กลับมาเขียนบทความใน Biomed.in.th ในรอบเกือบ 8 ปี

หน้าเว็บ Biomed.in.th ล่าสุด

หลังจากทิ้งให้เว็บ Biomed.in.th ร้างมานานมากๆ โพสสุดท้ายคือเมื่อกันยายน 2014 มันคือเกือบจะ 8 ปีได้แล้ว ตอนนี้เข้าไปอัพเดตและปรับดีไซด์ใหม่นิดหน่อย และหวังว่าต่อไปจะมีเวลาเข้าไปแชร์ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น อยากให้มันเป็นแหล่งข่าวที่อ่านง่ายๆ คนทั่วไปอ่านได้ คนที่จริงจังคิดว่าเขาวารสารต่างประเทศกันได้ อยากให้มันเป็นแนว popsci อ่านเข้าใจได้ง่าย สั้น ๆ

พอมองย้อนไปเนื้อหาก่อนหน้านี้มีหลายครั้งที่คนเข้ามาขอให้ประชาสัมพันธ์ งานสัมมนาวิชาการ ร่วมทั้งหานักวิจัยมาช่วยงาน อันนี้ต้องเข้าใจเพราะงานทางด้านนี้ค่อนข้างเฉพาะทาง จึงเป็นไอเดียเปิดให้อีกหน้าให้โดยเฉพาะ ใครอยากประชาสัมพันธ์อะไรก็ส่งเข้ามาให้พิจารณา ถ้าทางทีมเห็นสมควรก็จะกระจายข่าวสารให้ แม้แต่การหางาน หานักวิจัย ก็ส่งเข้ามาประชาสัมพันธ์กันได้เช่นกัน การแยกหน้าออกไปโดยเฉพาะไม่ปนกับเนื้อหา ก็เพื่อให้ทุกอย่างในเว็บดูเป็นระเบียบ และเป็นสัดเป็นส่วนชัดเจนมากขึ้น

ประเดิม บทความแรกด้วย โควิดกับการตั้งครรภ์: ข้อมูลที่มีล่าสุดบอกอะไรบ้าง? อ้างอิงมาจาก Nature เรียบเรียงใหม่ให้สั้นและเหมาะสมขึ้น ตอนแรกว่าจะเขียนสั้นๆ ก็ยาวซะงั้น ตามไปคลิกอ่านได้ มีข้อเสนอแนะอะไรก็บอกกันได้

ส่วนเพื่อน ๆ คนที่เคยช่วย ๆ กันเขียนบทความก็ทยอยเรียนจบเอก ได้ดิบได้ดีกันไปหมดแล้ว งานคงจะล้นมือมากกว่าแต่ก่อนแน่ ๆ ถ้าจะกลับมาช่วยกันเขียนบ้างก็ยินดีมาก ๆ ครับ

AMP ช่วยให้ผู้ใช้มาจากมือถือแซงเดสก์ท็อปแล้ว

อะไรคือ AMP? เกี่ยวข้องยังไงกับบล็อกนี้?

เรื่องเล่าวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับบล็อกของตัวเองที่เขียนๆ หยุด ๆ มานานพอสมควร ถ้านับเวลาน่าจะเกิน 10 ปีได้แล้ว โพสแรก ตัวบล็อกมันอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองโดยมีค่าโฆษณาจาก Google Ads ที่ติดไว้คอยเลี้ยงดู ไม่ได้เยอะ แต่เพียงพอที่จะจ่ายค่าโฮสและค่าโดเมนรายปีได้ ทั้ง ๆ ที่บางปีเขียนเรื่องใหม่ไปแค่ 1-2 เรื่องเท่านั้น ต้องขอบคุณคนคลิกเข้ามาดู ที่สำคัญตลอดเวลาที่ผ่านมารายได้มาจากผู้ใช้งานเดสก์ท็อปเป็นหลัก


ในยุคปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ไปอยู่ในแพลตฟอร์มโซลเชียลกันหมดแล้ว แต่แนวบล็อกหรือเว็บไซต์ก็ยังให้ความรู้สึกว่าชอบมากกว่า นั่งกดอ่าน feed ผ่าน RSS ก็ยังเป็นกิจวัตรประจำวันเหมือนเดิม คิดว่ายังคงต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ

