[WORDPRESS PLUGIN] Jetpack รวมปลั๊กอินหลายตัวเป็นหนึ่งเดียว

Jetpack for WordPress

กำลังมองหาปลั๊กอินเกี่ยวกับการทำแชร์ลิงค์ไปที่ social network พวก twitter, facebook, google+ อะไรประมาณนี้อยู่ครับ ซึ่งมันก็มีอยู่เยอะมาก เลือกกันจนตาลายก็ไม่ได้ดังใจสักทีสุดท้ายมาเจอ Sharedaddy ค่อนข้างถูกใจ ง่าย ขนาดเล็ก

แต่พอติดตั้ง Sharedaddy เสร็จมันขึ้นเตือนมาว่า ต้องลงปลั๊กอิน Jetpack เพิ่มถึงจะทำงานได้ ก็เลยติดตั้งลงบล็อกไป เมื่อเปิดดูรายละเอียดของ Jetpack แล้ว ต้องบอกว่ามันสุดยอดมาก เพราะมันเป็น All in one รวมปลั๊กอินหลายตัวมาอยู่ในตัวเดียว เลยสามารถลบปลั๊กอินออกได้หลายตัวแล้วมาใช้ Jetpack แค่ตัวเดียว

Plugin ต่างๆที่อยู่ใน Jetpack

Plugin ที่อยู่ Jetpack

เยอะมาก และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการติดตั้งต้องมี account ของ WordPress.com ด้วยนะครับ เพือเชื่อมระหว่างบล็อกของเรากับ WordPress

มาดูปลั๊กอินตัวเด่นๆที่น่าใช้ครับ

WordPress.com Stats

เก็บสถิติของบล็อก

ตัวเก็บสถิติใช้ตัวเดียวกันกับ WP.com มันเก็บข้อมูลได้ละเอียดกว่าตัว StatPress Reloaded ที่ใช้อยู่ ดังนั้นเลยถอนตัวปลั๊กอินตัวนี้ที่ใช้มานานแล้วทิ้งไปอย่างไม่ลังเล

Sharing Buttons

Sharing

ปุ่มสำหรับกดแชร์บล็อกไปที่ Social network ที่ต้องการ มีตัวหลักๆครบถ้วน หรือจะเพิ่มเองก็ได้ มีรูปแบบให้เลือกหลายอัน เรียบ ง่าย และสวย ควบคุมให้แสดงเฉพาะ Home, Page หรือ Post ได้ ตรงตามความต้องการพอดี จึงลบตัวที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้คือ Social Sharing Toolkit ทิ้งไป

Subscriptions widget

Subscriptions widget

ระบบแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลเมื่อมีโพสใหม่ เป็นระบบของ WordPress เอง และมีการเก็บสถิติได้ด้วย แต่ตอนนี้ใช้ของ Feedburner อยู่เลยไม่ได้เปลี่ยน หากใครสนใจใชระบบของ WordPress ก็น่าใช้ไม่น้อยเหมือนกัน

Gravatar Hovercards

Gravatar Hovercards

ระบบทำรายละเอียดของผู้เขียน โดยดึงของมูลมาจาก Gravatar เหมาะสำหรับบล็อกที่มี Author หลายคน บล็อกนี้มีคนเดียวเลยไม่ได้ใช้งาน

Spelling and Grammar demo

ระบบแนะนำคำถูกต้อง

ปลั๊กอินตัวนี้เหมาะสำหรับคนที่เขียนบล็อกเป็นภาษาอังกฤษ เพราะมันจะช่วยให้ดูคำผิดทั้งการสะกดผิดหรือแกรมมาผิดได้ง่ายขึ้น มันจะแนะนำคำที่ถูกต้องมาให้ เหมือนอยู่ใน MS Office เลย

Contact Form

Contact Form

ใครที่ใช้ Contract Form 7 ตัวนี้ก็ทำงานในแบบเดียวกัน ปรับแต่ง field ได้ และตั้งค่าอีเมลรับข้อความได้

