ปรากฎการณ์วาทะของ อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์ กับอำเภอบล็อก

สถิติของบล็อก ตั้งแต่วันที่ 1-23 พฤษภาคม 2553

ปกติแล้วอำเภอบล็อก มีคนเข้ามาประมาณวันละ 400-600 UIP ส่วนใหญ่เข้ามาผ่านทางการค้นหาจาก Google เป็นส่วนใหญ่ แต่จากปรากฎการณ์ วาทะของ คุณ อ๊อฟ-พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ในงานประกาศผลรางวัลนาฎราช ในคืนวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 ด้วยคำพูดที่กินใจ ผมไม่ได้คิดอะไรมาก เอามาเขียนลงบล็อก และถอดคำพูดออกมาเก็บไว้อ่าน

ด้วยกระแสสังคมที่แรงทำให้ในวันที่สองของการโพส ยอดคนเข้าสูงถึงเกือบ 5,000 UIP กับ 46 คอมเม้นท์ มันอาจจะไม่เยอะเมื่อเทียบกับเว็บดังๆ แต่คิดว่าคงอีกนานกว่าที่บล็อกนี้จะทำลายสถิตินี้ลงได้ เวลาผ่านไปตอนนี้เริ่มกลับมาอยู่ในสภาวะปกติแล้ว อาจจะเป็นกระแสที่น้อยลง และอันดับการค้นหาใน Google หล่นลงมาสู้คนที่เข้าทำ SEO จริงจังไม่ได้

มีอีกอย่างที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น คือโพสที่พูดถึง ทำไมคนอีสานรักทักษิณ ที่คนคลิกเข้าไปอ่านจากดูโพสของคุณอ๊อฟ-พงษ์พัฒน์ ซึ่งอย่างน้อยก็ทำให้คนได้รู้จักคนอีสานได้มากขึ้น

ใส่ Drag to share ให้ WordPress

meebo bar Drag to share

ใครที่เคยเข้าไปที่เว็บอย่างเช่น  Mashable , intomobile เวลาเราเอาเมาส์ไปวางที่รูปภาพที่อยู่ในโพสจะขึ้นข้อความขึ้นว่า drag to share เมื่อเราคลิกแล้วลากจะขึ้น ไอคอนให้เราวางเพื่อแชร์หน้านั้นได้เลย Feature นี้เป็นความสามารถของ meebo ที่ทำออกมาให้เว็บใหญ่ๆได้ทดลองใช้ก่อน ตอนนี้ meebo ได้ออกรุ่น beta มาให้ทุกเว็บได้ลองใช้แล้ว ผมเลยจับมาใส่บล็อกตัวเองลองดู รู้สึกว่ามันโอเคดีครับ ดูขั้นตอนการติดตั้ง

  1. เข้าไปสมัคร ขอใช้บริการที่ https://bar.meebo.com การสมัครใช้งานเหมือนเว็บทั่วไปครับ
  2. เมื่อสมัครเสร็จแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอน set up เลย ใส่ชื่อของเว็บ และที่อยู่ของเว็บให้เรียบร้อย แล้วคลิก continue

    meebo bar setup

  3. เลือกชนิดของเว็บไซต์ของคุณ ซึ่ง meebo bar ซับพอร์ตหลายตัว ของเราเป็น WordPress เมื่อคลิกเข้าไปจะมีลิงค์ให้โหลด Plugin มาติดตั้ง

    meebo bar support

  4. ติดตั้ง Plugin ที่โหลดมาให้เรียบร้อย สั่งให้ Activate ขอข้ามรายละเอียดขั้นตอนนี้คิดว่าทุกคนทำได้
  5. เมื่อติดต้ัง Pluging เสร็จแล้ว ถ้าลองเข้าไปที่เว็บไซต์ควรที่จะมี meebo bar ด้านล่างแล้ว ถ้าคลิก share pages ตอนนี้ก็จะมี drop here ขึ้นแล้ว

    meebo bar button

  6. หากต้องการ ทำให้รูปที่อยู่บนเว็บสามารถ Drag to share ได้ต้องเข้าไปใส่โค้ดในไฟล์ header.php ของธีมที่เราใช้งานอยู่ ดูรายละเอียดส่วนนี้ได้ที่ https://dashboard.meebo.com และในหัวข้อ  Drag and drop sharing โค้ด
    
    
  7. เสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน

นอกจาก drag to share แล้ว meebo bar ยังสามารถ chat กันได้ สรุปว่ามันทำให้เว็บเราดูดีขึ้นและ share ได้ง่ายขึ้น