เข้าเรื่องหลักเลยแล้วกัน เมื่อราวสองเดือนก่อนตอนที่เข้าไปดูรายงานของ Google Adsense มีข้อความแนะนำจากระบบประมาณว่า
เฮ้ย…ไม่ปรับปรุงเว็บของแกให้แสดงผลให้เป็นมิตรกับคนใช้มือถือหน่อยหรอ คนใช้เยอะนะ
เอารายละเอียดของ AMP (Accelerated Mobile Pages )ไปอ่าน แล้วลองทำดูซ่ะนะ เลยลองทำตามคำแนะนำ

ซึ่งโดยปรกติแล้วอะไรที่เขานิยม ใน WordPress ก็จะมีปลั๊กอินรองรับอยู่แล้ว
จากนั้นแค่เข้าไปโหลด ปลั๊กอิน มาติดตั้ง คลิก 2-3 ที ก็เสร็จ
ง่ายเช่นกันในการเอา Google Ads ฝั่งลงไปในระบบ เข้าไปด้วย

สิ่งที่ได้หลังจากนั้นในช่วงที่ผ่านมา รายได้ใน Google Ads ผ่านมือถือแซงรายได้จากเดสก์ท็อปไปแล้ว ความจริงแล้วพอลองเข้าไปดูใน Google Analytic ดี ๆ จะพบว่าอุปกรณ์ที่เข้ามาในบล็อกนี้ก็เป็นโทรศัพท์มือถือระดับไฮเอนด์อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดสก์ท็อปมาได้สักพักใหญ่ ๆ แล้ว แต่เพิ่งจะมาแซงตอนปรับให้มีเพจสำหรับมือถือ

ดังนั้นในเดือนนี้ต้องขอบันทึกไว้ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา 10 กว่าปี ตอนนี้รายได้จากคนใช้มือถือได้แซงฝั่งเดสก์ท็อปไปแล้ว คนอื่นอาจปรับตัวไปนานแล้ว แต่พวกไม่สนใจอะไรเพิ่งจะปรับตัวตาม (หมายถึงตัวเอง) เลยเพิ่งจะเห็นผล

แหล่งรายได้ของบล็อกนี้ จากโทรศัพท์มือถือมากกว่าเดสก์ท็อปแล้วในช่วงที่ผ่านมา

แต่ถ้าไปดูรายงานของทั่วโลกมือถือแซงเดสก์ท็อปไปตั้งแต่ปี 2016 แล้ว ลิงค์ข่าว

ปล. ในปีที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่าในอุตสาหกรรมเกม มือถือก็กำลังจะแซงเกมบนเดสก์ท็อปแล้วเช่นกัน

“ย้ำอีกที มือถือคืออุปกรณ์หลักของคนใช้อินเทอร์เน็ตนานแล้ว” ปรับตัวซะ

รวมแหล่งหาหนังสือน่าอ่าน

แต่ก่อนจะเชื่อว่าหนังสือทุกเล่มมีคุณค่าของมัน ควรค่าที่จะถูกอ่าน ให้ความเคารพ ไม่ข้ามไม่ทับ วางไว้ที่สูง ตามแนวทางครอบครัว conservation ที่มีคนในครอบครัวมีอาชีพเป็นครูสอนหนังสือ แต่เมื่อผ่านไปโตขึ้นความคิดก็เปลี่ยนไป เมื่อเวลาไม่ได้มีเหลือล้นการที่จะโยนหนังสือสักเล่มทิ้งไป โดยไม่แม้แต่จะบริจาคหรือเอาให้ใครฟรีๆ เลือกที่จะทิ้งยังดีกว่า หรือไม่ฝืนตัวเองให้อ่านให้จบ ไม่ได้รู้สึกแย่เหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว แม้แต่กองหนังสือที่วางทับกันรอให้หยิบมาอ่านจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ไม่ได้ลำบากใจที่จะซื้อเล่มใหม่

คติใหม่จึงเป็น “ใช่อ่าน ไม่ใช่ก็วาง ดีแนะนำ ห่วยทิ้ง”

