เคล็ดลับสำหรับการบรรลุเป้าหมายการอ่านจาก Goodreads

Goodreads Reading Challenge

ใน Goodreads ในช่วงต้นปีจะมี Challenge ให้เราได้เล่นกัน โดยเราสามารถกำหนดเป้าหมายจำนวนของหนังสือที่เราตั้งใจจะอ่านให้จบในปีนั้นๆ ตอนท้ายปีก็มาสรุปอีกทีว่าอ่านอะไรไปบ้าง บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

เคล็ดลับที่นำมาให้อ่านกันคือ เป็นทิปเล็กๆที่จะทำใหเราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ง่ายขึ้น โดยคัดมาเฉพาะส่วนที่คิดว่าทำงานกับตัวเองได้ดีและคิดว่าน่าจะทำงานได้ดีกับคนอื่นด้วย

ทำให้ง่ายต่อการหยิบหนังสือมาอ่าน

ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปนิสัยจะบอกคุณว่ายิ่งคุณทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ง่ายเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งทำสิ่งนั้นได้มากขึ้นเท่านั้น วางหนังสือตรงตำแหน่งที่คุณจะอ่าน (โต๊ะข้างเตียง โซฟา ในกระเป๋าเป้สำหรับการเดินทางของคุณ อื่นๆที่ใกล้ตัว) คุณจึงไม่ต้องคิดเกี่ยวกับมัน แต่เพียงแค่หยิบหนังสือขึ้นมา และลองอ่านหนังสือสองสามเล่มพร้อมๆ กัน เพื่อที่คุณจะได้เลือกหนังสือที่เหมาะกับอารมณ์ตอนนั้นของคุณได้

ผลักดันตัวเอง แต่ให้นึกถึงความเป็นจริง

หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพการอ่านตกต่ำด้วยการมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ความจริง คุณสามารถเพิ่มหรือลดเป้าหมายของคุณได้ตลอดเวลาตลอดทั้งปี เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สนุกในการสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเอง ดังนั้นไม่ต้องกดดันตัวเอง หากคุณจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายก็เปลี่ยนได้ (ตั้งไว้ให้เยอะเพื่อสร้างแรงจูงใจ)

อ่านหนังสือที่คุณชอบ (ยกให้สำคัญสุด)

ฟังดูง่าย แต่บางครั้งเราลองอ่านหนังสือเพราะรู้สึกว่าเราควรอ่าน แต่ปรากฏว่ามันไม่ใช่ และไม่ชอบ คุณวางมันลงและไม่สามารถหาแรงจูงใจที่จะหยิบมันขึ้นมาอ่านต่อได้ บางทีก็ฝืนอ่านต่อ รู้สึกถูกบังคับ ส่งผลให้ไม่สนุกกับการอ่าน และมันจึงเริ่มปิดกั้นไม่ให้คุณอ่านอย่างอื่น ดังนั้นจงตัดจบและไปต่อ—ไม่มีกฎว่าคุณต้องอ่านหนังสือให้จบ! มีหนังสือที่น่าอ่านอีกมากมายรอคุณอยู่ ดังนั้นเปิดหนังสือใหม่และรักษานิสัยการอ่านของคุณต่อไป หาแรงบันดาลใจ หาดูหนังสือที่นักอ่านคนอื่นๆ ชื่นชอบ หรือหนังสือที่คนอื่นตั้งตารอ

ที่มา https://www.goodreads.com/blog/show/2465-tips-to-read-more-books-in-2023-with-the-goodreads-reading-challenge

Mark Zuckerberg is a good explainer

ไม่รู้ว่า Facebook Profile ของ Mark Zuckerberg นั้น เขาเป็นคนเขียนเองหรือมีทีมงานช่วยดูแลให้ พยายามจะค้นดูแล้วก็ไม่เจอรายละเอียดส่วนนี้ เลยเดาว่าน่าจะทั้งสองอย่างรวมๆกัน เท่าที่เฝ้าติดตามมาตลอดนั้น ก็พบอะไรหลายๆอย่างจากโพสของเขาเหล่านั้นและได้เรียนรู้พอสมควร แต่สิ่งที่ชอบที่สุด ขอยกให้กับ…

ตัวอย่าง Mark Zuckerberg on Facebook

การใช้ภาษาอังกฤษของเขาครับ มันเรียบง่ายและเข้าใจได้ง่ายมากครับ ไม่ค่อยมีศัพท์แสง(Jargon)ให้ได้เจอเลย ทั้งๆที่บางเรื่องเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีเฉพาะทางมากๆ มันทำให้คนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักที่มีกันอยู่ทั่วโลกนั้น เข้าใจในสิ่งที่เขาจะสื่อสารได้ง่ายและมากขึ้นเยอะเลยทีเดียวครับ

ทำให้คิดไปว่าก่อนที่จะกด Post หรือ Publish ลงไปนั้น น่าจะมีการ rewrite ไปหลายรอบก่อนแน่ๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่คิดว่ามีทีมงานช่วยดูแลแน่ๆ ไม่งั้น Mark ก็เป็นคนที่สื่อสารได้ดีมากๆ เพราะถ้าเกิดโพสอะไรผิดพลาดไป มันจะเกิดผลกระทบในวงกว้างแน่นอน

แต่ก็มีบางโพสมันก็ดูเป็นเรื่องส่วนตัวธรรมดามากที่ทำให้เรารู้สึกว่าเขาเป็นแค่เพื่อนเราคนหนึ่งบน Facebook และตัวเขาเองน่าจะเป็น CEO อันดับต้นๆที่สื่อสารกับผู้ใช้มากที่สุดในโลกด้วย CEO คนอื่นๆจะโผล่มาให้เห็นเฉพาะช่วงเวลาสำคัญๆของบริษัทเท่านั้น ไม่รายงานผลประกอบการ ก็เปิดตัวสินค้า

