหนึ่งวินาทีจะชนกันประมาณ 600 ล้านครั้ง

น่าประหลาดใจอย่างยิ่งที่เราชาวชีววิทยากำลังตื่นเต้นกับนาโนเทคโนโลยี(10^-9) แต่ชาวฟิสิกส์กำลังวิจัยในระดับอัตโต(10^-18) ซึ่งเล็กต่างกันราว 1 พันล้านเท่า คงเป็นเพราะเรามองมันเป็นโมเลกุลที่ควบคุมและสั่งงานได้ ไม่ใช่การหาว่ามีอยู่หรือไม่ ก็คงตอบกันเองว่าเราต่างกันที่จุดประสงค์ครับ การหาคำตอบหนึ่งเรื่อง ได้ความรู้จากการเก็บตามรายทางมากมายนัก หาสิ่งหนึ่งได้อีกหลายสิ่งตามมา วิทยาศาสตร์น่าทึ่งจริงๆ สนุกด้วย

ชมนิทรรศการผลงานวิจัยของเนคเทคเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี

The NECTEC 's 25th Anniversary

นิทรรศการผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเนคเทคเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี

งานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทคเนื่องในโอกาสครบรอบ ๒๕ ปี
(The NECTEC ‘s 25th Anniversary)

IT in Thailand: NECTEC “25 Years and Beyond”

วันที่ 14-16 กันยายน 2554 , เวลาประมาณ 8.30 น. – 20.00 น.

ณ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว

รายละเอียด https://www.nectec.or.th/ace2011

งานยังเหลืออีก 2 วัน ว่างๆ อยากเชิญให้ไปเที่ยวชมครับ งานจัดที่เซนทรัล ลาดพร้าว เดินทางค่อนข้างสะดวก ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ติน MRT ลงที่สถานีพหลโยธิน เดินอีกนิดก็ถึงแล้ว ขึ้นไปที่ชั้น 5 งานแสดงอยู่ทั้ง Hall เลย มีงานวิจัยที่น่าสนใจมากมาย เข้างานได้ฟรี ผมเอาภาพบางส่วนมาให้ชมครับ

Bangkok Convention Hall

ส่วนนี้จะเป็น การประชุมวิชาการ การสัมมนา และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ดูตารางสัมมนาคลิกลิงค์ครับ

ส่วนนิทรรศการ

นิทรรศการ ด้านหน้าแสดงผลงานวิจัยของในหลวง มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

นิทรรศการแสดงผลงานวิจัย

แบ่งเป็นโซน แสดงผลงานทั้งโปสเตอร์ ร่วมกับโมเดลมีเจ้าหน้าที่อธิบายข้อมูลอย่างละเอียด ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยครับ อยากให้นักเรียน นักศึกษาได้เข้าชมงานเยอะๆครับ

Mobile Application

ส่วนของ Mobile Application จะมีการสลับกันสาธิตการใช้งานโปรแกรมบนมือถือที่เป็นผลงานจากเนคเทคเกือบ 30 ตัว มีทั้ง Android และ iOS มีแบ่งเป็นหมวด Entertainment & Lifestyle, Agriculture, Health & Medication, Logistic & Traffic และอื่นๆ  มีแอพพลิเคชั่นหลายๆตัวที่ผมชอบ และน่าใช้ เดี๋ยวจะอธิบายต่อด้านล่าง

ประเมินรูปร่างโคกระบือ

ระบบประเมินรูปร่างโคกระบือแบบ 3 มิติ แค่จูงควายเข้าไปตรงกลางระบบก็วิเคราะห์ ชนาดรูปร่างออกมาเป็น 3 มิติ ให้เลย เจ๋งไหมล่ะ!