คำถามต่อมาคือ แล้วจะรู้ได้ไงว่าหนังสือเล่มไหนดีหรือไม่ดี หนังสือเล่มไหนควรโยนทิ้ง เล่มไหนควรอ่านซ้ำ ถ้าจะตอบแบบง่ายๆเลยก็ต้องอ่านดูก่อน แต่ถ้าไม่มีเวลาขนาดนั้น ก็ดูหนังสือที่คนอื่นแนะนำ หนังสือที่คนบอกต่อๆกันว่าดี ค่อนข้างไว้ใจได้ ประหยัดทั้งเวลาและเงินทอง

รวมแหล่งแนะนำหนังสือน่าอ่าน

ขอนำเสนอแหล่งหาหนังสือดี น่าอ่าน เอามาแชร์คนอื่น รวมทั้งเป็นการบันทึกส่วนตัวด้วย

  • Choiceawards ของ Goodreads ดีที่สุด หลากหลายครบทุกหมวด โหวตจากคนอ่าน อันไหนได้รางวัลก็ การันตรีได้ว่าดี เหมือนออสการ์ของหนังสือ คิดไม่ออกว่าจะอ่านเล่มไหน ในนี้มีคำตอบ ไม่ใช่ว่าดีแค่เล่มที่ได้รางวัล เล่มอื่นๆที่อยู่ในรายการถูกเสนอชื่อก็ไม่ได้ด้อยกว่ากันมากนัก
  • Goodbooks.io เลือกอ่านตามไอดอล คนดัง หลากหลายอาชีพ เว็บลักษณะนี้มีให้ดูหลายที่ แต่ Goodbook นำเสนอได้ดี ค้นหาคนที่สนใจได้ง่าย ถ้าคุณอยากรู้ว่าไอดอลที่คุณชื่นชอบ เป็นคนยังไง การได้อ่านหนังสือที่เขาอ่านจะทำให้เราเข้าใจความคิดเขาได้มากขึ้น มีแหล่งอ้างอิงประกอบ
    เว็บไซต์อื่นๆที่นำเสนอได้ใกล้เคียงกัน
    readthistwice.com
    bookauthority.org
    bookicious.com
    mostrecommendedbooks.com
  • Bill Gates ความจริงควรอยู่ในหัวข้ออ่านตามไอดอล แต่ขอแยกคนนี้ออกมาต่างหาก คนนี้คือหนอนหนังสือตัวจริงที่อ่านเยอะมาก ถ้าใครเคยดูสารคดี Inside Bill’s Brain: Decoding Bill Gates จะรู้ว่าเขาหิ้วหนังสือไปด้วยทุกที มีเวลาปลีกวิเวกไปอ่านหนังสือเป็นสัปดาห์ เขาจะแนะนำหนังสือพร้อมมีรีวิวให้แฟนคลับได้ตามไปอ่านปีละหลายครั้ง ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเทคโนโลยี หลังๆเริ่มจะหลากหลายมากขึ้น ระดับบิล เกตท์ หนังสือแนะนำต้องดีแน่นอน
  • หนังสือแนววิทยาศาสตร์ที่ถูกรีวิวโดย Nature โดยเฉพาะจาก Andrew Robinson ที่จะมีบทความ Andrew Robinson reviews five of the week’s best science picks ที่ออกมาเกือบสัปดาห์ละ 5 เล่ม จินตนาการคนที่ต้องอ่านหนังสือวิทยาศาสตร์สัปดาห์ละอย่างน้อย 5 เล่ม ปีละประมาณ 360 เล่ม รับรองคุณภาพโดย Nature
  • New York Time: Book review เป็นอีกแหล่งที่ตามหาหนังสือน่าอ่าน แต่ถ้าอยากรู้ว่าช่วงนี้หนังสือเล่มไหนกำลังดัง Bestseller คือป้ายประกาศ ถ้าหนังสือแปลเล่มไหนได้ตรา New York Time Bestseller จะทำให้ดูดีขึ้นอีกหลายเปอร์เซนต์ และน่าจะขายได้มากขึ้นด้วย

ประมาณนี้ ถ้าใครมีแหล่งอื่นๆที่น่าสนใจ แนะนำกันด้วยนะครับ

LastPass เพราะเราขี้เกียจจำ User และ Password

LastPass

อยู่ๆก็อยากพูดถึง LastPass ขึ้นมาครับ น่าจะเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ในคอมของเราจะขาดไม่ได้เอาเสียเลย