Custom CSS

CSS editor

ตัวแก้ไข ปรับแต่ง CSS เพิ่มเติม แบบแสดงสีสัน ที่ไม่ได้มีแค่โค้ดเหมือน default ของ WordPress

Mobile Theme

Mobile Theme

ปรับแต่งให้บล็อกแสดงผลในอุปกรณ์มือถือ แท็ปเล็ต ได้สวยงามยิ่งขึ้น ดูดีมาก แต่ก่อนใช้ WPtouch เลยเปลี่ยนมาใช้ของ Jetpack แทน และสามารถปรับแต่การแสดงผลได้อีกนิดหน่อย

ส่วนอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง

  • Jetpack Comments
  • Carousel Gallery
  • VaultPress
  • WP.me Shortlinks
  • Shortcode Embeds
  • Beautiful Math
  • Extra Sidebar Widgets
  • Enhanced Distribution

แต่ที่ชอบมากเพราะมันไม่ได้ทำให้บล็อกโหลดช้าเลย อาจจะเพราะปลั๊กอินส่วนใหญ่ที่มีใน Jetpack เราใช้อยู่แล้ว ก็เป็นได้

 ดูรายละเอียด และ ดาวน์โหลด Jetpack for WordPress 

[WordPress Plugin] SimpleReach Slide เพิ่มความสนใจให้คนอยู่ในบล็อกนานขึ้น

ไปเจอ plugin สำหรับ WordPress ตัวหนึ่ง ชื่อ SimpleReach Slide เมื่อติดตั้งมันจะสร้าง Slide แนะนำโพสที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ผู้ใช้กำลังเปิดอยู่ให้ เมื่อเราเลื่อนอ่านเนื้อหาจนสุดด้านล่าง หรือจะ scroll ลงไปเลยก็ได้นะ มันจึงจะโผล่ออกมา

ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ มันจะยังไม่โผล่มาจนกว่าคนใช้จะเลื่อนลงไปข้างล่างจนจบเนื้อหาที่เปิดอ่านอยู่ แต่เมื่อมันปรากฏขึ้นมาแล้วเวลาเราเลื่อนหน้าเว็บขึ้นมันก็จะหุบให้เล็กลง(แต่ไม่หายไปนะ) ถ้าใครยังนึกภาพไม่ออกว่ามันแสดงผลยังไงก็ดูตัวอย่างรูปด้านล่าง หรือไม่ก็เลื่อนหน้านี้ลงไปให้สุดด้านล่าง แล้วสังเกตุที่มุมขวาล่าง นั้นแหละความสามารถของมัน

เรียกได้ว่าถูกใจมากเลย จึงเอามาบอกต่อครับ

SimpleReach Slide ปลั๊กอินสำหรับ WordPress

ที่ดาวน์โหลดปลั๊กอิน SimpleReach Slide

Developer เขียนในคำอธิบายว่ามันจะเพิ่มจำนวน pageviews กับ time on site ให้เว็บไซต์ของคุณได้ พอดูแล้วก็อาจช่วยได้ส่วนหนึ่งเพราะตอนที่มันเด้งขึ้นมา ทำได้น่าสนใจทีเดียว เหมือนมีอะไรตอบสนองตอนเราเลือนจอ สรุปว่าชอบก็แล้วกันครับ

BEST OF APPS แนะนำโปรแกรมที่สุดยอดของทุกแพลตฟอร์ม

BEST OF APPS

ในเว็บไซต์ makeuseof จะมีอยู่หัวข้อหนึ่งชื่อ BEST OF APPS เป็นหน้ารวมโปรแกรมที่ยอดเยี่ยมในหมวดต่างๆของแต่ละแพลตฟอร์มที่ใช้ๆกันอยู่ปัจจุบัน รู้สึกว่าทำได้ดีจังเลย เขาจัดทำมานานแล้วล่ะ หลายโปรแกรม หลายเว็บไซต์เราก็เจอจากหัวข้อนี้ ลองดูว่าเขาจัด BEST OF APPS ของอะไรไว้บ้าง

