รัฐที่ล้มเหลว ประเทศไทยจะเป็นรัฐล้มเหลวจริงๆหรือ

, , 6 Comments

Failed States Index 2009

สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่ได้ฟังจากรายการข่าวสารเพื่อประชาชน ช่อง NBT เมื่อคืนวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เวลาประมาณ 23.20 น. ดำเนินรายการโดยคุณอี้ แทนคุณ จิตต์อิสระ และมีแขกรับเชิญคือ อ.โสภณ สุภาพงษ์ เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ 2541 และอดีตสมาชิกวุฒิสภา เนื้อหาที่พูดถึงคือ รัฐที่ล้มเหลว ,รัฐพังทลาย หรือ Failed State ใครสนใจอยากฟังโดยตรง ตามไปดูในเว็บดูทีวีย้อนหลัง เลือกวันเวลาดังกล่าว

อ.โสภณ อธิบายเรื่องราวต่างๆ เชื่อมโยงกับรัฐล้มเหลว พบว่ามีความเป็นไปได้สูง มันเกิดขึ้นแล้ว และกำลังดำเนินไป ตามพล็อตที่วางไว้ ผมพยายามสรุปใจความสำคัญ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของทุกๆท่านครับ

  • สถานะการณ์ปัจจุบัน ภาพการใช้อาวุธสงคราม การใช้ความรุนแรง การเผาสถานที่ต่างๆ  การยิงสถานที่สำคัญต่อเนื่อง การเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก ตลอดจนการยิง เสธ.แดง ต่อหน้านักข่าวต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
  • การดำเนินการทั้งหมดนี้ ดำเนินการโดยทหาร มียุทธวิธี ไม่ใช่มือสมัครเล่น เป็นกลุ่มทหารทั้งประจำการและนอกราชการ รวมกับนักวางแผนระดับต่างประเทศ
  • เหตุการณ์เหล่านี้จะบอกได้ว่ามีพล็อต มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีการฆ่าผู้บริสุทธิ์ การยิง M79 ที่สถานที่สำคัญ ที่เป็นสถาบันต่างๆ ศาล บ้านนายก ที่ๆเป็นสัญลักษณ์ของกฏหมาย บุคคลสำคัญต่างประเทศไปพบผู้ชุมนุม ไปพบพรรคการเมืองที่สนับการชุมนุม ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯไปพบพรรคที่สนับสนุนการชุมนุม และไปพบผู้ชุมนุม ประธานาธิบดีติมอร์อาสาไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง และการยิง เสธ.แดง
  • การยิง เสธ.แดง มีประเด็นที่ต้องคิดหลายอย่าง คือ ถูกยิงโดยพวกเดียวกันที่ไม่พอใจ เสธ.แดง ที่ต้องการนำมวลชนไปในอีกทิศทางใช้ความรุนแรง หรือ การเอาคืนของเพื่อนทหารที่เสียชีวิต แต่จุดสำคัญที่ต้องคิดคือทำไมต้องยิงต่อหน้านักข่าวต่างประเทศ เป็นความบังเอิญจริงหรือ? ทำไมไม่ยิงก่อนหน้านี้ อ.โสภณ มองว่าเรื่องต่างๆเหล่านี้เชื่อมโยงไปหาดัชนีชี้วัด รัฐล้มเหลว รัฐพังทลาย หรือ Failed State
  • ดัชนีชี้วัดว่าเป็น รัฐล้มเหลว วัดแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้ารัฐใดเป็น รัฐที่ล้มเหลว จะเป็นข้ออ้างให้ประเทศมหาอำนาจสามารถเข้าแทรกแซง จัดการสถาบัน และจบด้วยการเลือกตั้งใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ติมอร์ ประเทศต่างๆเข้าไปจัดการสถาบันใหม่แล้วจัดการเลือกตั้งใหม่ ไทยก็ส่งทหารเข้าไปด้วย ติมอร์ไม่ได้ร้องขอ และอีรัก สหประชาชาติไม่เห็นด้วยสหรัฐฯก็ส่งทหารเข้าไป  อัฟกานิสถาน โซมาเรีย(รัฐพังทลายอันดับ 1 ของโลก) ส่วนใหญ่ประเทศมหาอำนาจจะเข้าไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง โดยเฉพาะเรื่องของแหล่งพลังงานต้องระวัง ประเทศเหล่านี้อ้างความชอบธรรมในการเข้ามา โดยอาศัยดัชนีชี้วัดว่าเป็นรัฐล้มเหลว และจบด้วยการเลือกตั้งใหม่
  • รัฐ ความหมายคือ ผู้มีอำนาจสิทธิขาดในการใช้ความรุนแรงอย่างถูกต้องตามกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก เพราะประชาชนมอบอำนาจให้รัฐ ตอนแรกฟังมันอาจจะขัดหูบ้าง แต่ยกต้วอย่างนี้ขึ้นมาจะเข้าใจ คือถ้าเราเจอผู้ร้าย เราจะหยิบปืนขึ้นมาไล่ยิงเลยไม่ได้ ต้องให้รัฐ(ผ่านทางตำรวจ)เป็นคนจัดการ
  • รัฐที่ล้มเหลว คือ รัฐ ที่ไม่สามารถบริหารการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายใน มีความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมอย่างรุนแรง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย รัฐบาลและกลไกรัฐขาดความมั่นคงและประสิทธิภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศและแก้ปัญหาต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้
  • รัฐล้มเหลว เป็นการวิจัยของวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน ( The London School of Economics and Political Science)
  • ตัวชี้วัดประกอบไปด้วยปัจจัยทางด้านสังคม 4 ตัว ทางด้านเศรษฐกิจ 2 ตัว และทางด้านการเมือง 6 ตัว รวมเป็น 12 ตัว ให้ข้อคะแนน 0-10 คะแนนสูงแสดงถึงความเลวร้ายสูง ดังนั้นช่วงคะแนนคือ 0-120 คะแนน ประเมิณโดยกองทุนเพื่อสันติภาพ และตีพิมพ์ในนิตยสาร Foreign Policy ที่อเมริกา ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี
  • จัดอันดับประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ 177 ประเทศ ในปี 2009 ประเทศไทยได้คะแนน 79.2 อันดับที่ 79  อยู่ในกลุ่มเตือนภัย (Warning) ถ้าได้เพิ่มอีก 10 คะแนน จะอยู่ในกลุ่มประเทศ รัฐล้มเหลว ปีที่แล้วมีจราจลในช่วงเมษายนแล้วรัฐจัดการได้ยังแสดงให้เห็นว่ารัฐมีอำนาจในการจัดการปัญหา ปีนี้เลวร้ายกว่าปีที่แล้วมาก
  • มาดูแต่ละข้อและดูว่าประเทศไทยตอนนี้ กำลังถูกชักจูงให้เป็น รัฐที่ล้มเหลวหรือไม่ เพื่อดึงต่างประเทศเข้ามาในไทย เพื่อล้มสถาบันในประเทศแล้วเลือกตั้งใหม่ ใช่หรือไม่? ถ้าเทียบกับปีที่แล้ว ไทยได้คะแนนเพิ่มแน่นอน