สรุปว่า Mark Zuckerberg (หรือทีมงาน) นั้นเป็น Explainer ที่เยี่ยมยอดมากๆ ตรงกับนิยามของหนังสือที่กำลังอ่านอยู่พอดีเลยนั้นคือ “Complicated Stuff in Simple Words” จะพยายามเรียนแบบก็แล้วกันครับ

QuizUp เกมแข่งตอบคำถามสำหรับแฟนพันธุ์แท้ (ดาวน์โหลดฟรี)

เกม QuizUp

QuizUp เป็นเกมเล่นตอบคำถามแข่งกันแบบ 1-1 ในหัวข้อเรื่องที่สนใจ ล่าสุดมีคำถามมากว่า 400,000 คำถาม ตามหัวข้อมากกว่า 620 เรื่อง มีระบบ Social network สามารถแชทกันได้ คะแนนจากการแข่งขันจะสะสมเป็น exp แล้วจัดอันดับคะแนนตามหัวข้อเรื่องนั้นๆโดยจัดอันดับตามระดับคะแนนจากผู้เล่นทั่วโลกหรือเลือกจัดอันดับภายในประเทศก็ได้ ประกาศให้ชาวโลกรู้ว่าฉันเป็นแฟนพันธุ์แท้เรื่องนี้

สามารถที่จะทำ Challenge กับเพื่อนตามหัวข้อที่เลือกได้ ทำให้เแข่งกันในกลุ่มเพื่อนๆที่ชอบเรื่องเดียวกันได้ ในหนึ่งเกมการแข่งขัน จะมีทั้งหมด 7 คำถาม แต่ละคำถามมีตัวเลือก 4 ตัวเลือก มีตอบคำถามเวลา 10 วินาทีต่อหนึ่งข้อ คะแนนเต็มข้อละ 20 คะแนน ถ้าตอบช้าคะแนนจะลดลงเรื่อยๆ ข้อสุดท้ายจะเป็นคะแนนคูณสอง(นำมาดีสุดท้ายคู่แข็งพลิกกลับมาชนะเพราะข้อสุดท้ายซะงั้น) ดังนั้นคะแนนเต็มคือ 160 คะแนน (6×20)+(1×40)

ขอบอกว่าคำถามแต่ละคำถามไม่ง่ายเลยนะ ถ้าไม่ใช่แฟนพันธ์แท้ในเรื่องนั้นจริงๆ เดาได้ยากเลยล่ะ ในการแข่งขันกันตอบคำถาม มีเวลาบีบให้ตอบเร็วๆทำให้เกมตื่นเต้นและสนุกมากขึ้นเยอะเลย และเราก็จะเห็นคะแนนของคู่แข่งที่ตอบปัญหาในข้อเดียวกันนั้นตลอดการแข่งขันด้วย เมื่อจบการแข่งขันจะมีการสรุปผลการแข่งขัน การตอบคำถามแต่ละข้อเป็นอย่างไร คะแนนที่ได้ ค่าคะแนนประสบการณ์ถ้าชนะคู่แข่งจะได้รับโบนัสคูณคะแนนที่ได้จากการตอบคำถามเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ยกตัวอย่างหัวข้อในการแข่งขันที่น่าสนใจ

หัวข้อใน QuizUP

  • Business/ Android/ Apple/ Google/ Microsoft/ Tech
  • Sport/ Soccer/ Man Utd/ Liverpool/ Chelsea/ Arsenal/ Real Madrid/ Bayern Munich/ FC Barcelona
  • Games/ DotA/ Final Fantasy/ Halo/ PlayStation Games/ World of Warcraft
  • Music/ The Beatle/ Coldplay/ Eminem/ Grammys/ Michael Jackson/ Pop/ Kpop
  • Geography/ Asia/ US/ UK
  • Movies/ Batman/ Harry Potter/ LOTR/ James Bond/ Marvel / Pixar/ Oscar/ Star Wars
  • Science/ Biology/ Chemistry/ Computer Science/ Medical
  • Educational/ Math/ Words/ Grammar/ Spelling
  • Nature/ Cats/ Dogs/ Birds

วิธีการเล่น

วิธีการเล่นเกม QuizUP เลือกหัวข้อ>>เลือกเพื่อนที่จะแข่งด้วยหรือสุ่มเอง>>เล่นเกม

  1. ดาวน์โหลดและติดตั้งเกม QuizUP ลงสมาร์ทโฟนมีทั้ง Android และ iOS (ลิงค์โหลดด้านล่าง)
  2. เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ล็อกอินเข้าระบบ ใช้บัญชีของ Facebook, Twitter หรือ Google ก็ได้ในการสมัครเล่นเกม
  3. เลือกหัวข้อที่จะเล่นเกมตามความชอบ ความถนัด
  4. เลือกเล่นเกมเลยก็ได้ ระบบจะสุ่มหาเพื่อนที่อยู่ในเกมมาแข่งกับเราโดยอัตโนมัติห รือจะ Challenge กับเพื่อนในเกมก็ได้เช่นกัน
  5. เริ่มเล่นเกม อ่านโจทย์และกดตัวเลือกที่ถูกต้องในเวลาที่กำหนด

บทสรุป

ต้องมีบางเรื่องที่เราสนใจมากๆจนเป็นแฟนตัวยงหรือแฟนพันธุ์แท้อยู่อย่างแน่นอน ลองเลือกดูในหัวข้อนั้นขึ้นมาแล้วให้ระบบสุ่มหาเพื่อนมาแข่งขันกับเรา พยายามเก็บคะแนนให้เราเป็นอันดับหนึ่งในเรื่องนั้นๆให้ได้ ให้รู้ไปเลยว่าเรื่องนี้ฉันจะเป็นที่หนึ่ง เป็นเกมที่สนุกมากเลยทีเดียว อยากให้ได้ลองเล่นกัน