  • BEST WEBSITE
  • BEST WINDOWS SOFTWARE
  • BEST LINUX SOFTWARE
  • BEST MAC APPS
  • BEST ANDROID APPS
  • BEST IPHONE APPS
  • BEST IPAD APPS
  • BEST CHROME EXTENSIONS
  • BEST FIREFOX ADDONS
  • BEST WORDPRESS PLUGINS
  • BEST PORTABLE APPS
  • BEST LINUX DISTROS

เรียกได้ครบทุกแพลตฟอร์มที่สามารถติดตั้งโปรแกรมหรือส่วนเสริมลงไปได้เลยทีเดียว เมื่อคลิกเข้าไปเราจะพบรายการของ Apps ที่แยกเป็นหมวด เช่น เกี่ยวกับ ภาพ เพลง หนัง เอกสาร ป้องกันไวรัส เป็นต้น ในแต่ละ Apps มีคำอธิบายสั้นๆไว้ให้พร้อมกับลิงค์ไปดูรีวิวแบบเต็มและลิงค์ดาวน์โหลดโปรแกรม ถ้าเพื่อน ได้คอมพิวเตอร์หรือมือถือเครื่องใหม่มา แล้วถามว่า “จะลงโปรแกรมอะไรบ้าง” สามารถแนะนำหน้านี้ให้ได้เลยครับ

ลิงค์ไปที่หน้า BEST OF APPS

Calendar Plugin for WordPress ใช้ตัวไหนดี?

เมื่อวานลองหาตัวปลั๊กอินที่จะทำปฎิทินดีๆสักอันให้ WordPress ความต้องการคือ ต้องการให้มันแสดงในหน้า Post แบบเต็มๆ ไม่ใช่ widget ที่ใน WordPress มีให้อยู่แล้ว นอกจากนั้นคือเมื่อคลิกไปที่ปฏิทินในวันที่มี event อะไรสักอย่าง ก็ให้แสดงข้อมูลออกมาเลย เลื่อนเดือนเดินหน้าย้อนหลังได้ มีแสดงแบบเรียงกันเป็นแผนงานได้ด้วย ก็ลองค้นดู ได้ลองหลายๆตัวดังนี้ครับ

  • Calendar ตัวนี้ดีเลย แยกสีของกลุ่มปฎิทินได้ ปรับ css ได้เอง มี Widgets มาให้พร้อมเอาไว้แสดง Upcoming แต่เสียดายมันไม่รองรับภาษาไทย พิมพ์เข้าไปแล้วกลายเป็น ??????? ใครที่มีความรู้เรื่องโค้ดหน่อยน่าจะแก้ได้ไม่ยาก แต่ชั่วโมงนี้ขอลองหาตัวอื่นดูก่อน
  • Editorial Calendar ตัวนี้มีหน้าเพิ่มเข้ามาใน admin เป็นตารางปฎิทิน คลิกวันที่จะใส่ event จะมี popup ขี้นมา แล้วโพสเนื้อหาลงไป พอกด public มันจะสร้าง post หน้านั้นพร้อมรายเอียดให้เลย ดีแต่รายละเอียดของ event ทำมาให้ใส่ได้น้อยไปนิด ปรับแต่งได้น้อย
  • Stout Google Calendar ตัวนี้ไม่มีอะไรมาก เป็นตัวให้นำโค้ดจาก Google calendar มาแปะ แล้วจัดการรูปร่างหน้าตาได้นิดหน่อย
  • Events Calendar ตัวนี้ถือว่าเจ๋งมาก หน้าเพิ่ม event ทำออกมาให้เรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก event ที่ใส่ลงไปถ้ามีงานต่อเนื่องยาวหลายวัน สามารถเลือกได้ว่าจะให้แสดง event ตลอดช่วง หรือให้ใส่แค่วันแรกเท่านั้นได้ ข้อเสียคือหน้าไม่ค่อยสวย อาจจะต้องแก้ไขหน้าตาพอควรเพื่อให้เหมาะกับเว็บไซต์
  • My Calendar ตัวนี้น่าจะเรียกได้ว่าสมบูรณ์ที่สุดเมื่อเทียบกับตัวข้างบน จัดการได้ทุกอย่าง แบ่งกลุ่ม ใส่สี แสดงปฏิทินแบบรายเดือน หรือเป็นแบบแผนงานได้ แก้ไข css ได้ มี shortcode เรียกใช้ปฎิทินแบบต่างๆแบบใส่ parameter เข้าไปได้ เยี่ยม เสียที่เป็นเหมือนตัวแรกที่ไม่รองรับภาษาไทย
  • Event Calendar / Scheduler ตัวนี้มีแปลกกว่าตัวอื่นคือ เป็น ajax ติดตั้งแล้วจะสร้างหน้าเพิ่มมาให้อัตโนมัติหนึ่งหน้าไว้แสดงปฏิทิน หน้า default ของปฏิทินสวย แต่ปรับอะไรมากไม่ค่อยได้ ย่อขยายตัวปฏิทินแล้วมันขาดไม่พอดี ตัวเพิ่ม event ก็ไม่ดี
  • Event Calendar 3 for PHP 5.3 ตัวนี้เหมือนจะมีมาให้ แค่ตัวที่แสดงแบบ widget เลยไม่ตรงตามที่ต้องการ