LastPass เป็นอีกหนึ่งบริการช่วยจำรหัสล็อกอินเว็บไซต์ต่างๆของเรา รวมถึงการช่วยสร้างรหัสที่มีความปลอดภัยสูง ใช้งานมาได้พักหนึ่งแล้วและตอนนี้ก็ยังใช้อยู่ ไปเจอบริการตัวนี้ครั้งแรกจาก TIME’s 50 Best Websites 2012 แล้วก็ทดลองใช้ตั้งแต่ตอนนั้น ลองค้นดูพบว่ามีบริการในลักษณะนี้อยู่สองสามเจ้าในตลาดที่แข่งขันกันอยู่ ได้แก่ LastPass, 1Password, mSecure แต่มีแค่ LastPass ที่มีเวอร์ชั่นฟรี

ความสามารถหลักๆของ LastPass ที่ใช้อยู่คือ ให้ช่วยจำรหัส จำข้อมูลส่วนตัว(ชื่อ,ที่อยู่) ตอนที่จะเราจะล็อกอินเข้าใช้งานเว็บไซต์ หรือต้องกรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆของเราเอง LastPass ช่วยอำนวยความสะดวกให้ได้อย่างดี

ตอนนี้มีเว็บไซต์ต่างๆประมาณ 200 กว่าเว็บไซต์ที่เราเป็นสมาชิก มีรหัสเข้าใช้งานอยู่ประมาณ 10 แบบที่แตกต่างกัน แต่ละชุดค่อนข้างยาว ตัวที่ยาวสุดคือมีอักขระเกือบ 30 ตัว แต่ก่อนเว็บไซต์ที่นานๆครั้งจะได้เข้าใช้งานจะซุ่มรหัสใน 10 แบบที่เรามีไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอ หรือแม้แต่จำได้ถ้าจะให้พิมพ์รหัสยาวๆเองทุกครั้งก็ไม่สะดวกเอามากๆเลยล่ะ ส่วนใน Google Chrome ก็มีระบบช่วยจำให้เหมือนกัน แต่การบริหารจัดการนั้นไม่สะดวกเอาซะเลย ใช้ LastPass ลงตัวกว่ามาก จะจัดหมวดหมู่ แก้ไข คัดลอก ทำได้ง่ายกว่ามาก ตอนนี้เลยจำแค่รหัสล็อกอินเข้า LastPass เพียงตัวเดียวที่เหลือก็ให้โปรแกรมช่วยจำ ช่วยจัดการให้

แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างเหมือนกัน นั้นคือตัวแอพ LastPass ที่ใช้งานในมือถือหรือแท็ปเล็ตต้องจ่ายตังค์แบบรายปีซึ่งถือว่าหลายตังค์เหมือนกัน(24$/Y) ทำให้อาจจะใช้งานได้ไม่เต็มที่ แต่เราใช้เฉพาะในคอมก็ยังสะดวกกว่าไม่ได้ใช้อยู่ดี อีกข้อหนึ่งที่น่าห่วงเหมือนกันคือความปลอดภัยถ้าเราทำรหัสของ LastPass แค่อันเดียวหลุดไป คนที่ได้ไปก็อาจจะได้รหัสอื่นๆไปด้วย อันนี้ต้องระวังมากๆด้วย ซึ่งเราเองก็ต้องชั่งใจอยู่นานเหมือนกันว่าระบบของเขาปลอดภัยแค่ไหน ซึ่งเท่าที่ศึกษาข้อมูลจากหลายๆที่ก่อนตัดสินใจใช้ ก็พอตอบได้ว่าไว้ใจได้ แต่ก็มีรหัสบางตัวที่สำคัญมากๆ เช่นเกี่ยวกับการเงิน ก็จะไม่เอาเข้าไปเก็บไว้ใน LastPass เลย

สรุปว่า LastPass ช่วยให้การท่องโลกอินเทอร์เน็ตของเราสะดวกขึ้นมากๆ ***แนะนำให้ใช้กับเครื่องคอมของตัวเองเท่านั้นนะครับ