หัวข้อที่เป็นอันดับหนึ่งในไทย เกม QuizUP

ล่าสุดตอนนี้ผมได้ไปจองตำแหน่งอันดับหนึ่งในเมืองไทยของหัวข้อต่างๆเหล่านี้ไว้แล้ว ใครอยากล้มแชมป์กดเข้าไปเล่นในหัวข้อเหล่านี้ได้เลยครับ

  • Action-Advanture Movies
  • Apple
  • Google
  • Android
  • Microsoft
  • Tech
  • The Internet
  • Batman Movies

ดาวน์โหลดเกม QuizUP

   

MyPermissions ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของเราถูกใครดึงไปใช้งานบ้าง

MyPermissions เว็บไซต์ช่วยตรวจสอบบริการต่างๆดึงข้อมูลอะไรที่เป็นส่วนตัวของเราไปใช้บ้าง

หลายๆครั้งที่เราสมัครเข้าใช้งานเว็บไซต์ เกมส์ หรือบริการออนไลน์ตัวใหม่ๆ ด้วยบัญชีของ Facebook หรือ Twitter ตามแต่เจ้าของบริการจะเปิดให้เราเข้าใช้งานโดยการดึงข้อมูลของเราจาก social network ของเราเองมาใช้ ทำให้คนใช้งานก็สะดวก คนให้บริการก็ได้สมาชิกมากขึ้นจากความสะดวกนั้น จนหลายๆครั้งเราคนใช้งานไม่ได้ตรวจสอบดูเลยว่าในแต่ละครั้งบริการเหล่านั้นขอข้อมูลส่วนตัวอะไรของเราบ้าง และบางอันที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ก็ควรหยุดให้เขาเข้ามาดึงข้อมูลของเราไปใช้ (ข้อมูลส่วนตัวของฉันนะ)

ความเป็นส่วนตัว(permission) ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือผู้ให้บริการจะแนะนำบริการต่างๆได้ตรงตามความต้องการของเราเพราะเราให้ข้อมูลที่ละเอียด ส่วนข้อเสียก็คือบางเรื่องที่เป็นเรื่องส่วนตัวมากๆเราก็ไม่อยากให้ใครได้ข้อมูลเหล่านั้นไป มันอาจจะหมายถึงความปลอดภัยทั้งทรัพย์สินและร่างกายของเรา ต้องระวังในการเปิดเผย ควรให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

ถ้าเป็นคนที่ชอบท่องโลกอินเตอร์เน็ต ลองเล่นโน่นนี้นั้นไปเรื่อย ยากที่จะตามไปดูว่าให้ข้อมูลส่วนตัวของเราที่อยู่ใน social network ให้ใครไปบ้างและเขาได้ข้อมูลอะไรไปบ้าง ก็เป็นเรื่องน่ากังวลอยู่ไม่น้อย แล้วก็มาเจอเว็บไซต์นี้ครับ ตัวช่วยตรวจสอบ permission ให้เรา

เว็บไซต์ MyPermissions จะช่วยตรวจสอบให้เราว่าข้อมูลของเราใน social network เช่น Facebook, Twitter, Google+,Instagram ฯลฯ ถูกนำไปใช้ที่ไหนบ้าง และขอใช้ข้อมูลอะไรบ้าง เช่น location, contact list, photo เป็นต้น เยี่ยมมากๆ

ตัวอย่าง เข้าไปดูรายละเอียดการอนุญาติให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัว สามารถเพิกถอนการเข้าถึงได้

เมื่อตรวจดูแล้วบ้างอันที่เราไม่ได้ใช้งานแล้วก็ควรหยุดการให้เข้าถึงข้อมูลของเรา ซึ่งเราสามารถเข้าไปแก้ไขและเพิกถอนสิทธิ์(revoke)การเข้าถึงข้อมูลของแต่ละเว็บไซต์หรือบริการต่างๆที่ดึงไปใช้งานได้ ถ้าเราติดตั้งเป็น extension ของ MyPermission ใน browser ของเราก็จะมีการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการขอใช้ข้อมูลส่วนตัวของเรา ถือว่ามีประโยชน์มากๆครับ

เข้าไปใช้งาน MyPermissions ได้ที่เว็บไซต์ https://mypermissions.com

Goodreads ค้นหาและแชร์หนังสือที่คุณชอบ

Goodreads

มี Social network อยู่เว็บหนึ่ง ที่มีหนังสือเป็นศูนย์กลางหลักของเว็บไซต์ เท่าที่ใช้มาได้สักระยะพบว่ามันถูกจริตผมอย่างมาก และขอเชียร์อย่างออกหน้าออกตาเลยนะ ในความคิดถ้าคนไทยเล่นเยอะกว่านี้น่าจะมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นอีกเยอะเลยล่ะ

การเก็บ log ในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวกับสิ่งบันเทิงของผมในตอนนี้ ถือได้ว่าค่อนข้างเป็นระบบและราบเลื่อนดีมาก ดูหนังก็เก็บ Watchlist ไว้ที่ imdb, ถ้าฟังเพลงก็ใช้ Last.fm, อ่านหนังสือก็ต้อง Goodreads, ซึ่งทั้งสามอย่าง ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ แต่ก่อนจะเขียนลงบล็อกทั้งหมด เราพบว่าในแต่ละครั้งใช้พลังงานค่อนข้างเยอะในการเขียน ทำให้หลายๆอันเลยพลาดบันทึกเก็บไว้