ข้อมูล : https://bar.meeboo.com

Meta content จะยาวไปไหนครับ true music

title-true-music

เอา mouse ไปวางบน tab ของ true music แล้วโชว์ meta content ยาวมาก รกตา

duocore : เมื่อคนชอบดู แต่ไม่ชอบเอา

เว็บไซต์ Duocore.tv

duocore เป็นเว็บที่ดี คล้ายกับ Digg โดยทุกคนสามารถส่งเรื่องที่น่าสนใจ เข้ามาเผยแพร่ แชร์ให้คนอื่นได้อ่านบ้าง
และมีรายการ duocore ที่ออกทุกสัปดาห์ (หรือป่าว) สโลแกน “ผลักดันวงการไอทีในบ้านเรา” พบกับ เรื่องราวที่มี
คน”เอา”มากที่สุดในรอบสัปดาห์
ซึ่งตอนที่ผมเขียนอยู่นี้ ตอนที่ 115 แล้ว และมีตอนพิเศษประมาณ 20 กว่าตอน

หลังจากที่เขียนบล็อกของตัวเองได้สักประมาณครึ่งปีแล้ว และก็ได้อาศัย duocore ในการเผยแพร่เนื้อหาที่ตัวเองเขียน
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นได้ในสังคม duocore พอจะสรุป ได้ดังนี้ ซึ่งอาจจะมีทั้งดีและไม่ดีครับ
คนอ่านเยอะแต่มีน้อยคนที่จะ “เอา” ผมสังเกตได้จาก Reference ของ Analytics ของบล็อกที่มีการเข้าจากลิงค์
duocore ในเรื่องที่เป็นเรื่องเด่น ประมาณ 320 นับ 1 สัปดาห์หลังจากส่งเรื่อง แต่เรื่องถูกเอาแค่ 10 คิดเป็นเปอร์เซ็น
แล้วประมาณ 3.125 %  คือร้อยคนเอาประมาณ 3 คน

Referal จาก duocore
เรื่องที่มีคน เอา

ปัญหาเมื่อคน “เอา” น้อย
เรื่องที่น่าสนใจ หรือเรื่องใหม่ที่เข้ามา ไม่ได้ขึ้นเรื่องเด่นสักที ผ่านไปเกือบ สัปดาห์ค่อยขึ้นมา เรื่องนั้นเลยกลายเป็น
เรื่องที่ไม่น่าสนใจไป หรือเป็นข่าวเก่าไปแล้ว ส่งผลเป็นลูกโซ่ คนที่เข้ามาเห็นว่ามีแต่ข่าวเก่า เรื่องเก่าเลยไม่ค่อยเข้ามา
กลายเป็นว่าจะเข้ามา สัปดาห์ละครั้งสองครั้งแทน และส่งผลให้คนไม่อยากส่งเรื่องเข้ามา เพราะส่งมาไม่มีคนเอา
วิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไข
ปัญหานี้ไม่ใช้เพิ่งจะเป็นแต่เป็นเรื่องที่เป็นปัญหามานานแล้ว คุณออยก็บ่นไว้ ทั้งในรายการและบนเว็บ และก็มีแคมเปญ
ต่างๆออกมาเรื่อยๆ แต่ดูเหมือนปัญหายังยังอยู่ ปัญหานี้ต้องช่วยกันทุกๆฝ่าย ทั้งตัวระบบเอง และผู้ใช้ทุกคน
อันนี้เป็นแนวคิดของผมนะครับ

  1. สมาชิกเวลาเข้ามาใช้งานควรล็อกอิน หรือตั้งออโต้ล็อกอินไว้เลย เวลาอ่านเรื่องแล้วจะได้คลิก เอาได้ง่าย
  2. เรื่องไหนอ่านแล้ว ชอบหรืออยากให่กำลังใจ คลิก “เอา” ด้วย อันนี้ต้องรณรงค์กันบ่อย ถามเพื่อนด้วยว่า
    “วันนี้คุณ เอา แล้วหรือยัง”
  3. คลิกเข้าไปดูในหัวข้อ เรื่องใหม่เพิ่งมา ด้วย ไม่ใช่ดูเฉพาะเรื่องเด่น จะได้รู้ว่าเรื่องดีๆที่ไม่ขึ้นเรื่องเด่นมีอีกเยอะ