LastPass: https://lastpass.com/

50 สุดยอดเว็บไซต์ ประจำปี 2012 คัดเลือกโดยนิตยสาร TIME

50 Best Websites 2012

เว็บไซต์ของนิตยสาร TIME จะรายงาน 50 สุดยอดเว็บไซต์ (50 Best websites ) เป็นประจำทุกปี เพราะมีเว็บไซต์ใหม่ๆ บริการออนไลน์ใหม่เกิดขึ้นทุกปี หรือบางทีก็ปรับปรุงเว็บไซต์เดิมใหม่จนแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิมให้จดจำ แต่ทุกๆคนก็พยายามที่จะพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นตลอดเวลา เช่น เร็วขึ้น ประหยัดเงิน ประหยัดเวลามากขึ้น อำนวยความสะดวกมากขึ้น หรือบริการรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย นิตยสาร TIME นั้นค่อนข้างคัดเลือกเว็บไซต์ได้ดีมากๆ เป็นเรื่องน่าเสียดายถ้าเราไม่เอามาบันทึกเก็บไว้ ต้องยอมรับว่าหลายเว็บไซต์พึ่งจะเคยได้ยินชื่อเหมือนกัน แต่พอเข้าไปสำรวจพบว่าเป็นเว็บไซต์ที่ยอดเยี่ยมจริงๆ โดยเฉพาะในหมวด Web Tools ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานที่ต้องพึ่งอินเทอร์เน็ตแทบจะตลอดเวลาของยุคนี้เป็นอย่างดี ขอเชิญชวนให้ท่านลองเข้าไปสำรวจเว็บไซต์สุดยอดเหล่านี้ดูครับ จะได้รู้ว่าเว็บไซต์ดีๆ ไม่ได้มีแค่ Google, Facebook, Twitter …

50 สุดยอดเว็บไซต์ ประจำปี 2012

แบ่งตามหมวดต่างๆ ได้ดังนี้ (อยากทราบรายละเอียดของแต่ละเว็บไซต์เข้าไปดูได้ที่ที่มาท้ายเรื่อง) Web Tools

Entertainment

Game

Education

News and Information

Family and Kids

Shopping

ถ้าบ้านไฟไหม้ หิ้วของได้จำกัด จะหยิบอะไรออกไปด้วย?

เห็นจากทวีตของพี่ @kaninnit แนะนำเว็บไซต์ theburninghouse.com มีไอเดียเก๋มาก แต่บางคนอาจไม่ชอบก็ได้ ด้วยการตั้งคำถามว่า

“ถ้าบ้านของคุณไฟไหม้ อะไรคือสิ่งที่คุณจะเอาไปด้วย รับรองว่ามันจะเกิดเป็นความขัดแย้งในใจว่าจะเอาอะไรไปดี อะไรที่จำเป็น อะไรที่มีค่า และอะไรที่มีคุณค่าทางจิตใจมากที่สุด ไม่ว่าอะไรก็ตามที่คุณเอาไป จะสะท้อนถึงความสนใจของคุณ ภูมิหลัง และการให้ลำดับความสำคัญกับอะไรบางอย่างเป็นพิเศษ”

คิดซะว่ามันเป็นคำถามที่ถามถึงสิ่งต่างๆเหล่านั้นในคำถามเดียว แทนที่จะถามว่า คุณสนใจอะไร อะไรที่คุณให้ความสนใจเป็นอันดับหนึ่ง ชอบอะไรเป็นพิเศษ ถามเลยสั้นๆ “ไฟไหมบ้าน จะเอาอะไรไป?”

เป็นไอเดียที่เจ๋งมาก แล้วเขาก็เปิดให้คนทั่วไปเข้าไปแชร์อะไรที่คุณจะหยิบไป โดยให้บอกชื่อ ที่อยู่ ทำงานอะไร และบอกว่ารายการของสิ่งที่จะหยิบไป พร้อมทั้งถ่ายรูปมาให้ดูด้วย ส่วนใหญ่ก็ประมาณสิบกว่าชิ้น

ไม่น่าเชื่อว่าของแค่ไม่กี่ชิ้นบอกอะไรเกี่ยวกับเจ้าของได้เยอะมาก เราพอจะเดาได้เลยว่าคนนี้ชอบดนตรี รักสัตว์ (รายการของมีแมว หรือสุนัขด้วย!) นักเขียนที่เขารัก (หนังสือโปรด) ชอบถ่ายรูปเป็นชีวิตจิตใจ บางอันก็รู้เลยเนี้ยต้องเป็นผู้หญิงแน่ๆ (มีเครื่องสำอาง) บางคนถึงกับจัดฉากแสดงสถานการณ์จริงๆ เอาสีดำมาทาหน้าทาตัว พร้อมหอบข้าวของพะรุงพะรังเหมือนกำลังหนีเอาตัวรอดจากไฟไหม้บ้านจริงๆ ทำให้ยิ้มได้เหมือนกันนะ

