รีวิวหนังสือ เพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ: สุขภาพดีด้วยการดูแลระบบนิเวศในร่างกาย

, , Leave a comment

หนังสือ เพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ: สุขภาพดีด้วยการดูแลระบบนิเวศในร่างกาย
ผู้เขียน นพ. ชัชพล เกียรติขจรธาดา

คุณหมอแอ่ว ชัชพล เกียรติขจรธาดา เขียนหนังสือสนุกขึ้นครั้งที่ออกเล่มใหม่และมีการพัฒนารูปแบบการเขียนหนังสืออย่างชัดเจน หนังสือเล่มนี้ในแต่ละเรื่องจะถูกซอยเป็นบทสั้นๆ ใช้เวลาอ่านไม่กี่นาทีจบ เนื้อหาสามารถจบได้ในบทนั้น แต่จะดึงดูดให้เราอยากอ่านต่อเนื่องไปที่บทต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้เนื้อหาที่กล่าวถึงสมบูรณ์ ด้วยการโยนคำโปรยไว้ช่วงท้ายๆของบท เช่น ในบทต่อไปจะ…
การเขียนแบบนี้ ค่อนข้างสอดคล้องกับการใช้ชีวิตปัจจุบัน เราสามารถหยิบขึ้นมาอ่านได้เรื่อยๆ เช่น ในช่วงเข้าห้องน้ำ รอรถเมล์/ไฟฟ้า นั่งรถไฟฟ้าไม่กี่สถานีก็จบบทได้แล้ว และอาจจะเป็นหนังสือที่อ่านไปพักเล่นโซเชียลไปด้วยได้ (เอาเนื้อหาบางส่วนไปแชร์)

หนังสือ เพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ: สุขภาพดีด้วยการดูแลระบบนิเวศในร่างกาย
หนังสือ เพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ: สุขภาพดีด้วยการดูแลระบบนิเวศในร่างกาย
ผู้เขียน นพ. ชัชพล เกียรติขจรธาดา

ส่วนเนื้อหาของหนังสือ เพื่อนเก่าที่หายสาบสูญ ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับแบคทีเรียในร่างกายของมนุษย์ และความสำคัญของระบบนิเวศในร่างกายที่ประกอบไปด้วยแบคทีเรียที่หลากหลายสายพันธ์ ซึ่งอาศัยอยู่ในร่างกายของเรามาอย่างยาวนาน และถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น แต่การใช้ชีวิตของเราในปัจจุบันทำให้ระบบนิเวศนั้นเสียสมดุลไป ส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อมชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

บันทึกเกร็ดสั้นๆ บางส่วน

  • การให้เด็กในช่วงอายุ 1-3 ขวบ ได้ใช้ชีวิตคลุกคลีกับธรรมชาติ ดิน น้ำ ต้นไม้ หญ้า และคนในครอบครัวอย่างใกล้ชิด มีประโยชน์อย่างมากในการสร้างภูมิคุ้มกัน และสุขภาพของเขาในระยะยาว รวมทั้งพัฒนาการทางด้านสมองด้วย
  • โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ในกลุ่มประชากรแถวแอฟริกามีน้อยมากๆ หรือแทบไม่มี ครั้งหนึ่ง ช่วบ้านทั่วไปก็แทบจะไม่พบ และเคยถูกเรียกว่าโรคของคนขาว หรือโรคของชนชั้นสูง
  • พยาธิในลำใส้ที่พบได้ในกลุ่มชนเผ่าบางกลุ่ม ไม่ได้มีโทษร้ายแรงอย่างที่เข้าใจ พยาธิบางตัวส่งผลดีกับร่างกาย สามารถช่วยป้องกันโรคบางอย่างได้ หรือการใช้พยาธิในการรักษาโรคบางโรคก็ได้ผลที่น่าสนใจเช่นกัน
  • การได้รับยาปฎิชีวนะอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทั้งตามโดสรักษา และแบบน้อยๆก็ส่งผลกระทบกับสมดุลเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย เช่นโรคทางเดินอาหาร รวมถึงโรคอ้วนด้วย
  • ชนเผ่าที่อาศัยในป่าไม่เคยติดต่อกับโรคภายนอก ไม่เคยได้รับยาปฎิชีวนะใด มีแบคทีเรียในลำใส้ที่หลากหลายกว่าคนในมืองอย่างมาก และบางชนิดเป็นชนิดมีความเฉพาะที่ไม่พบที่ใดอีกเลย
  • แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียในร่างกายเราในปัจจุบัน มีความหลากหลายลดลง และอาจมีบางส่วนที่สูญพันธืไปแล้ว อาจจะเป็นหนึ่งเหตุผลที่อุบัติการณ์ของโรคบางชนิดสูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงชีวิตไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมา
  • แนวโน้มในการนำเชื้อแบคเรียจากลำใส้ของอีกคนมาให้อีกคนเพื่อรักษาโรคบางชนิดที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการปัจจุบันมีความสำเร็จอย่างสูง และอยู่ในความสนใจแพทย์ทั่วโลก

โดยสรุป หนังสืออ่านสนุก และแนะนำให้อ่านครับ

 

Leave a Reply