ส่วนการใช้ Goodreads แต่ก่อนใช้งานบ้าง แต่พบว่าหนังสือที่เป็นภาษาไทยไม่ค่อยมีฐานข้อมูล ทำให้การเก็บ log ทำได้ไม่สะดวกนัก แต่ช่วงหลังๆเลยทำแบบนี้ครับ ไม่มีใช่ไหมเพิ่มเองเลย แล้วก็พบว่าการเพิ่มหนังสือเข้าไปใน Goodreads ทำได้ง่ายมาก เริ่มแรกค้นหาหนังสือในร้านขายหนังสือออนไลน์ครับ มีข้อมูลครบถ้วนทุกอย่างอยู่แล้ว ทั้งปก isbn ชื่อคนแต่ง ปีที่พิมพ์ จับวางได้เลย การเพิ่มหนังสือแต่ละเล่มทำเสร็จไม่ถึงหนึ่งนาที ครั้งหน้าถ้าเพื่อนเข้ามาค้นใน Goodreads ก็จะเจอหนังสือที่เราเพิ่มเข้าไปแล้ว ง่ายมาก อีกอย่างที่พบเมื่อเพิ่มหนังสือจำพวกแปลมาจากภาษาอื่น ในตอนท้ายจะมีช่องให้เราใส่เพิ่มเติมเข้าไปได้ว่าต้นฉบับคือหนังสือชื่ออะไร สุดท้ายแล้วมันจะรวมพวก rating, รีวิว ของต้นฉบับกับฉบับแปลภาษาต่างๆมาไว้ด้วยกันครับ เยี่ยมยอดมากๆ

อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่เรียกได้ว่าชอบมากๆคือ Progress เราสามารถที่จะอัพเดตสถานะการอ่านของเราว่าตอนนี้อยู่หน้าที่เท่าไหร่ คิดเป็นกี่เปอร์เซนต์จากหน้าที่เหลือ พร้อมกับเขียนบันทึกย่อสั้นๆไว้ได้ว่าที่อ่านผ่านมาแล้วนั้นมีประเด็นอะไรที่น่าสนใจและน่าบันทึกสั้นๆเก็บไว้ พร้อมทั้งช่วยบอกความก้าวหน้าได้ว่าหนังสือที่เราอ่านอยู่นั้นใช้เวลากับมันมากน้อยเพียงใดกว่าจะอ่านจบ สุดท้ายแล้วยังสามารถเอาบันทึกสั้นๆเหล่านั้นมารวมเขียนเป็นบล็อกสรุปเนื้อหาได้อีกทีหนึ่ง เจ๋งไหมล่ะ!

Goodreads App for iOS ก็ทำได้ดีมีประโยชน์ มีเมนูที่ใช้อยู่บ่อยๆก็คือ Progress และ Scan, ตัว Scan นั้น จะใช้กล้องอ่านบาร์โค้ดของหนังสือเล่มนั้น แล้วก็ค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลภายในเว็บ แล้วมันจะรายงานรายละเอียดของหนังสือ จำพวก rating, รีวิวจากคนที่อ่านแล้ว ช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะซื้อเลยดีไหม หรือจะบันทึกไว้ก่อนก็ได้ว่าฉันจะอ่านหนังสือเล่มนี้ทีหลัง แหล่มมาก!

รายละเอียดเกี่ยวกับ Goodreads ที่น่าสนใจ

Goodreads เป็นเว็บไซต์ของผู้ที่รักการอ่าน มีสมาชิกผู้ใช้งานราว 13 ล้านคน, มีฐานข้อมูลหนังสืออยู่ราว 450 ล้านเล่ม เคลมตัวเองว่าเป็นเว็บไซต์ชุมชนนักอ่านและแชร์แนะนำหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก เปิดตัวตั้งแต่มกราคม 2007

สิ่งที่ Goodreads ทำได้ก็เป็นเหมือน social network ทั่วไป มีฟีเจอร์ทุกอย่างเกี่ยวกับการอ่านที่ควรจะมี

  • เพิ่มหนังสือที่ตัวเองอ่านเข้าไปได้ จะเทียบกับฐานข้อมูลเดิมด้วยหมายเลย isbn
  • แชร์ให้เพื่อนได้เห็นว่าตอนนี้เราอ่านหนังสือเล่มไหนอยู่ อ่านเล่มไหนจบไปแล้วบ้าง และกำลังสนใจเล่มไหนอยู่ ให้คะแนนหนังสือที่อ่านจบแล้ว
  • ค้นหาหนังสือในแนวที่ตัวเองสนใจ ติดตามดูหนังสือเล่มไหนที่กำลังได้รับความสนใจ
  • แนะนำหนังสือที่คุณน่าจะชอบ (อ้างอิงจากหนังสือที่คุณอ่าน)
  • ตั้งเป้าหมายในปีนี้จะอ่านหนังสือกี่เล่ม (Reading Challenge) จาก user ประมาณ 3 แสนกว่าๆที่ตั้ง challenge ไว้ของปีที่แล้ว(2012) คือ 58 เล่มต่อปีครับ แต่ทำสำเร็จกันไป หมื่นสองกว่าๆ ปีที่แล้วผมตั้งไว้ 10 เล่ม ทำสำเร็จ 200% อ่านได้ 20 เล่ม ปีนี้เลยจัดเต็มไป 50 เล่มเสียเลย ท้ายๆปีค่อยมาลุ้นว่าจะทำได้หรือไม่ สร้างแรงกระตุ้นได้ดีมากๆ
  • Tagging หนังสือที่อ่านอยู่ Progress ว่าต้องนี้อ่านถึงหน้าไหนแล้ว พร้อมเขียนโน๊ตสั้นๆกำกับไว้ได้
  • มีแอพพริเคชั่น Goodreads สำหรับ iOS ทำงานได้ดีมากเลยทีเดียว