สรุปว่าชอบไอเดียมากเลย ไม่คิดว่าเรื่องที่น่าจะเศร้าปานนั้นจะทำให้ยิ้มได้(เมื่อมันยังแค่เป็นเรื่องสมมติ) แต่อย่างน้อยก็เตือนใจเราว่าอะไรกันแน่ที่สำคัญกับเราจริงๆ ว่าแล้วเลยลองทำรายของตัวเองบ้าง ทำตามข้อบังคับของ theburninghouse ด้วย อาจจะเอาไปส่งร่วมแชร์กับคนอื่นที่เว็บไซต์ด้วย(คงต้องถ่ายรูปใหม่)

ถ้าบ้านไฟไหม้ จะเอาของต่อไปนี้ไปด้วย

ของที่จะเอาไป ในรูปไม่มีกล้องนะเพราะใช้ถ่ายรูปนี้อยู่

Name: Pongsak Sarapukdee
Age: 28
Location: BKK, Thailand
Occupation: Research Assistant
Website: https://www.amphur.in.th
List:

  • Macbook
  • Nokia N76
  • iPod
  • Headphone
  • Wallet
  • Momoo, Cocoa, Kekee (TEDDY BEAR)
  • Canon DSLR 600D(Kiss X5)
  • Wristwatch
  • External HDD

ลองคิดรายการสิ่งของที่คุณจะเอาไปด้วยดูนะครับ  แล้วเอามาแชร์ดูบ้าง มันบอกอะไรหลายอย่างในตัวคุณเองได้เยอะเลย ถ้าจะให้เข้ากับสถานการณ์ของไทย อาจบอกว่า “ถ้าน้ำท่วมบ้าน จะหยิบอะไรออกไปด้วย” ลองคิดเล่นๆดูสนุกดีครับ

อ้างอิงเว็บไซต์: https://theburninghouse.com

รวมเครื่องมือทดสอบการแสดงผลเว็บไซต์

Browser test

Smashing Magazine รวมเครื่องมือทดสอบการแสดงผลเว็บไซต์ของแต่ละ browser ไว้อย่างครบถ้วน ละเอียดมาก เห็นว่าน่าสนใจและเคยเขียนถึงตัวหนึ่งไว้เหมือนกันลองดูได้ที่ Adobe BrowserLab เครื่องมือทดสอบการแสดงผลเว็บไซต์ ในลิสต์ที่เขารวบรวมไว้จะมีทั้งตัวที่สามารถใช้ได้เลยผ่านทางเว็บไซต์ และตัวที่ต้องติดตั้งลงเครื่อง ตัวไหนที่ดีมี suport รองรับก็ต้องจ่ายตังค์ บริษัททำเว็บใหญ่ๆอาจจะต้องใช้ สำหรับใช้ในงานไม่ใหญ่มากแบบฟรีก็คงเป็นอะไรที่เหมาะสมแล้ว

ผมดึงมาเฉพาะตัวที่มีเวอร์ชั่นฟรีให้ใช้ หากใครสนใจอยากดูรายละเอียดแบบเต็มตามไปดูบทความของ Cameron Chapman ได้ที่ Review Of Cross-Browser Testing Tools คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนทำเว็บ

Tool Number of browser versions supported IE? Interactive testing? Side-by-side testing? Pricing
Adobe BrowserLab 13 IE6+ No Yes Free
Browsershots 60+ IE6+ No No Free
SuperPreview Varies IE6+ Yes Yes Free
Lunascape 3 IE6+ Yes Yes Free
IETester 6 versions of IE IE5.5+ Yes Yes Free
IE NetRenderer 5 versions of IE IE5.5+ No No Free
Spoon 16+ no IE Yes No Free
Browsera 9 IE6+ No Yes Free – $99/month
Browserling 9 IE5.5+ No No Free – $20/month