อันที่จริงยังมีอีกหลายตัวที่ยังไม่ได้ลองเล่นดู โดยสรุปจากตรงนี้ถ้าจะให้เลือกในลิตท์ด้านบน ผมเลือกตัว My Calendar เพราะปรับแต่งได้เยอะ แต่อาจจะต้องมาดูว่าทำไมมันไม่รองรับภาษาไทย ถ้าแก้ตรงนั้นได้แล้ว มันก็เป็นปฎิทินที่น่าใช้ที่สุด

แต่ว่าสุดท้ายของการนำไปใช้งานจริง(กับงานนี้) จากโจทย์ด้านบนผมกลับไม่ได้เลือกใช้ปลั๊กอินของ WordPress ที่ลองมา 6-7 ตัวเลย แต่ผมเลือกใช้การใส่ Google calendar  เข้าไปว่างแบบง่ายๆ แล้วเลือกไปใส่ข้อมูลที่ Google แทน เหตุเพราะมันตอบโจทย์ที่เราตั้งไว้หมด แสดงเป็นปฏิทินรายเดือนแบบใหญ่ๆได้ ใส่รายละเอียดของข้อมูลลงไปได้ พบว่าตรงช่องรายละเอียดของการเพิ่ม event ของ Google calendar ใส่โค้ด html ได้ จึงง่ายที่จะใส่ลิงค์เข้าไปในรายละเอียดของ event ได้ ใส่ลิงค์ไปที่สถานที่ปฎิบัติงานได้อีกด้วย แสดงเป็นแบบแผนงานได้ ต้องตั้งให้ปฎิทินเป็นแบบสาธารณะ คนอื่นจึงจะดูข้อมูลได้

Google Carlendar
แสดงแบบเป็นแผนงาน

สรุปคือตอนแรกหาปลั๊กอินสำหรับ WordPress แต่มันไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ ก็เลยต้องหาตัวอื่นมาเสริม แต่ก็ถือว่าได้รู้ว่า Calendar Plugin ของ WordPress มีอะไรบ้าง(ยังเหลืออีกเยอะ) แต่อาจจะเป็นประโยชน์ในครั้งหน้าเมื่อต้องทำอะไรประมาณนี้อีก

แก้ปัญหา WordPress แสดงเนื้อหาได้ไม่เกิน 6,000 ตัวอักษร

ปัญหา WordPress แสดงเนื้อหาได้ไม่เกิน 6,000 ตัวอักษร เกิดกับบล็อกผมมานานแล้ว แต่พยายามเลี่ยงปัญหามากกว่าแก้ปัญหามานานเช่นกัน เพราะเข้าใจว่ามันเป็นข้อจำกัดของ WordPress เอง