NECTEC Timeline

ลำดับการดำเนินงานของเนคเทคตั้งแต่ปี 2529 จนถึงปัจจุบัน มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นปีไหน มีผลงานอะไรออกมาบ้าง

สถานีวัดอากาศอัตโนมัติ

สถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ มีเซนเซอร์หลายอย่างรวมกัน เช่น วัดความชื่น ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความเร็วลม ความชื่นของดิน แล้วส่งข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต(GPRS) เราสามารถดูข้อมูลหรือควบคุมการทำงานผ่านทางเว็บบราวเซอร์ได้เลย

พิพิธภัณฑ์แบบภาพ 360 องศา

พิพิธภัณฑ์แสดงภาพแบบ 360 องศาผ่านทางเว็บไซต์ เก็บภาพรอบตัวหมุนได้รอบทิศทาง

ห้องสัมมนา

ผมเข้าๆออกๆจากส่วนแสดงนิทรรศการกับห้องสัมมนาซึ่งจะมี speaker หลายคนขึ้นมาพูดในหัวข้อต่างๆ ที่ได้ฟังก็ผู้บริหารจาก intel, Cisco

กล้องวัดอณหภูมิ

ช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาดกล้องนี้ช่วยในการคัดกรองคนที่มีอุณหภูมิสูงออกจากคนปกติได้อย่างรวดเร็ว ใช้แสงอินฟราเร็ดตรวจจับที่บริเวณหน้า ตอนนี้มีติดตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลบางแห่งแล้วเพื่อช่วยตรวจคัดกรองคนไข้

TangmoChecker

TangmoChecker เป็นแอพพลิเคชั่นบน Android มันจะวิเคราะห์เสียงจากการเคาะลูกแตงโมแล้วบอกว่าลูกไหนสุกพอดี ลูกไหนสุกงอมแล้ว พี่เจ้าหน้าที่สาธิตให้ดูกัน ใช้โปรแกรมวิเคราะห์แล้วผ่าแตงโมให้ดูกันเลย ว่าทำงานได้ดี เท่มาก! ยังมีโปรแกรมอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น โปรแกรมค้นหาชื่อยา โปรแกรมดูการจราจร โปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพ โปรแกรมวิเคราะห์ธาตุไนโตรเจนในใบข้าว โปรแกรมแนะนำการท่องเที่ยวตามเทศการ โปรแกรมอ่านข่าว โปรแกรมบันทึกการกินอาหารของเรา เป็นต้น

เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์

เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์ เอาไปใช้งานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีอยู่หลายรุ่นตัดสัญญาณได้ทุกคลื่นความถี่ของไทย รัศมีระยะ 30 เมตร จนถึง 100 เมตร แล้วแต่รุ่น

เครื่องตรวจหาเชื่อไวรัสหรือโปรตีน

ส่วนของเครื่องมือแพทย์ก็มีให้ดูเยอะ เครื่องนี้ใช้หลักการของ SPR(Surface plasmon resonance) ทำงานคล้ายๆตัวนี้ เห็นไหมว่าคนไทยก็ทำได้เหมือนกัน

DeepScan

กล้องคอนโฟคอลแบบพกพา ถ่ายภาพในแนวลึกได้โดยไม่รุกล้ำร่างกาย ใช้ตรวจหามะเร็งที่ชั้นเยื่อบุผิว

ยังมีอีกหลายส่วนที่ยังไม่ได้ดู เดินวันเดียวอาจจะไม่หมด และมีหลายอันที่ไม่ได้เอามาให้ดูที่นี้ อต่เข้าไปดูภาพวันแรกที่ผมถ่ายไว้ทั้งหมดได้ที่นี้ครับ

รวมภาพงาน The NECTEC ‘s 25th Anniversary

Science Illustrated นิตยสารวิทยาศาสตร์ เล่ม 1

นิตยสาร Science Illustrated

เมื่อวานเดินไปแผงหนังสือ ไปเจอนิตยสารเล่มหนึ่งเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ชื่อ Science Illustrated ออกเป็นเล่มแรกด้วย เลยลองซื้อมาในราคา 110 บาท มีหน้าเนื้อหาอยู่ราว 80 หน้า บรรณาธิการกล่าวถึงว่าเป็นนิตยสารที่จะมีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับ 4 ด้าน(เสาหลัก) คือ เทคโนโลยี การแพทย์ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม บรรณาธิการเขียนถึงเนื้อหาของเล่มนี้เป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้แนะนำนิตยสารเล่มใหม่ให้คนอ่านได้รู้จักเลย(นี้มันเล่มแรกนะ!)