แต่ส่วนใหญ่ในเว็บไม่ค่อยมีคนไทยเล่นเท่าไหร่ ฐานข้อมูลก็เป็นหนังสือภาษาอังกฤษซะส่วนใหญ่ ผมได้เห็นหนังสือหลายเล่มที่น่าสนใจมากๆจากเพื่อนๆที่แชร์ไว้ว่าตัวเองอ่านอะไรและก็ตั้งใจว่าจะหามาอ่านบ้างเช่นกัน ตอนนี้ผมอยากรู้ว่าพวกคุณๆอ่านอะไรกันอยู่ มันน่าสนใจไหม จึงขอเชิญชวนทุกๆท่านมาเล่น Goodreads ครับ  มาช่วยกันแชร์ มาช่วยกันเพิ่มข้อมูลหนังสือของไทยที่ดีๆให้กันและกันครับ มาสร้าง account ให้ลูกตัวเล็กของคุณแล้ว add หนังสือที่เขาอ่านไปแล้วลงไป น่าจะสร้างความภาคภูมิใจและแรงกระตุ้นให้เด็กรักการอ่านเพิ่มมากขึ้นก็ได้นะครับ

เข้าไปเลยที่ https://www.goodreads.com

[WORDPRESS PLUGIN] Jetpack รวมปลั๊กอินหลายตัวเป็นหนึ่งเดียว

Jetpack for WordPress

กำลังมองหาปลั๊กอินเกี่ยวกับการทำแชร์ลิงค์ไปที่ social network พวก twitter, facebook, google+ อะไรประมาณนี้อยู่ครับ ซึ่งมันก็มีอยู่เยอะมาก เลือกกันจนตาลายก็ไม่ได้ดังใจสักทีสุดท้ายมาเจอ Sharedaddy ค่อนข้างถูกใจ ง่าย ขนาดเล็ก

แต่พอติดตั้ง Sharedaddy เสร็จมันขึ้นเตือนมาว่า ต้องลงปลั๊กอิน Jetpack เพิ่มถึงจะทำงานได้ ก็เลยติดตั้งลงบล็อกไป เมื่อเปิดดูรายละเอียดของ Jetpack แล้ว ต้องบอกว่ามันสุดยอดมาก เพราะมันเป็น All in one รวมปลั๊กอินหลายตัวมาอยู่ในตัวเดียว เลยสามารถลบปลั๊กอินออกได้หลายตัวแล้วมาใช้ Jetpack แค่ตัวเดียว

Plugin ต่างๆที่อยู่ใน Jetpack

Plugin ที่อยู่ Jetpack

เยอะมาก และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการติดตั้งต้องมี account ของ WordPress.com ด้วยนะครับ เพือเชื่อมระหว่างบล็อกของเรากับ WordPress

มาดูปลั๊กอินตัวเด่นๆที่น่าใช้ครับ

WordPress.com Stats

เก็บสถิติของบล็อก

ตัวเก็บสถิติใช้ตัวเดียวกันกับ WP.com มันเก็บข้อมูลได้ละเอียดกว่าตัว StatPress Reloaded ที่ใช้อยู่ ดังนั้นเลยถอนตัวปลั๊กอินตัวนี้ที่ใช้มานานแล้วทิ้งไปอย่างไม่ลังเล

Sharing Buttons

Sharing

ปุ่มสำหรับกดแชร์บล็อกไปที่ Social network ที่ต้องการ มีตัวหลักๆครบถ้วน หรือจะเพิ่มเองก็ได้ มีรูปแบบให้เลือกหลายอัน เรียบ ง่าย และสวย ควบคุมให้แสดงเฉพาะ Home, Page หรือ Post ได้ ตรงตามความต้องการพอดี จึงลบตัวที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้คือ Social Sharing Toolkit ทิ้งไป

Subscriptions widget

Subscriptions widget

ระบบแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลเมื่อมีโพสใหม่ เป็นระบบของ WordPress เอง และมีการเก็บสถิติได้ด้วย แต่ตอนนี้ใช้ของ Feedburner อยู่เลยไม่ได้เปลี่ยน หากใครสนใจใชระบบของ WordPress ก็น่าใช้ไม่น้อยเหมือนกัน

Gravatar Hovercards

Gravatar Hovercards

ระบบทำรายละเอียดของผู้เขียน โดยดึงของมูลมาจาก Gravatar เหมาะสำหรับบล็อกที่มี Author หลายคน บล็อกนี้มีคนเดียวเลยไม่ได้ใช้งาน

Spelling and Grammar demo

ระบบแนะนำคำถูกต้อง

ปลั๊กอินตัวนี้เหมาะสำหรับคนที่เขียนบล็อกเป็นภาษาอังกฤษ เพราะมันจะช่วยให้ดูคำผิดทั้งการสะกดผิดหรือแกรมมาผิดได้ง่ายขึ้น มันจะแนะนำคำที่ถูกต้องมาให้ เหมือนอยู่ใน MS Office เลย

Contact Form

Contact Form

ใครที่ใช้ Contract Form 7 ตัวนี้ก็ทำงานในแบบเดียวกัน ปรับแต่ง field ได้ และตั้งค่าอีเมลรับข้อความได้

Custom CSS

CSS editor

ตัวแก้ไข ปรับแต่ง CSS เพิ่มเติม แบบแสดงสีสัน ที่ไม่ได้มีแค่โค้ดเหมือน default ของ WordPress

Mobile Theme

Mobile Theme

ปรับแต่งให้บล็อกแสดงผลในอุปกรณ์มือถือ แท็ปเล็ต ได้สวยงามยิ่งขึ้น ดูดีมาก แต่ก่อนใช้ WPtouch เลยเปลี่ยนมาใช้ของ Jetpack แทน และสามารถปรับแต่การแสดงผลได้อีกนิดหน่อย