    หัวข้อ เรื่องใหม่เพิ่งมา

  4. คนที่ไม่มีเว็บไซต์ของตัวเอง แต่อ่านเรื่องต่างๆแล้วเป็นเรื่องที่ดี น่าสนใจอยากแบ่งปัน ก็สามารถส่งเข้ามาได้
    (ส่วนใหญ่ส่งแต่เว็บตัวเอง) ต้องทำให้เป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน
  5. ระบบส่งข่าว การจำกัดการส่งหัวข้อ เป็นเรื่องดีครับ เป็นกรองเนื้อหาในระดับหนึ่ง แต่รู้สึกว่ามันจำกัดเกินไป และ
    อับ level ยากมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากคนไม่ “เอา” นั้นแหละ ต้องช่วยๆกัน เว็บจะได้ขยายตัว

    การจำกัดเรื่องที่ส่งเข้ามา

  6. ระบบจัดการกับสแปม คนส่งลำบากมากได้แค่วันละหนึ่งลิงค์ แต่สแปมส่งได้เยอะ(แอบบ่น)ทำให้เรื่องที่
    ส่งมาถูกสแปมแย่งพื้นที่ไปหมด อันนี้เห็นใจทีมงาน อยากให้มีตัวกรองที่ดีกว่านี้

    แสปมใน duocore

  7. ทำ duocore 101 เหมือน twitter 101 ดีไหมจะได้เป็นการแนะนำวิธีใช้ให้สมาชิกใหม่
  8. การเขียนส่วนตัดทอน ต้องเขียนให้น่าสนใจ และไม่ควรให้ระบบดึงข้อมูลเอง ควรเขียนเองเพื่อเพิ่มความน่า
    สนใจมากขึ้น ตามประสบการณ์ส่วนตัดทอนที่เป็นภาพมักจะมีคนเอามากกว่าส่วนตัดทอนที่เป็นข้อความ
    เพราะ คนไทยขี้เกียจอ่านแต่ชอบดู

ผมพอจะเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขเล็กๆน้อยๆได้เท่าที่คิดออกตอนนี้ถ้าคิดออกเพิ่มเติมจะมาเสนอต่อ
ใครมีอะไรดีๆ ก็เอามาแบ่งปันกันครับ  สุดท้าย “อยากให้สมาชิกทุกคนช่วย เอา กันเยอะๆนะครับ”

ขอบคุณ duocore.tv

WordPress backup and restore ไม่ต้องมี plugin

WordPress-backup

บล็อกผมในตอนแรกตัว WordPress จะอยู่ที่ folder ชื่อ 2009 ทำให้เวลาเข้าเว็บไซต์ www.amphur.in.th ผมต้องทำ redirect ไปที่ 2009 เว็บไซต์ก็จะเป็นแบบนี้ www.amphur.in.th/2009 ตอนแรกที่ทำแบบนี้ ก็คิดว่าถ้าเราทำ folder ไว้คงทำให้บริหารจัดการง่ายแต่พอใช้ไปรู้สึกว่าไม่สะดวกแล้ว และไม่เป็นผลดีกับการทำ seo ด้วย จึงต้องการเอา WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก ขั้นตอนในการทำง่ายมากครับ ไม่ต้องลง WordPress plugin แต่อย่างใดเพราะ WordPress มีเครื่องที่จะช่วยให้เราทำการ

backup และ restore ได้เลย เริ่มขั้นตอนการทำเลยแล้วกัน

  1. login เข้าไปใช้งานใน WordPress admin คลิกที่เมนูซ้ายมือในหัวข้อ “เครื่องมือ”
  2. เลือกหัวข้อ “นำออก” ดังรูป

    WordPress-tools

  3. ในหน้าจะแสดงข้อความอธิบายการนำออกดังนี้

    เมื่อคุณกดปุ่มด้านล่าง เวิร์ดเพรสจะสร้าง ไฟล์ XML file สำหรับบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ รูปแบบนี้ เราเรียกว่า เวิร์ดเพรส eXtended RSS หรือ WXR ซึ่งในนั้นจะประกอบไปด้วย เรื่อง, หน้า, ความเห็น, custom fields, หมวดหมู่และป้ายกำกับ เมื่อคุณบันทึกไฟล์ดาวน์โหลดแล้ว คุณสามารถใช้คำสั่งนำเข้าในบล็อกเวิร์ดเพรสอื่นเพื่อนำเข้าบล็อกนี้