ปัญหาที่ว่าคือ เมื่อเราเขียนบล็อกที่มีความยาวมากๆ(>6,000 ตัว) เนื้อหาจะไม่โชว์เลย แต่ข้อมูลไม่หายนะ แค่ไม่แสดงเนื้อหาหน้าเว็บ ผมเลี่ยงปัญหาด้วยการ ตัดเนื้อหาออกบ้าง หรือแยกเป็นตอนย่อย วันนี้เลยลองแก้ปัญหาดูว่ามันเกิดจากอะไรกันแน่ มาดู log file ของการแก้ปัญหานี้กัน บันทึกไว้เผื่อมีประโยชน์กับคนอื่น ได้เรียนรู้ระหว่างทางเยอะเหมือนกันนะ

ใครขี้เกียจอ่าน อยากรู้ว่าต้นเหตุเป็นเพราะอะไร เลือนไปอ่านข้อสุดท้ายได้เลย

  1. อันดับแรกลองตรวจดูว่า โพสที่มันไม่แสดงนั้นมีตัวอักษรอยู่เท่าไหร่ เครื่องมือตรวสอบที่ง่ายมากๆ และใกล้ตัวสุด คือ twitter นี้เอง เข้าไปก็อบปี้ code จาก หน้า html แล้วว่างใน ช่อง tweet แล้ว +140 ก็ได้จำนวนตัวอักษรที่แท้จริงแล้ว
    ใช้ twitter นับตัวอักษร

    ตอนนี้ก็พอรู้จำนวนตัวอักษรคร่าวๆแล้ว ว่าจำนวนเท่าไหร่ที่มันไม่แสดงผลหน้าเว็บ

  2. สันนิษฐานแรก database ไม่รองรับหรือปล่าว จึงเข้าไปดู data type ว่าเลือกใช้แบบไหน เมื่อเข้าไปดูพบว่า เป็นแบบ longtext ซึ่งเก็บข้อมูลได้ 4,294,967,295 ตัว Ref ดังนั้นตัดปัญหา database ไม่รองรับไปได้เลย มันเก็บได้อยู่แล้ว
  3. ข้อต่อมา ลองเอาโพสที่มีปัญหาดังกล่าว(เกิน 6,000 characters) ไปโพสบล็อกอื่นที่ใช้ WordPress เหมือนกัน ข้อนี้จะบอกเราได้ว่า มันเป็นปัญหาเฉพาะบล็อกเรา หรือที่อื่นๆก็เป็น จะบอกได้ว่าเป็นปัญหาที่ WordPress Core หรือ ส่วนเสริมอื่นๆ  ซึ่งได้ผลว่า ที่อื่น ไม่มีปัญหาดังกล่าว แสดงผลได้เป็นปกติ แสดงว่าบล็อกเราเองที่มีปัญหา
  4. ข้อสันนิษฐานต่อมา เป็นปัญหาที่ธีมที่เราเลือกใช้หรือปล่าว ทดลองเอาธีมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไปใช้ที่บล็อกอื่นแล้วดูโพสจากข้อ 3 ว่าแสดงผลได้ไหม พบว่าแสดงได้ปกติ แสดงว่าปัญหาไม่ใช่ธีม
  5. ข้อสันนิษฐานต่อมา ปัญหาอยู่ที่ ปลั๊กอินตัวไหนซักตัว เริ่มไล่ปิดดูทีละตัว และแล้วก็เจอมัน ตัวปัญหาคือ TweetMeme ปิดปุ๊บ content โผล่มาปั๊บเลย ส่วนเรื่องของเทคนิค ว่าทำไม? อันนี้ไม่รู้เหมือนกัน แต่ปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว
  6. แก้ปัญหาด้วยการ เลิกใช้ TweetMeme แล้วไปใช้ Tweet button ตัว Official ใช้ง่ายๆ แค่เอา code มาวางใน Single.php ในตำแหน่งที่ต้องการ

