The quotes from “The White Tiger” Book and Movie

Servitude is so strong that you can put the key of his emancipation in a man’s hands, and he will throw it back at you with a curse.
― Aravind Adiga, The White Tiger

ตีความได้ว่า “ในสภาวะจำยอม (ระบบทาสในประเทศนี้) มันช่างแข็งแกร่งเหลือเกิน ถึงคุณจะเอากุญแจแห่งการปลดปล่อยใส่มือให้ทาส เขาก็จะโยนมันกลับมาพร้อมกับสาปส่งคนที่ยื่นมันให้กับเขา”

พวกทาสจินตนาการชีวิตที่ไร้นายไม่ออก เขาหวาดกลัวที่จะอยู่อย่างอิสระ แม้ว่าจะถูกกดขี่และเหยียบย่ำความเป็นมนุษย์มากน้อยเพียงใด ทาสก็อยากรับใช้นายของตัวเองตลอดไป บางครั้งเมื่อนายมีน้ำใจกับทาสเพียงเล็กน้อย แต่มันกลับดูยิ่งใหญ่เหลือเกินสำหรับพวกเขา

ทำไมเหมือนประเทศแถวนี้เหลือเกิน?

THE WHITE TIGER – Adarsh Gourav (Balram), ​Priyanka Chopra Jonas (Pinky), Rajkummar Rao ​ ​(Ashok) ​in ​THE WHITE TIGER​. Cr. ​SINGH TEJINDER / Netflix ​© ​2020

Mark Zuckerberg is a good explainer

ไม่รู้ว่า Facebook Profile ของ Mark Zuckerberg นั้น เขาเป็นคนเขียนเองหรือมีทีมงานช่วยดูแลให้ พยายามจะค้นดูแล้วก็ไม่เจอรายละเอียดส่วนนี้ เลยเดาว่าน่าจะทั้งสองอย่างรวมๆกัน เท่าที่เฝ้าติดตามมาตลอดนั้น ก็พบอะไรหลายๆอย่างจากโพสของเขาเหล่านั้นและได้เรียนรู้พอสมควร แต่สิ่งที่ชอบที่สุด ขอยกให้กับ…

ตัวอย่าง Mark Zuckerberg on Facebook

การใช้ภาษาอังกฤษของเขาครับ มันเรียบง่ายและเข้าใจได้ง่ายมากครับ ไม่ค่อยมีศัพท์แสง(Jargon)ให้ได้เจอเลย ทั้งๆที่บางเรื่องเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีเฉพาะทางมากๆ มันทำให้คนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักที่มีกันอยู่ทั่วโลกนั้น เข้าใจในสิ่งที่เขาจะสื่อสารได้ง่ายและมากขึ้นเยอะเลยทีเดียวครับ

ทำให้คิดไปว่าก่อนที่จะกด Post หรือ Publish ลงไปนั้น น่าจะมีการ rewrite ไปหลายรอบก่อนแน่ๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่คิดว่ามีทีมงานช่วยดูแลแน่ๆ ไม่งั้น Mark ก็เป็นคนที่สื่อสารได้ดีมากๆ เพราะถ้าเกิดโพสอะไรผิดพลาดไป มันจะเกิดผลกระทบในวงกว้างแน่นอน

แต่ก็มีบางโพสมันก็ดูเป็นเรื่องส่วนตัวธรรมดามากที่ทำให้เรารู้สึกว่าเขาเป็นแค่เพื่อนเราคนหนึ่งบน Facebook และตัวเขาเองน่าจะเป็น CEO อันดับต้นๆที่สื่อสารกับผู้ใช้มากที่สุดในโลกด้วย CEO คนอื่นๆจะโผล่มาให้เห็นเฉพาะช่วงเวลาสำคัญๆของบริษัทเท่านั้น ไม่รายงานผลประกอบการ ก็เปิดตัวสินค้า

สรุปว่า Mark Zuckerberg (หรือทีมงาน) นั้นเป็น Explainer ที่เยี่ยมยอดมากๆ ตรงกับนิยามของหนังสือที่กำลังอ่านอยู่พอดีเลยนั้นคือ “Complicated Stuff in Simple Words” จะพยายามเรียนแบบก็แล้วกันครับ

“ขอ” ความเห็นใจของคนไทย

อ่านเรื่อง “ขอ” ของคุณ @lewcpe แล้วมันแทงใจ เฮ้ย..โดนเหมือนกันเลย!  จึงเอามาเล่าและขอเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาเรื่องแบบนี้ให้ถี่ถ้วนและเสนอทางออกแบบใหม่ที่ไม่ใช่ การให้ง่ายๆ ดังที่เป็นมา เรื่องมันมีอยู่ว่า

ผมเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัดในช่วงสงกรานต์ ขากลับถึงกรุงเทพฯราวตี 3  รถที่มาส่งจอดหน้าปากซอย ระหว่างที่กำลังเดินเข้ามาในปากซอย ชายคนหนึ่งเดินเข้ามา ขอความช่วยเหลือ เขาอ้างว่า บ้านอยู่แถวรังสิต (ผมอยู่ราชเทวี ไกลกันมาก) เขาแวะมาหาเพื่อนแถวนี้ที่ไม่ได้เจอกันนานแต่เพื่อนเขาย้ายไปจากที่นี้แล้ว เขาจะกลับบ้าน แต่โดนล้วงกระเป๋า ขณะที่พูด เขาเอามือดึงกระเป๋ากางเกงปลิ้นออกมาให้ดูว่าไม่เหลืออะไรเลย ผมยังนิ่ง เขาตอกย้ำอีกครั้งด้วยคำพูด “นะครับ คนไทยด้วยกันช่วยเหลือกันนะครับ ผมไม่มีแม้เงินโทรกลับบ้าน”  สุดท้ายเราก็ควงเงินให้เขาไป เขายังยืนอยู่ตรงนั้น แล้วผมก็เดินจากมา ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรแล้ว ถือว่าได้ช่วยเหลือคนตกทุกข์ ให้เขาได้กลับบ้าน

ถัดจากวันนั้น ผมเจอเขาบ่อย ทั้งในซอย หน้าปากซอย พอสรุปได้ว่า เรื่องมาเยี่ยมเพื่อนโกหกทั้งเพ เหมือนโดนตบหน้าแรงๆ  ทุกครั้งที่เจอผู้ชายคนนั้น เขาเดินผ่านเราธรรมดา แต่ทำไมผมรู้สึกเจ็บจี๊ดๆ

ต่อไป ถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้ จะเสนอทางออกใหม่ให้เขาดังเช่นที่คุณ @lewcpe ทำคือ “การสื่อสาร” หรือ ติดต่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือไปเลย

ไม่ได้แล้งน้ำใจ แต่ไม่อยากสนับสนุนคนไม่ดี

ขอบคุณ  คุณ@lewcpe สำหรับการ Ignite

Exit mobile version