กลุ่มตัวชี้วัดทางสังคม
1) แรงกัดดันทางประชากรศาสตร์ (Demographic pressures): ในตัวชี้วัดนี้จะรวมถึงปัญหาที่เกิดจากประชากรที่หนาแน่น ซึ่งจะรวมถึงความสัมพันธ์กับปัจจัยที่สำคัญต่างๆ ที่ใช้ในการดำรงชีวิต นอกจากนี้ยังรวมไปถึงประเด็นปัญหาด้านการควบคุมบังคับในการนับถือศาสนา การพังทลายของสิ่งแวดล้อม ประเด็นปัญหาทางประวัติศาสตร์ แลความขัดแย้งตามแนวชายแดน ปี 2009 ได้คะแนน 6.9

2) การย้ายถิ่นฐานของประชาชนจำนวนมาก (Massive movement of refugees and internally displaced peoples): ในตัวชี้วัดนี้จะพิจารณาถึง ประเด็นปัญหาของการเคลื่อนย้ายชุมชนขนาดใหญ่ที่มีสาเหตุมาจากการขาดแคลนอาหาร ขาดน้ำสะอาด ภัยธรรมชาติ หรือ การแย่งชิงที่ดิน อันนำไปสู่ผลที่คุกคามต่อประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงมุนษย์และมนุษยธรรม ทั้งที่เป็นปัญหาภายในประเทศและระหว่างประเทศ ปี 2009 ได้ 6.5