Compfight.com เว็บไซต์ค้นหาภาพสวยจาก Flickr

Compfight.com เว็บไซต์ค้นหาภาพสวยจาก Flickr

Compfight.com เป็นเว็บไซต์ค้นหาภาพจากเว็บไซต์ฝากรูปชื่อดัง Flickr ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามีภาพสวยๆมากมาย ผมรู้จักเว็บไซต์ compfight ครั้งแรกจากงาน WordPress Dev Night จากท่านร่วมงานท่านหนึ่งที่แชร์วิธีการค้นหารูปสวยๆมาใช้ในงานออกแบบธีม อันที่จริงเว็บ Flickr มีช่องค้นหาเช่นกัน แต่น่าแปลกว่า Compfight กลับให้ผลการค้นหาในคีย์เวิร์ดเดียวกัน สวยกว่ามาก ในงานลองค้นหาคำว่า thailand พบว่าภาพที่ได้แตกต่างกันอย่างชัดเจน ที่สำคัญกว่านั้นเราสามารถเลือกเฉพาะภาพที่สามารถนำมาใช้ในทางการค้าได้ด้วย โดยเลือกตรงหลังคำว่า Creative common ด้านบนให้เป็น commercial

วันนี้อยากได้ภาพหนึ่ง จึงลองค้นดูด้วยตัวเอง(อย่าเชื่อถ้าไม่ได้ลองด้วยตัวเอง) ค้นเทียบกันเลย ใช้คีย์เวิร์ดเดียวกันคือ “medical”

Flickr vs Compfight

เปรียบเทียบการค้นหาภาพระหว่าง Compfight.com กับ Flickr (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่)

เราจะเห็นความแตกต่างชัดเจนว่า Compfight.com ให้ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจมากกว่า Flickr.com ตอนนี้จึงคิดว่าได้อาวุธประจำกายอีกตัว เอาไว้คนหาภาพสวยประกอบไสลด์พรีเซ็นต์ หรือเอาไว้ทำเว็บไซต์ ขอบคุณพี่คนนั้นที่แชร์เรื่องดีๆครับ(ใครทราบชื่อบอกด้วยนะครับ)

FluffyApp อัพโหลดรูป,ไฟล์ หรือ ย่อ URL ง่ายจริงๆ

FluffyApp

FluffyApp ลองเล่นดูแล้ว พบว่าเจ๋งดีอ่ะ สิ่งที่มันทำได้ ง่ายๆแต่สะดวก

  • ใครยังไม่มี Account ของ CloudApp สมัครได้ที่ https://getcloudapp.com/
  • สมัครแล้วดาวน์โหลด FluffyApp มาใช้
  • ทำ icons ให้โชว์ตลอด
  • อยากอัพโหลดอะไร (รูป,url,autio,video,file,etc.) ก็ลากไปวางที่ icon มันจะอัพโหลดให้เอง
  • กด Print screen มันอัพโหลดให้อัตโนมัติเลย (ปิดได้)
  • มันจะให้ที่อยู่ไฟล์มาเป็น URL และเป็น Auto copy to clipboard
  • จากนั้น จะเอา URL ที่ได้แชร์ให้ชาวบ้าน วางตรงไหนก็กด Ctrl+V ที่นั้นโล้ด
  • ข้อดีมันนับจำนวนคลิกให้ด้วย
  • หน้าหลักของเว็บจะแยกให้เองว่า ตัวที่ส่งเข้าไปแต่ละอันอยู่หมวดไหน
  • เสียดาย URL ที่ได้มา มันยาวเกินไป

ถ้ายังไม่เข้าใจดูวีดีโอ

via: https://www.downloadsquad.com

2010: Products I Can’t Live Without

เห็น Kevin Rose แห่ง Digg(อดีต) เขียนถึง “2010: Products I Can’t Live Without” โดยได้แรงบันดาลใจมาจาก Michael Arrington อีกที ผมเลยอยากเขียนของตัวเองบ้าง ว่าในปีนี้มีอะไรที่เราติดงอมแงม ขาดไม่ได้

  1. Gmail
  2. Google Reader
  3. Google Calendar
  4. Google Docs
  5. Google Translate
  6. Google Chrome
  7. Facebook
  8. Chromed Bird ( Twitter)
  9. Picasa
  10. Picnik
  11. Dropbox
  12. Amphur.in.th
  13. Biomed.in.th
  14. Youtube
  15. Pixlr
  16. Wolfram Alpha
  17. iTunes

แย่จริงๆ เป็นของ Google เกินครึ่ง

Exit mobile version