Wolfam Alpha and Unit Circle

, , Leave a comment

ค่า tan3 แบบ radian และ tan3 แบบองศา

เมื่อสองสามวันก่อนได้ใช้งาน wolfram alpha ช่วยคำนวณหาค่าของ tan(3) ซึ่ง 3 ในที่นี้ของเราคือ มุม 3 องศา ก็พิมพ์เข้าไป พบว่าได้ค่าหนึ่งออกมา tan3 = -0.1425 ซึ่งเราก็เอาไปใช้งานต่ออย่างไม่ได้คิดอะไร เพราะคิดว่าน่าจะถูกต้องแล้ว พอนำข้อมูลที่ได้ไปโปรเกรสงาน กลับพบว่าค่าของ tan(3) ใน wolfram alpha กับเครื่องคิดเลขได้ค่าออกมาไม่เท่ากัน ซึ่งในเครื่องคิดเลขคำนวณ tan(3) = 0.0524 จึงได้รู้ว่าการหาค่า sin, cos, tan มันมีวิธีการใส่ค่าสองแบบ คือ แบบ radian(0-2π หรือ 0-6.283) กับ degree(องศา 0-360°) ซึ่งทั้งสองค่าก็สามารถเปลี่ยนกลับไปมาได้ด้วยการเทียบแบบธรรมดาคือ 2π =360° เขียนเป็นสมการในการแปลงค่าได้ว่า

degree = radian × π/180

radian = degree × 180/π

แบบที่เข้าใจได้ง่ายๆ คือ 1 radian = 57.295 องศา หรือ 1 องศา = 0.0174 radian

ดูรูปนี้แล้วน่าจะเข้าใจมากขึ้น

Unit circle ที่มา: https://www.flickr.com/photos/26661581@N07/

สรุปได้ว่า อะไรแบบนี้เราเรียนมาตั้งแต่มัธยมแล้วพอไม่ได้ใช้นานๆก็ลืม เลยต้องมาเตือนความจำไว้ว่า ตอนใส่ค่าลงไปคิดก่อนว่าเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณมันมีค่า default เป็นอะไร ใน wolfram เป็น radian ในเครื่องคิดเลขเป็น องศา (คงแล้วแต่รุ่นและการตั้งค่าด้วย) ทางที่ดีเช็คด้วยการคำนวณด้วยมืออีกทีเพื่อความมั่นใจ

ต่อไปถ้าจะคำนวณพวก sin, cos, tan ใน wolfram alpha ต้องคูณ π/180 เข้าไปด้วย อย่างเช่น tan 3° ให้พิมพ์แบบนี้ครับ tan(3*pi/180)

ข้อมูลเพิ่มเติ่ม radian to degree , Unit circle

 

Leave a Reply