ส่วนตัวผมคิดว่าเล่มแรกควรจะแนะนำก่อนว่ามันมีที่มายังไง จะออกรายเดือนหรือรายสัปดาห์ แทนที่จะไปบอกว่าเล่มนี้มีเนื้อหาอะไร(บอกนิดเดียวพอ) ยกตัวอย่างจาก นิตยสารเล่มแรกของ Computer Art ที่เคยซื้อเล่มแรกเหมือนกัน แนะนำได้ดีกว่ามาก บอกเลยว่านำเข้ามาแล้วปรับปรุงส่วนไหนบ้างเพื่อให้เข้ากับคนไทยมากขึ้น แบบนั้นดูน่าดึงดูดมากกว่า ทำให้สนใจอยากติดตามอ่านในเล่มถัดไป

ลองค้นดูพบว่า Science Illustrated เป็นนิตยสารแนว popular science พิมพ์ขายครั้งแรกตั้งแต่ คศ.1984 ปัจจุบันมีการขายอยู่หลายสิบประเทศทั่วโลก จุดเด่นของมันคือการมีภาพประกอบเนื้อหา 4 ด้านหลัก ที่สวยงาม ถูกออกแบบมาอย่างดี ทั้งภาพถ่ายและภาพกราฟิก หลังจากเปิดดูแบบผ่านๆถือว่าสวย และทำให้เนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์ดูน่าสนใจมากขึ้นอีกโข ถ้าอยากเห็นภาพให้ลองนึกถึงเปเปอร์ของเนเจอร์ที่ภาพประกอบถูกออกแบบมาอย่างดี แล้วมันก็ทำให้เราเข้าใจเนื้อหายากๆได้ง่ายมากขึ้น

น่าจะเป็นการดีที่เราจะมีนิตยสารด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ให้ได้เลือกอ่านเพิ่มขึ้นอีกเล่ม

ส่วนเนื้อหาภายในโดยละอียดยังไม่ได้อ่านครับ (2-3 วันนี้คงไม่ได้อ่านแน่นอน)

ปล. เล่มแรกมีแถมหนังสือภาพประกอบเล่มเล็กๆมาให้ด้วยอีกหนึ่งเล่ม

รวมข่าว กรณีสภาวิชาชีพไม่รับรองหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สภาวิชาชีพไม่รับรองหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ข่าวหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ไม่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพฯ ส่งผลให้ไม่สามารถเปิดสอนต่อได้ จนต้องมีการฟ้องศาลคุ้มครอง เหตุการณ์นี้ผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงเป็นนักศึกษาที่ยังไม่รู้ทางมหาลัยจะแก้ปัญหาออกไปทางไหน สำหรับใครที่ไม่ได้ติดตามข่าว ผมลองรวบรวม ข่าว เรียงตามลำดับจากต้นเรื่องไปเรื่อยๆ อาจจะไม่ทั้งหมด แต่ถ้าอ่านเรียงลำดับลงไปจะเข้าใจลำดับเหตุการณ์

เหตุการณ์ลักษณะนี้ ก่อนหน้านี้เคยเห็นมาแล้ว เมื่อครั้งหลักสูตรพยาบาล วิทยาลัยนครราชสีมาไม่ได้รับการรับรอง และจบลงโดย สกอ. ช่วยจัดให้นักศึกษากระจายไปเรียนตามสถาบันต่างๆ  ในเหตุการณ์นี้ยังไม่รู้จะจบยังไง(น่าจะเป็นเหมือนเหตุการณ์ด้านบน) แต่สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุด คงต้องเป็นนักศึกษาที่เสียเวลาเรียนมาแล้วหลายปี ขอให้เรื่องนี้ผ่านไปได้ด้วยดีและดีกับทุกฝ่าย

ข้อมูลเพิ่มเติม
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาเทคนิคการแพทย์ ต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาเทคนิคการแพทย์ก่อน นักศึกษาที่จบมาจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบใบประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ และสามารถทำงานเป็นนักเทคนิคการแพทย์ได้ รายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนและรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองแล้ว และยังไม่ได้รับการรับรอง

คณะเทคนิคการแพทย์
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
คณะเทคนิคการแพทย์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คณะสหเวชศาสตร์
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  ได้รับการรับรองแล้ว
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา  ได้รับการรับรองแล้ว
สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ได้รับการรับรองแล้ว

คณะวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อ้างอิงข้อมูล รายชื่อคณะเทคนิคการแพทย์ในประเทศไทย

พาเที่ยวงาน มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2553

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2553 (National Science and Technology Fair 2010) “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์” วันที่ 7 – 22 สิงหาคม 2553 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ที่จริงไปเฝ้าบูธมาตั้งแต่วันพุธที่แล้ว แอบแวะไปเดินเล่นในงานมา มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย ในงานเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ ครู นักเรียน ผู้ใหญ่ทั่วไปก็ควรไปเยี่ยมชมสักครั้งสร้างแรงบันดาลใจ และความรู้ได้มากมาย เอารูปมาให้ดู บรรยายสั้นๆใต้รูปให้พอเข้าใจนะครับ ยังมีเวลาอีก 4 วัน ใครยังไม่ไปควรแวะไปดูหน่อยนะครับ งานเยี่ยมมากๆ

บรรยากาศ งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์

ภาพแรกอยู่ในส่วนของ เทคโนโลยีสำหรับผู้พิการ

น้องเด็กในชั้นประถมกำลังทดลองเล่น กระดาษกราฟอิเล็กทรอนิคสำหรับผู้พิการตาบอด

กระดานกราฟที่ช่วยผู้ตาบอดเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น ผ่านทางการฟังเสียงและการสัมผัสปุ่ม น้องๆน่ารักมากระหว่างทดลองเครื่องมือ หลับตาด้วยเพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกว่าถ้าตาบอดการเรียนรู้ทำได้ยากแค่ไหน จะได้เข้าใจและเห็นใจคนตาบอด

ทดลองเขียนอักษรเบล
สัญลักษณ์แทนตัวอักษร
อุปกรณ์ในการเขียนอักษรเบล

ส่วนนี้เป็นการทดลองเขียนอักษรเบล วิธีเขียนลำบากพอควร ที่โต๊ะจะมีบอกว่าอักษรแต่ละตัวเขียนแบบไหน เวลาเขียนจะใช้แท่งกดลงกระดาษบนแท่นพิมพ์ที่เป็นจุด 2×3 และต้องเขียนกลับด้าน เพราะเวลาอ่านจะพลิกกลับอีกด้าน เพื่อใช้นิ้วคล้ำจุดที่นูนขึ้นมา

มหัศจรรย์ดวงตา
มีภาพแปลกๆให้ดู

ภาพที่มองได้หลายมุมมอง มีให้ดูหลายรูป และบางอันเคยเห็นในเว็บบ้างแล้ว

สนามยิงปืนเลเซอร์

ตรงนี้เด็กเข้าคิวเล่นกันเยอะเลย เป็นสนามยิงปืนเลเซอร์ เมื่อยิงจะมีเสียง แล้วผลคะแนน ก็จะปรากฏบนจอทันที

ผลิตภํณฑ์จากฮาร์ดดิสพัง

ฮาร์ดดิสที่พังแล้วเก็บข้อมูลไม่ได้แต่มอเตอร์มันยังหมุนได้ เขาก็เอามาทำอะไรต่างๆได้มากมาย ทำหุ่นเล่นดนตรี เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ฯลฯ

เครื่องเล่นห่วงกล

เครื่องเล่นห่วงกล กว่าจะเอาออกได้นี้ต้องใช้เวลาพอดูเลย

แผนที่กรุงเทพจากดาวเทียม

ไปหาดูว่าตอนนี้ตัวเองอยู่ตรงไหน

ดาราศาสตร์

ส่วนของดาราศาสตร์ ทำความรู้จักดาวต่างๆ ส่วนต่างๆของจรวด ระบบสุริยะ ฯฯ

Augmented reality

ระบบ Augmented reality เชื่อมระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือน

พับกระดาษ

พับกระดาษ เพิ่มความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ จะได้รู้ว่ากระดาษ

เรียนรู้เรื่องแสง

เรียนรู้เรื่องแสง มีหลายอย่างให้เรียนรู้ด้านใน การหักเหของแสง การผสมสีของแสง ทางเดินวงกตที่ทำจากกระจกเงา การเดินของแสงใน fiber optic