  4. ทางเลือกให้เลือก “ผู้เขียนทั้งหมด” เสร็จแล้วคลิก ดาวน์โหลด เราจะได้ไฟล์ backup ชื่อ WordPress.ปี-เดือน-วัน.xml
  5. จากนั้นผมก็ copy ไฟล์ของ WordPress ที่อยู่ใน folder 2009 ออกมาอยู่ข้างนอก แล้วก็ลบไฟล์ในนั้นทิ้ง
  6. เข้าไปที่ phpmyadmin ของเราทำการ backup database ไว้ก่อนเผื่อเกิดอุบัติเหตุเมื่อ backup เสร็จแล้ว drop ตารางทิ้งเลยครับ
  7. เข้าไปที่ root directory ของเว็บเราลบไฟล์ wp-config.php อันเก่าทิ้งไป และอับไฟล์ wp-settings.php ไปแทนทำเหมือนจะติดตั้งใหม่ จากนั้นก็เข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา www.amphur.in.th รันติดตั้ง WordPress ตามปกติ
  8. เมื่อติดตั้งเสร็จเล้วเข้าไปที่การ “นำเข้า” ตามขั้นตอนที่ 2
  9. เลือกหัวข้อ WordPressดังรูป

    WordPress-restore

  10. คลิก browse ไปที่ไฟล์ที่เราทำไว้ในขั้นตอนที่ 4 ที่เราเรียกว่าไฟล์ WXR เสร็จแล้วคลิกอับโหลด
  11. เข้าไปตรวจสอบเนื้อหา ต้องแก้ที่อยู่ของไฟล์ภาพ และ plugin จะใช้ไม่ได้(ลบออกลงใหม่)

ข้อดี วิธีนี้อาจจะไม่ดีแต่เป็นวิธีที่ผมทดลองใช้รู้สึกว่าเร็วดี อาจจะมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้แต่ผมไม่รู้เลยต้องใช้วิธีนี้
ข้อเสีย plugin อันเก่าที่ติดตั้งไว้ใช้งานไม่ได้ และ widget ก็หายด้วย

หนังสือ “SEO ปรับเว็บให้แรง แต่งให้ติดอันดับ”

หนังสือ SEO ปรับเว็บให้แรง แต่งให้ติดอันดับ

เมื่อวานแวะไปร้านหนังสือเจอหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “SEO ปรับเว็บให้แรง แต่งให้ติดอันดับ” เขียนโดยคุณสุธี จันทร์แต่งพล เจ้าของเว็บ www.eblogbiz.com น่าสนใจมากครับเลย หยิบมาอ่านคร่าวๆ พบว่ามีความรู้เรื่องการทำ SEO ที่เราไม่รู้มากมาย จึงได้ซื้อติดมือมาใน ราคา 199 บาท เป็นหนังสือมีทั้งหมด 200 หน้า เนื้อหาภายในมีดังนี้

1. รู้จัก SEM และ SEO
2 รู้จักเสิร์ชเอ็นจิ้น
3. Google เสิร์ชเอ็นจิ้นที่คุณต้องรู้จัก
4. การวางแผนทำ SEO
5. เริ่มต้นปรับแต่งจากศูนย์
6. ลงมือปรับแต่งเว็บไซต์ (On-page Optimize)
7. ปรับแต่งระบบลิงก์ภายในเว็บ
8. ออกนอกเว็บ ทำให้โลกรู้จัก  (Off-page optimize)
9. ตรวจสอบผลการทำ SEO
10. Search Engine Guideline  และกรณีศึกษา
11. รู้จักเครื่องมือคู่ใจคนทำ SEO
12. เก็บตกการทำ SEO ให้รุ่ง
13. ส่งท้ายเพื่อเริ่มต้น SEO

รายได้จาก Google Adsense วันนี้

Google Adsense

คิดเป็นเงินไทยแล้วได้  4.2 บาท จากสถิติ 1 คลิกจากการติดที่ บล็อกเป็นเวลา 1 วัน หลายๆคนที่ทำ Adsense เก่งๆที่ทำได้วันละหลายเหรียญคงคิดหัวเราะ แต่ความรู้สึกผมมันดีใจหน่อยๆที่หาเงินได้จากอินเตอร์เน็ตได้ครั้งแรกในชีวิต ตามระเบียบกลูเกิลต้องรอให้ได้ 100 US ถึงจะเบิกได้ งานนี้ผมคงต้องรออีกเป็นปีแน่เลย 55555 ใครที่ทำ Adsense เก่งๆก็ช่วยแนะนำมือใหม่ด้วยนะครับ เผื่อว่าจะได้มีตังค์ไว้จ่ายค่าอินเตอร์เน็ตรายเดือนเหมือนคนอื่นเขาบ้าง ขอบคุณครับ

Exit mobile version