ส่วนอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง

  • Jetpack Comments
  • Carousel Gallery
  • VaultPress
  • WP.me Shortlinks
  • Shortcode Embeds
  • Beautiful Math
  • Extra Sidebar Widgets
  • Enhanced Distribution

แต่ที่ชอบมากเพราะมันไม่ได้ทำให้บล็อกโหลดช้าเลย อาจจะเพราะปลั๊กอินส่วนใหญ่ที่มีใน Jetpack เราใช้อยู่แล้ว ก็เป็นได้

 ดูรายละเอียด และ ดาวน์โหลด Jetpack for WordPress 

วิเคราะห์การใช้งาน Facebook ของคุณด้วย Wolfram|Alpha

Wolfram|Alpha เป็นระบบค้นหาคำตอบอัจริยะ มันเก่งขึ้นเรื่อยๆ Siri ของ Apple ก็ดึงข้อมูลบางส่วนจาก Wolfram|Alpha ไปใช้งาน ถ้าอยากรู้จักมันให้ดีขึ้นลองอ่านบทความเก่าๆ ใน Tag  Wolframalpha ได้ครับ ผมเขียนถึงมันอยู่บ้างและก็ได้ใช้งานอยู่เป็นระยะ ความสามารถล่าสุดที่น่าสนใจของ Wolfram|Alpha ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปไม่นาน คือ “Facebook report” ครับ ลองมาดูว่ามันทำอะไรได้บ้าง

Facebook report by Wolfram|Alpha

Facebook report คือการวิเคราะห์การใช้งาน Faceook ของเรา โดยละเอียด ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยกตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์

  • ข้อมูลส่วนตัว เกิดวันไหน ปีอะไร อีกกี่วันจะถึงวันเกิดอีกครั้ง
  • Activity ในแต่ละปีที่ใช้งานมา อัตราการโพส แชร์ลิงค์ อัพโหลดภาพ
  • ช่วงเวลาที่ใช้งานมากที่สุดในการโพส คำนวณคำที่ใช้โพส มีคีย์เวิร์ดอะไรเยอะที่สุดในโพส
  • เพื่อนคนไหนคอมเม้นต์ ใครแชร์ในโพสของคุณมากที่สุด
  • อัตราการใช้แอฟพิเคชั่น
  • ภาพไหนที่คุณโพสมีการคอมเมนต์และแชร์มากที่สุด
  • อัตราส่วนเพื่อนผู้หญิง-ผู้ชาย เฉลี่ยเพื่อนคุณมีสถานะอะไรบ้าง (โสด,แต่งงาน ฯลฯ)
  • ช่วงอายุของเพื่อน ใครแก่สุด ใครเเด็กสุด
  • เพื่อนอยู่ในประเทศอะไรบ้าง ใช้ภาษาอะไร ศาสนาอะไร
  • และอื่นๆ

วิธีการใช้งาน

เข้าไปที่เว็บไซต์ Wolfram|Alpha พิมพ์คำว่า facebook report ลงในช่องค้นหา enter

Facebook report

จากนั้นก็คลิกปุ่ม “Analyze My Facebook Data” ซึ่งระบบจะขออนุญาติเข้าถึงข้อมูล Facebook ของเราก็กดยอมรับไป สักพักระบบจะดึงข้อมูลของเราเข้ามา และรายงานผลการวิเคราะห์ให้ได้เห็น

Facebook report

ตัวอย่างการวิเคราะห์บัญชีของผมเอง คิดว่าถ้าเป็นบัญชี Wolfram|Alpha แบบ Professional คงจะได้ข้อมูลที่ละเอียดมากกว่า เพราะเทียบกับข้อมูลจากด้านบนของ Stephen Wolfram ของเขาเป็น account แบบ Pro ได้ข้อมูลการเชื่อมโยงของเพื่อน และอื่นๆที่ละเอียดกว่า

นอกจากนี้ยังสามารถกดแชร์ผลการวิเคราะห์ไปที่ social network อย่าง facebook, twitter, google+, linkedin ฯลฯ ได้ทันที

Share ผลการวิเคราะห์

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.wolframalpha.com/facebook

บทความ “ทำเงินบนโลกไอที (84) : So.cl อีกทางเลือกที่ไม่ใช่เฟซบุ๊ก”

เป็นบทความที่ได้เขียนไว้กับทาง CyberBiz : ผู้จัดการ Online ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ยังไม่ได้เอามาบันทึกไว้ในนี้เลย ก็เลยมาเขียนถึงสั้นๆเก็บไว้

นั่งเล่น so.cl อยู่หลายวัน พยายามหาแง่มุมต่างๆของมัน เขียนส่งไปทั้งข้อความรวมกับภาพประกอบ 8 หน้ากระดาษ A4 เลยทีเดียว น่าจะยาวสุดเท่าที่เคยเขียนอะไรแนวนี้แล้วล่ะ กว่าจะเขียนออกมาได้ใช้พลังงานไปเยอะพอสมควรเลย ได้ค่าเรื่องมากินขนมนิดหน่อย แต่ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องนั้นเท่าไหร่ ตอนตอบตกลงไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีค่าเรื่องให้ด้วย แต่รู้สึกดีที่ได้ทำมากกว่า ขอบคุณ @goople ที่ให้โอกาสได้ทำครับ

ตัดมาแปะไว้บางส่วน ตามไปอ่านต้นฉบับได้ที่ ลิงค์นี้ ครับ

ทำความรู้จัก So.cl สังคมออนไลน์เพื่อการศึกษาของไมโครซอฟท์

       ***ทำความรู้จัก So.cl สังคมออนไลน์เพื่อการศึกษาของไมโครซอฟท์
(บทความโดย พงษ์ศักดิ์ สาระภักดี)

ก่อนที่เราจะหาช่องทางทำเงินจากเว็บไซต์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นให้ได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดคงต้องรู้ก่อนว่ามันสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่ละส่วนนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร ถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์อะไร ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ง่ายต่อการนำไปต่อยอด หรือนำไปใช้ประโยชน์กับธุรกิจของเราให้แข็งแกร่งขึ้นได้ยังไง ดังนั้นการแนะนำสิ่งต่างเหล่านี้ก่อน น่าจะเป็นการชี้นำสู่ช่องทางทำเงินที่ดีที่สุด ดังนั้นเรามาทำความรู้จัก So.cl กันก่อนดีกว่าครับ