หนังสามมิติ

มีการอธิบายถึงการทำงานของภาพ 3 มิติ และฉายหนังสั้น 3 มิติ เกี่ยวกับไดโนเสาร์ ดูแล้วสนุกดี เพลินเลยทีเดียว

รถโตโยต้า ผ่าครึ่ง
ภาพรถยนต์

รถยนต์ ที่ผ่าให้เห็นถึงองค์ประกอบภายใน เบาะนั่งแบบต่างๆ

นาโนเทคโนโลยี

อธิบาย และให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี

ส่วนของ TK Park มี iPad ให้เล่นด้วย

iPad ตรงอุทยานการเรียนรู้ TK Park มีหนังสือภาษาไทยให้ลองอ่านเล่น (พบว่า iPad มี Cydia ด้วย)

ยังมีอีกหลายจุดที่ผมไม่ได้ไป งานใหญ่มาก เดินทั้งวันก็ไม่หมด ถ้าจะให้ดีต้องมาหลายวัน เด็กๆมาแทบจะทั่วประเทศ โดนเด็กตั้งคำตามว่า “พี่ค่ะ อันนี้ตัวแปรต้น คืออะไร” ตอบไม่ถูกเลยทีเดียว

แผนที่ ไบเทค บางนา
ดู ไบเทค บางนา ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.nst2010.com/index.php

เพราะฉันมันโง่ หรือ ไม่มีคนสนับสนุน

“เพราะฉันมันโง่ หรือ ไม่มีคนสนับสนุน”

เด็กที่จังหวัดตาก

เราคงได้ยินข่าวมาเยอะเกี่ยวกับเด็กอัจริยะทั้งในและต่างประเทศ เช่น เด็กอินเดียเก้าขวบคว้า Microsoft Certified (อ้างอิงข่าว) เด็กมาเลเชียเขียนเก้าขวบเขียน app บน iphone (อ้างอิงข่าว) ฯลฯ ในข่าวที่เขียนไว้นั้น มักมีความคิดเห็นที่ว่าตอนนั้นเก้าขวบฉันทำอะไรอยู่ ??? (นั้นนะสิ)

ข่าวต่างๆเหล่านี้เมื่อมองอย่างลึกๆ ทำให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมอยู่บ้าง โดยเฉพาะตัวผมเองที่เป็นเด็กต่างจังหวัด สามารถเปรียบเทียบระหว่างเด็ก ที่อยู่ในเมืองใหญ่ๆ ที่มีเทคโนโลยีต่างสนับสนุนการศึกษา กับเด็กบ้านนอกได้อย่างชัดเจน

ในช่วงที่ผมยังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสได้ไปทำค่ายพัฒนาชนบทหลายจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งที่ได้ไปคือ อ.อุ้มผาง จ.ตาก เด็กที่นั้นได้รับการศึกษาขั้นถึงขั้นประถมแล้วใครที่มีโอกาสดีก็ได้ไปเรียนต่อในตัวอำเภอ ซึ่งเป็นส่วนน้อย เด็กๆรวมไปถึงผู้ใหญ่ ของที่นั้นดูจะตื่นเ ต้นมาก กับเทคโนโลยีเล็กๆน้อยๆ ที่เรามองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เช่น กล้องดิจิตอลตัวเล็กๆ มือถือ ที่เราเอาเข้าไปด้วย ไม่ต้องถามว่าในนั้นมี คอมพิวเตอร์หรือไม่ เพราะไฟฟ้าได้จากโซลาเซลล์ ทีวีทั้งหมู่บ้านมีอยู่มีอยู่เครื่องเดียว ดูได้แค่วีซีดี เพราะไม่มีคลื่นฟรีทีวีส่งถึง


แต่ในความคิดของผมแล้ว เด็กที่นี้ เป็นเด็กที่เหลียว ฉลาด และมีพัมนาการที่ดีเพียงแต่ขาด การสนับสนุนที่ดี จากทุกๆคน
เด็กไทยเจ๋ง คว้ารางวัลจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก (อ้างอิงข่าว) เราคงได้เห็นคนที่ออกข่าวแบบนี้ เป็นเด็กต่างจังหวัด

ไม่ใช่แค่เด็กเตรียมอุดมฯ หรือเด็กมหิดลฯ

Exit mobile version