แนะนำปลั๊กอิน WordPress สำหรับเว็บที่มีนักเขียนหลายคน

ทำเว็บ Biomed.in.th เริ่มจะมีนักเขียนหลายคน ผมถามเพื่อนๆทาง twitter ไปว่ามีปลั๊กอินสำหรับ WordPress ที่ช่วยในการจัดการเว็บที่นักเขียนหลายคนไหม ได้รับคำตอบกลับมาจากหลายคน ผมขอยกตัวที่ผมเอาไปใช้จริงสองตัวมาให้ดู ได้รับการแนะนำมากจาก @sourcode

  1. Role Manager: เป็นปลั๊กอินที่ช่วยในการกำหนดสิทธิ user ให้มีสิทธิในการเข้าถึง หรือปรับแก้ส่วนไหนได้บ้าง ผมใช้เพื่อเวลานักเขียนส่งเรื่องเข้ามา ต้องผ่านการตรวจสอบจาก admin อีกทีเพื่อช่วยกันดูว่าส่วนไหนผิดพลาด และส่วนไหนต้องเพิ่มเติม ก่อนส่งเรื่อยเผยแพร่ การกำหนดสิทธิแยกเป็นเฉพาะตัวบุคคลได้ด้วย เป็นปลั๊กอินที่สำคัญสุดที่ต้องมีในเว็บที่มีนักเขียนหลายคนเมื่อทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของ ผู้ใช้ (User) จะมีเมนูเพิ่มเข้ามาให้เราได้ใช้งาน
    User Manager

    เมนู Roles จะสามารถกำหนดสิทธิให้ user ในระดับต่างๆ ได้ทุกระดับขั้น จะลบ เปลี่ยนชื่อ กำหนดสิทธิ เพิ่มใหม่ก็ได้ในหน้านี้

    หน้ากำหนดสิทธิของลำดับขั้นของ นักเขียน

    เมื่อเราต้องการกำหนดสิทธิให้เฉพาะคน สามารถเข้าไปที่ Profile ของ User นั้นๆ แล้วด้านล่างจะมีช่องให้เลือกติ๊กสิทธิของ user คนนั้น

    เมนูกำหนดสิทธิเฉพาะคน

  2. Author Exposed :ปลั๊กอินตัวนี้ เมื่อเราคลิกที่ชื่อของคนเขียน จะมีบ๊อบอัพแสดงรายละเอียดของคนเขียนคนนั้น ขึ้นมาและบอกด้วยว่าเขียนมาแล้วกี่เรื่อง เมื่อคลิกเข้าไปจะแสดงเฉพาะเรื่องที่คนนั้นเขียนไว้ เป็นประโยชน์กับคนเขียนเองเพื่อตรวจสอบว่าตัวเองได้เขียน อะไรไปแล้วบ้าง และคนอ่านอยากติดตามเฉพาะเรื่องของคนนี้ก็สามารถแยกออกมาให้ด้วย วิธีใช้เมื่อลงปลั๊กอินแล้ว ให้ใส่โค้ดนี้แทนในตำแหน่งที่จะแสดงชื่อของคนเขียน
    
    

    ตัวอย่างการใช้งาน  เมื่อคลิกที่ชื่อ จะแสดงรายละเอียด

    คลิกที่ชื่อจะแสดงรายละเอียดของคนเขียน

    See Authors Posts (จำนวนโพสที่เขียนโดยคนนี้) เมื่อคลิกเข้าไปจะเปิดหน้าที่แสดงเฉพาะบทความที่คนนี้เขียน

    แสดงหน้าที่เขียนโดย นักเขียนคนเราสนใจ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังทำเว็บอยู่นะครับ ส่วนปลั๊กอินต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดการกรณีมีนักเขียนหลายคนลองเข้าไปดูที่เว็บที่มาครับ