 So.cl (อ่านว่า “social”) เป็นสังคมออนไลน์จากไมโครซอฟท์ที่เปิดให้คนทั่วไปได้ใช้งานเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา หลังจากที่ปล่อยให้ใช้ในวงจำกัดมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 ไมโครซอฟท์ออกตัวชัดเจนว่าไม่ได้ออกแบบมาเพื่อแข่งกับ Facebook หรือ Twitter ที่ถือว่าเป็นสองเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่มีคนใช้งานมากที่สุดในโลกในตอนนี้

Facebook/Twitter ถูกเรียกว่าเป็น ”เครือข่ายทางสังคม”(social networking) ซึ่งเราค่อนข้างคุ้นเคยดีอยู่แล้ว เราสร้างสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วย ข้อความ คอมเม้นท์ ภาพถ่าย เกม ฯลฯ แต่ไมโครซอฟท์วางตัวให้ So.cl เป็น “สังคมแห่งการค้นหา” (social searching) กล่าวคือ สังคมออนไลน์ที่ผู้ใช้งานจะปฏิส้มพันธ์กันด้วยการแชร์ผลการค้นหาในสิ่งที่ตัวเองสนใจให้กันและกัน จะเห็นได้ว่าทั้งสองอย่างนี้มีจุดเหมือนและจุดต่างกันอยู่ในตัว

So.cl เกิดขึ้นจาก FUSE Labs ของไมโครซอฟท์ (ตัวอย่างผลงานของแล็บนี้ เช่น Docs.com, CompanyCrowd, Bing Social, Montage, Spindex เป็นต้น) เราจะเห็นว่าในปัจจุบันนั้นเว็บไซต์สังคมออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นในวัยเรียน ทางทีมงานของ Fuse Labs มองเห็นถึงศักยภาพของสังคมออนไลน์เป็นอย่างดี จึงพยายามที่จะเปลี่ยนเว็บไซต์ในลักษณะนี้ให้เข้าไปอยู่ในห้องเรียนให้ได้

So.cl จึงถูกออกแบบมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์สำหรับนักเรียน/นักศึกษาโดยเฉพาะ เป็นสังคมออนไลน์ที่จะแชร์ประสบการณ์ทางด้านการศึกษา ว่าในขณะนั้นพวกเขากำลังเรียนรู้อะไร อย่างไรบ้างโดยสามารถที่จะโพสเนื้อหาที่มีองค์ประกอบได้หลายอย่างพร้อมกัน เช่น ผลการค้นหา รูปภาพ วิดีโอ ข้อความ ลิงค์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากที่สุดให้เพื่อนๆในกลุ่ม หรือในชั้นเรียนของตัวเอง เพื่อให้เกิดเป็นศูนย์รวมของการเรียนรู้ร่วมกัน โดยที่นักเรียน/นักศึกษาสามารถที่จะสร้างและปรับแต่งชุมชนออนไลน์ใน So.cl ให้เหมาะสมกับความสนใจของตัวเองและเพื่อนๆได้เอง

Mark Zuckerberg – Inside Facebook สารคดีจาก BBC

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก: ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ, Facebook

ภาพยนต์สารคดี Mark Zuckerberg – Inside Facebook ของ BBC ออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2011 ความยาว 59 นาที ออนไลน์มาเป็นเดือนแล้วแต่ไม่มีเวลาได้ดูวันนี้นึกยังไงไม่รู้มาเปิดดู เรื่องอาจจะเป็นเรื่องที่เราพอรู้อยู่บ้างแล้ว แต่ก็ดูได้เพลินๆ เนื้อหามีบทสัมภาษณ์พิเศษของ มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก, อาจารย์ ม.ฮาร์วาร์ด, เพื่อนสมัยเรียนมหาลัย(Joe Green-จำไม่ได้ว่าตาคนนี้อยู่ในหนังด้วยหรือเปล่า?) ,พนักงานใน Facebook  ประวัติความเป็นมาของ Facebook มีการหาความจริงจากหนังเรื่อง Social Network ด้วย (เป็นหนังอีกเรื่องที่เราชอบมาก) ที่สร้างจากหนังสือที่มองในมุมของคนคนเดียว มีข้อมูลค่อนข้างเป็นปัจจุบันเพราะมีทั้ง Timeline ที่เพิ่งเปิดตัวไป และสำนักงานแห่งใหม่

ในสารคดีชุดนี้แสดงให้เห็นว่า Facebook เอาข้อมูลของผู้ใช้อย่างเราไปทำมาหากินยังไง การโฆษณาที่เจาะเฉพาะกลุ่มได้ตรงเป้าที่สุดอย่างที่ Google เจ้าพ่อโฆษณาออนไลน์ทำไม่ได้ แม้ว่า Facebook จะเอาข้อมูลส่วนตัวเราไปใช้ แต่ก็เหมือนว่าทุกคนก็เต็มใจให้(หรือไม่รู้ว่าเอาไปใช้) อาจจะเป็นเพราะเราก็ได้ประโยชน์จาก Facebook เหมือนกันจะมองว่า Win Win ก็คงได้เพราะมันเป็นที่ทำให้เราได้พบปะเพื่อนของเรา และนี้อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เรามองข้ามเรื่องความเป็นส่วนตัวไป