3) กรณีความขัดแย้งของแต่ละกลุ่มชนที่ไม่พอใจเหตุการณ์ในอดีต (Legacy of vengeance-seeking group grievance): คนในประเทศมีความขัดแย้ง แตกแยกกันอย่างชัดเจน มีการทำร้ายแก้แค้นกัน ตัวชี้วัดนี้อยู่บนพื้นฐานของความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นในอดีต แล้วอาจนำมาเป็นเงื่อนไขในปัจจุบัน ปีที่แล้วไทยได้ 8

4) ปัญหาการไหลออกของทุนมนษย์ (Chronic and sustained human fligh): ในตัวชี้วัดนี้จะครอบคลุมทั้ง การไหลออกของผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และผู้ที่ลี้ภัยทางการเมือง ปีที่แล้ว 4.5

• กลุ่มตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ
5) ความไม่ปกติของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Uneven economic development along group lines): ในตัวชี้วัดนี้จะถูกตัดสินใจบนพื้นฐานของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีความแตกต่าง ทั้งทางด้าน การศึกษา หน้าที่การงานสถานะทางเศรษฐกิจ ปีที่แล้ว 7.7

6) ความชัดเจน และ/หรือ ความรุนแรงของการถดถอยทางเศรษฐกิจ (Sharp and/or severe economic decline): ตัวชี้วัดนี้จะพิจารณาจาก มุมมองในทุกด้านที่ส่งผลให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจชลอตัวลงหรือหยุดชะงักงันในกระทันหัน ปี 2009 ได้คะแนน 3.8

• ตัวชี้วัดทางการเมือง
7) การปกครองของรัฐที่ไร้ความเป็นธรรม (Criminalization and/or delegitimisation of the state): มีมุมมองทั้งการพิจารณาในเรื่องคอร์รัปชันและการกระทำใดๆ ที่อาจนำสู่ความไม่โปร่งใส ปีที่แล้วไทยได้คะแนน 8.2

8 ) ความเสื่อมถอยของการให้บริการสาธารณะ (Progressive deterioration of public services): ในตัวชี้วัดนี้จะพิจารณาจาก ระดับของความสามารถของรัฐในการจัดการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและกิจการสาธารณะต่างๆ อ.โสภณ กล่าวรวมถึงผู้ก่อการร้ายเลือกฆ่าผู้บริสุทธิ์ได้ตามชอบใจ โดยรัฐไม่สามารถปกป้องประชาชนของตนเองได้ ปีที่แล้วไทยได้ 5.4

9) การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่แพร่หลาย (Widespread violation of human rights): ในตัวชี้วัดนี้จะให้ความสำคัญกับ ระดับของการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐที่แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในรัฐ ปี 2009 ได้คะแนน 6.9

10) การมีรัฐซ้อนในรัฐ (Security apparatus as ‘state within a state’): ตัวนี้สำคัญ รัฐสูญเสียอำนาจในการจัดการบังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตำรวจ ทหาร บางส่วนที่ช่วยผู้ก่อการร้ายแสดงให้เห็นว่ามีรัฐซ้อนรัฐอยู่ อีกอย่างคือมีพื้นที่บางจังหวัดรัฐไม่สามารถควบคุมได้ การเมืองในสภาที่มีการแสดงออกอย่างชัดเจนว่าสนุบสนุนอีกฝ่าย ปีที่แล้วได้ไป 7.5 คะแนน ปีนี้คะแนนขึ้นแน่นอน

11) การก่อตัวของกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิด (Rise of factionalised elites): ตัวชี้วัดนี้จะพิจารณาถึงจำนวนและการเพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้นำต่างๆ แกนนำทางความคิดทำให้เกิดความแตกแยกในประเทศ ที่ส่งผลโดยภาพรวมต่อสถาบันหลักของประเทศ ปีที่แล้วได้คะแนน 3.8

12) การแทรกแซงกิจการภายในประเทศจากรัฐอื่น หรือ ปัจจัยภายนอก (Intervention of other states or external factors): ตัวชี้วัดนี้จะพิจารณาจากการเข้าแทรกแซงกิจการภายประเทศ จากรัฐอื่น หรือปัจจัยภายนอก ปี 2009 ไทยได้คะแนน 5.8 ประเทศเวียตนามได้ 6 คะแนน ได้แสดงความเป็นห่วงประเทศไทย ประเทศติมอร์ที่ได้ 9 คะแนน เสนอตัวไกล่เกลี่ยปัญหาให้ คิดว่าปีนี้ไทยจะได้คะแนนเท่าไหร่