ที่มา : https://www.hongkiat.com
Via : @sourcode

WordPress backup and restore ไม่ต้องมี plugin

WordPress-backup

บล็อกผมในตอนแรกตัว WordPress จะอยู่ที่ folder ชื่อ 2009 ทำให้เวลาเข้าเว็บไซต์ www.amphur.in.th ผมต้องทำ redirect ไปที่ 2009 เว็บไซต์ก็จะเป็นแบบนี้ www.amphur.in.th/2009 ตอนแรกที่ทำแบบนี้ ก็คิดว่าถ้าเราทำ folder ไว้คงทำให้บริหารจัดการง่ายแต่พอใช้ไปรู้สึกว่าไม่สะดวกแล้ว และไม่เป็นผลดีกับการทำ seo ด้วย จึงต้องการเอา WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก ขั้นตอนในการทำง่ายมากครับ ไม่ต้องลง WordPress plugin แต่อย่างใดเพราะ WordPress มีเครื่องที่จะช่วยให้เราทำการ

backup และ restore ได้เลย เริ่มขั้นตอนการทำเลยแล้วกัน

  1. login เข้าไปใช้งานใน WordPress admin คลิกที่เมนูซ้ายมือในหัวข้อ “เครื่องมือ”
  2. เลือกหัวข้อ “นำออก” ดังรูป

    WordPress-tools

  3. ในหน้าจะแสดงข้อความอธิบายการนำออกดังนี้

    เมื่อคุณกดปุ่มด้านล่าง เวิร์ดเพรสจะสร้าง ไฟล์ XML file สำหรับบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ รูปแบบนี้ เราเรียกว่า เวิร์ดเพรส eXtended RSS หรือ WXR ซึ่งในนั้นจะประกอบไปด้วย เรื่อง, หน้า, ความเห็น, custom fields, หมวดหมู่และป้ายกำกับ เมื่อคุณบันทึกไฟล์ดาวน์โหลดแล้ว คุณสามารถใช้คำสั่งนำเข้าในบล็อกเวิร์ดเพรสอื่นเพื่อนำเข้าบล็อกนี้

  4. ทางเลือกให้เลือก “ผู้เขียนทั้งหมด” เสร็จแล้วคลิก ดาวน์โหลด เราจะได้ไฟล์ backup ชื่อ WordPress.ปี-เดือน-วัน.xml
  5. จากนั้นผมก็ copy ไฟล์ของ WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก แล้วก็ลบไฟล์ในนั้นทิ้ง
  6. เข้าไปที่ phpmyadmin ของเราทำการ backup database ไว้ก่อนเผื่อเกิดอุบัติเหตุเมื่อ backup เสร็จแล้ว drop ตารางทิ้งเลยครับ
  7. เข้าไปที่ root directory ของเว็บเราลบไฟล์ wp-config.php อันเก่าทิ้งไป และอับไฟล์ wp-settings.php ไปแทนทำเหมือนจะติดตั้งใหม่ จากนั้นก็เข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา www.amphur.in.th รันติดตั้ง WordPress ตามปกติ
  8. เมื่อติดตั้งเสร็จเล้วเข้าไปที่การ “นำเข้า” ตามขั้นตอนที่ 2
  9. เลือกหัวข้อ WordPressดังรูป

    WordPress-restore

  10. คลิก browse ไปที่ไฟล์ที่เราทำไว้ในขั้นตอนที่ 4 ที่เราเรียกว่าไฟล์ WXR เสร็จแล้วคลิกอับโหลด
  11. เข้าไปตรวจสอบเนื้อหา ต้องแก้ที่อยู่ของไฟล์ภาพ และ plugin จะใช้ไม่ได้(ลบออกลงใหม่)

ข้อดี วิธีนี้อาจจะไม่ดีแต่เป็นวิธีที่ผมทดลองใช้รู้สึกว่าเร็วดี อาจจะมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้แต่ผมไม่รู้เลยต้องใช้วิธีนี้
ข้อเสีย plugin อันเก่าที่ติดตั้งไว้ใช้งานไม่ได้ และ widget ก็หายด้วย

Exit mobile version