เข้าไปดูสารคดีชุดนี้ได้ที่นี้ครับ https://www.youtube.com/watch?v=tlQbtNn3-vI

รวมผลงานออกแบบหน้าตา Facebook แบบใหม่

มีศิลปินหลายคนคงไม่ค่อยพอใจกับหน้าตาของ Facebook หรือ อาจจะแค่อยากลองออกแบบเว็บไซต์ Social network ที่มีคนใช้งานเยอะที่สุดในโลก อยากแสดงความสามารถว่าทำออกมาได้ดีกว่าปัจจุบัน มีหลายๆครั้งที่คนโชว์ความสามารถแนวนี้แล้วได้งานทำจริงๆ มีตัวอย่างให้เห็นเยอะแล้ว

การออกแบบหน้าตา Facebook ของแต่ละคนดูดีแตกต่างกันไป หลายอันทำออกมาได้น่าดู น่าใช้ขึ้นไม่น้อย เว็บไซต์ Hongkiat รวบรวมไว้ ผมเห็นว่าน่าสนใจเลยเอาแชร์ นอกจาก Facebook แล้วยังมีเว็บไซต์อื่นๆด้วยที่ศิลปินได้ออกแบบหน้าตาใหม่ให้ เช่น Google, Myspace, Youtube, IMDb เป็นต้น เข้าไปดูได้ที่ลิงค์ที่มาด้านล่างครับ

Facebook Concept Design

1. Barton Smith

Facebook-Facelift

Facebook Facelift

ผลงานแรกเป็นของ Barton Smith ในชื่อ The Facebook Facelift ปรับแต่งใหม่ทั้งหมด ทั้ง Home, Feed, Event, Photo ทำออกมาดูดีมาก เน้นโทนขาว เทา ฟ้า ใช้พื้นที่ได้เต็มจอ มีวีดีโอสาธิตการใช้งานด้วย เข้าไปดูผลงานของเขาแบบเต็มๆได้ที่ Barton Smith

2. Information Architects

Facebook by information architect

ผลงานโดยบริษัททำงานออกแบบโดยตรง Facebook ในแบบของพวกเขาถูกออกแบบมาให้เหมือนกับอีเมลแอพลิเคชั่น แบ่งออกเป็น 3 คอลัมน์ คือ ส่วนของ filter แยกกลุ่มของเนื้อหาที่จะแสดงใน information-stream ที่อยู่ตรงกลาง และ reaction ที่จะใช้โต้ตอบคอมเม้นต์ในหัวข้อนั้นๆ ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.informationarchitects.jp

3. Justin Dauer 

Facebook by Justin Dauer

Facebook หาตาแบบใหม่ของ Justin Dauer ดูเรียบมีสไตล์คล้ายบล็อกเหมือนกันนะ ดึงเอารายละเอียดของผู้ใช้มาอยู่ด้านขวา เมนูสำคัญพร้อมกับ notification แสดงดูด้านบน ดูดีมาก รายละเอียดดูที่ pseudoroom design

4. Peter Knoll

Facebook by Peter Knoll

ตัวนี้เมนูด้านบนยังคงคล้ายๆกับหน้าตาของ Facebook ในปัจจุบัน และเน้นส่วนของ post ให้ใหญ่และเด่นมากขึ้น แต่ส่วน New Feed จะเหมือนกับ Google+ เลย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Peter Knoll

5. AndasoloARTS

Facebook by AndasoloARTS

การออกแบบ Facebook ตัวนี้มีโทนสีคล้ายกับของ Peter Knoll ส่วนที่แตกต่างออกไปคือส่วนของ New Feed ที่ใหญ่ขึ้นและดูดีขึ้น รายละเอียดดูที่ AndasoloARTS

6. Jonaska

Facebook by Jonaska

อันนี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก AndasoloARTS โดยปรับปรุงส่วนของช่องโพส ช่องค้นหา และส่วนอื่นๆให้ดูดีขึ้น รายละเอียดที่ Jonaska

7. Czarny-Design

Facebook by Czarny Design

หน้าตาใหม่ของ Facebook ที่ออกแบบโดย Czarny Design จะเน้นไปที่การใช้เส้นโค้งในการออกแบบมากขึ้น เน้นช่องคอมเม้นต์ให้เด่นมากขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Czarny-Design

การออกแบบหน้าตาใหม่ให้ Facebook ของแต่ละคนก็มีรูปแบบที่แตกต่างกัน หลายๆอันอยากให้เอาไปใช้จริงๆเลยนะ อย่างเช่นของ Justin Dauer ผมว่าเข้าขั้นน่าใช้เลยล่ะ แต่ทุกครั้งที่ Facebook มีการอัพเดตหน้าตาใหม่ช่วงแรกๆจะมีคนบ่นอยู่ซักพักจากนั้นก็จะชินและเลิกบ่นไปเอง ประมาณว่าเขาให้ใช้อะไรก็ต้องใช้ไป แต่ผมว่าเว็บไซต์ที่มีคนใช้งานเยอะขนาดนั้นเข้าต้องวิจัยและทดลองใช้มาก่อนอยู่แล้วจึงจะปล่อยให้คนทั่วไปใช้ และมันต้องเป็นมิตรกับคนใช้งาน ไม่ยุ่งยากเกินไป ซึ่งผมว่าปัจจุบัน Facebook ก็ทำได้ดีมากอยู่แล้ว

เห็นคนอื่นออกแบบ Facebook ในฉบับของเขา คุณอยากลองทำเองบ้างไหมครับ ใครทำแล้วแชร์มาให้ดูด้วยนะครับ

ที่มา: https://www.hongkiat.com/blog/concept-design-facelift-notable-websites

รวมภาพการออกแบบหน้าตา Facebook ของแต่ละคนทั้งหมด

 

Exit mobile version