Failed state index ของไทยในปี 2009
  • กลุ่มวางแผน ผู้ได้ประโยชน์อยู่ข้างนอกชุมนุมทั้งสิ้น สิ่งที่จะทำคือให้ทำให้คนบาดเจ็บ ล้มตายมากที่สุด ถ้าเป็นดังนั้นเราจะพบว่าผู้ชุมนุมเสื้อแดงเป็นผู้บริสุทธิ์ที่เป็นเพียงเบี้ยตัวหนึ่งของผู้บงการภายนอก อาจรวมไปถึง เสธ.แดง ด้วยที่เป็นเพียงหมากตัวหนึ่ง ไม่แน่ว่าแกนนำรู้ หรือไม่ อาจรู้และไม่เอาด้วยแกนนำหลายคนจึงไม่เอาด้วย
  • อ.โสภณ แนะนำให้จับตัวผู้บงการข้างนอกก่อน จึงจะสามารถจัดการกระบวนการนี้ได้
  • ข้อสังเกตุ การชุมนุมต่อสู้ยังไงก็ไม่ชนะทหาร ทางเดียวที่จะชนะได้คือ ให้คนที่ชุมนุมตายมากที่สุดแล้วต่างประเทศจะเข้ามา คนที่อยู่ต่างประเทศไม่อยากป้องกันท่านที่ชุมนุมแต่อยากใช้ประโยชน์ตอนมีคนเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน ผู้บงการได้ประโยชน์ทั้งสิ้น เราจะเห็นความโหดร้ายของผู้วางแผน

“รัฐบาลนี้แพ้ ประเทศนี้แพ้ ไม่ใช่เรื่องการเมืองแล้ว เป็นเรื่องของรัฐ มันคือ ขบวนการล้มรัฐ”

ที่มา : รายการข่าวสารเพื่อประชาชน ช่อง NBT เมื่อคืนวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เวลาประมาณ 23.20 น.

https://www.fundforpeace.orghttps://www.tortaharn.net , https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐที่ล้มเหลว

 

6 Responses

  1. PolarZen

    17 พฤษภาคม 2010 12:13 pm

    ผมรู้สึกว่า คุณโสภณ สรุปได้ดีเลยครับ เห็นความเชื่อมโยงของทั้งหมดจริงๆ คงไม่ใช่เรื่องการเมืองเพียงอย่างเดียวแล้ว

    ตอบกลับ
  2. 55599554

    17 พฤษภาคม 2010 17:34 pm

    ดัชนีรัฐล้มเหลว..คงจริงนะ…แต่…โสภณ สุภาพงษ์ คนนี้ป่าว ที่ร่วมกับสนธิ-คำนูญ เป็นเรื่องเป็นราวกันเรื่องปฏิญญาฟินด์แลนด์ลวงโลก…..
    ต้องการอารายอีกคาบท่าน

    ตอบกลับ
  3. abcidenarian

    18 พฤษภาคม 2010 15:55 pm

    Nature ของงานวิจัย มีการกำหนด assumption และตีกรอบการพิจารณา วัดผล วัดเหตุการณ์ในเชิง quantitative และวิเคราะห์ ได้ในวงจำกัด ดัชชนี มีประสิทธิภาพภายใต้กรอบ

    ประเทศพัฒนาแล้วนำเอาไปใช้ได้กับประเทศด้อยพัฒนา หวังผลเพื่อผลประโยชน์ของประเทศตน

    เราควรชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัด เป็นหมายเหตุประกอบการใช้งานดัชชนีตัวนี้ทุกครั้งที่ ต่างประเทศ หรือ องค์กรนานาชาติใดๆ ที่พยายามนำตัวชี้วัดมาประกอบบทวิเคราะห์ ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรเอามาพิจารณา แต่ให้เอามาใช้และสะท้อนภาพของต้นแบบการวิจัยด้วย

    ตอบกลับ
  4. คนอีสาน

    9 มิถุนายน 2010 14:19 pm

    รัฐที่ล้มเหลว หรือ รัฐที่ล้มเหลว ,รัฐพังทลาย หรือ Failed State คือรัฐที่ไม่สามารถดูแลให้ประชาชนมีความสุขได้

    ตอบกลับ

Leave a Reply