การเลือกตั้ง 54 ค่อนข้างได้รับความสนใจสูง เพราะถือเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากผ่านวิกฤตทางการเมืองหลายเหตุการณ์ การเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งแบบในเขตและนอกเขตในวันที่ 26 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา มีคนใช้สิทธิ์เพียงแค่ 55.65% ของคนทั้งหมดที่ลงทะเบียนล่วงหน้าไว้ น่าแปลกไหมว่าทำไมคนที่สนใจต้องการใช้สิทธิ์เลือกตั้งของตัวเองจนสละเวลาไปเดินเรื่องขอลงทะเบียนล่วงหน้าไว้ แต่กลับมีจำนวนที่ใช้สิทธิ์น้อยเพียงนั้น ตามที่ฟังจากข่าว ส่วนใหญ่ไปไม่ทัน 15.00 น. เวลาปิดหีบ ผมว่าอันนี้เป็นปัญหาที่ กกต. ต้องนำไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขในการเลือกตั้งครั้งหน้า ถ้าอยากให้มีเปอร์เซ็นต์ของคนใช้สิทธิ์มากขึ้น
มีอีกเรื่องของกฏหมายที่ไม่ค่อยเข้าใจ คือ คนที่ลงทะเบียนใช้สิทธิ์ล่วงหน้าในวันที่ 26 มิถุนายน 2554 แต่หากว่าไม่ไปลงคะแนน ยังสามารถไปลงคะแนนได้อีกครั้งในวันที่ 3 กรกฏาคม 2554 ได้อีกครั้งในกรณีที่ขอลงคะแนนล่วงหน้าในเขตของตัวเอง(ตามทะเบียนบ้าน) แต่ถ้าขอลงคะแนนนอกเขตไว้ถือว่าหมดสิทธิ์ลงคะแนนไปแล้ว ต้องไปทำหนังสือชี้แจ้งเองถ้าไม่ต้องการเสียสิทธิทางการเมืองจากการไม่ไปเลือกตั้ง แต่ถ้าเราคิดแบบบ้านๆคือในเมื่อคนที่ขอลงคะแนนล่วงหน้าในเขตยังเลือกได้อีกครั้งในวันเลือกตั้งจริง แต่คนที่ลงทะเบียนล่วงหน้านอกเขตถึงหมดสิทธิ์เลือกแล้ว! หรือจะให้ใช้สิทธิ์ในเขตที่ขอลงทะเบียนไว้ก็ยังดี อันนี้ไม่เข้าใจว่าทำไมทำไม่ได้ ทั้งๆที่มันควรจะทำได้และควรจะอำนวยความสะดวกให้เต็มที! (ไม่ต้องยกข้ออ้างเรื่องการโอนชื่อนะ)
เอาล่ะ! มาถึงตัวผม ไม่ได้ลงทะเบียนล่วงหน้าอะไรไว้ทั้งนั้น จะกลับบ้านไปเลือกตั้งที่บ้านเกิด คำถามต่อมาว่าจะเลือกใครดี? ผมมีแนวทางในการพิจารณาแยกเป็นสองกรณีตามสิทธิในการเลือกตั้งคือ การเลือกตัวบุคคล(เขต)กับการเลือกพรรค(บัญชีรายชื่อ)
ขอพูดถึงการเลือกตัวบุคคลก่อน การพิจารณาของผมง่ายมากคือ ยกประโยชน์ให้คนในพื้นที่ เหล่าญาติพี่น้องที่บ้าน เพราะตัวเราดันมาใช้ชีวิตอยู่ กทม.จะกลับที่ก็เฉพาะช่วงเทศการหยุดยาว (อกกตัญญูจริง!) การสอบถามข้อมูลจากคนที่บ้านคงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดแล้ว ครันจะไปเลือกตามใจตัวเองโดยไม่ดูคนที่เขาจะใช้ชีวิตตลอดที่บ้านคงไม่ใช่การดีเท่าไหร่นัก เพราะถือว่า ส.ส. เขต คือปากเสียงของคนในเขตนั้น แต่ความจริงคะแนนจากผมคนเดียวคงเปลี่ยนอะไรได้ไม่มากในพื้นที่แถวนั้น พรรคนั้นคงนอนมาอยู่แล้ว ประมาณเดียวกับ ฮีธ เลดเจอร์ เข้าชิงรางวัลออสการ์จากบทโจ๊กเกอร์ในแบตแมน ไร้คู่แข่ง
ส่วนการเลือกพรรค ถือว่าเป็นการเลือกในระดับประเทศ อันนี้จึงจะเป็นวิจารญาณของตัวผมเองทั้งหมด นโยบายของแต่ละพรรคเข้าขั้นโม้เป็นส่วนใหญ่ แต่การเลือก Vote NO อย่างที่พันธมิตรพยายามเชิญชวน อันนี้ไม่ตอบโจทย์อะไรเลย สมมตินะสมมติว่า Vote NO ออกมาเยอะจนมีผลทางกฏหมาย แล้วจะทำอะไรต่อไป? จุดสุดท้ายคืออะไร? ซึ่งเหตุการณ์ Vote NO จะมหาศาลอันนี้เป็นไปได้น้อย ดังนั้น ผมไม่ Vote NO แน่นอน
รู้สึกไหมว่าเราเปลื้องตัวเกินไปกับการบอกว่าชอบใครไม่ชอบใคร โดยเฉพาะในสังคมที่บังคับให้เลือกข้าง เราคอยระวังตัวว่าคนรอบข้างอยู่ฝ่ายไหนกันแน่ ที่ต้องทำแบบนั้นก็เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั้งกันโดยไม่จำเป็นจากความเห็นต่างแบบสุดขั่ว ที่เขียนแบบนี้เพราะบางคนที่อยู่คนละฝ่ายคุยกันได้นะ บางกลุ่มเท่านั้นที่คุยด้วยไม่ได้ เป็นสังคมที่ดูอึดอัดไหมล่ะ!
ถ้าให้คาด พรรคนั้นคงนอนมาตามโพล ตอนนี้ก็คงมาคิดแล้วว่าจะเลือกพรรคไหนมาเป็นฝ่ายค้านดี…หวังว่าเราจะไม่ได้รัฐบาลจากพรรคอันดับสองแม้มันจะเป็น ครม.ที่ดูดีกว่าพรรคอันดับหนึ่งเยอะก็ตาม แต่มันช่างไม่สง่างามเอาซะเลย ให้เขาจัดตั้งไปเถอะ ยังไงประเทสไทยก็ไม่ล่มลงง่ายๆหรอก!
สุดท้ายไปเลือกตั้งกันเถอะครับ อย่างน้อยตอนวิพากวิจารณ์(ด่า)จะได้พูดได้เต็มปาก
Leave a Reply